โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยการดูแลสุขภาพตนเอง วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดให้มากขึ้นกัน เพื่อที่จะได้ดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี โดยแบ่งคำถาม-คำตอบ เป็นข้อ ๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย ดังนี้ [embed-health-tool-bmi] ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง ถึงแม้ว่าไข้หวัดจะเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่เชื่อว่าหลายคนมักมีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับไข้หวัด ซึ่งอาจส่งผลให้เราละเลยการดูแลสุขภาพของตนเอง หรือดูแลสุขภาพได้ไม่ถูกวิธี วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดให้มากขึ้น ด้วยการนำ 4 คำถามที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับโรคไข้หวัด มาฝากกันค่ะ ไข้หวัดเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก จริงหรือไม่ จริง ไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อย จากสถิติพบว่าผู้ใหญ่อาจป่วยเป็นไข้หวัดประมาณ 2-3 ครั้ง/ปี และในวันเด็กอาจป่วยมากกว่าวัยผู้ใหญ่มากขึ้นไปอีก โรคไข้หวัดเกิดจากไวรัส จริงหรือไม่ จริง โรคไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสไรโนไวรัส (Rhinoviruses) รวมถึงไวรัสชนิดอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดหวัดอย่างไวรัสอะดีโน (Adenovirus) ไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) เป็นต้น ไข้หวัด รักษาให้หายขาดได้ จริงหรือไม่ ไม่จริง แต่เราสามารถเยียวยาเพื่อบรรเทาอาการได้ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ รับประทานยาแก้ปวด วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไข้หวัด […]

หมวดหมู่ โรคทางเดินหายใจ เพิ่มเติม

ไข้หวัด

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

เสมหะในคอ เคลียร์ได้! ด้วยการใช้ อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine)

อะเซทิลซิสเทอีน  (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-acetylcysteine) หรือที่เรียกโดยย่อว่า NAC คือ ตัวยาสำคัญที่มักนำมาเป็นส่วนประกอบของกลุ่มยาละลายเสมหะ โดยมีคุณสมบัติเด่นในการช่วยคลายความข้นเหนียวของ เสมหะในคอ ช่วยให้ร่างกายสามารถกำจัดเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น เป็นโอกาสดีที่เราจะมาทำความรู้จักกับสารตัวนี้ให้มากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังกังวลหรืออึดอัดกับอาการไอมีเสมหะอยู่ในขณะนี้ [embed-health-tool-bmi] รู้จัก…รู้จริงเกี่ยวกับ อะเซทิลซิสเทอีน อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine) จัดเป็นอนุพันธ์หนึ่งของกรดอะมิโนชนิด แอล-ซิสเทอีน (L-cysteine) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี ถูกนำมาใช้เป็นยาละลายเสมหะเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1960 ในผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ซึ่งเป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ทำให้มีการสร้างเสมหะอุดกั้นปอด และเกิดเมือกในตับอ่อนและอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย อะเซทิลซิสเทอีน (เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน) จัดการกับ เสมหะในคอ อย่างไร คุณสมบัติที่โดดเด่นของ อะเซทิลซิสเทอีน (เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน) คือ ความสามารถในการทำลายการยึดเกาะของโมเลกุลเสมหะ ทำให้เสมหะแตกตัวและมีความข้นเหนียวลดลง ส่งผลให้ร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น ตัวยานี้จึงมักนำไปใช้ในการรักษากับผู้ที่มีอาการไอแบบมีเสมหะทั่วไป รวมทั้งผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบ โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมโป่งพองหรือโรคมองคร่อ (Bronchiectasis) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเสมหะ ลดการสะสมของเสมหะ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไอมีเสมหะ ไม่หายซะที! วิธีไหนทำให้หายไวที่สุด

แม้ว่าดูเหมือนเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งอาการไอก็เป็นสิ่งที่สร้างความทรมาน น่าอึดอัด และความรำคาญใจให้แก่ผู้ป่วย และบางครั้งก็รบกวนคนรอบข้างอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีอาการ ไอมีเสมหะ ที่บางครั้งทำให้รู้สึกหายใจลำบากและรบกวนการทำกิจกรรมตามปกติในชีวิตประจำวัน หากปล่อยให้ไอต่อไปเรื่อย ๆ คงไม่ดีแน่ ดังนั้น เราจึงขอนำเสนอวิธีการกำจัดเสมหะ ซึ่งจะช่วยให้อาการไอหายไปโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmr] วิธีจัดการกับอาการ ไอมีเสมหะ แบบเร่งด่วน 1. พยายามขจัดเสมหะในลำคอออกมา เมื่อรู้สึกว่ามีเสมหะติดอยู่ในลำคอให้พยายามไอหรือขากเสลดออกมา ไม่ควรกลืนกลับเข้าไป เพราะนั่นคือเชื้อโรคที่ร่างกายพยายามกำจัดทิ้ง การกลืนเข้าไปก็เท่ากับกลืนเชื้อโรคกลับเข้าไปใหม่นั่นเอง และควรบ้วนเสมหะทิ้งในที่ที่เหมาะสมด้วย 2. ดื่มน้ำมาก ๆ ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งได้แก่ โรคหวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ มักส่งผลให้มีปริมาณเมือกหรือเสมหะมากขึ้นจนทำให้เสมหะไหลลงคอ ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองและกระตุ้นให้เกิดการไอ การดื่มน้ำปริมาณมากจะช่วยให้เสมหะไม่จับตัวจนข้นเหนียวมากเกินไป ทำให้ร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้โดยง่าย และยังช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้เนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจไม่ให้แห้งเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดอาการไอได้เช่นกัน 3. เลือกเครื่องดื่มร้อน เลี่ยงเครื่องดื่มเย็น เมื่อเกิดอาการไอแบบมีเสมหะควรเลือกเครื่องดื่มร้อน หรือน้ำเปล่าที่อุณหภูมิห้อง หรืออาจเป็นน้ำซุปหรือแกงจืดร้อน ๆ เพื่อช่วยละลายเสมหะ และช่วยบรรเทาการระคายคอได้ 4. หายใจผ่านผ้าชุบน้ำอุ่น ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นแล้วปิดหน้าไว้ พร้อมกับหายใจผ่านผ้าเปียก ซึ่งนี่เป็นวิธีสร้างความชุ่มชื้นให้แก่โพรงจมูกและลำคอแบบรวดเร็ว โดยความร้อนจากผ้าจะนำพาความชุ่มชื้นเข้าไปในระบบทางเดินหายใจและช่วยบรรเทาความเจ็บปวด รวมทั้ง ลดความดันภายในทางเดินหายใจได้ นอกจากนี้ วิธีนี้ยังช่วยลดอาการปวดหัวจากไซนัสอักเสบอย่างได้ผลอีกด้วย 5. ใช้น้ำเกลือสำหรับล้างจมูก การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือถือเป็นวิธีขจัดเสมหะที่ได้ผลดี เนื่องจากเป็นการทำความสะอาดชำระล้างเอาสิ่งสกปรกที่ทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูกและไซนัสออกไป อย่างไรก็ตาม ควรมองหาน้ำเกลือที่มีส่วนผสมของโซเดียมคลอไรด์และเป็นแบบ Sterile คือ ชนิดที่ทำให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อน และต้องมีฉลากระบุข้างขวดด้วยว่า “For irrigation” […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ลักษณะการไอ ของคุณเป็นแบบไหน ลองเช็คอาการไอ 5 รูปแบบต่อไปนี้

แน่นอนว่าทุกคนต้องเคยเกิดอาการไอ แต่เคยสังเกตหรือไม่ว่าการไอแต่ละครั้งของคุณมีความแตกต่างกันอย่างไร มาทำความรู้จักกับ ลักษณะการไอ แต่ละชนิดที่อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน [embed-health-tool-heart-rate] ชนิดการ ไอ แบ่งตามระยะเวลา หากแบ่งการไอตามระยะเวลา ลักษณะการไอ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ไอ ฉับพลัน มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด โพรงไซนัสอักเสบฉับพลัน คอหรือกล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ อาการกำเริบของโรคถุงลมโป่งพอง ปอดอักเสบ การมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในหลอดลม หรือการสัมผัสกับสารระคายเคืองในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ กลิ่นสเปรย์ แก๊ส และมลพิษทางอากาศ ไอ เรื้อรัง มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่า 3 สัปดาห์ ถึง 8 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง การรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงกลุ่ม Angiotensin-Converting Enzyme Inhibitor (ACE-I) เป็นระยะเวลานาน โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังแล้วมีน้ำมูกไหลลงคอ โรคหอบหืด โรคกรดไหลย้อน การใช้เสียงมากทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง เนื้องอกบริเวณคอ กล่องเสียงหรือหลอดลม โรคของสมองส่วนที่ควบคุมการไอ วัณโรคปอด ผู้ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรังบางรายอาจมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งชนิด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ อาการไอแบ่งตาม ลักษณะการไอ มีอะไรบ้าง […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

เสมหะ บอกอะไร เรียนรู้การถอดรหัสสุขภาพจากสีของเสมหะด้วยตนเอง

หากคุณกำลังมีอาการไอแบบมี เสมหะ นั่นเป็นสัญญาณบอกความผิดปกติบางอย่างของระบบทางเดินหายใจ เพราะร่างกายกำลังทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคที่หลุดรอดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจของคุณออกมาพร้อมกับเสมหะ นอกจากนี้ สีของเสมหะ ยังมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพของคุณซ่อนอยู่ ต่อไปนี้คือวิธีไขรหัสจากสีของเสมหะง่าย ๆ ด้วยตนเอง เสมหะ คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อร่างกาย เสมหะ คือสารคัดหลั่งที่ร่างกายสร้างออกมา จากต่อมสร้างสารคัดหลั่งที่อยู่ในเยื่อบุทางเดินหายใจ ทำหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นให้แก่อวัยวะสำคัญ ทั้งยังเป็นตัวช่วยดักจับสารก่อความระคายเคือง เช่น ฝุ่น ควัน เชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจ ภายในเสมหะประกอบด้วยสารแอนติบอดี้และเอนไซม์ชนิดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ แม้ว่าไม่ได้มีปัญหาสุขภาพใด ๆ ร่างกายก็ยังสร้างเสมหะออกมาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งโดยปกติ ร่างกายเราสามารถสร้างเสมหะปริมาณ 1 – 1.5 ลิตรต่อวันเลยทีเดียว หากคุณมีอาการไอมาพร้อมกับเสมหะจำนวนหนึ่ง นั่นเป็นสัญญาณบอกว่าระบบทางเดินหายใจอาจติดเชื้อโรคหรือเกิดอาการแพ้อย่างใดอย่างหนึ่งเข้าให้แล้ว ตามกลไกทางธรรมชาติของร่างกาย เมื่อมีสิ่งที่ทำให้ระบบทางเดินหายใจระคายเคือง ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้สร้างเสมหะหรือเมือกในระบบทางเดินหายใจในปริมาณเพิ่มมากขึ้นเพื่อดักจับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม และกระตุ้นให้ร่างกายขับเสมหะออกมาโดยการไอ นี่คือที่มาของอาการ ไอมีเสมหะ นั่นเอง สีของเสมหะ บ่งบอกสุขภาพ ในคนที่มีสุขภาพดีปกติ ลักษณะเสมหะ ที่ถูกผลิตออกมามักมีสีใส แต่หากมีการติดเชื้อหรือการอักเสบ สีของเสมหะอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงตามประเภทของการติดเชื้อหรือสาเหตุอื่น ๆ ที่พอจะสรุปได้ดังนี้ ลักษณะเสมหะ สีขาวขุ่นหรือเทา เสมหะสีขาวขุ่นหรือเทาเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรืออาจเกิดการอักเสบของไซนัสซึ่งเป็นโพรงอากาศบริเวณข้างโพรงจมูก  โดยเสมหะประเภทนี้ไหลมาจากไซนัสที่เกิดติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ทำให้เสมหะมีปริมาณมากขึ้นและไหลลงสู่ลำคอ เคยมีข้อมูลหนึ่งที่ระบุว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมสามารถทำให้เกิดเสมหะขาวขุ่นได้ ซึ่งนั่นไม่เป็นความจริง อย่างไรก็ตาม การบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมสามารถทำให้เสมหะจับตัวหนาขึ้นและทำให้ร่างกายขับออกมาได้ยากขึ้น ส่งผลให้เสมหะติดค้างและแห้งกรัง เมื่อถูกขับออกมาจึงมีสีขาวขุ่น ในขณะที่เสมหะสีเทา […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ยาแก้ไอ รูปแบบ ไหนกันแน่ ที่จัดการกับอาการไอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากการแบ่งประเภทของ ยาแก้ไอ ตามคุณสมบัติการออกฤทธิ์ เพื่อรักษาอาการไอในลักษณะต่าง ๆ แล้ว รูปแบบของยาแก้ไอก็มีส่วนสำคัญ ในการพิจารณาเลือกใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับอาการ รวมทั้งความสะดวกในการใช้อีกด้วย ดังนั้น เราจึงขอแนะนำ ยาแก้ไอ รูปแบบ ต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นยาเม็ด ยาอม ยาผง หรือยาเม็ดฟู่ โดยเน้นให้เห็นถึงคุณสมบัติในการรักษา รวมทั้งข้อดีและข้อเสีย เพื่อการเลือกใช้ตามความเหมาะสม และเพื่อรักษาอาการไอได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด [embed-health-tool-bmr] ทำไมยาต้องมีรูปแบบต่างกัน รูปแบบของยาที่แตกต่างกันนั้น ส่งผลถึงการช่วยให้ตัวยาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพดีที่สุดตามอาการต่าง ๆ โดยยาแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันและมีผลต่อร่างกายต่างกัน ดังนั้น เพื่อให้ยาสามารถทำงานได้ตามคุณสมบัติอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมยาในรูปแบบต่างกัน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ เพื่อปกป้องตัวยาไม่ให้สลายง่ายโดยสิ่งแวดล้อม เช่น ความชื้น เพื่อป้องกันการสลายตัวโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เพื่อกลบรสหรือทำให้ได้รสที่น่ารับประทาน เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมกับตัวยา เช่น ถ้าละลายน้ำได้ดีก็ทำเป็นยาน้ำใส ถ้าไม่ละลายก็ทำเป็นยาแขวนตะกอน ให้ตัวยาอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับการนำไปใช้ เช่น ยาน้ำใสปราศจากเชื้อเพื่อใช้ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ เป็นต้น ให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมกับการนำติดตัวไปใช้ และการขนส่ง เช่น การทำเป็นยาเม็ดแทนยาน้ำ ให้ได้รูปแบบของยาที่ได้ขนาดที่ถูกต้องและปลอดภัย เกิดอันตรายกับผู้ใช้น้อยที่สุดและถ้าเกิดอันตรายขึ้นสามารถแก้ได้ไม่ยาก ให้ได้รูปแบบของยาที่จะให้ประโยชน์ในการรักษามากที่สุด ยาแก้ไอ รูปแบบ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ยาแก้ไอ ยาขับเสมหะ ยาละลายเสมหะ สงสัยมั้ย ต่างกันอย่างไร

เรามักหันมาพึ่ง ยาแก้ไอ เมื่อมีอาการไอเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือรุนแรง จนอาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ทั้งผู้มีอาการและคนรอบข้าง หรืออาจรบกวนการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันทั่วไปก็ได้ อย่างไรก็ตาม ยาแก้ไอ ที่มีขายกันอยู่ตามท้องตลาดก็มีอยู่หลายประเภท ทั้งยาแก้ไอสำหรับอาการไอแบบไม่มีเสมหะ และยาสำหรับอาการไอแบบมีเสมหะที่เรียกว่า ยาขับเสมหะ หรือ ยาละลายเสมหะ จึงทำให้เกิดความสับสนอยู่บ่อย ๆ ยาแก้ไอแต่ละประเภทนั้นก็มีตัวยาสำคัญ คุณสมบัติ และข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน บางชนิดอาจใช้ร่วมกันได้ และบางชนิดก็ใช้ทดแทนกันไม่ได้ ดังนั้น การเข้าใจสาเหตุ และการเลือกประเภทยาแก้ไอที่เหมาะสมกับอาการไอของคุณ ย่อมหมายถึงการรักษาอาการไอที่มีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง  บทความนี้จึงขอนำคุณมาทำความเข้าใจกับยาแก้ไอแต่ละประเภท เพื่อให้คุณสามารถเลือกใช้รักษาอาการไอของคุณได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยมากที่สุด ประเภทของ ยาแก้ไอ มีอะไรบ้าง ยาแก้ไอสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ 1. ยาระงับอาการไอ หรือ บรรเทาอาการไอ ยาประเภทนี้ออกฤทธิ์ตามชื่อ คือการกดไม่ให้เกิดอาการไอ การทำงานของยาชนิดนี้คือการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับกลไกการไอ ทำให้ร่างกายตอบสนองต่อกลไกการไอน้อยลง ทำให้ผู้ป่วยไอน้อยลง ส่วนใหญ่ ยาแก้ไอประเภทนี้มักเหมาะกับการ บรรเทาอาการไอ ในระยะสั้น ๆ สำหรับผู้ป่วยที่ไอแห้งแบบไม่มีเสมหะ และยาชนิดนี้ไม่สามารถรักษา หรือจัดการกับสาเหตุของอาการไอ ที่เกิดจากโรคหรือภาวะสุขภาพอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยาระงับอาการไอมักมาในรูปแบบของยาน้ำ ยาเม็ดรับประทาน หรือ ยาอม ซึ่งสามารถเลือกรับประทานได้ตามความสะดวก 2. ยาขับเสมหะ ยาขับเสมหะมีฤทธิ์กระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มปริมาณของเหลว และสารหล่อลื่นที่ทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นและหล่อลื่นระบบทางเดินหายใจ เพื่อให้เสมหะคลายความข้นเหนียว และหลุดอออกจากเยื่อบุในระบบทางเดินหายใจ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

หายใจไม่อิ่ม สัญญาณความผิดปกติระบบทางเดินหายใจและหัวใจของคุณ

ลมหายใจ ก็เหมือนกับระบบที่หล่อเลี้ยงร่างกายส่วนอื่นๆ ที่ต้องทำงานต่อเนื่องตลอดวัน จากข้อเท็จจริงที่ว่า เราหายใจอากาศเข้าไปในร่างกายประมาณ 6 ลิตรต่อนาที จึงเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมาก ที่กระบวนการนี้ดำเนินไปโดยที่เราแทบจะไม่สังเกตเลย จนกระทั่งเมื่อเราเริ่มมีภาวะหายใจลำบาก หรือ หายใจไม่อิ่ม เราจึงเพิ่งตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการที่สำคัญต่อร่างกายนี้ และยังอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ถึงความผิดปกติบางอย่างของร่างกายเราอีกด้วย ทำความเข้าใจภาวะ หายใจไม่อิ่ม โดยทั่วไปผู้ป่วยมักอธิบายอาการนี้ว่า “ได้รับอากาศไม่เพียงพอ” หรือ “ต้องใช้ความพยายามในการหายใจมากขึ้น” “แน่นหน้าอก” หรือ “หายใจไม่อิ่ม” โดยในทางการแพทย์นั้นเรียกอาการนี้ว่า อาการหายใจลำบาก (dysnea) ซึ่งเป็นคำเรียกโดยทั่วไป และไม่ได้เฉพาะเจาะจงอาการแต่เป็นภาวะที่น่าวิตกมากสำหรับผู้ที่มีอาการ และมีแต่ผู้ป่วยเท่านั้นที่จะสามารถอธิบายอาการได้ชัดเจนที่สุด เมื่อมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น ภาวะหายใจไม่อิ่มอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรัง โดยอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันนั้นมักมีอาการรุนแรง และเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน เช่น มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปเป็นอุปสรรคต่อการหายใจ หรือมีอาการหอบหืด ในขณะที่อาการแบบเรื้อรังนั้น จะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีอาการแย่ลงตามลำดับ อย่างที่เกิดกับภาวะหัวใจล้มเหลว หรือโรคหอบหืด สาเหตุของการหายใจไม่อิ่ม ภาวะหายใจไม่อิ่มสามารถแบ่งออกได้ทั้งแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง หรือแบ่งตามต้นตอของสาเหตุ ได้แก่ ปอด หัวใจ ระบบหายใจส่วนบน ระบบประสาทส่วนกลาง สภาพจิตใจ กล้ามเนื้อและกระดูก หรือ ต่อมไร้ท่อ แต่โดยทั่วไปภาวะหายใจไม่อิ่ม มักเกิดจากสาเหตุที่ปอดหรือระบบหัวใจและหลอดเลือด แต่ในบางกรณีอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น โรคแพนิค (อาการทางจิตเวช) โรคทางระบบประสาท […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไอตอนกลางคืน สาเหตุและวิธีช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น

ไอตอนกลางคืน เป็นอาการไอที่เกิดในช่วงเวลากลางคืน โดยเฉพาะระหว่างการนอนหลับ ซึ่งมักมีอาการจากอาการคันคอเล็กน้อยเรื่อยไปจนถึงอาการไออย่างรุนแรง ทำให้รบกวนการนอนหลับ และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ อะไรคือสาเหตุการไอตอนกลางคืน และมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของการไอตอนกลางคืน   อาการไอ เป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่ต้องการกำจัดสิ่งแปลกปลอม เช่น เมือก เสมหะ เชื้อโรค สารพิษ ซึ่งทำให้ทางเดินหายใจเกิดความระคายเคืองออกไปจากร่างกาย ส่วนอาการ ไอตอนกลางคืน  เป็นอาการไอที่มักเกิดในช่วงกลางคืน โดยเฉพาะเวลานอนหลับ สาเหตุที่ทำให้เกิดการไอตอนกลางคืน มักจะมาจากปัญหาสุขภาพที่มีอยู่ก่อนแล้ว ดังต่อไปนี้ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ไซนัสอักเสบ ไข้หวัด โรคกรดไหลย้อน โรคภูมิแพ้ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้กลายเป็นไอเรื้อรัง อาจรบกวนการนอนหลับ และอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ในภายหลัง วิธีแก้ไอตอนกลางคืน วิธีบรรเทาอาการไอตอนกลางคืนอาจทำได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง หรือการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อช่วยให้อาการไอดีขึ้นได้ ดังต่อไปนี้ ปรับหัวเตียงให้เอียงขึ้น เนื่องจากสารก่อความระคายเคืองทั้งหลายสามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจได้โดยง่าย เมื่อร่างกายอยู่ในท่านอนราบ ดังนั้น อาจปรับให้นอนหมอนสูงขึ้น เพื่อให้ศีรษะอยู่ในระดับสูงขึ้นจากที่นอนเล็กน้อย จิบน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้ง  การผสมน้ำผึ้งลงในเครื่องดื่มอุ่น ๆอาจช่วยละลายเสมหะที่ติดในลำคอได้ ลองใช้น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับเครื่องดื่มสุขภาพ เช่น ชาสมุนไพรต่าง ๆ ที่ปราศจากคาเฟอีน แล้วดื่มก่อนเข้านอน อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรให้แด็กอายุต่ำกว่า 1 […]


โรคหอบหืด

ข้อควรรู้ในการ เลือกเครื่องพ่นละอองยา สำหรับหอบหืด

เครื่องพ่นละอองยา คืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้กับผู้ป่วยจำเป็นต้องพ่นละอองยาเข้าสู่ทางเดินหายใจ เช่น ผู้ป่วยโรคหอบหืด การ เลือกเครื่องพ่นละอองยา ให้เหมาะสม มีความสำคัญอย่างมากต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาอาการหอบหืด วันนี้ Hello คุณหมอ เลยได้นำข้อควรรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการเลือกเครื่องพ่นละอองยามาฝากทุกคนกันค่ะ ประเภทของ เครื่องพ่นละอองยา เครื่องพ่นละอองยา มีอยู่มากมายหลากหลายแบบ แต่ละแบบจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกันไป แต่โดยรวมนั้นจะมีลักษณะการทำงานที่คล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปเครื่องพ่นละอองยามีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ เครื่องพ่นละอองยาแบบอัดอากาศ (compressor nebulizer) เครื่องพ่นละอองยาแบบอัลตราโซนิก (ultrasonic nebulizer) และเครื่องพ่นละอองยาแบบพกพา (mesh nebulizer) การเลือกประเภทของเครื่องพ่นละอองยาจะต้องพิจารณาจากระยะเวลาในการรักษา ขนาดของละอองยาที่ต้องการ ความสะดวกในการพกพา ความทนทานในการใช้งาน และเหตุผลอื่น ๆ ด้านการรักษา เครื่องพ่นยาแบบอัลตราโซนิกจะนิยมใช้ในโรงพยาบาล ส่วนเครื่องพ่นยาแบบอัดอากาศและแบบพกพาจะนิยมใช้กันที่บ้าน เครื่องพ่นละอองยา แบบอัดอากาศ (Compressor Nebulizers) เครื่องพ่นละอองยาแบบอัดอากาศทำงานด้วยการอัดอากาศให้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงผ่านตัวยาที่เป็นของเหลว เพื่อเปลี่ยนตัวยาให้กลายเป็นละออง เครื่องมือชนิดนี้มีราคาไม่แพงและมีขนาดของอนุภาคตัวยาที่หลากหลาย บางคนอาจเรียกว่า เครื่องพ่นละอองยาแบบตั้งโต๊ะ เพราะหนักและไม่สะดวกในการพกพา เหมาะกับการใช้ประจำที่ และจำเป็นต้องเสียบปลั๊กไฟขณะใช้งาน รวมทั้งมีเสียงดังขณะใช้งานด้วย เครื่องพ่นละอองยา แบบอัลตราโซนิก (ultrasonic nebulizer) เครื่องพ่นละอองยาแบบอัลตราโซนิกใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อสร้างคลื่นเสียงอัลตราโซนิก ทำให้ยาแตกตัวกลายเป็นไอน้ำขนาดเล็กละเอียด ข้อดีคือมีขนาดเล็กและพกพาสะดวก เครื่องพ่นละอองยา แบบพกพา (Mesh Nebulizers) เครื่องพ่นละอองยาแบบพกพาสามารถใช้ได้กับทั้งไฟฟ้าและคลื่นอัลตร้าโซนิก […]


โรคหอบหืด

สัญญาณเตือน หอบหืดกำเริบ รู้ทันก่อน ช่วยลดความเสี่ยง

สัญญาณเตือนก่อนเกิดอาการหอบหืด คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อน หรือในช่วงต้นของเกิดอาการ หอบหืดกำเริบ เป็นวิธีที่ร่างกายพยายามจะเตือนให้ทราบว่า เรากำลังจะมี อาการหอบหืด เกิดขึ้น สัญญาณเตือนนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน เพื่อรู้จักสัญญาณเตือนอาการของโรคหอบหืดประจำตัวคุณ คุณจำเป็นต้องเรียนรู้จากประสบการณ์การหอบหืดก่อนหน้านี้ เมื่อคุณทราบถึงสัญญาณเตือนเหล่านี้ คุณอาจสามารถหยุด อาการหอบหืด หรือป้องกันตัวเองจาก อาการหอบหืด ที่แย่ลงได้ สัญญาณเตือน หอบหืดกำเริบ ล่วงหน้าที่พบบ่อย สัญญาณเตือนเหล่านี้ อาจไม่รุนแรงพอที่จะหยุดคนเรา จากการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน มันอาจนำมาก่อนเกิดอาการจับหอบเป็นเวลาหลายวัน หรือลายชั่วโมง หรือตอนก่อนที่จะเริ่ม อาการหอบหืด โดยสัญญาณเตือนเหล่านี้ได้แก่ ไอถี่ ๆ ตอนกลางคืนและไม่หายง่าย ๆ เครื่องมือแสดงสมรรถนะปอดแสดงค่าต่ำลง หายใจไม่สะดวกหรือหายใจไม่อิ่ม รู้สึกเหนื่อยง่าย และไม่มีแรงเมื่อออกกำลัง หายใจมีเสียงหวีด หรือไอระหว่างหรือหลังการออกกำลังกาย หายใจลำบากขณะออกกำลังกาย เหนื่อยกว่าปกติ นอนไม่หลับ และมี อาการหอบหืด ตอนกลางคืน อารมณ์เปลี่ยนแปลง หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย หรือเงียบกว่าปกติ มีอาการคล้ายหวัดหรือภูมิแพ้ เช่น จาม น้ำมูกไหล ไอ คัดจมูก เจ็บคอ แน่นหน้าอก หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรมาทับที่หน้าอก คันบริเวณคาง ใต้ตาดำคล้ำ  กระหายน้ำ คัน หรือน้ำตาไหล ปวดท้อง ปวดหัว มีไข้ รู้สึกกระสับกระส่าย สีของใบหน้าเปลี่ยน หน้าซีด หรือหน้าแดง ระคายคอ กระแอมไอ มีลมพิษหรือผื่นขึ้นที่ผิวหนัง อาการข้างต้น คือ สัญญาณเตือนก่อนเกิด อาการหอบหืด ที่พบได้บ่อย คุณอาจไม่พบอาการข้างต้นเพียงอาการเดียว และแต่ละคนอาจแสดงอาการแตกต่างกัน หอบหืดกำเริบรับมืออย่างไรดี เริ่มใส่ใจต่อร่างกายของคุณเอง ความรุนแรงของ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน