สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

ทำความรู้จัก "ปลูกฝี" สำคัญยังไง ยังจำเป็นอยู่ไหม

การปลูกฝีเคยเป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่โรคฝีดาษ (Smallpox) เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์ วัคซีนป้องกันฝีดาษซึ่งเริ่มต้นจากการปลูกฝี ไม่เพียงช่วยลดการเสียชีวิตนับล้านคนทั่วโลก แต่ยังนำไปสู่การประกาศกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523  อย่างไรก็ตาม ความทรงจำเกี่ยวกับการปลูกฝีเริ่มจางหายไปเมื่อวัคซีนนี้ไม่ได้เป็นที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน บทความนี้จะพาผู้อ่านย้อนรอยความสำคัญของการปลูกฝีในอดีต และพิจารณาว่าการปลูกฝียังมีความจำเป็นในยุคสมัยใหม่หรือไม่ [embed-health-tool-vaccination-tool] ปลูกฝี ในอดีตเป็นอย่างไร? การปลูกฝีเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1796 โดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ผู้ค้นพบว่าวัคซีนจาก Cowpox สามารถป้องกันโรคฝีดาษได้ ทำให้เกิดการพัฒนาวัคซีนที่ใช้ทั่วโลกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรงนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รณรงค์ฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางในช่วงศตวรรษที่ 20 จนนำไปสู่การประกาศว่าฝีดาษถูกกำจัดอย่างสมบูรณ์ในปี 1980 สำหรับประเทศไทย การปลูกฝีเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมักทิ้งรอยแผลเป็นเล็ก ๆ บริเวณหัวไหล่ หลังจากการกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523 การปลูกฝีก็หยุดลง แต่กลับมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกครั้งในยุคที่โรคฝีดาษลิงระบาด โดยวัคซีนที่พัฒนาจากวัคซีน Smallpox เช่น JYNNEOS กำลังถูกศึกษาเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่นี้ โรคฝีดาษลิงคืออะไร โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่เกิดจากไวรัสในตระกูล Orthopoxvirus ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคฝีดาษ (Smallpox) แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่โรคฝีดาษลิงมีอาการรุนแรงน้อยกว่าและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อ ไวรัส Monkeypox ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในลิงในปี ค.ศ. 1958 และตรวจพบในมนุษย์ครั้งแรกในปี […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพ

การทดสอบทางการแพทย์

บาดเจ็บไขสันหลัง (Spinal Cord Injury)

คำจำกัดความการบาดเจ็บไขสันหลัง คืออะไร การบาดเจ็บไขสันหลัง หรือไขสันหลังบาดเจ็บ (Spinal Cord Injury) คือ อาการที่บริเวณไขสันหลัง รวมถึงรากประสาทในโพรงกระดูกสันหลังเกิดความเสียหาย ซึ่งอาจเป็นอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลังบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งอาการบาดเจ็บอาจร้ายแรง จนส่งผลให้เป็นอัมพาต หรือกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันไปยาวนานเลยทีเดียว ไขสันหลังนั้นมีเส้นประสาทเป็นจำนวนมาก และยังมีเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่กระดูกสันหลังทำหน้าที่ปกป้องอยู่ด้วย กระดูกสันหลังคือส่วนกระดูกที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ เป็นแนวสันหลัง ประกอบไปด้วยเส้นประสาทที่ต่อตรงมาจากฐานสมอง ลงมาถึงส่วนหลังใกล้บั้นท้าย ไขสันหลังทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณจากสมองไปสู่จุดอื่นๆ ในร่างกาย และส่งสัญญาณจากร่างกายไปสู่สมอง การที่เราสามารถรับรู้ถึงความเจ็บปวด หรือขยับแขนขาได้นั้น ก็เป็นเพราะสัญญาณที่ส่งผ่านไขสันหลัง ถ้าหากไขสันหลังบาดเจ็บ สัญญาณบางส่วนหรือทั้งหมด อาจไม่สามารถส่งผ่านไปได้ ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการรับรู้ความรู้สึก หรือการเคลื่อนไหว หากกระดูกสันหลังบริเวณใกล้คอได้รับบาดเจ็บ จะทำให้ร่างกายส่วนใหญ่เป็นอัมพาต ได้มากกว่าการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอว การบาดเจ็บไขสันหลังพบบ่อยแค่ไหน โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม อาการอาการ บาดเจ็บไขสันหลัง อาการทั่วไปของไขสันหลังบาดเจ็บ มีดังนี้ การเดินมีปัญหา ไม่สามารถควบคุมกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ได้ ไม่สามารถขยับแขนหรือขาได้ มีอาการเหน็บชาที่แขนขา หมดสติ ปวดศีรษะ รู้สึกปวด และเมื่อยล้าบริเวณหลังหรือคอ มีอาการช็อก ศีรษะอยู่ในตำแหน่งต่างไปจากเดิม สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณคิดว่าตัวเองหรือคนรอบข้างมีอาการบาดเจ็บไขสันหลัง ควรทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ โทรเรียกหน่วยฉุกเฉินในทันที ยิ่งได้รับการช่วยเหลือเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี อย่าเคลื่อนย้าย หรือรบกวนผู้ป่วยถ้าไม่จำเป็น และไม่ควรขยับศีรษะของผู้ป่วย พยายามให้ผู้ป่วยอยู่นิ่งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้ว่าผู้ป่วยจะรู้สึกว่าสามารถลุกขึ้น หรือเดินได้เอง หากผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ปฏิบัติการกู้ชีพ (CPR) โดยไม่ต้องหมุนคอกลับมา เมื่อผู้ป่วยไปถึงโรงพยาบาล แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและระบบประสาทเพื่อหาว่า มีอาการบาดเจ็บไขสันหลังหรือไม่ และในบริเวณไหน วิธีที่แพทย์จะใช้เพื่อวินิจฉัยโรค มีดังนี้ การทำซีทีสแกน (CT scans) การทำเอ็มอาร์ไอ (MRIs) ตรวจเอ็กซเรย์ที่กระดูกสันหลัง การตรวจการตอบสนองของระบบประสาทตาต่อการกระตุ้น (Evoked potential […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ภาวะขาดเอนไซม์G6PD (G6PD Deficiency)

ภาวะขาดเอนไซม์G6PD (Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency) ความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นจากการที่ปริมาณของเอนไซม์ G6PD ในเลือดมีไม่เพียงพอ การขาดเอนไซม์นี้ อาจจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก และกลายเป็นโรคโลหิตจางจากเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกในที่สุด คำจำกัดความภาวะขาดเอนไซม์G6PD คืออะไร ภาวะขาดเอนไซม์G6PD (Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency) ความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นจากการที่ปริมาณของเอนไซม์ G6PD ในเลือดมีไม่เพียงพอ เอนไซม์ชนิดนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการควบคุมปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่าง ๆ ในร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงมีสุขภาพดี และสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ การขาดเอนไซม์นี้ อาจจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก และกลายเป็นโรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกในที่สุด ภาวะขาดเอนไซม์G6PDเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน ผู้คนประมาณ 400 ล้านคนทั่วโลกมีภาวะขาดเอนไซม์G6PD โรคนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในบางส่วนของแอฟริกา เอเชีย แถบเมดิเตอเรเนียน และตะวันออกกลาง โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของภาวะขาดเอนไซม์G6PD อาการทั่วไปของภาวะขาดเอนไซม์G6PDได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ ปัสสาวะเป็นสีเข้มหรือสีส้มอมเหลือง เป็นไข้ เหนื่อยล้า วิงเวียนศีรษะ ตัวซีด ดีซ่าน หรือผิวและตาขาวเป็นสีเหลือง อาจมีอาการที่ไม่ได้ระบุถึงข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ เมื่อไหร่ที่ฉันควรไปโรงพยาบาล หากคุณมีสัญญาณ หรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายแต่ละคนตอบสนองต่างกัน ทางที่ดีที่สุดคือปรึกษาแพทย์ว่า อะไรเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของภาวะขาดเอนไซม์G6PD ภาวะขาดเอนไซม์G6PD เป็นโรคทางพันธุกรรม ที่ส่งต่อจากบิดามารดา หรือคนใดคนหนึ่งสู่บุตร ยีนผิดปกติบนโครโมโซมเอ็กซ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครโมโซมเพศสองโครโมโซม จะเป็นสาเหตุของภาวะนี้ ผู้ชายจะมีโครโมโซมเอกซ์เพียงโครโมโซมเดียว แต่ผู้หญิงจะมีโครโมโซมเอกซ์สองโครโมโซม ในผู้ชาย สำเนายีนที่เปลี่ยนไปเพียงสำเนาเดียว ก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดภาวะขาดเอนไซม์G6PD อย่างไรก็ตาม ในผู้หญิง การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมอาจเกิดขึ้นกับสำเนายีนทั้งสองสำเนา […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Disorder)

คำจำกัดความความผิดปกติของต่อมไทรอยด์คืออะไร ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (thyroid disorder) เป็นอาการที่ส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ต่อมที่มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ และอยู่ด้านหน้าของคอ ต่อมไทรอยด์มีบทบาทสำคัญในการควบคุมระบบเผาผลาญหลายระบบทั่วทั้งร่างกาย ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์แต่ละชนิด ล้วนส่งผลต่อโครงสร้าง หรือการทำงานของต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์อยู่ใต้ลูกกระเดือกโอบอยู่รอบๆ หลอดลม เนื้อเยื่อบางๆ ที่กลางต่อมเรียกว่าคอคอด (isthmus) เชื่อมกลีบของต่อมไทรอยด์ในแต่ละด้าน ต่อมไทรอยด์ใช้ไอโอดีนเพื่อสร้างฮอร์โมนที่สำคัญ ฮอร์โมนไทรอกซิน (Thyroxine หรือ T4) เป็นฮอร์โมนหลักที่ผลิตโดยต่อมนี้ หลังจากร่างกายลำเลียงฮอร์โมนไทรอกซินผ่านกระแสเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ฮอร์โมนไทรอกซินส่วนเล็กๆ ที่ออกมาจากต่อมไทรอยด์ จะเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนไทรไอโอโดไทโรนีน (triiodothyronine หรือ T3) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์มากที่สุด การทำงานของต่อมไทรอยด์ถูกควบคุมโดยการตอบสนองของกลไกที่เกี่ยวข้องกับสมอง เมื่อระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ต่อมไฮโพทาลามัส (hypothalamus) ในสมอง จะผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่าฮอร์โมนสำหรับปล่อยไทโรโทรปิน (thyrotropin releasing hormone หรือ TRH) ที่ทำให้ต่อมใต้สมอง (ตั้งอยู่ที่ส่วนฐานของสมอง) ปล่อยฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (thyroid stimulating hormone หรือ TSH) ฮอร์โมนดังกล่าวจะกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ปล่อยฮอร์โมนไทรอกซินเพิ่มขึ้น เนื่องจากต่อมไทรอยด์ถูกควบคุมโดยต่อมใต้สมอง และต่อมไฮโพทาลามัส ความผิดปกติของเนื้อเยื่อเหล่านี้ อาจส่งผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ และทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติได้เช่นกัน ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ประเภทต่างๆ ได้แก่ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) โรคคอพอก ก้อนเนื้อที่ต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมไทรอยด์ ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน ปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ได้แก่ เหนื่อยล้า ไม่ค่อยมีสมาธิ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

กรุ๊ปเลือดบอกนิสัย มาดูกันว่ากรุ๊ปเลือดไหนเป็นคนอย่างไร

งานวิจัยกรุ๊ปเลือดมีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อนักวิจัยชี้ว่า กรุ๊ปเลือดมีความเกี่ยวข้องกับอุปนิสัยส่วนตัว ทุกวันนี้ งานวิจัยเกี่ยวกับ กรุ๊ปเลือดบอกนิสัย นี้ได้แพร่หลายไปทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุปว่า กรุ๊ปเลือด ไม่เพียงแต่สะท้อนถึงอุปนิสัยส่วนตัวของคุณ แต่ยังอาจสะท้อนถึงสุขภาพ และโอกาสในการเกิดโรคบางอย่างได้ด้วย ในประเทศญี่ปุ่น ผู้คนเชื่อว่าลักษณะทางกายภาพของคุณ สามารถสะท้อนถึงประสิทธิภาพการทำงานและความสามารถในการปรับตัวเข้ากับการทำงานได้ มีบริษัทจำนวนไม่น้อยที่ใช้กรุ๊ปเลือดเป็นฐานข้อมูลในการแยกแยะและประเมินพนักงานของตัวเอง อีกตัวอย่างหนึ่งของการนำกรุ๊ปเลือด มาใช้ในชีวิตจริง คือ การที่มีตัวแทนหรือหน่วยงานจัดหาคู่เดท โดยใช้กรุ๊ปเลือดในการจับคู่ โดยดูว่ากรุ๊ปเลือดไหนมีโอกาสเข้ากันได้ กรุ๊ปเลือดบอกนิสัย ยังไงได้บ้าง กรุ๊ปเลือด หรือหมู่โลหิต มีทั้งหมด 4 ชนิด คือ เอ บี เอบี และโอ แต่ละกรุ๊ปมีลักษณะเฉพาะที่สามารถสะท้อนถึงอุปนิสัยส่วนตัวของแต่ละคน หรือเรียกง่ายๆ ว่ากรุ๊ปเลือดบอกนิสัยของแต่ละคนได้ ไม่เพียงเท่านั้น กรุ๊ปเลือดยังสามารถแสดงระดับความเข้ากันได้กับคนอื่น และคุณภาพการดำเนินชีวิตของแต่ละคนได้อีกด้วย เลือดกรุ๊ปเอ ผู้ที่มีเลือดกรุ๊ปเอ มักจะเป็นพวกแสวงหาความสมบูรณ์แบบ ผู้ที่มีเลือดกรุ๊ปนี้จะมีบรรทัดฐานต่อตัวเองและคนอื่นสูง พวกเขามักจะดูสงบนิ่งเมื่อมองจากภายนอก แต่มีความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยวอยู่ภายใน พวกเขาอาจจะขี้อาย แต่ไว้ใจได้ อ่อนโยน และมีความเป็นศิลปินในตัว อย่างไรก็ตาม หลายคนที่มีเลือดกรุ๊ปเอ มักชอบเก็บกดความรู้สึกของตัวเองเอาไว้ จนมันระเบิดออกมา ความสามารถของพวกเขาทำให้พวกเขาเป็นผู้นำที่ดีได้ แต่อาจทำให้พวกเขาเครียด ซึ่งไม่ดีต่อระบบทางกายภาพและจิตใจ คนดังที่มีกรุ๊ปเลือดเอ เช่น จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

5 วิธี กระตุ้นการ สร้างโกรทฮอร์โมนตามธรรมชาติ

โกรทฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตจึงสำคัญมากสำหรับเด็ก ร่างกายเราจะมีโกรทฮอร์โมนมากที่สุดในช่วงวัยรุ่น จากนั้นโกรทฮอร์โมนจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ สำหรับคนวัยผู้ใหญ่ที่ที่โกรทฮอร์โมนยังทำหน้าที่ได้ดี ก็จะดูอ่อนเยาว์กว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน การกระตุ้นให้ร่างกายสร้างโกรทฮอร์โมน จึงเป็นสิ่งที่ใครหลายคนให้ความสนใจ มีความเชื่อที่ว่า หากไปฉีดโกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ (HGH) จะช่วยชะลอสัญญาณแห่งวัย หรือทำให้ดูเด็กลง แต่วิธีนี้ก็มีผลข้างเคียงที่ตามมามากมาย เช่น เจ็บกล้ามเนื้อและข้อต่อ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ข่าวดีก็คือ เราสามารถกระตุ้นให้ร่างกาย สร้างโกรทฮอร์โมนตามธรรมชาติ เมื่อโกรทฮอร์โมนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่างกายก็จะแข็งแรง ไม่อ่อนเพลียง่าย แถมยังดูอ่อนเยาว์อีกด้วย วิธีกระตุ้นการ สร้างโกรทฮอร์โมนตามธรรมชาติ เราสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างโกรทฮอร์โมนตามธรรมชาติ ด้วยวิธีง่ายๆ แต่ได้ผลดีเหล่านี้ ลดความอ้วน การลดความอ้วน เป็นวิธีสร้างโกรทฮอร์โมนตามธรรมชาติวิธีแรกที่เราแนะนำ เนื่องจากมีผลงานวิจัยมากมายที่ระบุว่า ยิ่งมีไขมันสะสมมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้มีโกรทฮอร์โมนน้อยลงเท่านั้น คนอ้วนที่มีจำนวนของไขมันสะสมในร่างกาย จะมีปริมาณโกรทฮอร์โมนน้อยกว่าคนผอม ผลงานวิจัยยังเผยอีกว่า คนอ้วนจะมีโกรทฮอร์โมนต่ำ แต่หลังจากลดน้ำหนัก ฮอร์โมนก็จะกลับมาเป็นปกติ การมีไขมันสะสมทำให้เกิดโรคมากมาย หากลดน้ำหนักได้ นอกจากจะช่วยเรื่องโกรทฮอร์โมนแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพดี ห่างไกลโรคด้วย ลดน้ำตาล หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้โกรทฮอร์โมนต่ำ เนื่องจากน้ำตาลทำให้ฮอร์โมนอินซูลินหลั่ง เมื่อร่างกายมีอินซูลินมาก โกรทฮอร์โมนก็จะน้อย แต่หากเราทำให้อินซูลินลดลงหรือคงที่ได้ โกรทฮอร์โมนจะเพิ่มขึ้น ทั้งยังมีผลการศึกษาวิจัยที่ชี้ว่า คนสุขภาพดีที่ไม่มีโรคเบาหวาน มีปริมาณโกรทฮอร์โมนในร่างกายมากกว่าผู้ที่มีภาวะโรคเบาหวาน 3-4 เท่า ไม่กินอะไรก่อนนอน ส่วนใหญ่แล้วร่างกายของเราจะหลั่งโกรทฮอร์โมนในช่วงที่เราหลับ สำหรับคนที่มีสุขภาพแข็งแรง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ริมฝีปากดำ สาเหตุอาจมาจากเรื่องง่ายๆ ที่คุณไม่เคยรู้

อยู่ดีๆปากที่เคยสีชมพูน่าจุ๊บ ก็เปลี่ยนสีคล้ำขึ้นแบบไม่ทันได้ตั้งตัว ทั้งที่ก็คิดว่าดูแลอย่างดีแล้ว ใครจะไปคิดว่า สิ่งที่เราทำเป็นประจำในทุกวัน จะย้อนกลับมาทำร้ายเราแบบไม่รู้ตัว หรือนี่คือพฤติกรรมต้องสงสัยทำให้ ริมฝีปากดำ ที่คุณต้องรีบเช็ค ริมฝีปากดำ อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ การรับประทานอาหารบางชนิด เป็นเรื่องยากที่จะป้องกันไม่ให้อาหารที่รับประทานเข้าไปไม่สัมผัสกับริมฝีปาก แต่คุณรู้หรือไม่ว่า อาหารบางชนิดที่คุณรับประทานเป็นตัวการสำคัญ ในการทำให้ริมฝีปากของคุณคล้ำขึ้น เช่น หอม ขิง กระเทียม หรือผักผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว อย่างมะนาว มะกรูด สัปปะรด ผักและผลไม้เหล่านี้ อุดมไปได้วยสารที่ชื่อว่า โซราแลน (Psoralen)  เป็นสารที่มีความไวต่อแสงแดด และสามารถเกิดฏิกิริยาทางเคมีกับรังสีอัลตราไวโอเลต เรียกว่า ปฏิกิริยาแพ้แดด ส่งผลให้ริมฝีปากของเรามีสีคล้ำขึ้นอย่างเห็นได้ ซึ่งปฏิกิริยานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะบริเวณริมฝีปากเท่านั้น แต่หากสารโซราแลนตกค้างอยู่บนผิวหนัง เมื่อทำปฏิกิริยากับแสงแดดจะทำให้เกิดผลลัพธ์อย่างเดียวกัน นำปัญหา ฝ้า กระ หรือจุดด่างดำ มาให้หนักใจอีกหนึ่งปัญหา ยาสีฟัน ใครจะไปคิดว่าการแปรงฟัน จะส่งผลให้ริมฝีปากของเราดำคล้ำได้ ทั้งนี้ก็เนื่องจากสารประกอบในยาสีฟัน อย่างเช่น ผงขัดละเอียด สารที่ทำให้เกิดฟอง สารแต่งสี กลิ่น รส สารให้ความชุ่มชื้น สารกันเสีย อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวบริเวณริมฝีปาก ซึ่งเป็นผิวที่บอบบาง เมื่อใช้ยาสีฟันเดิมๆติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาริมฝีปากคล้ำขึ้นได้  อีกทั้งยาสีฟันบางชนิดมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ (Fluorine) และแอลกอฮอล์ (Alcohol) ที่สูงมากเกินไป […]


การทดสอบทางการแพทย์

อาการบ้านหมุน หรือเวียนหัว บอกได้ยังไงว่าอาการเราร้ายแรงแค่ไหน

อยู่ๆ ก็ เวียนหัว แบบไม่ทราบสาเหตุ หรือบางครั้งก็รู้สึกเหมือน บ้านหมุน จนต้องกุมขมับ คุณรู้หรือไม่ว่าอาการเวียนหัวและบ้านหมุน เป็นอาการที่แตกต่างกัน และมีอันตรายต่างกัน เนื่องจากอาการวิงเวียนศีรษะเป็นเพียง “อาการ” ของโรค แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าบ้านหมุน นั่นคือคุณกำลัง “ป่วยเป็นโรค” รีบเช็ค เพื่อรู้จักความแตกต่างของ อาการบ้านหมุน หรือเวียนหัว จะได้รีบไปพบหมอ อาการบ้านหมุน หรือเวียนหัว อาการเวียนศีรษะ มีอาการมึนศีรษะไปจนถึงอาการวิงเวียนศีรษะ เดินเซ โคลง ทรงตัวได้ไม่ค่อยดี อาการบ้านหมุน มีความรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมหมุนรอบตัวเองหรือตัวเองหมุน รู้สึกโคลงเคลงทั้งๆ ที่ตัวเองอยู่กับที่หรือไม่มีการเคลื่อนไหว ในรายที่มีอาการรุนแรงมากอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีความรู้สึกเหมือนจะเป็นลม หูอื้อ การได้ยินลดลง หรือมีเสียงในหูร่วมด้วยได้ สาเหตุการเกิดอาการ อาการมึนเวียนศีรษะ (dizziness) หมายรวมตั้งแต่อาการมึนศีรษะไปจนถึงอาการวิงเวียนศีรษะ ซึ่งเป็นอาการไม่เฉพาะเจาะจง เกิดได้จากโรคต่างๆ เช่น โรคทางระบบไหลเวียนเลือด โรคทางระบบประสาท ภาวะโลหิตจาง  อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (vertigo) เป็นอาการที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติ ของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่คอยรับการทรงตัวสมดุลของร่างกายในท่าทางต่างๆ เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นจึงทำให้มีอาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุน ซึ่งมีสาเหตุการเกิดมาจากสองส่วน คือ โรคทางระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งอันตรายและรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการของระบบประสาทส่วนกลางที่ผิดปกติร่วมด้วย เช่น พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง ปากเบี้ยว ใบหน้าเบี้ยว หรือแขนขาอ่อนแรงสองข้างไม่เท่ากัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นอาการบ่งชี้ว่า อาจจะมีปัญหาหลอดเลือดสมอง […]


อาการของโรค

ปวดเต้านม (Mastodynia)

อาการ ปวดเต้านม เป็นอาการที่พบได้ในผู้หญิง แต่ผู้ชายก็มีอาการนี้ได้เหมือนกัน ซึ่งสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา มีข้อมูลดังต่อไปนี้ค่ะ คำจำกัดความอาการปวดเต้านมคืออะไร คำว่า Mastodynia เป็นภาษากรีกหมายถึงอาการเจ็บปวดเต้านม สามารถสื่อถึงอาการกดเจ็บที่เต้านมได้เช่นกัน อาการปวดเต้านมเป็นอาการที่เด่นชัด ที่สุดที่จะบ่งชี้ถึงการเป็นโรคนี้ ระดับของความปวดมีตั้งแต่ปวดเบาๆ ไปจนถึงปวดรุนแรง ขึ้นอยู่กับอาการและสาเหตุ อาการปวดเต้านมอาจจะอยู่นาน หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาการปวดเต้านมพบได้บ่อยได้แค่ไหน อาการปวดเต้านมพบมากในผู้หญิง แต่ผู้ชายก็อาจมีโอกาสเป็นได้เช่นกัน โอกาสที่ผู้ชายจะเป็นโรคนี้นั้นหายากมากๆ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการปวดเต้านมเป็นอย่างไร อาการปวดเต้านมนั้นสามารถแบ่งได้เป็น อาการที่สัมพันธ์กับประจำเดือน (cyclical) หรือ อาการที่ไม่สัมพันธ์กับประจำเดือน (non-cyclical) อาการของโรคที่สัมพันธ์กับประจำเดือนมีดังนี้ อาการปวดจะมาเป็นประจำ เช่นเดียวกับประจำเดือน เต้านมอาจจะกดเจ็บ ผู้ป่วijยอธิบายความรู้สึกปวดว่า หนักและปวดตื้อๆ บางคนบอกว่ามีรู้สึกเจ็บและรู้สึกหนักๆ ในขณะที่บางคนก็ว่ารู้สึกเหมือนกับ ถูกแทงหรือปวดแสบปวดร้อน เต้านมอาจจะมีอาการบวมขึ้น อาจมีก้อนหลายๆ ก้อนที่เต้านม (ไม่ใช่ก้อนแข็งๆ ก้อนเดียว) สามารถเกิดได้ที่เต้านมทั้งสองข้าง โดยเฉพาะบริเวณด้านนอกส่วนบน อาการปวดสามารถลามไปตรวบริเวณใต้วงแขนได้ อาการปวดจะเป็นหนักขึ้นเมื่อเริ่มมีประจำเดือน ในบางกรณีอาจมีอาการปวด ตั้งแต่ประมาณสองสัปดาห์ก่อนการมีประจำเดือน มักมีอาการในกลุ่มผู้หญิงที่อายุน้อย สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน อาจจะมีอาการปวดแบบเดียวกัน หากว่ามีการใช้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อการบำบัด (Hormone replacement therapy) อาการของโรคที่ไม่สัมพันธ์กับประจำเดือนมีดังนี้ อาการปวดจะเกิดที่เต้านมแค่ข้างเดียวเท่านั้น และมักจะเป็นแค่จุดเล็กๆ บนเต้านม แต่อาจจะมีการลุกลามไปจนทั่วหน้าอก พบมากในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน อาการปวดจะไม่เป็นๆ หายๆ เหมือนประจำเดือน อาการปวดอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นนานๆ ครั้ง อาการเต้านมอักเสบ – หากอาการปวดนั้นเกิดขึ้นการอักเสบที่เต้านม อาจทำให้มีไข้ รู้สึกอ่อนเพลีย (malaise) […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

7 สาเหตุ กลิ่นตัว ที่คุณอาจไม่เคยนึกมาก่อน

คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมคุณถึงมีกลิ่นตัวแรง แม้ว่าคุณจะใช้เวลาไปกับการอาบน้ำ ทาครีมบำรุงผิว หรือแม้แต่ฉีดน้ำหอมแล้วก็ตามที คุณอาจจะประหลาดใจหากได้รู้ว่ายังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีส่วนให้คุณเกิด “กลิ่น” ได้ และนี่คือ สาเหตุ กลิ่นตัว ที่คุณอาจไม่เคยนึกถึงมาก่อน สาเหตุ กลิ่นตัว อาจเกิดจากสิ่งเหล่านี้ 1 ผลข้างเคียงของยา ยาสามารถรักษาโรคได้ แต่ก็สามารถทำให้คุณมีกลิ่นได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น มอร์ฟีน หรือยาลดไข้ ที่สามารถทำให้คุณมีเหงื่อออก นอกเหนือจากนั้นยังมีข้อมูลจากเมโยคลินิกว่า ยาต้านฮิสตามีน (antihistamines) ยาหดหลอดเลือด (decongestant) ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาระงับประสาท ยังสามารถทำให้คุณปากแห้งซึ่งมักจะนำไปสู่การมีกลิ่นปากได้ 2 ชอบกินอาหารรสจัดและเครื่องเทศ เครื่องเทศอย่างกระเทียมหรือหัวหอม จะทำให้ร่างกายของคุณต้องปล่อยก๊าซที่มีกำมะถันออกมาเพื่อการย่อยสลาย สารประกอบเหล่านี้ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด และส่งผลให้เกิดกลิ่นตัว อาหารชนิดอื่นๆ ก็สามารถทำให้เกิดกลิ่นตัวได้ เช่น บร็อคโคลี่ กะหล่ำดาว และผักอื่นๆ ที่อยู่ในตระกูลกะหล่ำ 3 ระดับความเครียดสูง เหงื่อที่ออกตามปกตินั้น จริงๆ แล้วจะมีกลิ่นน้อยกว่าเหงื่อที่เกิดจากความเครียด ต่อมเหงื่อชนิดนี้เรียกว่า ต่อมอะโพไครน์ (Apocrine glands) ของเหลวจากต่อมนี้มีน้ำน้อยกว่า แต่ดึงดูดแบคทีเรียได้สูงกว่า จึงมีโอกาสเกิดกลิ่นมากกว่า แน่นอนว่า คุณควรพยายามผ่อนคลายเพื่อลดความเครียด แต่คุณก็ควรซักผ้าของคุณเป็นประจำด้วย เพื่อกำจัดแบคทีเรียส่วนใหญ่ออกไป 4 แอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้ร่างกายตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่แอลกอฮอล์ไหลเวียนในกระแสเลือดนั้น […]


การทดสอบทางการแพทย์

การตรวจตัวรับสัญญาณฮอร์โมน อีกหนึ่งการ วินิจฉัย มะเร็งเต้านม ที่ควรรู้จัก

มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ในเต้านมมีการเจริญเติบโตแบบผิดปกติ แท้จริงแล้ว มะเร็งเต้านมประมาณ ร้อยละ 85-90 เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่เป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่มีมะเร็งเพียงร้อยละ 5-10 ซึ่งเกิดจากลักษณะผิดปกติที่สืบทอดในครอบครัว โรคดังกล่าวไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพจิตของแต่ละบุคคลเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความสามารถในการทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และสมรรถภาพทางเพศ การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมทำได้ด้วยการใช้แมมโมแกรม อัลตราซาวด์ การตรวจชิ้นเนื้อที่เต้านม แต่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักการตรวจแบบ การตรวจตัวรับสัญญาณฮอร์โมน การตรวจตัวรับสัญญาณฮอร์โมน คืออะไร ทั้งผู้หญิงและผู้ชายต่างมีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน แต่ฮอร์โมนทั้งสองชนิดมีหน้าที่สำคัญต่อรอบเดือน และพัฒนาการทางเพศของผู้หญิง ตัวรับสัญญาณเอสโตรเจน (Estrogen receptor : ER) และตัวรับสัญญาณโปรเจสเตอโรน (PR) เป็นโปรตีนที่สำคัญ อาจพบในเซลล์มะเร็งเต้านม ตัวรับสัญญาณฮอร์โมนเหล่านี้จะรับข้อมูลจากสารต่าง ๆ ในกระแสเลือด แล้วส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนในผู้หญิง เช่น การขยายของหน้าอก เช่นเดียวกับเซลล์ดีอื่น ๆ เซลล์มะเร็งเต้านมมีตัวรับสัญญาณฮอร์โมน และตอบสนองต่อสัญญาณฮอร์โมนเหล่านั้น การทราบว่าเซลล์มะเร็งเต้านมมีตัวรับสัญญาณฮอร์โมน หรือไม่เป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดวิธีการรักษา การตรวจหาตัวรับสัญญาณเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน การตรวจหาตัวรับสัญญาณเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เป็นพื้นฐานของการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม วิธีที่ใช้กันทั่วไปที่สุดในปัจจุบันก็คือ การตรวจเนื้องอก เพื่อหาตัวรับสัญญาณเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ที่เรียกกันว่า การใช้เทคนิคอิมมูโนฮิสโตเคมิสทรี (Immunohistochemistry : […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน