backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

หนองในเทียม อาการ และการรักษา

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์ · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/01/2023

หนองในเทียม อาการ และการรักษา

หนองในเทียม อาการ คือ มีสารคัดหลั่งออกทางช่องคลอดและองคชาต เจ็บแสบอวัยวะเพศขณะปัสสาวะหรือระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันและสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง หากสังเกตว่ามีอาการดังกล่าวควรเข้ารับการวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างรวดเร็ว เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ต่อมลูกหมาก กระดูกเชิงกรานอักเสบ การตั้งครรภ์นอกมดลูกและภาวะมีบุตรยาก

หนองในเทียม อาการ เกิดจากอะไร

หนองในเทียม เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียตัวอื่นๆที่ไม่ใช่หนองในแท้( Neisseria Gonorrhoeae)  เช่น คลาไมเดีย (Chlamydia trachomatis) เชื้อยูเรียพลาสม่า (Ureaplasma urealyticum) ผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันทางช่องคลอด ทวารหนัก และปาก โดยเฉพาะผู้ที่มีคู่นอนหลายคน หรืออาจแพร่กระจายผ่านการใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน นอกจากนี้ เชื้อแบคทีเรียคลาไมเดียยังสามารถแพร่กระจายจากสตรีตั้งครรภ์ไปสู่ทารกได้ในระหว่างการคลอดธรรมชาติ ที่อาจส่งผลให้ทารกแรกเกิดเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ดวงตาและเป็นโรคปอดบวมอย่างรุนแรง

หนองในเทียม อาการ มีอะไรบ้าง

หนองในเทียม อาการอาจแสดงออกหลังจากร่างกายได้รับเชื้อประมาณ 1-3 สัปดาห์ ดังนี้

หนองในเทียม อาการในผู้หญิง

หากเชื้อแบคทีเรียมีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายอาจทำให้มีไข้ รู้สึกคลื่นไส้ และปวดท้องน้อยร่วมด้วย

หนองในเทียม อาการในผู้ชาย

  • เจ็บแสบอวัยวะเพศระหว่างปัสสาวะ
  • รู้สึกแสบร้อนและคันบริเวณองคชาต
  • มีของเหลวใสหรือขุ่น คล้ายหนอง ไหลออกจากปลายองคชาต
  • หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศอักเสบ
  • ปวดอัณฑะ
  • อัณฑะบวม

หากมีการติดเชื้อในบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหรือไส้ตรง ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดทวารหนัก เลือดออกทางทวารหนัก และอุจจาระปนเลือด อีกทั้งหากนำมือที่สัมผัสกับของเหลวจากผู้ติดเชื้อมาสัมผัสกับดวงตาโดยที่ไม่ได้ล้างมือให้สะอาด ก็อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ดวงตา และทำให้เยื่อบุตาอักเสบได้

การรักษาอาการหนองในเทียม

การรักษาอาการหนองในเทียม อาจทำได้ดังนี้

  • อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) เป็นยาปฏิชีวนะในรูปแบบรับประทาน ใช้เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย โดยควรรับประทานยาวันละ 1 ครั้ง ยานี้อาจมีผลข้างเคียง เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน แต่หากมีอาการอื่น ๆ ในระดับรุนแรง เช่น วิงเวียนศีรษะ เหนื่อยล้า ตาพร่ามัว ผื่นขึ้น หายใจผิดปกติ กลืนอาหารลำบาก ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็ว
  • ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline) เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและอาจช่วยป้องกันการแพร่กระจายของแบคทีเรีย โดยควรรับประทานวันละ 2 ครั้ง หรือตามที่คุณหมอกำหนด ไม่ควรแบ่งยาเพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง หากสังเกตพบผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง ปากแห้ง ลิ้นบวม ระคายเคืองช่องคลอด ลมพิษ ตาพร่ามัว หายใจลำบาก อุจจาระเป็นเลือด ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็ว

วิธีป้องกันอาการหนองในเทียม

วิธีป้องกันอาการหนองในเทียม อาจทำได้ดังนี้

  • สวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ ควรเลือกขนาดให้เหมาะสม ไม่หลวมหรือแน่นจนเกินไป และควรศึกษาวิธีการใส่ให้ถูกต้อง
  • หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่นำไปสู่โรคหนองในเทียม รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น เริม หูดหงอนไก่ ซิฟิลิส เอชไอวี/เอดส์
  • หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่มีสารเคมีหรือน้ำหอมล้างทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ และหลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด เพราะอาจทำลายความสมดุลของแบคทีเรียดีและเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ
  • ไม่ใช้เซ็กส์ทอยร่วมกับผู้อื่นและควรทำความสะอาดเซ็กส์ทอยก่อนและหลังใช้ทุกครั้ง
  • ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดหลังสัมผัสกับสารคัดหลั่งหรืออวัยวะเพศของคู่นอน และไม่ควรนำมือที่ยังไม่ได้ล้างไปสัมผัสบริเวณดวงตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อในดวงตาและเยื่อบุตาอักเสบ
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำ โดยเฉพาะคู่รักที่กำลังวางแผนมีบุตรและสตรีตั้งครรภ์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา