
คำจำกัดความ
ไข้เดงกี คืออะไร
ไข้เดงกี (Dengue fever) เป็นโรคติดต่อที่มาจากยุง และมีสาเหตุมาจากไวรัสเดงกีชนิดใดชนิดหนึ่งจากสี่ชนิด คือ DEN-1 DEN-2 DEN-3 และ DEN-4 โรคนี้เคยถูกเรียกว่า “ไข้กระดูกแตก” เพราะบางครั้งก่อให้เกิดอาการเจ็บกระดูกข้อต่อและกล้ามเนื้อ จนทำให้รู้สึกเหมือนกระดูกกำลังจะแตก จึงได้ชื่อเช่นนั้น
ไข้เดงกีระดับเบา ก่อให้เกิดไข้สูง ผื่น และเจ็บตามกล้ามเนื้อ และกระดูกข้อต่อ ไข้เดงกีขั้นรุนแรง หรือที่เรียกว่าไข้เลือดออกเดงกี (dengue hemorrhagic fever) สามารถก่อให้เกิดเลือดออกขั้นรุนแรง ความดันโลหิตลดลงฉับพลัน และเสียชีวิต
ไข้เดงกีพบบ่อยแค่ไหน
ในแต่ละปี มีประชากรที่ติดเชื้อเดงกีหลายล้านคนทั่วโลก โรคนี้สามารถส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ ไข้เดงกีพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและหลังผ่านฤดูฝนมาไม่นาน ในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ได้แก่
- แอฟริกา
- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน
- อินเดีย
- ตะวันออกกลาง
- แคริบเบียน อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
- ออสเตรเลีย แปซิฟิกกลาง และแปซิฟิกใต้
อย่างไรก็ดี ไข้เดงกีสามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของไข้เดงกี
ไข้เดงกีมี 3 ประเภท ได้แก่ ไข้เดงกี ไข้เลือดออกเดงกี และไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อกร่วมด้วย
ไข้เดงกี (Dengue fever หรือ DF)
อาการของไข้เดงกี มักเริ่มจากอาการไข้ใน 4 ถึง 7 วัน หลังจากที่คุณถูกยุงติดเชื้อกัด ร่วมกับอาการอื่นๆ ได้แก่
- มีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
- ปวดศีรษะรุนแรง
- อาการเจ็บเบ้าตา (ด้านหลัง)
- เจ็บข้อต่อและกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
- คลื่นไส้และอาเจียน
อาจมีผื่นปรากฏขึ้นทั่วร่างกายเป็นเวลา 3 ถึง 4 วัน หลังมีไข้ และจากนั้น ไข้จะหายไปเองใน 1 ถึง 2 วัน คุณอาจมีผื่นขึ้นมาอีกครั้ง ไม่กี่วันให้หลัง
ไข้เลือดออกเดงกี (Dengue haemorrhagic fever หรือ DHF)
อาการของไข้เลือดออกเดงกี หรือไข้เลือดออก ได้แก่ อาการทั้งหมดที่เกิดขึ้นของไข้เดงกี ร่วมกับอาการอื่นๆ ได้แก่
- ความเสียหายที่หลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง
- มีเลือดออกทางจมูก เหงือก หรือใต้ผิวหนัง ก่อให้เกิดรอยช้ำม่วง
โรคเดงกี่ชนิดนี้สามารถทำให้เสียชีวิตได้
ไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อกร่วมด้วย (Dengue shock syndrome หรือ DSS)
อาการของโรคไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อกร่วมด้วย ถือเป็นไข้เดงกีชนิดที่รุนแรงที่สุด อาการของโรคนี้เหมือนกับอาการของทั้งสองโรคที่ผ่านมา ร่วมกับอาการอื่นๆ ได้แก่
- มีของเหลวไหลออกจากหลอดเลือด
- เลือดออกจำนวนมาก
- อาการช็อก (ความดันโลหิตต่ำมาก)
โรคชนิดนี้มักเกิดขึ้นในเด็ก และบางครั้งอาจเกิดในผู้ใหญ่ที่พบกับการติดเชื้อเดงกีรอบที่สอง ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น
สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์
หรือหากคุณเพิ่งเดินทางกลับจากบริเวณที่เสี่ยงติดเชื้อไข้เดงกี และมีไข้ขึ้นฉับพลัน ควรเข้าพบข้าพบคุณหมอทันที
ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของไข้เดงกี
ไข้เดงกี มักมีสาเหตุมาจากไวรัสที่ลุกลามจากการถูกยุงกัด ไวรัสเดงกี มี 4 ประเภท แต่ละชนิดรู้จักกันในนามว่า ไวรัส DEN-1 DEN-2 DEN-3 และ DEN-4 ยุงจากตระกูลเฉพาะที่เรียกว่า ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) หรือ ยุงลายสวน (Aedes albopictus) เป็นพาหะที่แพร่เชื้อไวรัสสู่คน โดยการกัด และถ่ายเลือดติดเชื้อไปสู่อีกคนหนึ่ง
เมื่อคุณรักษาไข้เดงกีจนหายขาดแล้ว ร่างกายของคุณอาจสร้างภูมิคุ้มกันต่อไข้เดงกีได้ แต่ก็สามารถป้องกันได้เพียงบางสายพันธุ์เท่านั้น เนื่องจากไข้เดงกีมีไวรัสแตกต่างกันถึง 4 สายพันธุ์ ซึ่งหมายความว่า คุณอาจติดเชื้อสายพันธุ์อื่นได้ คุณจึงควรทำความเข้าใจสัญญาณและอาการของโรคให้ดี และเข้ารับการรักษาให้ทันท่วงที
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงสำหรับไข้เดงกี
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคไข้เดงกี ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงในการเกิดไข้เดงกีชนิดที่มีความรุนแรงมากขึ้น รวมถึงปัจจัยในการเกิดอาการนั้นมีมายมาย เช่น
- อาศัยหรือเดินทางไปยังพื้นที่เขตร้อน การอยู่ในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับไวรัสที่ก่อให้เกิดไข้เดงกี โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะแปซิฟิกตะวันตก ละตินอเมริกา และแคริบเบียน
- สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสเดงกีแล้ว หากคุณติดเชื้ออีกครั้ง ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงขึ้น
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยไข้เดงกี
การวินิจฉัยไข้เดงกีเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะสัญญาณและอาการของโรค สามารถสร้างความสับสนกับโรคอื่น เช่น โรคมาลาเรีย โรคไข้ฉี่หนู โรคไข้ไทฟอยด์ (typhoid fever)
แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ และการเดินทางของคุณเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ สามารถตรวจจับร่องรอยของไวรัสเดงกีได้ แต่ผลตรวจมักจะมาช้าเกินกว่าที่จะช่วยตัดสินทางเลือกของการรักษา
การรักษาไข้เดงกี
ไม่มีการรักษาเฉพาะทางสำหรับไข้เดงกี คนส่วนใหญ่มักจะหายจากโรคนี้ได้ภายใน 2 สัปดาห์ แต่การรักษาอาการของโรคก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อหลีกเลื่ยงอาการแทรกซ้อนอื่นๆ แพทย์ส่วนใหญ่มักจะแนะนำทางเลือกในการรักษาดังต่อไปนี้
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
- ดื่มน้ำมากๆ
- รับประทานยาเพื่อลดไข้ เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) สามารถบรรเทาอาการปวดและลดไข้ได้
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวด ที่สามารถเพิ่มอาการเลือดออกแทรกซ้อน เช่น ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน ยาโซเดียม นาพรอคเซน
ในหลาย ๆ กรณี ไข้เดงกีสามารถก่อให้เกิดอาการช็อก หรือโรคไข้เลือดออก ที่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลทางการแพทย์ในทันที
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการกับไข้เดงกี
คุณสามารถจัดการกับไข้เดงกีได้ที่บ้าน โดยต้องรักษาความชุ่มชื้นของร่างกาย และจัดการกับอาการปวดให้ดี และหากคุณอยู่ในพื้นที่เสี่ยงเกิดไข้เดงกี หรือไข้เดงกีกำลังระบาด เคล็ดลับเหล่านี้อาจช่วยคุณได้
เคล็ดลับป้องกันตัวเองจากไข้เดงกี
- อยู่ภายในบ้านที่มีการป้องกันยุงอย่างดี หรือติดเครื่องปรับอากาศ และที่สำคัญคือ ป้องกันอย่าให้ยุงกัด โดยเฉพาะในตอนกลางคืน
- จัดตารางกิจกรรมกลางแจ้งใหม่ หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงหัวค่ำ เช้ามืด และช่วงเย็น เมื่อยุงออกหากินตอนกลางคืน
- สวมเสื้อผ้าป้องกัน เมื่อต้องเข้าไปในพื้นที่มียุงชุกชุม สวมเสื้อเชิ้ตแขนยาว กางแกงขายาวถุงเท้าและรองเท้า
- ใช้ยากันยุง เช่น ยาเพอร์เมทริน (Permethrin) ซึ่งเป็นยากันยุงที่สามารถฉีดลงบนเสื้อผ้า รองเท้า อุปกรณ์แคมปิ้ง และมุ้งที่นอนของคุณได้ และควรทายากันยุงที่มีส่วนผสมของสารดีท (DEET) อย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์
- กำจัดพื้นที่อาศัยของยุง ยุงที่เป็นพาหะไวรัสเดงกี มักจะอาศัยอยู่ในหรือรอบๆ บ้าน การกำจัดน้ำขังในแต่ละบริเวณของบ้าน เช่น ล้อรถยนต์ กระถางต้นไม้ กะละมัง ก็สามารถช่วยลดพื้นที่การแพร่พันธุ์ยุง ทำให้ประชากรยุงน้อยลงได้
หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด