backup og meta

พุทรา ผลไม้พื้นบ้าน กับประโยชน์ต่อสุขภาพที่คุณควรรู้

พุทรา ผลไม้พื้นบ้าน กับประโยชน์ต่อสุขภาพที่คุณควรรู้

คงจะพลาดกันไม่ได้กับ พุทรา อีกหนึ่งผลไม้ขนาดเล็ก เนื้อสัมผัสกรอบแบบพอดี ๆ มาพร้อมรสชาติหวานชื่นใจยามคุณรับประทาน แต่คุณรู้หรือไม่ว่า.. พุทราที่ขึ้นชื่อว่าเป็นผลไม้ขนาดเล็กนี้ ก็อาจสามารถให้คุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพได้ไม่น้อยเช่นกัน แต่จะมีข้อดีอย่างไรบ้างนั้น ลองมาติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ ที่นำมาฝากทุกคนกันได้เลยค่ะ

ทำความรู้จักกับ พุทรา ให้มากขึ้นกันเถอะ

พุทราเป็นผลไม้ที่เติบโตมาจากต้นไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งมีชื่อเชิงทางวิทยาศาสตร์ว่า Ziziphus jujuba โดยมีถิ่นกำเนิดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีน หรือแถบทางเอเชียตอนใต้ เมื่อผลสุกคุณจะสังเกตได้ว่าพุทราจะมีการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล แดงเข้ม หรือม่วง พร้อมมีรสชาติหวานกรอบ และรอยย่นบนพื้นผิวเล็กน้อย บางครั้งก็พบในท้องตลาดได้บ่อยในรูปแบบผลไม้แปรรูป เช่น อบแห้ง น้ำเชื่อม ผงชา เพื่อนำมาใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพร หรือเครื่องดื่มไว้รับประทาน

คุณประโยชน์ต่อสุขภาพจากพุทรา

สารอาหารในพุทราประกอบไปด้วย โปรตีน ไฟเบอร์ วิตามินซี โพแทสเซียม ที่ค่อนข้างมีส่วนช่วยปรับปรุงสุขภาพของคุณเป็นอย่างมาก และให้ประโยชน์แก่ร่างกายของคุณได้เป็นอย่างดี โดยคุณประโยชน์ของพุทราต่อสุขภาพอาจมีได้ ดังต่อไปนี้

  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน เพื่อต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง

เนื่องจากพุทรามีกรดไขมันไม่อิ่มตัวอยู่ภายใน เช่น กรดโอเลอิก (Oleic acid) กรดลิโนเลอิก (Linoleic acid) และกรดปาล์มิติก (Palmitic acid) ที่จำเป็นต่อร่างกายของเราในการช่วยป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง

อีกทั้งยังมีการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งพบว่า ผลไม้ชนิดนี้ยังมีกรดอีกหลายชนิด ที่เป็นสารประกอบคอยช่วยปรับปรุงกระบวนการ อะพอพโทซิส (Apoptosis) ในร่างกายที่เป็นประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็งได้อีกด้วย

  • ต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระอย่างฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) พอลิแซ็กคาไรด์  (Polysaccharide) และกรดไตรเทอร์เพนิก (Triterpenic acids) ที่อยู่ในพุทราเป็นสารประกอบซึ่งสามารถช่วยต้านอนุมูลอิสระ ที่คอยสร้างความเสียหายแก่ระบบต่าง ๆ ในร่างกายของเราได้ ที่สำคัญหากปล่อยอนุมูลอิสระไว้เป็นระยะเวลานาน หรือเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ก็อาจเสี่ยงต่อการประสบกับโรคเรื้อรังต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็งบางชนิด และโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เป็นต้น

  • ปรับปรุงสุขภาพจิต และระบบประสาท

การศึกษาหนึ่งพบว่าสารฟลาโวนอยด์ในพุทรา มีกลไกการออกฤทธิ์ที่ช่วยต้านอาการซึมเศร้า และลดระดับความเครียด เพื่อบรรเทาอาการวิตกกังวลให้เกิดการนอนหลับพักผ่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  พร้อมทั้งยังมีศักยภาพในการป้องกันเซลล์ประสาท เพื่อให้คุณนั้นได้ห่างไกลจากโรคสมองเสื่อม หรือโรคอัลไซเมอร์ ได้มากขึ้น

  • ส่งเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหาร

ด้วยเส้นใยอาหารจำนวนมากที่อยู่ในพุทรา อาจมีส่วนช่วยในการปรับปรุงการย่อยอาหาร ทำให้เกิดการขับถ่ายได้ดีขึ้น ลดอาการท้องผูก และเสริมสร้างเยื่อบุกระเพาะอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดความเสียหาย และแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อทางเดินอาหารได้เป็นอย่างดี

ข้อควรระวังในการรับประทาน พุทรา

สำหรับผู้บริโภคส่วนใหญ่การรับประทานพุทราอาจให้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย แต่ในขณะเดียวกันบางครั้งก็อาจก่อให้เกิดท้องอืด และสุขภาพบางอย่างเกี่ยวกับฟันเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังอาจจำเป็นต้องมีการงดการรับประทานพุทราระหว่างที่คุณมีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาสภาวะทางสุขภาพบางอย่างร่วมด้วย เช่น ยาบรรเทาอาการซึมเศร้า ยาแก้อาการชัก เป็นต้น

ดังนั้นทางที่ดีคุณควรเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน เพื่อให้แพทย์ได้ทราบรายละเอียดทางสุขภาพของคุณเบื้องต้นในการที่จะให้คำแนะนำถึงการรับประทานอาหารที่เหมาะสมเป็นขั้นตอนถัดไป ได้อย่างปลอดภัย

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Jujube Fruit? Nutrition, Benefits, and Uses https://www.healthline.com/nutrition/jujube#benefits Accessed November 16, 2020

Top 12 Health Benefits of Jujube Fruit https://www.medindia.net/dietandnutrition/top-12-health-benefits-of-jujube-fruit.htm Accessed November 16, 2020

How Jujube Can Improve Your Sleep and Health https://www.psychologytoday.com/intl/blog/sleep-newzzz/201809/how-jujube-can-improve-your-sleep-and-health Accessed November 16, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/12/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

‘คาร์โนซีน’ สุดยอดสารอาหารบำรุงสมอง

ผลไม้สำหรับคนท้อง ดีต่อคุณแม่ มีประโยชน์ต่อทารก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 16/12/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา