backup og meta

กะหล่ำปลีป้องกันมะเร็ง ได้จริงหรือไม่ อย่างไร

กะหล่ำปลีป้องกันมะเร็ง ได้จริงหรือไม่ อย่างไร

กะหล่ำปลี เป็นพืชตระกูลกะหล่ำ โดยเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน เช่น บร็อคโคลี่ ผักบ็อกฉ่อย กะหล่ำดอก คะน้า กวางตุ้งดอก ซึ่งเป็นผักที่มีปริมาณสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ หลายชนิด อย่างวิตามิน เกลือแร่ และอุดมไปด้วยสารพฤกษเคมีทีมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ประโยชน์ที่โดดเด่นของกะหล่ำปลีคืออาจช่วยต้านมะเร็ง รวมทั้งอาจช่วยบำรุงระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

[embed-health-tool-bmi]

คุณค่าทางโภชนาการของกะหล่ำปลี

กะหล่ำปลีจำนวน  1 ถ้วย หรือประมาณ 89 กรัม ให้พลังงานประมา  22 กิโลแคลอรี่  นอกจากนั้น ยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์  วิตามินเค วิตามินซี โฟเลต แมงกานีส วิตามินบี6 แคลเซียม โพแทสเซียม และ แมกนีเซียม รวมถึงวิตามินเอ ธาตุเหล็ก และไรโบฟลาวิน

อาจช่วยต้านมะเร็ง  

พืชตระกูลกะหล่ำ รวมถึงกะหล่ำปลี เป็นพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์หลายชนิด รวมถึงสารประกอบในพืชที่เรียกว่า สารซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านเซลล์โดยทำหน้าที่ยับยั้งเอนไซม์ Histone Deacetylase (HDAC) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ส่วนช่วยให้เซลล์มะเร็งมีการเจริญเติบโตมะเร็ง ดังนั้น การบริโภคกะหล่ำปีจึงอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับ สารอินโดล-3-คาร์บินอล (Indole-3 Carbinol) ฮอร์โมนจากพืชที่อาจช่วยต่อสู้กับมะเร็ง เผยแพร่ในวารสาร F1000Research พ.ศ. 2561 สรุปว่า สารอินโดล-3-คาร์บินอล ในพืชตระกูลกะหล่ำ รวมทั้งกะหล่ำปลี อาจช่วยป้องกันมะเร็งเนื่องจากอุดมไปด้วยสารพฤกษเคมี (Phytochemicals)  ซึ่งเป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ในการดูแลสุขภาพร่างกายมนุษย์ โดยมีการทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารอินโดล-3-คาร์บินอลในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง

นอกจากกะหล่ำปลีอาจช่วยต้านมะเร็งได้แล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ ดังนี้

อาจช่วยปรับปรุงระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย

สารอาหารต่าง ๆ ล้วนแต่มีส่วนสำคัญต่อการปรับปรุงการทำงานภายในของร่างกายโดยเฉพาะการเผาผลาญพลังงาน และการทำงานของระบบประสาท นอกจากนี้ ยังช่วยปกป้องร่างกาย จากความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ หากร่างกายมีปริมาณสารอนุมูลอิสระสูงเกินไป สารเหล่านี้จะเข้าไปทำลายเซลล์ในร่างกายทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้ง่าย

อาจช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง

กะหล่ำปลีเป็นพืชที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพในการช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงการสูญเสียการมองเห็น และป้องกันโรคมะเร็ง อีกทั้งช่วยบำรุงสุขภาพและระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

ข้อควรระวังในการบริโภคกะหล่ำปลี

แม้ว่ากะหล่ำปลีจะมีวิตามิน และแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่บุคคลบางกลุ่มควรระมัดระวังการบริโภคกะหล่ำปลี ได้แก่

  • ผู้ที่มีประวัติหรืออาการแพ้ผักที่มาจากพืชตระกูลกะหล่ำ อย่างเช่น บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก อาจแพ้กะหล่ำปลีได้เช่นกัน
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรระมัดระวังกาบริโภคกะหล่ำปลีในปริมาณมาก เพราะกะหล่ำปลีอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
  • ผู้ที่มีปัญหาในด้านการทำงานของต่อมไทรอยด์ ในกลุ่มไฮโปไทรอยด์ (hypothyroidism) ซึ่งเป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ การรับประทานกะหล่ำปลีดิบ อาจทำให้ได้รับสาร กอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งเป็นสารที่ขัดขวางการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ ซึ่งอาจทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้ต่ำขึ้น อย่างไรก็ตาม หากกะหล่ำปลีผ่านความร้อน สารกอยโตรเจนที่มีในกะหล่ำปลีก็จะหายไป ดังนั้น จึงควรล้างทำความสะอาดและทำให้กะหล่ำปลีสุกก่อนบริโภคทุกครั้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The health benefits of cabbage https://www.medicalnewstoday.com/articles/284823.php. Accessed September 27, 2022.

Indole-3-carbinol: a plant hormone combatting cancer. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5989150/. Accessed September 27, 2022.

Cruciferous Vegetables and Cancer Prevention https://www.cancer.gov/about-cancer/causes-prevention/risk/diet/cruciferous-vegetables-fact-sheet. Accessed September 27, 2022.

Cabbage found to produce anti-cancer chemicals https://www.ramsayhealth.co.uk/about/latest-news/cabbage-anti-cancer. Accessed September 27, 2022.

CABBAGE https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-171/cabbage. Accessed September 27, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/09/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

การบริโภค อาหารออร์แกนิก ลดความเสี่ยงมะเร็ง ได้จริงหรือไม่

กะหล่ำปลี กินแล้วผิวสวยใส หน้าไม่เหี่ยว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 28/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา