โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยการดูแลสุขภาพตนเอง วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดให้มากขึ้นกัน เพื่อที่จะได้ดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี โดยแบ่งคำถาม-คำตอบ เป็นข้อ ๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย ดังนี้ [embed-health-tool-bmi] ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง ถึงแม้ว่าไข้หวัดจะเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่เชื่อว่าหลายคนมักมีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับไข้หวัด ซึ่งอาจส่งผลให้เราละเลยการดูแลสุขภาพของตนเอง หรือดูแลสุขภาพได้ไม่ถูกวิธี วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดให้มากขึ้น ด้วยการนำ 4 คำถามที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับโรคไข้หวัด มาฝากกันค่ะ ไข้หวัดเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก จริงหรือไม่ จริง ไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อย จากสถิติพบว่าผู้ใหญ่อาจป่วยเป็นไข้หวัดประมาณ 2-3 ครั้ง/ปี และในวันเด็กอาจป่วยมากกว่าวัยผู้ใหญ่มากขึ้นไปอีก โรคไข้หวัดเกิดจากไวรัส จริงหรือไม่ จริง โรคไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสไรโนไวรัส (Rhinoviruses) รวมถึงไวรัสชนิดอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดหวัดอย่างไวรัสอะดีโน (Adenovirus) ไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) เป็นต้น ไข้หวัด รักษาให้หายขาดได้ จริงหรือไม่ ไม่จริง แต่เราสามารถเยียวยาเพื่อบรรเทาอาการได้ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ รับประทานยาแก้ปวด วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไข้หวัด […]

หมวดหมู่ โรคทางเดินหายใจ เพิ่มเติม

ไข้หวัด

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

โรคทางเดินหายใจ

ไข้หวัด และ ไข้หวัดใหญ่ สาเหตุ อาการ วิธีรับมือ

ไข้หวัด และ ไข้หวัดใหญ่ (common cold and flu) เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและสามารถแพร่กระจายได้เหมือนกัน และอาจมีอาการคล้ายคลึงกันมากในช่วงแรกของการติดเชื้อ แต่โรคไข้หวัดใหญ่มักมีอาการรุนแรงกว่า และทั้งสองโรคนี้แตกต่างกันชัดเจนตรงเชื้อก่อโรค ทั้งนี้ การสังเกตความแตกต่างของอาการให้ดี อาจช่วยให้สามารถรับมือกับไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmr] ไข้หวัด และ ไข้หวัดใหญ่ คืออะไร ไข้หวัด และ ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่อาจมีอาการคล้ายคลึงกันมากในช่วงแรกของการติดเชื้อ โรคไข้หวัดธรรมดา หรือที่เรียกว่า ไข้หวัด (common cold) เป็นการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งส่งผลกระทบในเบื้องต้นต่อจมูก และอาจส่งผลต่อลำคอ ไซนัส และกล่องเสียง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น ไรโนไวรัส (Rhinovirus) มาจากภาษาละตินแปลว่า จมูก แต่ก็อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้เช่นกัน โรคนี้ไม่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ แต่เกิดจากการรับเชื้อโรคมาจากผู้อื่น ไข้หวัดมักพบในช่วงอากาศหนาว เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่คนมักอยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้น จึงทำให้เชื้อโรคมีโอกาสแพร่เชื้อได้ สัญญาณและอาการไข้หวัดอาจเกิดขึ้นภายในเวลา 2 วันหลังจากสัมผัสกับเชื้อโรค โดยอาการไข้หวัดธรรมดา อาจแตกต่างกันไปตามเชื้อก่อโรค หากเป็นไข้หวัดจากเชื้อไวรัส มักมีอาการไอ จาม เจ็บคอ น้ำมูกไหล อาจปวดศีรษะ และมีไข้ หากเป็นไข้หวัดจากเชื้อแบคทีเรีย มักมีอาการมีไข้ […]


ไข้หวัด

ไข้หวัด คืออะไร อาการ สาเหตุ และการรักษา

ไข้หวัด (Common cold) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดมีหลายชนิด โดยไข้หวัดเป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูหนาวหรือฤดูฝน เนื่องจากอากาศที่แห้งและเย็นช่วยสร้างสภาพที่เหมาะสมต่อการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ซึ่งอาการของไข้หวัดมักเริ่มขึ้นด้วยอาการคอแห้ง น้ำมูกไหล และไอ รวมทั้งอาการเจ็บคอ ปวดศีรษะ ความอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หรืออาจมีไข้เล็กน้อย ดังนั้น การพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาจช่วยสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดได้ [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ไข้หวัด คืออะไร ไข้หวัด คือ อาการติดเชื้อไวรัสที่บริเวณจมูกและลำคอ (ช่องทางเดินหายใจส่วนบน) สามารถเกิดได้จากไวรัสหลายชนิด โรคนี้ไม่ค่อยเป็นอันตราย แม้อาการอาจจะทำให้รู้สึกไม่สบายมากก็ตาม ไข้หวัดพบได้บ่อยได้แค่ไหน ไข้หวัดเป็นโรคที่พบได้บ่อย ซึ่งเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี จะมีความเสี่ยงในการเป็นไข้หวัดได้มากกว่า แต่ผู้ใหญ่ที่สุขภาพดีก็สามารถเป็นไข้หวัดได้ 2-3 ครั้ง/ปี อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของไข้หวัด อาการทั่วไปของไข้หวัด อาจมีดังนี้ น้ำมูกไหลและจมูกอุดตัน เจ็บคอ ไอ จาม เลือดคั่ง ปวดตัว หรือปวดศีรษะในระดับเบา เป็นไข้ต่ำ รู้สึกไม่สบาย น้ำมูกในจมูกอาจจะข้นขึ้น และเป็นสีเหลืองหรือสีเขียวในขณะที่เป็นไข้หวัด แต่ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด ควรเข้าพบคุณหมอทันที หากมีอาการดังต่อไปนี้ สำหรับผู้ใหญ่ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (Acute Sinusitis)

อาการคัดจมูกและความดันบริเวณโหนกแก้ม มักเป็นสัญญาณว่า คุณเป็น ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน การติดเชื้อหรืออักเสบระยะสั้นของเนื้อเยื่อที่อยู่ในโพรงจมูก คำจำกัดความไซนัสอักเสบเฉียบพลัน คืออะไร ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (acute sinusitis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อหรืออักเสบอย่างกะทันหันภายในเยื่อบุโพรงจมูก ทำให้เกิดเป็นอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล แน่นจมูก และมีแรงดันในบริเวณโหนกแก้ม โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน เป็นโรคที่สามารถพบได้ทั่วไป และอาจเกิดขึ้นกับคนทุกเพศทุกวัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของโรค ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน อาการทั่วไปของโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน ได้แก่ น้ำมูกข้น สีเหลืองหรืออมเขียวไหลจากจมูกหรือจากหลังคอ เกิดการอุดตันที่จมูกหรือคัดจมูก ทำให้หายใจลำบาก เจ็บ กดเจ็บ บวมหรือความดันรอบ ๆ ดวงตา แก้ม จมูกหรือหน้าผาก อาการเหล่านี้จะแย่ลงเมื่อก้มตัว ความดันในหู ปวดศีรษะ เจ็บที่กรามบนและฟัน ได้รับกลิ่นและรสลดลง ไอ ซึ่งอาจเป็นมากขึ้นในเวลากลางคืน มีกลิ่นปาก เหนื่อยล้า เป็นไข้ อาจมีอาการที่ไม่ได้ระบุข้างต้น หากคุณมีความกังวล หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด คุณควรปรึกษาแพทย์หากคุณมีอาการต่อไปนี้ อาการไม่ได้ดีขึ้นภายในไม่กี่วัน หรือมีอาการแย่ลง เป็นไข้หลายวันติดต่อกัน มีประวัติของการเป็นโรคไซนัสซ้ำหลายรอบ หรือเป็นโรคไซนัสเรื้อรัง สาเหตุสาเหตุของโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจเป็นได้ตั้งการติดเชื้อไวรัสและการติดเชื้อแบคทีเรีย ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ของโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน มีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่ทำให้เป็น โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน เช่น ไข้ละอองฟาง หรืออาการแพ้อื่น ๆ ที่ส่งผลต่อโพรงจมูก ความผิดปกติที่ช่องจมูก เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด ริดสีดวงจมูกหรือเนื้องอกในจมูก อาการโรคอย่างซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis) โรคทางพันธุกรรมที่ทำให้สารคัดหลั่งและเยื่อเมือกในร่างกายมีความข้นหนืด หรือความผิดปกติที่ระบบภูมิคุ้มกันอย่างการติดเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัย โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน แพทย์อาจใช้การกดที่จมูกหรือบนใบหน้า และอาจดูภายในโพรงจมูก หรืออาจมีการใช้วิธีการอื่นเพื่อวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน […]


โรคปอดบวม

ปอดบวม (Pneumonia)

รู้เรื่องเบื้องต้นโรค ปอดบวม คืออะไร โรคปอดบวม (Pneumonia) เป็นอาการติดเชื้อที่กลีบปอดข้างซ้าย หรือข้างขวา หรือทั้งสองข้าง มีเชื้อโรคหลายประเภทที่อาจก่อให้เกิดปอดบวม ปอดที่ติดเชื้อจะปล่อยของเหลวและกำจัดเซลล์ที่ตายแล้วออกมา ซึ่งจะไปคั่งในทางเดินอากาศ และสร้างความลำบากให้แก่ปอดในการลำเลียงออกซิเจนเข้าสู่เลือด เมื่อมีออกซิเจนไม่เพียงพอ จะทำให้ประสิทธิภาพร่างกายของคุณทำงานได้ไม่เต็มที่ โรคปอดบวมพบได้บ่อยแค่ไหน ไม่ว่าใครก็ตามสามารถเป็นปอดบวมได้ทั้งนั้น โดยผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังอย่างเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และโรคหอบหืด มีความเสี่ยงสูงในการเป็นปอดบวม แต่โรคนี้สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของคุณ โปรดปรึกษากับหมอของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม รู้จักอาการอาการของโรค ปอดบวม อาการของโรคปอดบวมที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ ไอรุนแรง มีไข้ หนาวสั่น หายใจถี่ เจ็บหน้าอกมากขึ้น เมื่อคุณสูดหายใจเข้าหรือจาม ปวดหัว เบื่ออาหาร อ่อนแรงอย่างมาก คลื่นไส้และอาเจียน อาจมีอาการบางประเภทที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ข้างบน ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาหมอของคุณ เมื่อไหร่ที่ควรพบหมอ คุณควรติดต่อหมอของคุณทันที หากคุณมีอาการต่อไปนี้ ได้แก่ มีไข้และอาการสั่นอย่างต่อเนื่อง เจ็บหน้าอกและหายใจลำบาก คุณมีอายุน้อยมาก (5 ปี) หรือแก่มาก (65 ปี) ไอพร้อมเลือดหรือน้ำมูกที่มาจากปอด หายใจตื้น หายใจเร็ว หายใจลำบากพร้อมกับหายใจถี่ หากคุณมีสัญญาณหรืออาการอะไรก็ตามที่เหมือนอาการตามด้านบน หรือ หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษากับหมอของคุณ ร่างกายของทุกคนแสดงออกแตกต่างกันไป มันจึงดีที่สุดเสมอในการปรึกษากับหมอของคุณ ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ รู้จักกับสาเหตุสาเหตุของโรคปอดบวม โรคปอดบวมมีสามประเภทใหญ่ๆ ที่จำแนกได้ด้วยสาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่ ปอดบวมจากแบคทีเรีย เกิดจากแบคทีเรียที่เกิดขึ้นเอง หรือเกิดหลังจากโรคหวัดขั้นรุนแรง ปอดบวมจากไวรัส เป็นอาการที่ไม่รุนแรง และมักจะเกิดอาการแค่ช่วงสั้นๆ อย่างไรก็ตาม ไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถทำให้อาการปอดบวมจากไวรัสเพิ่มความรุนแรงขึ้น และเสียชีวิตได้ ผู้หญิงตั้งครรภ์หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและโรคปอด ควรระวังเป็นพิเศษกับโรคนี้ ปอดบวมจากการติดเชื้อไมโคพลาสมา (Mycaplasma pneumonia): […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไอแบบนี้ต้องกังวลมั้ย? ถอดรหัส อาการไอ 7 แบบ และความหมายทางสุขภาพ

อาการไอ เป็นปฏิกิริยาปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นเนื่องจากผลกระทบใดก็ตามจากปัจจัยภายนอก การไอ ยังเป็นสัญญาณเตือนว่า มีอะไรบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย โดยการไอมีหลายแบบ เช่น ไอแห้ง ไอแบบมีเสมหะ ไอเป็นเลือด ในบทความนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับอาการไอมาฝาก ว่าถ้าคุณไอแบบนี้ หมายถึงอะไรกันแน่ รวมถึงสาเหตุของการไอ สัญญาณของอาการไอเรื้อรัง ว่าคุณควรต้องดูแลตัวเองอย่างไร อาการไอ คืออะไร อาการไอสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อทางเดินหายใจมีสิ่งแปลกปลอม เช่น จุลินทรีย์ สิ่งระคายเคือง ของเหลว เสมหะ ติดอยู่บริเวณดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากคุณไอรุนแรง และไอเรื้อรัง เป็นระยะเวลานาน นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางอย่าง นอกจากนี้ กระบวนการไอมักจะมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ สูดลมหายใจเข้า ความดันเพิ่มขึ้นในลำคอและปอด พร้อมกับเส้นเสียงปิด การปล่อยลมอย่างรุนแรง (เมื่อเส้นเสียงเปิด) ทำให้การไอมีเสียงเฉพาะเกิดขึ้น สาเหตุของ อาการไอ ไข้หวัดธรรมดา อาการไอจะเกิดขึ้นเมื่อจมูกและลำคอติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ เป็นอาการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูก ลำคอ ปอด หายใจเอาสิ่งระคายเคืองเข้าไป กล้ามเนื้อหน้าท้องตึง หรือ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอกรน เป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจซึ่งแพร่กระจายได้ง่าย หลายคนมักจะไอแห้ง ๆ อย่างรุนแรง ก่อนจะหายใจเข้าจนเกิดเสียงดังที่คล้ายเสียงกรน สัญญาณของอาการไอเรื้อรัง อาการไอเรื้อรังอาจเกิดขึ้นพร้อมสัญญาณหรืออาการอื่น เช่น น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก รู้สึกได้ถึงของเหลวที่ไหลลงคอส่วนหลัง (เสมหะไหลลงคอ) กระแอมบ่อย […]


วัณโรค

วัณโรคปอด (Pulmonary Tuberculosis)

วัณโรคปอด คืออาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปอด เป็นวัณโรคประเภทที่อันตรายที่สุด เนื่องจากวัณโรคปอดนั้นมักจะสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย คำจำกัดความวัณโรคปอด คืออะไร วัณโรคปอด (Pulmonary tuberculosis) คืออาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปอด เป็นวัณโรคประเภทที่อันตรายที่สุด เนื่องจากวัณโรคปอดนั้นมักจะสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย วัณโรคปอดนั้นอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยวัณโรคปอดกว่า 50% มักจะเสียชีวิต วัณโรคปอด พบได้บ่อยแค่ไหน โรควัณโรคปอด เป็นโรคติดต่อที่เคยระบาดในช่วงสมัยศตวรรษที่ 18 และ 19 ในแถบอเมริกาเหนือและยุโรป หลังจากที่มีการค้นพบยาปฏิชีวนะ เช่น สเตร็ปโตมัยซิน (streptomycin) และโดยเฉพาะยาต้านวัณโรค ไอโซไนอาซิค (isoniazid) ประกอบกับการพัฒนาความเป็นอยู่พื้นฐานของคนให้ดีขึ้น ทำให้แพทย์สามารถรักษา และควบคุมการแพร่กระจายของวัณโรคได้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จำนวนของผู้ที่เป็นวัณโรคปอดในประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ก็ลดจำนวนลง อย่างไรก็ตาม วัณโรคปอดยังคงติด 10 อันดับสาเหตุการตายทั่วโลกตามข้อมูล จากองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยประมาณการว่า จำนวนผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอดประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงการตายที่เกี่ยวข้องกับวัณโรค เกิดขึ้นในหมู่ประเทศกำลังพัฒนา จากที่กล่าวมาข้างต้น การปกป้องตนเองจากวันโรคปอดจึงเป็นเรื่องสำคัญ จากข้อมูลสมาคมสุขภาพปอดอเมริกัน (American Lung Association) คนจำนวนมากกว่า 9.6 ล้านคนมีเชื้อวัณโรคในระยะแสดงอาการ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิตได้ เช่น ปอดเสียหายแบบถาวร […]


โรคหอบหืด

โรคภูมิแพ้ กระตุ้นให้มีอาการของโรคหอบหืดได้อย่างไร

โรคภูมิแพ้ อาจกลายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคหอบหืดขึ้นมาได้ แล้วโรคหอบหืดจริงๆ คืออะไร และทำไมถึงจัดว่าเป็นภูมิแพ้ประเภทหนึ่ง ใครที่กำลังสงสัยเรื่องนี้อยู่ละก็ วันนี้ Hello คุณหมอ นำข้อมูลมาให้ทุกคนได้ศึกษากันค่ะ โรคภูมิแพ้เกิดจากปัจจัยใดบ้าง ปฏิกิริยาภูมิแพ้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด 2 ปัจจัยหลัก ดังต่อไปนี้ การหดตัวของหลอดลม (หรือท่อลมในปอด) ทำให้กีดขวางอากาศเข้าสู่ปอด เยื่อหุ้มเซลล์ชั้นในของหลอดลมบวม และหลั่งเสมหะออกมาจนทำให้หลอดลมอุดตัน โดยปัจจัยดังกล่าวนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกหายใจไม่สะดวก เจ็บหน้าอก ไอเรื้อรัง และมีเสียงประหลาดในขณะหายใจ ผู้ที่มีอาการแพ้ทางจมูก ประมาณร้อยละ 20-25 มักจะเป็นโรคหอบหืด และในทางตรงข้ามผู้ที่เป็นโรคหอบหืดประมาณร้อยละ 20-80 มักต้องทนทุกข์จากอาการภูมิแพ้ เพราะทั้งสองโรคนี้มีความเกี่ยวข้องกัน แต่โรคภูมิแพ้ไม่ใช่สาเหตุเดียวของโรคหอบหืด เพราะมีอีกสาเหตุหนึ่งนั่นก็คือ มลพิษทางอากาศ  อาการของ โรคภูมิแพ้ และโรคหอบหืด ทั้งโรคภูมิแพ้และโรคหอบหืด อาจก่อให้อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการไอและทางเดินหายใจอุดตัน แต่จะมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ดังนี้ อาการของโรคภูมิแพ้  ตาแฉะ คันตา น้ำมูกไหล คันคอ และลมพิษ อาการของโรคหอบหืด แน่นหน้าอก หายใจเสียงมีเสียงประหลาด ไอจนหายใจไม่ออกในตอนกลางคืน หรือตอนเช้าตรู่ อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาภูมิแพ้อาจเกิดบนส่วนใดของร่างกายก็ได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพียงส่วนเดียวหรือหลายๆส่วนบนของร่างกายพร้อมกัน  และทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ผื่นคัน ลมพิษ อาหารไม่ย่อย ผื่นแดง การรักษา โรคภูมิแพ้ และโรคหืด เป็นที่รู้กันว่าอาการทั้งหมดของโรคนี้ […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ออกกำลังกาย อย่างไร...เมื่อเป็น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

การ ออกกำลังกาย เมื่อเป็น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง นั้นสามารถช่วยให้ปอดของคุณรับออกซิเจนได้มากขึ้น และขับไล่สิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองใดๆ ออกจากร่างกาย เมื่อเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะมีสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองติดอยู่ในปอดของคุณ ทำให้เกิดการอักเสบและความเสียหาย การออกกำลังกายสามารถช่วยให้คุณหายใจได้สะดวกขึ้น และทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นอีกด้วย และนี่คือสิ่งที่คุณควรจะรู้ก่อนออกกำลังกายเมื่อ เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ออกกำลังกาย ดีต่อผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อย่างไร อาการที่พบได้บ่อยของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคือการหายใจได้น้อย คุณแทบจะหายใจโดยไม่มีเสียงฮืดฮาดหรืออาการหอบได้เลย ดังนั้น การออกกำลังกายคือสิ่งที่คุณต้องทำ เพื่อพัฒนาการหายใจของตัวเอง เมื่อคุณออกกำลังกาย การไหลเวียนของเลือดไปสู่ปอดจะมากขึ้น สิ่งนี้มีข้อดีอยู่ 2 ประการ เพื่อช่วยให้คุณไปเอาเสมหะที่ปิดกั้นปอดของคุณออกมา และช่วยเพิ่มออกซิเจนในกระแสเลือด ออกกำลังกายประเภทใดได้บ้าง การออกกำลังกายในแต่ละประเภทสามารถช่วยในเรื่องโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น การออกกำลังกายกล้ามเนื้อหัวใจ (คาร์ดิโอ) สามารถช่วยให้การหายใจของคุณดีขึ้น โดยการทำให้หัวใจและปอดของคุณแข็งแรงขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป การออกกำลังกายกล้ามเนื้อหัวใจ (คาร์ดิโอ) สามารถทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตของคุณลดลงได้ หัวใจของคุณไม่ต้องทำงานหนักในระหว่างการทำกิจกรรมทางร่างกายต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้การหายใจของคุณดีขึ้น การออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก กระตุ้นให้เกิดการทำลาย และสร้างใหม่ของกล้ามเนื้อ ด้วยการหดตัวของกล้ามเนื้อบ่อยๆ การออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนักในช่วงบนของร่างกาย สามารถช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจของคุณ การออกกำลังกายแบบยืดตัว และฝึกความยืดหยุ่นอย่างโยคะและพิลาทิส สามารถเพิ่มการประสานงานภายในและการหายใจได้ อย่างไรก็ตาม คุณยังต้องระวังเมื่อกระทำการออกกำลังกาย ปรึกษาแพทย์ก่อนการเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกาย แพทย์ของคุณสามารถแนะนำในเรื่องความปลอดภัยและประโยชน์ของมันได้ ควรออกกำลังกายบ่อยแค่ไหน  เมื่อออกกำลังกายโดยที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วย สิ่งสำคัญคืออยากออกกำลังมากเกินไป คุณควรเริ่มด้วยท่าออกกำลังที่สั้นๆ และช้าๆ จากนั้นค่อยๆเพิ่มขึ้นเมื่อคุณเริ่มชินกับจำนวนการออกกำลังกาย เมื่อเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กล้ามออกกำลังกายแบบเบาๆ สามารถทำให้หัวใจคุณเต้นได้มากเท่ากับคนปกติออกกำลังกายแบบความเข้มข้นปานกลาง เริ่มต้นด้วยเป้าหมายการออกกำลังอย่างเบาๆ และค่อยๆเพิ่มขึ้นช้าๆเป็น 20 ถึง 30 นาทีต่อรอบ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ คุณสามารถลองออกกำลังโดยการเดิน หรือการปั่นจักรยานอยู่กับที่ หรือศิลปะการต่อสู้แบบช้ามากๆ ที่เรียกว่า ไทเก๊ก […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ยาสูดพ่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ใช้ยังไงให้ถูกวิธี

เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่กับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ COPD คุณอาจจะคุ้นเคยกับตัวช่วยรับมือกับโรคนี้อย่าง ยาสูดพ่น แต่คุณรู้ไหมว่า วิธีใช้ ยาสูดพ่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร จริง ๆ แล้วยาสูดพ่นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท คุณอาจจำเป็นต้องเพิ่มขนาดยา หรือศึกษาวิธีใช้ยาสูดพ่นใหม่ เพื่อประสิทธิภาพที่สูงสุดในการช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น เคล็ดลับในการใช้ ยาสูดพ่น สำหรับ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อย่างถูกต้อง หากคุณจำเป็นต้องพ่นยามากกว่า 1 ครั้งต่อขนาดยา ควรเว้นระยะเวลาระหว่างการพ่นยาแต่ละครั้ง อย่าพ่นยาติด ๆ กัน หรือพ่นยาถี่เกินไป หรือพ่นยาในขนาดยาที่เยอะเกินไปในแต่ละครั้ง ขณะใช้ยาสูดพ่นควรนั่งหลังตรงหรือยืนตัวตรง เมื่อกดพ่นยาก็หายใจเข้าทันที กลั้นหายใจไว้ประมาณ 10 วินาทีหลังจากหายใจเข้า ทำความสะอาดเครื่องพ่นยาเดือนละครั้ง ทำความสะอาดส่วนที่ใช้ปากเป่าหลังจากการใช้แต่ละครั้ง ทิ้งไว้ให้แห้งเองโดยไม่ใช้ผ้าเช็ด ยาสูดพ่นมีอยู่ด้วยกันสองประเภทได้แก่ Metered-dose inhalers (MDI) breath-activated inhalers หรือ dry powdered inhalers การใช้ยาสูดพ่นประเภท Metered-dose inhaler (MDI) อย่างเหมาะสม ยาสูดพ่นประเภท Metered-dose inhaler เป็นยาสูดพ่นชนิดที่พบได้ทั่วไป ทำงานโดยการส่งยาผ่านไปกับแก๊สอัดแรงดัน ที่ผลักเอายาให้ไปถึงยังปอด นี่เป็นหนึ่งในวิธีการใช้งานยาสูดพ่นประเภท MDI อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังจำเป็นต้องร่วมกับการทำงานร่วมกันของส่วนอื่นอีก บางคนอาจจะมีปัญหากับการใช้ยาสูดพ่นประเภทนี้ ความผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นได้จากการไม่เขย่าขวดก่อนใช้ หรือหายใจเข้าเร็วเกินไป […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ภาวะขาดออกซิเจน ในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ภาวะขาดออกซิเจน มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เนื่องจากโรคนี้จะทำที่ทำให้หายใจลำบาก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประกอบด้วยอาการของหลอดลมอักเสบ และถุงลมโป่งพองเรื้อรัง โดยอาการทั้งสองประการนี้จะจำกัดการไหลเวียนของอากาศ และทำให้ปอดไม่สามารถรับออกซิเจนได้เพียงพอ โดยสามารถทำให้คุณมีความเสี่ยงในการเกิด ภาวะขาดออกซิเจนที่เป็นการให้ออกซิเจนไม่เพียงพอกับเซลล์และเนื้อเยื่อของร่างกาย อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงโดยในบางครั้งอาจที่จะคุกคามต่อชีวิตได้ อาการของ ภาวะขาดออกซิเจน คลีฟแลนด์คลินิกได้กำหนดถึงภาวะขาดออกซิเจนว่าเป็น “อาการได้รับออกซิเจนที่ไม่เพียงพอต่อเนื้อเยื่อ โดยถึงแม้ว่าการไหลเวียนของโลหิตจะเพียงพอก็ตาม” ออกซิเจนมีบทบาทสำคัญในการบำรุงรักษาร่างกาย แต่วิธีเดียวที่จะได้รับคือการได้รับผ่านปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นทำให้เกิดการกีดขวางหรือจำกัดการไหลของออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอาจเป็นผลจากการอักเสบและบวมของทางเดินหายใจในหลอดลมอักเสบที่เรื้อรัง นอกจากนี้ยังคงเกี่ยวข้องกับการทำลายเนื้อเยื่อในปอด (alveoli)  ในถุงลมที่โป่งพอง อาการและอาการของภาวะขาดออกซิเจนอาจรวมถึง อาการหายใจถี่ขณะพักผ่อน อาการหายใจไม่ออกขณะตื่น อาการหายใจถี่อย่างรุนแรงหลังจากการออกกำลังกาย รู้สึกอึดอัด หายใจเสียงดัง ไอที่บ่อยครั้ง ผิวมีสีน้ำเงินอมม่วง ภาวะการขาดออกซิเจนนี้ยังสามารถนำไปสู่ภาวะอื่นที่เกี่ยวข้องกันอย่าง ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อภายในปอดนั้นเก็บคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป โดยอาจจะเนื่องจากการหายใจลำบาก เมื่อคุณไม่สามารถหายใจได้ออกตามปกติหรือคุณอาจไม่สามารถหายใจออกได้ตามเท่าที่ควร โดยอาการนี้อาจเพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ของคุณที่เป็นอาการที่ร้ายแรงได้ หากคุณมีปัญหาในการหายใจและภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน คุณจะต้องหายใจให้ออกมากขึ้นกว่าปกติ ภาวะแทรกซ้อนของภาวะขาดออกซิเจน แม้ว่าการขาดออกซิเจนในปอดอุดกั้นเรื้อรังทำให้หายใจลำบาก แต่ในอาการนี้ก็มีผลต่ออวัยวะอื่นๆมากกว่าปอด เมื่อคุณหายใจเข้าออกซิเจนไม่เพียงพอเลือดของคุณจะขาดส่วนประกอบที่สำคัญ ออกซิเจนมีความสำคัญต่อการทำหน้าที่พื้นฐานของร่างกาย ตัวอย่างเช่นการขาดออกซิเจนสามารถส่งผลร้ายต่อหัวใจและสมองของคุณได้ การขาดออกซิเจนในปอดอุดกั้นเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าภาวะขาดออกซิเจนในสมอง (cerebral hypoxia) การขาดออกซิเจนชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อสมองขาดออกซิเจนแม้ว่าจะมีเลือดเพียงพอต่อร่างกาย ตามที่สถาบันแห่งชาติทางด้านความผิดปกติทางระบบประสาทและโรคหลอดเลือดสมองกล่าวว่า หากคุณพบภาวะขาดออกซิเจนในสมองเซลล์สมองของคุณสามารถเสียชีวิตได้ภายในห้านาที การขาดออกซิเจนในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังยังอาจนำไปสู่ ภาวะซึมเศร้าและความผิดปกติทางอารมณ์อื่น ๆ ความดันโลหิตสูง ความดันในปอดสูง อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หัวใจล้มเหลว ระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันล้มเหลว ภาวะเลือดข้น (จำนวนเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นผิดปกติ) การรักษาด้วยออกซิเจนและการรักษาภาวะขาดออกซิเจน การรักษา ภาวะขาดออกซิเจน วิธีการทั่วไปในการให้ออกซิเจนเสริมคือการบำบัดด้วยออกซิเจน (Oxygen Therapy) การบำบัดด้วยออกซิเจนเรียกว่าออกซิเจนเสริม หรือการกำหนดปริมาณของออกซิเจน ประกอบด้วยการใช้อุปกรณ์ทางกลที่ให้ออกซิเจนแก่ปอดของคุณ ออกซิเจนเสริมสามารถลดการหายใจถี่เพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือดของคุณและลดปริมาณงานที่หัวใจของคุณต้องทำ นอกจากนี้ยังสามารถลดภาวะที่ระบบการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ก่อนที่จะสั่งให้ออกซิเจนแพทย์ของคุณจะทำการทดสอบเพื่อวัดระดับออกซิเจนในเลือดของคุณ การบำบัดด้วยออกซิเจนส่วนใหญ่จะใช้ออกซิเจนที่ถูกบีบอัดภายในโดยในประเภทนี้มาเป็นก๊าซในถังสำหรับจัดเก็บ เมตรจะช่วยตรวจสอบปริมาณออกซิเจนที่คุณหายใจเข้าออกซิเจนเคลื่อนผ่านท่อจากอุปกรณ์และเข้าสู่ร่างกายของคุณผ่านทางท่อจมูกหน้ากากหรือท่อแทรกเข้าไปในหลอดลม การบำบัดด้วยออกซิเจนยังมีอยู่ในรูปแบบหัวฉีด โดยหัวฉีดออกซิเจนจะใช้อากาศจากสิ่งแวดล้อมโดยกรองก๊าซอื่นๆ และจัดเก็บอากาศออกซิเจนไว้ใช้ แตกต่างจากที่อัดออกซิเจนคุณไม่จำเป็นต้องใช้ภาชนะบรรจุที่เติมออกซิเจนล่วงหน้า คอนเดนเซอร์มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการการบำบัดด้วยออกซิเจนอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบหัวฉีดต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงานดังนั้นจึงอาจไม่สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายเช่น การบีบอัดออกซิเจน อีกทางเลือกหนึ่งคือออกซิเจนเหลว ออกซิเจนเหลวกลายเป็นแก๊สเมื่อออกจากภาชนะบรรจุ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน