โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

ไวรัสโคโรนา

สำรวจ โรคติดเชื้อ

การติดเชื้อไวรัสแบบอื่น

ไวรัสเฮนดรา เชื้อร้ายในม้า ที่หนุ่มสาวคาวบอยควรระวัง

ผู้ที่รักในกีฬาขี่ม้า ต้องฝึกฝนเป็นระยะเวลานานเพื่อให้ม้าคุ้นชินกับเรา และยังต้องดูแลเอาใจใส่ ใกล้ชิดกับสัตว์ใหญ่นี้เป็นพิเศษเพราะคงไม่เชื่องเหมือนน้องแมว หรือสุนัข ที่บ้านแน่ๆ จนบางครั้งก็หลงลืมป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคต่างๆ รอบตัว รวมถึง ไวรัสเฮนดรา ภาวะอันตรายที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต วันนี้ Hello คุณหมอ ขอนำความรู้ และวิธีป้องกันเชื้อไวรัสมาฝากให้หนุ่มสาวคาวบอยได้ระวังตัวกันมากขึ้น รู้จักกับ ไวรัสเฮนดรา ให้มากขึ้นกันเถอะ เชื้อไวรัสเฮนดรา (Hendra virus ; HeV) ถูกค้นพบครั้งแรกหลังจากการระบาดที่คอกม้าแห่งหนึ่งในปี 1994 ถึงแม้จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็มีผู้ป่วยถึง 7 ราย ที่ได้รับการติดเชื้อ จนผู้ป่วย 4 ใน 7 ได้เสียชีวิตลง โดยมีสาเหตุมาจากการสัมผัสจากน้ำลายของม้า น้ำมูก หรือของเหลวที่ออกมาจากร่างกายม้านั่นเอง แต่ต้นตอที่แท้จริงแล้วไวรัสเฮนดรา มากจากเชื้อบางอย่างในน้ำลายของค้างคาว ที่อาจเข้ามาดื่มน้ำในคอกม้าจนทำให้เชื้อกระจายอย่างมาก เพราะการเลี้ยงดูม้าส่วนใหญ่นั้นนิยมเลี้ยงบริเวณทุ่งนา สวน หรือป่าทึบ ทำให้ค้างคาวที่ออกมาหากินช่วงเวลากลางคืนบินมาหาอาหารละแวกใกล้เคียง และแพร่เชื้อออกมา อาการแรกเริ่มที่บ่งบอกว่าคุณรับเชื้อ ไวรัสเฮนดรา เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ได้รับไวรัสเฮนดราเข้าสู่ร่างกาย ประมาณ 9-16 วัน เชื้อนี้จะเกิดการฟักตัวกระจายทั่วร่างกายทำลายสุขภาพของคุณ อาการแรกเริ่มที่พบได้ทั่วไปคือ : มีไข้ , อาการไอ , […]


การติดเชื้อจากแมลง

ปลอดภัยจากไข้เลือดออก ด้วย 6 สมุนไพรไล่ยุง

ยุง สัตว์ปีกตัวเล็ก แต่ความร้ายกาจของมันนั้นไม่เล็กเหมือนขนาดตัวเลยสักนิด นอกจากจะบินส่งเสียงสร้างความกวนใจให้เราไม่พอ ยังกัดและดูดเลือดของเรา นอกจากนี้ยังนำพาหะอย่างโรคไข้เลือดออกมาสู่เราอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอจึงนำ 6 สมุนไพรไล่ยุง มาฝากกันค่ะ จะมีสมุนไพรตัวไหนบ้าง เราไปดูกันเลย ยุงร้าย ฆาตกรโหดในบ้านคุณ ยุง ฆาตรกรตัวร้ายที่นำพาหะนำโรคอย่าง ไข้เลือดออก มาปลิดชีวิตเราและคนที่เรารัก หากเราได้รับพาหะไข้เลือดออกจะเริ่มมีอาการ ดังนี้ คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้สูง อาการเบื่ออาหาร ปวดท้องอย่างรุนแรง ปัจจุบันนั้นยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสไข้เลือดออก ในบางคนที่มีอาการไม่รุนแรงแพทย์จะให้ยาลดไข้เพื่อบรรเทาอาการให้ลดลง โดยโรคไข้เลือดออก อาจหายได้เองภายใน 7 วัน ปลอดภัยจากไข้เลือดออก ด้วย 6 สมุนไพรไล่ยุง วิธีการไล่ยุงนั้นมีด้วยกันหลากหลายวิธี แต่การใช้สมุนไพรยังไงก็ยังปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมีแน่นอนเรามาดูกันดีกว่าค่ะว่ามี สมุนไพรไล่ยุง ตัวไหนบ้าง ตะไคร้หอม ตะไค้หอมเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นเฉพาะตัว กลิ่นของมันช่วยไล่ยุงลายได้ เพียงนำตะไคร้หอมประมาณ 4-5 ต้น มาทุบ แล้ววางไว้ในห้องที่มียุงเยอะๆ น้ำมันหอมระเหยก็จะช่วยกำจัดยุงออกไปเอง มะกรูด มะกรูด มีน้ำมันหอมระเหยที่สามารถจัดการได้ทั้งยุงลาย ยุงเสือ ยุงก้นปล่อง เพียงนำใบหรือะผิวของมะกรูดมาบีบเพื่อให้กลิ่นของมันช่วยกำจัดยุง นอกจากนี้คนสมัยโบราณยังนำลูกมะกรูดใส่ไว้ในโอ่งหรือตุ่ม เพื่อช่วยป้องกันลูกน้ำยุงลายอีกด้วย สะระแหน่ สะระแหน่ เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไล่ยุงที่คนนิยมใช้กัน เพียงนำใบสะระแหน่มาขยี้แล้วไปวางหน้าพัดลมเพื่อให้กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยกระจายออกมา ก็สามารถไล่ยุงออกไปได้แล้วหรือนำมาเทลงบนผิวเพื่อป้องกันยุงกัดได้ โหระพา โหระพา เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณสูงนอกจากใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารแล้วกลิ่นของมันยังช่วยในการไล่ยุงได้อีกด้วย เพียงนำใบโหระพามาขยี้จนมีกลิ่น แล้วนำไปวางในบริเวณที่มียุงเยอะๆ เท่านี้ยุงก็ไม่บินมากวนใจคุณอีกต่อไป สะเดา เพียงนำสะเดามาคั้นเอาน้ำและไปวางบริเวณต่างๆภายในบ้าน เท่านี้ก็ช่วยไล่ยุงได้แล้วค่ะ กระเทียม เพียงนำกระเทียมมาทุบ จากนั้นนำใส่ภาชนะมาวางไว้ตามจุดต่างๆ บริเวณบ้าน […]


โรคติดเชื้อจากอาหาร

การติดเชื้ออีโคไล (E.coli Infection)

การติดเชื้ออีโคไล (E. coli) สามารถเกิดจากการดื่มน้ำ หรือกินอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดอาการท้องเสียเล็กน้อยถึงรุนแรง คำจำกัดความการติดเชื้ออีโคไล คืออะไร แบคทีเรียเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) หรืออีโคไล (E. coli) พบได้ในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์ โดยปกติแล้ว แบคทีเรียอีโคไลส่วนใหญ่จะทำให้เกิดอาการท้องเสียเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ก็มีเชื้อแบคทีเรียอีโคไลบางสายพันธุ์ เช่น อีโคไล ซีโรไทป์ O157:H7 ซึ่งพบว่าแพร่ระบาดบ่อย ก็สามารถทำให้เกิดอาการติดเชื้ออีโคไลในลำไส้รุนแรง ส่งผลให้ถ่ายเหลว ปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด มีไข้ อาเจียนได้ การติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไลสามารถเกิดจากการดื่มน้ำ หรือกินอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผักสด และเนื้อสัตว์ที่ไม่สุกดี หากเป็นผู้ใหญ่ที่สุขภาพแข็งแรงดี ส่วนมากแล้วจะสามารถหายจากการติดเชื้ออีโคไล ซีโรไทป์ O157:H7 ได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่หากเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หญิงมีครรภ์ จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่อาการจะพัฒนาไปจนถึงขั้นเสียชีวิตจากอาการไตวายที่เรียกว่า กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย (Hemolytic-uremic syndrome หรือ HUS) อย่างไรก็ตาม การติดเชื้ออีโคไลส่วนใหญ่ สามารถรักษาได้เองที่บ้าน การติดเชื้ออีโคไล พบได้บ่อยแค่ไหน การติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไลนั้นพบได้บ่อยมาก มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย อย่างไรก็ดี […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ผู้สูงอายุยิ่งฉีดไว ยิ่งลดความเสี่ยงโรค

การฉีด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรคไข้หวัดใหญ่ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่สามารถติดต่อกันได้ง่าย เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือไวรัสอินฟลูเอนซา (influenza virus) ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ Influenza A และ Influenza B ทำให้มีอาการ เช่น เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หนาวสั่น อ่อนเพลีย บางคนอาจอาเจียนหรือท้องเสีย หรืออาจมีอาการของไข้หวัดใหญ่โดยที่ไม่มีไข้ก็ได้ โรคไข้หวัดใหญ่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่ความเสี่ยงในการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น โรคปอดอักเสบ โรคหูชั้นกลางอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ โรคไซนัสอักเสบ จะยิ่งสูงขึ้นในผู้สูงอายุ ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่า ผู้สูงอายุควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ โดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-heart-rate] ทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไข้หวัดใหญ่และอาการแทรกซ้อนรุนแรงจากไข้หวัดใหญ่ คือ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คนทุกเพศทุกวัยควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะเด็กทารกที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปและผู้สูงอายุควรได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพราะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่าคนวัยอื่น และถึงแม้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุจะเปลี่ยนแปลงไปตามวัย […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

โรคแมวข่วน อันตรายจากน้องเหมียวที่ควรระวัง

แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ทำให้มนุษย์ทั้งหลายยินยอมพร้อมใจที่จะเป็นทาสแบบสมัครใจและไร้เหตุผล แต่ทว่าเจ้าแมวเหมียวของพวกเราชาวทาสอาจจะไม่ได้แค่น่ารักน่าถนุถนอมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะในบางครั้งเจ้าเหมียวก็อาจจะนำเอา โรคแมวข่วน มาติดทาสแมวที่คอยเลี้ยงดูได้เช่นกัน Hello คุณหมอ ขอพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับโรคแมวข่วนเพื่อที่จะได้รับมือและดูแลกับน้องแมวได้อย่างถูกต้อง โรคแมวข่วนเกิดจากอะไร โรคแมวข่วน (Cat-scratch disease) หรือ (CSD) เป็นโรคที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียจากแมวที่ติดเชื้อ ซึ่งเราในฐานะเจ้าของแมวก็อาจจะไม่ได้สังเกตหรือสังเกตรู้ได้ว่าแมวกำลังติดเชื้อหรือเปล่า เมื่อแมวที่ติดเชื้อมาเลียเข้าที่แผลหรือผิวหนัง หรือมีการสัมผัสกับน้ำลายของแมวแล้วไม่ได้ล้างมือให้สะอาด ถูกแมวกัด หรือข่วนเข้าที่ผิวหนังจนเป็นแผล สาเหตุเหล่านี้เพียงพอที่จะทำให้ติดเชื้อจากแมวได้ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่ว่านี้ก็คือเชื้อ Bartonella henselae โดยกว่า 40% ของเจ้าแมวเหมียวนั้นจะมีเชื้อแบคทีเรียที่ว่านี้อยู่ภายในปาก และกรงเล็บ ซึ่งเจ้าแมวเหมียวเหล่านี้ก็ได้รับเชื้อมาจากการเกาเห็บหรือมัดที่ติดเชื้อ หรือกัดเห็บหมัดเหล่านั้น หรือมาจากการต่อสู้กับแมวตัวอื่นที่มีเชื้อนี้ก็ได้เช่นกัน อาการของโรคแมวข่วนเป็นอย่างไร อาการของโรคจะไม่ปรากฏทันทีที่ถูกแมวข่วนหรือกัด แต่หลังจากนั้นเพียงวันหรือสองวันก็จะปรากฎอาการต่างๆ โดยในช่วงแรกหลังจากถูกกัดหรือข่วน จะมีผื่นสีแดง หรือผื่นพุพอง ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แต่อาจทำให้เกิดหนองได้ หลังจากนั้นภายในระยะเวลาสองสัปดาห์ หรือหลังจากที่แผลหาย คุณอาจมีอาการ ดังนี้ มีไข้ (แต่ไม่สูงมาก อาจต่ำกว่า102 องศาฟาเรนไฮต์) ปวดศีรษะ รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย มีอาการเบื่ออาหาร ต่อมน้ำเหลืองบวม ในบางกรณีอาจมีอาการที่ร้ายแรงกว่าที่กล่าวไปข้างต้น โดยเฉพาะหากโรคนี้เกิดกับเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคแมวข่วนอาจส่งผลที่ร้ายแรงต่อกระดูก ข้อต่อ ดวงตา สมอง หัวใจ และอวัยวะอื่นๆ จะป้องกันโรคแมวข่วนและดูแลตนเองอย่างไรได้บ้าง คุณสามารถที่จะดูแลและป้องกันทั้งตนเองและน้องแมวของคุณได้ ดังนี้ 1.ระมัดระวังการสัมผัสกับแมวในบ้านหรือแมวจรจัด โดยเฉพาะในช่วงที่แมวออกไปเล่นข้างนอกมา เราไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่าแมวไปรับเชื้อมาหรือไม่ รวมถึงสัตว์แปลกหน้าที่พบก็ไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าติดเชื้อหรือไม่ […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง ที่คุณควรรู้จัก มีอะไรบ้าง

การมีสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข แมว หรือสัตว์ชนิดอื่นๆ อยู่ในบ้าน ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัยมากมายหลายประการ แต่อย่างไรก็ตามสัตว์เลี้ยงอาจนำเชื้อโรคเข้ามาสู่คนในบ้านได้ด้วยเช่นกัน เพื่อการรับมือและระมัดระวัง Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง และวิธีรับมือในเบื้องต้น โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง ที่ควรระวัง สัตว์เลี้ยงแม้จะมีความน่ารัก มีความซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ ทว่าในหลายๆ ครั้ง ไม่เพียงแต่สัตว์เลี้ยงจะนำเห็บและหมัดมาติดเจ้าของเท่านั้น แต่สัตว์เลี้ยงเหล่านี้ยังสามารถแพร่เชื้อโรคให้กับผู้ที่เป็นเจ้าของได้อีกด้วย ซึ่งโรคที่มากับสัตว์เลี้ยงที่คุณควรระมัดระวังและควรรู้จัก ได้แก่ 1.โรคกลาก  (Ringworm) กลาก เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา และไม่ได้มีสาเหตุมาจากการหมักหมมหรือความสกปรกแค่เพียงอย่างเดียว เพราะเจ้าสัตว์เลี้ยงตัวน้อยอย่างสุนัข หรือแมว ก็สามารถส่งต่อเชื้อโรคนี้มาสู่เราได้เช่นกัน ซึ่งจะติดต่อกันผ่านการสัมผัส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสัมผัสกับสัตว์ที่มีการติดเชื้อ โดยเมื่อติดเชื้อแล้วจะมีอาการของผื่นแดงบริเวณผิวหนัง มีการตกสะเก็ด และมีอาการคัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อตั้งแต่เนิ่นๆ ควรรีบนำสัตว์เลี้ยงที่มีอาการของโรคกลากไปพบคุณหมอ 2.โรคท้องร่วงจากเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) โรคนี้เกิดจากการสัมผัสกับอุจจาระของสุนัขหรือแมวที่ติดเชื้อ ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง เป็นตะคริว และมีไข้ขึ้นสูงในระยะเวลา 2-5 วันหลังการสัมผัสอุจจาระของสัตว์ แต่อาการเหล่านี้จะหายได้เองภายในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นในหนึ่งสัปดาห์ควรไปพบคุณหมอ 3.โรคแมวข่วน (Cat-scratch disease) โรคแมวข่วน เกิดจากการถูกแมวที่ติดเชื้อกัด หรือข่วน หรือเลียเข้าที่แผล ทำให้แผลหรือบริเวณที่ติดเชื้อมีอาการปวด บวม และเป็นรอยแผล ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และอ่อนเพลีย 4.โรคท็อกโซพลาสโมซิส […]


การติดเชื้อจากแมลง

ชิคุนกุนยา อาการ สาเหตุ และการรักษา

ชิคุนกุนยา (Chikungunya Fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมักมีไข้เฉียบพลันและปวดข้อต่อรุนแรง โดยพบการระบาดครั้งแรกในปี 1952 ที่แทนซาเนีย จัดเป็นไวรัสกรดไรโบนิวคลีอิก (RNA) ที่อยู่ในกลุ่มอัลฟาไวรัสตระกูลโทกาวิริเด [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ชิคุนกุนยา คืออะไร ชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya Fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมักมีไข้เฉียบพลันและปวดข้อต่อรุนแรง โดยไวรัสชิคุนกุนยาพบการระบาดครั้งแรกในปี 1952 ที่แทนซาเนีย จัดเป็นไวรัสกรดไรโบนิวคลีอิก (RNA) ที่อยู่ในกลุ่มอัลฟาไวรัสตระกูลโทกาวิริเด ชิคุนกุนยาพบบ่อยแค่ไหน ชิคุนกุนยาพบมากกว่า 60 ประเทศในเอเชีย แอฟริกา ยุโรปและอเมริกา และส่งผลต่อผู้ป่วยได้ทุกเพศทุกวัย แต่สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของชิคุนกุนยา ไข้ ปวดข้อต่อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เหนื่อยล้า ผื่นแดง อาการของโรคมักแสดงออกมาให้เห็นในช่วง 4-8 วันหลังจากที่โดนยุงที่มีเชื้อกัด โรคชิคุนกุนยามีสัญญาณบางอย่างคล้ายกับไข้เดงกีและไวรัสซิกา ทำให้บางครั้งอาจมีการวินิจฉัยคลาดเคลื่อนในบางพื้นที่ที่พบโรคเหล่านี้ได้ทั่วไป โรคชิคุนกุนยาไม่สามารถทำให้ถึงตาย แต่อาจทำให้อาการเรื้อรังได้ สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบคุฒหอหมอเมื่อใด หากมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ หรือหากเพิ่งเดินทางกลับจากบริเวณที่เสี่ยงติดเชื้อไข้เดงกี  และมีไข้ขึ้นฉับพลัน ควรเข้าพบข้าพบคุณหมอทันที ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาคุณหมอ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของตัวเอง สาเหตุ สาเหตุของชิคุนกุนยา ชิคุนกุนยามีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพกับของ 5 สิ่งที่คุณไม่ควรยืมจากเพื่อน

เคยไหมเพื่อน หรือคนรอบตัวที่สนิทกันหลายๆ ของคุณ มักชอบหยิบยืมสิ่งของกันจนถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า ของใช้ หรือแม้เครื่องสำอางก็ตาม แต่รู้หรือเปล่าว่ามีของบางอย่างที่แม้จะสนิทกันขนาดไหนก็ไม่ควรให้กันยืมกันนะคะ เพราะเป็นพาหะนำเชื้อโรคเข้าหากันได้ บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้จะขออาสาพาไปดู 5 สิ่งที่คุณไม่ควรยืมจากเพื่อน ซึ่งหากใครกำลังทำอยู่ โปรดหยุดเสียดีกว่านะคะก่อนที่จะมีปัญหาสุขภาพตามมาภายหลัง 5 สิ่งที่คุณไม่ควรยืมจากเพื่อน แปรงสีฟัน แปรงสีฟันก็เป็นของใช้ส่วนตัวอีกอย่างที่ไม่ควรยืมกัน แม้จะสนิทกันมากขนาดไหนก็ตาม เพราะการแปรงฟันเพื่อทำความสะอาดช่องปาก หากช่องปากเต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรียก็จะเป็นการกระจายเชื้อ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ดังนั้นหากคุณลืมแปรงสีฟันควรยอมเสียเวลาหาซื้อ ไม่ควรยืมของคนอื่น ผ้าเช็ดตัว หลังจากอาบน้ำเสร็จเรียบร้อย ผ้าเช็ดตัวมักเป็นสิ่งแรกที่คุณหยิบขึ้นมาซับน้ำที่เปียกอยู่ทั่วร่างกาย หากคุณใช้ผ้าเช็ดตัวมาเป็นเวลานานโดยไม่เคยซักทำความสะอาดเลย อาจทำให้ผ้าเช็ดตัวของเราเป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราเป็นจำนวนมากก็ได้ เพราะผ้าขนหนูนั้นแทบจะชื้นอยู่ตลอดเวลาซึ่งถือเป็นอุณหภูมิที่เชื้อโรคชอบกันมาก ยิ่งคุณเห็นรอยดำๆ บนผ้าเช็ดตัวแล้วละก็ นั่นอาจเป็นเชื้อราที่กำลังก่อตัวได้ อีกทั้งยังอาจส่งผลให้เมื่อใช้งานแล้วอาจเกิดปัญหาโรคผิวหนังตามมา ดังนั้นทางที่ดีเราไม่ควรใช้ผ้าเช็ดตัวของคนอื่นหรือให้คนอื่นใช้ผ้าเช็ดตัวของตัวเองเพราะอาจเป็นการกระจายเชื้อโรค และที่สำคัญควรหมั่นซัก หรือทำความสะอาดผ้าเช็ดตัวอยู่เสมอ และตากในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีแสงสว่างส่องถึง ผ้าเช็ดตัวจะได้แห้ง ไม่อับชื้น เครื่องสำอาง เครื่องสำอางเป็นอีกหนึ่งอย่างที่สาวๆ มักหยิบยืมกันเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น ลิปสติก บลัชออน แป้ง อายแชโดว์ แต่จะนับเป็นเรื่องธรรมดาก็ไม่เชิง เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ควรทำเลยจะดีเสียกว่า เพราะโรคบางโรคสามารถติดต่อกันอย่างง่ายดายผ่านการสัมผัสแบบใกล้ชิด เช่น โรคเริม เมื่อใช้ลิปสติกร่วมกับผู้ที่เป็นโรคเริม น้ำลายหรือเชื้อโรคที่ติดอยู่บนลิปสติกสามารถส่งผ่านไปยังผู้ใช้ได้ หรือแม้แต่แป้ง บลัชออน เครื่องสำอางเหล่านี้ที่ใช้กับผู้ที่เป็นโรคผิวหนังแล้วถูกใช้ต่ออาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้อีกด้วยเช่นกัน จึงบางครั้มก็อาจส่งผลให้บางคนเกิดอาการคัน มีรอยแดง […]


การติดเชื้อไวรัสแบบอื่น

ทำความรู้จักกับ อีโบลา โรคจากไวรัสร้ายคร่าชีวิต

หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อโรคอีโบลา หรือไวรัสอีโบลากันมาบ้างแล้ว แต่อาจยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วอีโบลาคืออะไร และโรคนี้อันตรายร้ายแรงแค่ไหน Hello คุณหมอ จึงอยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับ อีโบลา โรคจากไวรัสหายากแต่อันตรายร้ายกาจที่คร่าชีวิตผู้คนมากมาย และปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด อีโบลา คืออะไร โรคอีโบลา หรือโรคไวรัสอีโบลา (Ebola virus disease หรือ EVD) เดิมรู้จักกันในชื่อโรคไข้เลือดออกอีโบลา คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่แพร่จากสัตว์สู่คน ถือเป็นโรคร้ายแรงที่อันตรายถึงชีวิต โดยโรคนี้มีอัตราป่วยตายสูงถึงร้อยละ 90 ไวรัสอีโบลาถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 1976 ในเขตชนบทห่างไกลในประเทศซูดาน และในหมู่บ้านริมแม่น้ำอีโบลา ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และแม่น้ำอีโบลาก็ได้กลายมาเป็นชื่อของโรคในเวลาต่อมา นับตั้งแต่นั้น โรคอีโบลาก็แพร่ระบาดไปทั่วทวีปแอฟริกา และมีผู้คนติดเชื้อเป็นระยะ สาเหตุของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าค้างคาวผลไม้บางชนิดคือตัวพาหะของไวรัสอีโบลาตามธรรมชาติและเป็นตัวแพร่เชื้อ แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด เช่น ชิมแปนซี กอริลลา ลิง เม่น แอนทิโลป รวมไปถึงมนุษย์ที่ติดเชื้อ ก็สามารถแพร่เชื้อได้เช่นกัน มนุษย์ติดเชื้ออีโบลาได้อย่างไร มนุษย์เราสามารถติดเชื้ออีโบลาได้จากการสัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่ง เนื้อเยื่อ หรือของเหลวจากร่างกายของสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็น อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำนม น้ำลาย อสุจิ เหงื่อ โดยสามารถถ่ายทอดเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางปาก จมูก ดวงตา บาดแผล และการมีเพศสัมพันธ์ กลุ่มที่เสี่ยงติดเชื้อเป็นพิเศษได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ […]


โรคติดเชื้อจากอาหาร

ภาวะอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)

คำจำกัดความภาวะอาหารเป็นพิษ คืออะไร ภาวะอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต หรือ เจือปนสารพิษ นี่คือสาเหตุหลักของภาวะอาหารเป็นพิษ โดยทั่วไปแล้วภาวะอาหารเป็นพิษไม่ใช่อาการร้ายแรง และผู้ที่มีภาวะนี้ส่วนใหญ่จะสามารถหายเองได้ในเวลาไม่กี่วันโดยไม่ต้องรับการรักษา ภาวะอาหารเป็นพิษ พบได้บ่อยเพียงใด ภาวะอาหารเป็นพิษพบได้ทั่วไป เกิดขึ้นได้ในคนทุกวัย สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของภาวะอาหารเป็นพิษ สัญญาณและอาการทั่วไปของภาวะอาหารเป็นพิษ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และถ่ายเป็นน้ำ เจ็บและเกร็งบริเวณช่องท้อง มีไข้ รู้สึกไม่มีแรงและอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดกล้ามเนื้อ รู้สึกหนาวสั่น อาจมีอาการบางอย่างที่ไม่ได้รวมอยู่ในอาการข้างต้นนี้ หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด ควรไปพบหมอหากมีอาการดังต่อไปนี้ อาเจียนบ่อยและไม่สามารถกลั้นอาเจียนได้ อาเจียนหรือขับถ่ายเป็นเลือด ท้องเสียนานเกินกว่า 3 วัน รู้สึกเจ็บปวดหรือเกร็งบริเวณช่องท้องอย่างรุนแรง วัดอุณหภูมิทางปากสูงได้เกินกว่า 38.6 องศาเซลเซียส รู้สึกกระหายน้ำอย่างรุนแรง ปากแห้ง ปัสสาวะเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้ปัสสาวะเลย อ่อนเพลียอย่างรุนแรง วิงเวียนหรือมึนงงศีรษะ สายตาพร่ามัว กล้ามเนื้อไม่มีแรง และเป็นเหน็บตามแขน สาเหตุสาเหตุของภาวะอาหารเป็นพิษ ภาวะอาหารเป็นพิษสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีการปนเปื้อน ซึ่งการปนเปื้อนนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการแปรรูปหรือผลิตอาหาร รวมถึงสามารถปนเปื้อนได้ตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป กักเก็บ ขนส่ง หรือระหว่างเตรียมพร้อม ถ้ารับประทานอาหารที่ปรุงไม่สุก อย่างเช่น ผักสลัด หรือพืชผัก ผลไม้ ชนิดอื่นๆ เชื้อโรคหรือสารพิษที่เป็นอันตรายก็อาจไม่ได้ถูกทำลาย และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษได้ แบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิตจำนวนมาก เป็นสาเหตุหลักของภาวะอาหารเป็นพิษ โดยไวรัส ถือเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด ตามมาด้วยเชื้อแบคทีเรีย สารพิษ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลัก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน