backup og meta

ผักโขม สุดยอดผักใบเขียว ที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 29/07/2020

    ผักโขม สุดยอดผักใบเขียว ที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์

    ผักโขม ที่หลาย ๆ คนเรียกว่า “ผักขม’ เมื่อฟังชื่อผ่าน ๆ อาจทำให้คุณรู้สึกว่าผักนี้มีรสชาติที่ไม่น่ารับประทานเสียเท่าไหร่นัก แต่จริง ๆ แล้วนั้น รสชาติของมันอาจอร่อยกว่าที่คุณคิด พร้อมทั้งยังมีสารอาหารที่เข้าไปช่วยปรับปรุงสุขภาพของคุณให้ดีขึ้นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนมารู้จักกับ ผักโขม สุดยอดผักใบเขียว ให้มากขึ้น เพื่อเป็นการเปิดรับผักใบเขียวอีกชนิดมาประกอบอยู่คู่ในเมนูอาหารของคุณ

    คุณค่าทางสารอาหารของ ผักโขม สุดยอดผักใบเขียว

    ผักโขม (Spinach) คือ ผักใบเขียวที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอิหร่าน หรือเปอร์เซีย ที่มีชื่อเรียกอย่างทางการว่าสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน

    ผักโขมเป็นผักที่เกี่ยวข้องกับตระกูลของผักกาด ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ให้คุณประโยชน์แก่ร่างกาย โดยเพียงแค่รับประทาน 1 ถ้วย หรือในปริมาณ 100 กรัม ต่อวันก็อาจทำให้คุณได้รับสารอาหารนานาชนิด ดังนี้

    • พลังงาน 23 แคลอรี่
    • คาร์โบไฮเดรต 3.6 กรัม
    • โปรตีน 2.9 กรัม
    • ไฟเบอร์ 2.2 กรัม
    • น้ำตาล 0.4 กรัม
    • ไขมัน 0.4 กรัม
    • น้ำ 91%
    • แคลเซียม 250 มิลลิกรัม

    นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุนานาชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินเค1 แมกนีเซียม กรดโฟเลต (Folate acid) เป็นต้น นับได้ว่าเพียงแค่ทานในปริมาณที่พอเหมาะต่อวันเช่นนี้ ก็อาจทำให้คุณได้รับสารอาหารแทบจะครบถ้วนได้เลยทีเดียว

    ผักโขม สุดยอดผักใบเขียว มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

    1. เสริมสร้างสุขภาพของดวงตาให้มีการทำงานที่ดีขึ้น

    ผักโขมมีเบต้า แคโรทีน (Beta-carotene) ซีแซนทิน (Zeaxanthin) ลูทีน (Lutein) และคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ที่ประกอบอยู่ในผักใบเขียว ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงสายตาของคุณจากการเสื่อมสภาพ และปกป้องดวงตาของคุณที่ได้รับความเสียหายจากแสงแดดให้ยังคงมีการทำงานได้ดีอยู่เสมออีกด้วย

    1. ลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน

    สารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในผักโขมนั้น คือกรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-Lipoic Acid ; ALA) ซึ่งได้มีการศึกษาหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่า กรดดังกล่าวสามารถเข้าไปช่วยลดระดับของกลูโคส ที่เป็นสาเหตุหนึ่งในการเพิ่มอินซูลินที่เชื่อมโยงไปยังโรคเบาหวานให้ลดลง รวมทั้งยังช่วยละระดับความดันของโลหิตที่อาจนำไปสู่โรคหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ป้องกันโรคมะเร็ง
  • ผักโขมมีองค์ประกอบหลักที่อยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ของพืช ที่เรียกว่า Monogalactosyl diglycerides (MGDG) ซึ่งเป็นสารที่อาจช่วยในการชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง หรือเนื้องอกในปากมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก

    จากการศึกษาในปีพ.ศ. 2556 ของสัตว์จำนวน 12,000 ตัว ยังแสดงให้เห็นอีกว่าคลอโรฟิลล์ ในผักโขมมีประสิทธิภาพในการยับยั้งสารบางอย่างที่อยู่ในกลุ่มเฮเทอโรไซคลิก เอมีนส์ (Heterocyclic amines ; AHCAs) ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดมะเร็งได้

    1. เพิ่มความแข็งแรงให้แก่กระดูก

    วิตามินเค1 แมกนีเซียม โพแทสเซียม เป็นแหล่งอาหารชั้นดีที่สามารถเข้าไปช่วยปรับปรุงให้กระดูกของคุณแข็งแรงขึ้น และยังอาจทำให้ลดความเสี่ยงจากอาการกระดูกร้าวแตกหัก พร้อมทั้งยังช่วยรักษาระดับของแคลเซียมในกระดูกให้คงที่

    1. บำรุงสุขภาพผิว และเส้นผม

    วิตามินเอในผักขม มีบทบาทหน้าที่ในการช่วยควบคุมระบบการผลิตน้ำมันบนใบหน้า ตามรูขุมของเราได้เป็นอย่างดี ทำให้ลดอัตราการเกิดสิวได้มากขึ้น ที่สำคัญวิตามินเอยังเป็นสารอาหารที่จำเป็นอย่างมากในการกระตุ้นการทำงานของคอลลาเจนบนผิวหนัง และการเจริญเติบโตของเส้นผมบนหนังศีรษะของเราอีกด้วย

    ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เมื่อคุณทานผักโขม

    โดยทั่วไปการรับประทานผักโขมอาจปลอดภัยสำหรับผู้คนส่วนใหญ่ ยกเว้นผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพที่เกี่ยวกับอาการดังต่อไปนี้

    • การแข็งตัวของเลือด

    นอกจากวิตามินเค1 จะให้ประโยชน์แก่ร่างกายของเรา แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีการรับประทานยาในกลุ่มเจือจางเลือดเช่น วาร์ฟาริน (Warfarin)

    ผักโขมมีแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) อยู่สูง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการพัฒนาเป็นนิ่วในไตได้ในผู้ที่อยู่ในภาวะทางสุขภาพที่ค่อนข้างเสี่ยง เพราะนิ่วในไตส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการสะสมของเกลือแร่มากเกินควร โดยเฉพาะเกลือแร่แคลเซียมออกซาเลต

    ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ควรเริ่มจากการเช็ก และตรวจสอบสุขภาพของคุณเป็นอันดับแรก ว่าเหมาะสมกับอาหารประเภทใด และอาหารแบบใดที่เราควรหลีกเลี่ยง หรืออาจรับประทานตามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักโภชนาการให้คำแนะนำเบื้องต้น เพื่อความปลอดภัยจากความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 29/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา