สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

เช็กอาการ PTSD หลังแผ่นดินไหว และวิธีการรับมือ

แผ่นดินไหว คือภัยพิบัติทางธรรมชาติจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน โดยเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของชั้นหินและดิน ซึ่งอาจมีตั้งแต่การสั่นสะเทือนระดับเบาไปจนถึงรุนแรง และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ถนนหรือตึก และอาจส่งผลให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเกิดความวิตกกังวลหรือภาวะ PTSD ได้หลังจากนั้น [embed-health-tool-bmi] PTSD ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว PTSD (Post-traumatic stress disorder) คือ ความผิดปกติของสภาพจิตใจที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์รุนแรง ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยปกติแล้ว คนที่ผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงอาจจะปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ในช่วงสั้น ๆ ได้ยาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการก็มักจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หากอาการยังคงไม่ดีขึ้นแม้เวลาจะผ่านไป และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ก็จะถือว่าคนนั้นมีอาการ PTSD ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหว 7.7 ริกเตอร์ที่เมียนมาร์ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนไปจนถึงประเทศโดยรอบ รวมไปถึงประเทศไทย จนทำให้เกิดเหตุการณ์ตึกถล่ม ซึ่งส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งคนที่อยู่ในเหตุการณ์ คนใกล้เคียง หรือแม้แต่ผู้ที่ได้รับรู้ผ่านทางข่าวจากช่องทางต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีโอกาสเกิด PTSD จากเหตุการณ์นี้ได้ทั้งสิ้น  การเข้ารับการรักษาหลังจากมีอาการ PTSD เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถรับมือและจัดการกับสภาพจิตใจให้ดียิ่งขึ้นได้ อาการ PTSD อาการ PTSD มักจะปรากฏภายในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากเหตุการณ์รุนแรง แต่บางคนอาจมีอาการหลังจากนั้นหลายปีก็ได้เช่นกัน  อาการของ PTSD ที่พบได้ มีดังนี้ มองเห็นเหตุการณ์เดิมซ้ำ ๆ […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

การจัดการความเครียด

ฝึกสมาธิ สร้างความสงบใจ ด้วยศาสตร์แห่ง ซาเซน (Zazen)

การมีสมาธิที่ดี เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญ ที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพจิตที่ดี เพราะสภาพจิตใจที่ว้าวุ่น ไร้สมาธิ และเต็มไปด้วยความกังวลใจนั้น อาจจะนำไปสู่ความเครียดและความวิตกกังวลได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาพาทุกคนมารู้จักกับ ซาเซน หลักการทำสมาธิ ที่โดดเด่นในเรื่องของการฝึกจิตและการสงบใจ เพื่อการสร้างสมาธิ และสุขภาพจิตที่ดีขึ้นของเรากันค่ะ ทำความรู้จักกับศาสตร์แห่ง ซาเซน ซาเซน (Zazen) คือเทคนิคการฝึกสมาธิรูปแบบหนึ่ง ตามหลักความเชื่อแบบเซน (Zen) นิกายหนึ่งในพุทธศาสนามหายาน ที่นับถือกันอย่างแพร่หลายในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แนวความคิดแบบเซนนั้นมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย และพัฒนาต่อที่ประเทศจีน ก่อนที่แนวคิดนี้จะถูกเผยแพร่เข้าสู่ประเทศเกาหลีและญี่ปุ่นต่อมาในภายหลัง วิธีการปฏิบัติธรรมตามหลักของซาเซนนั้นจะมีอยู่ 4 วิธีหลัก ๆ คือการนั่งสมาธิ การเดินจงกรม การศึกษาพระธรรม และการทำงาน โดยมีเป้าหมายหลักของการปฏิบัติซาเซน อยู่ที่การเพิกเฉยต่อความคิดทั้งปวง ให้ตัวผู้ปฏิบัติธรรมได้รับรู้สึกสัมผัสและความรู้สึกทั้งหมดที่เกิดขึ้นและผ่านไป ทำให้ตระหนักถึงความเป็นจริง ว่าไม่มีสิ่งใจจีรังยั่งยืน ทำให้สามารถปล่อยวาง และเกิดความสงบขึ้นในจิตใจได้ ประโยชน์ของการฝึกสมาธิตามหลักของซาเซน การฝึกสมาธิแบบซาเซนนั้น นอกเหนือจากจะทำให้มีจิตใจที่สงบ ไม่ฟุ้งซ่านแล้ว ยังอาจส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายดังต่อไปนี้ ช่วยลดความเครียด มีงานวิจัยที่พบว่า การทำสมาธิแบบซาเซนเป็นประจำ สามารถช่วยลดความวิตกกังวลและความเครียด สองปัจจัยหลักที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพทั้งสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากการฝึกสมาธินั้นจะทำให้ผู้ฝึกรู้สึกถึงความเงียบสงบและความสงบ หลายคนยังเลือกวิธีการฝึกสมาธิเพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต เช่น โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า ได้อีกด้วย การบำบัดยาเสพติด หลักการฝึกสมาธิแบบซาเซนนั้นถูกใช้เป็นหนึ่งในโปรแกรมของแผนการบำบัดยาเสพติดที่ประเทศไต้หวัน เนื่องจากการฝึกแบบซาเซนนั้นสามารถช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจ […]


สุขภาพจิต

ยาที่ทำให้ซึมเศร้า 5 ชนิดเหล่านี้ คุณกำลังใช้อยู่รึเปล่า

ในปัจจุบันนี้ เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักกับ โรคซึมเศร้า ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ  ทั้งปัญหาทางสภาพจิตใจ และสภาพร่างกาย แต่คุณรู้หรือไม่คะว่า ยาบางชนิดที่เรากำลังใช้กันอยู่ อาจจะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ ยาที่ทำให้ซึมเศร้า เหล่านั้นมีอะไรกันบ้าง มาหาคำตอบพร้อมกับ Hello คุณหมอ กันเลยค่ะ ทำไมยาบางชนิดจึงอาจทำให้ซึมเศร้า โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง จนส่งผลกระทบต่ออารมณ์และความรู้สึก ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นมักจะมีความคิดไปในแง่ลบ รู้สึกเบื่อหน่าย หมดความสนใจต่อสิ่งรอบข้าง เหม่อลอย รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า หรือแม้กระทั่งอยากที่จะทำร้ายตัวเอง ความผิดปกติของสารเคมีในสมองนั้นอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัญหาทางด้านพันธุกรรม ลักษณะนิสัย ความเครียด หรือแม้แต่กระทั่งความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย ที่ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนและสารเคมีอื่น ๆ  ภายในร่างกาย เมื่อเรารับประทานยาเข้าไป ยาเหล่านี้ก็จะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสารเคมีภายในร่างกาย ซึ่งยาบางชนิดก็อาจจะส่งผลกระทบต่อความรู้สึก เช่น ทำให้รู้สึกเศร้า หมดหวัง ไม่อยากมีชีวิต หรือแม้กระทั่งอยากที่จะทำร้ายตัวเอง ซึ่งผลข้างเคียงที่เกิดจากยาเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ก็มีความเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าด้วยกันทั้งสิ้น 5 ยาที่ทำให้ซึมเศร้า มีอะไรบ้าง ยาในกลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-Blockers) ยาในกลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ เป็นยาที่แพทย์มักจะสั่งเพื่อใช้เป็นยาลดความดัน สำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังอาจใช้เพื่อรักษาสภาวะที่เกี่ยวข้องกับหัวใจต่าง ๆ  เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ อาการปวดเค้นหัวใจ หัวใจล้มเหลว หรือแม้กระทั่งอาการปวดหัวไมเกรนต่าง ๆ […]


การจัดการความเครียด

ความกังวลส่งผลต่อการรับรส ให้เปลี่ยนไปได้จริง หรือแค่คิดไปเอง

เมื่อเกิดความเครียดและความวิตกกังวล นอกจากจะสร้างความไม่สบายใจให้กับตัวเองแล้ว ปัญหาความเครียดและความวิตกกังวลเหล่านี้ ยังส่งผลต่อร่างกายในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หายใจถี่ขึ้น ความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับแต่ละคน ที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ ความวิตกกังวลยังส่งผลต่อการรับรส อีกด้วย ซึ่งเป็นผลกระทบที่หลาย ๆ คนอาจไม่เข้าใจว่าเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปหาคำตอบว่า ความเครียด ความกังวลส่งผลต่อการรับรส ได้อย่างไร ความเครียดและความกังวลส่งผลต่อการรับรส ได้อย่างไร จากงานวิจัยพบว่า สำหรับบางคนเมื่อเกิดความเครียดหรือความวิตกกังวล การรับรสชาติบางรสชาติอาจจะรับรสได้น้อยลง จากการวิจัยในปี 2012 พบว่า ความเครียดมีส่วนทำให้การรับรสชาติเค็มและหวานลดลง ทำให้ในช่วงที่เกิดเครียด จะทำให้พวกเขารับประทานอาหารรสชาติเค็มขึ้นและหวานขึ้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในปี ค.ศ. 2011 ที่ได้ทำการวิจัยผู้ที่ตกอยู่ในสถาการณ์ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล เช่น การที่ต้องพูดในที่สาธารณะ การแก้ไขโจทย์คณิตศาสตร์ที่ยาก จากการทดลองพบว่า เมื่อพวกเขาเกิดความวิตกกังวล การรับรสหวานลดลง และทำให้พวกเขารับประทานอาหารรสชาติหวานมากขึ้น นอกจากรสชาติหวานและเค็มแล้ว สำหรับบางคนเมื่อเกิดความเครียด อาจทำให้ปากได้รสชาติรสโลหะอีกด้วย ซึ่งแพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า รสชาติโลหะที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ แต่แพทย์คาดว่าเมื่อเกิดความเครียดจนทำให้ปากแห้ง ทำให้น้ำลายในปากน้อยลง จนปากเกิดรสชาติขมและรสโลหะ วิธีแก้ปัญหาเมื่อ ความกังวลส่งผลต่อการรับรส […]


โรควิตกกังวล

ความวิตกกังวลและการนอนไม่หลับ มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

ความวิตกกังวลทำให้นอนไม่หลับ หรือการนอนไม่หลับทำให้เกิดความวิตกกังวล คำถามนี้อาจเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ คนที่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับความวิตกกังวลและการนอนไม่หลับ หรือความจริงแล้ว ความวิตกกังวลและการนอนไม่หลับ อาจจะมีความเชื่อมโยงต่อกัน ทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน ความวิตกกังวลและการนอนไม่หลับ มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ความวิตกกังวล คือ การตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่อความเครียด โดยที่คุณจะมีความรู้สึกหวาดกลัว หรือกลัวว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป คุณอาจมีโรควิตกกังวล หากมีความรู้สึกดังต่อไปนี้ วิตกกังวลสุดขีด มีความรู้สึกวิตกกังวลเป็นเวลาประมาณ 6 เดือนหรือนานกว่านั้น ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกำลังรบกวนชีวิตประจำวัน หรือความสัมพันธ์ของคุณ ส่วน การนอนไม่หลับ เป็นศัพท์ทางการแพทย์ที่เอาไว้ใช้สำหรับการนอนหลับยาก ซึ่งอาจรวมถึง นอนหลับยาก มีปัญหาในการนอนหลับ ตื่นเช้าเกินไป ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกเหนื่อย จากข้อมูลของ Mental Health America ระบุเอาไว้ว่า ความเครียดทำให้คนอเมริกัน 2 ใน 3 เกิดอาการนอนไม่หลับ นอกจากนี้ ยังสังเกตด้วยว่า นิสัยการนอนหลับที่ไม่ดีนั้นเชื่อมโยงกับปัญหาต่าง ๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวล ตามรายงานของ Harvard Health Publishing ปัญหาการนอนหลับส่งผลกระทบต่อผู้ใหญ่ที่เป็นโรควิตกกังวลทั่วไปมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า “ความวิตกกังวลทำให้นอนไม่กลับ หรือการนอนไม่หลับทำให้เกิดความวิตกกังวลหรือไม่” โดยส่วนใหญ่แล้ว การอดนอนสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรควิตกกังวล การนอนไม่หลับยังสามารถทำให้อาการของโรควิตกกังวลแย่ลงหรือป้องกันการฟื้นตัวจากโรควิตกกังวลได้ นอกจากนั้น ความวิตกกังวลยังสามารถส่งผลทำให้การนอนหลับหยุดชะงักได้บ่อยครั้งในรูปแบบของการนอนไม่หลับ หรือฝันร้าย ความจริงแล้ว […]


การจัดการความเครียด

วิธีรับมือเมื่อต้อง อยู่คนเดียวช่วงเทศกาล ทำยังไงไม่ให้เหงาจนกระทบสุขภาพ

ในช่วงเทศกาล โดยเฉพาะเทศกาลที่มีวันหยุดยาวอย่างปีใหม่ หรือสงกรานต์ ถือเป็นโอกาสดีที่คนส่วนใหญ่จะได้หยุดงาน และได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว หรือคนรัก แต่ก็ยังมีคนอีกส่วนหนึ่งที่ต้อง อยู่คนเดียวช่วงเทศกาล ไม่ได้ไปเฉลิมฉลองกับคนที่พวกเขารัก ยิ่งช่วงนี้ โรคโควิด-19 ระบาดรุนแรงขึ้น จนทำให้การเดินทาง และการพบปะ หรือใช้เวลาร่วมกับผู้อื่นกลายเป็นเรื่องยาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนส่วนใหญ่จะต้องอยู่คนเดียว หรือรู้สึกเหงามากเป็นพิเศษ ว่าแต่เราจะรับมือกับความเหงาอย่างไรไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ Hello คุณหมอ จะพาไปดูกันเลย วิธีรับมือเมื่อต้อง อยู่คนเดียวช่วงเทศกาล ทำความเข้าใจว่าคุณไม่ได้ตัวคนเดียว การต้องอยู่คนเดียวในช่วงเทศกาลอาจทำให้คุณรู้สึกเหงาและว้าเหว่ ยิ่งคุณต้องการใช้เวลาร่วมกับครอบครัว เพื่อน หรือคนรักมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งเหงามากขึ้นเท่านั้น แต่คุณควรจำไว้ว่า แม้คุณจะต้องอยู่ลำพัง ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณตัวคนเดียว หรือไม่มีใคร เพราะเดี๋ยวนี้ สัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตครอบคลุมแทบจะทุกพื้นที่ คุณจึงสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่คุณคิดถึงผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นสื่อโซเชียล การวิดีโอคอล หรือการสนทนาแบบได้ยินแค่เสียงตามปกติ ทำให้ตัวเองรู้สึกดีและผ่อนคลาย การกำจัดความเหงาออกไปให้สิ้นซากอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่คุณก็บรรเทาความเหงาและทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นได้ ด้วยกิจกรรมผ่อนคลายสุดโปรดของคุณ เช่น การแช่น้ำอุ่น การอ่านหนังสือ การดูหนัง การฟังเพลง การเล่นเกม การเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ การใช้เวลาและมีสมาธิอยู่กับกิจกรรมโปรด จะทำให้คุณลืมความเหงาไปได้ ทั้งยังช่วยให้คุณรับรู้ถึงคุณค่าของตัวเอง หรือพึงพอในใจตัวเอง (Self-esteem) มากขึ้นด้วย ไม่หมกตัวอยู่แต่ในบ้าน แม้คุณจะไม่ได้ใช้เวลาร่วมกับคนที่คุณต้องการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องอยู่คนเดียวตลอดช่วงเทศกาล […]


การจัดการความเครียด

สู้หรือหนี กลไกรับมือความเครียด ที่คุณควรรู้จักให้ดีขึ้น

เวลาต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ตึงเครียด เจอเหตุการณ์อันตราย หรือมีภัยคุกคาม ร่างกายของเราจะรับมือกับสภาวะเหล่านั้นด้วยการตอบสนองแบบ สู้หรือหนี เพื่อความอยู่รอด ว่าแต่การตอบสนองแบบสู้หรือหนีที่ว่าคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร เราไปหาคำตอบจากบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันเลย การตอบสนองโดยการ สู้หรือหนี คืออะไร การตอบสนองโดยการสู้หรือหนี (Fight-or-Flight Response) หรือที่เรียกว่า การตอบสนองต่อความเครียดแบบฉับพลัน (Acute Stress Response) เป็นปฏิกิริยาทางสีรระ หรือการตอบสนองทางร่างกาย (Physiological Response) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความหวาดกลัวทางกายหรือทางจิตใจ ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อสมองหลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวและเตรียมพร้อมที่จะสู้ หรือหนีเอาตัวรอดจากสถานการณ์เหล่านั้น ตัวอย่างสถานการณ์ที่ร่างกายมักตอบสนองด้วยสภาวะสู้หรือหนี เช่น การเหยียบเบรก เพราะรถคันหน้าหยุดกะทันหัน ออกไปเดินเล่นแล้วเจอสุนัขขู่ สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะ สู้หรือหนี เมื่อต้องเผชิญกับความเครียดที่เกิดขึ้นทันที (Acute Stress) สมองของเราจะหลั่งฮอร์โมนบางชนิดออกมากระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System; SNS) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System; ANS) มีหน้าที่ตอบสนองหรือรับมือกับความเครียด หรือที่เรียกว่า ภาวะสู้หรือหนี นั่นเอง หลังจากระบบซิมพาเทติกทำงาน ต่อมหมวกไตจะถูกกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนในกลุ่มแคททีโคลามีน (Catecholamines) อย่างนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และเอพิเนฟริน (Epinephrine) หรือที่เรียกว่าอะดรีนาลีน (Adrenaline) […]


การจัดการความเครียด

รู้หรือไม่? การ สวดมนต์ มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด

การ สวดมนต์ ถือว่าเป็นพิธีกรรมทางศาสนาพุทธที่ปฏิบัติสืบเนื่องมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ศึกษาหลักธรรมในรูปแบบของการสวดมนต์ นอกจากนี้เสียงที่เปล่งออกมาขณะนั่งสวดมนต์ยังส่งผลดีต่อสุขภาพอีกด้วย แต่จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความ Hello คุณหมอ ค่ะ สวดมนต์ พุทธคุณบำบัดจิตใจ  การ สวดมนต์ ในทางศาสนพุทธ  หรือทางภาษาธรรมที่เรียกว่า พุทธวจนะ คือการสวดมนต์เพื่อถ่ายทอดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า หากเราสวดมนต์เป็นประจำทุกวันเช้า-เย็น ไม่เพียงแต่ส่งผลดีทางด้านสุขภาพจิตใจ แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพกายอีกด้วย  อย่างไรก็ตาม การสวดมนต์ของทุกศาสนา ถือได้ว่าเป็นการประกอบพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่ในสมัยบรรพบุรุษสืบเนื่องต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน  โดยอานิสงส์ของการสวดมนต์นั้นไม่ว่าจะในศาสนาไหนก็ส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ เช่น ฝึกสมาธิ บำรุงสุขภาพหัวใจ ปรับสมดุลระบบการหายใจ  ช่วยบรรเทาความวิตกกังวล ความเศร้า ช่วยส่งเสริมสภาพจิตใจ เป็นต้น  สวดมนต์บำบัดสุขภาพกาย-สุขภาพใจ ดร.นพ.ธวัชชัย อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า การสวดมนต์นั้น ถือเป็นทางออกอย่างหนึ่งที่จะบำบัดโรคได้  ซึ่งการสวดมนต์นั้นไม่ได้เพียงแต่จะช่วยบำบัดทางด้านสุขภาพใจแต่ยังบำบัดทางด้านสุขภาพกายได้เป็นอย่างดี   การสวดมนต์บำบัด คือหลักการหนึ่งของ Vibrational Therapy เป็นการใช้คุณสมบัติของคลื่นเสียงบางคลื่นที่มีความสม่ำเสมอมาบำบัดความเจ็บป่วย หากสวดมนต์ 10-15 นาทีขึ้นไป จะทำให้ร่างกายหลั่งสารซีโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีคุณสมบัติ ช่วยควบคุมความหิว ควบคุมอารมณ์   อย่างไรก็ตาม ได้มีผลการศึกษา การวิจัยที่ระบุว่า หลักการของ Vibrational Therapy ในการสวดมนต์ สามารถช่วยบำบัดสุขภาพได้เป็นที่น่าพอใจ เช่น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อยู่คนเดียว สร้างความสุขให้กับชีวิตได้อย่างไร

การอยู่คนเดียว มีข้อดีมากมายอาจส่งผลดีทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต เนื่องจากอาจช่วยเพิ่มสมาธิ ทำให้จดจ่อกับสิ่งที่ทำมากขึ้น รวมถึงได้เริ่มต้นทำสิ่งใหม่ ๆ อย่างอิสระ และอาจทำให้เห็นถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ที่ควรรักษาไว้ การใช้ชีวิตคนเดียวบ้างจึงอาจช่วยเพิ่มความสุขให้กับชีวิตมากขึ้น อยู่คนเดียว คืออะไร การอยู่คนเดียว ไม่ได้หมายความว่าจะต้องรู้สึกเหงาเสมอไป มีผลการศึกษาวิจัยและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมายที่ระบุว่า การใช้เวลาคุณภาพ (Quality Time) ตามลำพังในระยะเวลาที่เหมาะสม จัดเป็นการมีสุขภาวะที่ดีเช่นกัน ซึ่งคำว่า สุขภาวะ (Well-Being) ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก (WHO) หมายถึง ไม่ใช่เฉพาะความไม่พิการและไม่เป็นโรคเท่านั้น ยังหมายถึงสภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต และทางสังคม อีกทั้งนักวิจัยยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ยิ่งทำกิจกรรมนั้น ๆ ตามลำพัง โดยปราศจากสิ่งรบกวน ความคิดเห็น หรืออิทธิพลจากบุคคลอื่น ก็ยิ่งจะดีต่อสุขภาพของมากขึ้นไปอีก ในทางตรงกันข้าม คนที่มีโลกส่วนตัวสูง ก็ไม่จำเป็นต้องอยู่คนเดียวตลอดเวลา แต่ควรมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือเข้าสังคมบ้าง สิ่งสำคัญคือ การอยู่คนเดียวไม่ได้เท่ากับความเหงา เนื่องจากความเหงา หมายถึง การต้องอยู่โดดเดี่ยว หรือแยกตัวออกไปอยู่ลำพัง ทั้งที่ใจจริงอยากมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม ส่วนการอยู่คนเดียว หมายถึง การใช้เวลาอยู่กับตัวเองตามลำพัง แต่ก็ยังมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วย ไม่ได้ตัดขาดจากสังคม ข้อดีของการอยู่คนเดียว งานวิจัยหลายชิ้นเผยว่า การตัดขาดจากสังคม หรืออยู่สันโดษนานเกินไปสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ แต่หากใช้เวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามลำพังบ้างเป็นครั้งคราว […]


โรควิตกกังวล

โรคแพนิค คือ อะไร รับมืออย่างไร

โรคแพนิค คือ โรคที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้จากความกลัว ความวิตกกังวล และความเครียดต่าง ๆ  โดยเฉพาะเมื่ออาการแพนิคกำเริบ จะทำอะไรไม่ถูก เหงื่อออก หนาวสั่น หัวใจเต้นแรง มักเกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย หรือเจอคนแปลกหน้า หรือสถานที่ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกในทางลบ [embed-health-tool-bmi]  โรคแพนิค คือ อะไร โรคแพนิค (Panic) คือ ความรู้สึกตื่นตระหนก ความหวาดกลัวที่มักจะเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ แต่อาจจะมีความรุนแรง เมื่อโรคแพนิคกำเริบมักจะทำให้มีอาการ ดังนี้ รู้สึกกลัว เหงื่อออก หนาวสั่น หัวใจเต้นแรง ตัวสั่น เวียนหัว หายใจลำบาก รู้สึกปวดหัวและเจ็บที่หน้าอก อาการเหล่าที่แสดงออกมาเหล่านี้ เป็นการตอบสนองของร่างกายเมื่อรู้สึกกลัว ซึ่งสร้างความรู้สึกไม่สบายใจและทุกข์ใจเป็นอย่างมาก บางครั้งอาจไม่มีการดูแลอย่างถูกต้อง หรือผู้ที่อาการแพนิคกำเริบที่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ อาจทำให้เกิดอาการหัวใจวายหรือเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ ได้ วิธีรับมือ โรคแพนิค คือ  เมื่ออาการแพนิคกำเริบมักจะทำให้ผู้ที่อาการกำเริบรู้สึกกระวนกระวายใจ กลัว ตื่นตระหนก จนบางครั้งทำอะไรไม่ถูก สำหรับผู้ที่มีคนใกล้ตัวมีอาการแพนิคกำเริบคุณสามารถช่วยบรรเทาอาการตื่นตระหนกและช่วยทำให้เขาดีขึ้นได้ด้วยวิธีการเหล่านี้ ช่วยให้เขาใจเย็นลง ส่วนใหญ่แล้วอาการแพนิคมักจะกำเริบภายในเวลา 5-10 นาที ในช่วงเวลานั้นพวกเขามักจะรู้สึกหวาดกลัว สิ่งที่คุณทำได้คือพยายามทำให้เขาใจเย็นลง โดยการพูดอย่างใจเย็น และควรใช้น้ำเสียงที่ฟังแล้วช่วยให้เขาสบายใจขึ้น ที่สำคัญต้องพูดให้เขามั่นใจว่าคุณจะยังอยู่ข้าง ๆ ไม่ไปไหนและคอยปลอบว่าเขาจะปลอดภัยดี […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

กลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder หรือ Social Phobia)

กลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder /Social Phobia)  ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความผิดปกติทางสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยที่สุด โดยผู้ป่วยมักมีอาการประหม่า เหงื่ออกตามมือ วิตกกังวล เมื่อต้องเข้าสังคม คำจำกัดความกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder หรือ Social Phobia) คืออะไร โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder หรือ Social Phobia)  ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความผิดปกติทางสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยที่สุด โดยผู้ป่วยมักมีอาการประหม่า เหงื่อออกตามมือ เกิดอาการวิตกกังวล เมื่อต้องเข้าสังคม เช่น พูดคุยกับคนแปลกหน้า พูดในที่สาธารณะ รับประทานอาหารต่อหน้าคนอื่น พบบ่อยแค่ไหน                                                   สมาคมโรควิตกกังวลและซึมเศร้าแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Anxiety and Depression Association of America : ADDA) พบว่า อาการของโรคกลัวการเข้าสังคมอาจเริ่มตั้งแต่อายุ 13 ปี อาการอาการของ โรคการกลัวการเข้าสังคม อาการทั่วไปของ โรคกลัวการเข้าสังคม แบ่งออกเป็นทางด้านร่างกาย และทางด้านอารมณ์ โดยมีอาการแสดงออก ดังต่อไปนี้ อาการแสดงออกทางร่างกาย หน้าแดง หัวใจเต้นเร็ว ตัวสั่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน