backup og meta

เทคนิคกำราบ อาการเมารถ อย่างอยู่หมัด โดยไม่ต้องพึ่งยา

เทคนิคกำราบ อาการเมารถ อย่างอยู่หมัด โดยไม่ต้องพึ่งยา

หลายครั้งที่เราเดินทางโดยรถยนต์แล้วจะต้องทรมานกับอาการคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ ชวนให้ปวดหัว และรู้สึกเมารถ อาการเหล่านี้ช่างเป็นปัญหาที่สร้างความรำคาญ และความลำบากสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางเป็นประจำ ไม่ว่าจะไปทำงานหรือไปโรงเรียน บทความนี้จะมาแนะนำ เทคนิคกำราบ อาการเมารถ ให้อยู่หมัด โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาให้ยุ่งยาก

อาการเมารถ เป็นอย่างไร

อาการเมารถ จัดเป็นหนึ่งใน ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว (Motion sickness) หมายถึง อาการป่วยหรือความรู้สึกไม่สบาย ที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ เช่น เมารถ เมาเรือ หรือเมาเครื่องบิน เป็นต้น

อาการเมารถนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศและทุกวัย ส่วนใหญ่แล้ว คนที่มีอาการ เมารถ มักจะมีอาการคลื่นไส้ เหงื่อออก น้ำลายไหล หายใจไม่อิ่ม และวิงเวียน นอกจากนี้ บางคนอาจจะมีอาการรู้สึกไม่สบาย ปวดหัว และง่วงหงาวหาวนอนร่วมด้วย ในกรณีรุนแรงอาจถึงขั้นมีอาการอาเจียนร่วมด้วย

อาการเมารถเกิดจากอะไร

อาการ เมารถ นั้นเกิดจากความไม่สมดุลกันของสิ่งที่คุณมองเห็น กับสิ่งที่คุณรู้สึก สมองของคุณจะรับรู้ได้ถึงการเคลื่อนที่ของร่างกาย ผ่านทางระบบประสาทต่างๆ เช่น หูชั้นใน ดวงตา และเนื้อเยื่อบนผิว

เมื่อร่างกายเริ่มมีการเคลื่อนที่ ระบบประสาทก็จะส่งสัญญาณเพื่อให้สมองได้รับรู้ว่าขณะนี้ร่างกายของเราเกิดการเคลื่อนที่ และเมื่อระบบประสาทส่วนกลางได้รับสัญญาณที่ขัดแย้งกัน จากหน่วยรับความรู้สึกที่ส่งมาจากบริเวณหูชั้นใน ดวงตา และผิวหนัง ก็จะทำให้ระบบประสาทส่วนกลางนั้นเกิดความสับสน และกลายเป็นอาการ เมารถ ในที่สุด

ยกตัวอย่างเช่น หากเรานั่งอยู่บนรถ โดยไม่มองออกไปข้างนอกหน้าต่าง เมื่อรถเคลื่อนที่ หูชั้นในของเราจะสัมผัสได้ว่าเกิดการเคลื่อนไหวไปข้างหน้า ซ้ายและขวา แต่ดวงตาของเราจะมองเห็นภาพนิ่งเหมือนหยุดอยู่กับที่ ทำให้สัญญาณที่ส่งไปยังสมองเกิดการขัดแย้งกันเอง แล้วกลายเป็นอาการเมารถ

เทคนิคช่วยแก้อาการเมารถโดยไม่ต้องพึ่งยา

หากคุณรู้สึกว่าตนเองกำลังมีอาการ เมารถ หรือต้องการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอาการเมารถในขณะที่กำลังเดินทางล่ะก็ สามารถใช้วิธีป้องกันการเมารถที่สามารถทำได้ง่ายๆ และเห็นผลลัพธ์จริง ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • มองออกไปข้างนอกหน้าต่าง หรือมองตรงไปข้างหน้า

พยายามมองไกล ๆ ไปยังเส้นขอบฟ้า มองตรงไปข้างหน้า หรือมองออกนอกหน้าต่างในขณะที่อยู่บนยานพาหนะ การทำแบบนี้อาจจะช่วยลดความขัดแย้งของสัญญาณที่ได้จากหูชั้นในและสัญญาณจากการมองเห็นได้

  • พยายามลดการเคลื่อนไหว

พยาพยามหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว หรือการอยู่ในจุดที่มีการสั่นมาก ๆ เช่น หากคุณนั่งอยู่ส่วนเบาะหลังของรถ อาจย้ายไปนั่งที่ข้างหน้า หรือหากอยู่ส่วนท้ายของเรือ ให้ย้ายไปอยู่ส่วนหัวเรือ ก็อาจช่วยลดอาการ เมารถ เมาเรือ ได้อย่างชะงัก

  • เปลี่ยนท่า

บางคนอาจจะรู้สึกว่ามีอาการดีขึ้นหากได้นอนลง หรือยืนขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของยานพาหนะนั้นๆ ควรลองนั่งในท่าทางที่ทำให้คุณรู้สึกสบายที่สุด หรืออาจใช้การพิงเบาะรองหัวบนเก้าอี้นั่ง ก็อาจจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้เช่นกัน

  • เคี้ยว

ไม่ว่าจะเป็นการเคี้ยวหมากฝรั่ง เคี้ยวขนม หรือเคี้ยวอาหาร ก็อาจช่วยลดอาการคลื่นไส้ และอาการป่วยเบาๆ จากการ เมารถ ได้ เพราะการเคี้ยวจะช่วยลดความขัดแย้งของสัญญาณจากการมองเห็นและการทรงตัวได้ คุณควรเตรียมขนมขบเคี้ยวที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่มีน้ำตาล และเหมาะสมสำหรับการเดินทาง สามารถที่จะพกพาติดตัวได้อย่างสะดวก หรืออาจจะเลือกใช้เป็นหมากฝรั่งแบบไม่มีน้ำตาล เพื่อเคี้ยวในช่วงที่มีอาการเมารถได้ อย่างไรก็ตาม คุณควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความมัน อาหารที่ทำให้รู้สึกเลี่ยน หรือเป็นกรดสูง เพราะจะทำให้อาการคลื่นไส้รุนแรงมากยิ่งขึ้น

  • เปิดรับอากาศ

การเปิดกระจกรับอากาศที่บริสุทธิ์จากภายนอกตัวรถ แทนที่จะทนอยู่กับอากาศจากเครื่องปรับอากาศ อาจช่วยลดอาการเมารถให้ดีขึ้นได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงอากาศที่มีกลิ่นเหม็น เพราะจะกลายเป็นตัวกระตุ้นให้อาการเมารถรุนแรงยิ่งขึ้นกว่าเดิม

  • ดื่มน้ำ

การดื่มน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเปล่า น้ำอัดลมเย็น ๆ  หรือโดยเฉพาะน้ำขิง จะสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้เป็นอย่างมาก แต่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่าง กาแฟ เพราะจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากดื่มในขณะที่ท้องว่าง นอกจากนี้ยังไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนการเดินทางอีกด้วย

  • เบี่ยงความสนใจ

การเบี่ยงความสนใจ เช่น เปิดเพลงฟัง หรือพูดคุย จะช่วยให้คุณสามารถเบี่ยงเบนความสนใจไปจากอาการ เมารถ ที่กำลังเป็นอยู่ และทำให้รู้สึกดีขึ้นได้ นักวิจัยพบว่า การฟังเพลงสามารถช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ และอาการทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับอาการเมารถอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ดมยาดมหรือใช้น้ำมันหอมระเหย

ยาดมนั้นมีสรรพคุณในการลดอาการวิงเวียน ปวดหัว และคลื่นไส้ นอกจากนี้กลิ่นบางอย่าง เช่น น้ำมันหอมระเหยจากขิงบริสุทธิ์ ดอกลาเวนเดอร์ หรือมินต์ ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้และวิงเวียนจากการ เมารถ ได้เช่นกัน แต่เพื่อการลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง ควรใช้แค่เพียงครั้งละหนึ่งถึงสองหยดเท่านั้น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด 

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Prevention and Treatment of Motion Sickness. https://www.aafp.org/afp/2014/0701/p41.html. Accessed 7 January 2020

21 Motion Sickness Remedies to Ease Nausea, Vomiting, and More. https://www.healthline.com/health/motion-sickness-remedies#quick-tips. Accessed 7 January 2020

What’s to know about motion sickness? https://www.medicalnewstoday.com/articles/176198.php. Accessed 7 January 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/04/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

An interview with Dr Joseph Saba, Chief Executive Officer at Axios

คลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomiting)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 30/04/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา