โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

ไวรัสโคโรนา

สำรวจ โรคติดเชื้อ

การติดเชื้อไวรัสแบบอื่น

บาดทะยัก (Tetanus)

คำจำกัดความโรคบาดทะยักคืออะไร โรคบาดทะยัก (Tetanus) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เรียกว่าคลอสตรีเดียมเททานี (Clostridium tetani) เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้พบทั่วโลก และพบในดินเป็นหลัก แบคทีเรียนี้จะผลิตสารพิษที่ทำให้ระบบประสาทเสียหาย กล้ามเนื้อที่ควบคุมโดยเส้นประสาทจะแข็งเกร็งและชา หากไม่ได้รับการรักษาทันที โรคนี้อาจทำให้ถึงตายเมื่อกล้ามเนื้อหายใจหยุดทำงาน ชนิดของโรคบาดทะยักมีทั้งชนิดที่เกิดกับระบบร่างกาย เฉพาะบริเวณ และที่พบในเด็กแรกเกิด โรคบาดทะยักไม่ใช่โรคติดต่อ และป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน โรคบาดทะยักเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน โรคบาดทะยักมักจะเกิดในผู้คนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยเฉพาะในประเทศด้อยพัฒนา โดยมากแล้วเด็กทารกและคนหนุ่มสาวมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้มากกว่า อาการอาการของโรคบาดทะยัก บาดทะยักบนร่างกายเป็นชนิดที่พบได้มากที่สุด กล้ามเนื้ออาจจะตึง และเกิดการชักเกร็งอย่างเจ็บปวดภายใน 7 วันหลังจากได้รับบาดเจ็บ หรือร่างกายได้รับเชื้อจุลินทรีย์ อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ หรือได้รับเชื้อส่วนมากจะเป็นกราม คอ ไหล่ หลัง ช่องท้องส่วนบน แขนและต้นขา กล้ามเนื้อใบหน้าหดตัวทำให้หน้าย่น บางคนที่มีอาการชักกระตุกของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงจะรู้สึกเจ็บทั่วตัว โรคนี้เป็นได้ทั้งแบบไม่รุนแรง (กล้ามเนื้อเป็นตะคริวและชักเล็กน้อย) แบบปานกลาง (กรามค้างและกลืนอาหารได้ลำบาก) หรือแบบรุนแรง (ชักอย่างรุนแรง หรือหยุดหายใจชั่วคราว) โรคบาดทะยักชนิดเป็นในบางบริเวณ ไม่ได้เกิดขึ้นทั่วร่างกาย อาการจะเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อใกล้บาดแผล อาจมีอาการหรือสัญญาณอื่นที่ไม่ได้กล่าวถึง หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับสัญญาณเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์ เมื่อไหร่ที่ฉันควรจะไปโรงพยาบาล เมื่อคุณได้รับบาดเจ็บ หากแผลสกปรกหรือลึก รวมถึงเปื้อนดินหรือมูลสัตว์ คุณควรไปโรงพยาบาลเพื่อฉีดวัคซีนบาดทะยัก ถ้าคุณไม่ได้ฉีดวัตซีนมาภายใน 5 ปี หรือการฉีดยาครั้งล่าสุดผ่านมานานแล้ว คุณยังควรไปโรงพยาบาลเพื่อฉีดวัคซีน หากคุณไม่ได้ฉีดวัคซีนบาดทะยักภายใน 10 ปี หากคุณมีอาการหรือสัญญาณใดๆ […]


การติดเชื้อไวรัสแบบอื่น

พิษสุนัขบ้า (Rabies)

คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่า พิษสุนัขบ้า (Rabies) เกิดจากการที่ถูกสุนัขกัดเพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้ว พิษสุนัขบ้า สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เมื่อติดเชื้อพิษสุนัขบ้าแล้วควรได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้  ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องเกี่ยวกับพิษสุนัขบ้ามาฝากกัน คำจำกัดความ พิษสุนัขบ้า (Rabies) คืออะไร พิษสุนัขบ้า (Rabies) พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น จากสถิติของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) พบว่า มีรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008-2017 เพียง 23 รายเท่านั้น โรคพิษสุนัขบ้าหากไม่ได้รับการรักษาก่อนที่อาการจะปรากฏขึ้นก็สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แม้โรคพิษสุนัขบ้าจะไม่ใช่ปัญหาทางด้านสาธารณสุข แต่ก็ยังควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นไวรัสที่สามารถโจมตีระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อคุณโดยสัตว์กัดหรือข่วน แล้วปล่อยทิ้งไว้โดยที่ไม่ได้รับการรักษาอาการอย่างทันท่วงที มันอาจส่งผลกระทบที่ร้ายแรงและอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้แก่ ไข้ ปวดศีรษะ น้ำลายไหลมาก กล้ามเนื้อกระตุก อัมพาต ความสับสนทางจิต พิษสุนัขบ้า พบบ่อยพียงใด พิษสุนัขบ้าสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ และผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการ ซึ่งต้องมีการสัมผัสกับไวรัสเรบี้ (Rabies virus) กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งกำลังมีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่ซึ่งกำลังมีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า อาการอาการของพิษสุนัขบ้า ในช่วงแรกของการติดเชื้อ โรคพิษสุนัขบ้า อาจจะมีอาการอื่น […]


โรคไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกี

ไข้เดงกี (Dengue Fever)

คำจำกัดความไข้เดงกี คืออะไร ไข้เดงกี (Dengue fever) เป็นโรคติดต่อที่มาจากยุง และมีสาเหตุมาจากไวรัสเดงกีชนิดใดชนิดหนึ่งจากสี่ชนิด คือ DEN-1 DEN-2 DEN-3 และ DEN-4 โรคนี้เคยถูกเรียกว่า “ไข้กระดูกแตก” เพราะบางครั้งก่อให้เกิดอาการเจ็บกระดูกข้อต่อและกล้ามเนื้อ จนทำให้รู้สึกเหมือนกระดูกกำลังจะแตก จึงได้ชื่อเช่นนั้น ไข้เดงกีระดับเบา ก่อให้เกิดไข้สูง ผื่น และเจ็บตามกล้ามเนื้อ และกระดูกข้อต่อ ไข้เดงกีขั้นรุนแรง หรือที่เรียกว่าไข้เลือดออกเดงกี (dengue hemorrhagic fever) สามารถก่อให้เกิดเลือดออกขั้นรุนแรง ความดันโลหิตลดลงฉับพลัน และเสียชีวิต ไข้เดงกีพบบ่อยแค่ไหน ในแต่ละปี มีประชากรที่ติดเชื้อเดงกีหลายล้านคนทั่วโลก โรคนี้สามารถส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ ไข้เดงกีพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและหลังผ่านฤดูฝนมาไม่นาน ในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ได้แก่ แอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แคริบเบียน อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ออสเตรเลีย แปซิฟิกกลาง และแปซิฟิกใต้ อย่างไรก็ดี ไข้เดงกีสามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของไข้เดงกี ไข้เดงกีมี 3 ประเภท ได้แก่ ไข้เดงกี ไข้เลือดออกเดงกี และไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อกร่วมด้วย ไข้เดงกี (Dengue fever หรือ DF)  อาการของไข้เดงกี มักเริ่มจากอาการไข้ใน 4 ถึง 7 […]


โรคไข้ซิกา

ไวรัสซิก้า อาการ และการป้องกัน

ไวรัสซิก้า (Zika Virus) คือเชื้อไวรัสที่สามารถเข้าสู่ร่างกายของคนได้ผ่านทางยุงที่เป็นพาหะนำเชื้อโรค ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสซิก้าอาจมีอาการต่าง ๆ เช่น มีไข้ ผื่น ตาแดง ปวดหัว นอกจากนี้ หากหญิงตั้งครรภ์ติดไวรัสซิก้า อาจส่งผลที่อันตรายต่อทารกในครรภ์ และอาจทำให้ทารกในครรภ์พิการแต่กำเนิดหรือเสียชีวิตได้อีกด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] ไวรัสซิก้า คืออะไร ไวรัสซิก้า สามารถติดต่อเข้าสู่ร่างกายของคนเป็นหลัก หลังจากถูกยุงลายที่ติดเชื้อกัด ซึ่งยุงลายชนิดหลัก ๆ คือ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ในพื้นที่เขตร้อน เพราะยุงลายจะชุกชุมมากที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ยุงชนิดนี้เป็นชนิดเดียวกับที่แพร่เชื้อ ไข้เลือดออก (Dengue) ชิคุนกุนยา (Chikungunya) และไข้เหลือง (Yellow fever) นอกจากจะเข้าสู่กระแสเลือดจากการถูกกัดโดยตรงแล้ว ยังสามารถติดต่อกันในรูปแบบของการมีเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย ระยะฟักตัว ช่วงเวลาตั้งแต่การสัมผัสเชื้อจนถึงการเกิดอาการ ของโรคไวรัสซิก้ายังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เหมือนจะใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่วันไวรัสซิก้า โรคร้ายจากยุง ชนิดนี้จะเริ่มออกอาการเบื้องต้นที่สังเกตกันง่าย คือ มีไข้ ผื่นบนผิวหนัง เยื่อบุตาอักเสบ หรือตาแดง เจ็บกล้ามเนื้อ และข้อต่อ ปวดหัว จากการรีวิวบทความต่างๆ ในช่วงเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา องค์กรอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า อาการติดเชื้อไวรัสซิก้าระหว่างช่วงตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุของการเกิดความพิการทางสมองตั้งแต่กำเนิด […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ต่อมทอนซิลโต (Tonsillar Hypertrophy)

ต่อมทอนซิลโต (Tonsillar Hypertrophy) คือ การที่เนื้อเยื่อทอนซิล (Tonsillar) มีขนาดโตขึ้นอย่างผิดปกติ อาการต่อมทอนซิลโตที่รุนแรงนั้นส่งผลให้มีอาการบวมและหายใจลำบาก ถ้าหากเนื้อเยื่อทอนซิลนี้มีขนาดใหญ่อย่างเรื้อรัง คุณหมออาจแนะนำให้ผ่าตัดต่อมทอนซิล เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อส่วนเกินออกไป คำจำกัดความต่อมทอนซิลโต (Tonsillar Hypertrophy) คืออะไร ต่อมทอนซิลโต (Tonsillar Hypertrophy) คือ การที่เนื้อเยื่อทอนซิล (Tonsillar) มีขนาดโตขึ้นอย่างผิดปกติ อาการต่อมทอนซิลโตที่รุนแรงนั้นส่งผลให้มีอาการบวมและหายใจลำบาก ถ้าหากเนื้อเยื่อทอนซิลนี้มีขนาดใหญ่อย่างเรื้อรัง คุณหมออาจแนะนำให้ผ่าตัดต่อมทอนซิล เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อส่วนเกินออกไป พบได้บ่อยได้แค่ไหน ต่อมทอนซิลโตเป็นอาการที่พบมากในเด็ก แต่อาจสามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการของ โรคต่อมทอนซิลโตผิดปกติ อาการของ โรคต่อมทอนซิลโตผิดปกติ มีดังต่อไปนี้ มีกลิ่นปากเรื้อรัง หายใจทางปาก กรนผิดปกติ มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea) ไม่สามารถเพิ่มน้ำหนักได้ เบื่ออาหาร มีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียเรื้อรัง มีอาการติดเชื้อในหูเรื้อรัง สูญเสียการได้ยิน โรคไซนัสอักเสบที่เป็นๆ หายๆ อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษากับคุณหมอ ควรไปพบหมอเมื่อไร ถ้าคุณมีอาการใด ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุสาเหตุของ ต่อมทอนซิลโต โรคต่อมทอนซิลโตผิดปกติ เป็นผลแบบเรื้อรังหรือชั่วคราวจากการติดเชื้อ สาเหตุโดยทั่วไปที่ทำให้ต่อมทอลซิลโต  คือ อาการป่วยที่เป็น ๆ หาย ๆ […]


เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แขกไม่ได้รับเชิญในอาหารสุกๆ ดิบๆ

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่อันตราย จนอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ สาเหตุส่วนใหญ่ก็มาจากการทานอาหารสุกๆ ดิบๆ แต่ความจริงแล้ว โรคเยื่อหุุ้มสมองอักเสบ ยังสามารถเกิดได้จากการรับเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา ได้อีกด้วย ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องราวเกี่ยวกับโรคนี้มาฝากกัน โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คืออะไร โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่หายาก ซึ่งมีผลทำให้เยื่อหุ้มเซลล์รอบสมองและไขสันหลัง เกิดการอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบนั้น เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งยังเกิดได้จากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ได้อีกด้วย ซึ่งเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถติดต่อผ่านทางการสัมผัส หรือการอยู่ใกล้ชิดกัน นอกจากนั้นยังมีอันตรายจนอาจถึงขั้นเสียชีวิต แต่ในสหรัฐอเมริกา ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบส่วนใหญ่ มักจะเกิดจากการที่เยื่อหุ้มสมองติดเชื้อไวรัส ทั้งนี้ หากผู้ป่วยที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ได้รับการรักษาอย่างทันเวลา ก็สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากเชื้ออะไรบ้าง? อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ นั้น สามารถเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อรา และการติดเชื้อไวรัส แต่การติดเชื้อต่างๆ ที่กล่าวมานั้น ส่งผลอย่างไรบ้าง ลองไปติดตามกัน เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย เกิดจากการที่แบคทีเรีย เข้าสู่กระแสเลือดแล้วเดินทางไปยังสมอง และไขสันหลัง ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียฉับพลัน นอกจากนั้นแล้ว การติดเชื้อที่หูหรือไซนัส กะโหลกศีรษะแตก หรือหลังการผ่าตัดบางครั้ง ก็เป็นเหตุให้แบคทีเรียสามารถบุกรุกไปยังเยื่อหุ้มสมองได้โดยตรง ทำให้เกิดเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้เช่นกัน สำหรับเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

โรคฉี่หนู โรคร้ายที่มากับน้ำขังและต้องระวังแม้จะเป็น “คนเมือง”

ในช่วงฤดูฝน อาจส่งผลให้ในหลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมขัง  และทำให้หลายคนอาจเสี่ยงต่อการเกิด “โรคฉี่หนู”  อีกด้วย  ถึงแม้ว่าในเขตเมืองจะไม่มีการปลูกข้าวทำนา แต่หากมีน้ำท่วมขังและมีบรรดาหนูบ้านพลุกพล่าน ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉี่หนูได้เช่นเดียวกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคฉี่หนูให้มากขึ้นกันค่ะ จะมีวิธีการรักษาและการป้องกันอย่างไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย โรคฉี่หนู คืออะไร โรคฉี่หนู หรือไข้ฉี่หนู หรือโรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า “Leptospira” ซึ่งมีผลต่อทั้งคนและสัตว์ สามารถติดโรคได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น สุนัข หนู โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สัตว์เลี้ยงในบ้าน เป็นต้น แต่พบมากในหนู ซึ่งเป็นแหล่งของเชื้อโรค ทำให้ได้ชื่อว่าโรคฉี่หนู ส่วนมากสัตว์ที่ไวต่อการรับเชื้อมักจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีอายุน้อย หรือลูกสัตว์ที่ไม่เคยได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่มาก่อน มักจะพบการระบาดในช่วงฤดูฝนต่อจนถึงในฤดูหนาว เพราะช่วงนี้พื้นดินแฉะ มีน้ำขัง เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตและสะสมของเชื้อในธรรมชาติ โรคฉี่หนูมักพบได้มากตามจังหวัดที่ทำการปลูกข้าว บริเวณที่ต้องย่ำน้ำ หรือแหล่งน้ำขังที่มีพาหะนำโรคชุกชุม ในเขตเมืองที่แม้จะไม่มีการปลูกข้าวทำนา แต่หากมีน้ำท่วมขังและมีบรรดาหนูบ้านพลุกพล่าน ก็มีโอกาสพบกับโรคฉี่หนูได้เช่นเดียวกัน โรคฉี่หนูติดต่อกันได้หรือเปล่า โรคฉี่หนู จะติดต่อจากคนสู่คนได้น้อยมาก ส่วนใหญ่จะรับเชื้อมาจากการสัมผัสกับปัสสาวะ เลือดหรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีการติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ เช่น การกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป การหายใจเอาไอละอองของปัสสาวะหรือของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป และเข้าผ่านเยื่อบุต่างๆ เช่น ตา ปาก หรือไชเข้าทางผิวหนังตามรอยแผลและรอยขีดข่วน บางครั้งเชื้อชนิดนี้สามารถมีชีวิตได้นานหลายเดือน […]


โรคไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกี

ไข้เลือดออก รอบสอง เป็นแล้วก็เป็นได้อีก แถมยังรุนแรงขึ้นด้วย!

รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว คุณสามารถติดเชื้อไข้เลือดออกได้ ไม่ใช่แค่ครั้งเดียว หรือสองครั้ง แต่อาจหลายครั้ง และเมื่อคุณป่วยเป็น ไข้เลือดออก รอบสอง หรือรอบต่อ ๆ มา ก็มักมีอาการหนักและรุนแรงกว่าครั้งก่อนหน้าเสมอ มาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้จากบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันเลย ใช่แล้ว ไข้เลือดออกโจมตีเราได้ครั้งแล้วครั้งเล่า จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) โรคไข้เลือดออกมีการแพร่ระบาดในกว่าหนึ่งร้อยประเทศทั่วโลก และประมาณการว่ามีผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคนี้ถึงสามพันล้านคน หรือราวครึ่งหนึ่งของประชากรโลกเลยทีเดียว สำหรับสถิติในประเทศไทยนั้น มีผู้ป่วยไข้เลือดออก เป็นอันดับที่ 2 รองจากประเทศฟิลิปปินส์ โดยกลุ่มอายุที่เป็นไข้เลือดออกมากที่สุด คืออายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ 5-9 ปี 15-24 ปี และ 25-34 ปีตามลำดับ เรียกได้ว่า โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง ถ้าหากมีผู้ป่วย 1,000 ราย จะเสียชีวิต 1 ราย โดยสองสาเหตุหลักของการเสียชีวิตก็คือ ภาวะเลือดออกมาก และเลือดรั่วจากเส้นเลือดจนเกิดภาวะช็อคและเสียชีวิต ไวรัสเด็งกี่ (Dengue) ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก […]


โรคไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกี

เคล็ดลับเลือกสารกันยุง ปกป้องตัวเองจาก ไข้เลือดออก

ยุงไม่เพียงแต่นำความรำคาญมาให้ แต่ยังนำโรคร้ายมาให้ด้วย โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกระบาดที่พบกันมากในช่วงหน้าฝนแบบนี้ และขั้นตอนสำคัญอย่างแรกของ ป้องกันไข้เลือดออก ก็คือการปกป้องตัวเองจากการโดนยุงกัด การใช้ยากันยุงสามารถช่วยคุณได้จริง ถ้ารู้จัก เลือกสารกันยุง ให้เหมาะสม ไข้เลือดออก มาตามนัดทุกหน้าฝน ไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ซึ่งมักจะเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดเป็นประจำในช่วงหน้าฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤษภาคม สำหรับในปี 2561 นี้ ไข้เลือดออกก็ “มาตามนัด” อีกเช่นกัน โดยจากข้อมูลของ กรมควบคุมโรค ณ วันที่ 30พฤษภาคม 2561 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศแล้ว 13,164 คน และผู้เสียชีวิตมีทั้งหมด 19 คน การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกพบว่าระบาดมากที่สุดในภาคกลาง มีผู้ติดเชื้อกว่า 6,000 คน รองลงมาคือ ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบในกลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาได้แก่ กลุ่มอายุ 5-9 ปี ในการปกป้องตัวเองจากไข้เลือดออก ด่านสำคัญด่านแรกก็คือการป้องกันยุงนั่นเอง โดยเฉพาะยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกนั้น ยุงลายหนึ่งตัวสามารถออกลูกได้ถึง 500 ตัว เพราะฉะนั้นการกำจัดการขยายพันธุ์ของยุงลายจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันการระบาดของไข้เลือดออก และในขณะเดียวกันก็ต้องหาวิธีในการป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยุงกัดด้วย ทำไมยุงถึงกัดเราได้นะ คุณเคยรู้สึกหรือเปล่าว่า บางทีก็ดูเหมือนว่ายุงจะพุ่งเป้าจู่โจมเฉพาะที่คนบางคนมากกว่าอีกคน สำหรับคนที่ดูเหมือนจะถูกยุงกัดมากกว่าคนอื่น อาจจะรีบตอบว่าจริง […]


โรคติดเชื้อจากอากาศ

เป็นหวัด มีสาเหตุจากฝนตก อากาศเย็น จริงหรือไม่

หลายคนอาจเคยได้ยินว่า อากาศเย็นหรือฝนตก จะทำให้ เป็นหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ แต่ความจริงแล้วการเป็นหวัดนั้นเกิดจากการติดเชื้อไวรัสทางระบบทางเดินหายใจ รวมถึงยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น  ร่างกายอ่อนแอ ไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อย่างไรก็ตาม การเป็นหวัดอาจมีความเชื่อโยงกับสภาพอากาศได้ เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงฝนตกห หรืออากาศเย็น ความเชื่อผิด ๆ เรื่องอากาศเย็นกับการ เป็นหวัด สำหรับโรคที่มีการติดต่อกันนั้น อากาศเย็นอาจไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้จ็บไข้ได้ป่วยแต่อย่างใด แต่เชื้อโรคต่างหากที่เป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บป่วยของทุกคน ทุกคนอาจเป็นหวัดได้ก็ต่อเมื่อติดเชื้อไรโนไวรัส (Rhinoviruses) ที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดที่ส่งผลทำให้โพรงจมูกอักเสบจากการติดเชื้อ หรือการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จนกลายเป็นไข้หวัดใหญ่ โดยเชื้อไรโนไวรัสและเชื้อไข้หวัดใหญ่มักแพร่ระบาดในหน้าฝนและหน้าหนาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าฝน ซึ่งทำให้มีความชื้นสูง และเชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ ลมแรงในช่วงฝนตกก็อาจทำให้เชื้อโรคมีการแพร่กระจายของนี้ได้ง่ายขึ้นด้วย สาเหตุที่ทำให้หลายคนคิดว่าสภาพอากาศทำให้เป็นหวัด ในความเป็นจริงแล้ว อากาศเย็นไม่ได้ทำให้เกิดไข้หวัดได้ แต่อาจเกิดจากภาวะที่เรียกว่า ไฮโปเธอร์เมีย (Hypothermia) หรือสภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำเกินไป ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นนี้อาจนำไปสู่การเป็นหวัดได้ เนื่องจากภาวะที่ร่างกายอุณหภูมิต่ำเกินไปอาจไปกดภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จะต่อสู้กับไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ เมื่อร่างกายโดนฝนในหน้าฝน หรือเจอกับอากาศเย็น ๆ ในหน้าหนาว อาจส่งผลให้อุณหภูมิของพื้นผิวเยื่อบุจมูกลดต่ำลง และเกิดภาวะหลอดเลือดหดตัว (Vasoconstriction) โดยเฉพาะหลอดเลือดที่อยู่ใกล้ชิดกับผิวหนังชั้นบนมากที่สุด เช่น เส้นเลือดบริเวณจมูก ภาวะนี้ทำเกิดความแห้งที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของตัวกรองการติดเชื้อในจมูก ทำให้เกิดอาการคัดจมูก ส่งผลให้มักจะหายใจทางปากเวลาที่เกิดอาการคัดจมูกหนักมาก ก็เป็นโอกาสให้น้ำมูกที่มีไวรัสอยู่กระตุ้นให้เกิดหวัดขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ฝนตกและอากาศเย็นไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดหวัดแต่อย่างใด แต่ใน 2 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน