สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยป้องกันคุณให้ห่างไกลจากโรค

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมคนเราจึงต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะกับสุขภาพหัวใจที่แพทย์นั้น มักเน้นการฟัง และจับจังหวะอัตราการเต้นหัวใจเป็นหลัก เพื่อให้ทุกคนได้รู้ถึง ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ นี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสานำข้อมูลที่ควรทราบ รวมถึงวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจหัวใจ มาฝากกันค่ะ ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ มีอะไรบ้าง เนื่องจาก การตรวจสุขภาพหัวใจ สามารถบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจว่าคุณจัดอยู่ในเกณฑ์ภาวะปกติหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถบ่งบอกได้อีกด้วยว่าคุณกำลังมีโรคใดที่รุนแรง ๆ ต่อไปนี้ แทรกซ้อนอยู่หรือเปล่า โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นหนึ่งในโรคที่ถูกพบบ่อยมากที่สุด ที่ทำให้หลอดเลือดแข็ง และอุดตันจากคอเลสเตอรอล ส่งผลให้หัวใจล้มเหลว หรือมีอัตราการการเต้นของหัวใจผิดจังหวะได้ กล้ามเนื้อหัวใจหนา หากผนังกล้ามเนื้อหัวใจมีการพองโต และขยายใหญ่ขึ้น อาจทำให้ยากต่อการสูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ อีกทั้งยังมีเสี่ยงต่อการมีลิ่มเลือดในหัวใจ และภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมักเผชิญกับได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่ 20-60 ปี โรคลิ้นหัวใจรั่ว เมื่อลิ้นหัวใจเกิดมีรูรั่ว หรือปิดไม่สนิท อาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับไม่สามารถเคลื่อนผ่านหัวใจเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การตรวจสุขภาพหัวใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรเข้ารับการตรวจเช็กเป็นประจำตามกำหนด รวมถึงหากคุณสังเกตว่าตนเองมีอาการบางอย่างที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก  เหนื่อยล้าง่าย ข้อเท้าบวม เป็นต้น ก็ควรจะเข้ารับการวินิจฉัยหาสาเหตุโดยไม่ควรรีรอเช่นเดียวกัน เตรียมความพร้อมก่อน ตรวจสุขภาพหัวใจ คุณควรมีการจดบันทึกถึงโรคที่เป็นอยู่ พร้อมกันชนิดยาที่เคยใช้รักษา เพื่อนำไปแจ้งให้แพทย์ทราบ ก่อนเริ่ม การตรวจสุขภาพหัวใจ อีกทั้งก่อนถึงวันเข้ารับการตรวจคุณควรเตรียมร่างกายตนเองด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

คอเลสเตอรอล

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง VS โรคความดันโลหิตสูง ความแตกต่างที่ควรรู้

ภาวะความดันโลหิตสูง (High blood pressure) และ โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) มักเป็นคำที่ใช้แทนกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็เป็นที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม ความดันโลหิตสูง และ โรคความดันโลหิตสูงก็ ยังคงมีความแตกต่างเล็กน้อยสำหรับ โดยจะมีความต่างกันอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนให้หายข้องใจไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตในอัตราที่เหมาะสมของคนเรานั้น ควรอยู่ระหว่าง 90/60 มม. ปรอท และ 120/80 มม. ปรอท หากความดันโลหิตมีค่าถึง 140/90 มม. ปรอท หรือสูงไปกว่านี้ ก็อาจหมายความได้ว่าคุณกำลังมีภาวะ ความดันโลหิตสูง นั่นเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ค่าความดันโลหิตมักไม่มีตัวเลขคงที่เสมอไป เพราะมักมีการเปลี่ยนแปลงค่าตลอดเวลา โดยขึ้นอยู่กับสภาพอารมณ์ กิจกรรมที่ทำเป็นประจำ และแม้กระทั่งอาหา หรือเครื่องดื่มที่รับประทานในแต่ละมื้อ อีกทั้งความดันโลหิตของคุณอาจเพิ่มสูงขึ้นหลังจากการออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง การเดินในระยะไกล หรือการปีนขั้นบันได หรือกำลังตกอยู่ในสถานการณ์บางอย่างที่กระทบกระเทือนจิตใจ และมีอัตราของค่าความดันเพียงระยะสั้น ๆ ชั่วคราว อย่างไรก็ตามการมีภาวะความดันโลหิตสูงนาน ๆ ครั้ง […]


โรคหลอดเลือดหัวใจ

ความรู้พื้นฐานเบื้องต้นของ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease)

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เป็นหนึ่งในปัญหาของโรคหัวใจ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ และสุขภาพกายโดยรวมของคุณ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด คุณอาจต้องทำการทราบข้อมูลพื้นฐานของโรคนี้เอาไว้ ก่อนเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต คำจำกัดความ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) คืออะไร โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease : CAD) เกิดขึ้นจากการที่หลอดเลือดหลักที่ลำเลียงเลือด ออกซิเจน และสารอาหาร ไปยังหัวใจ (หลอดเลือดแดงที่กล้ามเนื้อหัวใจ) จนเกิดความเสียหาย และมีการสะสมของคราบพลัคจากคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด หรือเกิดจากอาการอักเสบในหลอดเลือดหัวใจ เมื่อคราบพลัคก่อตัวขึ้น จะทำให้หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบลง และส่งผลให้เลือดที่ลำเลียงไปยังหัวใจนั้นน้อยลง เกิดอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม หรืออาจจะเกิดสิ่งบ่งชี้และอาการอื่น ๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจ การตีบตันของเส้นเลือดอย่างสมบูรณ์เกิดภาวะหัวใจวายได้ โรคหลอดเลือดหัวใจพบได้บ่อยเพียงใด โรคหลอดเลือดหัวใจมักจะพบได้บ่อยทุกเพศทุกวัย รวมถึงผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคหัวใจ รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นเวลานาน อาการ อาการของ โรคหลอดเลือดหัวใจ อาการที่มักพบได้มากที่สุดคืออาการปวดเค้นในหน้าอก (Angina) หรือเจ็บหน้าอก โดยอาการปวดเค้นในหน้าอกนี้สามารถอธิบายได้ว่าเป็น อาการหน่วง แรงกด อาการปวด อาการแสบร้อน อาการชา อาการแน่น อาการบีบคั้น อาการเหล่านี้อาจทำให้เข้าใจว่าเป็นอาการของอาการอาหารไม่ย่อยและภาวะกรดไหลย้อนได้ อาการปวดเค้นในหน้าอกมักรู้สึกที่บริเวณหน้าอก แต่ยังอาจรู้สึกในบริเวณอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น ไหล่ข้างซ้าย แขน คอ […]


โรคความดันโลหิตสูง

ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ด้วย 7 วิธีง่าย ๆ ก่อนจะสายเกินแก้!

กันไว้ดีกว่าแก้ เป็นคติที่ใช้ได้เสมอ โดยเฉพาะกับปัญหาสุขภาพ ที่แม้จะยังไม่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคร้ายใด ๆ ในขณะนี้ แต่การป้องกัน และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงไว้แต่เนิ่น ๆ ย่อมเป็นหานทางที่ดีกว่า เช่นเดียวกันกับโรคความดันโลหิตสูง ที่เป็นโรคยอมนิยมของคนแทบจะทั้งโลกมักเผชิญเลยก็ว่าได้ วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จึงมีคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อช่วย ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง มาฝากทุกท่านค่ะ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เริ่มต้นได้ง่าย ๆ โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของความเจ็บป่วย และการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยไม่แพ้กับโรคอื่น ๆ  อีกทั้งยังเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากการไม่แสดงอาการใด ๆ ของโรคดังกล่าวทำให้ผู้คนจำนวนมากไม่รู้ตัว หรือตระหนักถึงภาวะของโรคนี้เลย เพื่อเป็นการป้องกันก่อนที่จะสายเกินไป คุณสามารถปฏิวัติตัวเองด้วยวิธีง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ 1. การเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมความดันโลหิต ควรเริ่มจากการคุมปริมาณโซเดียม (เกลือ) ที่รับประทาน และเพิ่มโพแทสเซียมในมื้ออาหาร สิ่งสำคัญก็คือ คุณควรทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เพิ่มปริมาณผัก ผลไม้ ธัญพืช ในมื้ออาหารแต่ละมื้อของคุณร่วม พร้อมกับดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน หรืออาจลองใช้แนวทางการรับประทานอาหารที่เรียกว่า แนวทางโภชนาการเพื่อหยุดความดันโลหิตสูง (Dietary Approaches to Stop Hypertension) หรือ DASH ร่วม […]


โรคความดันโลหิตสูง

วัดความดันโลหิต ด้วยตัวเอง ทำอย่างไรให้ถูกต้อง

ความดันโลหิตของคุณสามารถบอกบางอย่าง เกี่ยวกับภาวะทางสุขภาพของคุณได้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องไปหาแพทย์ เพื่อทำการตรวจวัดระดับความดันโลหิตทุกครั้ง บทความนี้จะแสดงให้เห็นถึงวิธีการตรวจ วัดความดันโลหิต ด้วยตัวเองที่บ้านว่าทำอย่างไร Hello คุณหมอ มีบทความและสาระดีๆ สำหรับการวัดความดันโลหิตมาฝากกันค่ะ การเตรียมตัวก่อนทำการตรวจ วัดความดันโลหิต สิ่งที่คุณควรเตรียมตัว ก่อนทำการวัดระดับความดันโลหิต มีดังนี้ คุณจำเป็นต้องฟังเสียงชีพจร ฉะนั้นคุณจึงควรหาที่เงียบสงบ ควรนั่งพักเป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาที เพื่อให้ร่างกายไม่เหนื่อย ระบบการหายใจเป็นปกติ ก่อนที่จะทำการวัดระดับความดันโลหิตเพื่อค่าความดันโลหิตที่ชัดเจน ในสภาวะของร่างกายที่เป็นปกติ ควรทำกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง เพื่อที่คุณจะได้ผ่อนคลายอย่างเต็มที่ อย่าวัดระดับความดันโลหิตหากคุณรู้สึกตึงเครียด หลังการออกกำลังกายเสร็จใหม่ๆ หรือรับประทานคาเฟอีน และสูบบุหรี่ภายใน 30 นาที ที่ผ่านมา สิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อผลการตรวจได้ ควรนั่งตัวตรงบนเก้าอี้ เอนหลังหลังให้พิงกับเก้าอี้ ไม่ควรไขว้ขา และวางเท้าราบกับพื้น หากคุณกำลังใส่เสื้อแขนยาว ควรม้วนแขนเสื้อขึ้นไป หากกำลังใส่เสื้อผ้ารัดแขนแน่นๆ ให้ถอดออกเสีย วางแขนไว้ที่ระดับเดียวกับหัวใจ ขั้นตอนในการ วัดระดับความดันโลหิต คุณสามารถวัดระดับความดันโลหิตได้ด้วยตัวเอง โดยเริ่มต้นดังนี้  เริ่มต้นจากการวัดชีพจร วางนิ้วชี้และนิ้วกลางที่ตรงกลางพับข้อศอก พันผ้ารอบต้นแขน ส่วนขอบล่างของผ้า (ส่วนหัวของหูฟังแพทย์) ควรอยู่เหนือพับข้อศอก 2.5 เซนติเมตร บริษัทผู้ผลิตอาจจะใส่ลูกศรเพื่อช่วยให้คุณทราบตำแหน่งของหูฟังของแพทย์ หากคุณใช้เครื่องวัดความดันโลหิต แบบควบคุมด้วยมือ ใส่หูฟังของแพทย์เพื่อฟังเสียงหัวใจเต้น แขนข้างหนึ่งถือเกจวัดความดัน (ดูเหมือนนาฬิกา) และแขนอีกข้างถือส่วนกระเปาะไว้ ปิดวาวล์ไหลเวียนอากาศที่กระเปาะ (ตรงเข็มนาฬิกาข้างกระเปาะ) บีบกระเปาะให้ปลอกแขน วัดความดันโลหิตพองขึ้น ขณะที่คอยจับตาดูเกจวัดความดัน หยุดบีบเมื่อเกจ์ขึ้นไปถึง 30 […]


สุขภาพหัวใจ

8 ข้อควรจำในการเลือกซื้อ เครื่องวัดความดันโลหิต สำหรับใช้ที่บ้าน

การวัดระดับความดันโลหิตด้วย เครื่องวัดความดันโลหิต ของตัวเองที่บ้าน เป็นตัวช่วยสำคัญในการวัดผลทางการแพทย์ โดยการให้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับแพทย์ที่ทำการรักษา ทำให้สามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่ง Hello คุณหมอ จะเอาข้อสังเกตที่สำคัญในการเลือกซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตมาฝากกัน สำหรับภาวะความดันโลหิตสูงที่ต้องเฝ้าติดตามผลในระยะยาว นอกจากนี้ยังทำให้สามารถหาค่าวัดความดันเฉลี่ยหลายๆ ครั้งในสภาพแวดล้อมตามปกติของคุณ ทำให้สามารถวัดค่าความดันโลหิตได้ดีขึ้น โดยไม่มีค่าความดันที่สูงผิดปกติจากอาการวิตกกังวล ขณะทำการวัดความดันในสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล หรือที่เรียกว่า ผลกระทบจากแพทย์ (White coat effect) ผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกให้วัดระดับความดันโลหิตเองที่บ้าน อาจสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น โดยจะสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ดีขึ้น จากการที่มีส่วนร่วมในการดูแลตัวเองมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถลดค่ารักษาพยาบาล ด้วยการลดจำนวนครั้งที่ต้องมาหาแพทย์ 8 ข้อควรรู้ในการเลือกซื้อ เครื่องวัดความดันโลหิต 1. ตัดสินใจเลือกประเภทของ เครื่องวัดความดันโลหิต คุณสามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ให้ช่วยในการเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับคุณที่สุด คุณอาจสอบถามให้ทีมผู้ดูแลสุขภาพ แนะนำเครื่องมือเฉพาะสำหรับใช้ที่บ้านที่พวกเขาเคยใช้งาน ให้เลือกใช้หน้าจอแบบที่วัดระดับความดันโลหิตจากต้นแขน แทนแบบวัดที่ข้อมือหรือนิ้ว เนื่องจากจะให้ค่าวัดความดันโลหิตที่ถูกต้องที่สุด คุณอาจต้องตัดสินใจเลือกว่า คุณชอบแบบใช้ไฟฟ้า และ/หรือใช้แบตเตอรี่ เลือกรูปแบบการพองตัวว่า จะใช้แบบควบคุมด้วยมือ กึ่งอัตโนมัติ หรือแบบอัตโนมัติ สำหรับปลอกแขนวัดความดันโลหิตแบบควบคุมด้วยมือนั้น จำเป็นต้องทำการปั๊มโดยบีบกระเปาะยาง ที่อยู่ตรงปลายปลอกแขนวัดความดันโลหิต หน้าจอแบบกึ่งอัตโนมัติจำเป็นต้องรัดรอบแขนเอง แต่สามารถพองขึ้นเองได้ด้วยการกดปุ่ม ค่าความดันโลหิตจะบันทึกและแสดงผลขึ้นบนหน้าจอแสดงผลแบบดิจิทัล เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ จะมีที่ปลอกแขนวัดความดันโลหิตขึ้นรูปไว้ให้ ผู้ใช้สอดแขนเข้าไปโดยไม่ต้องรัดแขน กดปุ่มเพื่อทำให้ปลอกแขนวัดความดันโลหิตพองขึ้นจนได้เส้นผ่าศูนย์กลางที่จำเป็น อ่านค่าความดันโลหิต แสดงผลและเก็บบันทึกไว้ 2. เลือกปลอกแขนวัดความดันโลหิตขนาดที่ถูกต้อง ปลอกแขนวัดความดันโลหิตผิดขนาด หรือปลอกแขนวัดความดันโลหิตที่ไม่เหมาะสม สามารถส่งผลกระทบกับค่าวัดความดันโลหิตได้ มันทำให้เกิดความผิดพลาดที่พบได้บ่อยที่สุด […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

หัวใจวาย (Heart attack)

หัวใจวาย (Heart Attack) หรือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction) เป็นโรคร้ายแรงประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเมื่อกระแสเลือดที่ไปยังหัวใจมีการอุดกั้น คำจำกัดความหัวใจวาย คืออะไร หัวใจวาย (Heart Attack) หรือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction) เป็นโรคร้ายแรงประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเมื่อกระแสเลือดที่ไปยังหัวใจมีการอุดกั้น ซึ่งมักเกิดได้มากที่สุดจากการก่อตัวของไขมัน คอเลสเตอรอล และสารอื่น ๆ ซึ่งก่อตัวเป็นแผ่นอุดกั้นในหลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ กระแสเลือดที่ถูกขัดขวาง อาจทำให้เกิดการทำลาย หรือความเสียหายที่กล้ามเนื้อหัวใจได้ หัวใจวายสามารถเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในการโทรไปยังหมายเลขฉุกเฉิน หรือขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน หากกำลังสงสัยว่าตัวเองมีภาวะหัวใจวาย หัวใจวาย พบได้บ่อยเพียงใด ตามข้อมูลจาก Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ประเทศสหรัฐฯ ในทุก ๆ ปีจะมีชาวอเมริกันจำนวน 735,000 คนที่เกิด ภาวะหัวใจวาย ในจำนวนผู้ป่วยดังกล่าวนี้ ผู้ป่วยจำนวน 525,000 รายเป็นหัวใจวายครั้งแรก และผู้ป่วยจำนวน 210,000 รายเป็นผู้ที่เคยเป็นหัวใจวายมาก่อนแล้ว ในประเทศไทย ภาวะหัวใจวาย […]


ภาวะหลอดเลือดแข็ง

หลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)

หลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เป็นโรคที่เกิดจากการมีคราบ (Plaque) ก่อตัวขึ้นด้านในหลอดเลือดแดง คราบดังกล่าวนี้จะแข็งตัว และทำให้หลอดเลือดแดงแคบลง ซึ่งจะจำกัดการไหลของเลือดที่มีออกซิเจนไปยังอวัยวะและส่วนต่างๆ ของร่างกาย สามารถนำไปสู่ปัญหาร้ายแรง ได้แก่ หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรืออาจถึงแก่ชีวิต คำจำกัดความหลอดเลือดแดงแข็ง คืออะไร หลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เป็นโรคที่เกิดจากการมีคราบหนา (Plaque) ก่อตัวขึ้นด้านในหลอดเลือดแดง หลอดเลือดแดงเป็นหลอดเลือดที่ลำเลียงเลือดที่อุดมด้วยออกซิเจนไปยังหัวใจ และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย คราบดังกล่าวนี้เกิดจากไขมัน คอเลสเตอรอล แคลเซียม และสารอื่น ๆ ที่พบได้ในเลือด เมื่อเวลาผ่านไป คราบดังกล่าวนี้จะแข็งตัว และทำให้หลอดเลือดแดงแคบลง ซึ่งจะจำกัดการไหลของเลือดที่มีออกซิเจนไปยังอวัยวะและส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หลอดเลือดแดงแข็งสามารถนำไปสู่ปัญหาร้ายแรง ได้แก่ หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรืออาจถึงแก่ชีวิต หลอดเลือดแดงแข็ง พบได้บ่อยเพียงใด หลอดเลือดแดงแข็งเป็นปัญหาที่สัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งค่อนข้างพบได้โดยทั่วไป เมื่อคุณอายุมากขึ้น คุณมีความเสี่ยงต่อหลอดเลือดแดงแข็งมากขึ้น ปัจจัยทางพันธุกรรมหรือไลฟ์สไตล์ อาจเป็นตัวการที่ทำให้คราบหนาก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดแดงของคุณ เมื่อคุณมีอายุมากขึ้น เข้าสู่วัยกลางคน หรืออายุมากกว่านั้น คราบหนาจะก่อตัวขึ้นมากพอที่จะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ โดยในผู้ชาย ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังจากอายุ 45 ปี […]


โรคความดันโลหิตสูง

ยารักษาความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นมะเร็งเต้านมได้จริงหรือ?

มีการศึกษาหนึ่งที่ชี้ว่าการกิน ยารักษาความดันโลหิตสูง กลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ ในระยะยาว อาจทำให้ผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่จะมีข้อมูล หรือสรุปถึงการกินยารักษาโรคความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมจริง หรือเท็จแค่ไหนนั้น Hello คุณหมอ เรามีข้อมูลในเรื่องนี้มาให้คุณได้ทราบกันค่ะ ยารักษาความดันโลหิตสูง กับ มะเร็งเต้านม การศึกษาก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2013 มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาจาก Fred Hutchinson Cancer Research Center ที่สังเกตเห็นว่า การใช้ยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (calcium channel blockers) ระยะยาวในปัจจุบัน อาจเป็นสาเหตุของมะเร็งเต้านมในผู้หญิงบางราย นับว่าเป็นเรื่องที่น่าตกใจอย่างมาก เนื่องจากยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ เป็นยาชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยปกติยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ ดังต่อไปนี้ เป็นยารักษาความดันโลหิตสูงประเภทหนึ่งที่ใช้กันโดยทั่วไป ยานี้ใช้เพื่อป้องกันแคลเซียมไม่ให้เข้าไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของหัวใจ และผนังหลอดเลือด ส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลง ยาแอมโลดิปีน (Amlodipine) อย่างเช่น Norvasc® ยาดิลไทอาเซม (Diltiazem) อย่างเช่น Cardizem LA® และ Tiazac® ยาไอซราดิพีน (Isradipine) อย่างเช่น DynaCirc CR® ยาไนคาร์ดิพีน (Nicardipine) อย่างเช่น Cardene SR® ยาไนเฟดิพีน […]


โรคความดันโลหิตสูง

เกลือ หรือ น้ำตาล อะไรแย่กว่ากัน สำหรับโรคความดันโลหิตสูง

ทั้งเกลือและน้ำตาล ต่างได้ชื่อว่าสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ แต่ เกลือ หรือ น้ำตาล กันแน่ล่ะ ที่เป็น “ผู้ร้าย” ที่แท้จริง และควรพึงระวัง ปัจจุบันเชื่อว่า น้ำตาลอาจมีผลเสียมากกว่าเกลือ จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Open Heart น้ำตาลเป็นภัยเงียบต่อความดันโลหิต แต่ขณะเดียวกันเกลือก็ยังคงส่งผลเสียต่อสุขภาพไม่แพ้การรับประทานน้ำตาลน้ำตาล วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำข้อเท็จจริงดังกล่าวระหว่างเกลือ และน้ำตาล ว่าสารปรุงแต่งใดที่คุณควรหลีกเลี่ยงมาฝากกันค่ะ การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เราทุกคนทราบว่า การบริโภคน้ำตาลมากเกินไป เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเผาผลาญของร่างกาย มีหลักฐานมากพอที่จะระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไป และความผิดปกติเกี่ยวกับการเผาผลาญของร่างกายหลายประการ เช่น ภาวะดื้ออินซูลิน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน คอเลสเตอรอลสูง รวมถึงไขมันในเลือดสูง การบริโภคน้ำตาลทำให้ระดับอินซูลินเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้เกิดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติก (sympathetic nervous system) เมื่อร่างกายมีการตอบสนองภาวะดังกล่าว จะเข้าไปกระตุ้นการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต ทำให้หน่วยรับความรู้สึกที่ทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิต ก็มีประสิทธิภาพมีลดลงเรื่อย ๆ จนเสี่ยงเกิดหลอดเลือดตีบตัน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความดันภายในหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เกลือ หรือ น้ำตาล ที่ส่งผลต่อโรคความดันโลหิตสูง การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง แม้เป็นเวลาเพียงสองสัปดาห์ อาจส่งผลที่เห็นได้ชัดเจนต่อความดันโลหิตของคุณ มีการศึกษาว่า อาหารที่มีน้ำตาลสูง จะเพิ่มความดันโลหิตได้มากกว่าอาหารที่มีโซเดียมสูง (7mmHg/5mmHg […]


โรคความดันโลหิตสูง

5 เรื่องของความดันโลหิตสูง ที่คุณคิดว่ารู้ แต่จริงๆ เข้าใจผิดทั้งเพ!

เรื่องของความดันโลหิตสูง เป็นเรื่องที่หลายคนเข้าใจผิด และคิดว่าต้องมีอาการป่วยไข้บางอย่าง ถึงจะรู้ได้ว่าตัวเองมีความดันโลหิตสูง ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะหลายคนความดันโลหิตสูง แต่ไม่ได้ปรากฏอาการอะไร และยังดูเหมือนว่าเป็นคนที่มีสุขภาพดีอีกด้วย นอกจากนี้ ความดันโลหิตสูงมักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ และไม่สามารถตรวจพบได้เป็นเวลาหลายปี แต่หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา ความดันโลหิตสูงอาจก่อให้เกิดปัญหารุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงชวนมาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภาวะดังกล่าว โดยต่อไปนี้เป็นความเข้าใจผิด 5 ประการ เกี่ยวกับความดันโลหิตสูง ความเข้าใจผิดที่ 1: ความดันโลหิตสูงไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่ เมื่อไม่มีอาการ คุณอาจรู้สึกว่าไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับสุขภาพของคุณ นี่เป็นเหตุผลที่ความดันโลหิตสูงเป็นที่รู้จักว่าเป็น “ฆาตกรเงียบ” ความดันโลหิตสูงอาจก่อให้เกิดความเสียหายที่หลอดเลือด ไต หัวใจ และอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายของคุณ โดยปกติแล้ว หัวใจของคุณเต้นในอัตราปกติ เพื่อสูบฉีดโลหิตผ่านหลอดเลือด ซึ่งจะลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในขณะที่เลือดดันตัวผ่านผนังหลอดเลือด หลอดเลือดอาจขยายตัวหรือหดตัวตามความจำเป็น เพื่อให้การไหลของเลือดเป็นไปด้วยดี เมื่อคุณมีความดันโลหิตสูง แรงดันที่ดันเลือดผ่านทางหลอดเลือดจะมีค่าสูงเกินไป ความดันโลหิตสูงอาจไม่ดูเหมือนเป็นเรื่องใหญ่ แต่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เห็นพ้องว่า เป็นเรื่องใหญ่ที่ควรให้ความสนใจ และเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตรวจความดันโลหิตสูงในระยะเริ่มแรก เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงต่อไป ความเข้าใจผิดที่ 2: ความดันโลหิตสูงไม่สามารถป้องกันได้ คุณอาจมีสมาชิกในครอบครัวที่มีความดันโลหิตสูง หรืออยู่ในช่วงอายุที่ทำให้คุณมีความเสี่ยงมากขึ้น หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับความดันโลหิตสูง คุณอาจคิดว่าคุณไม่สามารถป้องกันตนเองได้จากความดันโลหิตสูง แต่คุณควรคิดใหม่ได้แล้ว ถึงแม้ว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ แต่คุณก็ยังสามารถป้องกันความดันโลหิตสูงได้ ต่อไปนี้เป็นข้อปฏิบัติบางประการที่คุณสามารถทำได้ รักษาน้ำหนักร่างกายให้พอดี  […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน