backup og meta

เส้นเอ็นฉีกขาด (Ruptured Tendon)

เส้นเอ็นฉีกขาด (Ruptured Tendon)
เส้นเอ็นฉีกขาด (Ruptured Tendon)

เส้นเอ็นฉีกขาด (Ruptured Tendon) หมายถึงอาการที่เส้นเอ็นส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือเส้นเอ็นทั้งเส้นฉีกขาดออกจากกัน อาจเกิดขึ้นจากการออกแรงมากเกินไป หรือเกิดการบาดเจ็บ

คำจำกัดความ

เส้นเอ็นฉีกขาด คืออะไร

เส้นเอ็นฉีกขาด (Ruptured Tendon) หมายถึงอาการที่เส้นเอ็นส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือเส้นเอ็นทั้งเส้นฉีกขาดออกจากกัน เส้นเอ็นนั้นคือเนื้อเยื่อเส้นใย ที่ยึดให้กล้ามเนื้อติดเข้ากับกระดูก โดยปกติแล้วเส้นเอ็นนั้นจะมีความแข็งแรงมาก และสามารถรับแรงได้มากถึง 5 เท่าของน้ำหนักตัว แต่หากเราออกแรงมากเกินไป หรือเกิดการบาดเจ็บ เช่น จากการเล่นกีฬา หรือการหกล้ม ก็อาจทำให้เส้นเอ็นเกิดการฉีกขาดได้ นอกจากนี้ การใช้ยาบางอย่าง หรือโรคบางชนิดก็อาจทำให้เกิดอาการเส้นเอ็นฉีกขาดได้เช่นกัน

บริเวณที่อาจเกิดอาการเส้นเอ็นขาดได้มากที่สุดคือ

เส้นเอ็นฉีกขาด พบบ่อยแค่ไหน

อาการเส้นเอ็นฉีกขาดนั้นพบได้ไม่ค่อยบ่อยเท่าไหร่นัก โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะพบอาการเส้นเอ็นฉีกขาดได้ในผู้สูงอายุ กับผู้ที่มีปัญหาเส้นเอ็นอ่อนแอจากปัจจัยต่างๆ อาการนี้หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษา อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ในภายหลัง

อาการ

อาการของเส้นเอ็นฉีกขาด

อาการที่อาจเป็นสัญญาณของเส้นเอ็นฉีกขาดมีดังต่อไปนี้

  • รู้สึก หรือได้ยินเสียงฉีกขาดดังเปรี๊ยะ
  • รู้สึกปวดอย่างรุนแรง
  • มีรอยช้ำอย่างรวดเร็ว
  • อ่อนแรง
  • ไม่สามารถเคลื่อนไหวแขนหรือขาข้างที่มีอาการเส้นเอ้นฉีกได้
  • ไม่สามารถขยับบริเวณที่มีอาการเส้นเอ็นฉีกได้
  • บริเวณที่มีอาการเส้นเอ็นฉีกขาดผิดรูป
  • หากเกิดอาการเส้นเอ็นร้อยหวายฉีกขาด อาจทำให้คุณไม่สามารถยืนเขย่งบนปลายนิ้วเท้าได้

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

อาการเส้นเอ็นฉีกขาดนี้หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษา อาจกลายไปเป็นปัญหาสำคัญ ดังนั้นจึงควรรีบติดต่อแพทย์ในทันที หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้

  • หากคุณมีอาการปวดอย่างรุนแรงในบริเวณที่บาดเจ็บ และไม่ดีขึ้นแม้ว่าจะรับประทานยาแก้ปวดแล้ว
  • หากแขนหรือขารู้สึกบวม ช้ำ และปวดอย่างรุนแรง
  • หากคุณหายใจไม่ออก หน้ามืด
  • หากคุณรู้สึกหรือได้ยินเสียงดังเปรี๊ยะ เหมือนกล้ามเนื้อฉีก
  • หากแขนขามีลักษณะผิดรูป

สาเหตุ

สาเหตุของเส้นเอ็นฉีกขาด

สาเหตุโดยทั่วไปของอาการเส้นเอ็นฉีกขาดคือ

  • อาการบาดเจ็บโดยตรง เช่น ที่เข่า ที่ข้อเท้า หรือที่ไหล่
  • อายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้การไหลเวียนของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงเส้นเอ็นลดลง ทำให้เส้นเอ็นอ่อนแอลง
  • การยกของหนัก
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าในเส้นเอ็น
  • การใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิด

โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเอ็นฉีกขาด

ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เส้นเอ็นฉีกขาดมีดังต่อไปนี้

  • อายุ ผู้สูงอายุมักจะมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะเกิดอาการนี้
  • เพศ อาการเส้นเอ็นฉีกขาด อย่างเอ็นร้อยหวายฉีกขาด จะพบได้มากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  • กีฬา การเล่นกีฬาบางชนิด อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเส้นเอ็นฉีกขาดมากขึ้น โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องวิ่ง กระโดด และหยุดในเวลากะทันหัน เช่น เทนนิส บาสเก็ตบอล หรือฟุตบอล
  • ยา การใช้ยาบางอย่าง เช่น ยาเสตียรดอยด์ หรือยาปฏิชีวนะ
  • โรคอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเยอะจะยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อเส้นเอ็นมากยิ่งขึ้น

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยเอ็นฉีกขาด

แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติ และตรวจร่างกายคร่าวๆ เพื่อดูว่าอาการบาดเจ็บของคุณเป็นอย่างไร  คุณสามารถขยับตัวได้มากแค่ไหน นอกจากนี้ก็อาจจะตามด้วยการตรวจดังต่อไปนี้

  • การเอกซเรย์ เพื่อดูว่าเส้นเอ็นนั้นฉีกขาดออกจากกระดูกเลยหรือไม่
  • การแสกนเอ็มอาร์ไอ เพื่อแสดงให้เห็นภาพว่าเส้นเอ็นนั้นบาดเจ็บมากแค่ไหน
  • การอัลตราซาวน์ โดยใช้คลื่นเสียงแสกนเพื่อฉายภาพภายในกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น เพื่อดูว่าเส้นเอ็นฉีกขาดมากแค่ไหน

การรักษาเส้นเอ็นฉีกขาด

การรักษาอาการเส้นเอ็นฉีกขาดนั้นจะขึ้นอยู่กับ บริเวณที่เส้นเอ็นฉีก และความรุนแรงของอาการ โดอาจรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) หรือยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยาในกลุ่มนี้จะช่วยบรรเทาอาการบวม อาการปวด และช่วยลดไข้
  • ยาพาราเซตามอล หรือยาอะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) เพื่อช่วยลดอาการปวด โดยไม่จำเป็นต้องรอแพทย์สั่งยา
  • ยาสเตียรอยด์ เพื่อช่วยลดอาการอักเสบ และช่วยฟื้นฟูอาการเส้นเอ็นฉีกขาดบางส่วน
  • อุปกรณ์ช่วยค้ำ เช่น ใส่เฝือก ใส่ไม้ค้ำ เพื่อช่วยพยุงอวัยวะ จำกัดการเคลื่อนไหว และช่วยปกป้องเส้นเอ็นไม่ให้เจอกับแรงกระแทกที่รุนแรง
  • กายภาพบำบัด แพทย์อาจจะแนะนำให้ทำกายภาพบำบัด เมื่ออาการปวดและอาการบวมลดลงแล้ว
  • การผ่าตัด ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเพื่อช่วยต่อเส้นเอ็นที่ขาดแล้วให้กลับมาติดกับกระดูกดังเดิม

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับอาการเส้นเอ็นฉีกขาด

  • พักผ่อน พยายามอย่าเคลื่อนไหวมาก เพื่อรอเวลาให้อาการบาดเจ็บค่อยๆ ฟื้นฟูด้วยตัวเอง การฝืนขยับร่างกายมากเกินไป นอกจากจะทำให้เกิดอาการปวดแล้ว ยังอาจมีความเสี่ยงทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเกิดการอักเสบและฉีกขาดเพิ่มขึ้นอีกด้วย
  • ประคบเย็น ประคบเย็นในบริเวณที่บาดเจ็บ ครั้งละ 15-20 นาที ทุกๆ 48 ชั่วโมง เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อบาดเจ็บ เสียหาย และช่วยลดอาการบวมกับอาการปวด
  • ยกสูง หากเกิดอาการเส้นเอ็นฉีกขาด ในบริเวณที่ต่ำกว่าหัวใจ เช่น เส้นเอ็นร้อยหวายที่ข้อเท้า พยายามยกให้สูงขึ้นกว่าระดับหัวใจ เพื่อช่วยลดอาการปวดและอาการบวมได้

หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ruptured Tendon https://www.webmd.com/fitness-exercise/ruptured-tendon#1

Ruptured Tendon Treatment https://www.webmd.com/a-to-z-guides/ruptured-tendon-treatment#1

Tendon Rupture https://www.drugs.com/cg/tendon-rupture.html

Achilles tendon rupture https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/achilles-tendon-rupture/symptoms-causes/syc-20353234

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/08/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

การผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด (Rotator Cuff Repair)

ป้องกัน เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ด้วยการเลือกรองเท้าอย่างเหมาะสม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 27/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา