สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูข้อแตกต่างระหว่าง หนองในเทียม และ หนองในแท้ แบบเข้าใจง่าย กันค่ะ จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันอย่างไร และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ เลยค่ะ หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร หนองในเทียม และ หนองในแท้มีข้อแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ สาเหตุ หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) หนองในแท้ (Gonorrhoea) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhea) ระยะการฟักตัว หนองในเทียม มีระยะการฟักตัวค่อนข้างนาน โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวมากกว่า 1-3 สัปดาห์ หนองในแท้ มีระยะการฟักตัวค่อนข้างสั้น โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวภายใน 1-5 วัน อาการของโรคหนองใน อาการโรคหนองในเทียมในเพศชาย ในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกคันที่บริเวณท่อปัสสาวะ และมีน้ำสีใส ๆ หรือขุ่น ๆ ไหลออกมาจากปลายองคชาต อาการโรคหนองในแท้ในเพศชาย […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

นมเล็ก ผิดปกติไหม เพิ่มขนาดเต้านมได้หรือไม่

นมเล็ก หมายถึง ลักษณะหน้าอกของเพศหญิงที่มีลักษณะแบนราบหรือเต้านมไม่ยื่นนูนออกมาเนื่องจากมีปริมาณเนื้อเยื่อไขมันน้อย ซึ่งมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากพันธุกรรม อายุที่ยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์ ความผิดปกติของระดับฮอร์โมนเพศ รวมถึงปัญหาสุขภาพ ทั้งนี้ ผู้หญิงที่ไม่พอใจกับขนาดเต้านม หรือคิดว่าเต้านมของตัวเองมีขนาดเล็กเกินไป อาจรู้สึกไม่มั่นใจ ใส่เสื้อผ้าไม่สวย อาจแก้ไขได้ทั้งโดยการศัลยกรรมผ่าตัดเสริมหน้าอก หรือปรับพฤติกรรมบางอย่างซึ่งอาจช่วยให้หน้าอกใหญ่และกระชับขึ้น เช่น การออกกำลังกาย การเพิ่มน้ำหนัก การเลือกรับประทานอาหาร [embed-health-tool-ovulation] นมเล็กมีสาเหตุมาจากอะไร นมเล็ก เป็นลักษณะทางร่างกายซึ่งแตกต่างกันไปในผู้หญิงแต่ละคน เช่นเดียวกับความสูงหรือความเข้ม-อ่อนของสีผิว โดยมีปัจจัยหลัก ๆ มาจากพันธุกรรม และการลดลงของฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน (Estrogen) หลังคลอดบุตร นอกจากนี้ นมเล็กยังเป็นอาการเนื่องจากปัญหาสุขภาพบางประการ เช่น ภาวะเต้านมเล็กมากผิดปกติหรือไมโครมาสเทีย (Micromastia) เป็นภาวะที่เต้านมไม่มีพัฒนาการเมื่อผู้หญิงเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ซึ่งอาจเกิดกับเต้านมข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ ทั้งนี้ ไมโครมาสเทียมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพตั้งแต่กำเนิดบางอย่าง เช่น โปแลนด์ ซินโดรม (Poland Syndrome) หรือภาวะที่กล้ามเนื้อของร่างกายซีกใดซีกหนึ่งพัฒนาช้า หรือไม่มีกล้ามเนื้อ โดยมักเกิดขึ้นบริเวณกล้ามเนื้อหน้าอก ภาวะไร้เต้านม (Amazia) เป็นภาวะที่เนื้อเต้านมหายไป แต่หัวนมและวงรอบหัวนมยังพบได้ตามปกติ โดยเกิดได้กับเต้านมทั้ง 2 ข้างหรือเพียงใดข้างหนึ่ง โดยภาวะไร้เต้านมเป็นได้ทั้งตั้งแต่กำเนิด หรืออาจเกิดขึ้นในภายหลังเนื่องจากการบาดเจ็บอย่างรุนแรงบริเวณทรวงอก […]


การคุมกำเนิด

ยาคุมปรับฮอร์โมน ช่วยเรื่องอะไรบ้าง ต่างกับยาคุมกำเนิดไหม

ยาคุมปรับฮอร์โมน เป็นอีกชื่อหนึ่งของยาคุมกำเนิด โดยมีคุณสมบัติช่วยสร้างสมดุลให้ฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในร่างกายไม่เกิดการผันผวนหรือเพิ่มขึ้นมากเกินไป ทำให้ประจำเดือนมาปกติ และช่วยปรับภาวะก่อนเป็นประจำเดือนให้ไม่มีอาการรุนแรงนัก นอกจากนี้ ยาปรับฮอร์โมนยังมีส่วนช่วยให้หน้ามันน้อยลง และลดโอกาสเป็นสิว [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมปรับฮอร์โมน มีผลต่อร่างกายเพศหญิงอย่างไร ยาคุมปรับฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิด มักประกอบด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์เอสโตรเจน และโปรเจสติน (Progestin) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ยาคุมแบบฮอร์โมนรวมซึ่งจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน ยาคุมแบบฮอร์โมนเดี่ยวซึ่งจะมีฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงอย่างเดียว เมื่อบริโภคยาคุมปรับฮอร์โมนเข้าสู่ร่างกาย ฮอร์โมนสังเคราะห์จะออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของต่อมใต้สมองไม่ให้หลั่งฮอร์โมนลูทิไนซิง (Luteinizing Hormone) และฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ (Follicle Stimulating Hormone) ซึ่งฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดเป็นฮอร์โมนสืบพันธุ์เพศหญิงที่มีหน้าที่กระตุ้นการตกไข่ในเพศหญิวัยเจริญพันธุ์ เมื่อร่างกายไม่หลั่งฮอร์โมนลูทิไนซิงและฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ออกมา ร่างกายจึงไม่มีการตกไข่ ทำให้ไม่สามารถสืบพันธุ์หรือเกิดการตั้งครรภ์ได้ ยาคุมปรับฮอร์โมนมีประโยชน์อย่างไร ยาคุมปรับฮอร์โมนมีประโยชน์ต่อร่างกายเพศหญิง ดังนี้ ช่วยคุมกำเนิด เนื่องจากฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการตกไข่ เมื่อเพศชายหลั่งน้ำอสุจิเข้าสู่ร่างกายเพศหญิงเมื่อมีเพศสัมพันธ์ อสุจิไม่สามารถปฏิสนธิได้ จึงไม่เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ ฮอร์โมนในยาคุมกำเนิด มีคุณสมบัติช่วยลดการผันผวนของระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายเพศหญิง ดังนั้น การรับประทานยาคุมกำเนิดจึงช่วยแก้ปัญหาประจำเดือนมาผิดปกติซึ่งเป็นผลมาจากการผันผวนของฮอร์โมนเพศในร่างกายเพศหญิงได้ เช่น ประจำเดือนมามาก ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ลดสิว ปกติแล้ว รังไข่และต่อมหมวกไตของเพศหญิง จะผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) ออกมาเพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ โดยฮอร์โมนแอนโดรเจนนี้มีคุณสมบัติกระตุ้นการผลิตน้ำมันจากต่อมใต้ผิวหนัง […]


การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

อวัยวะเพศชาย ถลอก มีวิธีดูแลและป้องกันตนเองอย่างไร

อวัยวะเพศชาย ถลอก มีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการเสียดสีของอวัยวะเพศกับพื้นผิวสัมผัสของวัตถุต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นกางเกงที่สวมใส่ ผ้าเช็ดตัวหลังอาบน้ำ หรือช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์ รวมทั้งอาจเป็นอาการหนึ่งของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้ การป้องกันแผลถลอกบริเวณอวัยวะเพศมีหลายวิธี เช่น การเลือกสวมกางเกงที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป การใช้ผ้าเช็ดตัวอย่างเบามือ การใช้สารหล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์เพื่อลดการเสียดสีกับช่องคลอด การสวมถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์ [embed-health-tool-bmi] อวัยวะเพศชาย ถลอก เกิดจากสาเหตุอะไร แผลถลอกบริเวณอวัยวะเพศชาย อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การเสียดสี การมีเพศสัมพันธ์หรือช่วยตัวเองอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดความร้อนบริเวณอวัยวะเพศชาย จนทำให้ผิวหนังปริแตกหรือเป็นแผลถลอก นอกจากนี้ การเสียดสีระหว่างอวัยวะเพศชายกับกางเกงที่รัดแน่นเกินไปขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการใช้ผ้าเช็ดตัวเช็ดผิวหนังอย่างรุนแรงหลังอาบน้ำ อาจเป็นสาเหตุให้อวัยวะเพศชายเป็นแผลถลอกได้เช่นกัน การติดเชื้อ การเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส เริม รวมถึงการติดเชื้อราอาจทำให้อวัยวะเพศชายเจ็บ ผิวหนังปริหรือแตก หรือเป็นรอยแดงคล้ายแผลถลอกได้ ทั้งนี้ หากพบว่าอวัยวะเพศชายเป็นแผลถลอก อาจสำรวจอาการเบื้องต้นว่าเกิดจากการเสียดสีที่มากเกินไปหรือเกิดจากการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศ โดยสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้ มีสารคัดหลั่งไหลออกมา เป็นสีเหลือง สีเขียว หรือไม่มีสี มีอาการคัน อัณฑะเจ็บหรือบวม อวัยวะเพศชายหรืออัณฑะเป็นแผลพุพอง […]


สุขภาพทางเพศ

ยาสอดช่องคลอดกี่ชั่วโมงละลาย และคำแนะนำในการใช้

ยาสอดช่องคลอด เป็นยาเม็ดรูปไข่หรือวงรีขนาดเล็กสำหรับสอดหรือเหน็บช่องคลอดเพื่อรักษาอาการช่องคลอดแห้งหรือการติดเชื้อในช่องคลอด สาว ๆ หลายคนอาจสงสัยว่า ยาสอดช่องคลอดกี่ชั่วโมงละลาย ? ตามปกติ ยาสอดช่องคลอดมักละลายภายในเวลาไม่ถึงชั่วโมง หรือราว ๆ 10-15 นาที ทั้งนี้ หากมีประจำเดือนอยู่ ก็สามารถใช้ยาสอดช่องคลอดได้ แต่ไม่ควรใช้พร้อมกับผ้าอนามัยแบบสอด เพราะผ้าอนามัยจะดูดซับตัวยาบางส่วนไว้ ทำให้ยาสอดออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ [embed-health-tool-ovulation] ยาสอดช่องคลอด คืออะไร ยาสอดช่องคลอด หรือบางครั้งเรียกว่ายาเหน็บช่องคลอด เป็นยาเม็ดรูปทรงวงรีคล้ายไข่หรือกระสุนปืนขนาดเล็กที่เคลือบด้วยไขมันจากเมล็ดโกโก้หรือเจลาติน มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ใช้สำหรับสอดหรือเหน็บช่องคลอด โดยตัวยาจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายหลังสารเคลือบตัวยาละลายแล้ว ใช้เพื่อรักษาความผิดปกติต่าง ๆ ของช่องคลอด ดังนี้ ช่องคลอดแห้ง เป็นอาการที่พบได้ในผู้หญิงวัยทอง เนื่องจากฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่ลดลง โดยตัวยาในรูปแบบยาสอดที่นิยมใช้แก้ปัญหาช่องคลอดแห้ง ได้แก่ ปราสเตอโรน (Prasterone) ซึ่งมีคุณสมบัติแปรสภาพเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน และช่วยให้ช่องคลอดชุ่มชื้นยิ่งขึ้น การติดเชื้อราในช่องคลอด เกิดจากความเป็นกรดด่างในช่องคลอดไม่สมดุล ส่งผลให้เชื้อราเพิ่มจำนวนและทำให้เกิดการติดเชื้อรา โดยตัวยาที่ใช้รักษาความผิดปกตินี้ คือ โคลไตรมาโซล (Clotrimazole) ขนาด 100 หรือ 500 มิลลิกรัม โดยโคลไตรมาโซล 100 มิลลิกรัมใช้สำหรับสอดช่องคลอดต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วันติดต่อกัน […]


สุขภาพทางเพศ

เลือดออกทางช่องคลอด สีแดงสด ไม่ใช่ประจําเดือน เกิดจากอะไร

เลือดออกทางช่องคลอด สีแดงสด ไม่ใช่ประจําเดือน อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ผลข้างเคียงจากยาคุมกำเนิด เนื้องอกในมดลูก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์อย่างรุนแรง อีกทั้งยังอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งบางชนิด ดังนั้น หากมีอาการดังกล่าวจึงควรแจ้งให้คุณหมอทราบ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและดำเนินการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุของเลือดออกทางช่องคลอด สีแดงสด ไม่ใช่ประจําเดือน อาการเลือดออกทางช่องคลอด สีแดงสด แต่ไม่ใช่ประจําเดือน อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ยาคุมกำเนิด การรับประทานยาคุมกำเนิด อาจทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอด สีแดงสด แต่ไม่ใช่ประจำเดือน เนื่องจากยาคุมกำเนิดอาจส่งผลให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้น ทำให้เยื่อบุผนังมดลูกและหลอดเลือดหนาขึ้นหรือบางลง และอาจส่งผลให้มีเลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด วัยหมดประจำเดือน อาจทำให้ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวน ส่งผลให้การผลิตสารหล่อลื่นในช่องคลอดลดลง นำไปสู่อาการช่องคลอดแห้ง ระคายเคืองและเลือดออกจากช่องคลอด การตั้งครรภ์ เมื่อตัวอ่อนฝังตัวในผนังมดลูกอาจส่งผลให้มีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย เรียกว่าเลือดล้างหน้าเด็ก อย่างไรก็ตาม หากสังเกตว่ามีอาการปวดท้องรุนแรง และมีเลือดไหลมาก อาจเป็นสัญญาณของการแท้งบุตรและการตั้งครรภ์นอกมดลูก ควรเข้าพบคุณหมอทันที โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในเทียม หูดหงอนไก่ เริม ที่อาจทำให้ช่องคลอดและปากมดลูกอักเสบ จนมีเลือดออกทางช่องคลอด และอาจส่งผลให้เกิดอาการรุนแรง การแพร่กระจายหรือภาวะแทรกซ้อนได้หากไม่รีบรักษา การมีเพศสัมพันธ์อย่างรุนแรง และการมีเพศสัมพันธ์บ่อยเกินไป อาจทำให้เกิดแผลในช่องคลอด ส่งผลให้มีเลือดออกทางช่องคลอดและอาจมีอาการเจ็บแสบขณะปัสสาวะหรือระหว่างมีเพศสัมพันธ์ร่วมด้วยได้ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) อาจเกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่ผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจน […]


สุขภาพทางเพศ

มดลูกหย่อน อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการรักษา

มดลูกหย่อน อาการ ที่พบบ่อย คือ มดลูกที่ค่อย ๆ ย้อยลงมาเป็นระยะจนออกมาบริเวณปากช่องคลอด โดยอาจมีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และเอ็นของอุ้งเชิงกรานที่ทำหน้าที่ยึดและรองรับมดลูก อีกทั้งยังอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น วัยหมดประจำเดือน การผ่าตัด ภาวะน้ำหนักเกิน หากสังเกตว่ามีอาการไม่สบายตัวขณะเคลื่อนไหว รู้สึกเหมือนมีก้อนภายในช่องคลอด ขับถ่ายลำบาก เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์และปัสสาวะ ควรพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-ovulation] ปัจจัยเสี่ยงของอาการมดลูกหย่อน มดลูกหย่อน มีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และเอ็นอุ้งเชิงกรานที่คอยยึดและรองรับมดลูกเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจมีปัจจัยบางอย่างเป็นตัวกระตุ้น ดังนี้ คนในครอบครัวมีภาวะเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอ่อนแอ อายุที่เพิ่มมากขึ้นและวัยหมดประจำเดือน ที่อาจส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และอุ้งเชิงกรานเสื่อมสภาพจนนำไปสู่อาการมดลูกหย่อน น้ำหนักเกินที่มากเกินไป อาจทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานรับน้ำหนักมากขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้มดลูกหย่อนได้ ภาวะต่าง ๆ เช่น อาการท้องผูกเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ อาการไอเรื้อรัง เนื้องอกในอุ้งเชิงกราน รวมถึงการยกของหนักเป็นประจำ เพราะอาจทำให้เกิดความดันในช่องท้อง อาการเกร็ง และแรงสั่นสะเทือนไปยังบริเวณมดลูก ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้กล้ามเนื้อมดลูกเสื่อมสภาพ นำไปสู่มดลูกหย่อน การคลอดทารกที่มีขนาดตัวใหญ่ โดยเฉพาะคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติ เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเสียหายระหว่างคลอด นำไปสู่อาการมดลูกหย่อนหลังคลอด การสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่อาจส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น โรคหลอดลมอักเสบ […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

ช่วยตัวเองทุกวัน อันตรายหรือไม่ และวิธีการช่วยตัวเองอย่างปลอดภัย

การช่วยตัวเองเพื่อสำเร็จความใคร่หรือทำให้ตัวเองไปถึงจุดสุดยอดได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาคู่นอน นอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียด ลดโอกาสการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์แล้ว ยังอาจช่วยลดความเสี่ยงจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์/เอชไอวี ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม เริม หูดหงอนไก่ อย่างไรก็ตาม หาก ช่วยตัวเองทุกวัน มากกว่าวันละ 1 ครั้ง อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจได้ ดังนั้น จึงควรปรึกษาคุณหมอหากสังเกตว่าช่วยตัวเองบ่อยเกินไปจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน [embed-health-tool-ovulation] ช่วยตัวเองทุกวัน อันตรายหรือไม่ การช่วยตัวเองทุกวัน วันละ 1 ครั้ง เป็นเรื่องปกติและอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยคลายเครียด และให้ร่ายกายหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข แต่สำหรับบางคนที่ช่วยตัวเองทุกวันมากกว่า 2 ครั้ง/วัน อาจก่อให้เกิดอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจได้ ดังนี้ การหมกมุ่นหรือเสพติดเซ็กส์จนควบคุมความถี่การช่วยตัวเองไม่ได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจ จนอาจต้องปรึกษาคุณหมอ อาจทำให้รู้สึกเจ็บช่องคลอด องคชาต และทวารหนัก บางคนอาจมีอาการบวมน้ำ ผิวหนังองคชาตถลอก ช่องคลอดเป็นแผล ที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อและทำให้มีอาการเจ็บแสบระหว่างปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ได้ ร่างกายอ่อนเพลีย อ่อนล้า โดยเฉพาะการช่วยตัวเองในตอนดึก เพราะอาจทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ไม่มีแรงในวันถัดไป สำหรับผู้ที่มีคนรัก การช่วยตัวเองทุกวันอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรักได้ ทำให้ความใกล้ชิดลดลงหรืออาจส่งผลให้คนรักขาดความมั่นใจเรื่องเซ็กส์เพราะอาจรู้สึกว่าตนเองไม่มีแรงดึงดูดทางเพศมากเพียงพอ ควรพบคุณหมอทันทีหากรู้สึกว่าการช่วยตัวเองทุกวันส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รู้สึกไม่มีความสุข หงุดหงิด รู้สึกผิดหวังหลังสำเร็จความใคร่ หรือรู้สึกว่าต้องการช่วยตัวเองมากกว่ามีเพศสัมพันธ์กับคู่รัก หรืออยากช่วยตัวเองจนไม่ต้องการออกไปพบปะสังคมภายนอก […]


หนองในแท้

หนองในหายเองได้ไหม มีวิธีรักษาและการป้องกันอย่างไร

หนองในหายเองได้ไหม อาจเป็นคำถามที่ผู้ที่เป็นหนองในสงสัย หนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่ส่งผลให้มีอาการคันอวัยวะเพศ ตกขาวผิดปกติ อัณฑะบวม และมีของเหลวไหลออกจากอวัยวะเพศ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะมีบุตรยาก ท่ออสุจิอักเสบ การแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลกระทบต่อข้อต่อและผิวหนัง [embed-health-tool-ovulation] หนองในเกิดจากอะไร หนองใน เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ หนองในแท้ (Gonorrhea) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria Gonorrhoeae) และหนองในเทียม (Chlamydia) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลาไมเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia Trachomatis) โรคหนองในสามารถแพร่กระจายได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันทางช่องคลอด ปาก และทวารหนัก นอกจากนี้ หากสตรีตั้งครรภ์เป็นหนองในก็อาจแพร่กระจายไปยังทารกได้ระหว่างการคลอดบุตร ทารกที่ติดเชื้อหนองในอาจมีความเสี่ยงต่อโรคปอด และการติดเชื้ออย่างรุนแรงที่ดวงตา ดังนั้น จึงควรรีบรักษาให้หายก่อนถึงกำหนดคลอด ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดหนองใน มีดังนี้ มีคู่นอนหลายคน เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ไม่สอบถามข้อมูลประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของคู่นอนก่อนมีเพศสัมพันธ์ ใช้เซ็กส์ทอยร่วมกันโดยไม่ทำความสะอาดก่อน ใช้ของส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดตัว ชุดชั้นใน ร่วมกับผู้อื่น อาการหนองใน อาการหนองใน มีดังนี้ อาการหนองในของผู้หญิง เจ็บแสบอวัยวะเพศขณะปัสสาวะและอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์ มีอาการคันบริเวณช่องคลอดและทวารหนัก ปวดท้องน้อยและปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น มีตกขาวปริมาณมาก […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

ลิ้นคนเป็นเอดส์ มีลักษณะอย่างไรบ้าง

ลิ้นคนเป็นเอดส์ หมายถึง ลิ้นของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเอดส์ ทำให้ระดับภูมิคุ้มกันต่ำลง ส่งผลให้เสี่ยงติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น เชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ซึ่งทำให้เป็นเชื้อราในช่องปาก หรือเชื้อเฮอร์ปีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus หรือ HSV) ซึ่งเป็นสาเหตุของเริมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายรวมถึงบริเวณลิ้นและในช่องปากด้วย [embed-health-tool-ovulation] เอดส์ คืออะไร เอดส์ (AIDS) หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นอาการในระยะสุดท้ายของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยผู้ป่วยจะมีระดับเม็ดเลือดขาว CD4 (Cluster of Differentiation 4) ที่มีหน้าที่ควบคุมและต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ในระดับต่ำกว่าปกติ ทำให้เสี่ยงติดเชื้อหรือป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ทั้งนี้ ระดับ CD4 ในคนทั่วไปจะเท่ากับ 500-1,400 เซลล์/เลือด 1 มิลลิลิตร ในขณะที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ระดับ CD4 จะลดลงไปเรื่อย ๆ จนเหลือประมาณ 200 […]


โรคซิฟิลิส

TPHA คือ อะไร และวิธีตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิสแบบอื่น ๆ

TPHA คือ หนึ่งในวิธีตรวจโรคซิฟิลิสด้วยการหาสารภูมิต้านทานในเลือดซึ่งจะหลั่งออกมาเพื่อต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค โดยเป็นภูมิคุ้มกันที่จำเพาะกับตัวโรค อย่างไรก็ตาม การตรวจแบบ TPHA จะไม่สามารถระบุได้ว่าติดเชื้อซิฟิลิสหรือไม่หากผู้ป่วยเป็นซิฟิลิสในระยะเริ่มต้น จึงมักนิยมใช้วิธีการตรวจแบบ TPHA เพื่อยืนยันผลเฉพาะในผู้ที่ผ่านการคัดกรองว่าเป็นโรคซิฟิลิสแล้ว [embed-health-tool-ovulation] TPHA คือ อะไร TPHA ย่อมาจาก Treponema Pallidum Hemagglutination Assay เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจโรคซิฟิลิส ด้วยการเจาะเลือดเพื่อหาจำนวนของแอนติบอดีหรือสารภูมิต้านทาน ซึ่งร่างกายจะหลั่งออกมาเพื่อตรวจจับและทำลายเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema Pallidum) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคซิฟิลิส ทั้งนี้ ซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เช่นเดียวกับหนองใน เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัมผ่านทางรอยขีดข่วน หรือบาดแผลเล็ก ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างมีเพศสัมพันธ์ทั้งแบบสอดใส่และแบบไม่สอดใส่ อาการในระยะแรก ๆ ของซิฟิลิส คือ มีแผลริมแข็งและผื่นขึ้นตามลำตัว หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา เชื้อจะแพร่กระจายไปตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และอาจทำให้การทำงานของหัวใจเสื่อมหรือล้มเหลว รวมทั้งเชื้ออาจแพร่กระจายไปยังระบบประสาท และทำให้ระบบประสาทเสียหาย อย่างไรก็ตาม การตรวจแบบ TPHA มักไม่พบเชื้อซิฟิลิสในผู้ติดเชื้อระยะเริ่มต้น จึงมักใช้วิธีนี้ในผู้ที่มีผลตรวจคัดกรองการติดเชื้อซิฟิลิสในเบื้องต้นเป็นบวกเพื่อยืนยันผลว่าเป็นโรคซิฟิลิส วิธีเตรียมตัวก่อนเข้ารับ การตรวจ TPHA   การตรวจ TPHA คล้ายการตรวจเลือดทั่วไปที่ผู้เข้ารับการตรวจไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษแต่อย่างใด ยกเว้นในกรณีที่คุณหมออาจระบุรายละเอียดเพิ่มเติมเป็นกรณีไป การตรวจ TPHA แสดงผลอย่างไร ในห้องปฏิบัติการ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน