backup og meta

จมูกหัก (Broken Nose)

จมูกหัก (Broken Nose)

จมูกหัก (ฺBroken Nose) เป็นการบาดเจ็บบนใบหน้าที่พบได้บ่อยที่สุด ทั้งยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย แต่ผู้ที่เล่นกีฬาที่ต้องใช้คนจำนวนมาก มักจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป นอกจากนั้น ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพกระดูก ก็มีความเสี่ยงที่จะจมูกหักได้มากกว่าคนทั่วไปเช่นกัน

[embed-health-tool-bmi]

คำจำกัดความ

จมูกหัก (Broken Nose) คืออะไร

จมูกหัก เรียกอีกอย่างว่า “การร้าวของจมูก” คือการแตกหรือร้าวของกระดูกในจมูก ซึ่งมักเป็นกระดูกที่อยู่เหนือดั้งจมูก จมูกหักมักเป็นผลมาจากการบาดเจ็บที่ใบหน้า ซึ่งอาจจะจะมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น ความเจ็บปวด ความผิดปกติที่มองเห็นได้ อย่างเช่น จมูกมีเลือดไหล ในกรณีที่รุนแรงอาจจะทำให้เกิดการหายใจลำบาก มีรอยช้ำรอบดวงตาหรือตาดำ

จมูกหักพบบ่อยเพียงใด

จมูกหักเป็นการบาดเจ็บบนใบหน้าที่พบได้บ่อยที่สุด ทั้งยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้น ทุกคนจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจมูกหักได้

อาการ

อาการของจมูกหัก

สำหรับอาการที่สามารถบ่งบอกได้ว่าจมูกของคุณหัก มีดังนี้

  • ปวดหรือเจ็บบริเวณรอบ ๆ จมูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่สัมผัสกับจมูก
  • อาการบวมที่จมูกหรือบริเวณโดยรอบ
  • มีเลือดออกจากจมูก
  • มีรอยฟกช้ำบริเวณจมูกและตา ซึ่งมักจะหายไปหลังจาก 2-3 วัน
  • จมูกเบี้ยว งอ หรือผิดรูป แม้ว่าจะไม่เกิดการหักก็ตาม
  • หายใจทางจมูกลำบาก
  • รู้สึกว่าจมูกข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างถูกปิดกั้น
  • มีของเหลวใสไหลออกจากจมูกโดยที่ไม่สามารถหยุดได้
  • มีเสียงถู เสียงเสียดสี หรือความรู้สึกเมื่อขยับจมูก

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณได้รับบาดเจ็บที่จมูกพร้อมกับอาการต่าง ๆ เช่น

  • การบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ ซึ่งอาจมีอาการปวดศีรษะ หรือปวดคออย่างรุนแรง
  • อาเจียน หรือหมดสติ
  • หายใจลำบาก
  • เลือดออกทางจมูกโดยที่ไม่สามารถหยุดได้
  • การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดในรูปร่างของจมูกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบวม เช่น จมูกคด หรือเบี้ยว
  • ของเหลวใสไหลออกจากจมูกโดยที่ไม่สามารถหยุดได้

การไปพบคุณหมอโดยทันที่จะเป็นการดีที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลัง หากคุณยังไม่แน่ใจหรือสงสัยว่า จมูกหักหรือไม่ ก็ควรที่จะต้องไปพบคุณหมอโดยทันทีเช่นกัน แต่ถ้าคุณสงสัยว่านอกจากจมูกหักแล้ว ยังอาจได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ ให้หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว และรีบโทรเรียกรถพยาบาลให้มาช่วยเคลื่อนย้ายจะเป็นการดีที่สุด

สาเหตุ

สาเหตุของจมูกหัก

จมูกหักมักเกิดขึ้นร่วมกับการบาดเจ็บที่ใบหน้า ลำคอ หรือบริเวณอื่น ๆ เมื่อจมูกหักจะมีผลกระทบอย่างกะทันหันต่อจมูก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการแตกหักของจมูก สำหรับสาเหตุที่ทำให้จมูกหักบ่อยมากที่สุด ได้แก่

  • เดินชนกำแพง
  • หกล้ม
  • โดนกระแทกระหว่างที่เล่นกีฬาที่ต้องใช้ผู้เล่นจำนวนมาก
  • โดนต่อย หรือเตะที่จมูก
  • อุบัติเหตุทางรถยนต์

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของจมูกหัก

อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้น ทุกคนจึงมีความเสี่ยงที่จะจมูกหักได้ อย่างไรก็ตาม กิจกรรมบางอย่างสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดจมูกหักได้ โดยเฉพาะผู้ที่เล่นกีฬาที่ต้องใช้ผู้เล่นจำนวนมาก เช่น

ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงจมูกหัก ได้แก่

  • มีส่วนร่วมในการทะเลาะวิวาท
  • การขับรถยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
  • ปั่นจักรยาน
  • เล่นสกีและสโนว์บอร์ด

นอกจากนั้นแล้ว คนบางกลุ่มก็มีความเสี่ยงที่จะจมูกหักได้โดยอัตโนมัติทั้งที่ไม่ได้ร่วมเล่นกีฬาหรือกิจกรรมทางกายอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กและผู้ใหญ่ สุขภาพกระดูกเป็นปัญหาเฉพาะสำหรับคนทั้ง 2 กลุ่มและดูเหมือนว่าการหกล้มก็เป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้เสมอในหมู่ของพวกเขา เด็กมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดกระดูกหัก เนื่องจากยังคงสร้างมวลกระดูก ซึ่งเด็กวัยหัดเดินและเด็กเล็ก มีความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษ ดังนั้น การใส่อุปกรณ์ที่เหมาะสมเสมอในระหว่างการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยจมูกหัก

อาจจเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจหากจะกล่าวว่า การเอ็กซเรย์นั้นไม่ได้มีประโยชน์ในการวินิจฉัยและรักษาจมูกหัก โดยทั่วไปการวินิจฉัยจะขึ้นอยู่กับลักษณะของจมูก รวมถึงคุณมีปัญหาในการหายใจหรือไม่ การเอ็กซเรย์หรือการใช้ CT สแกนในบางครั้งทำเพื่อดูว่าศีรษะหรือคอมีการแตกหักหรือไม่ นอกจากนั้นยังอาจขึ้นอยู่กับการบาดเจ็บอื่น ๆ

การรักษาจมูกหัก

สำหรับวิธีการรักษาจมูกหักจะขึ้นอยู่กับอาการ คุณอาจจะต้องได้รับการรักษาพยาบาลทันที หรืออาจจะทำการปฐมพยาบาลที่บ้านก่อน แล้วจึงไปพบคุณหมอตามความสะดวกของคุณ

การปฐมพยาบาลที่บ้าน

หากคุณไม่มีอาการที่ควรได้รับการรักษาพยาบาลทันที อาจจะมีบางสิ่งที่คุณสามารถทำการปฐมพยาบาลที่บ้านก่อนไปที่จะพบคุณหมอ โดยสามารถทำได้ดังนี้

  • หากคุณมีเลือดออก ให้นั่งลงและโน้มตัวไปข้างหน้า แล้วหายใจทางปาก วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เลือดไหลลงคอ
  • หากคุณไม่มีเลือดออก ให้ยกศีรษะขึ้นเพื่อลดอาการปวด
  • ลดอาการบวมด้วยการใช้ลูกประคบเย็น หรือน้ำแข็งห่อด้วยผ้า ประคบที่จมูกเป็นเวลา 15-20 นาที วันละ 3-4 ครั้ง
  • ทานอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือ ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อบรรเทาอาการปวด

คนส่วนใหญ่มักไม่ได้คำนึงถึงโครงสร้างทั้งหมดที่อาจได้รับผลกระทบจากการบาดเจ็บที่ใบหน้าและจมูกหัก ดังนั้น จะเป็นการดีอย่างยิ่งหากได้รับการประเมินการบาดเจ็บบนใบหน้าโดยทันที เพื่อประเมินขอบเขตของการบาดเจ็บอย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ไขจมูกที่หักหรือร้าวจะทำได้ง่ายขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์หลังจากที่ได้รับบาดเจ็บ

หลังจากได้รับบาดเจ็บที่จมูกแล้ว คุณหมอควรตรวจสอบความเสียหายของเยื่อบุโพรง ซึ่งเป็นช่องว่างภายในจมูก หากมีการรวมตัวของเลือดที่บริเวณกะบัง คุณจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

การรักษาทางการแพทย์

หากจมูกของคุณหักเพียงบางส่วน ควรจะต้องได้รับการรักษาอย่างครอบคลุม หากการบาดเจ็บของคุณเพียงพอ คุณหมออาจจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • ห่อจมูกของคุณด้วยผ้าก๊อซและอาจใส่เฝือกไว้
  • สั่งยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะ
  • ทำการผ่าตัดลดขนาดแบบปิด ซึ่งคุณหมอจะให้ยาชาเฉพาะที่ เพื่อทำให้จมูกของคุณไม่มีความรู้สึก จากนั้น คุณหมอจะทำการปรับแต่งจมูกด้วยตัวเอง
  • ทำการผ่าตัดเสริมจมูก ซึ่งเป็นการผ่าตัดเพื่อปรับแต่งจมูกของคุณ
  • ทำการผ่าตัดเยื่อบุโพรงจมูก ซึ่งเป็นการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเยื่อบุโพรงจมูกของคุณ

คุณจะไม่ได้รับการผ่าตัดเพื่อลดขนาดแบบปิด การผ่าตัดเสริมจมูก และการผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกคด (Septoplasty) จนกว่าการอาการบวมจะลดลง และการได้รับบาดเจ็บต้องผ่านไป 3-10 วันแล้ว

บางครั้งจมูกหักอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ เมื่อมีกระดูกเพียงเล็กน้อยที่ไม่ได้อยู่ในแนวตั้ง อย่างไรก็ตาม จำเป็นจะต้องมีการประเมินโดยคุณหมอเสมอ เพื่อให้คุณหมอเป็นผู้ระบุว่า การรักษาใดที่เหมาะสม การบาดเจ็บระดับปานกลางถึงรุนแรงอาจจะต้องได้รับการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดนั้นควรเกิดขึ้นภายใน 14 วัน หลังจากที่ได้รับความบาดเจ็บ ซึ่งความเจ็บปวดและความรู้สึกไม่สบายจากการผ่าตัด ควรเริ่มลดลงภายใน 72 ชั่วโมงของขั้นตอน

การรักษาพยายาลที่แตกต่างกัน ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไปด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงขอบเขตของการรักษาและประกันที่คุณมีอยู่ โดยส่วนใหญ่แล้ว หากเกิดการบาดเจ็บจนถึงขั้นต้องทำการผ่าตัด การผ่าตัดเสริมจมูกจะอยู่ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัย เช่น เอ็กซเรย์ และการตรวจกับคุณหมอ เป็นต้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Broken nose. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/broken-nose/symptoms-causes/syc-20370439. Accessed January 06, 2021

Broken nose. https://www.nhs.uk/conditions/broken-nose/. Accessed January 06, 2021

Broken Nose. https://www.healthline.com/health/nose-fracture. Accessed January 06, 2021

Broken Nose. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/is-my-nose-broken#1. Accessed January 06, 2021

Broken Nose (Nasal Fracture). https://www.health.harvard.edu/a_to_z/broken-nose-nasal-fracture-a-to-z. Accessed January 06, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/11/2022

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

นิ้วซ้น อาการ สาเหตุ วิธีรักษา และการป้องกัน

หายใจไม่สะดวก คัดจมูกบ่อยๆ อาจมีสาเหตุมาจาก ผนังกั้นช่องจมูกคด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 03/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา