สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยป้องกันคุณให้ห่างไกลจากโรค

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมคนเราจึงต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะกับสุขภาพหัวใจที่แพทย์นั้น มักเน้นการฟัง และจับจังหวะอัตราการเต้นหัวใจเป็นหลัก เพื่อให้ทุกคนได้รู้ถึง ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ นี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสานำข้อมูลที่ควรทราบ รวมถึงวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจหัวใจ มาฝากกันค่ะ ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ มีอะไรบ้าง เนื่องจาก การตรวจสุขภาพหัวใจ สามารถบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจว่าคุณจัดอยู่ในเกณฑ์ภาวะปกติหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถบ่งบอกได้อีกด้วยว่าคุณกำลังมีโรคใดที่รุนแรง ๆ ต่อไปนี้ แทรกซ้อนอยู่หรือเปล่า โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นหนึ่งในโรคที่ถูกพบบ่อยมากที่สุด ที่ทำให้หลอดเลือดแข็ง และอุดตันจากคอเลสเตอรอล ส่งผลให้หัวใจล้มเหลว หรือมีอัตราการการเต้นของหัวใจผิดจังหวะได้ กล้ามเนื้อหัวใจหนา หากผนังกล้ามเนื้อหัวใจมีการพองโต และขยายใหญ่ขึ้น อาจทำให้ยากต่อการสูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ อีกทั้งยังมีเสี่ยงต่อการมีลิ่มเลือดในหัวใจ และภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมักเผชิญกับได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่ 20-60 ปี โรคลิ้นหัวใจรั่ว เมื่อลิ้นหัวใจเกิดมีรูรั่ว หรือปิดไม่สนิท อาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับไม่สามารถเคลื่อนผ่านหัวใจเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การตรวจสุขภาพหัวใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรเข้ารับการตรวจเช็กเป็นประจำตามกำหนด รวมถึงหากคุณสังเกตว่าตนเองมีอาการบางอย่างที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก  เหนื่อยล้าง่าย ข้อเท้าบวม เป็นต้น ก็ควรจะเข้ารับการวินิจฉัยหาสาเหตุโดยไม่ควรรีรอเช่นเดียวกัน เตรียมความพร้อมก่อน ตรวจสุขภาพหัวใจ คุณควรมีการจดบันทึกถึงโรคที่เป็นอยู่ พร้อมกันชนิดยาที่เคยใช้รักษา เพื่อนำไปแจ้งให้แพทย์ทราบ ก่อนเริ่ม การตรวจสุขภาพหัวใจ อีกทั้งก่อนถึงวันเข้ารับการตรวจคุณควรเตรียมร่างกายตนเองด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

คอเลสเตอรอล

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา ตัวช่วยใหม่ป้องกันเส้นเลือดในสมองแตก

เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา ใช้สำหรับสังเกตสุขภาพของหัวใจ ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่นิยมเรียกกันว่า “เส้นเลือดในสมองแตก” คือ ภาวะฉุกเฉินที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ถึงแม้คุณจะรอดชีวิตจากภาวะนี้ได้แล้ว แต่อาการแทรกซ้อนที่รุนแรงก็สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตของคุณได้ ดังนั้น การค้นหาวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ทาง Hello คุณหมอ จึงนำเรื่องนี้มาฝากกัน เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพาคืออะไร เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา หรือ เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Monitor) เป็นเครื่องมือชนิดพิเศษ ที่ใช้เพื่อบันทึก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ของคุณ โดยการแปะแผ่นวัด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ไว้ที่ผิวหนังบริเวณหัวใจ แผ่นนี้จะเชื่อมต่อกับตัวเครื่องบันทึก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ แบบพกพาที่มีน้ำหนักเบา กะทัดรัด สามารถพกพาไปได้ทุกที่ ไม่จำเป็นต้องเสียเวลานอนค้างที่โรงพยาบาล เมื่อต้องตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เมื่อติดเครื่องบันทึก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ แบบพกพา คุณสามารถทำกิจกรรมทั่วไป หรือทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ตามปกติ ยกเว้นกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวแขนมาก ๆ หรือทำให้เครื่องและแผ่นวัดเปียก เช่น การอาบน้ำ การว่ายน้ำ เครื่องนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหัวใจเต้นผิดปกติเป็นประจำ ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจวิเคราะห์ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ของคุณได้ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผิดปกติ อาจกระตุ้นให้หลอดเลือดหัวใจแตกได้ ข้อมูลของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา […]


โรคหัวใจ

โรคอ้วน กับ โรคหัวใจ ความเชื่อมโยงที่ไม่ควรละเลย

โรคอ้วน (Obesity) มีความเชื่อมโยงสำคัญกับปัญหาสุขภาพหลายอย่าง โดยมีความเป็นไปได้สูงที่จะนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดผิดปกติและโรคหัวใจ โดยเฉพาะ โรคอ้วน กับ โรคหัวใจ นั้น หากคุณน้ำหนักเพิ่มขึ้นไม่หยุด ซึ่งอาจเป็นผลมาจากไลฟ์สไตล์ อย่างการบริโภคอาหารที่มีไขมัน และไม่ออกกำลังกาย สามารถที่จะสร้างความเสียให้แก่หัวใจได้เป็นอย่างมาก Hello คุณหมอมีข้อมูลดีๆ มาให้อ่านกันว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร คำจำกัดความของโรคอ้วน โรคอ้วน วินิจฉัยได้โดยอ้างอิงจากค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) ค่าดัชนีมวลกายคำนวณได้โดยการเอาน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เป็นเมตร) ค่าดัชนีมวลกายที่อยู่ระหว่าง 30 และ 40 หมายความว่าคุณเป็นคนอ้วน และหากค่าดัชนีมวลกายของคุณเกิน 40 คุณจะถูกวินิจฉัยว่า คุณเป็นโรคอ้วน นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ค่าดัชนีมวลกายที่สูงมากๆ เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ อย่างเช่น หัวใจวายและหัวใจล้มเหลว โรคอ้วน กับ โรคหัวใจ เป็นที่สงสัยกันว่า เนื้อเยื่อไขมันบริเวณรอบเอว สามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อโครงสร้างและการทำงานของหัวใจ ถึงแม้จะไม่มีความเสี่ยงอื่นของโรคหัวใจก็ตาม ในการสนับสนุนทฤษฎีนี้ นักวิจัยได้ทำการประเมินหาสัญญาณของสภาวะแข็งตัวที่หัวใจห้องล่างซ้าย ในผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักแตกต่างกัน อาการนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างห้องสูบฉีดหัวใจ (หัวใจห้องล่างซ้าย) ซึ่งขัดขวางการสูบฉีดเลือดอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างชีพจรการเต้นของหัวใจ สภาวะแข็งตัวที่หัวใจห้องล่างซ้าย จะไม่แสดงอาการอะไร แต่มันเป็นสัญญาณของโรคหัวใจล้มเหลวได้ในอนาคต โรคหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงหรือแข็งเกินไป […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ขดลวดตาข่าย รักษาโรคหัวใจ กับสิ่งที่คุณควรรู้

สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ หรือหากคุณมีคนใกล้ตัวที่เป็นโรคหัวใจ อาจจะมีความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับวิธีการรักษาโรคหัวใจอยู่บ้างไม่มากก็น้อย หลายๆ คนอาจจะไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องของ ขดลวดตาข่าย ที่ใช้เพื่อ รักษาโรคหัวใจ ว่าเป็นอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักเกี่ยวกับการใช้ขดลวดตาข่ายรักษาโรคหัวใจ ทั้งเรื่องของวิธีการ การเตรียมพร้อม และประโยชน์ที่คุณจะได้รับ ขดลวดตาข่าย สำหรับ รักษาโรคหัวใจ คืออะไร หมอจะเสียบท่อขนาดเล็กลงไปในหลอดเลือดที่ปิดอยู่ เพื่อให้มันเปิดออก ท่อนั้นเรียกว่าขดลวดตาข่าย (stent) หน้าที่หลักของขดลวดคือ การรักษาระดับการไหลเวียนของเลือด หรือการไหลเวียนของของเหลว ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของขดลวด ขดลวดตาข่าย ทำมาจากตาข่ายเหล็ก พลาสติก หรือบางครั้งทำจากเส้นใยชนิดพิเศษสำหรับหลอดเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่ และพบเห็นได้บ่อยสำหรับการรักษาหลอดเลือดแดงตีบ นอกจากการป้องกันเส้นเลือดแตก ขดลวดตาข่ายยังช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ขดลวดตาข่ายบางชนิดจะเคลือบยาเอาไว้ เป้าหมายของมันคือการป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดไม่ให้เกิดขึ้นอีก ทำไมขดลวดตาข่ายถึงมีประโยชน์ ขดลวดตาข่ายจะมีความสำคัญอย่างมาก หากมีการอุดตันในหลอดเลือดจากคราบพลัค (plague) ซึ่งก็คือคอเลสเตอรอลที่ผสมกับสารอื่นๆ ซึ่งเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ขดลวดตาข่ายสามารถนำมาใช้ในกรณีฉุกเฉิน โดยเฉพาะเมื่อหลอดเลือดหัวใจเกิดอุดตัน การใส่หลอดสวนเข้าไปยังบริเวณหลอดเลือดหัวใจที่อุดตัน หมอจะสามารถทำการขยายหลอดเลือดบอลลูน (balloon angioplasty) เพื่อกำจัดสิ่งอุดตัน ขดลวดตาข่ายจะถูกนำไปใส่ในหลอดเลือดแดงภายหลัง เส้นเลือดจะสามารถเปิดได้อีกครั้ง ขดลวดตาข่ายมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ขยายเส้นเลือดแดง ลดอาการต่างๆ เช่น อาการเจ็บหน้าอก และช่วยจัดการกับโรคหัวใจวาย ขดลวดตาข่ายที่นำมาใช้กับอาการเหล่านี้ เรียกอีกอย่างว่าขดลวดหัวใจ ขดลวดตาข่ายยังถูกเอามาใช้กับอาการหลอดเลือดโป่งพองในสมองด้วย นอกเหนือจากหลอดเลือด ขดลวดตาข่าย ยังสามารถนำไปใช้เพื่อเปิดท่อที่ถูกปิดกั้นคล้ายๆ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เซ็กส์ กับคนเป็น โรคหัวใจ ไม่ได้ห้าม แค่ต้องระวัง

กิจกรรมทางเพศถือเป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคหัวใจมักสงสัยว่า เซ็กส์ ส่งผลกระทบอะไรกับโรคหัวใจของพวกเขาหรือไม่ ข้อมูลอ้างอิงจากสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาเผยว่า การมีเพศสัมพันธ์สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจเป็นเรื่องปลอดภัย อย่างไรก็ตาม บางคนอาจมีความกังวลเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ ในขณะที่บางคนอาจพบว่าเป็นเรื่องยากในการมีความสุขกับการมีเพศสัมพันธ์ มาลองดูกันว่า เซ็กส์ กับคนเป็น โรคหัวใจ มีอะไรต้องรู้และต้องระวังบ้าง การมีเซ็กส์ถือเป็นการออกกำลังกายหรือไม่ คำตอบคือใช่ เมื่อคุณมีเซ็กส์ก็เหมือนคุณกำลังออกกำลังกายระดับเบาจนถึงระดับปกติ ดังนั้น หากคุณสามารถเดินเร็ว ๆ ได้ คุณก็สามารถกลับไปมีเซ็กส์ได้แน่นอน หรือหากคุณสามารถเดินขึ้นบันไดได้ 2 ชั้นโดยไม่มีอาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้น คุณก็สามารถมีเซ็กส์ได้ตามปกติ การมีเพศสัมพันธ์แบบปกติ (ประมาณ 5-15 นาที) จะเท่ากับการเดินเป็นเวลา 20 นาที ซึ่งถือเป็นเรื่องดีต่อระบบเผาผลาญของเราด้วย เซ็กส์ดีต่อสุขภาพหรือไม่ นี่ถือเป็นข่าวที่น่ายินดี เพราะงานวิจัยเผยว่า ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์เพียงครั้งเดียว หรือน้อยครั้งใน 1 เดือน มีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูงมาก เมื่อเทียบกับผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ (หรือมากกว่านั้น) ถึงแม้งานวิจัยนี้จะไม่ได้พิสูจน์ว่าเซ็กส์สามารถป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ แต่ก็ชี้ให้เห็นว่า เซ็กส์มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพชีวิตและหัวใจของเราจริง ๆ ฉะนั้น ต่อให้คุณเป็นโรคหัวใจก็สามารถเอ็นจอยกับเซ็กส์ได้ แค่ต้องมีเซ็กส์ในแบบที่ปลอดภัยกับตัวเองมากที่สุดเท่านั้น เซ็กส์ และ โรคหัวใจ หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจ ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศเหล่านี้คือสิ่งที่คุณควรจำเอาไว้ ควรสอบถามเรื่องการประเมินร่างกายจากแพทย์ของคุณก่อนที่จะกลับไปมีเซ็กส์ หากคุณเคยหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลว การฟื้นฟูสุขภาพหัวใจ หรือมีกิจกรรมทางร่างกายแบบปานกลางเป็นประจำ […]


คอเลสเตอรอล

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ การตรวจคอเลสเตอรอล

ระดับคอเลสเตอรอลสูง นำไปสู่โรคร้ายแรงหลายอย่าง และอาจไม่แสดงอาการอะไร ดังนั้น การตรวจคอเลสเตอรอล อย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ หากอยากให้สุขภาพดี ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อป้องกันและดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคที่มากับ คอเลสเตอรอลที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-heart-rate] การตรวจคอเลสเตอรอล คืออะไร การตรวจคอเลสเตอรอลถูกนำมาใช้ เพื่อวัดคอเลสเตอรอลโดยรวม ไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL) ซึ่งเป็นโปรตีนดี ไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) ซึ่งเป็นโปรตีนไม่ดี และระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ร่างกายต้องการคอเลสเตอรอล เพื่อนำมาใช้งานอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม หากร่างกายได้รับคอเลสเตอรอลมากเกินไป อาจต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งรูปแบบหนึ่งของโรคหัวใจ ที่ทำให้เส้นเลือดถูกบีบให้เล็กลงและขัดขวางการไหลเวียนโลหิต หัวใจวาย โดยทั่วไปแล้วผู้ชายตั้งแต่วัย 35 ปีขึ้นไป และผู้หญิงตั้งแต่วัย 45 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอลเป็นประจำ แต่ในบางกรณี ผู้ที่อายุน้อยกว่านั้นก็อาจต้องเข้ารับการตรวจคอเลสเตอรอลเช่นกัน การตรวจคอเลสเตอรอลในเลือดจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น เหตุผลอีกหนึ่งข้อที่ควรเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอล ก็เพราะระดับคอเลสเตอรอลที่สูงจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา คนส่วนใหญ่ที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงจึงไม่ค่อยรู้ตัว จนทำให้คอเลสเตอรอลสูงเป็นเวลานานหรือเรื้อรัง ซึ่งอาจนำไปสู่อาการทางการแพทย์ขั้นรุนแรงอื่นๆการเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอลเป็นประจำ จึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เตรียมตัวสำหรับการตรวจคอเลสเตอรอล ในบางกรณี อาจถูกขอให้อดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอล […]


คอเลสเตอรอล

วิธีลดคอเลสเตอรอล มีอะไรบ้าง

ระดับคอเลสเตอรอลสูง เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้น จึงควรเรียนรู้ วิธีลดคอเลสเตอรอล เพื่อช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น วิธีลดคอเลสเตอรอล ง่าย ๆ ด้วยตนเอง คอเลสเตอรอลถูกผลิตขึ้นในตับเกือบ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตาม อาหารที่กินเข้าไปในแต่ละวันก็อาจมีส่วนที่ส่งผลกระทบกับระดับคอเลสเตอรอลได้ ดังนั้น การนำวิธีเหล่านี้ ไปปฏิบัติตาม อาจสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ เลือกบริโภคไขมันที่มีประโยชน์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เนื้อไก่ที่มีหนัง เนื้อสัตว์แปรรูป เนย ชีส รวมถึงผลิตภัณฑ์จากนมชนิดไขมันเต็มส่วน หรือพร่องมันเนย เพราะอาหารเหล่านี้จะไปเพิ่มคอเลสเตอรอลในร่างกาย โดยเฉพาะคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือไขมันเลว (LDL) ควรเปลี่ยนมาบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ที่อยู่ในอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า อะโวคาโด ถั่วอัลมอนด์ วอลนัท ถั่วลิสง เต้าหู้ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ ไขมันทรานส์เป็นอีกหนึ่งตัวการที่ทำให้คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) เพิ่มขึ้นและทำให้คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ลดลง […]


คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลกับผู้หญิง มาดูสิว่าเกี่ยวข้องกันยังไงบ้าง

คอเลสเตอรอลเป็นสารที่พบในเลือดและเซลล์ของมนุษย์ หากปล่อยให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินกว่าระดับปกติ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรง ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่รักษาให้ทันท่วงที อาจนำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้ ภาวะคอเลสเตอรอลสูงส่งผลต่อทุกเพศทุกวัย และหากคุณเป็นผู้หญิง ลองมาดูสิว่า คอเลสเตอรอลกับผู้หญิง เกี่ยวข้องกันอย่างไร คอเลสเตอรอล หรือไขมัน สามารถส่งผลต่อสุขภาพของผู้หญิงได้อย่างไรบ้าง คุณประโยชน์ของ คอเลสเตอรอลกับผู้หญิง ร่างกายของเราใช้คอเลสเตอรอลในการสร้างปลอกประสาทที่หุ้มล้อมรอบเส้นประสาท อีกทั้งคอเลสเตอรอลยังช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตวิตามินดี และการผลิตน้ำดีซึ่งทำหน้าที่ย่อยอาหารได้ด้วย นอกจากนี้ คอเลสเตอรอลยังจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมถึงฮอร์โมนเพศ อย่างเอสโตรเจน โปรเจสเทอโรน และเทสโทสเทอโรน หากระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน เมื่อผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ จะทำให้เซลล์สร้างกระดูกได้น้อยลง ส่งผลให้มวลกระดูกลดลง และเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ความเสี่ยงสำหรับระดับคอเลสเตอรอลสูง คอเลสเตอรอลคือไขมันชนิดหนึ่งที่พบได้ในเซลล์ทุกเซลล์ของร่างกาย คอเลสเตอรอลไม่สามารถละลายน้ำได้และจะเกาะติดกับโปรตีนชนิดพิเศษ ที่เรียกว่า ไลโปโปรตีน เมื่อส่งผ่านไปยังระบบไหลเวียนเลือด คอเลสเตอรอลจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ คอเลสเตอรอล LDL (ไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ) จัดเป็นคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือไขมันเลว ที่จะไปเกาะอยู่ตามผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่น และตีบตัน คอเลสเตอรอล HDL (ไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง) จัดเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดี หรือไขมันดี ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอล LDL เกาะตามผนังหลอดเลือด […]


คอเลสเตอรอล

ไนอาซิน ช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีได้หรือเปล่า

สำหรับผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง หากลองปรับเปลี่ยนรูปแบบการกินอาหารและการออกกำลังกายมากขึ้นแล้ว ยังไม่สามารถช่วยปรับระดับคอเลสเตอรอลให้เหมาะสมได้ ก็จำเป็นต้องได้รับยารักษาและควบคุมระดับคอเลสเตอรอล เช่น ยาสแตติน แต่นอกเหนือจากยาชนิดนี้แล้ว ไนอาซิน (Niacin) ก็เป็นยาอีกชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการเพิ่มระดับ HDL หรือคอเลสเตอรอลชนิดดี และลดระดับ LDL หรือคอเลสเตอรอลไม่ดีได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกกับยาชนิดนี้ให้มากขึ้นกัน ไนอาซิน (Niacin) คืออะไร ไนอาซีน (Niacin) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่าวิตามินบี 3  โดยส่วนใหญ่จะถูกผลิตในรูบแบบของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม แต่ก็ถือว่าเป็นยาชนิดหนึ่งมีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมให้ระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร และผิวหนังแข็งทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ยาทุกชนิดมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ การใช้ยาไนอาซินจึงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยาไนอาซินที่ขายตามร้านขายยา อาจมีส่วนผสม สูตรยา ผลข้างเคียง และความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ดังนั้น ก่อนซื้อยาไนอาซินจากร้านขายยา และรับประทาน ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชให้ระเอียด เพราะอาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพได้ ยาไนอาซิน มีประโยชน์อย่างไร จุดประสงค์หลักของการรักษาคอเลสเตอรอล คือ การลดระดับ LDL ซึ่งหากพิจารณาจากจุดนี้ ถือว่ายาสแตตินให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า แต่หากพิจารณาเรื่องการเพิ่มระดับ HDL หรือคอเลสเตอรอลชนิดดี ยาไนอาซินอาจมีประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากนี้ยาไนอาซินยังช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย สรุปคือ ยาไนอาซินอาจเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนบางกลุ่ม เช่น ผู้ที่มีระดับ HDL […]


คอเลสเตอรอล

สแตติน (Statins) ยาลดไขมัน กับผลข้างเคียงที่คุณควรรู้

ยาลดไขมันสแตติน (Statins) เป็นที่รู้จักในเรื่องความสามารถในการลดระดับคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยถ้าร่างกายมีระดับไขมันไม่ดีหรือมี LDL สูง อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ หัวใจวายและเส้นเลือดในสมองแตก อย่างไรก็ตาม ยาลดไขมันสแตตินไม่ใช่ยาสำหรับทุกคน เนื่องจากอาจส่งผลข้างเคียงบางอย่างเกิดขึ้นร่วมด้วยได้ แต่จะก่อให้เกิดอาการอะไรบ้างนั้น ตอตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอที่นำมาฝากกันได้เลยค่ะ ยาลดไขมันสแตติน ทำงานอย่างไร เมื่อบริโภค ยาลดไขมันสแตติน เข้าไป ตัวยานั้นจะสามารถลดระดับคอเลสเตอรอล LDL ได้ 35% ถึง 50% หรือมากกว่า นับว่าอาจเป็นที่น่าแปลกใจสำหรับหลายคน แต่คอเลสเตอรอลที่ไหลเวียนอยู่ในเลือดถูกผลิตมาจากตับ ไม่ได้มาจากอาหารที่เราบริโภค และจำนวนคอเลสเตอรอลที่ตับสร้างขึ้นถูกกำหนดโดยเอนไซม์ที่เรียกว่า HMG-CoA reductase ทั้งนี้ยาลดไขมันสแตตินจึงทำงานโดยการควบคุม HMG-CoA reductase เอาไว้ อีกทั้งยาลดไขมันสแตติน สามารถลดการอักเสบที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดได้ ในขณะที่จะรักษาเสถียรภาพของพลาค (Plaque) หรือคราบที่อาจก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดของคุณ ดังนั้น ยาลดไขมันสแตตินจึงอาจลดโอกาสของการเกิดโรคหัวใจวาย และเส้นเลือดในสมองแตก ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ สแตติน ยาแทบจะทุกชนิดมีผลข้างเคียงด้วยกันทั้งสิ้น ในกรณีของ ยาลดไขมันสแตติน ก็คงจะไม่พ้นเช่นเดียวกัน โดยผลข้างเคียงของตัวยาชนิดนี้มักทำให้คุณมี อาการปวดกล้ามเนื้อ จำนวน 5 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ […]


คอเลสเตอรอล

ระวัง! เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มมากไป เสี่ยง คอเลสเตอรอล สูง

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับ คอเลสเตอรอล มีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง ดังนั้น จึงควรจำกัดปริมาณของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เหมาะสม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพ [embed-health-tool-heart-rate] เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์กับคอเลสเตอรอล เบียร์กับคอเลสเตอรอล ส่วนผสมหลักของเบียร์ ได้แก่ บาร์เลย์ ฮอปส์ ยีสต์ และมอลต์ ล้วนมีสารสเตอรอลจากพืช (Plant sterol) หรือที่เรียกว่า ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคอเลสเตอรอล และสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ แต่ถึงอย่างไรในเบียร์ก็มีสารสเตอรอลนี้อยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การดื่มเบียร์จึงไม่สามารถช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ถึงแม้เบียร์จะเป็นเครื่องดื่มไม่มีคอเลสเตอรอล แต่ก็มีคาร์โบไฮเดรตและแอลกอฮอล์ ที่สามารถเพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ หากมีไตรกลีเซอไรด์สะสมอยู่ในร่างกายมากเกินไป ก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เช่นกัน หากร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลสูง ควรดื่มเบียร์ให้น้อยลง หรืองดดื่มเบียร์ไปเลย ที่สำคัญไม่ควรดื่มเบียร์ในปริมาณมาก เพื่อหวังผลให้สารสเตอรอลจากพืชในเบียร์มาช่วยลดคอเลสเตอรอลให้ เพราะอาจได้ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาแทน เหล้ากับคอเลสเตอรอล เหล้าประเภทวิสกี้ วอดก้า และจิน ไม่มีคอเลสเตอรอล อย่างไรก็ตาม เครื่องดื่มหรือเหล้าที่มีการปรุงแต่งขึ้น อย่างวิสกี้รสหวาน ค็อกเทล หรือเหล้าผสม อาจมีการปรุงแต่งน้ำตาลเพิ่มลงไป และน้ำตาลเหล่านั้น สามารถส่งผลกระทบต่อระดับ คอเลสเตอรอล […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน