โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยการดูแลสุขภาพตนเอง วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดให้มากขึ้นกัน เพื่อที่จะได้ดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี โดยแบ่งคำถาม-คำตอบ เป็นข้อ ๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย ดังนี้ [embed-health-tool-bmi] ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง ถึงแม้ว่าไข้หวัดจะเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่เชื่อว่าหลายคนมักมีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับไข้หวัด ซึ่งอาจส่งผลให้เราละเลยการดูแลสุขภาพของตนเอง หรือดูแลสุขภาพได้ไม่ถูกวิธี วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดให้มากขึ้น ด้วยการนำ 4 คำถามที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับโรคไข้หวัด มาฝากกันค่ะ ไข้หวัดเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก จริงหรือไม่ จริง ไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อย จากสถิติพบว่าผู้ใหญ่อาจป่วยเป็นไข้หวัดประมาณ 2-3 ครั้ง/ปี และในวันเด็กอาจป่วยมากกว่าวัยผู้ใหญ่มากขึ้นไปอีก โรคไข้หวัดเกิดจากไวรัส จริงหรือไม่ จริง โรคไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสไรโนไวรัส (Rhinoviruses) รวมถึงไวรัสชนิดอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดหวัดอย่างไวรัสอะดีโน (Adenovirus) ไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) เป็นต้น ไข้หวัด รักษาให้หายขาดได้ จริงหรือไม่ ไม่จริง แต่เราสามารถเยียวยาเพื่อบรรเทาอาการได้ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ รับประทานยาแก้ปวด วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไข้หวัด […]

หมวดหมู่ โรคทางเดินหายใจ เพิ่มเติม

ไข้หวัด

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไอ (cough)

ไอ เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์บริเวณทางเดินหายใจเกิดการระคายเคือง ซึ่งจะกระตุ้นปอดให้ดันอากาศออกมาภายใต้ความดันสูง สามารถเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง คำจำกัดความ ไอคืออะไร ไอ (cough) เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์บริเวณทางเดินหายใจเกิดการระคายเคือง ซึ่งจะกระตุ้นปอดให้ดันอากาศออกมาภายใต้ความดันสูง อาการไอสามารถเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง อาการไอพบบ่อยเพียงใด อาการไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองฉับพลันตามธรรมชาติเพื่อช่วยปกป้องปอด และช่วยกำจัดสิ่งระคายเคืองออกจากทางเดินหายใจ เช่น ควันและน้ำมูก ทั้งยังป้องกันการติดเชื้อในทางเดินหายใจด้วย อาการไอเป็นเวลานานทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงปรารถนาและอาจเป็นอันตรายหากไม่ได้รับการตรวจ โดยสามารถส่งผลต่อผู้ป่วยได้ทุกวัย แต่สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการไอเป็นอย่างไร อาการไอมักเป็นอาการหนึ่งของภาวะอื่นๆ สามารถเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ไม่ว่าคุณจะมีอาการไอแบบใด อาการทั่วไปของการไอที่เห็นชัด ได้แก่ มีไข้ รู้สึกหนาวสั่น ปวดตามร่างกาย เจ็บคอ คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดศีรษะ มีเหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำมูกไหล มีเสมหะในลำคอ อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด อาการไอส่วนใหญ่ที่เกิดจากหวัดหรือไข้หวัดใหญ่จะหายไปเองอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี ควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้ รู้สึกเวียนศีรษะหลังมีอาการไอ ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก ไอต่อเนื่องตลอดทั้งคืน มีไข้ อาการไอไม่ดีขึ้นหลังจาก 7 วัน มีอาการหอบหรือหายใจลำบาก หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของการไอ เมื่อมีสารระคายเคืองในปอด ปฏิกิริยาตามธรรมชาติของร่างกายคือ การไอเพื่อกำจัดสารระคายเคืองออกไป สาเหตุที่ทำให้ปอดระคายเคือง ได้แก่ ไวรัส ไวรัสที่ทำให้เกิดอาการหวัดหรือไข้เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด ของการไอ ภูมิแพ้และหอบหืด ปอดจะพยายามกำจัดสิ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดการระคายเคืองออกไปโดยการไอ สารระคายเคือง เช่น อากาศเย็น บุหรี่ ควัน หรือน้ำหอมรุนแรงจะกระตุ้นให้เกิดการไอ สาเหตุอื่นๆ เช่น ปอดติดเชื้อ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะอารมณ์หดหู่หรือซึมเศร้า และผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางประเภท ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอาการไอ สิ่งระคายเคืองในสิ่งแวดล้อมจะทำให้อาการไอแย่ลง ตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็นภูมิแพ้อาจรักษาอาการไอโดยใช้ยารักษาภูมิแพ้ หากมีอาการไอจากการสูบบุหรี่ อาจมีอาการดีขึ้นหากหยุดสูบบุหรี่หรืออาจมีอาการแย่ลงหากยังคงสุบบุหรี่ต่อไป  หากเป็นโรคปอดเรื้อรัง เช่น หอบหืดหรือหลอดลมอักเสบเรื้อรัง อาจมีอาการไอเรื้อรังรุนแรงขึ้นหากไปในสถานที่บางแห่งหรือทำกิจกรรมบางประการที่มีปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการไอ ยาบางประเภทสามารถทำให้เกิดการไอ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ภาวะระบายลมหายใจเกิน (Hyperventilation)

ภาวะระบายลมหายใจเกิน เกิดขึ้นเมื่อคุณเริ่มหายใจเร็วมาก โดยหายใจออกมากกว่าหายใจเข้า ก่อให้เกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว คำจำกัดความภาวะระบายลมหายใจเกิน คือ ภาวะระบายลมหายใจเกิน (Hyperventilation) หรือ โรคหายใจเกิน เกิดขึ้น เมื่อคุณเริ่มหายใจเร็วมาก การหายใจที่ดีต่อสุขภาพคือภาวะสมดุลระหว่างการสูดออกซิเจนเข้า และระบายคาร์บอนไดออกไซด์ออก ภาวะสมดุลนี้สูญเสียไป เมื่อคุณระบายลมหายใจเกิน โดยการหายใจออกมากกว่าหายใจเข้า ก่อให้เกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายที่ลดต่ำ ก่อให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือดที่ลำเลียงเลือดไปยังสมอง การลดลงของเลือดที่ไปเลี้ยงสมองนี้ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น เวียนศีรษะ และมีอาการปวดเสียวที่นิ้วมือ ภาวะระบายลมหายใจเกินที่รุนแรงสามารถก่อให้เกิดอาการหมดสติได้ ภาวะระบายลมหายใจเกิน พบได้บ่อยเพียงใด โดยปกติแล้ว ภาวะระบายลมหายใจเกินจะค่อนข้างพบได้น้อย โดยอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเมื่อมีอาการตื่นตระหนกต่อความกลัว อาการตึงเครียด หรือความกลัว นอกจากนี้ โรคหายใจเกิน ยังอาจเป็นผลมาจากสภาวะทางอารมณ์ เช่น อาการซึมเศร้า ความกังวล ความโกรธ หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็อาจจะเรียกว่า กลุ่มอาการหอบจากอารมณ์ (Hyperventilation Syndrome) อาการอาการของ ภาวะระบายลมหายใจเกิน โรคหายใจเกิน อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ และอาจมีอาการได้นาน 20-30 นาที คุณควรเข้ารับการรักษาในทันทีหากเกิดอาการดังต่อไปนี้ หายใจถี่และหายใจลึก อาการปวด อาการไข้ มีเลือดออก รู้สึกกังวล ประหม่า หรือตึงเครียด หาวบ่อย หัวใจเต้นแรงและเร็ว มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เวียนศีรษะ หรือรู้สึกหมุน มีอาการชาหรือปวดที่มือ เท้า หรือรอบปาก มีอาการตึง แน่น มีแรงกด รู้สึกกดเจ็บ หรือปวดที่หน้าอก อาการของภาวะระบายลมหายใจเกินแย่ลง […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)

คำจำกัดความซิสติกไฟโบรซิส คืออะไร ซิสติกไฟโบรซิส (Cystic  Fibrosis) เป็นอาการป่วยเรื้อรัง ที่ส่งผลต่อเซลล์ที่สร้างเหงื่อและเมือก เมือกเป็นของเหลวที่ลื่นและค่อนข้างเหนียว ที่ช่วยหล่อลื่นและป้องกันเยื่อเมือก เมือกที่เกิดจากโรคซิสติกไฟโบรซิสจะหนาและเหนียวผิดปกติ เมือกดังกล่าวจะไปอุดกั้นปอด และก่อให้เกิดภาวะปอดติดเชื้อเรื้อรัง นอกจากนี้ ซิสติกไฟโบรซิสยังส่งผลต่อตับอ่อน ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติ ในการสร้างสารเคมีชนิดพิเศษที่เรียกว่าเอนไซม์ เพื่อใช้สำหรับการย่อยอาหาร หากไม่มีเอนไซม์แล้ว ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารจากอาหารได้ ซิสติกไฟโบรซิส พบได้บ่อยเพียงใด ซิสติกไฟโบรซิสเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่พบได้ทั่วไปในแถบยุโรปตอนเหนือ ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสมีช่วงชีวิตที่สั้น แต่ด้วยการรักษาสมัยใหม่ พบว่าผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสจำนวนมากขึ้น สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึงวัยกลางคน หรือมากกว่า อาการอาการของโรค ซิสติกไฟโบรซิส เป็นอย่างไร สิ่งบ่งชี้และอาการของโรคซิสติกไฟโบรซิสมีหลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อาจมีสิ่งบ่งชี้และอาการของโรคที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการใดอาการหนึ่ง ให้ปรึกษาแพทย์ ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสมีระดับเกลือในเหงื่อที่สูงกว่าปกติ พ่อแม่สามารถรู้สึกถึงรสของเกลือได้เมื่อจูบลูกของตน อาการอื่นๆ ได้แก่ สิ่งบ่งชี้และอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสมีเมือกหนาและเหนียว ที่ก่อตัวขึ้นในทางเดินหายใจ การก่อตัวขึ้นของเมือก ทำให้แบคทีเรียเติบโต และทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น การติดเชื้อจะอุดกั้นทางเดินหายใจ และทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ที่ก่อให้เกิดเสมหะ หรือเมือกหนาที่มีเลือดปนในบางครั้ง นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสยังมีโอกาสที่จะมีภาวะโพรงจมูกอักเสบชั่วคราว ปอดบวม และปอดติดเชื้อ ที่ไม่มีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทั่วไป เมื่อโรคซิสติกไฟโบรซิสมีอาการแย่ลง คุณอาจมีภาวะที่รุนแรงขึ้น เช่น ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (pneumothorax) หรือโรคหลอดลมพอง (bronchiectasis) สิ่งบ่งชี้และอาการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร สำหรับโรคซิสติกไฟโบรซิส เมือกจะอุดกั้นหลอดหรือช่องในตับอ่อน (อวัยวะภายในช่องท้อง) การอุดกั้นดังกล่าวนี้ป้องกันไม่ให้เอนไซม์ไปยังลำไส้ได้ ผลก็คือ […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

สัญญาณโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หนึ่งในโรคปอดเรื้อรังที่รุนแรงถึงชีวิต

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) คือ หนึ่งในโรคปอดเรื้อรังที่ร้ายแรงที่สุด ที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการหายใจ และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต พยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology) ของโรค หรือการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เริ่มจากการสร้างความเสียหายให้กับหลอดลมและถุงลมในปอด แล้วพัฒนาไปเป็นอาการไอพร้อมเสมหะ จนกลายมาเป็นหายใจติดขัดในที่สุด มาทำความรู้จักกับ อาการและ สัญญาณโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กันได้ในบทความนี้ ต้นตอของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สภาวะของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 2 สภาวะ คือ โรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง (chronic bronchitis) และถุงลมโป่งพอง (Emphysema) ซึ่งส่งผลกระทบต่อปอดคนละส่วนกัน นำไปสู่อาการหายใจติดขัดได้ทั้งสิ้น เพื่อให้เข้าใจพยาธิสรีรวิทยาของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สิ่งที่สำคัญ คือ การรู้จักกับโครงสร้างของปอด โรคถุงลมโป่งพองเกิดขึ้นกับถุงลมในปอด (alveoli) และเส้นใยที่สร้างผนังของถุงลมเสียหาย ทำให้ยืดหยุ่นได้น้อยลงและไม่สามารถทำงานได้ เมื่อคุณหายใจออก หากหลอดลมฝอยอักเสบ (bronchitis) ก็จะผลิตเสมหะขึ้นมามากขึ้น หากอาการนี้ไม่ยอมหายไป อาจพัฒนากลายเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง นอกจากนี้คุณยังสามารถเป็นโรคหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน แต่อาการนี้จะไม่นับว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สาเหตุหลักของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ การสูบบุหรี่ การหายใจเอาควันบุหรี่ และสารเคมีที่อันตรายเข้าไป สามารถทำให้หลอดลมและถุงลมบาดเจ็บได้ แล้วจึงกลายเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การสัมผัสกับควันบุหรี่มือสอง สารเคมี หรือแม้แต่น้ำมันสำหรับทำอาหารในอาคารที่ระบายอากาศได้ไม่ดี ก็อาจนำไปสู่โรคปอดได้เช่นกัน ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลง อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รุนแรงมักจะไม่ปรากฏ จนกระทั่งเข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรค หากคุณพบว่าตัวเองหายใจไม่อิ่มหลังจากการออกกำลังกายแบบเบาๆ หรือหายใจลำบากหลังจากทำกิจกรรมทั่วไป เช่น เดินขึ้นบันได […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

เทคนิคการรับมือ อาการหายใจลำบาก หนึ่งในอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) คืออาการผิดปกติของปอด ที่ทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก เหนื่อยหอบ และต้องพยายามเพื่อให้จะหายใจได้ดี หากคุณเป็นโรคนี้ บางครั้งอาจพบปัญหาหายใจขณะเดินหรือออกกำลังกายได้ลำบากมาก แค่นั่งหรือพักผ่อนเฉย ๆ ก็ทำให้คุณหายใจหอบได้ อาการหายใจลำบาก นั้นขึ้นอยู่กับความเสียหายของปอด และการที่ปอดทำงานผิดปกติ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คืออะไร โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ กลุ่มอาการจากความผิดปกติของปอด โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) คือสองอาการหลักในหมวดหมู่นี้ ผู้ป่วยจำนวนมากนั้นมีทั้งสองอาการนี้พร้อม ๆ กัน ดังนั้น จึงเรียกโดยรวมว่า โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคนี้เป็นโรคที่มีการพัฒนา หมายถึง อาการของโรคจะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป อีกทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก็ไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับมาเป็นดังเดิมได้ แม้แต่การรักษาก็ยังไม่สามารถรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้หายขาด หรือหยุดโรคนี้ได้ แต่คุณสามารถชะลอการพัฒนาของโรคและพยายามป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับปอดของคุณได้ อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในระยะแรก มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการเหนื่อยล้าทั่วไปหรือแค่ร่างกาย “อยู่ในสภาพไม่พร้อม” จนกระทั่งความผิดปกตินั้นพัฒนาขึ้น และสามารถตรวจจับสังเกตเห็นอาการได้มากขึ้น อาการทั่วไปของ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  หายใจหอบ แน่นหน้าอกและเจ็บหน้าอก ไอ มึนงง มีเสมหะในปอดที่มักจะออกมาเมื่อคุณไอ รู้สึกเหนื่อยล้าบ่อย ติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจบ่อย ไอมีเสมหะ น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ หายใจมีเสียงหวีด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทำร้ายปอดของคุณอย่างไร ถุงลมโป่งพองและหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ต่างโจมตีปอดในทางที่แตกต่างกัน ถุงลมโป่งพองนั้นทำลายผนังที่อยู่ในถุงลมในปอด เมื่อถุงลมใหญ่เกินไป ก็จะทำให้ผนังมีรอยแตกร้าว ส่งผลกระทบกับกระบวนการในการแลกเปลี่ยนแก๊ส การนำพาออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อในร่างกาย และการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อถุงลมเสียหายและลดลง ปอดจึงไม่สามารถเก็บและเคลื่อนย้ายอากาศได้มากเท่าที่เคยทำได้ พอปอดทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ก็ส่งผลกระทบให้คุณไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ คุณจึงพบว่า ตัวเองหายใจหอบและเหนื่อยเร็วขึ้น นอกจากนี้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ยังอาจทำให้หลอดลมอักเสบและระคายเคือง […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ปอดแฟบ (Atelectasis)

ปอดแฟบ คือ อาการที่ปอดหรือกลีบปอดบางส่วนยุบ อาจเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ การสูดหายใจเอาวัตถุแปลกปลอมเข้าไป เนื้องอกที่ปอด มีน้ำในปอด ระบบทางเดินหายใจอ่อนแอ และการบาดเจ็บที่หน้าอก คำจำกัดความปอดแฟบ คืออะไร อาการปอดแฟบ (Atelectasis) หรืออาการที่ปอดหรือกลีบปอดบางส่วนยุบ เกิดขึ้นเมื่อถุงลม (Alveoli) ภายในปอดนั้นแฟบลง อาการปอดแฟบ ยังอาจเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ทั้งโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) การสูดหายใจเอาวัตถุแปลกปลอมเข้าไป เนื้องอกที่ปอด มีน้ำในปอด ระบบทางเดินหายใจอ่อนแอ และการบาดเจ็บที่หน้าอก ปอดแฟบ พบได้บ่อยได้แค่ไหน อาการปอดแฟบ สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทุกช่วงอายุ เป็นภาวะแทรกซ้อนจากการหายใจหลังจากการผ่าตัดที่พบได้ทั่วไป สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์ อาการอาการของปอดแฟบ อาการปอดแฟบ ไม่มีสัญญาณหรืออาการที่ชัดเจน หากคุณมีสัญญาณและอาการเกิดขึ้น อาจมีดังนี้ หายใจลำบาก หายใจเร็วและตื้น ไอ อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษากับแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อไร อาการปอดแฟบ มักจะเกิดขึ้นในตอนที่คุณอยู่ในโรงพยาบาลอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ควรรับการรักษาพยาบาลในทันที หากคุณมีปัญหาการหายใจ หรือโรคอื่น ๆ นอกจาก อาการปอดแฟบ คุณจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการรักษาโดยทันที แล้วเมื่อคุณเริ่มมีอาการหายใจลำบาก ควรดรับการรักษาฉุกเฉินในทันที สาเหตุสาเหตุของ อาการปอดแฟบ อาการปอดแฟบ เป็นผลมาจากการอุดตันของทางเดินหายใจ หรือจากความดันจากด้านนอกของปอด (แบบไม่มีการอุดตัน) […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ไซนัสอักเสบเรื้อรัง (Chronic Sinusitis)

โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง หมายถึงอาการติดเชื้อและอักเสบของไซนัสติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป จนทำให้ไซนัสอุดตัน และเกิดการสะสมของน้ำมูกภายในโพรงจมูก คำจำกัดความไซนัสอักเสบเรื้อรัง คืออะไร โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง (Chronic Sinusitis) หมายถึงอาการติดเชื้อและอักเสบของไซนัสติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป เรียกอีกชื่อก็คือโพรงอากาศข้างจมูกอักเสบเรื้อรัง (Chronic Rhinosinusitis) ไซนัสที่อักเสบและบวมขึ้นนี้อาจกลายมาเป็น ริดสีดวงจมูก ที่ปิดกั้นโพรงจมูก ทำให้เกิดการสะสมของน้ำมูก และทำให้หายใจไม่ออกได้ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง พบได้บ่อยได้แค่ไหน โรคไซนัสอักเสบเรื้อรังสามารถเกิดได้กับผู้ป่วยทุกช่วงอายุ จัดการได้โดยการลดปัจจัยความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง จะต้องมีอย่างน้อยสองจากสี่สัญญาณ และอาการหลักของโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง เพื่อยืนยันการติดเชื้อที่จมูกสำหรับการวินิจฉัยโรค ซึ่งมีดังนี้ มีน้ำมูกที่ข้นและเปลี่ยนสีไหลออกมาจากจมูก หรือระบายไหลลงไปในด้านหลังคอ เรียกว่าอาการเสมหะไหลลงคอ (postnasal drip) จมูกอุดตันหรือคัดจมูก ทำให้หายใจผ่านจมูกได้ลำบาก มีอาการปวด กดเจ็บ และบวมบริเวณดวงตา แก้ม จมูก หรือหน้าผาก ดมกลิ่นและรับรสได้น้อยลงในผู้ใหญ่ หรือมีอาการไอในเด็ก อาการอื่น ๆ อาจจะมีดังนี้คือ ปวดหู ปวดกรามบน ปวดฟัน มีอาการไอที่หนักขึ้นในตอนกลางคืน เจ็บคอ มีกลิ่นปาก เหนื่อยล้าหรือหงุดหงิด คลื่นไส้ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรังและไซนัสอักเสบเฉียบพลัน มีสัญญาณและอาการที่คล้ายกัน แต่ไซนัสอักเสบเฉียบพลันเป็นการติดเชื้อที่ไซนัสชั่วคราว และมักเกี่ยวข้องกับโรคหวัด สัญญาณและอาการของโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังจะอยู่นานกว่า และมักทำให้อ่อนล้ามากกว่า ไข้ไม่ใช่สัญญาณทั่วไปของโรคโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง แต่คุณอาจจะมีไข้ได้ หากคุณเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ ควรไปพบหมอเมื่อไร คุณควรไปหาแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้ หากมีอาการของ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง หลายครั้งแล้ว แต่รักษาไม่หายเสียที คุณมีอาการไซนัสอักเสบนานกว่าเจ็ดวัน อาการของคุณไม่ดีขึ้นหลังจากที่คุณไปหาแพทย์ คุณควรไปหาแพทย์ทันที หากมีอาการดังต่อไปนี้ […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติที่ควรรู้

เมื่อต้องมีชีวิตอยู่กับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โภชนาการที่ดีจึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับปอดของคุณในอนาคต มีอาหารหลายประเภท ที่ก่อให้เกิดอาการท้องอืด หรือแก๊สในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจมีผลต่อความสามารถในการหายใจของคุณ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสามารถจำกัดความสามารถในการทำงานอย่างเหมาะสมของปอด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปรับเปลี่ยนอาหาร เพื่อให้การหายใจของคุณเป็นไปอย่างเหมาะสม บทความต่อไปนี้ของ Hello คุณหมอ เป็นข้อควรปฏิบัติ และข้อห้ามที่คุณควรรู้ เกี่ยวกับ โภชนาการสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับ โภชนาการสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง อาหารให้พลังงานและสารอาหารแก่คุณเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน หนึ่งในกิจกรรมเหล่านี้คือการหายใจ เมื่อคุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คุณต้องการพลังงานในการหายใจมากกว่าคนที่ไม่เป็นโรคนี้ กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจของคุณ อาจต้องการแคลอรี่ในปริมาณที่มากกว่า 10 เท่าของคนทั่วไป ดังนั้น นี่คือสิ่งที่คุณควรปฏิบัติเมื่อมีภาวะโภชนาการสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพิ่มโปรตีนในมื้ออาหารของคุณให้มากขึ้น โปรตีนมีความจำเป็นในการป้องกันร่างกายของคุณจากการติดเชื้อ โดยการสร้างสารภูมิต้านทานให้มากขึ้น เมื่อคุณรับประทานโปรตีนไม่เพียงพอ ปอดของคุณอาจไม่สามารถต้านทานการติดเชื้อได้ ซึ่งแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุด คือ เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ สัตว์ปีก ถั่ว และผลิตภัณฑ์จากนม ควบคุมน้ำหนักร่างกาย  คุณควรปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการ เกี่ยวกับน้ำหนักร่างกาย และปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสมสำหรับคุณ เมื่อคุณมีน้ำหนักเกิน ปอดของคุณต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อให้ได้รับออกซิเจนในปริมาณที่ร่างกายของคุณต้องการ ดังนั้นการวางแผนเกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยให้คุณมีน้ำหนักที่เหมาะสมได้ ดื่มน้ำในปริมาณมาก คุณควรดื่มน้ำอย่างน้อย 6 ถึง 8 แก้วต่อวัน ยิ่งดื่มน้ำมากขึ้น […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

กินอย่างไรดี ถ้าหายใจลำบาก จากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

กินอย่างไรดี ถ้าหายใจลำบาก โดยเฉพาะจากอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease : COPD) ซึ่งเป็นสภาวะเกี่ยวกับปอดที่พบได้ทั่วไป รวมทั้งภาวะมีอากาศในเนื้อเยื่อ (emphysema) และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) ควรเลือกรับประทานอาหารและรู้จักวิธีการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง [embed-health-tool-bmi] กินอย่างไรดี ถ้าหายใจลำบาก จากอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ที่มีอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง มักส่งผลให้หายใจลำบาก และรับประทานอาหารได้ยากกว่าปกติ ควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อให้การรับประทานอาหารส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้เรียบง่าย การเตรียมและการรับประทานอาหารเป็นเรื่องซับซ้อน และต้องใช้กำลังมากมาย จึงควรกลับไปสู่ “อาหารเรียบง่าย” เป็นอาหารที่เตรียมได้ง่าย และสามารถเข้ากันได้กับอาหารที่หลากหลาย ให้เก็บอาหารบางส่วนที่เหลือไว้ เพื่อที่จะได้ไม่รู้สึกว่าการเตรียมอาหารเป็นเรื่องเสียเวลา ใช้ยาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานอาหารสามารถเพิ่มความต้องการออกซิเจนของร่างกาย ดังนั้น หากใช้งานเครื่องมือให้ออกซิเจน ให้ใช้ให้ต่อเนื่องในระหว่างมื้ออาหาร นอกจากนี้ ควรรับประทานยาที่ช่วยให้การหายใจดีขึ้นก่อนการรับประทานอาหาร รับประทานอาหารให้น้อยลง ช่องท้องที่เต็มไปด้วยอาหาร อาจกดทับกะบังลมได้ ซึ่งทำให้การหายใจลำบากขึ้น ดังนั้น ควรรับประทานอาหารให้น้อยลง ตามเวลารอบที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน ให้รับสารอาหารและเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย ด้วยปริมาณอาหารที่น้อยลง แต่เพิ่มรอบการรับประทานอาหาร โดยอาจแบ่งเป็นหกมื้ออาหารเล็ก ๆ ในแต่ละวัน รับประทานอาหารมื้อที่ใหญ่ที่สุดก่อน หากชอบที่จะรับประทานอาหารมื้อใหญ่ในระหว่างวัน ให้รับประทานมื้อนั้นก่อน อาหารจะให้พลังงานสำหรับช่วงเวลาที่เหลือของวัน และไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้น เพื่อรับประทานอาหารมื้อที่ใหญ่กว่าในตอนท้ายของวัน เมื่อพลังงานในร่างกายหมดแล้ว อย่าดื่มน้ำระหว่างรับประทานอาหาร ให้พยายามงดดื่มน้ำ จนกระทั่งเสร็จสิ้นการรับประทานอาหาร เพื่อที่จะได้ไม่รู้สึกอิ่มเร็วเกินไป เครื่องดื่มก่อนหรือในระหว่างมื้ออาหาร จะทำให้อิ่มเร็ว เป็นความคิดที่ดีที่จะดื่มเครื่องดื่มเสริมอาหารในระหว่างมื้ออาหาร บอกลาอาการท้องอืด อาหารต่าง ๆ […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และผลกระทบต่อปอด

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) คือ โรคเรื้อรังที่อาการจะแย่ลงเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป รูปแบบหลักสองรูปแบบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง (chronic bronchitis) และถุงลมโป่งพอง (Emphysema) คนส่วนใหญ่จะมีอาการทั้ง 2 โรค เพื่อให้เข้าใจกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมากขึ้น เราควรที่จะดูแต่ละอาการ และดูว่า ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และผลกระทบต่อปอด เป็นอย่างไร ปอดทำงานอย่างไร การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้มากขึ้น ควรจะเข้าใจการทำงานของปอดก่อน ทุกครั้งที่คุณหายใจเข้าไป อากาศจะผ่านท่อลมเข้าไปในหลอดลม (bronchial tube) ที่ในปอดของคุณ หลอดลมพวกนี้จะแบ่งแยกออกเป็นหลอดเล็กๆ เรียกว่า หลอดลมฝอย (bronchioles) ที่ส่วนปลายสุดของหลอดลมฝอยจะมีถุงลม (alveoli) ถุงลมเหล่านี้มีลักษณะคล้ายบอลลูน เมื่อคุณหายใจเข้าไป มันก็จะขยายออก และเติมเต็มอากาศเข้ามา เมื่อคุณหายใจออกมันก็จะแฟบลงดังเดิม ที่ผนังของถุงลมนั้นมีหลอดเลือดเล็กๆ ที่เรียกว่า เส้นเลือดฝอย (capillaries) เมื่อถุงลมเต็มไปด้วยอากาศ ออกซิเจนจะเข้าสู่เส้นเลือดฝอย เพื่อถูกนำพาไปสู่ทุกส่วนในร่างกาย คาร์บอนไดออกไซน์ (ของเสีย) ก็จะผ่านออกจากเส้นเลือดฝอยเข้าสู่ถุงลม เพื่อให้คุณหายใจออกไป ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่งผลต่อการหายใจอย่างไร โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอด และทางเดินหายใจดังนี้ ถุงลมและทางเดินหายใจ จะสูญเสียความสามารถในการยืดหด ผนังของถังลมถูกทำลาย ผนังของถุงลมหนาขึ้นและอักเสบ ทางเดินหายใจอุดตันไปด้วยเสมหะ หากคุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คุณอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะลดการไหลเวียนของอากาศในปอด และกีดกันความต้องการออกซิเจนที่มากของร่างกายคุณ รูปแบบของโรค ปอดอุดกั้นเรื้อรัง รูปแบบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมี 2 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน