โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ประเภทของมะเร็งเต้านม และการตรวจวินิจฉัย

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยและทั่วโลก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 13,000 คน ต่อปี ซึ่งมะเร็งเต้านมมีหลายประเภท โดยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดของเซลล์มะเร็ง และระยะของมะเร็ง ประเภทของมะเร็งเต้านม อาจเป็นชนิดที่ลุกลาม หรือไม่ลุกลามก็ได้ [embed-health-tool-ovulation] ประเภทของมะเร็งเต้านม  ประเภทของมะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ มะเร็งเต้านมชนิดไม่ลุกลาม เป็นมะเร็งเต้านมที่ยังไม่มีการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งออกจากจุดต้นกำเนิด โดยชนิดนี้ยังแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งในท่อน้ำนมระยะศูนย์ (Ductal Carcinoma in Situ: DCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในเยื่่อบุของท่อน้ำนมบริเวณเต้านม และยังไม่แพร่กระจายออกนอกผนังท่อน้ำนม แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษามะเร็งชนิดนี้อาจแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง และอาจกลายเป็นมะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม มะเร็งในต่อมน้ำนมชนิดไม่ลุกลาม (Lobular Carcinoma in Situ: LCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในต่อมน้ำนม โดยเซลล์ที่ผิดปกติไม่ได้ถือเป็นมะเร็งแต่อย่างใดและอาจไม่ต้องรักษา เพียงแต่อาจมีการตรวจเช็คเป็นระยะ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง แต่มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมในอนาคต มะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม เป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจายจากจุดเริ่มต้นของเต้านมไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งท่อน้ำนมแบบลุกลาม (Invasive Ductal Carcinoma: IDC) คือ เซลล์มะเร็งผิดปกติที่เริ่มจากท่อน้ำนม ได้แพร่กระจายและลุกลามไปยังบริเวณเนื้อเยื่อใกล้เคียง […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำรวจ โรคมะเร็ง

มะเร็งปากมดลูก

ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและการนอนหลับ กับวิธีธรรมชาติที่ช่วยให้หลับง่าย

ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและการนอนหลับ มักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นโดยต่อเนื่อง เพราะการรักษาจากการใช้ยา หรือฉายแสงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ทำให้ผู้ป่วยบางคน มีปัญหากับการนอนหลับได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีการทางธรรมชาติ เพื่อช่วยในการนอนหลับ ซึ่งอาจมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกต่อสู้กับปัญหาในการนอนหลับได้ ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและการนอนหลับ กับวิธีรับมือ ปัญหานอนไม่หลับ เป็นหนึ่งในผลข้างเคียงที่เกิดในผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเกิดจากการรักษาหรืออาการของโรคที่ทำให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ไม่เต็มที่ จนฟื้นตัวจากอาการได้ช้า เคล็ดลับการนอนหลับแบบวิธีธรรมชาติเหล่านี้ อาจมีส่วนช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น ดื่มนมอุ่น นมเป็นแหล่งอาหารที่มีส่วนช่วยต่อสู้กับอาการนอนไม่หลับได้ นมอุดมไปด้วยแคลเซียมซึ่งช่วยให้สมองผลิตสารเมลาโทนิน โดยเฉพาะนมอัลมอนด์ สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการนอนหลับ ควรดื่มนมอุ่นหนึ่งแก้วก่อนนอนทุกวัน นอกจากนี้การดื่มนม ยังมีประโยชน์ในการช่วยปรับปรุงความจำ ซึ่งช่วยให้คุณหลับสบายมากขึ้น แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม ที่สามารถบริโภคในผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ก่อนทุกครั้ง ปิดไฟให้หมด เมลาโทนิน เป็นสารที่มีส่วนช่วยในการนอนหลับ ที่ร่างกายจะสร้างขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อมีไม่มีแสงหรือมีปริมาณแสงที่น้อย หากห้องนอนมีแสงไฟที่สว่างเกินไป อาจส่งผลต่อการผลิตเมลาโทนินในร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการนอนหลับ ดังนั้นห้องนอนควรมืดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แสงไฟกลางคืน มีผลต่อการยับยั้งเมลาโทนินและทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียจากการนอนผิดเวลา (social jetlag) ซึ่งคล้ายคลึงกับอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเดินทางไปยังสถานที่ที่มีเวลาแตกต่างกัน นอกจากนี้ก่อนนอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมงควรอยู่ห่างจากอุปกรณ์อิเลคทรอนิคต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน ทีวี หรือคอมพิวเตอร์ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีแสงสีฟ้าที่รบกวนการนอนหลับ ที่สำคัญแสงไฟจากอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นอันตรายต่อสมอง […]


มะเร็งปากมดลูก

การผ่าตัดรักษามะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเป็นอีกหนึ่งโรคที่น่ากลัวสำหรับผู้หญิง วันนี้ Hello คุณหมอจึงมาพร้อมกับบทความดีๆ เกี่ยวกับ การผ่าตัดรักษามะเร็งปากมดลูก ให้อ่านกันค่ะ การรักษามะเร็งปากมดลูก มีหลากหลายวิธีการในการรักษามะเร็งปากมดลูกขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ ชนิดและระยะของมะเร็ง อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ความต้องการของผู้ป่วยและปัญหาทางสุขภาพ จากข้อจำกัดเหล่านี้การผ่าตัดจึงเป็นวิธีการที่แพทย์ใช้อย่างแพร่หลาย การผ่าตัดรักษามะเร็งปากมดลูก แบ่งออกเป็น 3 ชนิด การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยแบบกว้าง การผ่าตัดมดลูก การผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแบบกว้าง การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยแบบกว้าง (Radical trachelectomy) การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยแบบกว้างเหมาะสำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเริ่ม แพทย์มักแนะนำการผ่าตัดนี้ให้กับผู้หญิงที่ประสงค์จะมีบุตรต่อไปในอนาคต ในระหว่างกระบวนการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะทำการกรีดหน้าท้องของคุณเป็นแผลขนาดเล็กหลายแผล อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะจะนำเอาปากมดลูกและส่วนบนของช่องคลอดออกไป ต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานของคุณจะถูกนำออกไปเช่นเดียวกัน จากนั้นศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดต่อมดลูกเข้าไปยังบริเวณช่องคลอดส่วนล่าง เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดมดลูกและการผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแบบกว้าง ข้อดีคือมดลูกของคุณจะถูกเก็บไว้ นั้นหมายความว่าคุณยังสามารถมีบุตรได้ต่อไป อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควระวังคือ ผู้เชี่ยวชาญไม่อาจรับรองได้ว่าคุณจะสามารถมีบุตรได้หรือไม่ หากคุณมีบุตรภายหลังการผ่าตัด คุณอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อคลอดบุตร ทั้งนี้แพทย์แนะนำให้คุณมีบุตรภายหลังการรักษาอย่างน้อย 6-12 เดือน การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยแบบกว้างเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยทักษะขั้นสูง ซึ่งมีเพียงไม่กี่ในโรงพยาบาลในสหราชอาณาจักร ดังนั้นอาจไม่มีการผ่าตัดแบบนี้ในพื้นที่ของคุณ คุณจำเป็นต้องเดินทางไปยังเมืองอื่นเพื่อเข้ารับการรักษา การผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy) แพทย์มักแนะนำการผ่าตัดมดลูกให้กับผู้ป่วยมะเร็งในระยะแรก ซึ่งอาจรักษาร่วมกับวิธีรังสีรักษาเพื่อป้องกันการกลับมาของโรคมะเร็ง การผ่าตัดมดลูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ การผ่าตัดมดลูกแบบปกติ การผ่าตัดลักษณะนี้ ปากมดลูกและมดลูกจะถูกตัดออก ในบางราย แพทย์จะทำการผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่ออกมา ดังนั้นวิธีการนี้จึงเหมาะกับการรักษาโรคที่เกิดขึ้นในระยะแรก การผ่าตัดมดลูกแบบกว้าง การผ่าตัดลักษณะนี้ ปากมดลูก มดลูก และบริเวณโดยรอบและต่อมน้ำเหลืองจะถูกผ่าตัดออกมา เช่นเดียวกับรังไข่และท่อนำไข่ ดังนั้นวิธีการนี้จึงเหมาะสมกับมะเร็งในระยะลุกลามและระยะที่สอง อาการแทรกซ้อนในระยะสั้นของการผ่าตัดมดลูกคือ การติดเชื้อ เลือดออก เลือดแข็งตัว และอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บในท่อไต กระเพาะปัสสาวะ […]


มะเร็งปอด

มะเร็งปอด สาเหตุ อาการ และการรักษา

มะเร็งปอด (Lung Cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เนื้อเยื่อในปอดเจริญเติบโตผิดปกติ และส่งผลกระทบต่อปอดและระบบทางเดินหายใจส่วนอื่น ๆ และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงควรตรวจคัดกรองโรคเป็นประจำ รวมถึงเข้าพบคุณหมอทันทีหากสังเกตพบอาการผิดปกติ เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ มะเร็งปอด คืออะไร โรคมะเร็งปอด เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เนื้อเยื่อในปอดเติบโตในอัตรารวดเร็วอย่างผิดปกติ ซึ่งทำให้เกิดเนื้องอก หน้าที่ของปอด คือช่วยในการหายใจและจ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) โรคมะเร็งปอดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด โรคมะเร็งปอดทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมและนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ โรคมะเร็งปอดมีหลายประเภท โดยแต่ประเภทที่พบบ่อยที่สุดถูกตั้งชื่อตามขนาดของเซลล์ในก้อนเนื้อมะเร็ง มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer : SCLC) ภาวะนี้หมายถึงเซลล์มะเร็งดูมีขนาดเล็กเมื่อตรวจดูจากกล้องจุลทรรศน์ ภาวะนี้พบได้ค่อนข้างยาก ประมาณ 1 ใน 8 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดจะเป็นมะเร็งชนิดเซลล์เล็ก โดยมะเร็งปอดประเภทนี้สามารถเติบโตและพัฒนาตัวได้อย่างรวดเร็ว มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer : NSCLC) ภาวะนี้หมายถึงเซลล์มะเร็งมีขนาดใหญ่กว่ากรณีของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก คนส่วนใหญ่มักจะเป็นมะเร็งปอดประเภทนี้มากกว่า (ประมาณ 7 ใน 8 ราย) มะเร็งชนิดนี้พัฒนาตัวไม่เร็วเท่ามะเร็งชนิดเซลล์เล็ก ดังนั้น […]


มะเร็งปอด

มาทำความรู้จักกับ มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer) กันเถอะ

มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer) เป็นมะเร็งปอดชนิดรุนแรง เนื่องจากเซลล์มะเร็งสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วและเดินทางไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ คำจำกัดความ มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก คืออะไร มะเร็งปอดมีอยู่ 2 ชนิดหลัก คือมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer หรือ SCLC) และมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer หรือ NSCLC) มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก เป็นมะเร็งปอดชนิดที่รุนแรงกว่า เนื่องจากเซลล์มะเร็งสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วและเดินทางไปยังส่วนอื่นของร่างกาย หรือแพร่กระจายได้ง่ายมาก ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักตรวจพบก็ต่อเมื่อมะเร็งได้กระจายไปทั่วร่างกายเรียบร้อยแล้ว ทำให้โอกาสในการรักษาลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็กในระยะแรกเริ่ม ก็อาจรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนที่มะเร็งจะลุกลาม มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มะเร็งแบบโอ๊ทเซลล์ คาร์ซิโนมา (Oat Cell Carcinoma) มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก พบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็กถูกพบในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งปอดร้อยละ 10-15 พบได้น้อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็ก โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ปกติแล้วมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็กจะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ แต่มักเกิดอาการตอนที่มะเร็งลุกลามไปยังส่วนอื่นของร่างกายแล้ว ซึ่งอาการของโรคจะหนักขึ้นเมื่อมะเร็งเติบโตและแพร่กระจาย โดยอาการเหล่านั้น ได้แก่ ไอเป็นเลือด หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด เจ็บหน้าอกหรือรู้สึกอึดอัด ไอเรื้อรังและเสียงแหบแห้ง เบื่ออาหาร […]


มะเร็งปอด

ผู้ป่วยมะเร็งปอดเบื่ออาหาร จะดูแลและจัดการอย่างไรดี

ในผู้ป่วยมะเร็ง บางครั้งผู้ป่วยจำเป็นที่จะรับประทานอาหารให้มาก เพื่อบำรุงสุขภาพ เพื่อต่อสู้กับโรค แต่อาจเกิดอาการเบื่ออาหารหรือกินไม่ได้ เนื่องจากผลข้างเคียงจากการรักษา ที่ส่งผลให้เกิดโรคอย่างอะนอเร็กเซีย สูญเสียการรับรส คลื่นไส้ และอาการอื่น ๆ ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ป่วยมะเร็งชนิดรุนแรงที่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ก็มีแนวโน้มจะตอบสนองต่อการรักษามากกว่าผู้ป่วยที่ปฏิเสธอาหาร และได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วย โรคมะเร็งปอด ซึ่งมักประสบปัญหาว่า ผู้ป่วยมะเร็งปอดเบื่ออาหาร การช่วยให้ผู้ป่วยมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ก็อาจ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาการสำหรับผู้ป่วย โรคมะเร็งปอด ที่จะทำให้สุขภาพของผู้ป่วยดีขึ้นได้เป็นอย่างมากมาฝากกันค่ะ ปัญหา ผู้ป่วยมะเร็งปอดเบื่ออาหาร เกิดจากอะไร โดยทั่วไป ผู้ป่วย โรคมะเร็งปอด มักได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีที่บริเวณทรวงอก ซึ่งอาจก่อให้เกิดหลายปัญหาที่บริเวณหลอดอาหารของผู้ป่วย อาการคลื่นไส้ เจ็บปวด และอาการระคายเคืองในบริเวณลำคอ จนอาจนำไปสู่อาการกลืนอาหารลำบาก ซึ่งเป็นอาการที่พบได้โดยทั่วไปที่ผู้ป่วย โรคมะเร็งปอด ที่ต่างต้องเผชิญกับปัญหานี้ การได้รับสารอาหารที่พอเหมาะ และง่ายต่อการรับประทาน สามารถช่วยเพิ่มความอยากอาหาร เสริมสร้างสุขภาพ เพิ่มความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน และยังช่วยลดผล กระทบของผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยการฉายรังสีอีกด้วย โภชนาการสำหรับผู้ป่วย โรคมะเร็งปอด โภชนาการเป็นส่วนสำคัญในการรักษามะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วย โรคมะเร็งปอด การเลือกอาหารและการปรุงที่เหมาะสม ทั้งก่อนการรักษา ระหว่างการรักษา และหลังการรักษา โรคมะเร็งปอด […]


เนื้องอกในสมอง

เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor)

เนื้องอกในสมอง เป็นกลุ่มเนื้อเยื่อที่ก่อตัวจากเซลล์ผิดปกติที่ขยายตัว เซลล์เหล่านี้เกิดขึ้นจากสมองหรือกระดูกสันหลังส่วนกลางที่ทำลายการทำงานของสมอง คำจำกัดความเนื้องอกในสมอง คืออะไร เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) เป็นกลุ่มเนื้อเยื่อที่ก่อตัวจากเซลล์ผิดปกติที่ขยายตัว เซลล์เหล่านี้เกิดขึ้นจากสมองหรือกระดูกสันหลังส่วนกลางที่ทำลายการทำงานของสมอง เนื้องอกในสมองมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทขึ้นอยู่กับบริเวณที่ เนื้องอก เกิดขึ้น และขึ้นอยู่ที่ว่า เนื้องอก นั้นเป็นเนื้อร้าย (เซลล์มะเร็ง) หรือเป็นเนื้องอกธรรมดา เนื้องอกธรรมดา เป็น เนื้องอก ที่ไม่ใช่มะเร็งซึ่งอันตรายน้อยที่สุด จะไม่มีเซลล์มะเร็งแฝงอยู่ และอาจเกิดจากเซลล์ที่อยู่ภายในสมอง หรือบริเวณใกล้เคียง อัตราการเติบโตของเซลล์ชนิดนี้ค่อนข้างต่ำและไม่แพร่ขยายไปยังเนื้อเยื่ออื่น ๆ เนื้อร้าย เป็น เนื้องอก ที่มีเซลล์มะเร็งและเป็นอันตราย และอัตราการเติบโตสูงกว่าและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ เช่น ระบบประสาทส่วนกลางและส่วนอื่น ๆ ของสมอง เนื้องอกปฐมภูมิ เป็น เนื้องอก เกิดขึ้นที่เซลล์สมอง มักลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของสมองและกระดูกสันหลัง เนื้องอกซึ่งลุกลามจากที่อื่น มักเกิดจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกายและลุกลามเข้าสู่สมอง เนื้องอกในสมองพบบ่อยแค่ไหน อาการนี้เกิดขึ้นในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย และสามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ เนื้องอกในสมอง อาการของเนื้องอกในสมองขึ้นอยู่กับประเภทของ เนื้องอก บริเวณและขนาดของเนื้องอกที่เกิดขึ้น ส่วนของสมองที่แตกต่างกันควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ต่างกัน และอาการอาจแตกต่าง ๆ กันไปตามบริเวณที่ เนื้องอก เกิดขึ้น เนื้องอกบาง […]


มะเร็งเต้านม

สิ่งที่คุณทำได้เพื่อต่อสู้กับ อาการอ่อนเพลีย จากมะเร็งเต้านม

ในบรรดาผลข้างเคียงของโรคมะเร็งเต้านมนั้น อาการอ่อนเพลียถือเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด อาการนี้เกิดขึ้นกับผู้ป่วย 9 จาก 10 คนในขณะที่ป่วยเป็นมะเร็ง และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง มาดูกันว่า เราจะสามารถรับมือกับ อาการอ่อนเพลีย จากมะเร็งเต้านม ได้อย่างไรบ้าง สาเหตุของ อาการอ่อนเพลีย จากมะเร็งเต้านม อาการอ่อนเพลีย เกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษามะเร็งเต้านม การผ่าตัด การใช้ยาสลบ อาการเจ็บหลังการผ่าตัด ยาระงับปวด และการเคลื่อนไหวอย่างจำกัด ล้วนเป็นสาเหตุของ อาการอ่อนเพลีย ทั้งสิ้น เคมีบำบัด การรักษาด้วยเคมีบำบัด ทำให้ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ที่ทำให้เลือดแข็งตัวลดลง ซึ่งทำให้พลังงานในร่างกายน้อยลง และระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง คุณจึงมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียและเป็นไข้ เคมีบำบัดยังกระตุ้นให้หมดประจำเดือนเร็วขึ้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และทำให้รู้สึกเหนื่อยได้ง่ายขึ้น การฉายรังสี การฉายรังสี เป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งของ อาการอ่อนเพลีย การรักษาด้วยวิธีนี้ ต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่กำหนด ทำให้รบกวนกิจวัตรประจำวันของคุณ คุณยังต้องพยายามมากในการปรับตัวกับการฉายรังสีในแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้เกิดความเหนื่อยล้าในปรับตัวให้เข้ากับการรักษา การฉายรังสียังทำให้จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงมีปริมาณน้อยลง การบำบัดด้วยฮอร์โมน การเข้ารับการบำบัดด้วยฮอร์โมน (Hormonal Therapy) ทำให้เกิด อาการอ่อนเพลีย ได้เช่นกัน เนื่องจาก การบำบัดนี้ควบคุมฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย จึงทำให้คุณเกิด อาการอ่อนเพลีย เช่นเดียวกับอาการของวัยหมดประจำเดือน คุณอาจเกิดปัญหาทางการนอนหลับ เนื่องจากอาการร้อนวูบที่เป็นอาการข้างเคียงของวัยหมดประจำเดือน การรับมือกับอาการอ่อนเพลีย จัดตารางเวลานอน วิธีการจัดการกับ อาการอ่อนเพลีย […]


มะเร็งรังไข่

ผลข้างเคียงจากมะเร็งรังไข่ และวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการให้คุณได้

หากคุณกำลังอยู่ระหว่างการรักษามะเร็งรังไข่ อาจมีอาการหรือการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดขึ้นได้ ผลข้างเคียงจากมะเร็งรังไข่ อาจเกิดขึ้นจากเชื้อมะเร็ง หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงของการรักษา หากคุณมีปัญหาทางการหายใจ การรับประทานอาหาร การขับถ่ายหรือเป็นไข้ ทาง Hello คุณหมอ มีวิธีชสามารถบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นมาฝากกัน วิธีช่วยบรรเทาอาการ ผลข้างเคียงจากมะเร็งรังไข่ ปัญหาทางการหายใจ มะเร็งรังไข่ทำให้เกิดปัญหาทางการหายใจได้ หากคุณมีอาการหายใจถี่ คุณไม่ต้องกังวล เพราะอาการนี้มักไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่หลายคนจะรู้สึกตกใจ หากเกิดอาการขึ้น คุณควรวางแผน และลองทำกิจกรรมในแต่ละวัน ไม่ควรอยู่นิ่งเป็นเวลานาน วิธีอื่น คือ เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การสร้างภาพขึ้นในความคิดหรือการสะกดจิต ในกรณีที่คุณต้องการเริ่มฝึก คุณอาจลองวิธีการฝึกหายใจและควบคุมการหายใจด้วยท้อง คุณต้องควบคุมสติ หากเกิดอาการหายใจไม่ออก คุณจะไม่สามารถทำอะไรได้หากอยู่ในภาวะตกใจ ดังนั้น จึงควรสงบ พึงระลึกไว้ว่า ยิ่งวิตกกังวลมากเท่าใด การหายใจของคุณจะเกิดปัญหามากขึ้นเท่านั้น ปัญหาทางการขับถ่าย ปัญหาทางการขับถ่ายสามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการผ่าตัด การฉายรังสี หรือการให้เคมีบำบัด ในขณะการเข้ารับการรักษามะเร็งรังไข่ ปัญหาการขับถ่ายที่เกิดขึ้น เช่น ท้องร่วง ปวดเกร็ง หรือมีอาการท้องผูก คุณอาจรู้สึกปวดช่วงท้องส่วนล่าง หากคุณต้องการรักษาอาการเหล่านี้ สิ่งแรกที่คุณควรทำคือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดปัญหาการขับถ่าย การใช้ยาสมุนไพรเพื่อรักษาอาการเป็นอีกหนึ่งความคิดที่ดี คุณอาจเลือกเปปเปอร์มิ้นต์หรือชาเปปเปอร์มิ้นต์ เพื่อแก้อาการปวดท้อง ในกรณีที่คุณต้องการปรับเปลี่ยนอาหารหรือยาที่ใช้ คุณอาจต้องปรึกษากับแพทย์ คุณสามารถป้องกัน หรือจัดการกับปัญหาการขับถ่าย […]


มะเร็งรังไข่

สัญญาณบ่งชี้ มะเร็งรังไข่ ที่อาจช่วยคุณจากโรคนี้ได้

มะเร็งรังไข่ เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่อันตรายที่สุด แต่หากตรวจพบเร็ว อัตราการรอดชีวิตจะสูงถึงร้อยละ 95 นี่คือ สัญญาณบ่งชี้ มะเร็งรังไข่ และการรักษาในแต่ละขั้นตอน ที่จะสามารถช่วยคุณให้รอดชีวิตจากโรคนี้ได้ สัญญาณบ่งชี้ มะเร็งรังไข่ ภัยเงียบที่คร่าชีวิต มักมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาการของ โรคมะเร็งรังไข่ กับอาการของโรคไม่ร้ายแรงอื่น ๆ ผู้ป่วยจึงมักไม่คิดว่า เป็นอาการรุนแรง จนกระทั่งเชื้อมะเร็งลุกลาม อาการดังกล่าว มีดังนี้ ท้องอืดหรือบวม รู้สึกอิ่มเร็ว แม้จะรับประทานเพียงเล็กน้อย น้ำหนักเพิ่มหรือลด ปวดหลัง การขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น ท้องผูก ท้องร่วง รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น เลือดออกที่อวัยวะเพศ โดยหาสาเหตุไม่ได้ อ่อนเพลียมาก และเหนื่อยง่าย อาการดังกล่าวไม่ได้บ่งชี้ว่า คุณเป็นโรคมะเร็งรังไข่ คุณควรพบหมอ เพื่อรับการวินิจฉัยโรค การแพร่กระจายของเชื้อ โรคมะเร็งรังไข่ แพทย์จะทำการตรวจ และจัดระดับของเนื้องอก ตามความเร็วที่คาดว่าเนื้องอกจะเติบโต เชื้อมะเร็งที่มีลักษณะคล้ายกับเนื้อเยื่อทั่วไป อาจเติบโตอย่างช้าๆ และจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มเนื้องอกลำดับล่างๆ เชื้อมะเร็งที่ถูกจัดลำดับในกลุ่มที่สูง คือเชื้อมะเร็งที่มีอัตราการเติบโตสูง เนื้องอกในรังไข่ถูกแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ชนิด 0: เนื้องอกชนิด 0 เป็นเนื้องอกที่รุนแรงน้อยที่สุด และมีลักษณะคล้ายเซลล์เนื้อเยื่อขนาดเล็ก มักไม่ลามและรักษาได้ง่าย ชนิด 1: เป็นเนื้องอกที่มีลักษณะคล้ายเซลล์ปกติ และเติบโตช้า ชนิด 2: เป็นเนื้องอกที่มีลักษณะต่างจากเนื้อเยื่อปกติ และเติบโตค่อนข้างเร็ว ชนิด 3: เป็นเนื้องอกที่แตกต่างจากเนื้อเยื่อปกติมาก […]


มะเร็งรังไข่

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ถ้าคุณป่วยเป็นมะเร็งรังไข่

การรับประทานอาหารที่เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อ ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ นอกจากการคำนึงถึงอาหารที่คุณรับประทานขณะที่เป็นมะเร็ง และระหว่างการรักษาแล้ว ประเภทของ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ถ้าคุณป่วยเป็น มะเร็งรังไข่ ก็เป็นสิ่งที่คุณควรระมัดระวังเช่นกัน อาหารและเครื่องดื่มที่คุณควรงดเว้นในแต่ละมื้ออาหาร จะมีอะไรบ้าง Hello คุณหมอ จะพาไปดูกันเลย อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อเป็น มะเร็งรังไข่ เนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูป มีความเชื่อกันว่า เนื้อสัตว์ เป็นอาหารที่ส่งผลต่อการรักษาโรคมะเร็ง จึงกลายเป็นอาหารต้องห้ามสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็ง คุณไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไป เนื่องจากเนื้อสัตว์มีระดับไขมันอิ่มตัวสูง และมีกากใยอยู่น้อย ทำให้ความสามารถในการต่อต้านเซลล์มะเร็งลดลง เมื่อคุณเข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื้อสัตว์จำพวกเนื้อแดงต่าง ๆ ควรรับประทานให้น้อยกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น นอกจากนี้ เนื้อที่ผ่านกระบวนการแปรรูป เช่น ไส้กรอก ก็เป็นอาหารอีกหนึ่งประเภทที่ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากมีโซเดียมไนไทรต์สูง จึงเป็นอาหารที่ไม่ดีต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ ควรเลี่ยงอาหารร้อนจัด มีคำแนะนำว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่ไม่ควรรับประทานร้อนจัด หากอาหารที่คุณรับประทานนั้นมีอุณหภูมิสูง จะเป็นตัวเพิ่มคาร์ซิโนเจน (Carcinogen) หรือสารก่อมะเร็ง  ซึ่งส่งผลต่อภาวะมะเร็ง แนะนำให้รับประทานอาหารที่ปรุงอย่างถูกสุขลักษณะ เช่น อาหารที่ผ่านการนึ่ง อบ ต้ม และผัดแบบเร็ว ๆ อาหารทอดเป็นอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ หากคุณชอบอาหารปิ้งย่าง ควรปิ้งหรือย่างด้วยอุณหภูมิที่ไม่สูงมาก เพื่อป้องกันการก่อตัวของสารก่อมะเร็ง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรักษาด้วยเคมีบำบัดอาจเป็นหนึ่งในทางเลือกในการรักษามะเร็งรังไข่ ในกรณีนี้ ตับของคุณเป็นอวัยวะสำคัญในการขจัดของเสียออกจากกระแสเลือด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน