สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) เป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เป็นชนิดที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรง มีเพียงยาที่ช่วยไม่ให้ตับถูกทำลาย โรคไวรัสตับอักเสบบี จึงเป็นโรคที่ควรตรวจคัดกรองเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว และป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี  [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร ไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคตับอักเสบชนิดหนึ่ง หรือเกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับ สาเหตุจากการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) อาจทำให้เซลล์ตับตาย ความรุนแรงของโรคไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด อาจกลายเป็นตับแข็ง นำสู่โรคมะเร็งตับได้  การติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี  ส่วนใหญ่การติดต่อของโรคเกิดจากการถ่ายทอดจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ทารก ไม่ติดต่อผ่านทางการสัมผัสภายนอก ไม่ติดต่อหลักทางน้ำลาย แต่ติดต่อได้ ดังนี้ สามารถเกิดได้จากการเจาะหรือสักผิวหนัง ด้วยเครื่องมือที่ไม่สะอาด ไม่ได้มาตรฐาน เชื้อเข้าทางบาดแผล หรือการใช้ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน  สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะไม่แสดงอาการในทันที แต่จะใช้เวลาฟักตัว 2-3 เดือน จึงเริ่มมีอาการ เช่น เกิดการอ่อนเพลียคล้ายกับโรคหวัด คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต  สีปัสสาวะเข้มขึ้น […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

ประกันสุขภาพ

สำรวจ สุขภาพ

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

น้ำหนักสมอง ของคนเราหนักเท่าไหร่? มันคือก้อนไขมันจริงหรือ?

น้ำหนักตัวของคนเรานั้นขึ้นอยู่กับน้ำหนักของมวลต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทั้งมวลกล้ามเนื้อ และมวลของไขมัน แต่เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า ศีรษะของเราที่ภายในมีสิ่งที่เราเรียกว่าสมองนั้น มีน้ำหนักเท่าไหร่ น้ำหนักสมอง จะหนักเท่ากับน้ำหนักตัวหรือไม่ มาหาคำตอบได้จากบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันเลย ในสมองของคนเรามีอะไรบ้าง สมอง ศูนย์กลางการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุดอีกระบบหนึ่ง เป็นองค์ประกอบที่คอยดูแลและกำกับการทำงานของส่วนต่าง ๆ ทั้งการเคลื่อนไหว การหายใจ แม้แต่การเคี้ยวอาหารก็ยังเป็นระบบการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลจากสมองเช่นกัน แต่เราเคยสงสัยไหมว่า สิ่งที่เรียกว่าสมองของเรานั้น ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? สมองของมนุษย์แบ่งออกเป็น3ส่วน ดังนี้ สมองส่วนหน้า สมองส่วนหน้าประกอบไปด้วย ซิรีบรัม ( cerebrum ) เป็นสมองส่วนที่อยู่หน้าสุด มีขนาดใหญ่มากที่สุด ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ เชื่อมโยงเกี่ยวกับสติปัญญา และทำหน้าที่ในการควบคุมระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงควบคุมในส่วนของระบบรับความรู้สึกด้วย ออลแฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับกลิ่น หรือการดมกลิ่น ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) เป็นสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องของการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ระบบความดันเลือด ระบบการเต้นของหัวใจ รวมถึงระบบความต้องการต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ความต้องการทางเพศ ทาลามัส (thalamus) เป็นส่วนสมองที่ดูแลเกี่ยวกับกระแสประสาทต่าง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ท่านั่งอึ แค่นั่งให้ถูก ก็ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น

อาการ อึ ไม่ออก ถ่ายยาก เบ่งเท่าไหร่ก็ยังไม่ออก อาจมีสาเหตุมาจากท่านั่งที่ไม่เหมาะสม ทำให้ลำไส้ไม่สามารถที่จะลำเลียงของเสียออกมาได้สะดวก แล้วท่านั่งแบบไหนถึงเรียกว่าถูกต้อง? มาหาคำตอบกับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ ว่า ท่านั่งอึ ท่าใดที่ช่วยให้คุณอึง่ายขึ้น ท่านั่งอึ กับการขับถ่าย ท่านั่งสำหรับการขับถ่ายนั้น ไม่มีท่านั่งที่ถูกหรือผิดแบบ 100 เปอร์เซนต์ เพราะทุกคนไม่สามารถทำท่าทางแบบเดียวกันสำหรับการขับถ่ายได้ อาทิ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ที่ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมถึงเด็กที่ยังเล็ก แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาเวลาขับถ่ายแล้วอึไม่ออก อึยาก เบ่งเท่าไหร่ก็ไม่ออกสักที หรือผู้ที่มีอาการท้องผูก การเปลี่ยนท่าทางในการนั่งชักโครก หรือนั่งในท่าที่ถูกต้อง มีผลต่อการทำงานของลำไส้ และมีส่วนช่วยให้สามารถที่จะเบ่งอึออกมาได้ง่ายขึ้นเช่นกัน เวลา นั่งอึ ต้องนั่งท่าไหนถึงจะดี โดยปกติแล้ว ท่านั่งสำหรับการขับถ่ายนั้นต้องเป็นไปตามลักษณะโครงสร้างของชักโครก หรือโถส้วม เช่นเดียวกันกับเวลาที่เราต้องนั่ง อาจจะเป็นการนั่งกับเก้าอี้ นั่งกับพื้น นั่งรถจักรยานยนต์ ท่านั่งย่อมต้องเปลี่ยนไปตามลักษณะของสิ่งที่เราจะนั่ง ท่านั่งอึก็เช่นเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ท่านั่งอึที่ถูกต้องสำหรับการขับถ่าย ควรเป็นท่านั่งที่ทำมุม 35 องศา หรือเป็นการนั่งในลักษณะของการนั่งยอง ๆ ให้เข่าอยู่เหนือสะโพก การนั่งในลักษณะเช่นนี้ จะเป็นการช่วยให้ลำไส้ตรงเปิดมากขึ้น ในขณะที่ท่านั่งชักโครกตามปกตินั้น จะเป็นท่านั่งที่เป็นมุมฉาก ซึ่งทำให้ลำไส้ตรงพับและเปิดน้อยกว่าการนั่งแบบยอง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ใครว่า วิดีโอเกม ส่งผลเสียต่อสมอง อย่างเดียว

วิดีโอเกม เป็นรูปแบบความบันเทิงยอดนิยม ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ เชื่อว่าหลายๆ คนมีความชอบในการเล่นวิดีโอเกมกันอย่างแน่นอน แต่ส่วนใหญ่แล้ววิดีโอเกมมักจะถูกมองว่าเป็นตัวการที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากวัย วันนี้ Hello คุณหมอ มีอีกมุมหนึ่งของวิดีโอเกมมานำเสนอให้ทุกคนอ่านกัน มาดูกันว่า วิดีโอเกม ส่งผลต่อสมองอย่างไรบ้าง วิดีโอเกม กับการเปลี่ยนแปลงของสมอง จากการศึกษาวิจัย พบว่าสมองและวิดีโอเกมมีความเชื่อมโยงบางอย่างและการเล่นวิดีโอเกมยังมีส่วนช่วยปรับปรุงความสามารถในการตัดสินใจและความรู้ความข้าใจ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากโครงสร้างสมองของผู้ที่เล่นเกมเป็นประจำกับผู้ที่ไม่ค่อยได้เล่นเกม ซึ่งการเล่นวิดีโอเกมช่วยเพิ่มพื้นที่สมองที่ต้องใช้ทักษะในการควบคุมเรื่องต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความทรงจำ และมีความสามารถในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และนั้นอาจหมายความว่า  วิดีโอเกมอาจมีบทบาทในการบำบัดรักษาความผิดปกติของสมองและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกิดจากการบาดเจ็บของสมอง ประโยชน์ของ วิดีโอเกม ต่อสมอง วิดีโอเกมเพิ่มปริมาณสมอง จากการศึกษาของสถาบัน Max Planck เพื่อการพัฒนามนุษย์และการแพทย์มหาวิทยาลัย Charité St. Hedwig-Krankenhaus ได้เปิดเผยว่า การเล่นเกมกลยุทธ์แบบเรียลไทม์ เช่น Super Mario 64 สามารถเพิ่มสมองเนื้อสีเทา (Gray matter) ซึ่งเป็นชั้นหนึ่งของสมองที่รู้จักกันในชื่อ เปลือกสมอง (cerebral cortex) ซึ่งการเรียนรู้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบนสมองนี้ การเพิ่มขึ้นของสมองเนื้อสีเทา ที่เกิดขึ้นที่สมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ด้านขวาของผู้ที่เล่นวิดีโอเกมจะมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการจัดระเบียบและสร้างความทรงจำระยะยาว นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับอารมณ์และความรู้สึก กลิ่นและเสียงเข้ากับความทรงจำอีกด้วย เปลือกสมองส่วนหน้ามีส่วนร่วมในการทำงาน รวมถึงการตัดสินใจการแก้ปัญหา […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เมื่อหัวหอมทำให้เราเสียน้ำตา ทำไม หั่นหอม แล้วร้องไห้

หากใครที่เข้าครัวอยู่เป็นประจำ ต้องเคยมีประสบการณ์ในการ หั่นหอม แล้วร้องไห้ อย่างแน่นอน เห็นเจ้าหัวหอม หัวจิ๋ว ๆ แบบนี้ แต่ก็ทำใครต่อใครเสียน้ำตามานักต่อนักแล้ว วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปหาคำตอบกันว่า ทำไมเวลาเราหั่นหัวหอมจึงน้ำตาไหล พร้อมมีเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้น้ำตาไม่ไหลเวลาหั่นหัวหอมมาฝากด้วย ไปดูกันเลย ทำไม หั่นหอม แล้วร้องไห้ พืชและสัตว์ หรือแม้แต่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ต่างก็ต้องการที่จะหาทางในการอยู่รอดด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ทีมีพิษเพื่อต่อสู้ป้องกันตัวเอง การอำพรางตัวเองของพืช หัวหอมก็เช่นเดียวกัน เพื่อป้องกันสัตว์นักล่าที่จะเข้ามากินหัวหอม หัวหอมจึงปล่อยสารระเหยที่ทำให้ดวงตาระคายเคือง ดังนั้นเมื่อเราเราหั่นหัวหอม หัวหอมจึงปล่อยสารระเหยที่ระคายเคืองต่อดวงตาออกมา ทำให้เราน้ำตาไหล เมื่อสารระเหยนั้นสัมผัสเข้ากับดวงตาหรือกระจกตา เส้นประสาทที่อยู่บริเวณปลายประสาทจะส่งสัญญาณไปยังสมองว่ามีอาการระคายเคืองเกิดขึ้น จากนั้นสมองก็จะส่งสัญญาณไปยังต่อมน้ำตา เราจึงน้ำตาไหลในที่สุด  ประโยชน์ของหัวหอม ต่อสุขภาพ แม้ว่าการหั่นหัวหอมจะทำให้เราร้องไห้ น้ำตาไหล แต่หัวหอมก็ยังคงเป็นพืชที่ใครหลาย ๆ คนชอบรับประทาน เพราะหัวหอมนั้นนอกจากจะหวานอร่อยแล้ว ยังมีประโยชน์มากมาย หัวหอมเป็นพืชตระกูล Allium ซึ่งเป็นตระกูลของพืชดอก เช่น กระเทียม หอมแดง ซึ่งผักเหล่านี้มีวิตามิน แร่ธาตุและสารประกอบทางเคมีในพืชหลายชนิดที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ จริง ๆ แล้ว หัวหอมนั้นมีสรรพคุณทางยาที่ในสมัยโบราณมักถูกนำมาใช้ในการรักษาโรค เช่น […]


อาการของโรค

โรคแอดดิสัน (Addison’s Disease)

โรคแอดดิสัน(Addison’s disease) หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่อง เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนบางชนิดได้ คำจำกัดความโรคแอดดิสัน คืออะไร โรคแอดดิสัน (Addison’s disease) หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่อง (adrenal insufficiency) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนบางชนิดได้มากเพียงพอ ต่อมหมวกไตจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) หรือฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (aldosterone) ออกมาน้อยจนเกินไป โรคแอดดิสันพบบ่อยแค่ไหน โรคแอดดิสันสามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้มากที่สุดในช่วงอายุ 30 ถึง 50 ปี และพบได้มากกว่าในผู้หญิง โรคนี้เป็นสภาวะที่หายาก และมีโอกาสเกิดขึ้นเพียงแค่ 1 ใน 100,000 คนเท่านั้น อาการอาการของโรคแอดดิสัน อาการของโรคแอดดิสันนั้นจะค่อนข้างเกิดช้า โดยใช้เวลานานกว่าหลายเดือน หลายคนมักจะละเลยอาการของโรคแอดดิสันจนกระทั่งเกิดอาการป่วยหรืออาการบาดเจ็บ แล้วทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น สัญญาณและอาการของโรคอาจมีดังนี้ เหนื่อยล้าอย่างรุนแรง น้ำหนักลด และเบื่ออาหาร ผิวสีคล้ำขึ้น ความดันโลหิตต่ำ อยากกินอาหารรสเค็ม น้ำตาลในเลือดต่ำ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ ผมร่วง สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด คุณควรไปพบคุณหมอหากพบสัญญาณและอาการของโรคแอดดิสันดังต่อไปนี้ สีผิวคล้ำขึ้น เหนื่อยล้าอย่างรุนแรง น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หน้ามืด วิงเวียน อยากกินอาหารเค็มๆ ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคแอดดิสัน โรคแอดดิสันเกิดจากการที่ต่อมหมวกไตเกิดความเสียหาย ทำให้ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน  ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้ ปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคแอดดิสันอาจจะเกิดขึ้นหากระบบภูมิคุ้มกันของคุณ โจมตีต่อมหมวกไต และทำให้ต่อมหมวกไตเสียหายอย่างรุนแรง กรรมพันธุ์ บางคนอาจจะมียีนบางตัวที่ทำให้มีโอกาสเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันได้มากกว่าปกติ หากคนในครอบครัวของคุณมีผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ก็อาจทำให้คุณมีโอกาสเกิดโรคแอดดิสันมากขึ้นด้วยเช่นกัน ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรคแอดดิสัน คุณอาจจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแอดดิสันได้มากกว่าผู้ป่วยถ้าหาก หากคุณเป็นโรคมะเร็ง หากคุณใช้ยาเจือจางเลือด หากคุณมีการติดเชื้อเรื้อรัง เช่น […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ทำไมคนเราถึง ขี้ลืม จำไม่ได้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นโรคอัลไซเมอร์

เวลาคนรอบข้างมีอาการขี้หลงขี้ลืม จำอะไรไม่ค่อยได้ หรือความจำไม่ค่อยจะดี เราก็มักจะพูดเล่นกันว่า “ขี้ลืมแบบนี้ เป็นอัลไซเมอร์แหงๆ” หรือ “แก่แล้วอะดิ ถึงได้ขี้ลืมแบบนี้” เพราะคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า อาการขี้ลืมต้องเกิดจากโรคอัลไซเมอร์ ไม่ก็เป็นเพราะอายุมาก แต่ความจริงแล้ว อาการขี้ลืมสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และไม่จำเป็นต้องมาจากอัลไซเมอร์เสมอไป แล้วอาการ ขี้ลืม จะเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เราจะเพิ่มความจำของเราได้ไหม Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้แล้ว หลงลืมง่าย ไม่จำเป็นต้องเกิดจากอัลไซเมอร์ คนเรามักคิดว่าอาการหลงลืมง่าย จำอะไรไม่ค่อยได้ จะต้องเกิดจากภาวะสมองเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ แต่ความจริง อาการขี้ลืม สูญเสียความทรงจำ สามารถเกิดจากสาเหตุอื่นได้อีกมากมาย เช่น การสูงวัย เมื่อเราอายุมากขึ้น จนเข้าสู่วัยชรา กระบวนการรู้คิดของเราก็จะค่อยๆ ช้าลง และความสามารถในการจดจำเริ่มบกพร่องมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อให้เป็นผู้สูงอายุที่สุขภาพแข็งแรงดี สามารถจำข้อมูลต่างๆ ได้อยู่ ก็อาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก หรือช่วงวัยรุ่นไม่ค่อยได้ ความเครียด ความเครียดนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตแล้ว ยังทำลายสมองด้วย ความเครียดที่เกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ หรือความเครียดฉับพลันสามารถกระตุ้นให้เกิดปัญหาสูญเสียความทรงจำชั่วขณะ แต่หากคุณเครียดสะสม ก็อาจนำไปสู่ปัญหาที่ร้ายแรงกว่า อย่างภาวะสมองเสื่อมได้ โรคซึมเศร้า ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า มักมีอาการวิตกกังวล ไม่สนใจสิ่งรอบตัว และไม่มีสมาธิจะจดจำสิ่งต่างๆ ทำให้สมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ สมาธิ และการรับรู้บกพร่องขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นคนขี้ลืม จำอะไรไม่ได้ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

รู้ไหม? ล้างไก่สดก่อนทำอาหาร ยิ่งเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรค อาหารเป็นพิษ

เรารู้กันมาว่า ก่อนนำวัตถุดิบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ มาประกอบอาหาร ก็ต้องล้างทำความสะอาดให้ดีก่อน เพื่อทำลายเชื้อโรคและสารเคมี ยาฆ่าแมลงต่าง ๆ ที่ตกค้างอยู่ ยิ่งถ้าเป็นเนื้อสัตว์ ก็ยิ่งต้องล้างเมือกและเลือดให้เกลี้ยง แต่ความจริงแล้ว การล้างทำความสะอาดวัตถุดิบบางอย่างก่อนนำมาทำอาหาร เช่น เนื้อไก่สด ก็อาจไม่ได้ช่วยฆ่าเชื้อโรคอย่างที่เราคิด แต่กลับยิ่งทำให้เชื้อโรคแพร่กระจาย และทำให้คุณเสี่ยงโรคมากกว่าเดิม ลองอ่านบทความนี้ของ Hello คุณหมอ แล้วคุณจะเข้าใจว่าทำไม คุณถึงไม่ควร ล้างไก่สดก่อนทำอาหาร ทำไมเราถึงไม่ควร ล้างไก่สดก่อนทำอาหาร ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า การล้างไก่สดก่อนทำอาหาร เพิ่มความเสี่ยงอาหารเป็นพิษ เป็นไข้ ท้องเสีย เนื่องจากเนื้อไก่มักปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอันตราย เช่น ซาลโมเนลลา (Salmonella) แคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens) และการล้างเนื้อไก่ก่อนนำไปทำอาหาร ก็ไม่ได้ช่วยฆ่าเชื้อโรคเหล่านี้ แต่กลับยิ่งเพิ่มความเสียงให้เชื้อโรคแพร่กระจายและปนเปื้อนไปทั่วห้องครัว จากผลงานศึกษาวิจัยของหน่วยบริการด้านความปลอดภัยและตรวจสอบคุณภาพอาหาร (Food Safety Inspection Service) สังกัดกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

การบริจาคพลาสมา กับข้อดี ข้อเสีย ที่คุณควรรู้

หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับการบริจาคเลือด และรู้จักเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือดกันมาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำว่า “พลาสมา” และ “การบริจาคพลาสมา” กันเท่าไหร่นัก พลาสมา (Plasma) คือ ส่วนประกอบหลักของเลือด ลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองใส ประกอบไปด้วยน้ำ เกลือแร่ เอนไซม์ วิตามิน ฮอร์โมน ก๊าซ แอนติบอดีที่ช่วยต่อสู้กับเชื้อโรค รวมถึงโปรตีนอัลบูมิน และไฟบริโนเจนซึ่งจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก พลาสมามีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น รักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ช่วยลำเลียงแร่ธาตุ สารอาหาร (เช่น โปรตีน) และฮอร์โมนไปสู่เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งรวมถึงฮอร์โมนที่ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อเจริญเติบโตแข็งแรง และปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่จะช่วยให้เลือดหยุดไหลเวลาเลือดออกด้วย [embed-health-tool-heart-rate] ความจำเป็นในการบริจาคพลาสมา ในปัจจุบัน แพทย์จำเป็นต้องใช้พลาสมาในการรักษาพยาบาลสภาวะโรคต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโรคระบบภูมิคุ้มกัน โรคมะเร็งบางชนิด (เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว) การปลูกถ่ายอวัยวะ โรคฮีโมฟีเลียหรือโรคเลือดไหลไม่หยุด โรคระบบทางเดินหายใจ การให้เลือด การสมานแผล เป็นต้น การบริจาคพลามา จึงถือเป็นเรื่องจำเป็นไม่แพ้การบริจาคโลหิต เพราะสามารถช่วยให้แพทย์เก็บสะสมพลาสมาไว้ใช้ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างเพียงพอ การบริจาคพลาสมา ปลอดภัยไหม การบริจาคพลาสมา ถือเป็นกระบวนการที่ปลอดภัย อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้บ้าง แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด ส่วนผลข้างเคียงรุนแรงถือว่าเป็นเรื่องที่พบได้ยากมาก พลาสมาเป็นส่วนประกอบในเลือด เมื่อเรายินยอมบริจาคพลาสมา เจ้าหน้าที่จะเจาะเก็บเลือดจากเส้นเลือดใหญ่ที่ข้อพับแขน เช่นเดียวกับการบริจาคโลหิต […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

นกพิราบ ไม่ได้น่ารักอย่างที่คิด! แต่เป็นพาหะนำโรค ที่คุณควรหนีให้ไกล

นกพิราบมีให้เห็นแทบทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นบนเสาไฟฟ้าหน้าบ้าน ตามฟุตบาทริมถนนหนทาง ยิ่งบริเวณลานกว้างในสวนสาธารณะ ยิ่งเป็นแหล่งชุมนุมของนกพิราบฝูงใหญ่ และภาพคนเอาอาหารไปโปรยให้นกพิราบ เด็กๆ วิ่งไล่นกพิราบจนแตกฮือ บินว่อนไปทั่วฟ้า หรือคนโพสท่าถ่ายรูปโดยมีฝูงนกพิราบเป็นฉากหลัง ก็เป็นสิ่งที่เราเห็นกันจนชินตา แต่คุณรู้ไหมว่า ภาพสวย ๆ ที่ได้มานั้น อาจแลกด้วยการติดเชื้อโรคจากนกพิราบ โดยที่คุณไม่ทันรู้ตัว เพราะความจริงแล้ว นกพิราบ คือพาหะนำโรคตัวร้าย ที่ Hello คุณหมอ แนะนำให้คุณควรหนีให้ห่าง เห็นที่ไหน อย่าเฉียดไปใกล้เป็นดีที่สุด นกพิราบ… ตัวแพร่เชื้อโรค สัตว์ปีกอย่างนกพิราบ ถือเป็นพาหะนำโรคชั้นดี พวกมันบินไปทั่วพร้อมหอบเอาปริสิตและเชื้อโรคติดต่อมากมายไปแพร่กระจายยังที่ต่างๆ นกพิราบสามารถแพร่เชื้อโรคได้ผ่านทางแหล่งน้ำและอาหาร และที่น่ากลัวยิ่งกว่าก็คือ มูลของนกพิราบ หรือเรียกง่ายๆ ว่าขี้นกพิราบ ที่คนทั่วไปมักไม่ค่อยสนใจทำความสะอาด ปล่อยให้แห้งคาที่อยู่อย่างนั้น คิดว่าแค่เดินเลี่ยงก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่ความจริง เมื่อขี้นกพิราบแห้งกลายเป็นผงลอยฟุ้งไปในอากาศ แล้วเราหายใจเอาอากาศที่ปนเปื้อนขี้นกพิราบเข้าไป ก็อาจทำให้เราติดเชื้อและป่วยได้เช่นกัน เชื้อโรคที่สามารถแพร่จากนกพิราบมาสู่คนได้ เช่น เชื้ออีโคไล (E. coli) เมื่อเราบริโภคน้ำและอาหารที่ปนเปื้อนขี้นกพิราบ ก็อาจได้รับเชื้อแบคทีเรียอีโคไล และเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน มีไข้ ปวดท้องรุนแรงได้ เชื้อราฮิสโตพลาสโมซิส (Histoplasmosis) เชื้อราที่เจริญเติบโตในขี้นก หากสูดดมเข้าไปจะทำให้เป็นโรคฮิสโตพลาสโมซิส ซึ่งเป็นโรคระบบทางเดินหายใจรุนแรงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต แบคทีเรียซาลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ หนอง เป็นหนองแล้วจะอันตรายจริงไหม

เมื่อเกิดบาดแผล เราอาจจะสังเกตเห็นน้ำหนองสีเหลืองๆ ดูน่ากลัว ไหลออกมาจากแผลนั้น หลายคนที่เห็นว่าบาดแผลของตัวเองมี หนอง ก็อาจจะรู้สึกตกใจกลัว และกังวลใจว่าจะเป็นอันตรายอะไรหรือเปล่า บทความนี้จะมานำเสนอข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ หนอง ว่าคืออะไร และเป็นอันตรายจริงเหรอ [embed-health-tool-bmi] หนอง คืออะไร หนอง (Pus หรือชื่อทางการแพทย์คือ purulent exudate) หมายถึงของเหลวที่มีสีขาวอมเหลือง หรือเหลืองอมน้ำตาล ที่มักจะสะสมอยู่ในบริเวณแผลที่ติดเชื้อ และอาจมีกลิ่นเหม็น หนองนั้นคือของเหลวที่เกิดขึ้นจากการที่เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้อ ตายลงและสะสมจนเกิดกลายเป็นน้ำหนอง นอกจากนี้ในน้ำหนองยังประกอบไปด้วย เนื้อเยื่อที่ตายแล้ว เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราอื่นๆ หากน้ำหนองนี้สะสมอยู่ใกล้กับบริเวณพื้นผิวหนัง จะเรียกว่าตุ่มหนอง หรือสิว หากน้ำหนองนั้นสะสมอยู่ในพื้นที่เนื้อเยื่อปิด ภายในผิวหนัง จะเรียกว่า ฝี สาเหตุของการเกิดหนอง หนองนั้นเป็นผลมาจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ตอบสนองต่อการติดเชื้อ ที่มักจะเกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือการติดเชื้อรา ซึ่งเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราเหล่านี้ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านทางบาดแผล หรือจากการสูดหายใจรับเชื้อเข้าไป เมื่อร่างกายรับรู้ว่าเราติดเชื้อ ร่างกายก็จะส่งเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภท neutrophils เพื่อมากำจัดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย กระบวนการนี้จะทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวบางส่วน และเนื้อเยื่อรอบบริเวณที่ติดเชื้อตายลง การสะสมของเนื้อเยื่อและเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ตายแล้วเหล่านี้จะทำให้เกิดหนองขึ้น การติดเชื้อส่วนใหญ่นั้นมักจะทำให้เกิดหนอง โดยเฉพาะการติดเชื้อแบคทีเรียประเภท Staphylococcus aureus หรือ Streptococcus pyogenes มักจะมีโอกาสในการเกิดหนองมากเป็นพิเศษ แบคทีเรียทั้งสองประเภทนี้จะปล่อยพิษออกมา และทำลายเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบ ทำให้เกิดหนองมากขึ้น หนองเป็นอันตรายรึเปล่า หลังจากที่บาดแผลของคุณตกสะเก็ดแล้ว คุณอาจสังเกตเห็นน้ำหนองและของเหลวสีขาวๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน