โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด ทำอย่างไรจึงจะหาย

น้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด เป็นอาการที่ร่างกายมีของเหลวเป็นน้ำใส ๆ ไหลออกมาทางจมูกตลอดเวลา เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคภูมิแพ้อากาศ ไข้หวัด รักษาให้หายได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้หรือบางรายอาจต้องรับประทานยาเพื่อรักษาอาการ หาก น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด เป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือนภาวะสุขภาพที่ต้องระวัง เช่น โรคริดสีดวงจมูก โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา [embed-health-tool-bmi] น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุด เกิดจากอะไร อาการน้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ สาเหตุจากโรคภูมิแพ้ (Allergy) เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดอาการร่วมอื่น ๆ เช่น จาม ไอเรื้อรัง คันและระคายเคืองบริเวณตาหรือคอ สาเหตุจากโรคอื่น ๆ ยกตัวอย่าง เช่น โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง เกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือมีอาการแพ้อย่างรุนแรง จนทำให้มีอาการปวด คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจติดขัด มีเสมหะข้นเหนียว ปวดใบหน้าบริเวณหน้าผาก หัวตา หู […]

หมวดหมู่ โรคทางเดินหายใจ เพิ่มเติม

ไข้หวัด

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome)

ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome) มักพัฒนามาจากภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถกระจายออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เต็มที่ทำให้หายใจลำบาก คำจำกัดความภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome) คืออะไร ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน หรือ อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome) เป็นภาวะทางการแพทย์ที่รุนแรงและอาจมีอันตรายจนถึงชีวิต ภาวะนี้เกิดจากภาวะที่ของเหลวในหลอดเลือด ซึมผ่านหลอดเลือดและผนังถุงลมเข้าไปอยู่ในถุงลมแทนที่อากาศ และปิดกั้นไม่ให้อวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกายได้รับออกซิเจน ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน มักพัฒนามาจากผู้ที่มีอากาศป่วยภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยหนักและเป็นกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์ อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน พบบ่อยแค่ไหน โดยทั่วไปแล้ว อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน จะเกิดกับผู้ป่วยหนักที่เข้ารับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล และอาจเกิดขึ้นได้ในทารกเช่นกัน ภาวะดังกล่าวสามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะนี้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อาการส่วนใหญ่แล้ว อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน มักเกิดขึ้นภายใน 1-2 วันนับจากวันที่ป่วยหรือบาดเจ็บ ซึ่งอาการโดยทั่วไปมีดังนี้ หายใจลำบาก ความดันโลหิตต่ำ หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว ไข้ ความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ อาการงุนงงทางจิต ผิวหนังหรือเล็บเปลี่ยนสีเนื่องจากระดับออกซิเจนที่ลดลงอย่างรุนแรงในเลือด สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ เมื่อไหร่ที่ควรไปพบหมอ อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีภาวะนี้ มักจะเป็นผู้ป่วยที่รับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลอยู่แล้ว สาเหตุสาเหตุของ ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน มีอะไรบ้าง อาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน เกิดจากของเหลวที่รั่วออกมาจากหลอดเลือดที่เล็กที่สุดในปอดและซึมเข้าสู่ถุงลมเล็กๆ ซึ่งสาเหตุของภาวะนี้ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ทางตรงและทางอ้อมต่อปอด สาเหตุที่พบได้ทั่วไป […]


โรคหลอดลมอักเสบ

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis) เป็นการอักเสบของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม ทำให้ต่อมเมือกโตขึ้นและหลั่งเมือกออกมา หากมีอาการนานกว่า 10 วัน จะเรียกว่า หลอดลมอักเสบเรื้อรัง คำจำกัดความหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน คืออะไร หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis) เป็นการอักเสบของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม ทำให้ต่อมเมือกโตขึ้นและหลั่งเมือกออกมา ซึ่งการติดเชื้อที่หน้าอกนี้ หากมีอาการน้อยกว่า 10 วัน ก็จะเป็นภาวะหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน หากมีอาการติดต่อกันหลายสัปดาห์ ก็จะเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและอาจจะกำเริบได้อีก ภาวะหลอดลมอักเสบเฉียบพลันนี้อาจจะมีอาการแย่ลงแล้วกลายเป็นโรคปอดบวมได้ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน พบได้บ่อยแค่ไหน หลอดลมอักเสบเฉียบพลันเป็นการติดเชื้อไวรัสที่พบบ่อย มักจะเกิดขึ้นหลังจากเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ มีแนวโน้มสูงที่จะเกิดในผู้สูงอายุ เด็กทารกและเด็ก อาการอาการของหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน อาการของ โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน จะมีความคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัด อาการที่อาจจะเกิดขึ้นมีดังนี้ ไอมีเสมหะ เจ็บคอ เป็นไข้ อาการปวดหัว ปวดเมื่อย หายใจฟึดฟัด หายใจถี่ รู้สึกเจ็บหน้าอกเมื่อหายเข้าใจลึกๆ หรือไอ อาจจะมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลโปรดปรึกษาแพทย์ ควรจะไปพบคุณหมอเมื่อไหร่ ควรติดต่อแพทย์หากคุณมีอาการต่อไปนี้ ไอติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 20 วัน นอนไม่หลับ น้ำมูกหรือเสมหะเป็นสีเหลืองหรือสีม่วงเข้ม มีเลือดปนในน้ำมูกหรือเสมหะ หากมีอาการปอดบวมดังต่อไปนี้ ควรรับการรักษาโดยเร็วที่สุด มีไข้สูงมากกว่า 38 องศา หนาวสั่น รู้สึกหดหู่หรืออ่อนล้าอย่างรุนแรง สาเหตุสาเหตุของหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน สาเหตุโดยทั่วไปคือการติดเชื้อไวรัสจากการเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และการระคายเคืองในเยื่อบุหลอดลมจากสารเคมี ควัน ฝุ่น หรือมลพิษ การอักเสบและการระคายเคืองของเยื่อบุอาจทำให้เกิดอาการไอ การผลิตเมือกมากเกินไปก็อาจจะทำให้หลอดลมหดตัวลงและทำให้หายใจไม่ออกได้ โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน อาจมีอาการแย่ลงได้ หากทำสิ่งต่อไปนี้ สูบบุหรี่ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ ไม่สนใจอาการหรือความผิดปกติของร่างกาย ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน การสูบบุหรี่ ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาการวิงเวียนอย่างรุนแรงเนื่องจากกรดไหลย้อนในกระเพาะอาหาร ทำงานในสถานที่ที่มีมลพิษหรือเกิดการระคายเคือง ปัญหาเกี่ยวกับปอด เช่น โรคหอบหืด   การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัย โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน สำหรับการวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันนั้น แพทย์อาจตรวจต้องร่างกายและฟังเสียงของปอด นอกจากนี้ยังอาจจะต้องมีการเอ็กซเรย์ที่หน้าอก หากแพทย์สงสัยว่าเป็นโรคปอดบวม ซึ่งในกรณีนี้ไม่จำเป็นจะต้องตรวจเลือด การรักษา […]


โรคทางเดินหายใจ

respiratory failure คือ อะไร อาการ สาเหตุ และวิธีรักษา

respiratory failure คือ ภาวะหายใจล้มเหลว หมายถึงภาวะที่ระบบทางเดินหายใจไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ได้ตามปกติ ส่งผลให้มีออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ไม่เพียงพอ จนเซลล์ขาดออกซิเจน หรือมีคาร์บอนไดออกไซด์สะสมในร่างกายมากเกินไป ส่งผลให้ความเป็นกรดในร่างกายเสียสมดุล จนอาจทำให้การหายใจล้มเหลวได้ ภาวะนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน และภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ respiratory failure คือ อะไร respiratory failure คือ ภาวะหายใจล้มเหลว สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อระบบทางเดินหายใจมีปัญหาในการแลกเปลี่ยนก๊าซ กล่าวคือ ไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างเพียงพอ หรือไม่สามารถขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือดได้ ทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย จนส่งผลให้เซลล์เสียหายและทำงานผิดปกติ ระบบทางเดินหายใจทำหน้าที่สำคัญในการการรับออกซิเจนและกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ จึงได้รับผลกระทบมากที่สุด และอาจนำไปสู่ภาวะหายใจล้มเหลวได้ การหายใจเข้า เป็นการรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ออกซิเจนจะเคลื่อนเข้าไปในกระแสเลือด ไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย ออกซิเจนมีส่วนสำคัญในการทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติ การหายใจออก เป็นการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์เป็นของเหลือ ที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในร่างกายย่อยสลายน้ำตาลจากอาหารที่รับประทาน การขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือดถือเป็นกระบวนการสำคัญของร่างกาย เพราะหากมีก๊าซนี้ในร่างกายมากเกินไป อาจทำให้อวัยวะเสียหายได้ ภาวะหายใจล้มเหลวแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นภาวะหายใจล้มเหลวที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันใด และเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิต […]


โรคทางเดินหายใจ

คันคอ อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

คันคอ คือ ภาวะที่เกิดความรู้สึกคันหรือระคายเคืองในลำคอ หรือรู้สึกว่าที่มีอะไรอยู่ในลำคอ อาการที่พบอาจอยู่ในระดับเบาไปจนถึงระดับรุนแรง [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ คันคอ คืออะไร อาการคันคอ คือ ภาวะที่เกิดความรู้สึกคันหรือระคายเคืองในลำคอ หรือรู้สึกที่มีอะไรอยู่ในลำคอ อาการที่พบมีตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงระดับรุนแรง อาการคันคอมักเกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ แต่ก็อาจเป็นสัญญาณเริ่มแรกของการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสได้เช่นกัน อาการคันคอพบได้บ่อยเพียงใด อาการคันคอพบได้ทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่จัดการได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการคันคอ บ่อยครั้งที่อาการคันคออาจเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ ที่แตกต่างกันออกไปตามโรคหรือสาเหตุที่ทำให้คันคอ โดยอาจมีลักษณะดังต่อไปนี้ อาการคันคอจากโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ อาจมีอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ร่วมด้วย คันดวงตาและผิวหนัง ตาบวม ตาแดง คัดจมูก น้ำมูกไหล รู้สึกแน่นในโพรงจมูก จาม อ่อนเพลีย อาการคันคอจากการแพ้ยาหรืออาหาร อาจมีอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ร่วมด้วย คันดวงตา ริมฝีปาก ลิ้น และลำคอมีอาการบวม มีผื่นแดงขึ้นบนร่างกาย ผิวหนังรอบดวงตามีอาการแดง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง มีปัญหาในการหายใจและการกลืนอาหาร รู้สึกวิตกกังวล ความดันโลหิตตก หมดสติ อาการคันคอจากโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้หรือการมีไข้ มักจะมีอาการร่วมที่คล้ายกัน คือ คันคอร่วมกับคัดจมูก หรือจาม ซึ่งอาการอาจรุนแรงตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงระดับที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์โดยทันที อาการคันคอจากโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้หรือการมีไข้เฉียบพลัน มักเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ และมีอาการอื่น ๆ ดังนี้ร่วมด้วย […]


ไข้หวัด

หวัดแดด VS หวัดฝน

ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีอากาศร้อนชื้นเกือบตลอดปี ทั้งยังมีฝนตกบ่อย ๆ อีกด้วย จึงทำให้หลายท่านมีโอกาสเป็นหวัดกันได้ง่ายๆ หลายๆ ท่านอาจจะคิดว่าการเป็นหวัดนั้นจะเกิดช่วงหน้าฝนได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่โดนฝนบ่อ ยๆ แต่จริง ๆ แล้วยังมีหวัดอีกประเภทคือ หวัดแดด หรือหวัดหน้าร้อนก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่มีโอกาสเป็นกันได้ง่าย [embed-health-tool-heart-rate] หวัดแดด เกิดจากอะไร? ไข้หวัดแดด (Summer Flu) เกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ ที่มีปัจจัยทางด้านอากาศและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อยเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการหวัดแดด โดยร่างกายจะสะสมความร้อนเอาไว้ภายใน จนทำให้ล้มป่วยลง คนที่ต้องเข้า ๆ ออก ๆ ระหว่างห้องแอร์เย็นฉ่ำ กับนอกห้องที่ร้อนจัดบ่อยครั้ง ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเป็น ไข้หวัดแดด ได้ง่าย เพราะร่างกายปรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยไม่ทันนั่นเอง โดยผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ที่สามารถป่วยเป็น ไข้หวัดแดด ได้มากกว่าปกติ คือ ผู้ที่ต้องเข้าออกไปมาบ่อย ๆ ระหว่างห้องที่อากาศเย็นจากเครื่องปรับอากาศ กับภายนอกที่อากาศร้อนกว่ามาก ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง หรือทำงานท่ามกลางอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน ผู้ที่กำลังป่วย หรือมีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงพอ ผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีความแออัดเป็นเวลานาน เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไม่คุ้นกับอากาศร้อนจัด อาการของไข้หวัดแดด ปกติแล้วอุณหภูมิในร่างกายของคนเราจะอยู่ที่ 36-37 องศาเซลเซียส แต่หากเจออากาศร้อนมาก ๆ อุณหภูมิร่างกายอาจสูงขึ้นได้ โดยอุณหภูมิร่างกายจะไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส […]


ไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดนก ทำไมเกิดในคน กับข้อเท็จจริงที่ควรรู้

โรคไข้หวัดนก (Bird Flu) จัดเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่แพร่ระบาดในกลุ่มสัตว์ปีก และสามารถคุกคามมนุษย์ได้ในหลายกรณี ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ไข้หวัดนกเกิดการระบาดไปทั่วโลก และเป็นเหตุให้มีคนเสียชีวิตจำนวนมาก ทำไมโรคไข้หวัดนกเกิดขึ้นในคน และมีข้อเท็จจริงอะไรบ้างที่ควรรู้เกี่ยวกับไข้หวัดนก [embed-health-tool-bmi] โรคไข้หวัดนก คืออะไร ไข้หวัดนก มีอยู่หลายสายพันธุ์ และถือเป็นโรคระบาดชนิดหนึ่ง ถึงแม้ว่าสายพันธุ์ส่วนใหญ่จะไม่มีผลต่อมนุษย์ แต่ก็มีไข้หวัดนกอยู่ 2 สายพันธุ์ ที่สามารถสร้างปัญหาร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ได้ ซึ่งนั่นก็คือ ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 และ ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 นอกจากนี้ ยังมีไข้หวัดนกสายพันธุ์อื่น ๆ อีก เช่น ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N7 และไข้หวัดนกสายพันธุ์ H9N2 หรือที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานนี้ อย่างสายพันธุ์ H6N1 H10N8 และ H5N6 แม้มนุษย์จะสามารถติดเชื้อได้ แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพหรือนำไปสู่การเสียชีวิตแต่อย่างใด สาเหตุของการติดเชื้อ ไข้หวัดนก ไข้หวัดนก มักจะแพร่ระบาดในกลุ่มสัตว์ปีกทุกชนิด ได้แก่ ไก่ เป็ด และนกป่า มนุษย์ที่สัมผัสกับนกที่ติดเชื้อ มีโอกาสสูงที่จะได้รับเชื้ออันตรายนี้ การสัมผัสที่กล่าวถึงนี้ ประกอบด้วยการสัมผัสกับตัวนกที่ติดเชื้อ การสูดดมมูล หรือสารคัดหลั่งของนก รวมถึงการนำนกหรือไก่ที่ติดเชื้อมาปรุงเป็นอาหาร เป็นต้น อาการของไข้หวัดนก อาการของ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine) กับคุณสมบัติน่าทึ่งในการต้านพิษในร่างกาย

อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine) มักเป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในตัวยาทรงประสิทธิภาพ สำหรับบรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะ ด้วยคุณสมบัติโดดเด่นในการช่วยละลายเสมหะ แต่นอกเหนือจากคุณสมบัติในฐานะยาละลายเสมหะแล้ว ยาตัวนี้ยังมีบทบาทสำคัญต่อการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพในอีกหลายด้านที่เราไม่เคยรู้มาก่อน บทความนี้จะทำให้คุณรู้จักประโยชน์ของตัวยานี้ดียิ่งขึ้น อะเซทิลซิสเทอีน หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน คืออะไร อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือเอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine) หรือเรียกโดยย่อว่า NAC จัดเป็นอนุพันธ์หนึ่งของกรดอะมิโนชนิด แอล-ซิสเทอีน (L-cysteine) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี ในระยะแรก ถูกนำมาใช้เป็นยาละลายเสมหะในผู้ป่วยโรคซีสติกไฟโบรซีส (cystic fibrosis) เนื่องจากมีคุณสมบัติในการทำให้โมเลกุลเสมหะแตกตัว ลดความข้นเหนียวของเสมหะ ทำให้ร่างกายสามารถขับออกมาได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อะเซทิลซิสเทอีน (เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน) ต้านพิษในร่างกายอย่างไร ภายหลังมีการศึกษาวิจัยและค้นพบว่า NAC มีคุณสมบัติในการต้านพิษในร่างกาย โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้กระบวนการควบคุมสารอนุมูลอิสระในร่างกายมีความสมดุลและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีคุณสมบัติด้านต่างๆ ดังนี้ คุณสมบัติการช่วยสร้างกลูตาไธโอน กลูตาไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในร่างกายถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในเซลล์โดยใช้กรดอะมิโนซิสเทอีนเป็นสารตั้งต้น ในร่างกายจะพบกลูตาไธโอนได้ในอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ไต ตับอ่อน ปอด เลนส์ตา เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์เม็ดเลือดขาว แต่มักพบในเซลล์ตับมากที่สุด ความสำคัญของกลูตาไธโอน คือ เป็นช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยการทำงานของตับในการทำลายและขจัดสารพิษออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทั่วไป ถ้าในเซลล์มีปริมาณกลูตาไธโอนต่ำกว่าร้อยละ 80 จะทำให้เซลล์ตายได้ อย่างไรก็ตาม ร่างกายอาจมีปริมาณกลูตาไธโอนต่ำลงได้อันเนื่องจากมาหลายสาเหตุ เช่น […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

เสมหะในคอ เคลียร์ได้! ด้วยการใช้ อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine)

อะเซทิลซิสเทอีน  (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-acetylcysteine) หรือที่เรียกโดยย่อว่า NAC คือ ตัวยาสำคัญที่มักนำมาเป็นส่วนประกอบของกลุ่มยาละลายเสมหะ โดยมีคุณสมบัติเด่นในการช่วยคลายความข้นเหนียวของ เสมหะในคอ ช่วยให้ร่างกายสามารถกำจัดเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น เป็นโอกาสดีที่เราจะมาทำความรู้จักกับสารตัวนี้ให้มากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังกังวลหรืออึดอัดกับอาการไอมีเสมหะอยู่ในขณะนี้ [embed-health-tool-bmi] รู้จัก…รู้จริงเกี่ยวกับ อะเซทิลซิสเทอีน อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine) จัดเป็นอนุพันธ์หนึ่งของกรดอะมิโนชนิด แอล-ซิสเทอีน (L-cysteine) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี ถูกนำมาใช้เป็นยาละลายเสมหะเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1960 ในผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ซึ่งเป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ทำให้มีการสร้างเสมหะอุดกั้นปอด และเกิดเมือกในตับอ่อนและอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย อะเซทิลซิสเทอีน (เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน) จัดการกับ เสมหะในคอ อย่างไร คุณสมบัติที่โดดเด่นของ อะเซทิลซิสเทอีน (เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน) คือ ความสามารถในการทำลายการยึดเกาะของโมเลกุลเสมหะ ทำให้เสมหะแตกตัวและมีความข้นเหนียวลดลง ส่งผลให้ร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น ตัวยานี้จึงมักนำไปใช้ในการรักษากับผู้ที่มีอาการไอแบบมีเสมหะทั่วไป รวมทั้งผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบ โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมโป่งพองหรือโรคมองคร่อ (Bronchiectasis) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเสมหะ ลดการสะสมของเสมหะ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไอมีเสมหะ ไม่หายซะที! วิธีไหนทำให้หายไวที่สุด

แม้ว่าดูเหมือนเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งอาการไอก็เป็นสิ่งที่สร้างความทรมาน น่าอึดอัด และความรำคาญใจให้แก่ผู้ป่วย และบางครั้งก็รบกวนคนรอบข้างอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีอาการ ไอมีเสมหะ ที่บางครั้งทำให้รู้สึกหายใจลำบากและรบกวนการทำกิจกรรมตามปกติในชีวิตประจำวัน หากปล่อยให้ไอต่อไปเรื่อย ๆ คงไม่ดีแน่ ดังนั้น เราจึงขอนำเสนอวิธีการกำจัดเสมหะ ซึ่งจะช่วยให้อาการไอหายไปโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmr] วิธีจัดการกับอาการ ไอมีเสมหะ แบบเร่งด่วน 1. พยายามขจัดเสมหะในลำคอออกมา เมื่อรู้สึกว่ามีเสมหะติดอยู่ในลำคอให้พยายามไอหรือขากเสลดออกมา ไม่ควรกลืนกลับเข้าไป เพราะนั่นคือเชื้อโรคที่ร่างกายพยายามกำจัดทิ้ง การกลืนเข้าไปก็เท่ากับกลืนเชื้อโรคกลับเข้าไปใหม่นั่นเอง และควรบ้วนเสมหะทิ้งในที่ที่เหมาะสมด้วย 2. ดื่มน้ำมาก ๆ ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งได้แก่ โรคหวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ มักส่งผลให้มีปริมาณเมือกหรือเสมหะมากขึ้นจนทำให้เสมหะไหลลงคอ ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองและกระตุ้นให้เกิดการไอ การดื่มน้ำปริมาณมากจะช่วยให้เสมหะไม่จับตัวจนข้นเหนียวมากเกินไป ทำให้ร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้โดยง่าย และยังช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้เนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจไม่ให้แห้งเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดอาการไอได้เช่นกัน 3. เลือกเครื่องดื่มร้อน เลี่ยงเครื่องดื่มเย็น เมื่อเกิดอาการไอแบบมีเสมหะควรเลือกเครื่องดื่มร้อน หรือน้ำเปล่าที่อุณหภูมิห้อง หรืออาจเป็นน้ำซุปหรือแกงจืดร้อน ๆ เพื่อช่วยละลายเสมหะ และช่วยบรรเทาการระคายคอได้ 4. หายใจผ่านผ้าชุบน้ำอุ่น ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นแล้วปิดหน้าไว้ พร้อมกับหายใจผ่านผ้าเปียก ซึ่งนี่เป็นวิธีสร้างความชุ่มชื้นให้แก่โพรงจมูกและลำคอแบบรวดเร็ว โดยความร้อนจากผ้าจะนำพาความชุ่มชื้นเข้าไปในระบบทางเดินหายใจและช่วยบรรเทาความเจ็บปวด รวมทั้ง ลดความดันภายในทางเดินหายใจได้ นอกจากนี้ วิธีนี้ยังช่วยลดอาการปวดหัวจากไซนัสอักเสบอย่างได้ผลอีกด้วย 5. ใช้น้ำเกลือสำหรับล้างจมูก การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือถือเป็นวิธีขจัดเสมหะที่ได้ผลดี เนื่องจากเป็นการทำความสะอาดชำระล้างเอาสิ่งสกปรกที่ทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูกและไซนัสออกไป อย่างไรก็ตาม ควรมองหาน้ำเกลือที่มีส่วนผสมของโซเดียมคลอไรด์และเป็นแบบ Sterile คือ ชนิดที่ทำให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อน และต้องมีฉลากระบุข้างขวดด้วยว่า “For irrigation” […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ลักษณะการไอ ของคุณเป็นแบบไหน ลองเช็คอาการไอ 5 รูปแบบต่อไปนี้

แน่นอนว่าทุกคนต้องเคยเกิดอาการไอ แต่เคยสังเกตหรือไม่ว่าการไอแต่ละครั้งของคุณมีความแตกต่างกันอย่างไร มาทำความรู้จักกับ ลักษณะการไอ แต่ละชนิดที่อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน [embed-health-tool-heart-rate] ชนิดการ ไอ แบ่งตามระยะเวลา หากแบ่งการไอตามระยะเวลา ลักษณะการไอ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ไอ ฉับพลัน มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด โพรงไซนัสอักเสบฉับพลัน คอหรือกล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ อาการกำเริบของโรคถุงลมโป่งพอง ปอดอักเสบ การมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในหลอดลม หรือการสัมผัสกับสารระคายเคืองในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ กลิ่นสเปรย์ แก๊ส และมลพิษทางอากาศ ไอ เรื้อรัง มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่า 3 สัปดาห์ ถึง 8 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง การรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงกลุ่ม Angiotensin-Converting Enzyme Inhibitor (ACE-I) เป็นระยะเวลานาน โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังแล้วมีน้ำมูกไหลลงคอ โรคหอบหืด โรคกรดไหลย้อน การใช้เสียงมากทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง เนื้องอกบริเวณคอ กล่องเสียงหรือหลอดลม โรคของสมองส่วนที่ควบคุมการไอ วัณโรคปอด ผู้ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรังบางรายอาจมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งชนิด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ อาการไอแบ่งตาม ลักษณะการไอ มีอะไรบ้าง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน