โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ประเภทของมะเร็งเต้านม และการตรวจวินิจฉัย

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยและทั่วโลก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 13,000 คน ต่อปี ซึ่งมะเร็งเต้านมมีหลายประเภท โดยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดของเซลล์มะเร็ง และระยะของมะเร็ง ประเภทของมะเร็งเต้านม อาจเป็นชนิดที่ลุกลาม หรือไม่ลุกลามก็ได้ [embed-health-tool-bmi] ประเภทของมะเร็งเต้านม  ประเภทของมะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ มะเร็งเต้านมชนิดไม่ลุกลาม เป็นมะเร็งเต้านมที่ยังไม่มีการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งออกจากจุดต้นกำเนิด โดยชนิดนี้ยังแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งเต้านมระยะศูนย์ (Ductal Carcinoma in Situ: DCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในเยื้อบุของท่อน้ำนมบริเวณเต้านม และยังไม่แพร่กระจายแกนอกท่อน้ำนม แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษามะเร็งชนิดนี้อาจแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง และอาจกลายเป็นมะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม มะเร็งต่อมน้ำนม (Lobular Carcinoma in Situ: LCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในต่อมน้ำนม โดยเซลล์ที่ผิดปกติไม่ได้ถือเป็นมะเร็งแต่อย่างใดและอาจไม่ต้องรักษา เพียงแต่อาจมีการตรวจเช็คเป็นระยะ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง มะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม เป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจายจากจุดเริ่มต้นของเต้านมไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งระยะศูนย์แบบลุกลาม (Invasive Ductal Carcinoma: IDC) คือ เซลล์มะเร็งผิดปกติที่เริ่มจากท่อน้ำนม […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำรวจ โรคมะเร็ง

มะเร็งรังไข่

ความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ ผู้หญิงไม่เคยท้องเสี่ยงสูงหรือเปล่า

มะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer) ถึงแม้จะเป็นมะเร็งที่พบได้เพียงร้อยละ 3 ในผู้หญิง แต่มะเร็งรังไข่ก็มีอัตราการเสียชีวิตสูง เมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ ในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะบางส่วนมักแสดงอาการน้อย กว่าจะทราบก็มีการแพร่กระจายมากขึ้น และขาดการตรวจคัดกรองที่เหมาะสม หรืออาจจะละเลยการตรวจไป วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาทำความเข้าใจกับ ความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ ซึ่งยังสัมพันธ์กับประวัติการตั้งครรภ์ของผู้หญิงด้วยอีกประการหนึ่ง ผลของการตั้งครรภ์ต่อ ความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ มีหลายการศึกษาเผยว่า ผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรหรือผู้ที่คลอดบุตรเมื่อมีอายุมาก จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่สูงมากกว่า เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์ และอุ้มท้องจนถึงครบกำหนดคลอดก่อนอายุ 26 ปี ความเสี่ยงมะเร็งรังไข่ จะลดลงตามระยะเวลาการตั้งท้อง จนครบกำหนดคลอดในแต่ละครั้ง ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หลังจากอายุ 35 ปี หรือคลอดก่อนกำหนด จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่าที่ผู้ตั้งครรภ์จนครบกำหนดคลอด จากสมมติฐานว่า ยิ่งผู้หญิงได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) มากเท่าใด ในชีวิตก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่มากขึ้นเท่านั้น การคลอดบุตรจัดเป็น “การปกป้อง” อย่างหนึ่ง เนื่องจากในช่วงการตั้งครรภ์ ร่างกายของผู้หญิงไม่จำเป็นต้องมีการตกไข่นานถึง 9 เดือน ทำให้ร่างกายไม่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมามากตามไปด้วย นอกจากนี้ โอกาสในการเป็นมะเร็งรังไข่จะยิ่งลดลงมากขึ้น หากผู้หญิงเลือกที่จะให้นมบุตร สมมติฐานอีกประการหนึ่ง คือ เมื่อผู้หญิงตกไข่ ถุงน้ำรังไข่ที่ถูกขับออกมา อาจเกิดการกลายพันธ์ุ (Genetic mutations) […]


มะเร็งตับ

มะเร็งตับ (Liver cancer)

มะเร็งตับ เกิดจากเซลล์ในตับพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็ง ที่พบได้มากที่สุดมักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ตับ โดยเริ่มจากเนื้องอกที่เกิดขึ้นในตับ ไม่ได้เกิดมาจากการแพร่กระจายจากส่วนสำคัญอื่นใดในร่างกายมาสู่ตับ คำจำกัดความมะเร็งตับ คืออะไร มะเร็งตับ(Liver cancer) เกิดจากเซลล์ในตับพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็ง ตับเป็นอวัยวะหนึ่งในส่วนขวาบนของช่องท้อง ซึ่งอยู่ใต้กะบังลมและกระเพาะอาหาร มะเร็งตับที่พบได้มากที่สุดมักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ตับ โดยเริ่มจากเนื้องอกที่เกิดขึ้นในตับ ไม่ได้เกิดมาจากการ แพร่กระจายจากส่วนสำคัญอื่นใดในร่างกายมาสู่ตับ มะเร็งที่เกิดในอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย เช่น ลำไส้ ปอด หรือหน้าอก แล้วลุกลามไปยังตับ ไม่ใช่มะเร็งตับแต่จะเรียกว่ามะเร็งระยะแพร่กระจาย (metastatic cancer) มะเร็งตับพบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งตับพบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยมักพบในผู้ที่อายุ 50 ถึง 70 ปี การวินิจฉัยในระยะเริ่มแรกจะนำไปสู่การพยากรณ์โรคที่เหมาะสม โดยสามารถจัดการกับโรคนี้ได้โดยลดความเสี่ยงลง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของโรค มะเร็งตับ ผู้ป่วยหนึ่งในสามไม่มีอาการมะเร็งตับในระยะเริ่มต้น แต่เมื่อโรคเริ่มพัฒนาขึ้น อาจะมีสัญญาณบ่งชี้และอาการดังนี้ น้ำหนักลดลงอย่างมากจนผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องโต มีภาวะเบื่ออาหารหรือไม่สามารถรับประทานอาหารได้ อ่อนเพลีย  มีอาการดีซ่าน ซีด อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด ให้แจ้งแพทย์หากคุณมีอาการใด ๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น เช่น ปวดท้องรุนแรง มีไข้สูงเรื้อรัง เป็นต้น สถานการณ์และภาวะของโรคมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน หมั่นปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการวินิจฉัย การรักษา และวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคมะเร็งตับ สาเหตุของมะเร็งตับส่วนใหญ่ไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ดี ในบางกรณี อาจเกิดจากตับอักเสบสาเหตุอื่นๆ ที่พบได้บ่อยได้แก่ ภาวะตับแข็ง หรือตับเสียหายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรคอ้วน หรือไขมันพอกตับ มะเร็งตับเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ตับเปลี่ยนแปลงไป […]


มะเร็งแบบอื่น

มะเร็งไต (Kidney Cancer)

มะเร็งไต เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในไต มักไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ ในระยะเริ่มแรก ต่อเมื่อมะเร็งลุกลามจึงมีอาการ ประเภทของมะเร็งไตที่พบได้มากที่สุด คือ มะเร็งคาร์ซิโนมาของเนื้อเยื่อไต คำจำกัดความมะเร็งไต คืออะไร มะเร็งไต (Kidney Cancer) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในไต ไตเป็นอวัยวะภายในรูปร่างคล้ายถั่วแดงสองข้าง โดยแต่ละข้างมีขนาดเท่ากับหนึ่งกำมือ อยู่บริเวณหลังอวัยวะในช่องท้อง โดยไตข้างหนึ่งจะอยู่ด้านข้างของกระดูกสันหลัง การตรวจพบมะเร็งไตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยเทคโนโลยีทีซีสแกน โดยส่วนมากเป็นการตรวจพบมากโดยบังเอิญ มะเร็งไต พบได้บ่อยเพียงใด สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (The National Cancer Institute) ประมาณการว่า พบผู้ป่วยมะเร็งไตรายใหม่มากกว่า 61,000 รายในสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2558 ในกลุ่มผู้ใหญ่ ประเภทของมะเร็งไตที่พบได้มากที่สุด คือ มะเร็งคาร์ซิโนมาของเนื้อเยื่อไต (Renal Cell Carcinoma) มะเร็งไตประเภทอื่นที่พบได้น้อยกว่าก็สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้พบว่า เด็กมีโอกาสมากกกว่าในการเป็นมะเร็งไตชนิด Wilms tumor โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคมะเร็งไต สัญญาณบ่งชี้และอาการของ โรคมะเร็งไต มีความหลากหลายตามระยะของโรค มะเร็งไตมักไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ ในระยะเริ่มแรก ต่อเมื่อมะเร็งลุกลาม อาจมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดหลังเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณใต้ซี่โครง มีเลือดปนในปัสสาวะ ปวดท้อง ท้องบวม มีก้อนในช่องท้อง อ่อนเพลีย ปวดเอว เป็นไข้ซ้ำ น้ำหนักลด ท้องผูก ผิวซีด ทนต่ออากาศหนาวไม่ได้ มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น มีขนขึ้นมากเกินไปในผู้หญิง ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น […]


มะเร็งรังไข่

โรคมะเร็งรังไข่ อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคที่ควรรู้

โรคมะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับสามในมะเร็งที่เกิดในหมู่ผู้หญิงไทย แต่เป็นมะเร็งที่รักษาให้หายได้ ถ้าพบแต่เนิ่น ๆ ด้วยการตรวจภายในทุกปี ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำรายละเอียดเกี่ยวกับโรคนี้ที่คุณควรรู้ เพื่อการดูแลใส่ใจตัวเองมาฝากกัน มะเร็งรังไข่ คืออะไร? โรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer) เกิดที่รังไข่ของผู้หญิง โดยส่วนใหญ่แล้ว มะเร็งรังไข่ ไม่ได้รับการวินิจฉัย จนกระทั่งเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังเชิงกรานและช่องท้อง ซึ่งทำให้รักษาได้ยากและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทราบได้อย่างไรว่าเป็น มะเร็งรังไข่ มะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกมักไม่ค่อยทำให้เกิดอาการใด ๆ หากทำให้เกิดอาการ อาการดังกล่าวมักมีการเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ของภาวะที่ไม่เป็นอันตราย เช่น ท้องผูก อาการทั่วไปของ มะเร็งรังไข่ ได้แก่ ท้องอืด มีอาการบวมในบริเวณช่องท้อง รู้สึกอิ่มเร็วกว่าปกติ น้ำหนักลด รู้สึกไม่สบายบริเวณเชิงกราน มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่าย ปัสสาวะบ่อย หากคุณมีสิ่งบ่งชี้ใด ๆ ที่ทำให้คุณกังวล ให้ไปปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะหากคุณมีประวัติครอบครัวเป็น มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งเต้านม การวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ทำได้อย่างไร คุณจะจำเป็นต้องได้รับการตรวจร่างกาย ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจบริเวณเชิงกราน นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจจะให้มีการทดสอบโดยใช้ภาพถ่ายอวัยวะ การทดสอบเลือด และการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง การรักษามะเร็งรังไข่ จากระยะของ มะเร็งรังไข่ ในช่วงเวลาที่ทำการวินิจฉัย ทางเลือกในการรักษาอาจมีความหลากหลาย มะเร็งรังไข่มี 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 : มะเร็งจำกัดอยู่ที่รังไข่ทั้ง 2 ข้าง ระยะที่ 2 : เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ […]


มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer)

มะเร็งรังไข่ คือเนื้อร้ายเกิดขึ้นในรังไข่ ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่และฮอร์โมนเพศหญิง มะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การวินิจฉัยโรคนี้ในระยะเริ่มแรกเป็นไปได้ยาก คำจำกัดความมะเร็งรังไข่ คืออะไร มะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer) เป็นภาวะที่มีเนื้อร้ายเกิดขึ้นในรังไข่ ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งได้แก่ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน หากตรวจพบมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ดี การวินิจฉัยโรคนี้ในระยะเริ่มแรกนั้นเป็นไปได้ยาก มะเร็งรังไข่ พบบ่อยเพียงใด โรคมะเร็งรังไข่ พบได้ค่อนข้างบ่อยในผู้หญิงวัยกลางคนถึงสูงอายุ กรณีส่วนใหญ่ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต มักเกิดขึ้นในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปี แต่สามารถป้องกันได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม


มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) หนึ่งในโรคร้ายที่ควรทำความเข้าใจให้มากขึ้น

มะเร็งเต้านม หลายคนยังคงอาจคิดว่าเกิดขึ้นแค่เฉพาะกับผู้หญิงเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่าผู้ชายก็สามารถเป็นได้เหมือนกัน เพียงแต่ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้หญิง หากคุณมีข้อสงสัยลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมให้มากขึ้นกันเถอะ คำจำกัดความมะเร็งเต้านม คืออะไร มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) คือโรคมะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อในเต้านม มีอยู่สองประเภทหลักดังนี้ มะเร็งในท่อน้ำนม (Ductal carcinoma) เริ่มขึ้นในท่อที่ลำเลียงน้ำนมจากเต้านมไปสู่หัวนม มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะเป็นประเภทนี้ มะเร็งในต่อมน้ำนม (Lobular carcinoma) เริ่มขึ้นที่ส่วนต่อมน้ำนมของเต้านมที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำนม ในกรณีหายาก มะเร็งเต้านมก็อาจมีจุดกำเนิดจากส่วนอื่นของเต้านมได้ มะเร็งเต้านม พบบ่อยแค่ไหน ตลอดช่วงชีวิต จะพบว่า 1 ใน 8 ของผู้หญิงเป็นโรคมะเร็งเต้านม สัดส่วนของโรคมะเร็งนั้น เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตทั่วโลก ด้วยเพราะมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 14 ล้านราย และมีการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งเมื่อปี 2012 ประมาณ 8.2 ล้านราย ซึ่งมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตที่พบได้มากที่สุด อาการอาการของโรคมะเร็งเต้านม ในช่วงต้นของโรคมะเร็งเต้านมนั้นจะไม่เกิดอาการใด ๆ ดังนั้น จึงควรตรวจเต้านมเป็นประจำ เมื่อโรคมะเร็งเริ่มเติบโตขึ้นก็อาจจะมีอาการดังต่อไปนี้ มีก้อนที่เต้านมหรือก้อนที่รักแร้ มีลักษณะแข็ง ขอบไม่เท่ากัน และมักจะไม่เจ็บ การเปลี่ยนแปลงในด้านของขนาด รูปร่าง หรือความรู้สึกที่บริเวณเต้านมหรือหัวนม เช่น อาจมีรอยแดง รอยบุ๋ม หรือรอยย่นที่ดูคล้ายเปลือกส้ม มีของเหลวไหลจากหัวนม ซึ่งอาจจะเป็นเลือด หรือของเหลวสีใสไปจนถึงสีเหลือง สีเขียว หรือดูคล้ายกับหนอง สำหรับผู้ชาย อาการของมะเร็งเต้านมมีทั้งมีก้อนในเต้านม […]


มะเร็งแบบอื่น

เนื้องอกไขมัน (Lipoma)

เนื้องอกไขมัน เป็นชั้นไขมันที่ค่อย ๆ สะสมอยู่ใต้ผิวหนัง ระหว่างชั้นผิวกับชั้นกล้ามเนื้อ เกิดขึ้นบริเวณคอ หลัง ไหล่ แขนและน่อง และบริเวณอื่นของร่างกาย เป็นเนื้องอกแบบไม่อันตราย         คำจำกัดความเนื้องอกไขมัน คืออะไร เนื้องอกไขมัน (Lipoma) เป็นชั้นไขมันที่ค่อย ๆ สะสมอยู่ใต้ผิวหนัง ระหว่างชั้นผิวกับชั้นกล้ามเนื้อ เนื้องอกไขมันมักเกิดขึ้นบริเวณคอ หลัง ไหล่ แขน และน่อง มันสามารถเกิดขึ้นในบริเวณอื่นของร่างกายได้ เช่น ลำไส้ เนื้องอกไขมันเป็นเนื้องอกธรรมดา และพบได้มากที่สุดในผู้ใหญ่ เนื้องอกไขมัน พบบ่อยแค่ไหน โรคเนื้องอกไขมัน ส่งผลเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงทุกวัย อย่างไรก็ตาม โรคนี้มักเกิดขึ้นในหญิงวัยกลางคน สถานะและสภาพของโรคอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อนัดเข้ารับการตรวจ การรักษาและวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ อาการอาการของ โรคเนื้องอกไขมัน โรคเนื้องอกไขมัน ในช่วงแรก จะมีลักษณะเป็นก้อนนิ่มกลม และเกิดใต้ผิวหนังโดยไม่มีอาการเจ็บใด ๆ ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่ามีก้อนเนื้อเกิดขึ้น เนื้องอกอาจมีลักษณะเหลวหรือหยุ่น นิ่มหรือแข็งก็ได้ แต่สามารถกลิ้งไปมาเมื่อกดลงไป เนื้องอกที่เกิดขึ้นอาจมีจำนวนมากกว่าหนึ่ง และอาจทำให้เกิดการเจ็บปวด หากเกิดขึ้นบริเวณที่กดทับเส้นประสาท หรือเนื้องอกมีกลุ่มหลอดเลือดอยู่ภายใน ขนาดของเนื้องอกไขมันแตกต่างกันไป แต่จะมีขนาดไม่ใหญ่กว่า 8 เซนติเมตร มักเกิดขึ้นบริเวณแขน ขา หลัง และคอ แต่สามารถเกิดบริเวณอื่นได้ […]


มะเร็งรังไข่

สัญญาณและอาการของมะเร็งรังไข่ ที่ผู้หญิงควรรู้

มะเร็งรังไข่ ถือเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้ที่เป็นมะเร็งรังไข่ในระยะแรกแทบจะไม่ปรากฏ อาการของมะเร็งรังไข่ ใด ๆ ที่สังเกตได้ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยพบว่าผู้หญิงที่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อย เช่น ท้องอืด รู้สึกอิ่มไว ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ปัสสาวะบ่อย และอาการอื่น ๆ ดังนั้น Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวม สัญญาณและอาการของมะเร็งรังไข่ มาฝากกันในบทความนี้ สัญญาณและอาการของมะเร็งรังไข่ ที่คุณผู้หญิงควรรู้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ คนส่วนใหญ่จะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะในช่องก่อนมีประจำเดือน หรือหลังจากกินอาหารมื้อใหญ่ แต่หากท้องอืดท้องเฟ้อบ่อย หรือท้องอืดทุกวัน อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งรังไข่ โดยอาการอาจมีตั้งแต่ท้องอืดธรรมดาไปจนถึงท้องอืดรุนแรง และอาการอาจแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป นอกจากนี้ หากน้ำหนักตัวขึ้นเท่าเดิม ไม่ได้น้ำหนักขึ้น แต่เวลาใส่เสื้อผ้ากลับรู้สึกอึดอัดหรือแน่นบริเวณรอบเอว อาจเป็นหนึ่งในอาการของ มะเร็งรังไข่ ไม่เพียงแต่อาการท้องอืดท้องเฟ้อแล้ว หากท้องบวมขึ้น มีของเหลวในช่องท้อง หรือท้องมาน (Ascites) ก็อาจเป็นอาการของมะเร็งรังไข่ขั้นรุนแรงได้ ปวดหรือมีแรงกดที่บริเวณอุ้งเชิงกราน การปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ลักษณะคล้ายปวดประจำเดือน ไม่ว่าจะปวดแค่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือปวดทั่วบริเวณอุ้งเชิงกราน เป็นอาการที่พบบ่อยใน มะเร็งรังไข่ ระยะแรก โดยปกติผู้หญิงจะมีอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะช่วงที่มีประจำเดือน แต่หากเลยช่วงนั้นไปแล้ว อาการปวดยังคงอยู่ และรู้สึกเหมือนมีแรงกดบริเวณอุ้งเชิงกราน คุณควรไปพบคุณหมอ รู้สึกอิ่มเร็ว ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งรังไข่หลายคนให้ข้อมูลว่า พวกเธอรู้สึกอิ่มเร็วขึ้นหลังจากกินอาหาร […]


มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma)

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma) เป็นโรคมะเร็งผิวหนังร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocytes) ที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดสีผิว (Melanin) ที่เป็นตัวกำหนดสีผิว คำจำกัดความมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา คืออะไร มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma) ป็นโรคมะเร็งผิวหนังร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocytes) ที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดสีผิว (Melanin) ที่เป็นตัวกำหนดสีผิว โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาส่วนใหญ่มักเริ่มจากการเกิดไฝใหม่ หรือในบางกรณีอาจเป็นไฝอยู่แล้ว และแพร่กระจายไปบริเวณรอบๆ หรือเข้าสู่ผิวหนัง สู่เส้นเลือด และต่อมน้ำเหลือง และเข้าสู่ตับ สมอง ปอดและกระดูกในที่สุด มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา พบบ่อยแค่ไหน ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปีโดยเฉพาะเพศหญิง มีความเสี่ยงในการเป็นโรคผิวหนังเมลาโนมาสูง คุณควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในบริเวณร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในบริเวณที่ต้องเผชิญกับแสงแดด เช่นบบริเวณหลัง ขา แขน และใบหน้า นอกจากนี้ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณที่ไม่ได้รับแสงแดดมากนัก เช่น บริเวณฝ่าเท้า ฝ่ามือ เล็บมือ ไฝมีลักษณะผิดปกติ สีของไฝผิดปกติ มีอาการคันหรือมีเลือดออกบริเวณไฝ ไฝมีขนาดใหญ่กว่า ¼ นิ้ว หรือประมาณ 6 มิลลิเมตร ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของ โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา ปัจจุบันยังไม่มีข้อระบุที่ชัดเจนของมะเร็งผิวหนังเมลาโน แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่า […]


มะเร็งต่อมไทรอยด์

มารู้ทัน!! มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Cancer) ก่อนสาย

ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid glands) เป็นต่อมขนาดเล็กสี่ต่อมที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ ที่อยู่ข้างใต้ลูกกระเดือกในคอของคุณ มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ เป็นก้อนเนื้อมะเร็งภายในต่อมพาราไทรอยด์ คำจำกัดความมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ คืออะไร ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid glands) เป็นต่อมขนาดเล็กสี่ต่อมที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ ที่อยู่ข้างใต้ลูกกระเดือกในคอของคุณ มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์เป็นก้อนเนื้อมะเร็งภายในต่อมพาราไทรอยด์ พบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์เป็นมะเร็งที่แบ่งตัวช้าประเภทที่พบได้น้อย ผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์มักมีอายุ 30 ปีหรือมากกว่า โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ อาการของมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ ปวดกระดูก ท้องผูก อ่อนเพลีย กระดูกแตก หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย มีนิ่วในไต กล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้และอาเจียน ไม่มีความอยากอาหาร อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของ มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ สาเหตุที่เป็นไปได้ของมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ มีดังต่อไปนี้ การฉายรังสี การรักษาด้วยเอกซเรย์หรือพลังงานชนิดอื่น ๆ ที่บริเวณคอมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งชนิดนี้ได้ การถ่ายทอดภาวะไทรอยด์ทำงานเกินในครอบครัว (Familial Isolated Hyperparathyroidism) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เกิดนิ่วในไต คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง ร่างกายอ่อนแรง และอ่อนเพลีย กลุ่มอาการ MEN1 (multiple endocrine neoplasia type 1) ซึ่งเป็นภาวะที่สัมพันธ์กับเนื้องอกของต่อมสร้างฮอร์โมน ปัจจัยเสี่ยงความเสี่ยงของการเกิด มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ กรรมพันธุ์มีส่วนทำให้เกิดความเสี่ยง ในการเกิดมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ ประวัติครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ ภาวะที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่เรียกว่า multiple […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน