ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ
หอบหืด เป็นภาวะเรื้อรังที่ทำให้เกิดการหายใจมีเสียง (เสียงเหมือนนกหวีดเมื่อคุณหายใจ) แน่นหน้าอก หายใจลำบาก และไอ หอบหืดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถจัดการและรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตตามปกติและมีสุขภาพดีได้
หอบหืด (Asthma) เป็นภาวะหนึ่งซึ่งอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอดถูกจำกัด เนื่องจาก มีการติดเชื้อทางเดินหายใจ การติดเชื้อทำให้กล้ามเนื้อโดยรอบทางเดินหายใจตึงตัวและกระตุ้นอาการบางประการ หอบหืดเป็นภาวะเรื้อรังที่ทำให้เกิดการหายใจมีเสียง (เสียงเหมือนนกหวีดเมื่อคุณหายใจ) แน่นหน้าอก หายใจลำบาก และไอ หอบหืดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถจัดการและรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตตามปกติและมีสุขภาพดีได้
โรคหอบหืด เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปในคนได้ทุกวัย แต่มักเกิดได้มากที่สุดในวัยเด็ก โดยพบว่า คนประมาณ 300 ล้านคนทั่วโลกเป็น โรคหอบหืด สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการทั่วไปของ โรคหอบหืด ได้แก่
เด็กที่เป็นหอบหืดมักมีอาการไอเรื้อรัง แต่อาการอื่น ๆ ที่ค้ลายคลึงกับหอบหืดในผู้ใหญ่ยังอาจเกิดขึ้นได้ เช่น อาการไอ หายใจมีเสียง และหายใจลำบาก
ประเภทของอาการหอบหืด ความถี่ของการเกิดอาการ และความรุนแรงของอาการ อาจเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป ในบางครั้ง อาการต่าง ๆ อาจเพียงสร้างความรำคาญ แต่บางครั้ง อาการอาจเป็นปัญหามากพอที่จะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้
ควรไปพบหมอทันทีเมื่อเกิดอาการขึ้น เพื่อไม่ให้อาการรุนแรงกว่าเดิม อาการขั้นรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากผู้ป่วยเป็น โรคหอบหืด ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ควรไปพบหมอเพื่อหาการรักษาที่เหมาะสม หากได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาการต่าง ๆ ของ โรคหอบหืด สามารถหลีกเลี่ยงได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
หากมีอาการที่พบได้ทั่วไปเหล่านี้หนึ่งประการหรือมากกว่า ให้ทำการนัดหมายเพื่อปรึกษาแพทย์
ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดสำหรับการเกิดโรคหอบหืด อย่างไรก็ดี มีสิ่งกระตุ้นบางประการที่สามารถทำให้อาการต่าง ๆ ปรากฏขึ้นหรือมีอาการแย่ลง
หอบหืดส่งผลต่อคนได้ทุกวัย แต่พบได้มากที่สุดในวัยเด็ก พันธุกรรมและการสัมผัสสารบางชนิดในสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยความเสี่ยงร่วมกันของการเริ่มต้นเป็นหอบหืดครั้งแรก
ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
หอบหืดมีการวินิจฉัยโดยการตรวจสอบประวัติสุขภาพและทำการตรวจการหายใจเพื่อวัดการทำงานของปอด แพทย์จะฟังเสียงการหายใจและตรวจหาสิ่งบ่งชี้ต่าง ๆ ของ โรคหอบหืด หรือภูมิแพ้ สิ่งบ่งชี้ดังกล่าว ได้แก่ หายใจมีเสียง น้ำมูกไหลหรือโพรงจมูกบวม และภูมิแพ้ผิวหนัง คนจำนวนมากที่เป็นหอบหืดยังเป็นโรคภูมิแพ้ร่วมด้วย ดังนั้น แพทย์จึงอาจทำการตรวจภูมิแพ้ด้วย
นอกจากนี้ ยังอาจทำการทดสอบบางประการเพื่อดูภาวะต่าง ๆ โดยระดับความรุนแรงของโรคจะเป็นตัวกำหนดการรักษาในระยะเริ่มต้น การทดสอบที่มักทำกันทั่วไป ได้แก่
ในปัจจุบันนี้ โรคหอบหืด ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถจัดการอาการต่าง ๆ ได้โดยการใช้ยาและการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ ซึ่งเป็นการใช้ยาตามที่แพทย์สั่งและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ของหอบหืด
เมื่อมีการการใช้ยาที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม อาการทั่วไปจะดีขึ้น ดังนี้
การใช้ยา
ยาบางชนิดมักใช้เป็นประจำทุกวัน ได้แก่ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) สำหรับสูดดม ยาบูเดโซไนด์ (Budesonide) ยาโมเมทาโซน (Mometasone) ยาซิเคลโซไนด์ (Ciclesonide) ยาฟลูนิโซไลด์ (Flunisolide) ยาเบโคลเมทาโซน (Beclomethasone) และยาอื่น ๆ
ยา Leukotriene Modifiers เป็นยารับประทาน ซึ่งได้แก่ ยามอนเทลูคาสต์ (Montelukast) ยาซาเฟอร์ลูคาสต์ (Zafirlukast) และยาไซลูตัน (Zileuton)
ยาออกฤทธิ์เร็วหรือยาช่วยชีวิตจะนำมาใช้เพื่อคลายและเปิดหลอดลมอย่างรวดเร็วและบรรเทาอาการต่าง ๆ ในระหว่าง โรคหอบหืด กำเริบ หรือใช้ก่อนออกกำลังกายหากแพทย์สั่ง ยาเหล่านี้ ได้แก่ ยากลุ่ม Beta-Agonists ที่ออกฤทธิ์สั้น ยาขยายหลอดลมสำหรับพ่นจมูก (Inhaled Bronchodilator) เหล่านี้ ได้แก่ ยาอัลบิวเทอรัล (Albuterol) ยาเลวัลบิวเทอรัล (Levalbuterol) และยาเพอร์บิวเทอรัล (Pirbuterol)
ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์สำหรับรับประทานหรือใช้ทางหลอดเลือด อาจจำเป็นเมื่อหอบหืดชนิดเฉียบพลันกำเริบหรือมีอาการที่รุนแรง ตัวอย่างเช่น ยาเพรดนิโซน (Prednisone) ยาเมทิลเพรดนิโซน (Methylprednisolone)
ยาสำหรับพ่นจมูก
ย่าพ่นจมูกมักประกอบด้วย 2 ตัวยาหลัก ได้แก่ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์สำหรับพ่นจมูก (Inhaled Corticosteroid) และยา Long-Acting Beta-Agonist (LABA) โดยยา LABAs เป็นยาควบคุมอาการที่ช่วยขยายหลอดลม
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองดังต่อไปนี้จะช่วยให้รับมือกับ โรคหอบหืด ได้
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
ทีม Hello คุณหมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย