สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) เป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เป็นชนิดที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรง มีเพียงยาที่ช่วยไม่ให้ตับถูกทำลาย โรคไวรัสตับอักเสบบี จึงเป็นโรคที่ควรตรวจคัดกรองเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว และป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี  [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร ไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคตับอักเสบชนิดหนึ่ง หรือเกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับ สาเหตุจากการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) อาจทำให้เซลล์ตับตาย ความรุนแรงของโรคไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด อาจกลายเป็นตับแข็ง นำสู่โรคมะเร็งตับได้  การติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี  ส่วนใหญ่การติดต่อของโรคเกิดจากการถ่ายทอดจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ทารก ไม่ติดต่อผ่านทางการสัมผัสภายนอก ไม่ติดต่อหลักทางน้ำลาย แต่ติดต่อได้ ดังนี้ สามารถเกิดได้จากการเจาะหรือสักผิวหนัง ด้วยเครื่องมือที่ไม่สะอาด ไม่ได้มาตรฐาน เชื้อเข้าทางบาดแผล หรือการใช้ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน  สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะไม่แสดงอาการในทันที แต่จะใช้เวลาฟักตัว 2-3 เดือน จึงเริ่มมีอาการ เช่น เกิดการอ่อนเพลียคล้ายกับโรคหวัด คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต  สีปัสสาวะเข้มขึ้น […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

ประกันสุขภาพ

สำรวจ สุขภาพ

การทดสอบทางการแพทย์

รักษามะเร็งเต้านมด้วย การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม เป็นอย่างไร

การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (Breast censervation surgery) หรือที่เรียกกันว่า การผ่าเอาเฉพาะเนื้องอกออก (lumpectomy) การผ่าตัดเอาเต้านมออกบางส่วน (Partial mastetomy) การผ่าตัดเต้านมออกประมาณหนึ่งในสี่ (Quadrantectomy) หรือการผ่าตัดออกบางส่วน (Segmental mastetomy) การผ่าตัดวิธีนี้เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม โดยจะผ่าตัดเอาเฉพาะส่วนของเต้านมที่เป็นมะเร็งเท่านั้น ออกไป จำนวนของเนื้อเยื่อเต้านมที่ถูกผ่าออกขึ้นอยู่กับขนาดเเละตำเเหน่งของเนื้องอก รวมถึงปัจจัยอื่นๆ โปรดให้แน่ใจว่าคุณมีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับการผ่าตัด เช่น รอยเเผลเป็นจะเป็นอย่างไรหลังการผ่าตัด คุณจะสูญเสียเต้านมไปเท่าไหร่ เมื่อพิจารณาถึงเนื้อเยื่อดีใกล้เคียงที่อาจถูกผ่าออกเช่นกัน ใครบ้างที่ควรรับ การผ่าตัดเเบบสงวนเต้านม ข้อดีหลักของการผ่าตัดเเบบสงวนเต้านมก็คือ ผู้หญิงสามารถรักษาเต้านมส่วนมากไว้ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องสามารถเข้ารับการรักษาด้วยรังสี โดยปกติแล้วแพทย์จะประเมินตามหลักนี้เพื่อทำ การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม มีเนื้องอกมะเร็งเต้านมเพียงที่เดียว เเละมีเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 5 เซนติเมตร มีเนื้องอกมะเร็งเต้านมที่เดียวหรือหลายที่ ซึ่งอยู่ใกล้กันมาก กระทั่งสามารถผ่าออกได้พร้อมกัน โดยไม่ทำให้สภาพเต้านมเปลี่ยนไปมากนัก มีเนื้อเยื่อเพียงพอ เมื่อเนื้อเยื่อได้ถูกผ่าออกเเล้ว จะไม่ทำให้เต้านมผิดรูป ไม่เป็นมะเร็งเต้านมแบบอักเสบ (Inflammatory breast cancer) ไม่ได้ตั้งครรภ์ ยินดีที่จะรับการรักษาต่อด้วยรังสีบำบัด ผู้หญิงบางคนอาจมีความกังวลด้วยความคิดที่ว่า การผ่าตัดเนื้อเยื่อออกไปน้อยกว่าจะเพิ่มความเสี่ยงในการกลับมาเป็นมะเร็งอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การตัดเต้านมในกรณีส่วนมาก ไม่ได้เพิ่มความเป็นไปได้ที่จะมีชีวิตได้ยืนยาวกว่า หรือให้ผลการรักษาที่ดีกว่า การศึกษาในผู้หญิงหลายพันคนมากกว่า 20 ปีเเสดงให้เห็นว่า เมื่อได้รับ การผ่าตัดเเบบสงวนเต้านม การเปลี่ยนไปใช้การตัดเต้านมแทนก็ไม่ได้เพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะรอดชีวิต ขั้นตอนการผ่าตัด การผ่าตัดนี้จะกินเวลาประมาณ 1 ถึง […]


การทดสอบทางการแพทย์

ดีซ่าน (Jaundice)

โรค ดีซ่าน (Jaundice หรือ Icterus) เป็นภาวะตกเหลืองบริเวณผิวหนังและตาขาว มีสาเหตุมาจากระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) ในเลือดพุ่งสูงมาก คำจำกัดความดีซ่าน คืออะไร โรคดีซ่าน (Jaundice หรือ Icterus) เป็นภาวะตกเหลืองบริเวณผิวหนังและตาขาว มีสาเหตุมาจากระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) ในเลือดพุ่งสูงมาก บิลิรูบินก่อตัวขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัว ร่างกายมักจะกำจัดบิลิรูบินผ่านตับ โดยทั่วไป ตับในเด็กแรกเกิดจะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ซึ่งทำให้บิลิรูบินก่อตัวเร็วกว่าที่ตับจะสามารถกำจัดได้ สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับเช่นกัน ดีซ่านพบได้บ่อยแค่ไหน โรคดีซ่านเป็นอาการที่พบได้บ่อย ดีซ่านเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด ดีซ่านมักหายไปเองในเด็กแรกเกิด แต่หากไม่หาย นั่นอาจเป็นสัญญาณของอาการรุนแรงกว่านั้นได้ ซึ่งเราสามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของตัวเอง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของโรค ดีซ่าน สัญญาณและอาการของภาวะตกเหลืองทางผิวหนังและดวงตาที่พบได้บ่อย ได้แก่ ภายในช่องปากมีสีเหลือง ปัสสาวะมีสีเข้มหรือสีน้ำตาล อุจจาระมีสีซีดหรือสีเหมือนโคลน ระดับบิลิรูบินสูง เบื่ออาหาร รู้สึกเหนื่อยและอ่อนแรง สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการ ควรเข้าพบคุณหมอทันที ผิวหนังของลูกเป็นสีเหลืองมากขึ้นเรื่อย ๆ ผิวหนังบริเวณท้อง แขนและขา ดูมีลักษณะออกสีเหลือง ส่วนตาขาวของลูกคุณกลายเป็นสีเหลือง ลูกของคุณดูไม่มีชีวิตชีวา หรือป่วย หรือปลุกแล้วตื่นยาก น้ำหนักของลูกคุณไม่เพิ่มขึ้น หรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ลูกของคุณร้องไห้เสียงดังมาก ลูกของคุณมีสัญญาณหรือเกิดอาการใด ๆ ก็ตามที่คุณกังวล โรคดีซ่านเกิดขึ้นต่อเนื่องมานานกว่า 3 สัปดาห์ ในผู้ใหญ่ ผิวหนังเหลืองอาจเป็นอาการของโรคไตได้ด้วย ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคดีซ่าน ดีซ่านมีสาเหตุการก่อตัวของบิลิรูบินที่เป็นผลผลิตของเซลล์เม็ดเลือดแดง บิลิรูบินก่อตัวขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัว ร่างกายมักจะขจัดบิลิรูบินผ่านทางตับ เมื่อตับทำงานผิดปกติ ตับจะไม่สามารถกรองบิลิรูบินออกจากเลือดได้ […]


การทดสอบทางการแพทย์

เอ็มอาร์ไอ หรือเครื่องสร้างภาพด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging - MRI)

การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เอ็มอาร์ไอ (MRI) เป็นการตรวจที่ใช้คลื่นแม่เหล็ก คลื่นวิทยุ และคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างภาพจำลองภายในร่างกาย   คำจำกัดความเอ็มอาร์ไอ (MRI) คืออะไร การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging) หรือ เอ็มอาร์ไอ (MRI) เป็นการตรวจที่ใช้คลื่นแม่เหล็ก คลื่นวิทยุ และคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างภาพจำลองภายในร่างกาย หมอของคุณสามารถใช้การตรวจนี้เพื่อวินิจฉัยหรือดูว่าคุณตอบสนองต่อการรักษาได้ดีแค่ไหน สิ่งที่ไม่เหมือนกับการเอ็กซ์เรย์และ CT สแกน ก็คือ เอ็มอาร์ไอจะไม่ใช้รังสี ทำไมถึงต้องตรวจด้วยเอ็มอาร์ไอ เอ็มอาร์ไอช่วยหมอในการวินิจฉัยโรคหรืออาการบาดเจ็บ และมันสามารถสังเกตการณ์ได้ว่าคุณรับมือกับการรักษาได้ดีแค่ไหน เอ็มอาร์ไอสามารถสแกนส่วนต่างๆ ของร่างกายได้หลากหลายส่วน การทำเอ็มอาร์ไอบริเวณสมองและไขสันหลัง เป็นการสแกนเพื่อหาอาการหรือโรคดังต่อไปนี้ ได้แก่ ความเสียหายของหลอดเลือด การบาดเจ็บทางสมอง มะเร็ง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosi) การบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง เส้นเลือดในสมองแตก การสแกนเอ็มอาร์ไอบริเวณหัวใจและหลอดเลือด เป็นการสแกนเพื่อหาอาการและโรคดังต่อไปนี้ ได้แก่ หลอดเลือดอุดตัน ความเสียหายที่เกิดจากอาการหัวใจวาย โรคหัวใจ ปัญหาโครงสร้างหัวใจ การสแกนเอ็มอาร์ไอบริเวณกระดูกและข้อต่อ เป็นการสแกนเพื่อหาอาการและโรคดังต่อไปนี้ ได้แก่ การติดเชื้อที่กระดูก มะเร็ง ความเสียหายบริเวณข้อต่อ ปัญหาหมอนรองกระดูกที่สันหลัง การสแกนเอ็มอาร์ไปยังสามารถช่วยเช็คสุขภาพของอวัยวะเหล่านี้ ได้แก่ หน้าอก (ผู้หญิง) ตับ ไต รังไข่ (ผู้หญิง) ตับอ่อน ต่อมลูกหมาก (ผู้ชาย) การสแกนเอ็มอาร์ไปชนิดพิเศษเรียกว่าการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุในการสร้างภาพของอวัยวะและโครงสร้างต่าง ๆ ของร่างกาย (functioal MRI – fMRI) การตรวจนี้จะดูการไหลเวียนของเลือดในสมองของคุณ เพื่อดูว่าบริเวณไหนที่เกิดการตอบสนองเมื่อคุณทำภารกิจบางอย่าง เครื่อง fMRI สามารถตรวจจับปัญหาทางสมองได้ อย่างเช่น ผลกระทบของเส้นเลือดในสมองแตก หรือใช้ในการทำแผนที่สมอง หากคุณต้องรับผ่าตัดสมองเนื่องจากโรคลมชักหรือเนื้องอกในสมอง หมอของคุณสามารถใช้การตรวจนี้เพื่อวางแผนการรักษาของคุณได้ ข้อควรรู้ก่อนการตรวจอะไรที่เราควรรู้ก่อนเข้ารับการตรวจด้วยเอ็มอาร์ไอ ก่อนการสแกนเอ็มอาร์ไป […]


อาการของโรค

เหงื่อออกตอนกลางคืน (Night Sweat)

เหงื่อออกตอนกลางคืน (Night Sweat) คือ ภาวะการขับเหงื่ออย่างรุนแรงอย่างต่อเนื่องตอนกลางคืน ที่อาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพหรือโรคภัยไข้เจ็บ [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ เหงื่อออกตอนกลางคืน คืออะไร (Night sweats) เหงื่อออกตอนกลางคืน (Night Sweat) คือภาวะการขับเหงื่ออย่างรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ที่อาจจะทำให้ชุดนอนหรือเตียงนอนของคุณนั้นเปียกโชก และยังอาจเกี่ยวข้องถึงปัญหาสุขภาพเบื้องลึกหรือโรคภัยไข้เจ็บได้ด้วย คุณอาจจะเคยตื่นขึ้นมาเป็นครั้งคราวหลังจากมีอาการเหงื่อออกอย่างหนัก โดยเฉพาะเมื่อคุณห่มผ้าหลายผืนเกินไป หรือหากห้องนอนมีอากาศร้อนเกินไป แต่ถึงแม้อาการดังกล่าวจะก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบาย แต่เหตุการณ์เหล่านี้ ไม่ได้ถูกจัดว่าเป็นอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน และไม่ได้เป็นสัญญาณของปัญหาทางการแพทย์ใด ๆ โดยทั่วไป อาการเหงื่อออกตอนกลางคืน มีความสัมพันธ์กับไข้หวัด การลดน้ำหนัก อาการเจ็บปวดเฉพาะจุด ไอ ท้องเสีย เป็นต้น เหงื่อออกตอนกลางคืน สามารถพบได้บ่อยแค่ไหน อาการเหงื่อออกตอนกลางคืน พบได้ทั่วไปทั้งในเพศชายและหญิง วัยรุ่นและเด็ก โปรดปรึกษากับหมอของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการ เหงื่อออกกลางคืน เป็นอย่างไร มันเป็นเรื่องปกติที่จะเหงื่อออกในช่วงกลางคืน หากห้องหรือที่นอนของคุณนั้น ทำให้คุณรู้สึกร้อนเกินไป แต่อาการเหงื่อออกตอนกลางคืน เป็นอาการที่มีเหงื่อออกอย่างมากผิดปกติจนชุดนอนของคุณและเตียงนอนของคุณเปียกโชกไปด้วยเหงื่อ แม้ว่าสถานที่ซึ่งคุณนอนหลับนั้นจะมีอากาศถ่ายเทและเย็นสบายก็ตาม โดยอาจมีอาการอื่นๆ ปรากฏขึ้นร่วมด้วย ตัวอย่างเช่น ภาวะการติดเชื้อและมะเร็ง อาการสั่นและขนลุกสามารถเกิดขึ้นได้บางครั้ง หากคุณมีไข้ น้ำหนักที่ทรุดลงอย่างอธิบายไม่ได้ เนื่องจากมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาการเหงื่อออกตอนกลางคืน อันเนื่องมาจากสภาวะหมดประจำเดือน นั้นมักจะติดมาเป็นปกติด้วยอาการอื่นๆ ของสภาวะหมดประจำเดือน อย่างเช่น ภาวะช่องคลอดแห้ง อาการร้อนวูบวาบตามร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ อาการเหงื่อออกตอนกลางคืน ที่เป็นผลข้างเคียงของยา อาจเกิดขึ้นพร้อมกับผลข้างเคียงอื่นๆ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไขข้อข้องใจ เราสามารถ เพิ่มความสูง ได้อีกหรือเปล่า

ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความสูงของคนเรานั้น มาจากพันธุกรรมถึงร้อยละ 60-85 ส่วนที่เหลือนั้นมาจากสิ่งแวดล้อมและโภชนาการเป็นหลัก นอกจากนี้ ส่วนใหญ่แล้วความสูงจะไม่เพิ่มขึ้นหลังอายุ 18-20 ปี ดังนั้น วัยผู้ใหญ่หลายคนที่อยาก เพิ่มความสูง จึงอาจสงสัยว่าเราสามารถ เพิ่มความสูง ได้อีกหรือไม่ [embed-health-tool-bmi] คนเราจะหยุดสูงตอนไหน ส่วนใหญ่แล้วความสูงจะไม่เพิ่มขึ้นอีกหลังอายุ 18 ปี และถึงแม้ว่าจะกินอาหารที่มีประโยชน์ แต่ความสูงก็จะไม่เพิ่มขึ้นหลังจากอายุ 18-20 ปี โดยสาเหตุที่ร่างกายหยุดสูงมาจากกระดูกหยุดการเจริญเติบโต โดยเฉพาะแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูก (Growth plates) หรือบริเวณแผ่นเอพิไฟเซียล (Epiphyseal plate) ซึ่งเป็นบริเวณกระดูกอ่อนใกล้ปลายกระดูกยาว ความสูงที่เพิ่มขึ้น เกิดจากความยาวของกระดูกยาว (Long bones) และแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกที่ยังคงใช้งานได้อยู่ หรือยังคง ‘เปิด’ อยู่ และเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทำให้แผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกแข็งขึ้น หรือ ‘ปิด’ ทำให้ส่วนความยาวของกระดูกจะหยุดลง โดยมักพบว่าแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกจะปิด ในช่วงที่ผู้หญิงอายุราว ๆ 16 ปี และในผู้ชายอายุประมาณ 14-19 ปี วัยผู้ใหญ่สามารถ เพิ่มความสูง ได้อีกหรือเปล่า ความเชื่อเกี่ยวกับความสูงที่พบบ่อยคือการออกกำลังกายบางประเภท หรือเทคนิคการยืดกล้ามเนื้อ สามารถทำให้สูงขึ้นได้ เช่น การโหนบาร์ การปีนเขา […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

20 วิธี ที่อาจทำให้คุณ หุ่นดี โดยไม่ต้องเสียเงินซักบาทเดียว

หากคุณกำลังต้องการ หรือใฝ่ฝันอยากมี หุ่นดี อยู่ละก็ อย่างแรกที่คุณควรทำ คือการศึกษาและเรียนรู้ถึงวิธีดูแลเบื้องต้นให้เหมาะแก่สุขภาพของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการกำลังกาย การควบคุมอาหาร ซึ่งบทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ จึงขอนำวิธีการรักษาหุ่นฉบับง่าย ๆ ที่สามารถเริ่มฝึกได้ทุกวัน มาฝากทุกคนกันค่ะ 20 วิธีที่ช่วยให้ หุ่นดี 1. กินอาหารเช้า อาหารเช้าเป็นสิ่งสำคัญมาก หากคุณงดไป จะยิ่งทำให้ระหว่างวันคุณรู้สึกหิวและกินมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม ให้คิดเสมอว่าร่างกายเราไม่ได้รับอาหาร มาเป็นเวลาหลายชั่วโมงขณะที่เราหลับ เพราะฉะนั้นเราจึงควรรับประทานมื้อเช้า 2. กินผัก 50% ใน 1 มื้อ การกินผักใบเขียวจะช่วยทำให้อิ่มเร็ว และขับถ่ายง่ายเพราะมีไฟเบอร์เยอะ รวมถึงเพิ่มวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ในร่างกาย โดยที่ไม่ต้องพึ่งอาหารเสริมเลย 3. ดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน น้ำดื่มที่สะอาดจะช่วยร่างกาย ในการขับของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายเราสดชื่นและผิวพรรณสดใส ที่สำคัญการดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนมื้ออาหารทำให้เราอิ่มไวขึ้น 4. แยกให้ออกระหว่างความหิว กับความอยาก ก่อนที่จะรับประทานขนม หรืออาหารก็ตาม เราควรจะรู้ตัวว่าเราหิวหรืออยากกินกันแน่ ทางที่ดีควรกินอาหารให้เป็นมื้อจะดีที่สุด 5. หุ่นดี ด้วยการทำอาหารกินเอง การทำอาหารเองเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะเราสามารถควบคุมปริมาณอาหาร และความสะอาดได้อีกด้วย ทำให้อาหารนั้นสดใหม่และมีคุณประโยชน์ 6. เตรียมอาหารล่วงหน้า เวลาที่ต้องออกไปนอกบ้านหรือทำงาน เราก็ควรจะพกอาหารไปด้วย เพื่อช่วยป้องกันการรับประทานอาหารตามใจปาก […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation Ablation)

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation) เกิดจากแรงกระตุ้นไฟฟ้าของหัวใจห้องบนขวามีกระแสไม่ต่อเนื่อง จึงส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่ต่อเนื่อง หัวใจเต้นเร็ว และไม่สม่ำเสมอ คุณจะรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วจนเกินไปหรือมีอาการที่ไม่สามารถคาดเดาได้ การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว สามารถช่วยบรรเทาให้อาการดีขึ้นได้ ข้อมูลพื้นฐานการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คืออะไร การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า “Atrial Fibrillation Ablation” คำว่า “Ablation” หมายถึง “การตัดออก” มาจากคำว่า “Ablate” ที่แปลว่า “ลบออก หรือ ทำลาย” ในแง่ของ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หมายถึง ตัวเลือกหนึ่งในการรักษาเมื่อยาไม่สามารถรักษาหรือควบคุมการทำงานของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ การผ่าตัดคือขั้นตอนที่ทำให้เกิดแผลขนาดเล็กบริเวณเนื้อเยื่อหัวใจ บริเวณเป้าหมายของแผลคือแหล่งกำเนิดแรงกระตุ้นไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เมื่อเนื้อเยื่อได้รับผลกระทบหรือเกิดความเสียหาย จะไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่สม่ำเสมอเข้าสู่หัวใจได้อีก ตำแหน่งแผลขึ้นอยู่กับขั้นตอนในการผ่าตัด รวมไปถึงประเภทการรักษา เช่น การกระตุ้นหัวใจห้องบนขวา การผ่าตัดใส่สายสวน การผ่าตัดหลอดเลือดดำในปอด การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ อาจมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์ ความเสี่ยงความเสี่ยงของการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ระยะของอาการ และความเสี่ยงในการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วนั้นแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการผ่าตัดขั้นตอนการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว การผ่าตัดใส่สายสวน การเตรียมพร้อมการผ่าตัดใส่สายสวน การผ่าตัดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ควรดำเนินการในโรงพยาบาล ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น ตรวจสอบการทำงานของเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีสุขภาพแข็งแรงพอสำหรับการผ่าตัด ใช้ยาเจือจางเลือดก่อนเข้ารับการผ่าตัดเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อป้องกันหลอดเลือดอุดตัน การทำซีทีสแกน (CT) หรือการทำเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อตรวจสอบกระบวนการทำงานของเส้นเลือด อดอาหารหลังเที่ยงคืนก่อนวันผ่าตัด แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่น […]


การทดสอบทางการแพทย์

รู้หรือไม่? การตรวจหาปริมาณ ไวรัสในเลือด สำคัญกว่าที่คิด

ไวรัสในเลือด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่คร่าชีวิตคนประมาณ 1.5 ล้านคน ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการเอาไว้ในปี 2003 ฉะนั้นการตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือด เพื่อใช้ในการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี และการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ก็นับว่ามีความจำเป็นมาก ซึ่ง Hello คุณหมอ จะพาไปติดตามความสำคัญของเรื่องนี้กัน ไวรัสในเลือด คืออะไร เชื้อไวรัสในเลือด (Viral Load) หมายถึงปริมาณของอนุภาคเชื้อไวรัสที่ลอยอยู่ในตัวอย่างเลือด (ปริมาณ 1 มล. หรือ 1 ซีซี) อนุภาคเหล่านี้คือสำเนาพันธุกรรมของเชื้อไวรัสที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย ปริมาณของเชื้อไวรัสในเลือดจะทำให้เราทราบว่าการรักษาต้านไวรัสโดยใช้ยาต้านเชื้อไวรัส (ART) นั้นสามารถควบคุมเชื้อไวรัสได้ดีแค่ไหน เป้าหมายของการรักษาต้านไวรัสคือการลดระดับปริมาณของเชื้อไวรัสในเลือด การตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือดประเภทต่างๆ การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสที่อยู่ในเลือด เพื่อประเมินสุขภาพของผู้ติดเชื้อ ว่าสามารถควบคุมปริมาณไวรัสให้อยู่ในระยะปลอดภัยต่อสุขภาพได้หรือไม่ เมื่อเข้ารับการรักษาเป็นครั้งแรกนั้น ก็จะทำการตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสในเลือด เพื่อใช้เป็นข้อมูลก่อนที่จะรับยาต้านไวรัส ควรทำการทดสอบไวรัสแบบนี้ทุกๆ 3-6 เดือน โดยการตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสในเลือดมีดังนี้ การตรวจหาปริมาณไวรัสเอชไอวี การตรวจหาปริมาณไวรัสเอชไอวี จะทำให้คุณทราบปริมาณของเชื้อไวรัสเอชไอวีในร่างกาย โดยตรวจนับปริมาณสำเนาของเชื้อเอชไอวีเลือด 1 มิลลิลิตร ผลการตรวจนี้จะช่วยให้แพทย์ทราบว่าการติดเชื้อของคุณเป็นอย่างไร การรักษาได้ผลดีแค่ไหน และรับทราบแนวทางในการรักษา ผลการตรวจปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีจะช่วยให้คุณทราบว่าโรคมีอาการรุนแรงขึ้นเร็วแค่ไหน การตรวจหาปริมาณไวรัสตับอักเสบซี แพทย์จะทำการตรวจหาปริมาณของเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (hep C RNA test) เพื่อตรวจหาปริมาณของเชื้อไวรัสตับอักเสบซีภายในเลือดหนึ่งหยด ในปัจจุบันนี้ห้องแล็บส่วนใหญ่มักจะแจ้งผลเป็น หน่วยสากลต่อมิลลิลิตร […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

วิธีป้องกันไม่ให้ ลืมกินยา ทำแล้วรับรองว่ากินยาครบกำหนดชัวร์

การจะต้องมานั่งจำว่าในแต่ละวันต้องกินยาอะไรบ้างไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนอาจคิดว่ากินยาแค่วันละ 2 หรือ 3 ครั้งจะไปยากอะไร ยังไงก็ต้องจำได้แน่ ๆ แต่ถึงอย่างนั้น คนเราก็มักลืมกินยากันเป็นประจำ ร่างกายของเราต้องการปริมาณยาที่จำเพาะเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ หากเรา ลืมกินยา ถึงจะแค่ 1-2 ครั้ง ก็อาจส่งผลให้ยาทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพได้ หากใครลืมกินยาเป็นประจำ วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีป้องกันการลืมกินยามาฝาก รับรองว่าหากคุณทำตามแล้ว จะไม่ลืมกินยาอีกแน่นอน วิธีป้องกันไม่ให้ ลืมกินยา ใส่ใจสภาพร่างกายของตัวเอง การใส่ใจสภาพร่างกายของตัวเอง อาการของโรคที่เผชิญ และการรักษาที่จำเป็น จะเป็นแรงกระตุ้นให้คุณกินยารักษาโรคเป็นประจำตามที่คุณหมอสั่ง หากคุณศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยาที่กิน ทำความเข้าใจว่าคุณกินยาไปเพื่ออะไร รวมถึงใส่ใจกับผลข้างเคียงของยา รวมถึงผลของการกินยาไม่สม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้คุณไม่ลืมกินยาได้ กล่องยา กล่องยาไม่ใช้แค่ที่เก็บยาเท่านั้น แต่ยังช่วยเตือนให้คุณกินยาในแต่ละวันได้อย่างครบถ้วนด้วย เนื่องจากกล่องยาแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน เพียงพอต่อการเก็บยาในแต่ละสัปดาห์ สามารถเก็บไว้ในกระเป๋า หรือพกพาได้เมื่อเดินทาง จึงสะดวกกว่าการพกถุงยาไปไหนมาไหน ถือว่ามีประโยชน์มากสำหรับคนที่ชอบลืมกินยา และผู้สูงอายุต่างก็เห็นตรงกันว่ากล่องยาคือตัวช่วยในการกินยาที่กะทัดรัดและพกพาสะดวกมาก แอปพลิเคชันเตือนกินยา คนเราพกโทรศัพท์มือถือติดตัวไปแทบทุกที่ ไม่เว้นแม้แต่เวลาเข้าห้องน้ำ และเช็คโทรศัพท์กันไม่ต่ำกว่าวันละ 50 ครั้ง โทรศัพท์มือถือมีประโยชน์มากกว่าเอาไว้ใช้ถ่ายรูปหรือเล่นโซเชียลมีเดีย เนื่องจากปัจจุบันมีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพ เช่น แอปพลิเคชันออกกำลังกาย แอปพลิเคชันคำนวณวันตกไข่และบันทึกประจำเดือน รวมถึงแอปพลิเคชันเตือนกินยา ที่สามารถตั้งเวลาแจ้งเตือน ช่วยให้คุณกินยาตรงเวลาได้ แถมบางแอปพลิเคชันยังมีฟังก์ชันให้คนในครอบครัวช่วยเตือนให้เรากินยาด้วย เก็บยาในที่ที่มองเห็นง่าย ปัญหาข้อหนึ่งที่ทำให้เราลืมกินยาก็คือ จำไม่ได้ว่าเก็บยาไว้ที่ไหน ไม่ก็หายาไม่เจอ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 (Anti-Jo-1 Antibodies Test)

ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นการทดสอบเพื่อวัดระดับแอนตี้บอดี้-โจ-1 ในกระแสเลือด โจวัน (histidyl tRNA synthetase) แอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นตัวบ่งชี้โรคกล้ามเนื้ออักเสบ และพบในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ที่มีโรคเนื้อเยื่อปอดอักเสบร่วมด้วย คำจำกัดความ ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 (Anti-Jo-1 Antibodies Test) ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นการทดสอบเพื่อวัดระดับแอนตี้บอดี้-โจ-1 ในกระแสเลือด โจวัน (histidyl tRNA synthetase) ก็คือเอนไซม์ในกลุ่ม acyl-tRNA synthetase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบในเซลล์ชนิดที่มีนิวเคลียส แอนตี้บอดี้-โจ-1 ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้ออักเสบจะจับตัวอยู่กับปลายสายโปรตีน ที่ช่วยยับยั้งฤทธิ์การเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ในหลอดทดลองได้ แอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นตัวบ่งชี้โรคกล้ามเนื้ออักเสบ และพบในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ที่มีโรคเนื้อเยื่อปอดอักเสบร่วมด้วย แอนตี้บอดี้เหล่านี้พบได้มากกว่าครึ่งในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบที่มีพังผืด ในเนื้อเยื่อปอด และโรคข้ออักเสบแบบสมมาตรร่วม ทำไมต้องทดสอบหาแอนตี้บอดี้-โจ-1? ก็เพื่อประเมินโรคในผู้ป่วยที่มีสัญญาณและอาการแสดง ที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ปวดกล้ามเนื้อ และมีภาวะแขนขาอ่อนแรง มีอาการแสดงของโรคปอด โรคเรเนาด์ (Raynaud’s phenomenon) และโรคข้ออักเสบร่วมด้วย ข้อควรระวัง/คำเตือน ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการตรวจหาแอนตี้บอดี้-โจ-1 มีอะไรบ้าง คำแนะนำที่จำเป็นสำหรับการเตรียมควาพร้อมก่อนทำการตรวจได้แก่ ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนทำการตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง สำหรับการตรวจเลือด ผู้ป่วยควรงดน้ำและอาหารก่อนทำการตรวจอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ยาหลายชนิดสามารถส่งผลต่อผลการตรวจได้ จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่ท่านใช้อยู่ ทั้งยาที่ซื้อมารับประทานเอง และยาตามใบสั่งแพทย์ การทดสอบชนิดนี้ไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย ที่มีผลการตรวจ Antinuclear Antibodies เป็นลบ การได้ผลการตรวจแอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นลบหนึ่งครั้ง ไม่สามารถวินิจฉัยว่าเป็นภาวะกล้ามเนื้ออักเสบหรือผิวหนังอักเสบได้ กระบวนการ การเตรียมการสำหรับทดสอบ สิ่งที่ท่านต้องเตรียมตัวก่อนการทดสอบก็คือ การตรวจเลือด รัดต้นแขนผู้ป่วยด้วยแถบยางยืดเพื่อห้ามการไหลเวียนของเลือด วิธีนี้จะทำให้เส้นเลือดดำที่อยู่ใต้แถบผ้าแถบยางขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้ใช้เข็มเจาะเข้าไปในเส้นเลือดดำได้ง่ายขึ้น 1. […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน