สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

ความผิดปกติทางอารมณ์

โรคแพนิค อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรคแพนิค หรือโรคตื่นตระหนก คือ โรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยมีภาวะตื่นตระหนกหรือตกใจกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งอย่างกะทันหันโดยไม่มีสาเหตุ อาการแพนิคสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจนบางครั้งอาจส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ หากพบว่ามีอาการที่อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคควรไปพบคุณหมอเพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาตามดุลยพินิจของคุณหมอ โรคแพนิค คืออะไร โรคแพนิค (Panic Disorder) คือ โรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง หรือที่เรียกว่า “โรคตื่นตระหนก” ซึ่งโรคแพนิคจะแตกต่างจากอาการหวาดกลัวหรือวิตกกังวลทั่วไป เนื่องจากผู้ป่วยอาจเกิดอาการวิตกกังวลหรือตกใจกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาอย่างฉับพลันโดยไม่สมเหตุสมผล อาการแพนิคอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาและอาจส่งผลทำให้ผู้ป่วยเป็นกังวล ตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก จนไม่กล้าออกไปไหน และอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตในประจำวันได้  โรคแพนิคพบได้บ่อยแค่ไหน โรคแพนิคมักพบในช่วงอายุ 15-25 ปี หรือในช่วงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการป่วยที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจในวัยเด็ก รวมถึงภาวะโรคร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคกลัวการเข้าสังคม นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่อาจเคยมีอาการแพนิค 1-2 ครั้งในชีวิต โดยความถี่ในการเกิดอาการแพนิคอาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล  อาการโรคแพนิค อาการของโรคแพนิคอาจใช้เวลาประมาณ 5-20 นาที หรืออาจนานเป็นชั่วโมงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยอาการที่พบได้ทั่วไปของโรคแพนิค อาจมีดังนี้  หัวใจเต้นเร็ว  หายใจลำบาก หรือหายใจถี่  เหงื่อออกมากผิดปกติ  วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย  ชาบริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า  คลื่นไส้  ปวดท้อง ท้องไส้แปรปรวน  หวาดกลัว วิตกกังวล ควรไปพบคุณหมอเมื่อไหร่  หากมีอาการข้างต้น หรือมีอาการบ่อยขึ้น และใช้เวลานานกว่าจะกลับมาเป็นปกติ […]


สุขภาพจิต

โรคจิตเภท หรือ Schizophrenia คืออะไร มีอาการและสาเหตุอย่างไร

โรคจิตเภท หรือ Schizophrenia คือ โรคทางจิตที่รุนแรงและเรื้อรัง มักส่งผลต่อความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม ทำให้ผู้ป่วยมีอาการวิตกกังวล หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม เห็นภาพหลอน เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตในประจำวัน ผู้ป่วยโรคจิตเภทส่วนใหญ่มักไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาตลอดชีวิต แต่อาจสามารถควบคุมอาการต่าง ๆ ได้ด้วยการรักษาที่เหมาะสมตามอาการของแต่ละบุคคล  Schizophrenia คือ อะไร  โรคจิตเภท หรือ Schizophrenia คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติทางจิต ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง รวมถึงอาจมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จนส่งผลให้ไม่สามารถใช้ชีวิตในสังคมและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการประมาณอายุ 16-30 ปี หรือช่วงวัยรุ่นตอนปลาย  อาการของ Schizophrenia หรือโรคจิตเภท อาการของ Schizophrenia อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้ดังนี้ อาการเชิงบวก หลงผิด ซึ่งเป็นความเชื่อของผู้ป่วยที่เชื่อในสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น คิดว่าคนอื่นจะมาทำร้าย ประสาทหลอน โดยผู้ป่วยอาจเห็น ได้กลิ่น รับรส หรือรู้สึก รวมถึงได้ยินเสียงในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ความผิดปกติด้านความคิด โดยผู้ป่วยอาจมีกระบวนการความคิดผิดปกติหรือมีความคิดไม่เป็นเหตุเป็นผล บางครั้งอาจหยุดพูดกลางคัน หรือสร้างหัวข้อใหม่ขึ้นมาทั้งที่สองเรื่องไม่ได้เกี่ยวข้องกัน ความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหว […]


การจัดการความเครียด

วิธีแก้เครียด คิดมาก ด้วยตัวเอง

ความเครียด เป็นการตอบสนองทางจิตใจหรือร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญความกดดัน ความทุกข์ ความวิตกกังวล เป็นต้น จนส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความคิดและพฤติกรรม วิธีแก้เครียด คิดมาก นั้นมีด้วยกันหลายวิธี วิธีที่ทำเองได้ เช่น การออกกำลังกาย การใช้เวลาร่วมกับคนรอบข้าง การนั่งสมาธิ ทั้งนี้ หากอยากรู้ว่ากำลังเครียดหรือไม่ อาจสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพหรือพฤติกรรม เช่น กินอาหารได้น้อยลงหรือมากขึ้น หงุดหงิดง่าย  ซึ่งอาจต้องหาวิธีแก้เครียดโดยเร็ว โดยอาจปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ทราบวิธีที่เหมาะสมและปลอดภัยที่สุด ไม่ควรปล่อยให้เครียดสะสม เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรง และส่งผลต่อการใช้ชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] สัญญาณเตือนภาวะเครียด คิดมาก พฤติกรรมและปัญหาสุขภาพเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณของภาวะเครียด คิดมาก ไม่อยากอาหาร เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปเมื่ออยู่ในภาวะเครียด วิตกกังวล หรือคิดมาก เนื่องจากภาวะเหล่านี้อาจส่งผลกระทบกระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism) ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน เมื่อกระบวนการเมแทบอลิซึมผิดปกติ จึงอาจทำให้ไม่อยากอาหาร หรือกินอาหารได้น้อยลง กินอาหารมากเกินไป เมื่อเครียดหรือกดดัน ร่างกายจะหลั่งคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนเครียดออกมามากขึ้น และมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยการสู้หรือหนี (Fight-or-Flight Response) ซึ่งส่งผลให้สมองสั่งการให้ร่างกายสะสมพลังงานจากอาหารประเภทที่มีเกลือ น้ำตาล และไขมันสูง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญ หงุดหงิดง่าย หากเครียดสะสม อาจส่งผลให้หงุดหงิดและอารมณ์เสียกับเรื่องรอบตัวง่ายขึ้น […]


ความผิดปกติทางอารมณ์

อาการแพนิค ที่พบบ่อย และวิธีการรักษา

อาการแพนิค เป็นอาการตื่นตระหนกที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน กระตุ้นปฏิกิริยาที่แสดงออกทางพฤติกรรมอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหวาดกลัว เสียขวัญ สูญเสียการควบคุมร่างกาย เหงื่อออก ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม ในบางกรณีอาการแพนิคอาจรุนแรงมากส่งผลให้หัวใจวายหรือเสียชีวิตได้ บางคนอาจมีอาการเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวหรือบ่อยครั้ง ทั้งนี้ ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรักษาอาการแพนิคไม่ให้รุนแรงจนกระทบกับการใช้ชีวิต อาการแพนิค คืออะไร อาการแพนิค คือ อาการตื่นตระหนกมากกว่าปกติ อาจมีอาการหวาดกลัว ตื่นตกใจแม้ว่าจะไม่มีเหตุการณ์อันตรายใด ๆ เกิดขึ้นจริง อาจส่งผลให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการกระทำ หรือกิจวัตรประจำวันบางอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ตื่นตระหนกอีก โดยอาการแพนิคสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และอาจเริ่มตั้งอายุ 15-25 ปี พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการแพนิค แต่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อสมองของผู้ป่วยไวเป็นพิเศษในการตอบสนองต่อความกลัว อาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ สิ่งกระทบอารมณ์ที่ทำให้มีความรู้สึกด้านลบบ่อยครั้ง หรืออาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ การสูญเสียคนรัก อุบัติเหตุ สูญเสียทารก อาการแพนิค ที่พบบ่อย อาการแพนิคสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และมักเกิดขึ้นทันทีโดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า บางคนอาจมีอาการบ่อยครั้งหรือเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และหลังจากเกิดอาการแพนิค ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนแรง เหนื่อยล้าได้ อาการแพนิคที่พบบ่อย ดังนี้ เกิดความวิตกกังวล รู้สึกไม่สบายใจ เริ่มหลีกเลี่ยงบางสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกกลัว รู้สึกถึงอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้น คิดถึงอันตรายล่วงหน้าหรือการพลัดพราก กลัวตาย สูญเสียการควบคุม มีเสียงก้องในหู หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก ตัวสั่น […]


สุขภาพจิต

Social detox คืออะไร

บางคนอาจประสบปัญหาติดโซเชียลมีเดียมากจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น ใช้เวลาเล่นโซเชียลมีเดียเป็นเวลานาน ตัดขาดจากผู้คนรอบข้าง พักผ่อนน้อย มีปัญหาทางสายตา เกิดความเครียด และมีปัญหาด้านอารมณ์ การทำ Social detox (โซเชียลดีท็อกซ์) จึงอาจเป็นการลดหรือหยุดการใช้โซเชียลมีเดียในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตต่าง ๆ ให้ดีขึ้น  Social detox คืออะไร  Social detox คือ การบำบัดผู้ที่ติดโทรศัพท์มือถือหรือโซเซียลมีเดีย (Social Media) โดยใช้เวลาส่วนมากไปกับโลกออนไลน์ และเริ่มมีการหลีกเลี่ยงในการพบปะผู้คนในชีวิตจริง ซึ่งการทำโซเชียลดีท็อกซ์อาจช่วยบำบัดให้ลดการใช้โซเชียลมีเดียลง และอาจช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจและร่างกาย ซึ่งเหมือนกับการล้างสารพิษออกจากร่างกาย อาการของการติดโซเซียลมีเดีย  หากมีอาการเหล่านี้ อาจแสดงว่ากำลังติดโซเชียลมีเดียมากเกินไป เช่น  สมาธิสั้น วิตกกังวล ประสิทธิภาพในการทำงาน หรือเรียนหนังสือลดลง ปัญหาด้านการนอนหลับ   ออกกำลังกายน้อยลง ความอดทนต่ำลง  รู้สึกไม่มีคุณค่า เมื่อไม่ได้เป็นที่ยอมรับในโซเชียลมีเดีย เปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น  รู้สึกไม่พอใจกับชีวิตของตัวเอง ขาดการมีส่วนร่วมทางสังคม กระสับกระส่าย หงุดหงิดเมื่อไม่ได้เล่นโซเชียลมีเดีย ไม่สนใจสิ่งรอบข้างที่ไม่เกี่ยวข้องกับโซเชียลมีเดีย ไม่สามารถวางมือถือ หรือเลิกเล่นโซเชียลมีเดียขณะทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น รับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำ  ต้องโพสต์ข้อความ ถ่ายรูป อัพรูปลงโซเชียลทุกวัน สาเหตุของการติดโซเชียลมีเดีย ปัจจัยการติดโซเชียลมีเดีย อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น  อยู่คนเดียว รู้สึกเหงา ทำให้หันไปพึ่งการเล่นโซเชียลมีเดียเพื่อให้รู้สึกไม่ได้อยู่คนเดียว  มีความพึงพอใจในตัวเอง และต้องการเป็นจุดสนใจให้ผู้อื่นได้เห็น  เสพข้อมูล หรือเสพสื่อทางโซเชียลมีเดียจนเกิดความเคยชิน นอกจากนี้ อาจเกี่ยวข้องกับโดพามีน สารสื่อประสาทที่ร่างกายสร้างขึ้นและหลั่งออกมาอาจทำให้เกิดพฤติกรรมเสพติด เพราะเมื่อทำสิ่งใดแล้วรู้สึกมีความสุขหรือพึงพอใจ อาจทำให้ร่างกายกระตุ้นในการทำสิ่งนั้นซ้ำ ๆ และเพิ่มขึ้น จนอาจกลายเป็นพฤติกรรมที่ต้องทำสม่ำเสมอ  วิธีการ Social […]


สุขภาพจิต

ยิ่งเครียด สมองยิ่งล้า ความจำยิ่งถดถอย

ปฏิเสธไม่ได้ว่าไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบของผู้คนยุคนี้ รวมทั้งสถานการณ์รอบตัวในปัจจุบัน อาจส่งผลให้เกิด ‘ความเครียด’ หรือภาวะอารมณ์ที่รู้สึกถึงความบีบคั้นและกดดันเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว รู้หรือไม่ว่านอกจากความเครียดจะสร้างความวิตกกังวล และบั่นทอนความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อ ‘ความจำ’ ซึ่งทำให้สมองล้า และนำไปสู่ภาวะความจำถดถอยก่อนวัยได้ สมองคนเราเสื่อมลงตามอายุ เมื่ออายุย่างเข้า 30 ปี เซลล์สมองจะเริ่มหดตัวลงช้า ๆ ยิ่งหากมีปัจจัยความเครียดมาเสริม ก็ยิ่งทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง โดยเฉพาะผู้ใหญ่วัยกลางคนเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อปัญหาความเครียดมากที่สุด มักเริ่มมีสัญญาณของอาการความจำถดถอย และความทรงจำระยะสั้นลดลง ตลอดจนกลุ่มผู้สูงอายุในหลายครอบครัว ที่มีอาการหลง ๆ ลืม ๆ อาจจำไม่ได้ว่าวางกุญแจไว้ที่ไหน เรียกชื่อคนผิด ไม่สามารถทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันได้ รวมทั้งมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างช้าลง ภาวะความจำถดถอยกลายเป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั่วโลก เราจึงควรเตรียมพร้อมสำหรับการดูแลสุขภาพ ทั้งของตัวเอง พ่อแม่ และผู้สูงอายุในครอบครัว เพื่อจะได้รับมือและฟื้นฟูปัญหาความจำบกพร่องอย่างถูกวิธี กับ 5 เรื่องควรรู้ต่อไปนี้ 1. สาเหตุและปัจจัยเร่งเซลล์สมองเสื่อมที่ไม่ควรมองข้าม เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ประสิทธิภาพด้านการรับรู้และการจดจำจะเริ่มเสื่อมถอยลงตามธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกัน ก็ยังมีปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่เป็นตัวส่งให้เซลล์สมองของเราเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น โดยอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ สมองล้าและความเครียดสะสม : ภาวะความเครียด ส่งผลให้ปริมาณฮอร์โมนแห่งความเครียด หรือ คอร์ติซอล (Cortisol) เพิ่มสูงขึ้น มีผลทำให้ระบบประสาทและสมองส่วนความจำทำงานลดลง ในเบื้องต้นให้หมั่นสังเกตอาการของตัวเองว่ากำลังเผชิญกับความเครียดอยู่หรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการดังนี้ […]


การป้องกันการฆ่าตัวตาย

ฆ่าตัวตาย เกิดจากสาเหตุอะไร

ฆ่าตัวตาย หรือผู้ที่มีความคิดอยากจบชีวิตตัวเอง อาจเกิดจากการทำร้ายตัวเองด้วยความเจตนา ทั้งยังอาจเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บและความรุนแรงในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การถูกล่วงละเมิดในวัยเด็ก การกลั่นแกล้ง ความรุนแรงทางเพศ ปัญหาในครอบครัว หากคนในครอบครัว คนใกล้ชิด รวมถึงตนเอง เริ่มมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เช่น รู้สึกสิ้นหวังเริ่มมีภาวะซึมเศร้า ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำในการรักษา ฆ่าตัวตาย คืออะไร การฆ่าตัวตาย คือ สถานการณ์ร้ายแรงที่นำอาจนำไปสู่การเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัส ซึ่งในปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จกว่า 6.59 ต่อแสนประชากร โดยสัญญาณเตือนของผู้ที่มีความคิดฆ่าตัวตายอาจ มีดังนี้ แยกตัวออกจากสังคม ชอบอยู่คนเดียว อารมณ์แปรปรวน พูดเรื่องการฆ่าตัวตาย หมกมุ่นอยู่กับการตาย การใช้ความรุนแรงบ่อยครั้ง หาวิธีฆ่าตัวตาย เช่น ซื้อยา หรืออุปกรณ์ของมีคม รู้สึกสิ้นหวัง ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติดเพิ่มขึ้น ทำร้ายตัวเองหรือทำในสิ่งที่เสี่ยงนำไปสู่ความตาย เช่น ขับรถเร็ว ให้สิ่งของ หรือพูดสื่อสารเชิงอำลาแก่บุคคลสำคัญ ครอบครัว เพื่อน หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งควรรีบขอความช่วยเหลือจากคุณหมอทันที เพื่อหาวิธีพูดคุยให้เข้าใจถึงความรู้สึกของผู้ป่วย สาเหตุที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย  สาเหตุที่อาจทำให้เกิดความคิดฆ่าตัวตายอาจมาจากการสะสมความเครียดจนหาทางแก้ไขปัญหาที่ตัวเองเผชิญอยู่ไม่ได้ เช่น สภาวะทางเศรษฐกิจ การเงิน การงาน หรือปัญหาส่วนตัวจากสถานการณ์เลวร้ายจนฝังใจ โดยสาเหตุที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย อาจมีดังนี้ มีประวัติถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือโดนทำร้ายร่างกาย  ถูกกลั่นแกล้งรุนแรง สูญเสียคนสำคัญหรือมีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว เพื่อน ถูกสังคมหรือคนรอบข้างเหยียดรสนิยมทางเพศ ภาวะสุขภาพ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึมเศร้า ปัญหาสังคม เช่น เศรษฐกิจ การตกงาน การหย่าร้าง […]


การป้องกันการฆ่าตัวตาย

อยากตาย สัญญาณเตือนและสาเหตุที่พบในวัยรุ่น

ตามรายงานของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2562 มีเด็กและวัยรุ่นในช่วงอายุ 10-19 ปี ฆ่าตัวตาย 111 คน และวัยรุ่นช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป ฆ่าตัวตาย 667 คน ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ รอบตัว เช่น ปัญหาในโรงเรียน ปัญหาในครอบครัว อาจส่งผลให้วัยรุ่นในปัจจุบันมีความรู้สึก อยากตาย มากขึ้น สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นอยากตาย สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นอยากตาย หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย อาจมาจากช่วงวัยนี้มักมีความเครียดสะสม มีการเปลี่ยนแปลงทางความคิดหรือความรู้สึกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบางอย่าง จนอาจทำให้วัยรุ่นส่วนใหญ่กดดันตัวเองและรู้สึกว่าปัญหาที่พบเจอนั้นเอาชนะได้ยาก จึงอาจหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้วัยรุ่นคิดอยากฆ่าตัวตาย ความผิดปกติทางจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคไบโพลาร์ ความเครียดสะสม จนอาจทำให้รู้สึกสิ้นหวัง โดดเดี่ยว ประวัติครอบครัวที่มีปัญหาทางจิตเวช ประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น ถูกล่วงละเมิดทางเพศ โดนทำร้ายร่างกาย สูญเสียคนที่รัก ถูกกลั่นแกล้ง มีอคติจากผู้คนรอบข้างเกี่ยวข้องกับเพศที่ตัวเองเป็น สัญญาณเตือนของคนอยากตาย คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตสัญญาณเตือนความอยากตายของวัยรุ่นได้จากพฤติกรรมดังต่อไปนี้ พูดว่าอยากตายหรือพูดประโยคที่อาจสื่อว่าอยากตาย เช่น จะไม่เป็นตัวปัญหาอีกต่อไป เก็บตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าสังคม รู้สึกผิดหวัง สิ้นหวัง เขียนจดหมาย ข้อความอำลา หรือความในใจ ใช้สารเสพติดหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ไม่มีสมาธิ ทำร้ายตัวเอง เมื่อใดที่ควรพาลูกเข้าพบคุณหมอ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกเข้ารับการรักษาทันที หากลูกมีอาการ ดังต่อไปนี้ นอนไม่หลับติดต่อกัน 3 วันขึ้นไป แสดงพฤติกรรมแปลก ๆ […]


การป้องกันการฆ่าตัวตาย

การฆ่าตัวตาย ปัจจัยเสี่ยง และวิธีป้องกัน

การฆ่าตัวตาย เป็นเหตุการณ์ที่สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย สาเหตุที่ทำให้คนมีคิดอยากฆ่าตัวตายอาจมาจากปัจจัยที่พบเจอในชีวิตประจำวัน เช่น ความเครียด ความสิ้นหวัง ความสูญเสีย หรืออาจมาจากปัญหาสุขภาพ เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตเวช อย่างไรก็ตาม การสังเกตสัญญาณเตือนก่อนฆ่าตัวตาย อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุการณ์ฆ่าตัวตายได้ การฆ่าตัวตาย คืออะไร การฆ่าตัวตาย คือ การทำให้ตนเองเสียชีวิตโดยเจตนา ซึ่งอาจมีการวางแผนและผ่านกระบวนการคิดมาอย่างรอบคอบ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่า ทุก ๆ ปีจะมีประชากรทั่วโลกฆ่าตัวตายสำเร็จกว่า 700,000 คน ส่วนกรมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ระบุว่า ปีพ.ศ. 2563 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของคนไทยอยู่ที่ 7.37 คน ต่อประชากร 1 แสนคน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2562 ที่มีอัตราประชากรฆ่าตัวตายสำเร็จอยู่ที่ 6.64 ต่อประชากร 1 แสนคน นับว่าเป็นตัวเลขที่พุ่งขึ้นสูงอย่างเห็นได้ชัด สัญญาณเตือนก่อนฆ่าตัวตาย สัญญาณเตือนที่อาจบ่งบอกถึงความคิดอยากฆ่าตัวตาย เช่น อารมณ์แปรปรวนฉับพลัน กระวนกระวายใจ วางแผนหาทางฆ่าตัวตาย  ใช้สิ่งกระตุ้นอย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสารเสพติดบ่อยขึ้น พูดถึงปัญหาที่อาจไม่มีทางแก้ ความสิ้นหวัง อยากฆ่าตัวตาย โทษตนเองว่าเป็นภาระให้คนอื่นบ่อยครั้ง แยกตัวจากครอบครัว เพื่อน หรือสังคมรอบข้าง พูด หรือสื่อสารเชิงอำลาครอบครัว และคนรอบข้าง จัดการธุระส่วนตัว เช่น […]


สุขภาพจิต

โรคเครียด ภัยเงียบต่อร่างกาย ที่ควรระวัง

โรคเครียด เป็นภาวะทางสุขภาพจิตที่เกิดจากการเผชิญปัญหา แรงกดดัน หรือสิ่งไม่คาดคิดในชีวิต ซึ่งความเครียดเป็นปฏิกริยาตอบสนองทางร่างกายและจิตใจ เมื่อรู้สึกถึงการคุกคาม หรือภัยอันตราย ปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกายจะตอบสนองต่อความเครียด เมื่อเครียดอัตราการเต้นของหัวใจอาจเพิ่มขึ้น หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อหดตัว โดยโรคเครียดมักมีอาการ 3 วันถึง 1 เดือนหลังจากประสบเหตุการณ์ที่ทำให้เครียด แต่หากมีอาการมากกว่า 1 เดือน อาจเสี่ยงเกิดภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (Post-Traumatic Stress Disorder หรือ PTSD) คำจำกัดความโรคเครียด คืออะไร โรคเครียด คือ ภาวะที่ต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การเห็นรถชน คนเสียชีวิต เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะตึงเครียดอาจส่งผลต่อฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดที่สร้างจากต่อมหมวกไต เมื่อเครียดต่อมหมวกไตจะหลั่งคอร์ติซอลมากขึ้น หากร่างกายมีคอร์ติซอลมากเกินไปอาาจส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น และอาจส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวล ความกลัว  โรคเครียด พบได้บ่อยเพียงใด โรคเครียดสามารถพบเจอได้ทุกเพศทุกวัย โดยภาวะความตึงเครียดของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของสถานการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ อาการอาการของโรคเครียด  อาการของโรคเครียด อาจแสดงลักษณะอาการที่แตกต่าง โดยอาจสังเกตอาการได้ดังต่อไปนี้  อาการทางด้านร่างกาย คลื่นไส้  ปวดศีรษะ ปวดท้อง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เนื่องจากกล้ามเนื้อเกร็งหรือหดตัว อารมณ์ทางเพศลดลง ปัญหาการนอนหลับ อาจทำให้อ่อนเพลีย  อาการทางด้านอารมณ์  หงุดหงิดง่าย โมโห อารมณ์เสียง่าย หรืออารมณ์แปรปรวน รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่ร่าเริง รู้สึกไม่มีค่า รู้สึกกดดันอยู่เสมอ  ไม่อยากพบเจอผู้คน  อาการทางความคิด  มีความขัดแย้งทางความคิด หลงลืม และอาจไม่สามารถจัดเรียงลำดับความสำคัญก่อนและหลัง การตัดสินใจบกพร่อง สมาธิสั้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน