backup og meta

การใช้หูฟัง ให้ปลอดภัย ไม่สูญเสียการได้ยิน

การใช้หูฟัง ให้ปลอดภัย ไม่สูญเสียการได้ยิน

ปัจุบัน หูฟัง แทบจะเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่เราแทบจะขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะขึ้นรถไฟฟ้า วิ่งที่สวนสาธารณะ หรือออกกำลังกายที่ฟิตเนส ทุกคนล้วนใช้หูฟังแทบจะตลอดเวลา บางครั้งขณะทำงานเราก็เปิดเพลง ใส่หูฟังไปด้วย แต่บางครั้งหลายคนอาจจะใช้หูฟังแบบผิดๆ จนทำให้เกิดปัญหาในการสูญเสียการได้ยิน วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำแนะนำใน การใช้หูฟัง อย่างไรให้ปลอดภัยมาฝากกันค่ะ

การใช้หูฟัง ทำให้สูญเสียการได้ยินได้หรือไม่

การที่ต้องเผชิญกับเสียงดังๆ อย่างในผับ คอนเสิร์ต หรือแม้กระทั่งในร้านคาราโอเกะ รวมไปถึงการใช้หูฟัง เปิดเพลงดัง ๆ เป็นเวลานาน กิจกรรมการได้รับเสียงดัง ๆ เหล่านี้ หากได้รับเสียงที่ดังในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายต่อหู หรือเกิดความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยินได้

องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้มีการประมาณการไว้ว่าประชากรหนุ่มสาวกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลกนั้น อาจมีความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยิน จากในจำนวนนี้ ผู้ที่อายุ 13-35 ปี จำนวนมากว่า 43 ล้านคนใช้มีปัญหาในการสูญเสียการได้ยิน ซึ่งจำนวนร้อยละ 50 นั้นสูญเสียการได้ยินจากปัญหาในการใช้หูฟัง

ใช้หูฟัง ให้ปลอดภัย ทำได้อย่างไร

การใช้หูฟังให้มีความปลอดภัยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างคือ ระดับความดัง ระยะเวลาในการใช้งาน และความถี่ที่ได้รับ ปัจจัยทั้งสามนี้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ซึ่งการได้รับเสียงดัง ในระยะเวลาสั้น อาจมีค่าเท่ากับการได้รับเสียงที่เบาลงแต่ได้รับนานขึ้น

ระดับเสียงสูงสุดที่มีความเหมาะสมและปลอดภัย ที่ควรจะได้รับคือ 85 เดซิเบลแต่ไม่ควรนานเกิน 8 ชั่วโมง แต่หากระดับเสียงที่เพิ่มขึ้น จำนวนเวลานั้นก็จะลดลงตามไปด้วย เช่น ระดับเสียง 100 เดซิเบล จะสามารถได้รับเสียงไม่เกิด 15 นาทีต่อวัน

โดยทั่วไปแล้ว หูฟังที่เราใช้กันอยู่นั้นจะมีระดับเสียงเริ่มต้นตั้งแต่ 75 เดซิเบล ไปจนถึง 136 เดซิเบล ซึ่งปกติแล้วคนเรามักจะตั้งค่าระดับเสียงไว้ที่ 75-105 เดซิเบล ดังนั้นการที่จะใช้หูฟังให้มีความปลอดภัยนั้น คุณจะต้องคำนวณว่าคุณใช้ระดับเสียงอยู่ที่เท่าไร และใช้นานกี่ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพหู

วิธีง่ายๆ ที่ช่วยป้องกันการสูญเสียการได้ยิน

เราไม่สามารถป้องกัน การสูญเสียการได้ยินได้เสมอไป เพราะบางครั้งอาจเกิดจากความแก่ตัวลง ทำให้อวัยวะนั้นเสื่อมสภาพลงไปด้วย แต่ก็ยังมีวิธีการบางอย่างที่สามารถช่วยป้องกันการสูญเสียการได้ยินได้ ดังนี้

หลีกเลี่ยงเสียงดัง

การหลีกเสี่ยงเสียงดัง เป็นวิธีการหลีกเลี่ยงการสูญเสียการได้ยินที่ดีที่สุด ซึ่งวิธีการสังเกตง่ายว่าเสียงนั้นดังเกินไปแล้วหรือไม่ คือ

ระมัดระวังเมื่อใช้หูฟัง

การฟังเพลงจากหูฟังนั้น บางครั้งอาจอาจเผลอเพิ่มเสียงจนดังเกินไป ซึ่งอาจทำให้ส่งผลกระทบกับการได้ยิน ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ ด้วยวิธีเหล่านี้

  • ใช้หูฟังที่ช่วยตัดเสียงรบกวน เพื่อที่จะไม่ต้องเพิ่มเสียงให้ดังเพื่อกลบเสียงรบกวน
  • ปรับระดับเสียงให้พอเหมาะ ไม่ดังเกินไป
  • ไม่ปรับระดับเสียงเกินร้อยละ 60 ของเครื่องเล่นนั้นๆ
  • ไม่ใช้หูฟังมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง โดยให้ฟังอย่างน้อย 5 นาทีในทุก ๆ 1 ชั่วโมง

ตรวจสุขภาพหู

หากมีความกังวลว่าตนเองนั้นจะสูญเสียการได้ยิน หรือรู้สึกมีปัญหาในการได้ยิน ควรไปตรวจสุขภาพหูว่ายังปลอดภัยหรือไม่ สูญเสียการได้ยินหรือเปล่า อย่าปล่อยทิ้งปัญหาไว้นานเพราะอาจจะช้าเกินไปที่จะรักษา หากคุณเป็นนักดนตรี หรือต้องทำงานที่ได้ยินเสียงดัง ๆ อยู่เสมอควรไปตรวจสุขภาพหูอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Make Listening Safe

https://www.who.int/pbd/deafness/activities/MLS_Brochure_English_lowres_for_web.pdf

5 ways to prevent hearing loss

https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/top-10-tips-to-help-protect-your-hearing/

Use Earbuds and Headphones Safely

https://www.montefiorenyack.org/health/use-earbuds-and-headphones-safely

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/09/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

จู่ ๆ ก็ หูดับเฉียบพลัน แบบกะทันหัน ภาวะอันตรายที่คุณควรระวัง

เสียงแว่วในหู แค่คิดไปเอง หรือ เกิดความผิดปกติกับ "หู"



เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 21/09/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา