backup og meta

ชอบกินเค็มเป็นชีวิตจิตใจแต่ไม่ดีต่อสุขภาพ จะมี วิธีลดกินเค็ม ยังไงได้บ้าง

ชอบกินเค็มเป็นชีวิตจิตใจแต่ไม่ดีต่อสุขภาพ จะมี วิธีลดกินเค็ม ยังไงได้บ้าง

คุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบ กินเค็ม หรือเปล่า การกินอาหารที่มีรสเค็มจัด หรืออาหารที่ปรุงด้วยเกลือในปริมาณสูง สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพมากมาย ทั้งโรคไต ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด แต่จะทำยังไงดีล่ะ ถ้าหากคุณเป็นคนที่ชอบกินอาหารรสเค็มจัด ดังนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มี วิธีลดกินเค็ม มาฝากค่ะ

อันตรายจากการกินเค็ม

การกินอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือในปริมาณมาก หรือการกินอาหารรสเค็มถึงเค็มจัดจนกลายเป็นติด กินเค็ม พฤติกรรมการรับประทานอาหารเช่นนี้ จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้

ความเสี่ยงในระยะสั้น

  • อาการบวมน้ำ

เวลาที่กินอาหารรสเค็ม หรือกินเกลือเข้าไปมาก ๆ ปริมาณของเกลือในไตจะมากขึ้น และไตต้องการปริมาณน้ำในระดับที่สมดุลกับปริมาณของเกลือ เพื่อทดแทนให้กับเกลือส่วนที่เกินเข้ามา ดังนั้นยิ่งกินเกลือเข้าไปมากเท่าไหร่ ร่างกายก็ต้องการน้ำมากขึ้นเท่านั้น ทำให้เราต้องดื่มน้ำในปริมาณที่เยอะ จนส่งผลให้เกิดอาการบวมน้ำ หรือบวมที่บริเวณเท้าและมือ หรือมีน้ำหนักขึ้น

  • ความดันโลหิตสูง

การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัดมาก ๆ จะมีผลทำให้เลือดไหลเวียนผ่านหลอดเลือดและหลอดเลือดแดงมากขึ้นหรืออาจจะมากผิดปกติ ซึ่งจะมีผลให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราว อย่างไรก็ตาม อาการเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่ชอบ กินเค็ม

ความเสี่ยงในระยะยาว

  • โรคความดันโลหิตสูง

การกินเค็มมากในระยะสั้นจะส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงแบบชั่วคราว แต่ถ้าหากติดการ กินเค็ม มาก กินเค็มทุกวันจนเกินพิกัดที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันบ่อย ๆ ในระยะยาวก็เสี่ยงที่จะเกิดเป็นภาวะความดันโลหิตสูงได้

  • เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร

จากผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้ที่รับประทานเกลือมากกว่า 3 กรัมต่อวัน มีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าผู้ที่รับประทานเกลือ 1 กรัมต่อวัน และผู้ที่กินเกลือในปริมาณที่สูง มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าผู้ที่กินเกลือน้อยถึงสองเท่า อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนว่าการกินเค็มส่งผลโดยตรงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารอย่างไร

  • โรคหัวใจ

การ กินเค็ม ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง ซึ่งปัญหาความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ดังนั้นการรับประทานเกลือในปริมาณที่เกินพอดีเป็นประจำ ถือว่ามีความเสี่ยงต่ออาการทางสุขภาพเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคหัวใจ

  • โรคไต

เมื่อกินเกลือเข้าไปมาก ไตก็จะต้องทำงานหนักในฐานะที่เป็นอวัยวะที่จะต้องทำหน้าที่ในการรักษาความสมดุลของน้ำและเกลือ แต่ถ้ามีปริมาณเกลือในระดับที่สูงจนเป็นส่วนเกิน ไตก็จะต้องทำหน้าที่ในการกำจัดเอาเกลือหรือโซเดียมส่วนที่เกินมาออกไป ซึ่งจะทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้น เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคไต

วิธีลดกินเค็ม สำหรับคนชอบกินเค็ม

หากปกติเป็นคนที่ชอบกินอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสเค็มจัดอยู่แล้ว การลด กินเค็ม คงจะทำใจได้ยาก แต่เพื่อสุขภาพในระยะยาว คุณควรค่อย ๆ ลดการกินเค็มลง โดยสิ่งสำคัญคือควรจะรับประทานเกลือตามปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกาย ดังนี้

  • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับเกลือไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน 
  • เด็กอายุ 4-6 ปี ควรได้รับเกลือไม่เกิน 3 กรัมต่อวัน 
  • เด็กอายุ 7-10 ปี ควรได้รับเกลือไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน
  •  เด็กอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ควรได้รับเกลือไม่เกิน 6 กรัมต่อวัน 

และอาจเริ่มปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้ เพื่อลดการ กินเค็ม

  • อ่านฉลากโภชนาการเสมอ เวลาเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปจากร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้า ควรอ่านฉลากโภชนาการเพื่อตรวจสอบดูว่ามีปริมาณของเกลือที่สูงเกินไปหรือไม่
  • พยายามหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ผ่านการแปรรูปมาแล้ว เพราะอาหารที่ผ่านการแปรูปอย่าง อาหารกระป๋อง หรืออาหารแช่แข็ง มักใส่เกลือเพิ่ม
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือที่ไม่สามารถคำนวณปริมาณได้ เช่น พิซซ่า สปาเก็ตตี้ พาสต้า เบอร์เกอร์ แซนด์วิช
  • หากเป็นไปได้ควรปรุงอาหารด้วยตนเอง เพราะสามารถที่จะจำกัดปริมาณเกลือได้ตามต้องการ
  • เลือกร้านอาหารที่สามารถกำหนดปริมาณของเกลือได้ เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ได้รับประทานเกลือเกินกว่าที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน
  • หากเป็นคนที่ชอบกินขนมขบเคี้ยว ซึ่งมักจะมีปริมาณเกลือสูง เปลี่ยนมากินของว่างที่เป็นผักต้ม เช่น ฟักทองต้ม มันต้ม หรือกินผลไม้แทนของว่างที่มีแปรรูปและปรุงเกลือเพิ่ม
  • หากเป็นคนติดการเติมเครื่องปรุง โดยเฉพาะเกลือ หรือน้ำปลา ควรเปลี่ยนมาปรุงแต่น้อย ค่อย ๆ ลดปริมาณลง จนกระทั่งสามารถควบคุมระดับของรสชาติอาหารได้เองอัตโนมัติ

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Happens If You Eat Too Much Salt?. https://www.healthline.com/nutrition/what-happens-if-you-eat-too-much-salt. Accessed on October 19, 2020.

Tips for a lower salt diet. https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/tips-for-a-lower-salt-diet/. Accessed on October 19, 2020.

6 ways to eat less salt. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/6-ways-to-eat-less-salt. Accessed on October 19, 2020.

7 TIPS TO EAT LESS SALT. https://sodiumbreakup.heart.org/7-tips-eat-less-salt. Accessed on October 19, 2020.

How to Reduce Sodium. https://www.heart.org/en/healthy-living/healthy-eating/eat-smart/sodium/how-to-reduce-sodium. Accessed on October 19, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/10/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำในหูไม่เท่ากัน ลดการกินเค็มอาจช่วยได้

อาหารที่มีโซเดียมสูงมาก อาจเป็นอาหารที่คุณกินอยู่ทุกวัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 27/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา