โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ประเภทของมะเร็งเต้านม และการตรวจวินิจฉัย

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยและทั่วโลก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 13,000 คน ต่อปี ซึ่งมะเร็งเต้านมมีหลายประเภท โดยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดของเซลล์มะเร็ง และระยะของมะเร็ง ประเภทของมะเร็งเต้านม อาจเป็นชนิดที่ลุกลาม หรือไม่ลุกลามก็ได้ [embed-health-tool-bmi] ประเภทของมะเร็งเต้านม  ประเภทของมะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ มะเร็งเต้านมชนิดไม่ลุกลาม เป็นมะเร็งเต้านมที่ยังไม่มีการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งออกจากจุดต้นกำเนิด โดยชนิดนี้ยังแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งเต้านมระยะศูนย์ (Ductal Carcinoma in Situ: DCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในเยื้อบุของท่อน้ำนมบริเวณเต้านม และยังไม่แพร่กระจายแกนอกท่อน้ำนม แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษามะเร็งชนิดนี้อาจแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง และอาจกลายเป็นมะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม มะเร็งต่อมน้ำนม (Lobular Carcinoma in Situ: LCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในต่อมน้ำนม โดยเซลล์ที่ผิดปกติไม่ได้ถือเป็นมะเร็งแต่อย่างใดและอาจไม่ต้องรักษา เพียงแต่อาจมีการตรวจเช็คเป็นระยะ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง มะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม เป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจายจากจุดเริ่มต้นของเต้านมไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งระยะศูนย์แบบลุกลาม (Invasive Ductal Carcinoma: IDC) คือ เซลล์มะเร็งผิดปกติที่เริ่มจากท่อน้ำนม […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำรวจ โรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อาการ สาเหตุ การรักษา

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก หรือ มะเร็งมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในเยื่อบุมดลูก อาจเริ่มเป็นในชั้นเซลล์ที่สร้างเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium) ของมดลูก นอกจากนั้น ยังอาจมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล โดยเฉพาะเมื่อร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดสูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอดเป็นครั้งคราวในผู้ป่วยที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ป่วยที่ยังไม่หมดประจำเดือน อาจมีเลือดออกผิดปกติในระหว่างมีรอบเดือน คำจำกัดความมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก คืออะไร มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก หรือ มะเร็งมดลูก คือ มะเร็งที่อาจเกิดขึ้นในชั้นเซลล์ที่สร้างเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium) ซึ่งเป็นเยื่อเมือกบุภายในโพรงของมดลูก มะเร็งชนิดนี้อาจมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล โดยเฉพาะเมื่อร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดสูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติในผู้ป่วยที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ป่วยที่ยังไม่หมดประจำเดือน อาจมีเลือดออกผิดปกติในระหว่างมีรอบเดือน นอกจากนั้น ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อายุ ภาวะอ้วน พันธุกรรม อาจทำให้เกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้เช่นกัน หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเอามดลูกออก พบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกอาจพบได้ในผู้ป่วยวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ป่วยที่ยังไม่หมดประจำเดือน แต่อาจมีอาการเลือกออกทางช่องคลอดผิดปกติ โดยผู้ป่วยอาจอยู่ในช่วงอายุ 40-70 ปี ในประเทศไทยมะเร็งชนิดนี้อาจพบได้บ่อยเป็นอันดับ 3 ของโรคมะเร็งในเพศหญิง อาการอาการของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อาการของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อาจแสดงอาการหรืออาจไม่แสดงอาการ สำหรับอาการในระยะเริ่มแรกของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อาจมีดังนี้ มีความผิดปกติในสารคัดหลั่งจากช่องคลอด เช่น กลิ่น ปริมาณ สี อาจมีเลือดออกผิดปกติในระหว่างมีรอบเดือน หลังวัยหมดประจำเดือน อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องบ่อย มดลูกอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นจนอาจสัมผัสได้ที่บริเวณเชิงกราน อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ […]


มะเร็งปากมดลูก

ทำความรู้จักกับ แปปสเมียร์ (Pap Smear) ตรวจเพื่ออะไร และการเตรียมตัวก่อนตรวจ

Pap Smear (แปปสเมียร์) เป็นการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงบริเวณปากมดลูก เพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มักทำควบคู่ไปกับการตรวจภายใน ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 30 ปี พร้อมกับการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก การตรวจ Pap Smear (แปปสเมียร์) คืออะไร Pap Smear (แปปสเมียร์) หรือ Pap Test หรือการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์บริเวณปากมดลูก ซึ่งคุณหมอจะขูดเอาตัวอย่างเซลล์ปากมดลูกมาตรวจ โดยจะใส่ตัวอย่างเซลล์ลงบนสไลด์ (Pap smear) หรือผสมในน้ำยาช่วยรักษาสภาพเซลล์ และส่งไปยังห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ เซลล์จะถูกตรวจหาความผิดปกติที่อาจชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่ผิดปกติ เช่น ดีสพลาเซีย (dysplasia) หรือมะเร็งปากมดลูก ช่วงเวลาการตรวจแปปสเมียร์ขึ้นอยู่กับอายุและปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่าง ๆ ควรปรึกษาคุณหมอถึงความถี่ที่ควรเข้ารับการตรวจแปปสเมียร์ ชนิดของไวรัสเอชพีวี (HPV) ที่มีความเสี่ยงสูงมักเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 30 ปี การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ควรทำควบคู่ไปกับการตรวจแปปสเมียร์ หากอายุต่ำกว่า 26 ปี สามารถเข้ารับวัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวีเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ ทำไมควรเข้ารับการตรวจแปปสเมียร์ การตรวจแปปสเมียร์เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มักทำควบคู่ไปกับการตรวจภายใน ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 30 ปี การตรวจแปปสเมียร์จะทำควบคู่กับการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก โดยทั่วไป คุณหมอจะแนะนำให้ตรวจแปปสเมียร์เมื่ออายุ 21 […]


โรคมะเร็ง

มะเร็งถุงน้ำดี อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

มะเร็งถุงน้ำดี คือ การเกิดเซลล์มะเร็งในเนื้อเยื่อถุงน้ำดี ซึ่งเป็นอวัยวะรูปร่างเหมือนลูกแพร์ มีตำแหน่งอยู่ใต้ตับในช่องท้องส่วนบน ถุงน้ำดีทำหน้าที่เก็บน้ำดี ซึ่งเป็นของเหลวที่สร้างจากตับเพื่อย่อยไขมัน การสังเกตอาการของโรค อาจช่วยให้เข้ารับการวินิจฉัยและรักษาได้ตั้งแต่ในระยะแรก ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการหายขาดได้ คำจำกัดความมะเร็งถุงน้ำดี คืออะไร มะเร็งถุงน้ำดี (Gallbladder cancer) เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อถุงน้ำดี ถุงน้ำดีเป็นอวัยวะรูปร่างเหมือนลูกแพร์ มีตำแหน่งอยู่ใต้ตับในช่องท้องส่วนบน ถุงน้ำดีทำหน้าที่เก็บน้ำดี ซึ่งเป็นของเหลวที่สร้างจากตับ เพื่อย่อยไขมัน เมื่ออาหารเข้าสู่ระบบการย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้ น้ำดีจะถูกปล่อยจากถุงน้ำดีผ่านท่อน้ำดี ซึ่งเชื่อมถุงน้ำดีและตับเข้ากับลำไส้เล็กส่วนต้น การตรวจพบมะเร็งถุงน้ำดีในระยะแรกสุด เพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้ แต่มะเร็งถุงน้ำดีส่วนใหญ่ มักตรวจพบในระยะหลัง มะเร็งถุงน้ำดีพบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งถุงน้ำดีเป็นโรคที่พบได้น้อย โดยผู้หญิงมีโอกาสในการเป็นมะเร็งถุงน้ำดีมากกว่าผู้ชาย อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของมะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งถุงน้ำดีตรวจพบและวินิจฉัยในระยะแรกได้ยาก อย่างไรก็ดี อาการที่อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งถุงน้ำดี ได้แก่ ปวดท้อง โดยเฉพาะบริเวณช่องท้องส่วนบน ท้องอืด มีอาการคัน มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ตั้งใจ คลื่นไส้ ผิวหนังและตาขาวเป็นสีเหลือง (ดีซ่าน) ควรไปพบหมอเมื่อใด การวินิจฉัยและการรักษาในระยะแรก จะช่วยชะลอการพัฒนาโรคของมะเร็งถุงน้ำดี และป้องกันภาวะฉุกเฉินอื่น ดังนั้น หากพบสัญญาณบ่งชี้ของโรคมะเร็งถุงน้ำดี ควรปรึกษาคุณหมอโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันภาวะรุนแรง สาเหตุ สาเหตุของ มะเร็งถุงน้ำดี ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของมะเร็งถุงน้ำดี แต่ปัจจัยเหล่านี้ อาจส่งผลให้เกิดมะเร็งชนิดนี้ได้ การสูบบุหรี่ การสัมผัสกับสารเคมีบางชนิด เช่น สารหนู แร่ใยหิน โรคอ้วน การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารไขมันสูง อาหารปนเปื้อนสารเคมีอันตราย การวินิจฉัยและการรักษาโรค ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยมะเร็งถุงน้ำดี วิธีที่นิยมใช้ในการวินิจฉัยมะเร็งถุงน้ำดี อาจมีดังนี้ การตรวจร่างกายและการซักประวัติ การตรวจร่างกายเป็นการตรวจดูสัญญาณสุขภาพทั่วไป รวมถึงตรวจหาสัญญาณของโรค เช่น […]


มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ (Acute Myeloid Leukemia)

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ (Acute Myeloid Leukemia) เป็นมะเร็งประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นกับไขกระดูก ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวมัยอีโลบลาสท์ คำจำกัดความมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ คืออะไร โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ (Acute Myeloid Leukemia หรือ AML) เป็นมะเร็งประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับไขกระดูก ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวมัยอีโลบลาสท์ (เซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทหนึ่ง) เซลล์เม็ดเลือดแดง หรือเกล็ดเลือด อย่างไรก็ดี ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในบางครั้ง สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม และระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง) สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวในไขกระดูก ที่เริ่มกลายเป็นมะเร็ง ร่างกายจะไม่สามารถร้างเซลล์เม็ดเลือดปกติได้อย่างเพียงพอ ต่อไปนี้ เป็นอาการทั่วไปของ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ มีผิวซีดมาก และรู้สึกหมดแรง อาจมีอาการหายใจลำบากได้ง่าย โดยเกิดจากการขาดเซลล์เม็ดเลือดแดง ขาดเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรง ทำให้เกิดการติดเชื้อหลายประเภท เกล็ดเลือดลดลง จนอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ ซึ่งได้แก่ มีบาดแผลโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน มีประจำเดือนมากในผู้หญิง เลือดออกตามไรฟัน และเลือดกำเดาไหลต่อเนื่อง มีจ้ำเลือดหรือผื่นที่ผิวหนัง โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สบาย และมีอาการแย่ลง หรืออาจมีอาการเจ็บคอหรือเจ็บปากร่วมด้วย มีไข้สูงและเหงื่อออกมากตอนกลางคืน นอกจากนี้ ยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้น้อย คือ ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดที่ข้อต่อและกระดูก นอกจากนี้ […]


มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง (Chronic Lymphocytic Leukemia)

มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง (Chronic Lymphocytic Leukemia) เป็นมะเร็งในเลือดหรือไขกระดูก มะเร็งชนิดนี้มักแพร่กระจายได้ช้ากว่ามะเร็งเม็ดเลือดขาวประเภทอื่น คำจำกัดความมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง คืออะไร โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง (Chronic Lymphocytic Leukemia (CLL)) เป็นมะเร็งในเลือดหรือไขกระดูกที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือด คำว่า “เรื้อรัง” มาจากข้อเท็จจริงที่ว่ามะเร็งชนิดนี้ มักแพร่กระจายได้ช้ากว่ามะเร็งเม็ดเลือดขาวประเภทอื่น ส่วนคำว่า “ลิมโฟไซต์ (Lymphocytes)” คือ ชื่อเรียกเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ต้านการติดเชื้อในร่างกาย ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เกิดความผิดปกติจนก่อให้เกิดมะเร็ง อย่างไรก็ตาม มีการรักษาหลายวิธีที่จะช่วยควบคุมโรคนี้ได้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรังพบบ่อยเพียงใด มะเร็งชนิดนี้สามารถส่งผลได้ต่อทุกคน แต่จะส่งผลต่อผู้สูงอายุได้มากที่สุด โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง ผู้ป่วย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง จำนวนมากมักไม่มีอาการในระยะเริ่มแรก แต่เมื่อโรคมีการพัฒนา อาจมีสิ่งบ่งชี้และอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ต่อมน้ำเหลืองโตแต่ไม่มีอาการปวด อ่อนเพลีย มีไข้ มีอาการปวดในบริเวณช่องท้องด้านซ้ายบน ซึ่งอาจเกิดจากม้ามโต มีเหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำหนักลด ติดเชื้อบ่อย ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง จนถึงในปัจจุบัน แพทย์ยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับสาเหตุของ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง ทราบแต่เพียงว่ามีบางสิ่งเกิดขึ้นทำให้เซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างเลือดเกิดการผ่าเหล่าในระดับดีเอ็นเอ ซึ่งการผ่าเหล่าทำให้เซลล์เม็ดเลือดสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ที่ผิดปกติ ทำให้การต้านเชื้อในร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่องและสะสมตัวในเลือดและในอวัยวะบางส่วน ส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ ลิมโฟไซต์ที่ผิดปกติอาจเข้ามาแทนที่ลิมโฟไซต์ที่แข็งแรงในไขกระดูกและขัดขวางการสร้างเซลล์เม็ดเลือดปกติได้ แพทย์และนักวิจัยกำลังศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำความเข้าใจกลไกที่แน่ชัดที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง ปัจจัยความเสี่ยงปัจจัยความเสี่ยงของการเกิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นสำหรับการเกิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง คือ ผู้ที่อยู่ในภาวะดังต่อไปนี้ อายุ คนส่วนใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง […]


มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาว อาการ สาเหตุ การรักษา

มะเร็งเม็ดเลือดขาว คือมะเร็งที่เกิดจากจำนวนเม็ดเลือดขาวมีมากกว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในไขกระดูก โดยตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนมากกว่าปกติ และส่งผลกระทบต่อการสร้างเม็ดเลือดชนิดอื่นในไขกระดูก ทำให้ปริมาณของเม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดลดลง คำจำกัดความมะเร็งเม็ดเลือดขาว คืออะไร มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) เป็นมะเร็งเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เกิดขึ้นในไขกระดูก เป็นเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มคล้ายฟองน้ำ พบในช่องกลางของกระดูก เป็นมะเร็งชนิดที่แตกต่างจากมะเร็งชนิดอื่น ๆ ที่มะเร็งเม็ดเลือดขาวอาจไม่ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก แต่ทำให้มีการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวผิดปกติ ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ในการต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน โดยอาจสามารถแบ่งประเภทของมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ดังต่อไปนี้  มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันกลุ่มลิมโฟบลาสติก (ALL) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในวัยเด็ก โดยเซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง และระบบประสามส่วนกลางได้  มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟซิติกเรื้อรัง (CLL) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในวัยผู้ใหญ่ อาจไม่จำเป็นต้องรักษาทันที แต่อาจติดตามดูอาการไปเรื่อย ๆ   มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบมัยอีลอยด์ (AML) เป็นชนิดที่พบเป็นอันดับ 2 ในวัยเด็ก แต่ส่วนมากพบได้บ่อยในผู้ใหญ่  มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์ (CML) อาจไม่มีอาการใด ๆ ที่สามารถสังเกตได้ นอกจากการตรวจเลือด บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป อาจมีความเสี่ยงสูง มะเร็งเม็ดเลือดขาว พบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งเม็ดเลือดขาวสามารถพบเจอได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่อาจขึ้นอยู่กับชนิดมะเร็งของเม็ดเลือดขาว ซึ่งส่วนมากพบในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาการอาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาว อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาวขึ้นอยู่กับชนิดที่เป็น อย่างไรก็ตาม อาการที่แสดงให้เห็นโดยทั่วไปอาจมีดังต่อไปนี้  เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียเรื้อรัง   ภาวะโลหิตจาง ผิวซีด […]


มะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach cancer)

มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach Cancer) หมายถึง การเจริญเติบโตของเนื้อร้ายในกระเพาะอาหาร ซึ่งมาจากการเจริญเติบโตแบบผิดปกติของเซลล์ต่าง ๆ ในกระเพาะอาหาร และพัฒนากลายเป็นเนื้องอก คำจำกัดความมะเร็งกระเพาะอาหาร คืออะไร โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach Cancer) หมายถึง การเจริญเติบโตของเนื้อร้ายในกระเพาะอาหาร เกิดจากการเจริญเติบโตแบบผิดปกติของเซลล์ต่าง ๆ ในกระเพาะอาหาร และพัฒนากลายเป็นเนื้องอก มะเร็งกระเพาะอาหารสามารถพบได้ทั่วไปและมักแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันเวลา โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ถือว่าเป็นอันตรายถึงชีวิต มะเร็งกระเพาะอาหาร พบบ่อยเพียงใด คนทุกวัยมีโอกาสเป็น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อย่างไรก็ตาม ผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี มีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง แต่สามารถลดโอกาสในการเกิด โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้โดยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ผู้ป่วย โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ในระยะเริ่มแรกอาจไม่มีอาการ แต่เมื่อมะเร็งมีการเจริญเติบโต ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้องแบบผิดปกติ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ร่วมกับอาการอื่น ๆ ได้แก่ ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร กลืนอาหารลำบาก แสบร้อนกลางอก น้ำหนักลด มีเลือดปนในอุจจาระ มีก้อนเนื้อที่สัมผัสได้ มีอาการแน่นในกระเพาะอาหารหลังจากรับประทานอาหาร และมีน้ำขังในช่องท้อง อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ […]


มะเร็งรังไข่

การรับมือกับผลข้างเคียงจาก เคมีบำบัดในการรักษามะเร็งรังไข่

ถึงแม้ว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่จะได้รับการแนะนำให้เตรียมตัวสำหรับอาการข้างเคียงต่างๆ หลังเข้ารับการรักษาเคมีบำบัดมาอย่างดีแล้ว แต่ในผู้ป่วยบางราย ผลข้างเคียงของการรักษาอาจก่อให้เกิดความเครียด และทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความมั่นใจในตนเองได้ แม้ว่าเราจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจาก เคมีบำบัดในการรักษามะเร็งรังไข่ แต่ก็มีวิธีการบรรเทาผลข้างเคียงให้เบาบางลงได้ และผู้ป่วยเองก็กลับมาใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นปกติได้ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาใน การรักษามะเร็งรังไข่ เคมีบำบัดอาจจำเป็นสำหรับ การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ แต่การใช้ยาเป็นเวลานานย่อมเกิดผลข้างเคียงได้ อาการต่าง ๆ ได้แก่ อ่อนเพลีย ประจำเดือนหมดไปชั่วคราวหรือถาวร ผมร่วง เบื่ออาหาร เจ็บปาก ติดเชื้อ คลื่นไส้และอาเจียน เป็นต้น ในอีกทางหนึ่งยาต่าง ๆ ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างเซลล์ต่าง ๆ ในไขกระดูก ทำให้เซลล์เม็ดเลือดลดลง โดยเซลล์บางชนิดทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียและไวต่อการติดเชื้อมากขึ้น เช่น โรคหวัด เป็นต้น วิธีจัดการผลข้างเคียงของ เคมีบำบัดในการรักษามะเร็งรังไข่ ผมร่วง ผมร่วง เป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากเคมีบำบัดใน การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ หลังการรักษาผมจะยาวขึ้นมาใหม่ แต่อาจมีสีและผิวสัมผัสที่แตกต่างไปจากเส้นผมเดิม คลื่นไส้และอาเจียน พบได้ว่าผู้ป่วยบางรายที่จะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย ความรุนแรงของอาการที่พบจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับประเภทของยาที่ใช้ ผู้ป่วยอาจมีจะอาการต่อเนื่องของการคลื่นไส้หรืออาเจียน ยาวนาน 2-3 ชั่วโมง หรือ ติดต่อกันถึง 2-3 วัน หรือระยะเวลานานกว่านั้น ก็สามารถพบได้โดยทั่วไป ผู้ป่วยควรใช้ยาต้านความกังวลหรือยาต้านอาการคลื่นไส้ รับประทานร่วมกับเทคนิคการรักษาอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อควบคุมอาการดังกล่าว ให้มีประสิทธิภาพสูงในการรักษา เช่น […]


มะเร็งปากมดลูก

เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ (Cervical dysplasia) คืออะไร

ปากมดลูก เนื้อเยื่อส่วนปลายสุดของมดลูกเป็นทางผ่านของระดูออกสู่ภายนอก และทางผ่านของตัวอสุจิเข้าไปปฏิสนธิกับไข่เป็นตัวอ่อนจนเกิดเป็นทารก แต่ถ้าหาก เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ (Cervical dysplasia) อาจทำให้เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพได้ เพราะหากไม่รีบรักษาเซลล์ที่เจริญเติบโตผิดปกติอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ คืออะไร เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ (Cervical dysplasia) เป็นภาวะที่เซลล์บริเวณปากมดลูก มีความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติบางประการ ปากมดลูกอยู่ตรงส่วนล่างของมดลูกที่นำไปสู่ช่องคลอด โดยจะมีการขยายตัวระหว่างการคลอด เพื่อให้ทารกออกมาได้ เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติเป็นภาวะก่อนเกิดมะเร็ง เซลล์ที่ผิดปกตินี้ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง แต่สามารถกลายเป็นมะเร็งได้ หากตรวจไม่พบแต่เนิ่น ๆ หรือไม่ได้รับการรักษา โดยมีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชพีวี (human papillomavirus: HPV) ที่ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย แต่พบได้มากที่สุดในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 30 ปี เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติพบได้บ่อยแค่ไหน ตามข้อมูลจาก Sidney Kimmel Comprehensive Cancer Center มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา ในแต่ละปี พบว่า ผู้หญิงชาวอเมริกันจำนวนประมาณ 250,000 - 1,000,000 คน มีภาวะเซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ โดยมักพบได้มากที่สุดในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 25 ถึง 35 ปี อาการ อาการของ เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ โดยปกติแล้ว ภาวะเซลล์ปากมดลูกผิดปกติจะไม่แสดงอาการใด ๆ ดังนั้น […]


มะเร็งรังไข่

ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ ใช้ชีวิตอย่างไรให้สุขภาพดีและมีความสุข

แน่นอนว่า โรคมะเร็งเป็นข่าวร้ายที่ทำร้ายจิตใจผู้ป่วย และก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความจริงที่เกิดขึ้นได้ แต่สิ่งที่ผู้เป็นมะเร็งสามารถทำได้ก็คือ การเลือกใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ต่างหาก มีทางเลือกมากมายที่ช่วยให้ ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ มีชีวิตอยู่อย่างสุขภาพดี แข็งแรง และมีความสุข ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน การใช้ชีวิตให้สุขภาพดีและมีความสุขสำหรับ ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ ผู้ป่วยหลายคนเมื่อทราบว่าตัวเองเป็นโรคร้าย อย่างเช่น โรคมะเร็งรังไข่ อาจเกิดความรู้สึกเศร้า วิตกกังวล และเครียด แต่การจดจ่ออยู่กับอาการป่วยมากเกินไป อาจทำให้อาการแย่ลงก็เป็นได้ ดังนั้น การใช้ชีวิตให้มีสุขภาพดีและมีความสุขจึงถือเป็นเรื่องที่ควรทำ ซึ่งวิธีต่าง ๆ มีดังนี้ ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ระหว่างการรักษา การรักษา โรคมะเร็งรังไข่ จะทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ยาก นอกจากนี้ ผู้เป็น โรคมะเร็งรังไข่ อาจน้ำหนักลดลงเนื่องจากการขาดสารอาหาร ดังนั้น โภชนาการที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นและช่วยต้านมะเร็ง การรับประทานสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย สามารถสร้างเสริม สุขภาพที่ดี ทั้งช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการรักษา ดังนั้น เพื่อไม่ให้น้ำหนักลดมากเกินไป ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารโปรตีนสูง และเพิ่มการรับแคลอรี่ในแต่ละวันให้มากขึ้น ทั้งยังควรดื่มเครื่องดื่มตามที่แพทย์แนะนำ เนื่องจากเครื่องดื่มบางชนิด สามารถกระตุ้นความอยากอาหารได้ น้ำเปล่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ควรดื่มน้ำเพียงอย่างเดียว เนื่องจากไม่มีแคลอรี่ และอิเล็กโทรไลต์ ให้ลองเครื่องดื่มให้พลังงานบางประเภทเพิ่มเติมด้วย มีข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเผยว่า แทนที่จะรับประทานอาหารมื้อใหญ่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน