สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

สุขภาพจิต

จิตเวช โรคพบบ่อย ที่คนไทยควรรู้

จิตเวช คือความเจ็บป่วยทางจิตซึ่งเป็นความผิดปกติของสุขภาพจิตที่อาจส่งผลต่ออารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม อาจเกิดขึ้นได้จากสภาพแวดล้อม ความผิดปกติทางสมอง การใช้สารเสพติด หรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป และในปัจจุบันจำนวนของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตกำลังเพิ่มสูงขึ้น การป้องกันและเฝ้าระวังอาจช่วยลดปัญหาจิตเวชได้ โรคจิตเวช ที่พบบ่อย จากรายงานกรมสุขภาพจิต ระบุว่า มีผู้ป่วยที่เข้ารับบริการด้านจิตเวชรวมทั้งประเทศสูงถึง 3.3 ล้านคน เมื่อแบ่งตามกลุ่มโรคที่พบบ่อย คือ โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย รวมแล้วมีจำนวนกว่า 1.3 ล้านคน นอกจากนี้ ยังมีโรคจิตเวชที่คนไทยควรรู้จักเพิ่มอีก 4 โรค คือโรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตเวชจากการใช้สารเสพติด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรคแพนิค และโรคสมองเสื่อม ดังนี้ โรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางอารมณ์ที่ทำให้รู้สึกเศร้าจนหมดความสนใจสิ่งรอบข้าง ซึ่งส่งผลต่อความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้ป่วย อาจนำไปสู่ปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันและอารมณ์ได้ อาจสังเกตอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ ดังนี้ โกรธ หงุดหงิดกับเรื่องเล็กน้อย เหนื่อยล้า หมดพลังงาน หมดความสนใจในกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบ มีปัญหาการนอน อาจทำให้นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป ความอยากอาหารลดลง หรืออาจเพิ่มขึ้น การพูด ความคิด หรือการเคลื่อนไหวร่างกายช้าลง รู้สึกเศร้า สิ้นหวัง รู้สึกไร้ค่า คิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย มีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น โรคซึมเศร้าอาจไม่สามารถป้องกันได้ แต่วิธีเหล่านี้อาจมีส่วนช่วยป้องกันได้ จัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ควรเพิ่มความรู้สึกนับถือตนเองด้วย บอกคนใกล้ชิด เช่น ครอบครัว เพื่อน […]


สุขภาพจิต

โรคเครียด อาการ ที่ควรรู้

โรคเครียด อาการที่เกิดขึ้นมักแสดงออกมาทางร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม เช่น วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว ความวิตกกังวล เศร้า พฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป หรือดื่มเครื่องแอลกอฮอล์มากขึ้น ดังนั้น การจัดการความเครียดจึงอาจช่วยบรรเทาอาการในด้านต่าง ๆ ได้ โรคเครียด คืออะไร โรคเครียด คือ โรคชนิดหนึ่งที่ร่างกายตอบสนองต่อภัยคุกคามหรืออันตรายที่กำลังเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหรือความนึกคิด ซึ่งโรคเครียดและอาการเป็นวิธีปกป้องร่างกายอย่างหนึ่ง จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระฉับกระเฉงมากขึ้น มีสมาธิ และตื่นตัว พร้อมรับมือกับความกดดันหรือปัญหาทีกำลังเกิดขึ้น แต่หากความเครียดเกิดขึ้นระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและจิตใจ เนื่องจากร่างกายอาจทำงานหนักขึ้น ทำให้สมองเหนื่อยล้า และอาจรบกวนระบบภูมิคุ้มกัน ระบบย่อยอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด การนอนหลับ และระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ แลพโรคจิตเภท ตามมาได้ โรคเครียด อาการเป็นอย่างไร ความเครียดส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ และการมองเห็น จึงอาจทำให้เกิดอาการทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ รวมถึงการแสดงออกทางพฤติกรรม ดังนี้ อาการทางร่างกาย วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว ปวดท้อง มีอาการสั่น ไม่มีสมาธิ ปัญหาทางความจำ อ่อนเพลีย ปัญหาการนอนหลับ เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อเกร็ง อารมณ์ทางเพศลดลง ความอยากอาหารลดลง กระเพาะอาหารและทางเดินอาหารผิดปกติ ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เจ็บป่วยบ่อย อาการทางอารมณ์และจิตใจ อารมณ์แปรปรวน […]


การจัดการความเครียด

วิธีคลายเครียด เพื่อสุขภาพจิตที่ดี

วิธีคลายเครียด เป็นวิธีที่อาจช่วยจัดการกับความเครียดให้ทุเลาได้ ก่อนที่จะพัฒนากลายเป็นความเครียดเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การอยู่ร่วมกับสังคม และปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า การดูแลตัวเองเพื่อจัดการกับอารมณ์และผ่อนคลายเรื่องตึงเครียด จึงอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพชีวิตและทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นได้ ความเครียด คืออะไร ความเครียด คือ ปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกายและจิตใจที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งเป็นการตอบสนองในเชิงบวก ที่ช่วยให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัวเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ถ้าหากความเครียดเกิดขึ้นยาวนานอาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจได้ ทั้งนี้ความเครียดอาจเกิดขึ้นระยะสั้นหรือระยะยาวขึ้นอยู่กับการจัดการความเครียดของแต่ละบุคคล หากเกิดความเครียดสะสม อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคจิตเวท วิธีคลายเครียด มีอะไรบ้าง วิธีคลายเครียดเพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีดังนี้ รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ผู้ที่มีความเครียดอาจแก้ปัญหาหรือหนีความเครียดด้วยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากเกินไป การกระทำเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพระยะยาวได้ ดังนั้นการรับประทานอาหารให้ตรงตามโภชนาการและดีต่อสุขภาพจึงเป็นวิธีที่จะช่วยจัดการกับความเครียดได้ ดังนั้น การรับประทานอาหารให้ตรงตามโภชนาการและดีต่อสุขภาพจึงเป็นวิธีที่จะช่วยจัดการกับความเครียดได้ เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ไก่ ไข่ มีวิตามินบี 12 ช่วยเผาผลาญคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียด ดาร์กช็อกโกแลต อะโวคาโด กล้วย มีแมกนีเซียมช่วยลดการอักเสบ เผาผลาญคอร์ติซอล ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ แซลมอน ปลาซาร์ดีน ทูน่า อาหารที่อุดมไปด้วยไขมันโอเมก้า 3 ลดการอักเสบและส่งเสริมการทำงานของสมอง ลดความเสี่ยงความผิดปกติทางอารมณ์ เมล็ดฟักทอง อุดมไปด้วยโพแทสเซียมและสังกะสี ช่วยควบคุมความดันโลหิต ลดความเครียดและความวิตกกังวล ชาเขียว มีกรดอะมิโนที่เรียกว่า “ธีอะนีน […]


การเสพติด

คนติดยา อาการ สาเหตุ และการรักษา

คนติดยา หรือ การติดยาเสพติด (Drug Addiction) คือ สภาวะที่สมองกลับไปติดยาอีกครั้ง เป็นอาการเรื้อรังที่จะต้องมองหายาโดยอัตโนมัติและใช้ยา โดยไม่คำนึงว่าจะมีอันตรายจากการติดยา การติดยาเสพติดเป็นโรคทางสมองเพราะการใช้ยาในทางที่ผิดทำให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างและหน้าที่ของสมอง คำจำกัดความคนติดยา คืออะไร คนติดยา หรือ การติดยาเสพติด (Drug Addiction) คือ สภาวะที่สมองกลับไปติดยาอีกครั้ง เป็นอาการเรื้อรังที่จะต้องมองหายาโดยอัตโนมัติและใช้ยา โดยไม่คำนึงว่าจะมีอันตรายจากการติดยา การติดยาเสพติดเป็นโรคทางสมองเพราะการใช้ยาในทางที่ผิดทำให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างและหน้าที่ของสมอง แม้ว่าความจริงแล้ว ในครั้งแรกคนส่วนใหญ่อาจตัดสินใจใช้ยาโดยสมัครใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองจึงทำให้เกิดการใช้ยาซ้ำ ๆ จนอาจไม่สามารถการควบคุมตนเองและความสามารถในการตัดสินใจได้ และบางครั้งอาจสร้างการกระตุ้นในการใช้ยา ดังนั้น เพื่อให้คนไข้จัดการกับการติดยาได้อย่างมีประสิทธิผลและกลับมาควบคุมชีวิตได้อีกครั้ง จาการการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การผสมผสานการให้ยาในการรักษาการติดยาอย่างเหมาะสมกับการรักษาพฤติกรรมอาจเป็นวิธีที่ดีในการมั่นใจว่าการรักษาจะสำเร็จกับคนไข้ส่วนใหญ่ วิธีการรักษาอาจถูกจัดให้เหมาะกับรูปแบบการใช้ยาที่ผิดของคนไข้แต่ละราย พร้อมกับการให้ยารักษา สภาพทางจิตเวช และปัญหาทางสังคมอาจช่วยให้ฟื้นตัวและมีชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งยาอีกต่อไป เช่นเดียวกับโรคที่เรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหัวใจ การติดยาสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิผล แต่ก็มีบ่อยที่คนไข้กลับมาติดยาเหมือนเดิมและใช้ยาอย่างผิดวิธีอีก การกลับมาติดยาเหมือนเดิมไม่ได้เป็นสัญญาณของความล้มเหลว แต่เป็นการบ่งชี้ว่า ควรที่จะเน้นการรักษาปรับหรือเปลี่ยนการรักษาเพื่อช่วยให้คนไข้ควบคุมตัวเองใหม่และฟื้นตัวได้ การติดยาเสพติดพบบ่อยแค่ไหน การติดยาเสพติดพบได้บ่อยมาก โปรดปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของคนติดยา อาการส่วนใหญ่ของคนติดยาอาจมีดังนี้ รู้สึกว่าต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง อาจจะต้องใช้ทุกวันหรือหลายครั้งต่อวัน มีความเครียดและกระตุ้นให้ใช้ยา จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมือนเดิม มั่นใจว่าตนเองมียาอยู่เสมอ จ่ายเงินกับยาได้เสมอ แม้จะไม่มีเงินพอ ไม่สามารถทำงานที่รับผิดชอบอยู่ได้หรือตัดห่างจากสังคมหรือกิจกรรมสันทนาการเพราะการใช้ยา ทำทุกสิ่งเพื่อให้ได้รับยาซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เช่น การขโมย ขับรถหรือทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เมื่ออยู่ภายใต้อิทธิพลของยา คอยดูเวลาเพื่อที่จะได้ใช้ยาอีกครั้ง ไม่พยายามที่จะใช้หรือหยุดยา มีประสบการณ์อาการถอนยา (อาการที่เกิดจากการหยุดยาฉับพลัน) เมื่อพยายามหยุดยา ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์และระดับความรุนแรงของคุณ สาเหตุสาเหตุของการติดยาเสพติด การผิดปกติของสุขภาพจิต ปัจจัยอื่น ๆ อาจจะมีส่วนทำให้เกิดการติดยาและการพึ่งยามากขึ้น […]


ความผิดปกติทางอารมณ์

ไม่ได้ใหญ่ แต่ใจมันกล้า ปัญหาสุขภาพจิต ของผู้ป่วย โรคชอบโชว์อวัยวะเพศ

ในปัจจุบันพบว่าประชากรไทยส่วนใหญ่มักประสบกับปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะเครียด โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ เป็นต้น วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จัก โรคชอบโชว์อวัยวะเพศ อีกหนึ่งอาการทางสุขภาพจิตที่หากปล่อยไว้นานโดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้  ทำความรู้จัก โรคชอบโชว์อวัยวะเพศ โรคชอบโชว์อวัยวะเพศ (Exhibitionism) เป็นอาการทางสุขภาพจิตที่เกิดจากความผิดปกติของการแสดงออกเกี่ยวกับความรู้สึกทางเพศ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักรู้สึกตื่นเต้น เมื่อแสดงพฤติกรรมโชว์อวัยวะเพศต่อคนในที่สาธารณะ ยิ่งบุคคลแปลกหน้าที่ได้เห็นมีอาการตกใจ หวาดกลัว ยิ่งทำให้ผู้ป่วยพึงพอใจ  สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย โรคชอบโชว์อวัยวะเพศ ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรม ชอบโชว์อวัยวะเพศในที่สาธารณะ หรือบุคคลแปลกหน้า ส่วนใหญ่มักเป็นเพศชาย โดยเกิดสาเหตุและปัจจัยดังต่อไปนี้ การโดนล่วงละเมิดทางเพศในวัยเด็ก มีอาการหมกมุ่นทางเพศหรือได้รับการกระทบกระเทือนจิตใจตั้งแต่วัยเด็ก การติดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รสนิยมทางเพศส่วนบุคคล โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) เช็กให้ชัวร์ ชอบโชว์อวัยวะเพศในที่สาธารณะ รสนิยมทางเพศหรือปัญหาสุขภาพจิต หลายคนอาจสงสัยว่าผู้ที่ ชอบโชว์อวัยวะเพศในที่สาธารณะ นั้น เป็นเพียงรสนิยมหรือแท้จริงแล้วกำลังมีปัญหาสุขภาพจิตกันแน่น ซึ่งหากผู้ป่วยที่เข้าข่าย ชอบโชว์อวัยวะเพศในที่สาธารณะ จะมีลักษณะพฤติกรรมแสดงออก ดังต่อไปนี้  ผู้ป่วยมีความต้องการทางเพศในการโชว์อวัยวะเพศในที่สาธารณะซ้ำ ๆ ติดต่อกัน และมีอารมณ์รุนแรงมากขึ้นเมื่อได้โชว์ของลับ  ผู้ป่วยมีความต้องการโชว์อวัยวะเพศต่อบุคคลที่ไม่ยินยอม เช่น คนรอบข้างที่รู้จัก เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น  อย่างไรก็ตามพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องและเหมาะสม  วิธีการรักษา  ผู้ป่วยที่ ชอบโชว์อวัยวะเพศในที่สาธารณะ ส่วนใหญ่จะไม่เข้ารับการรักษานอกจากจะถูกจับได้ หรือมีบุคคลรอบข้างใกล้ชิดผู้ป่วยมาพารับการรักษา โดยแพทย์จะใช้วิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ดังต่อไปนี้  การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy […]


สุขภาพจิต

ถ้าเขาจะรัก ยืนเฉย ๆ เขาก็รัก ถ้าเขาไม่รัก จะ เยียวยาหัวใจ ตัวเองอย่างไร

ส่วนที่ดื้อที่สุดในร่างกาย คงหนีไม่พ้น “หัวใจ” เพราะสมองจะเตือนยังไง หัวใจ ก็ไม่เคยจำ จะทนอยู่เพื่อโทษตัวเองทำไม เขาไม่ได้ให้ความหวัง แต่เป็นเรานั้นแหละที่คิดไปเอง บางทีการตัดสินใจเดินออกมา อาจจะทำให้เรามีความสุขมากกว่า แต่เราจะมีวิธีการ เยียวยาหัวใจ จากอาการอกหักอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ  ถึงเกมจะแพ้ แต่ชีวิตต้องไปต่อ  กลับตัวก็ไม่ได้ ให้เดินต่อไป ก็ไปไม่ถึง เพราะไม่มีใครอยากจบเพื่อเริ่มใหม่หรอก แต่การอยู่คนเดียวก็ไม่ได้แย่อย่างที่เราคิด ถ้าต้องเสียใจกับใครคนนึงซ้ำ ๆ เมื่อความรักมาถึงทางตัน ชีวิตเราก็ต้องเดินหน้าต่อ   เมื่อต้องเลิกลากับคนรักในช่วงแรก ๆ เป็นธรรมดาที่เราจะทำใจไม่ได้ ยากกว่าการตัดใจ คือการพยายามลืมว่าเราเคยรักกัน ความรู้สึกเหงา เศร้า ความคิดถึง มันปนกันไปหมด บางคนมีอาการร้ายแรงถึงขั้น อยู่ในภาวะซึมเศร้า ดังนั้นเราจะมีวิธีอย่างไร ให้เรากลับมาสดใสเป็นคนเดิมได้อีกครั้ง เรามีเคล็ดลับการ เยียวยาหัวใจ มาให้คุณค่ะ ถึงแม้จะเหงา แต่ดีกว่าให้เขากลับมา บอกตัวเองให้เลิกเหงา ดีกว่าบอกเขาให้กลับมา เรามาดูเคล็ดลับ รับมือกับอาการอกหัก เลิกมูฟออนเป็นวงกลม กันค่ะ  ยอมรับความจริง  สิ่งที่จะทำให้เรามูฟออนได้ไวที่สุด สิ่งแรกคือการยอมรับความจริง ถ้าเรารู้สึกเศร้า รู้สึกเสียใจ รู้สึกโกธร รู้สึกเหงา ให้เรารู้สึกให้เต็มที่ ไม่ต้องฝืนใจบอกตัวเองว่ายังไหว […]


การจัดการความเครียด

ดูเดิ้ลอาร์ท (Doodle Art) งานศิลป์ที่เหมือนแค่วาดเล่น แต่มีประโยชน์กว่าที่คิด

เคยไหม? นั่งเรียนหรือนั่งทำงานอยู่ดี ๆ กลับรู้สึกเบื่อ เครียด หรือคิดอะไรไม่ออก ก็เลยนั่งวาดรูปอะไรไปเรื่อยเปื่อย รู้ตัวอีกที อาจมีรูปภาพอะไรเต็มหน้ากระดาษไปหมด หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยมีพฤติกรรมนี้ อย่าเพิ่งคิดว่าตัวเองทำเรื่องไร้สาระ เพราะการวาดรูปเล่นลักษณะนี้เรียกว่า ดูเดิ้ลอาร์ท (Doodle Art) ซึ่งนักจิตวิทยาเผยว่า การวาดดูเดิ้ล คือศิลปะบำบัดรูปแบบหนึ่ง และมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด กับบทความนี้ของ Hello คุณหมอ [embed-health-tool-bmr] ดูเดิ้ลอาร์ท (Doodle Art) คืออะไร ดูเดิ้ลอาร์ท (Doodle Art) หรือการวาดดูเดิ้ล (Doodling) หมายถึง การวาดรูปขยุกขยิกแบบลวก ๆ หรือการวาดรูปไปตามอารมณ์ คล้ายใจลอยเวลาวาด หรือพูดอีกอย่างก็คือ เป็นการวาดรูปแบบวาดไปเรื่อย ๆ แบบไม่ได้มีจุดประสงค์แน่ชัดว่าจะวาดรูปอะไรกันแน่ ผู้เชี่ยวชาญเผยว่าดูเดิ้ลอาร์ท เป็นสารไร้ถ้อยคำประเภทหนึ่ง (Non-verbal messages) ที่ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด และการรับรู้ที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของแต่ละคนออกมาเป็นรูปธรรม และจากสถิติพบว่า เวลาวาดรูปดูเดิ้ล ผู้ชายมักจะวาดรูปทรงเรขาคณิต เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม ส่วนผู้หญิงมักจะวาดรูปใบหน้า และถึงแม้การวาดรูปดูเดิ้ลจะดูเป็นเพียงกิจกรรมฆ่าเวลา ดูไร้สาระ แต่จริง ๆ แล้ว […]


สุขภาพจิต

ความวิตกกังวล ทำให้กล้ามเนื้อกระตุก ป้องกันอย่างไรดี

เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก หรือสถานการณ์ที่ยากจะรับมือ อาจทำให้เกิดอาการวิตกกังวล ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น เมื่อร่างกายเกิดความวิตกกังวลจะทำให้หัวใจของเราก็จะเริ่มเต้นแรงขึ้น บางครั้ง ความวิตกกังวล ทำให้กล้ามเนื้อกระตุก ได้ด้วย ไม่ว่าจะกระตุกที่ดวงตาไปจนถึงที่ขา อาการกระตุกสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกายของเรา วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ อาการกล้ามเนื้อกระตุกที่เกิดจากความวิตกกังวล ว่าควรป้องกันอย่างไรดี [embed-health-tool-bmr] ความวิตกกังวล ทำให้กล้ามเนื้อกระตุก คืออะไร อาการกระตุกนั้นเป็นอาการอย่างหนึ่งเมื่อร่างกายเกิดความวิตกกังวล แต่ก็ไม่ได้หมายความทุก ๆ คนที่มีอาการวิตกกังวลจะเกิดอาการกระตุกได้ อาการกระตุก เป็นอาการของกล้ามเนื้อ หรือกลุ่มของกล้ามเนื้อเกิดการสั่นไหว เคลื่อนไหว โดยที่ไม่ได้ผ่านการสั่งการจากสมอง ซึ่งอาจจะเป็นเพียงการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยไปจนถึงการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น เช่น มือกระตุกขยับขึ้นลง อาการกล้ามเนื้อกระตุกที่เกิดจากความวิตกกังวล นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในกล้ามเนื้อทุก ๆ ส่วนของร่างกาย เมื่อเกิดอาการกระตุกอาจจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาที หรืออาจจะเกิดขึ้นนานกว่านั้นก็ได้ สำหรับบางคนอาจจะมีอาการกระตุกเกิดขึ้นได้เรื่อย ๆ กล้ามเนื้อที่ได้รับผลจากความวิตกกังวลมากที่สุดคือ กล้ามเนื้อบริเวณดวงตา อาการกล้ามเนื้อกระตุกที่เกิดจากความวิตกกังวลนั้นมักจะรุนแรงในช่วงก่อนนอน เพราะเป็นช่วงที่เรามักจะคิดวนเวียนถึงเรื่องที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล แต่เมื่อหลับไปแล้วอาการกล้ามเนื้อกระตุกก็จะหายไปเอง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณมีเรื่องให้คิดจนมีความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น ก็จะส่งผลให้อาการกล้ามเนื้อกระตุกนั้นรุนแรงขึ้นได้ อย่างไรก็ตามเมื่ออาการวิตกกังวลหายไป แต่อาการกล้ามเนื้อกระตุกอาจจะยังคงอยู่สักพัก และจะค่อย ๆ หายไปเองได้ สาเหตุที่ความวิตกกังวล ทำให้กล้ามเนื้อกระตุก ความวิตกกังวล ความวิตกกังวลจะทำให้ระบบประสาทปล่อยสารสื่อประสาทออกมา ซึ่งสารสื่อประสาทบางชนิดจะไปส่งสารให้กล้ามเนื้อนั้นกระขยับ จึงทำให้ร่างกายเกิดอาการกระตุก ความเครียด ความเครียดทำให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาทนั้นตึง เมื่อกล้ามเนื้อและเส้นประสาทนั้นตึงมาก ๆ […]


สุขภาพจิต

ทีเอ็มเอส (TMS) เครื่องกระตุ้นระบบประสาท ที่ช่วยในการรักษาโรคซึมเศร้า

เนื่องจาก โรคซึมเศร้า เกิดจากความผิดปกติของสมองที่หลั่งสารเคมีบางอย่างออกมา จนส่งผลกระทบต่อภาวะทางอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกที่ทำให้ผู้ป่วยมีทัศนคติในแง่ลบมากขึ้น และไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิตประจำวันอย่างที่เคย วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้ของการรักษาด้วย ทีเอ็มเอส (TMS) จากทางการแพทย์ เพื่อเป็นการทำความเข้าใจเบื้องต้น ให้ทุกคนได้ทราบก่อนเริ่มการรักษามาฝากกันค่ะ ทีเอ็มเอส (TMS) คืออะไร การรักษาด้วยทีเอ็มเอส (Transcranial magnetic stimulation; TMS ) คือ การกระตุ้นสมองอีกรูปแบบหนึ่ง โดยใช้คลื่นสนามแม่เหล็กเข้าไปช่วยปรับปรุงเซลล์ประสาทส่วนกลางของผู้ป่วยที่ประสบกับภาวะซึมเศร้า เพื่อนำไปสู่การควบคุมอารมณ์ ความคิดให้คงที่ ซึ่งการบำบัดด้วย TMS อาจจำเป็นที่ต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน ต่อสัปดาห์ แต่บางรายก็อาจต้องใช้ระยะเวลาบำบัดยาวนานเป็นเดือน ๆ ตามแต่การวินิจฉัยจากทางแพทย์ถึงอาการของผู้ป่วยแต่ละบุคคล ขั้นตอนในการรักษาด้วยทีเอ็มเอส (TMS) ก่อนการบำบัดด้วย TMS แพทย์อาจมีการซักประวัติทางสุขภาพ และเริ่มระบุจุดที่เหมาะสมที่สุดในการนำคลื่นสนามแม่เหล็กมาวางเอาไว้บนศีรษะ ซึ่งอาจใช้เวลาทั้งหมดในการบำบัดถึง 60 นาที ด้วยกันตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ แพทย์ หรือผู้ช่วย จะนำพาคุณไปนั่งบนเก้าอี้ที่ให้ความสะดวกสบาย จากนั้นจะเริ่มทำการสวมอุปกรณ์ป้องกันหู เพื่อลดเสียงดังจากเครื่องบำบัด ทำการนำเครื่องบำบัดแบบแนบชิดศีรษะ ที่มีขดลวดในการกระจายสนามแม่เหล็ก เปิดเครื่องบำบัดตามช่วงเวลาที่แพทย์ได้กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นการบำบัด แพทย์จะทำการปิดเครื่อง พร้อมให้คำแนะนำ และทำการนัดหมายเพื่อการบำบัดอีกครั้ง ในช่วงระยะเวลาถัดไป ซึ่งปกติแล้วหลังจากการบำบัดคุณสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติในทันที […]


การจัดการความเครียด

ฝึกสมาธิ สร้างความสงบใจ ด้วยศาสตร์แห่ง ซาเซน (Zazen)

การมีสมาธิที่ดี เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญ ที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพจิตที่ดี เพราะสภาพจิตใจที่ว้าวุ่น ไร้สมาธิ และเต็มไปด้วยความกังวลใจนั้น อาจจะนำไปสู่ความเครียดและความวิตกกังวลได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาพาทุกคนมารู้จักกับ ซาเซน หลักการทำสมาธิ ที่โดดเด่นในเรื่องของการฝึกจิตและการสงบใจ เพื่อการสร้างสมาธิ และสุขภาพจิตที่ดีขึ้นของเรากันค่ะ ทำความรู้จักกับศาสตร์แห่ง ซาเซน ซาเซน (Zazen) คือเทคนิคการฝึกสมาธิรูปแบบหนึ่ง ตามหลักความเชื่อแบบเซน (Zen) นิกายหนึ่งในพุทธศาสนามหายาน ที่นับถือกันอย่างแพร่หลายในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แนวความคิดแบบเซนนั้นมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย และพัฒนาต่อที่ประเทศจีน ก่อนที่แนวคิดนี้จะถูกเผยแพร่เข้าสู่ประเทศเกาหลีและญี่ปุ่นต่อมาในภายหลัง วิธีการปฏิบัติธรรมตามหลักของซาเซนนั้นจะมีอยู่ 4 วิธีหลัก ๆ คือการนั่งสมาธิ การเดินจงกรม การศึกษาพระธรรม และการทำงาน โดยมีเป้าหมายหลักของการปฏิบัติซาเซน อยู่ที่การเพิกเฉยต่อความคิดทั้งปวง ให้ตัวผู้ปฏิบัติธรรมได้รับรู้สึกสัมผัสและความรู้สึกทั้งหมดที่เกิดขึ้นและผ่านไป ทำให้ตระหนักถึงความเป็นจริง ว่าไม่มีสิ่งใจจีรังยั่งยืน ทำให้สามารถปล่อยวาง และเกิดความสงบขึ้นในจิตใจได้ ประโยชน์ของการฝึกสมาธิตามหลักของซาเซน การฝึกสมาธิแบบซาเซนนั้น นอกเหนือจากจะทำให้มีจิตใจที่สงบ ไม่ฟุ้งซ่านแล้ว ยังอาจส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายดังต่อไปนี้ ช่วยลดความเครียด มีงานวิจัยที่พบว่า การทำสมาธิแบบซาเซนเป็นประจำ สามารถช่วยลดความวิตกกังวลและความเครียด สองปัจจัยหลักที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพทั้งสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากการฝึกสมาธินั้นจะทำให้ผู้ฝึกรู้สึกถึงความเงียบสงบและความสงบ หลายคนยังเลือกวิธีการฝึกสมาธิเพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต เช่น โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า ได้อีกด้วย การบำบัดยาเสพติด หลักการฝึกสมาธิแบบซาเซนนั้นถูกใช้เป็นหนึ่งในโปรแกรมของแผนการบำบัดยาเสพติดที่ประเทศไต้หวัน เนื่องจากการฝึกแบบซาเซนนั้นสามารถช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน