backup og meta

ภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด คุณจะสามารถรับมือกับภาวะนี้ได้อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 23/11/2020

    ภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด คุณจะสามารถรับมือกับภาวะนี้ได้อย่างไร

    เรื่องของสุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใครออกใคร บางคนอาจจะมีสุขภาพที่แข็งแรง แต่อยู่ ๆ ก็ต้องเข้ารับการผ่าตัดกะทันหันก็เป็นไปได้เช่นกัน แล้วเมื่อผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดอาจจะเกิด ภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด เนื่องจากไม่สามารถทำอะไรได้เหมือนปกติ ซึ่งทาง Hello คุณหมอได้นำเรื่องนี้ รวมถึงวิธีการรับมือกับภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นมาฝากกัน

    ภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด (Postsurgery Depression) คืออะไร

    การฟื้นตัวจากการผ่าตัดอาจต้องใช้เวลา และทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว หลายคนอาจจะรู้สึกมีกำลังใจที่พวกเขากำลังจะรู้สึกดีขึ้นอีกครั้ง การพัฒนาของโรคซึมเศร้าหลังการผ่าตัด หรือ ภาวะซึมเศร้าหลังผ่าตัดนั้นถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากการผ่าตัดทุกประเภทผ่านพ้นไป และนับเป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องได้รับการเอาใจใส่ เพื่อการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมในกรณีที่ตัวคุณเอง หรือคนที่คุณรักต้องประสบกับภาวะดังกล่าวนี้

    สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด

    หลายคนที่มีอาการซึมเศร้าหลังจากได้รับการผ่าตัดนั้นเป็นอาการที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่คาดคิด ซึ่งแพทย์ก็ไม่สามารถเตือนได้ล่วงหน้าเสมอไป สำหรับสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัดนั้น ได้แก่

    • มีภาวะซึมเศร้าก่อนผ่าตัด
    • อาการปวดเรื้อรัง
    • ปฏิกิริยาต่อการระงับความรู้สึก
    • ปฏิกิริยาต่อยาแก้ปวด
    • การที่ต้องเผชิญหน้ากับความเป็น-ตายของตนเอง
    • ความเครียดทางร่างกายและอารมณ์
    • ความกังวลเกี่ยวกับระยะในการฟื้นตัว
    • ความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
    • ความรู้สึกผิดที่จะต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น
    • กังวลว่าการผ่าตัดนั้นอาจจะยังไม่เพียงพอต่อการรักษา
    • ความเครียดที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นตัว การกลับบ้าน ต้นทุนทางการเงิน และอื่น ๆ

    การผ่าตัดบางอย่างนั้นอาจมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังผ่าตัด ซึ่งจากการศึกษาในปีค.ศ. 2016 จากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้พบว่า ภาวะซึมเศร้าหลังผ่าตัดมีความเชื่อมโยงกับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังด้วย

    อาการของ ภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด

    อาการของภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัดอาจเกิดขึ้นได้ง่าย เนื่องจากอาการบางอย่างอาจคล้ายคลึงกับผลของการผ่าตัด ซึ่งได้แก่

    • นอนมากเกินไปหรือนอนบ่อยกว่าปกติ
    • ความหงุดหงิด ขุ่นเคืองใจ
    • การสูญเสียความสนใจในกิจกรรม
    • ความเหนื่อยล้า
    • ความวิตกกังวล ความเครียด หรือความสิ้นหวัง
    • เบื่ออาหาร

    ส่วนยาและผลของการผ่าตัด อาจนำไปสู่อาการต่าง ๆ เหล่านี้

    • เบื่ออาหาร
    • นอนหลับมากเกินไป

    อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการทางอารมณ์ เช่น ความสิ้นหวัง ความกระวนกระวายใจ หรือการสูญเสียความสนใจในกิจกรรม ควบคู่ไปกับความเหนื่อยล้าและอาการเบื่ออาหาร สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้าหลังผ่าตัด และถ้าหากยังคงมีอาการนานกว่า 2 สัปดาห์ คุณควรนัดคุณหมอเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นเพื่อการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

    แต่หากอาการซึมเศร้าปรากฏขึ้นทันทีหลังการผ่าตัด อาจเป็นผลของยา แต่ถ้าอาหารยังคงเกิดขึ้นต่อไปเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น นั่นอาจเป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัดก็ได้เช่นกัน

    วิธีรับมือกับ โรคซึมเศร้าหลังการผ่าตัด

    การรู้ว่าต้องรับมืออย่างไร เพื่อจัดการกับภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัดที่อาจเกิดขึ้น ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งวิธีการรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด สามารถทำได้ดังนี้

    พบคุณหมอ

    นัดพบคุณหมอหากคุณคิดว่าคุณอาจมีภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด คุณหมออาจสามารถสั่งจ่ายยาที่จะไม่รบกวนกับยาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลหลังผ่าตัดของคุณได้ นอกจากนั้นคุณหมออาจจะแนะนำผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่เหมาะสมให้แก่คุณด้วย หากคุณกำลังพิจารณาที่จะกินอาหารเสริมจากธรรมชาติ ให้ปรึกษาคุณหมอด้วยว่าปลอดภัยหรือไม่ หรืออาหารเสริมดังกล่าวนั้นจะส่งผลรบกวนต่อยาที่คุณกำลังใช้อยู่หรือไม่

    ออกไปข้างนอก

    การเปลี่ยนทัศนียภาพและการสูดอากาศบริสุทธิ์ อาจช่วยจัดการอาการซึมเศร้าบางอย่างได้ หากการผ่าตัดหรือภาวะสุขภาพส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของคุณ เพื่อน สมาชิกในครอบครัว หรือเจ้าหน้าที่ดูแล อาจช่วยพาคุณไปข้างนอกได้ คุณอาจต้องตรวจสอบว่า เมื่อออกไปข้างนอกจะไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อในสถานที่ที่คุณวางแผนจะไป ดังนั้น จึงควรสอบถามคุณหมอเกี่ยวกับความเสี่ยงนี้เอาไว้ล่วงหน้าด้วย

    ตั้งเป้าหมายเชิงบวก

    พยายามตั้งเป้าหมายเชิงบวกเอาไว้ ซึ่งหากมีความก้าวหน้าแม้จะเพียงเล็กน้อยแต่ก็ควรมีการเฉลิงฉลองให้กับเป้าหมายที่ตั้งไว้ การตั้งเป้าเชิงบวกก็เพื่อทำให้คุณรักษามุมมองเชิงบวก มุ่งเน้นไปที่การฟื้นตัวในระยะยาวจะเป็นการดีต่อตัวคุณเองมากที่สุด

    ออกกำลังกาย

    พยายามออกกำลังกายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทันทีเมื่อแพทย์แนะนำ หากการผ่าตัดของคุณเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าหรือสะโพก การออกกำลังกายจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการการรักษา นักบำบัดจะทำการกำหนดแบบฝึกหัดเฉพาะเอาไว้ให้คุณ เพื่อช่วยในเรื่องของการฟื้นตัว

    สำหรับการผ่าตัดประเภทอื่น ๆ ให้ปรึกษาแพทย์ว่า คุณจะสามารถออกกำลังกายได้เมื่อไหร่และอย่างไร ทั้งหมดนั้นจะขึ้นอยู่กับการผ่าตัดของคุณด้วย คุณอาจจะสามารถยกน้ำหนักได้เล็กน้อยหรือยืดตัวบนเตียง ซึ่งแพทย์ของคุณจะช่วยวางแผนออกกำลังกายที่เหมาะสมให้กับคุณ

    กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

    อาหารที่ดีต่อสุขภาพ สามารถช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นและควบคุมน้ำหนักได้ นอกจากนี้ยังให้สารอาหารที่ร่างกายต้องการในการรักษาอีกด้วย สำหรับอาหารที่ควรกินมาก ๆ ได้แก่

    ส่วนอาหารที่ควรจำกัด หรือหลีกเลี่ยง ได้แก่

    เตรียมตัว

    การเตรียมบ้านเพื่อพักฟื้นก่อนเริ่มการผ่าตัด สามารถลดความเครียดและความวิตกกังวลได้ นอกจากนี้ ยังอาจช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาและภาวะแทรกซ้อนต่อไป เช่น การหกล้ม ไปจนถึงการหาเอกสารสำคัญไม่พบ

    วิธีช่วยสมาชิกในครอบครัวที่ประสบกับ ภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด

    คนในครอบครัวควรจะต้องรู้ถึงสัญญาณและอาการของภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัดก่อนที่คุณรักจะเข้ารับการผ่าตัดถือเป็นเรื่องที่สำคัญ สำหรับวิธีการช่วยเหลือ หากคุณคิดว่าคนที่คุณรักกำลังประสบปัญหากับภาวะซึมเศร้า มีดังนี้

    • มองโลกในแง่ดี โดยไม่พยายามทำให้เขารู้สึกเศร้า
    • ปล่อยให้พวกเขาระบายความผิดหวังที่มีอยู่
    • ส่งเสริมนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ
    • วางกิจวัตรประจำวันให้พวกเขาทำ
    • ช่วยให้พวกเขาปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในเรื่องการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย
    • เฉลิมฉลองให้แก่ความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะแต่ละครั้งถือว่ามีความสำคัญ

    หากสภาพร่างกายของคนที่คุณรักเริ่มดีขึ้น อาการซึมเศร้าก็อาจจะน้อยลงเช่นกัน แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น ทางเราขอแนะนำว่าควรพาคนที่คุณรักไปพบกับคุณหมอ เพื่อพูดคุยถึงอาการที่เกิดขึ้นจะเป็นการดีที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 23/11/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา