ผลไม้ไทย มีหลากหลายชนิด ทั้งมะม่วง มะพร้าว กล้วย และอื่น ๆ ที่ล้วนอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย ทั้งอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง รวมถึงอาจเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล
ผลไม้ไทย มีหลากหลายชนิด ทั้งมะม่วง มะพร้าว กล้วย และอื่น ๆ ที่ล้วนอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย ทั้งอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง รวมถึงอาจเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
ผลไม้ไทย ที่เป็นที่นิยม มักจะมีรสชาติอร่อย รับประทานแล้วสดชื่น ราคาย่อมเยา และอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณ ดังนี้
สับปะรด เป็นผลไม้เมืองร้อนที่มีลักษณะเป็นหนามแหลมภายนอก หรือเรียกอีกอย่างว่า ตาสับปะรด มีเนื้อสีเหลือง ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยว
สับปะรด 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 50 แคลอรี่ และมีคุณค่าทางสารอาหาร ดังนี้
นอกจากนี้ สับปะรดยังมีธาตุเหล็ก แคลเซียม แมงกานีส สังกะสี ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบย่อยอาหาร ป้องกันการอักเสบจากอนุมูลอิสระ อาจช่วยลดความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด ที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน
จากการศึกษาในวารสาร Food Research International ปี พ.ศ. 2564 เกี่ยวกับคุณค่าโภชนาการของสับปะรดและประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยระบุว่า สับปะรดมีใยอาหาร แร่ธาตุ และสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในปริมาณมาก ที่อาจช่วยต้านอนุมูลอิสระ ควบคุมการทำงานของระบบประสาท และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบขับถ่าย ที่อาจช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้
มะม่วงเป็นผลไม้ที่มีหลากหลายสายพันธุ์ นิยมรับประทานทั้งแบบสุกและแบบดิบ มีรสชาติหวาน เปรี้ยว หรือมัน อีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น โพแทสเซียม วิตามินซี วิตามินเค ที่อาจช่วยต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคลำไส้อักเสบและโรคมะเร็ง
มะม่วง 1 ถ้วย ให้พลังงานประมาณ 99 แคลอรี่ และมีคุณค่าทางสารอาหาร ดังนี้
จากการศึกษาในวารสาร Nutrients ปี 2560 ที่ศึกษาประโยชน์ของมะม่วงที่มีต่อสุขภาพ พบว่า มะม่วงมีสารโพลีฟีนอล (Polyphenols) แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) วิตามินซี และวิตามินอี ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระซึ่งอาจทำให้เกิด ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) ที่เป็นสาเหตุทำให้เซลล์เสื่อมสภาพ อีกทั้งอาจช่วยต้านการอักเสบในลำไส้ ลดความเสี่ยงการเกิดแผลในลำไส้ ที่อาจนำไปสู่โรคลำไส้อักเสบ มะเร็งลำไส้ รวมถึงอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญเพื่อช่วยรักษาความสมดุลของน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดสูงที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวาน
มะพร้าว เป็นผลไม้ที่มีผลภายนอกมีสีเขียว มีเนื้อสีขาวและมีน้ำอยู่ภายใน สามารถรับประทานแบบสด หรือนำมาขูดเพื่อคั้นเป็นน้ำกะทิ ใช้สำหรับประกอบอาหารหรืออาจแปรรูปเป็นมะพร้าวอบแห้ง มะพร้าวอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม แคลเซียม ที่อาจช่วยลดน้ำหนัก ช่วยป้องกันโรคหัวใจ บรรเทาอาการอักเสบ และอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อได้
เนื้อมะพร้าว 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 354 แคลอรี่ และมีคุณค่าทางสารอาหาร ดังนี้
จากการศึกษาในหนังสือ The Coconut Palm (Cocos nucifera L.) – Research and Development Perspectives ปี พ.ศ. 2561 ที่ได้ระบุถึงโภชนาการของมะพร้าวและสุขภาพไว้ว่า การรับประทานมะพร้าวไม่ว่าจะอยู่ในรูบแบบ น้ำมะพร้าว น้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำมันมะพร้าว ก็ล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยอาจช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือด เพิ่มระดับไขมันดีในเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งเนื้อมะพร้าวยังมีใยอาหาร ที่อาจช่วยลดคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด จึงอาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้
ส้มเป็นผลไม้รสเปรี้ยว และมีหลากหลายสายพันธุ์ อีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งวิตามินซี วิตามินเอ โพแทสเซียม และสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ อย่าง ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) แคโรทีนอยด์ ที่อาจช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่อาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรค และอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อช่วยป้องกันร่างกายจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ช่วยให้สมานแผลได้ไว และอาจช่วยป้องกันภาวะจอประสาทตาเสื่อม รวมถึงโรคหัวใจ และโรคมะเร็งได้อีกด้วย
ส้มขนาดกลาง 1 ผล ให้พลังงานประมาณ 60 แคลอรี่ และมีคุณค่าทางสารอาหาร ดังนี้
จากการศึกษาในวารสาร Journal of Agricultural and Food Chemistry ปี พ.ศ. 2551 ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับชีวปริมาณออกฤทธิ์ (Bioavailability) และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารประกอบในน้ำส้ม ซึ่งศึกษาในกลุ่มอาสาสมัคร 13 คน ผู้หญิง 7 คน และผู้ชาย 6 คน อายุระหว่าง 28-51 ปี ที่มีสุขภาพดี โดยให้บริโภควิตามินซี 256 มิลลิกรัม เฮสเพอริดิน (Hesperidin) ที่เป็นเคมีพืชจัดอยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ 229 มิลลิกรัม แคโรทีนอยด์ 6 มิลลิกรัม และโฟเลต 0.16 มิลลิกรัม โดยผสมน้ำส้มที่ไม่เข้มข้น 236 มิลลิกรัม/ต่อวัน และทำการเก็บตัวอย่างเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง เพื่อนำมาวิเคราะห์ พบว่า มีแคโรทีนอยด์หมุนเวียนในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น 22% และความเสียหายในเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือในระบบภูมิคุ้มกันลดลง 16%
กล้วยเป็นผลไม้เมืองร้อนที่นิยมรับประทานตั้งแต่สมัยโบราณ มีรสชาติหวานหอมและมีหลากหลายสายพันธุ์ นิยมรับประทานสด หรือนำมาประกอบอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม กล้วยมีสารอาหารที่สำคัญกับการทำงานของร่างกาย ทั้งโพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามินซี อีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ที่อาจช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกและกล้ามเนื้อ อาจป้องกันนิ่วในไต และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้
กล้วยขนาดกลาง 1 ลูก ให้พลังงานประมาณ 105 แคลอรี่ และมีคุณค่าทางสารอาหาร ดังนี้
จากการศึกษาในวารสาร Banana Nutrition – Function and Processing Kinetics ปี พ.ศ. 2562 ที่ศึกษาเกี่ยวกับการดูดซึม การใช้ประโยชน์ และประโยชน์ของกล้วยต่อสุขภาพ โดยระบุว่ากล้วยอุดมไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น แคโรทีนอยด์ ฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ (Glycoside) แทนนิน (Tannins) อัลคาลอยด์ (Alkaloid) ซาโปนิน (Saponin) ที่อาจช่วยปกป้องร่างกายจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง อีกทั้งยังอาจช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด จึงอาจป้องกันโรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
พลอย วงษ์วิไล
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย