โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2025 ควรฉีดไหม และฉีดเมื่อไหร่ดี

ไข้หวัดใหญ่ เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสที่บริเวณทางเดินหายใจ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ในกลุ่มเสี่ยงบางกลุ่ม แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี แต่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดไหม และ ฉีดก่อนครบปีได้ไหม หาคำตอบได้ในบทความนี้ [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2025 ควรฉีดไหม วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดเป็นประจำทุกปี ในช่วงก่อนฤดูการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่นั้นมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ทุกปี อีกทั้งภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ก็ยังจะลดลงเรื่อย ๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปีเพื่อช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพสูงในการต่อสู้กับไวรัสที่ก่อให้เกิดไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ในปัจจุบัน วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2025 ที่ใช้ในประเภทไทยจะเป็นชนิด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ซึ่งครอบคลุมไวรัส 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A/H1N1         ไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A/H3N2     ไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ B ตระกูล Victoria  ไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ B ตระกูล Yamagata วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2025 ควรฉีดเมื่อไหร่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 เข็ม โดยปกติ แนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วง […]

หมวดหมู่ โรคทางเดินหายใจ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ภาวะขาดออกซิเจน ในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ภาวะขาดออกซิเจน มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เนื่องจากโรคนี้จะทำที่ทำให้หายใจลำบาก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประกอบด้วยอาการของหลอดลมอักเสบ และถุงลมโป่งพองเรื้อรัง โดยอาการทั้งสองประการนี้จะจำกัดการไหลเวียนของอากาศ และทำให้ปอดไม่สามารถรับออกซิเจนได้เพียงพอ โดยสามารถทำให้คุณมีความเสี่ยงในการเกิด ภาวะขาดออกซิเจนที่เป็นการให้ออกซิเจนไม่เพียงพอกับเซลล์และเนื้อเยื่อของร่างกาย อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงโดยในบางครั้งอาจที่จะคุกคามต่อชีวิตได้ อาการของ ภาวะขาดออกซิเจน คลีฟแลนด์คลินิกได้กำหนดถึงภาวะขาดออกซิเจนว่าเป็น “อาการได้รับออกซิเจนที่ไม่เพียงพอต่อเนื้อเยื่อ โดยถึงแม้ว่าการไหลเวียนของโลหิตจะเพียงพอก็ตาม” ออกซิเจนมีบทบาทสำคัญในการบำรุงรักษาร่างกาย แต่วิธีเดียวที่จะได้รับคือการได้รับผ่านปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นทำให้เกิดการกีดขวางหรือจำกัดการไหลของออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอาจเป็นผลจากการอักเสบและบวมของทางเดินหายใจในหลอดลมอักเสบที่เรื้อรัง นอกจากนี้ยังคงเกี่ยวข้องกับการทำลายเนื้อเยื่อในปอด (alveoli)  ในถุงลมที่โป่งพอง อาการและอาการของภาวะขาดออกซิเจนอาจรวมถึง อาการหายใจถี่ขณะพักผ่อน อาการหายใจไม่ออกขณะตื่น อาการหายใจถี่อย่างรุนแรงหลังจากการออกกำลังกาย รู้สึกอึดอัด หายใจเสียงดัง ไอที่บ่อยครั้ง ผิวมีสีน้ำเงินอมม่วง ภาวะการขาดออกซิเจนนี้ยังสามารถนำไปสู่ภาวะอื่นที่เกี่ยวข้องกันอย่าง ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อภายในปอดนั้นเก็บคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป โดยอาจจะเนื่องจากการหายใจลำบาก เมื่อคุณไม่สามารถหายใจได้ออกตามปกติหรือคุณอาจไม่สามารถหายใจออกได้ตามเท่าที่ควร โดยอาการนี้อาจเพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ของคุณที่เป็นอาการที่ร้ายแรงได้ หากคุณมีปัญหาในการหายใจและภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน คุณจะต้องหายใจให้ออกมากขึ้นกว่าปกติ ภาวะแทรกซ้อนของภาวะขาดออกซิเจน แม้ว่าการขาดออกซิเจนในปอดอุดกั้นเรื้อรังทำให้หายใจลำบาก แต่ในอาการนี้ก็มีผลต่ออวัยวะอื่นๆมากกว่าปอด เมื่อคุณหายใจเข้าออกซิเจนไม่เพียงพอเลือดของคุณจะขาดส่วนประกอบที่สำคัญ ออกซิเจนมีความสำคัญต่อการทำหน้าที่พื้นฐานของร่างกาย ตัวอย่างเช่นการขาดออกซิเจนสามารถส่งผลร้ายต่อหัวใจและสมองของคุณได้ การขาดออกซิเจนในปอดอุดกั้นเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าภาวะขาดออกซิเจนในสมอง (cerebral hypoxia) การขาดออกซิเจนชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อสมองขาดออกซิเจนแม้ว่าจะมีเลือดเพียงพอต่อร่างกาย ตามที่สถาบันแห่งชาติทางด้านความผิดปกติทางระบบประสาทและโรคหลอดเลือดสมองกล่าวว่า หากคุณพบภาวะขาดออกซิเจนในสมองเซลล์สมองของคุณสามารถเสียชีวิตได้ภายในห้านาที การขาดออกซิเจนในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังยังอาจนำไปสู่ ภาวะซึมเศร้าและความผิดปกติทางอารมณ์อื่น ๆ ความดันโลหิตสูง ความดันในปอดสูง อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หัวใจล้มเหลว ระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันล้มเหลว ภาวะเลือดข้น (จำนวนเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นผิดปกติ) การรักษาด้วยออกซิเจนและการรักษาภาวะขาดออกซิเจน การรักษา ภาวะขาดออกซิเจน วิธีการทั่วไปในการให้ออกซิเจนเสริมคือการบำบัดด้วยออกซิเจน (Oxygen Therapy) การบำบัดด้วยออกซิเจนเรียกว่าออกซิเจนเสริม หรือการกำหนดปริมาณของออกซิเจน ประกอบด้วยการใช้อุปกรณ์ทางกลที่ให้ออกซิเจนแก่ปอดของคุณ ออกซิเจนเสริมสามารถลดการหายใจถี่เพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือดของคุณและลดปริมาณงานที่หัวใจของคุณต้องทำ นอกจากนี้ยังสามารถลดภาวะที่ระบบการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ก่อนที่จะสั่งให้ออกซิเจนแพทย์ของคุณจะทำการทดสอบเพื่อวัดระดับออกซิเจนในเลือดของคุณ การบำบัดด้วยออกซิเจนส่วนใหญ่จะใช้ออกซิเจนที่ถูกบีบอัดภายในโดยในประเภทนี้มาเป็นก๊าซในถังสำหรับจัดเก็บ เมตรจะช่วยตรวจสอบปริมาณออกซิเจนที่คุณหายใจเข้าออกซิเจนเคลื่อนผ่านท่อจากอุปกรณ์และเข้าสู่ร่างกายของคุณผ่านทางท่อจมูกหน้ากากหรือท่อแทรกเข้าไปในหลอดลม การบำบัดด้วยออกซิเจนยังมีอยู่ในรูปแบบหัวฉีด โดยหัวฉีดออกซิเจนจะใช้อากาศจากสิ่งแวดล้อมโดยกรองก๊าซอื่นๆ และจัดเก็บอากาศออกซิเจนไว้ใช้ แตกต่างจากที่อัดออกซิเจนคุณไม่จำเป็นต้องใช้ภาชนะบรรจุที่เติมออกซิเจนล่วงหน้า คอนเดนเซอร์มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการการบำบัดด้วยออกซิเจนอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบหัวฉีดต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงานดังนั้นจึงอาจไม่สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายเช่น การบีบอัดออกซิเจน อีกทางเลือกหนึ่งคือออกซิเจนเหลว ออกซิเจนเหลวกลายเป็นแก๊สเมื่อออกจากภาชนะบรรจุ […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

พยาธิวิทยาของโรคปอดอุดกั้น เรื้อรังคืออะไร

เป็นอีกหนึ่งโรคที่ทุกคนอาจพบเห็นได้บ่อยๆ ในสังคมเรา หรือคนรอบข้างตัวคุณ ส่วนใหญ่มักพบในช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน ตลอดจนผู้สูงอายุ เพราะฉะนั้นถ้าอยากให้คนที่คุณรักอยู่เคียงข้างกายไปนานๆ ซึ่งก็จำเป็นอย่างมากที่ต้องรู้วิธีการป้องกันของโรคปอดอุดกั้นไว้ในเบื้องต้น วันนี้ Hello คุณหมอก็ได้นำบทความดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ การป้องกัน รวมทั้งเรื่องน่ารู้ของ พยาธิวิทยาของโรคปอดอุดกั้น มาฝากทุกคนกัน พยาธิวิทยาของโรคปอดอุดกั้น เรื้อรัง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือชื่อหนึ่งในกลุ่มอาการของโรคปอด ที่มีผลต่อความสามารถในการหายใจ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยตรวจสอบจากการสังเกตพยาธิวิทยาของโรคปอดอุดกั้น หรือการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในส่วนต้นของหลอดลม จนไปถึงถุงลมในปอด ที่เริ่มได้รับความเสียหายจนเกิดเป็นถุงลมโป่งพอง จากนั้นจะเริ่มมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ และถุงลมในปอด พร้อมกับไอ มีน้ำมูก จนทำให้หายใจลำบาก หายใจติดขัด รวมทั้งอาการหายใจไม่อิ่ม โรคปอดอุดกั้นมีสาเหตุมาจากอะไร อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมี 2 อาการ ด้วยกัน คือ โรคหลอดลมอักเสบ และโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อส่วนต่างๆ ของปอดและส่งผลให้หายใจลำบาก สิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ ต้องเข้าใจโครงสร้างของปอดอย่างสมบูรณ์ โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่เกี่ยวกับถุงลมปอด และเป็นโรคที่ค่อนข้างมีผลกระทบกับร่างกายที่รุนแรง เพราะเส้นใยบริเวณผนังถุงลมปอดได้รับความเสียหาย ส่งผลให้ปอดไม่มีความยืดหยุ่นและหายใจลำบาก อาการของโรคหลอดลมอักเสบคือ หลอดลมฝอยมีอาการอักเสบจะทำให้มีเสมหะและน้ำมูก หากยังมีอาการหลอดลมอักเสบ อาจพัฒนาจนเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้ และอาจมีอาการหลอดลมอักเสบเฉียบพลันชั่วคราว แต่อาการเหล่านี้ไม่นับว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุหลักของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ก่อให้เกิดโรคในข้างต้นอาจมาจากพฤติกรรม ดังนี้ การสูบบุหรี่ การสูดดมควัน และสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงนำไปสู่โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรรับมืออาการนี้อย่างไร

อาการ ปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อาจเป็นหนึ่งในอาการที่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ต้องพบเจอ อีกทั้งอาการปวดหัวนี้สามารถเชื่อมโยง และพัฒนานำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจถึงแก่ชีวิตได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำวิธีรับมือ และสาเหตุเบื้องต้นมาให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่งผลให้ปวดหัวได้อย่างไร โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease; COPD) สามารถทำลายบางส่วนของปอด ส่งผลกระทบต่อการหายใจเข้าและออก เมื่อการหายใจมีปัญหาก็จะส่งผลให้ส่งผลกระทบต่อการรับออกซิเจนและอาจทำให้เกิด ภาวะขาดออกซิเจน (Hypoxia) ได้ ภาวะขาดออกซิเจนนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเลือดของคุณได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้หัวใจทำงานช้าลง และทำให้มีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดเพิ่มมากขึ้น อาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นเกิดขึ้นจากการขาดออกซิเจนในสมอง บวกกับการมีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดมากเกินไป อาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักจะเกิดขึ้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอน เนื่องจากร่างกายสะสมคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างที่คุณนอนหลับ นอกจากนี้หากคุณมีอาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในตอนเช้า คุณก็อาจจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับอีกด้วย อาการ ปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นอย่างไร อาการปวดหัวโดยทั่วไป อาจแตกต่างกันตามความถี่ และความรุนแรงของอาการ เนื่องจากอาการปวดหัวนั้นเป็นเรื่องปกติ จึงอาจจะเป็นการยากที่จะแยกว่าอาการปวดหัวนี้เกี่ยวข้องกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือไม่ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของอาการปวดศีรษะจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เช่น เจ็บหน้าอก หายใจเสียงดัง หายใจหอบถี่ มีอาการสำลักเมื่อตื่นนอน หายใจเร็ว อาจมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้น หากได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และอาจมีอาการพร้อมๆ กับการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เช่น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูง และมีจุดสีแดงหรือสีม่วงจากภาวะการขาดออกซิเจน วิธีจัดการกับอาการ ปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เนื่องจากอาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีสาเหตุมาจากการขาดออกซิเจน ขั้นตอนแรกจึงควรเพิ่มปริมาณออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งทำได้โดยการบำบัดด้วยออกซิเจน แพทย์มักจะสั่งจ่ายออกซิเจนชนิดถังเพื่อรักษาอาการของคุณ จะใช้การส่งออกซิเจนผ่านท่อด้วยการสูดผ่านหน้ากากและต่อท่อเข้าสู่หลอดลม อาการปวดหัวของคุณจะดีขึ้น เมื่อร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ แม้จะได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจน คุณก็ยังอาจมีปัญหาในการนอนเวลากลางคืน ซึ่งอาจนำไปสู่อาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน