backup og meta

น้ำผึ้งรักษาหอบหืด ความหวานจากธรรมชาติ ช่วยได้จริงหรือไม่

น้ำผึ้งรักษาหอบหืด ความหวานจากธรรมชาติ ช่วยได้จริงหรือไม่  

น้ำผึ้ง เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ทั้งยังมีส่วนช่วยรักษาอาการหวัดและไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้ บางคนยังใช้น้ำผึ้งสำหรับบรรเทาอาการไอและอาการเจ็บคออีกด้วย แต่ก็มีข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งเชื่อว่า “น้ำผึ้งรักษาหอบหืด’ ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่จะมาช่วยไขความกระจ่างว่าแท้จริงแล้ว น้ำผึ้งมีคุณสมบัติช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการหอบหืดหรือไม่

น้ำผึ้งรักษาหอบหืด ได้จริงหรือไม่

น้ำผึ้ง ถูกใช้เป็นยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ตามธรรมชาติมานานหลายปี ด้วยคุณสมบัติที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยต่อสู้กับการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกาย และมีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ที่สำคัญน้ำผึ้งมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยหอบหืด ตรงที่มีส่วนช่วยควบคุมอาการไอ น้ำผึ้งยังช่วยเพิ่มการผลิตน้ำลาย ซึ่งมีส่วนช่วยหล่อลื่นทางเดินหายใจ และช่วยลดอาการระคายเคืองในลำคอ นอกจากนี้ยังช่วยระงับอาการไอในตอนกลางคืน น้ำผึ้ง มีแนวโน้มที่จะเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับ โรคหอบหืดในเวลากลางคืน เพราะช่วยลดอาการไอและอาการแน่นหน้าอก

การศึกษาปี 2555 ในเด็กอายุ 1-5 ปี จำนวน 300 คนที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โดยนักวิจัยให้ น้ำผึ้งจากผลไม้รสเปรี้ยว น้ำผึ้งจากต้นยูคาลิปตัส และน้ำผึ้งจากพืชตระกูล Labiatae ส่วนคนอื่น ๆ ได้รับยาหลอก จากผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ได้รับน้ำผึ้ง มีส่วนจะช่วยบรรเทาอาการไอในตอนกลางคืน ทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ในปี 2555 ได้ทำการศึกษา ผลการทดลองทางคลินิก 2 ครั้ง รวมเด็ก 265 คนที่มีอาการไอเฉียบพลัน โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ น้ำผึ้ง และยาระงับอาการไอ นักวิจัยพบว่า เด็กที่ได้รับ น้ำผึ้ง มีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือมีประสิทธิภาพมากกว่ายาระงับอาการไอเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์

วิธีใช้น้ำผึ้งรักษาหอบหืด

น้ำผึ้ง มีส่วนช่วยลดอาการไอ หายใจไม่ออก และอาการแน่นหน้าอก ในผู้ที่มีอาการหอบหืดในเวลากลางคืน ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยนอนหลับไม่เพียงพอ

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) ได้แนะนำให้รับประทานน้ำผึ้ง 2 ช้อนชาก่อนนอน เพราะน้ำผึ้งมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของน้ำลาย ซึ่งมีส่วนช่วยหล่อลื่นทางเดินหายใจและบรรเทาอาการไอ นอกจากนี้ น้ำผึ้งยังอาจลดการอักเสบในท่อหลอดลม และช่วยสลายเมือกที่ทำให้หายใจได้ยาก ซึ่งวิธีการรับประทาน้ำผึ้งนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้

ข้อควรระวังในการใช้ น้ำผึ้ง

ส่วนใหญ่แล้วการรับประทานน้ำผึ้ง 1-2 ช้อนชา มีความปลอดภัย แต่สำหรับทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ไม่ควรรับประทานน้ำผึ้งเพราะเสี่ยงต่อการเป็นโรคโบทูลิซึม (Botulism) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หายใจลำบาก และเป็นอัมพาต บางครั้งอาจอันตรายจนถึงชีวิตได้ ส่วนใหญ่แล้วเชื้อนี้จะแพร่กระจายผ่านทางดินและอาหารที่ปนเปื้อน

น้ำผึ้งอาจมีสปอร์ของโรคโบทูลิซึม สำหรับผู้ใหญ่ที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงอาจยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ แต่ทารกยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ดังนั้น สปอร์ที่อยู่ในน้ำผึ้ง เมื่อบริโภคเข้าไปสามารถเจริญเติบโตและปล่อยสารพิษได้

สำหรับ ผู้ที่ยังไม่เคยรับประทาน น้ำผึ้ง หากอยากลองรับประทานน้ำผึ้งเป็นครั้งแรก ให้ลองรับประทานในปริมาณน้อย ๆ ก่อน เพราะอาจเกิดอาการแพ้ได้ อาการแพ้มักเกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนของน้ำผึ้งด้วยเกสรดอกไม้ ไม่ใช่พิษผึ้ง คนที่แพ้ผึ้งไม่จำเป็นต้องแพ้น้ำผึ้งเสมอไป อาการที่เกิดจากการแพ้น้ำผึ้ง ได้แก่

หากมีปฏิกิริยาแพ้ที่รุนแรง อาจทำให้หายใจไม่ออก รู้สึกแน่นหน้าอก และหายใจลำบาก หากมีอาการแพ้อย่างรุนแรงต้องได้รับการดูแลทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Magical Effects of Honey For Asthma.https://www.docnitinagrawal.com/blog/2018/02/12/treating-asthma-honey/.Accessed March 30, 2021

Can Honey Treat Asthma?.https://www.healthline.com/health/asthma/honey-for-asthma.Accessed March 30, 2021

Is honey good for asthma?.https://www.medicalnewstoday.com/articles/321873#_noHeaderPrefixedContent.Accessed March 30, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/04/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 สารอาหาร มีประโยชน์ สำหรับผู้ป่วย โรคหอบหืด

ทุกเรื่องที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับอาการ หอบหืดตอนกลางคืน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 02/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา