ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

การสูงวัยทำให้อวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลง นั่นจึงเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุประสบปัญหาสุขภาพค่อนข้างบ่อยกว่าคนวัยอื่น Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ มาไว้ที่นี่ เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

วิธีเลือกผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เลือกอย่างไรให้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงหรือไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก แต่ในปัจจุบันผ้าอ้อมผู้ใหญ่มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน วิธีเลือกผ้าอ้อมผู้ใหญ่ จึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและลักษณะการใช้งานเป็นหลัก เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ผ้าอ้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-bmi] วิธีเลือกผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เลือกอย่างไรให้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ทำให้ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระได้ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงหรือมีไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างสะดวก  ในปัจจุบันผ้าอ้อมผู้ใหญ่แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่แบบกางเกง และผ้าอ้อมผู้ใหญ่แบบเทปกาว ซึ่งมี วิธีเลือกผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้  เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน ควรเลือกผ้าอ้อมให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน เช่น หากผู้สูงอายุอาศัยอยู่บ้าน ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวมากนัก ควรเลือกผ้าอ้อมแบบซึมซับได้ครั้งเดียว เพื่อลดปัญหาการเกิดกลิ่นอับ แต่ในกรณีผู้สูงอายุที่ต้องเดินทางไกล ไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้บ่อย ๆ ควรเลือกผ้าอ้อมที่มีลักษณะหนา ป้องกันการรั่วซึม และซึมซับได้ดี ความสามารถในการควบคุมการขับถ่าย  ควรเลือกผ้าอ้อมผู้ใหญ่ให้เหมาะสำหรับความสามารถในการควบคุมการขับถ่าย เช่น หากผู้สูงอายุไม่สามารถกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระได้ ควรเลือกผ้าอ้อมที่มีคุณสมบัติหนาเป็นพิเศษ เพื่อให้ซึมซับได้ยาวนานขึ้น ขนาดของผ้าอ้อม ควรเลือกซื้อขนาดผ้าอ้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ใส่แล้วรู้สึกสบาย ไม่คับหรือหลวมเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้ปัสสาวะหรืออุจจาระไหลออกมาด้านนอก ผ้าอ้อมผู้ใหญ่มีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ อย่างไร ผ้าอ้อมผู้ใหญ่มีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้  เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้สูงอายุมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวก ป้องกันการเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากปัญหาการปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด ขณะมีอาการไอ จาม หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ  ลดปัญหาการวิตกกังวลเมื่อไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ ข้อแนะนำในการใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่  ก่อนเปลี่ยนผ้าอ้อมใหม่ทุกครั้งผู้สูงอายุควรทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ รวมถึงบริเวณใกล้เคียง ด้วยน้ำและสบู่สูตรอ่อนโยน หลังจากนั้นให้ทาครีมหรือมอยซ์เจอไรเซอร์เพื่อลดการเกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

เคล็ดลับการดูแล สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ให้เหมาะสมกับช่วงวัย

ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใด การรักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก ก็ย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่ควรต้องเอาใจใส่อยู่เสมอ  ถึงแม้จะมีวิธีการดูแลช่องปากพื้นฐานอย่างการแปรงฟันที่เหมือนกัน แต่บางครั้งเมื่ออายุมากขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องตระหนักถึงการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้นตามไปด้วย วันนี้ บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำเคล็ดลับดี ๆ เกี่ยวกับการดูแล สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ มาฝากให้ทุกครอบครัวได้ทราบไปพร้อม ๆ กันค่ะ ปัญหาช่องปาก ที่มักพบเจอในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป มักเริ่มมีจำนวนฟันลดน้อยลงตามช่วงวัยและตามการดูแลรักษาสุขภาพฟัน ถ้าหากไม่มีการ ดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ หรือดูแลไม่ดี ก็อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุนั้นมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาทางด้านสุขภาพช่องปาก ดังต่อไปนี้ โรคเหงือก เป็นอาการที่เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ และเศษอาหารที่อยู่ติดตามซอกฟัน โดยมักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุจำนวนมากประมาณ 68% ในช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป สูญเสียฟัน ส่วนมากการสูญเสียฟันในช่องปากไปมักเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้น แต่ก็สามารถเริ่มหลุดร่วงได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 65-74 ปี จนบางครั้งทำให้จำเป็นต้องหันมาปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน ให้เป็นอาหารที่มีลักษณะอ่อนลง ง่ายต่อการเคี้ยวมาทดแทน ฟันผุ เมื่อรู้สึกปวดฟัน แต่ไม่เข้ารับการตรวจ หรือการรักษาอย่างเท่าทัน ก็อาจทำให้เศษอาหาร หรือแบคทีเรีย ๆ ต่าง ๆ เข้าไปกัดกร่อนจนก่อให้เกิดฟันผุ จนสามารถส่งผลเสียลึกต่อรากฟัน และค่อย ๆ […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

รับมือกับอาการซันดาวน์ ภาวะที่เกิดในผู้ป่วยสมองเสื่อม ช่วงพระอาทิตย์ใกล้ตกดิน

อาการซันดาวน์ (Sundown Syndrome) เป็นอาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ซึ่งมักจะเกิดในช่วงพระอาทิตย์ตกไปจนถึงช่วงค่ำ ๆ ของวัน ในช่วงนี้จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการสับสน กระวนกระวาย ปัญหาเหล่านี้อาจสร้างความลำบากใจให้กับผู้ที่ต้องดูแล วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับที่น่าสนใจ ในการช่วยดูแล รับมือกับอาการซันดาวน์ ในผู้ป่วยสมองเสื่อมมาให้อ่านกันค่ะ อาการซันดาวน์ คืออะไร อาการซันดาวน์ (Sundown Syndrome) เป็นพฤติกรรมที่มักจะเกิดในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ในช่วงพลบค่ำ หรือช่วงที่พระอาทิตย์ใกล้ตกดินไปจนถึงช่วงค่ำ ๆ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่สับสน ก้าวร้าว ต่อต้าน ไม่อยู่นิ่ง ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น ปีนเตียง เห็นภาพหลอน หูแว่วร่วมด้วย สาเหตุของอาการนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนสถานที่ สิ่งแวดล้อม หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น เปลี่ยนที่นอน เปลี่ยนเวลาในการทำกิจกรรมที่เคยทำทุกวัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านี้ส่งผลกับกับอาการที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ความเหนื่อยล้าของวันและแสงที่ลดลงอาจเป็นอีกหนึ่งตัวการที่ทำให้อาการซันดาวน์กำเริบ เคล็ดลับการ รับมือกับอาการซันดาวน์ ในผู้ป่วยสมองเสื่อม อาการซันดาวน์ ที่มักจะเกิดกับผู้ป่วยสมองเสื่อมในช่วงพลบค่ำนั้นมักจะสร้างความกังวล สับสนให้กับผู้ป่วย และอาจสร้างความเหนื่อยล้าให้กับผู้ดูแลได้เช่นกัน เคล็ดลับเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการซันดาวน์ในผู้ป่วยสมองเสื่อมให้ดีขึ้นได้ ปฏิบัติตามตารางเวลา ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมักจะมีปัญหากับการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน เมื่อกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวันเปลี่ยนไป ทำให้พวกเขาไม่รู้สึกคุ้นชิน บางครั้งอาจทำให้เกิดความเครียด สับสน และอาการจะยิ่งรุนแรงขึ้นในช่วงพระอาทิตย์ตกดิน ดังนั้นการมีตารางเวลาในการทำกิจกรรม […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

อาการฉี่ไม่ออก ในผู้สูงอายุ ลูกหลานควรดูแลอย่างไร?

หากคุณตาคุณยาย หรือผู้สูงอายุในครอบครัวมี อาการฉี่ไม่ออก ลูกหลานอย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ คิดว่าเป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุนะคะ เพราะปัญหาสุขภาพที่คนเรามักละเลยอย่างอาการฉี่ไม่ออกนี้ หากปล่อยไว้ในระยะยาวโดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคนี้อย่างละเอียดกันค่ะ อาการ ฉี่ไม่ออก (Urinary Retention) คืออะไร อาการ ฉี่ไม่ออก เป็นภาวะที่ร่างกายรู้สึกปวดปัสสาวะแต่ไม่สามารถขับปัสสาวะออกมาได้ตามปกติ เกิดจากกระเพาะปัสสาวะไม่บีบตัว หรือมีอาการท่อปัสสาวะอุดตัน ภาวะนี้แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง พบบ่อยในกลุ่มคนวัยผู้สูงอายุ และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ท่อปัสสาวะอุดตัน ในผู้สูงอายุ ท่อปัสสาวะอุดตัน เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิด อาการฉี่ไม่ออก และมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการฉี่ไม่ออกได้เช่นกัน ดังนี้ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก การอุดตันของท่อปัสสาวะ กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแอ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่อาจส่งผลให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของปัสสาวะบกพร่อง ภาวะ ฉี่ไม่ออก กับอาการที่ลูกหลานไม่ควรละเลย เมื่อผู้สูงอายุในครอบครัวแก่ตัวลง อาจทำให้เกิดอาการหลง ๆ ลืม ๆ ไปบ้าง ลูกหลานอย่างเราจึงต้องหมั่นคอยสังเกตดูพฤติกรรมและคอยถามอาการของท่านอย่างใกล้ชิด สัญญาณและอาการของภาวะฉี่ไม่ออก หรือปัสสาวะไม่ออก แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. ปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน (Acute Urinary […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

โรคปลายประสาทอักเสบในผู้สูงอายุที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ

อาการชาที่ปลายมือ ปลายเท้าเป็นอาการที่เดี๋ยวมาเดี๋ยวหาย จนหลายๆ คนนิ่งนอนใจ เพราะไม่คาดคิดว่าจะเป็นสัญญาณเตือนไปสู่โรคร้ายแรงอย่างอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคปลายประสาทอักเสบ คืออะไร ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) เป็นสภาวะหนึ่งของเส้นประสาท ที่ทำหน้าที่ในการส่งคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งก็คือสมอง และไขสันหลังไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เกิดความผิดปกติ หรือเกิดโรคบางชนิดได้ หากมันเกิดความเสียหายอาจทำให้เกิดอาการ ชาตามร่างกาย กล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคปลายประสาทอักเสบสามารถส่งผลต่อเส้นประสาทต่างๆ ในร่างกายได้  ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทที่ในหลายๆ แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน สำหรับบางคนมันอาจส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทเพียงแห่งเดียว แต่สำหรับบางคนมันอาจส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทหลายๆ เส้นในเวลาเดียวกัน ประเภทของ โรคปลายประสาทอักเสบ โรคปลายประสาทอักเสบเป็นโรคที่สามารถแบ่งออกได้ตามสาเหตุของการเกิดโรค โรคปลายประสาทอักเสบเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีอายุเกิน 55 ปี โรคปลายประสาทอักเสบแบบเดี่ยว (Mononeuropathy) โรคปลายประสาทอักเสบแบบเดี่ยว เป็นโรคที่จะเกิดความเสียหายต่อระบบประสาทส่วนปลายเพียงเส้นเดียว จึงเรียกว่า โรคปลายประสาทอักเสบแบบเดี่ยว (Mononeuropathy) ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยในการเกิดโรคปลายประสาทอักเสบแบบนี้คือ การบาดเจ็บทางร่างกายหรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ นอกจากนี้การที่เส้นประสาทถูกกดทับเป็นเวลานาน ก็สามารถทำให้เกิดได้เช่นกัน เช่น นั่งรถเข็นนานๆ นอนติดเตียง ซึ่งการเคลื่อนไหวร่างกายมีส่วนช่วยกระตุ้นได้ กลุ่มอาการประสาทมือชา (Carpal tunnel syndrome) เป็นหนึ่งในชนิดของโรคปลายประสาทอักเสบแบบเดี่ยว เป็นการที่เส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับทำให้เกิดอาการชาที่มือ ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดกับผู้ที่ทำงานโดยการเคลื่อนไหวมือซ้ำๆ ผู้ที่ต้องพิมพ์งานทั้งวัน ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งวัน โรคปลายประสาทอักเสบแบบหลายเส้น (Polyneuropathy) โรคปลายประสาทอักเสบแบบหลายเส้น เป็นรูปแบบของโรคเส้นประสาทอักเสบรูปแบบหนึ่งซึ่งจะเกิดความผิดปกติกับเส้นประสาทส่วนปลายหลายเส้น โรคปลายประสาทอักเสบแบบหลายเส้นเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากหลายอย่างตั้งแต่การสัมผัสการสารพิษบางชนิด […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

โรคเพมฟิกอยด์ รู้ไว้ก่อนสายเกินแก้

โรคเพมฟิกอยด์ เป็นโรคภูมิต้านตนเองที่หาได้ยาก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย รวมทั้งในเด็ก แต่ส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ แม้โรค เพมฟิกอยด์ จะยังไม่มีวิธีรักษา แต่ก็มีวิธีรักษามากมายให้ได้เลือกใช้บรรเทาอาการที่เกิดขึ้น ดังนั้น หากคุณทำความรู้จักกับโรค เพมฟิกอยด์ เอาไว้ ก็จะทำให้สามารถสังเกตวามผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเอง และเข้ารับการรักษาจากแพทย์ได้อย่างทันท่วงที เพมฟิกอยด์ คือ โรค เพมฟิกอยด์ (Bullous Pemphigoid) ส่วนใหญ่พบในวัยผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย จากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ซึ่งมีการสร้างแอนติบอดี้มาทำลายการยึดของเซลล์ผิวหนังหลุดลอกของชั้นหนังกำพร้า ออกจากผิวหนังชั้นหนังแท้ แอนตี้บอดี้เหล่านี้ก่อให้เกิดการอักเสบ อาการตุ่มน้ำพองที่ผิวหนัง พองที่ขา แขน หน้าท้อง และเยื่อบุต่าง ๆ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของ โรคเพมฟิกอยด์  สาเหตุของการเกิดโรค เพมฟิกอยด์ เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา ร่วมกับมีปัจจัยทางพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมอื่น เช่น เชื้อโรคหรือสารเคมีเป็นปัจจัยกระตุ้น เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบว่า เพมฟิกอยด์ มีความเสี่ยงสูงในวัยผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ หรือบางกรณีอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ เช่น ยา ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ที่อาจทำให้เกิดการเสี่ยงเป็นโรค เพมฟิกอยด์ ได้แก่ ยารักษาโรคสะเก็ดเงิน ยาในกลุ่มยาซัลฟาที่มีกลไกการออกฤทธิ์ช่วยรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น แสงและรังสี การรักษาด้วยแสงและรังสี เพื่อรักษาสภาพผิวบางอย่างอาจกระตุ้นอาการทำให้เกิดเป็นโรค […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

อายุที่มากขึ้น ทำไมถึงทำให้คันตามผิวหนัง

อาการคัน นั้นเป็นความรู้สึกไม่พึงประสงค์ที่ทำให้คุณรู้สึกอยากที่จะเกา อาการคันนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผิวที่มีโรคและไม่มีโรค อาการคันสามารถเกิดขึ้นได้จากปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง โรคที่เกิดกับร่างกายทุกส่วน โรคทางระบบประสาท และโรคอื่นๆ อาการนี้เป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่รับคำปรึกษาด้านผิวหนัง อาการคันในผู้สูงอายุนั้นสามารถนิยามได้ว่าเป็น อาการคันเรื้อรัง ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป อายุและอาการคัน จะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ลองมาดูกันค่ะ เช่นเดียวกันกับอวัยวะอื่นๆ ผิวหนัง นั้นจะเสื่อมสภาพตามเวลาที่ผ่านไป ชีวะวิทยาของผิวหนังเกือบทุกแง่มุมนั้นจะได้รับผลกระทบจากช่วงอายุ ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของหนังกำพร้าที่เป็นเกราะป้องกันของร่างกายนั้นจะลดลงตามอายุ คอลลาเจนภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์จะอยู่ระดับของผิว กลุ่มของผิวหนังที่ให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นนั้นจะค่อยๆ หลุดลอกออก ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างอันตรายต่อคุณสมบัติทางกลุ่มของผิวหนังและการทำงานของเซลล์ผิวหนัง การเปลี่ยนแปลงของอายุและอาการคัน อายุและอาการคัน การมีอายุเพิ่มมากขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่ทำให้เกิดอาการคันผิว ซึ่งมีทั้งการทำงานเป็นเกราะป้องกันของผิวหนังชั้นนอก ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบประสาท เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ทำให้การผลิตไขมันบนชั้นผิวหนังที่ช่วยรักษาระดับของเกราะที่หนังกำพร้านั้นลดลง เริ่มตั้งแต่ช่วงประมาณอายุ 55 ปี ค่า pH ของผิวชั้นหนังกำพร้าจะมีความเป็นกรดลดลง ที่จำเป็นสำหรับการสร้างไขมันที่เป็นส่วนประกอบของเกราะป้องกันการสูญเสียน้ำที่ผิวชั้นนอกนั้นต้องการค่า pH ที่เป็นกรด เมื่อมีอายุ 70 ปี อัตราในการผลิตสารตั้งต้นของชั้นไขมันนั้นจะลดลง ส่งผลให้ไขมันที่จะรักษาระดับของเกราะผิวนั้นไม่เพียงพอ การที่เกราะป้องกันของผิวชั้นนอกไม่เพียงพอนั้นอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดโรคผื่นแพ้สัมผัส ซึ่งจะอธิบายว่าทำไมผู้สูงอายุจึงมักจะบ่นถึงอาการระคายเคืองและอาการคันจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผ้าที่เคยใช้ได้ในสมัยก่อน การสูญเสียต่อมเหงื่อและต่อมน้ำมันบนผิวก็สามารถนำไปสู่อาการคันเนื่องจากผิวแห้ง ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่พบได้มากที่สุดในผู้สูงอายุ   ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับระบบภูมิคุ้มกันเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นจะเรียกว่า “เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมถอยลง” (immunosenescence) ระบบภูมิคุ้มกันที่มีอายุเพิ่มขึ้นนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดการอักเสบเนื่องจากเซลล์ภูมิคุ้นกันที่ผิดปกติ ในผู้ป่วยบางรายนั้น อาการนี้อาจส่งผลให้เกิดอาการแพ้และทำให้ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งที่ทำให้เกิดโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ สภาวะทางประสาท เช่น โรคกระดูกสันหลังเสื่อมนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ ในบางกรณี เซลล์ประสาทรับความรู้สึกอาจจะได้รับผลกระทบและทำให้เกิดอาการคัน โรคเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน (Diabetes […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้ชายกับผู้หญิง...รู้มั้ย ใครแก่เร็วกว่า กัน?

ผู้ชายกับผู้หญิง นอกจากจะมีความแตกต่างกันทางด้านสรีระและอะไรอีกหลายๆ อย่างแล้ว ความแก่ก็ยังเกิดขึ้นแตกต่างกันด้วย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วผู้ชายกับผู้หญิง ใครแก่เร็วกว่า กัน ลองอ่านรายละเอียดนี้ดูแล้วจะรู้ ใครแก่เร็วกว่า ระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย ฮอร์โมน ทั้งผู้หญิงและผู้ชายเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเพศ โดยผู้หญิงมักจะเกิดอาการของวัยหมดประจำเดือน ซึ่งจะเกิดในช่วงที่มีอายุประมาณ 50 ปี ซึ่งผู้หญิงจะหยุดมีรอบเดือน และรังไข่ก็หยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วย ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยๆ ก็คือร้อนวูบวาบ อ่อนเพลีย ภาวะช่องคลอดแห้ง และมีความต้องการทางเพศต่ำ ส่วนผู้ชาย…ความแก่ชราไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบปุบปับเหมือนผู้หญิง โดยจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า ซึ่งระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะลดลงอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า ‘ผู้ชายวัยทอง‘ โดยระดับเทสโทสเตอโรนจะลดลงโดยเฉลี่ยปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ หลังจากอายุ 30 ปีไปแล้ว โดยระดับฮอร์โมนที่ลดลงนี้จะทำให้เกิดอาการต่างๆ อย่างเช่น เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความต้องการทางเพศลดลง และรูปแบบการนอนเปลี่ยนไป ซึ่งไม่เหมือนอาการวัยทองของผู้หญิง ที่สิ้นสุดการเจริญพันธุ์ไปเลย แต่ผู้ชายยังสามารถมีลูก และผลิตเชื้ออสุจิได้อยู่ ความหนาของผิวหนัง ความที่ผู้ชายมีผิวที่หนากว่า ก็เลยทำให้เกิดริ้วรอยได้ยากกว่าผู้หญิง ที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องจากระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนของผู้ชาย จะทำให้ผู้ชายมีผิวหนากว่าของผู้หญิงประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ผู้ชายยังมีคอลลาเจนหนาแน่นกว่าด้วย รวมทั้งมีผิวที่หยาบกว่าและมีความชุ่มชื้นตามธรรมชาติมากกว่า เนื่องจากผู้ชายจะมีเหงื่อออกมากกว่า และมีกรดแลคติคในเหงื่อมากกว่า ปัจจัยทางด้านน้ำหนัก ถึงแม้คนเราจะค่อยๆ สูญเสียมวลกล้ามเนื้อหลังวัย 30 ปี แต่ผู้หญิงกับผู้ชายจะมีน้ำหนักขึ้นต่างกัน ซึ่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริการายงานว่า […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน