โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

Hyperglycemia หรือน้ำตาลในเลือดสูง อาการและการรักษา

Hyperglycemia หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของโรคเบาหวาน ทำให้ผู้ป่วยมีการสะสมของน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อาทิ การบาดเจ็บของหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะ โรคเส้นเลือดสมอง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคไต และเบาหวานขึ้นตา เบาหวานขึ้นตา ทั้งนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง รักษาได้ด้วยการฉีดอินซูลิน รับประทานยาปฏิชีวนะ ควบคู่กับการดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไขมันต่ำ ให้พลังงานสูง และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ Hyperglycemia คืออะไร Hyperglycemia หมายถึง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นภาวะแทรกซ้อนหนึ่งของโรคเบาหวาน เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด ได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ผู้ที่มีสุขภาพปกติ จะมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะก่อนเบาหวาน จะมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จะมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาการ อาการของHyperglycemia หากผู้ป่วยเบาหวานเข้าสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้มีอาการผิดปกติต่าง ๆ อันประกอบด้วย ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำมาก อ่อนเพลีย ปากแห้ง ลมหายใจมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลเทียม คนเป็นเบาหวานกินได้หรือไม่ ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

ผู้ป่วยเบาหวานหลายคนติดรสชาตืหวานซึ่งเกิดจากการเติมน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมในอาหารและเครื่องดื่ม ในการควบคุมเบาหวานผู้ดูแลอาจทำให้ผู้ป่วยปรับรสชาติ ด้วยการรับประทานอาหารโดยใช้สารให้ความหวานทดแทนหรือ น้ำตาลเทียม ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับชนิดและการใช้ประโยชน์จากการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่จะช่วยให้ผู้ป่วย เบาหวาน สามารถลดการใช้น้ำตาลจริง และอาจจะได้ประโยชน์จากสารให้ความหวานเทียมบางชนิด ที่ช่วยเพิ่มการผลิตอินซูลิน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดการลุกลามของเบาหวาน และการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้อีกด้วย น้ำตาลเทียม คืออะไร น้ำตาลเทียม คือ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล อาจมีแคลอรี่ต่ำหรือไม่มีแคลอรี่ ซึ่งเหมาะผู้ป่วย เบาหวาน ที่ต้องการเติมรสชาติให้กับอาหารและเครื่องดื่ม เนื่องจากสามารถให้ความหวานแทนน้ำตาล ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น โดยน้ำตาลเทียมอาจแบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้ ขัณฑสกร (Saccharin) เป็นสารให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 300-700 เท่า ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ทนความร้อน ละลายน้ำได้ดี ซึ่งใช้ได้ทั้งกับอาหารร้อนและเย็น ทั้งนี้ ไม่ควรรับประทานมากเกินไป โดยเฉพาะผู้ป่วยและหญิงกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจาก สารชนิดนี้อาจซึมผ่านรกเข้าไปทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ และหากรับประทานมากเกินไปจนสะสมอาจเสี่ยงเป็นมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งผิวหนัง จึงควรรับประทานไม่เกิน 80-100 มิลลิกรัม/ลิตร/วัน แอสปาร์แตม (Aspartame) เป็นสารให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 180-200 เท่า ไม่ทำให้เกิดฟันผุและไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด สามารถใช้ได้กับอาหารอุ่นและเย็น […]


โรคเบาหวาน

เบาหวานคืออะไร มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

เบาหวาน คือหนึ่งในโรคเรื้อรังที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนร้ายแรงอื่น ๆ เช่น ตาบอด ภาวะไตล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหัวใจ การถูกตัดขา โรคนี้เกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างเพียงพอซึ่งทำให้ร่างกายเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 หรือเมื่อร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างเป็นปกติในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเรียกภาวะดังกล่าวว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 [embed-health-tool-bmi] ประเภทของเบาหวาน เบาหวานเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง โดยปกติแล้วเบาหวานแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ตามสาเหตุในการเกิดโรค นอกจากนั้นแล้ว เบาหวานยังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่นที่จำเพาะได้ด้วย รายละเอียดของเบาหวานประเภทชนิดต่าง ๆ มีดังนี้ เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้ตับอ่อนหยุดผลิตอินซูลินซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด พบได้ในเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้จะอยู่ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เลยจึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกาย 4-5 ครั้งต่อวันเป็นประจำทุกวัน ยังไม่มีวิธีป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากการเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ เบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินในการควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติได้ หรือเรียกว่าภาวะดื้ออินซูลิน ผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 90-95% มักป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเป็นผลมาจากการที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือภาวะเครียดและซึมเศร้า พบมากในวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ เบาหวานชนิดที่ […]


โรคเบาหวาน

แนวทางการปฏิบัติตนเมื่อคนในครอบครัวป่วยเป็นเบาหวาน

เมื่อคนในครอบครัวป่วยเป็นเบาหวาน จำเป็นที่สมาชิกในครอบครัวต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน แนวทางการรักษา วิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้องต่อผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งนี้ เพราะเบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงแต่ประคองอาการ ด้วยการรับประทานยาหรือฉีดยา ปรับแผนโภชนาการและพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ และไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน นอกเหนือจากการดูแลร่างกายแล้ว การดูแลด้านจิตใจของผู้ป่วยเบาหวานก็สำคัญเช่นเดียวกัน [embed-health-tool-bmi] ทำความรู้จักเบาหวาน เบาหวานเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้เมื่อฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายทำงานผิดปกติ หรือเมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ หรือไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เลย โดยปกติอินซูลินมีหน้าที่ลำเลียงน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เมื่ออินซูลินไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ส่งผลให้น้ำตาลกลูโคสจึงสะสมอยู่ในเลือดและไม่ถูกส่งต่อไปยังเซลล์ของร่างกาย เมื่อเวลาผ่านไป น้ำตาลที่สะสมอยู่ในเลือดเป็นจำนวนมากจึงสร้างปัญหาสุขภาพ เกิดเป็นโรคร้ายและเรื้อรังที่เรียกว่า เบาหวาน นั่นเอง อาการผู้ป่วยเบาหวานชนิดต่าง ๆ อาการในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มักเกิดขึ้นและแสดงอาการอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อาการจะค่อยๆ แสดงให้เห็นชัดเจนขึ้นอย่างช้า ๆ อาจใช้เวลาหลายปี แต่มีลักษณะของอาการเบาหวานร่วมกันดังนี้ กระหายน้ำและหิวบ่อย อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ตาพร่า มองไม่ค่อยชัด ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน เป็นแผลแล้วหายช้า อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนั้นแล้ว ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่ออาการเริ่มแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนและรุนแรงขึ้น อาจมีอาการเหล่านี้ ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น ผิวแห้งง่าย มองไม่เห็น ปวดเท้าหรือเท้าบวม แขนขามีอาการชาหรือเป็นเหน็บ การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อทราบว่าคนในครอบครัวป่วยเป็นเบาหวาน อาจทำให้สมาชิกที่เหลือรู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน […]


โรคเบาหวาน

การควบคุมอาหารสำหรับผู้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การควบคุมอาหาร สำหรับผู้เป็น เบาหวาน ขณะ ตั้งครรภ์ เป็นสิ่งที่ควรใส่ใจ เนื่องจากอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้พุ่งสูงขึ้น และยังอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-heart-rate] เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คืออะไร เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ เบาหวานที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่มักถูกวินิจฉัยในช่วงสัปดาห์ที่ 24-32 ของการตั้งครรภ์และอาจหายไปเองหลังคลอด หรืออาจพัฒนาไปเป็นเบาหวานตลอดชีวิต ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงต้องได้รับการดูแลในเรื่องการกินอาหารเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันเบาหวานขณะตั้งครรภ์ นอกจากนี้ เบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารก เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ โรคดีซ่าน น้ำตาลในเลือดต่ำแต่กำเนิด ทารกมีขนาดตัวใหญ่ซึ่งอาจทำให้คลอดยากและได้รับบาดเจ็บขณะคลอดได้ สิ่งสำคัญเพื่อช่วยจัดการกับเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ การตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำในตอนเช้าหลังตื่นนอน หลังกินอาหารทุกมื้อ และก่อนนอน เพื่อให้แน่ใจว่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในการควบคุมที่เหมาะสม หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อวางแผนการดูแลรักษา เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ เป้าหมายของการรักษาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การรักษาเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ดังนี้ 95 มิลลิกรัม/เดซิลิตร. หรือน้อยกว่า ก่อนรับประทานอาหาร 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือน้อยกว่า หลังรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง 120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือน้อยกว่า หลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง การควบคุมอาหาร ของผู้ป่วย เบาหวาน ขณะ ตั้งครรภ์ การควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจทำได้ด้วยการเลือกกินอาหารเพื่อสุขภาพ […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือด สำคัญต่อร่างกายอย่างไร

น้ำตาลในเลือด หมายถึง น้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือด ซึ่งได้จากการบริโภคอาหารและผ่านกระบวนการย่อยกลายเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย โดยมีฮอร์โมนอินซูลินที่หลั่งจากตับอ่อน ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้น้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะหากสูงหรือต่ำเกินไปอาจมีความเสี่ยงต่อปัญหา สุขภาพได้ เช่น โรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลในเลือด หมายถึงอะไร น้ำตาลในเลือด หมายถึง น้ำตาลกลูโคสซึ่งเป็นชนิดของน้ำตาลที่พบได้มากที่สุดในเลือด ได้มาจากอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ขนมปัง มันฝรั่ง เมื่อร่างกายรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเข้าไป คาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยสลายและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดกลายเป็นพลังงานให้แก่อวัยวะและเซลล์ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมีฮอร์โมนอินซูลินซึ่งผลิตจากตับอ่อนทำหน้าที่ลำเลียงน้ำตาลไปยังเซลล์หรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ และลำเลียงน้ำตาลซึ่งเกินจากที่ร่างกายต้องการไปยังตับ เพื่อสำรองไว้ในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตรูปแบบหนึ่ง ส่วนฮอร์โมนกลูคากอน (Glucagon) ซึ่งผลิตจากตับอ่อนเช่นกัน จะทำหน้าที่ตรงข้ามกับอินซูลิน คือช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ โดยการกระตุ้นให้ตับเปลี่ยนไกลโคเจนกลับเป็นกลูโคส แล้วส่งกลับเข้าสู่กระแสเลือด น้ำตาลในเลือดสูง คืออะไร น้ำตาลในเลือดสูง เป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งซึ่งมักพบในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากร่างกายผลิตอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการสะสมของน้ำตาลมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดของคนปกติ จะอยู่ระหว่าง 70-99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อตรวจเลือดหลังอดอาหารแล้ว 8 ชั่วโมง ในกรณีที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่านั้น หรือระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะหมายถึงมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือภาวะก่อนเบาหวาน หากมีระดับน้ำตาลตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร […]


โรคเบาหวาน

ตับอ่อน หน้าที่ มีอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องอย่างไรกับระดับน้ำตาลในเลือด

ตับอ่อน หน้าที่ มีอะไรบ้าง ตับอ่อนคืออวัยวะภายในร่างกายที่มีรูปร่างยาวรีคล้ายใบไม้ โดยมีหน้าที่หลักคือสร้างน้ำย่อยเพื่อย่อยสารอาหารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และผลิตฮอร์โมนสำหรับใช้ลำเลียงน้ำตาลเข้าสู่เซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ แต่หากตับอ่อนมีความผิดปกติไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มักก่อให้เกิดโรคได้ เช่น เบาหวาน มะเร็ง [embed-health-tool-bmi] ตำแหน่งและลักษณะของตับอ่อน ตับอ่อนมีความยาวประมาณ 6-10 นิ้ว และรูปร่างยาวรีคล้ายปลาหรือใบไม้ค่อนข้างแบนอยู่ด้านหลังกระเพาะอาหาร บริเวณส่วนบนซ้ายของช่องท้อง รอบ ๆ ตับอ่อน คืออวัยวะภายในอื่น ๆ เช่น ตับ ม้าม หลอดเลือดแดงซีลิแอก (Celiac Artery) ถุงน้ำดี ลำไส้เล็กส่วนต้น ตับอ่อนประกอบด้วยเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งเรียกว่า เนื้อเยื่อมีท่อ (Exocrine Tissue) อยู่ราว 95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์สำหรับช่วยในการย่อยสารอาหารต่าง ๆ ของร่างกาย ขณะเดียวกัน ส่วนที่เหลือของตับอ่อนอีก 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า ไอส์เลตออฟลังเกอร์ฮันส์ (Islets of Langerhans) ประกอบด้วยเซลล์ไร้ท่อจำนวนมาก (Endocrine […]


โรคเบาหวาน

การนอนดึก ส่งผลเสียต่อผู้ป่วยเบาหวานอย่างไร

การนอนดึก การนอนน้อย การนอนหลับไม่สนิท ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากร่างกายจะตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยลง ทำให้อินซูลินทำงานได้ไม่เต็มที่ ไม่สามารถลำเลียงน้ำตาลไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ได้อย่างที่ควรเป็น รวมทั้งเมื่อร่างกายนอนไม่เพียงพอจะส่งผลให้กระเพาะอาหารหลั่งฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดความหิว รวมทั้งเกิดความอยากอาหารจำพวกแป้งหรือน้ำตาลสูงขึ้น [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวานและน้ำตาลในเลือด มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนทั่วไป เนื่องจากตับอ่อนมีความผิดปกติในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงน้ำตาลจากกระแสเลือดไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงาน หรือหากมีน้ำตาลหลงเหลืออยู่ในกระแสเลือด อินซูลินจะทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสไว้ในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) ซึ่งเป็นสารอาหารที่เปลี่ยนรูปกลับไปเป็นกลูโคสได้ทันที เก็บสำรองไว้ที่ตับหรือกล้ามเนื้อ สำหรับดึงมาใช้เมื่อร่างกายต้องการพลังงาน ในกรณีของผู้ป่วยเบาหวาน อินซูลินซึ่งผลิตได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้เกิดการตกค้างและสะสมของน้ำตาลในกระแสเลือด ซึ่งในระยะยาวนำไปสู่ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติ อันเป็นสาเหตุของอาการป่วยต่าง ๆ เช่น ตาพร่ามัว ปวดหัว ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อย่าง โรคไต เบาหวานขึ้นตา ภาวะหลอดเลือดแข็ง การติดเชื้อที่ผิวหนังหรือติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการนอนดึกหรือนอนน้อย เนื่องจากเป็นปัจจัยหนึ่งของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง การนอนดึกส่งผลอย่างไรต่อระดับน้ำตาลในเลือด นอกเหนือจากภาวะน้ำหนักเกิน รวมทั้งพฤติกรรมในการรับประทานอาหารจะเป็นปัจจัยหลักในการทำให้เกิดโรคเบาหวานแล้ว พฤติกรรมการนอนหลับก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือดอันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานด้วยเช่นเดียวกัน โดยปกติ ในแต่ละวัน น้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นช่วงเช้าเวลาประมาณ 04.00-08.00 น. ตับอ่อนจะทำหน้าที่หลั่งอินซูลินออกมาเพื่อลดระดับน้ำตาลในช่วงเวลาดังกล่าวไม่ให้สูงเกินไป อย่างไรก็ตาม หากนอนดึกหรือนอนน้อย ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมามากกว่าปกติ […]


โรคเบาหวาน

ลักษณะฉี่ของคนเป็นเบาหวาน กลิ่นและสีแตกต่างจากคนปกติอย่างไร

ลักษณะฉี่ของคนเป็นเบาหวาน มักมีกลิ่นคล้ายผลไม้รสหวาน สีขุ่น และฉี่บ่อย เนื่องจากในกระแสเลือดมีปริมาณน้ำตาลกลูโคสปนอยู่มากกว่าปกติ เมื่อร่างกายขับของเสียออกมาทำให้มีน้ำตาลปนออกมาด้วย นอกจากนั้นแล้ว ในฉี่ของผู้ป่วยเบาหวานยังมีการปะปนของสารคีโตน (Ketone) รวมทั้งการมีระดับอัลบูมิน (Albumin) ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญในเลือดอยู่น้อย แต่ปนออกมาอยู่ในฉี่จำนวนมาก ปัจจัยเหล่านี้สะท้อนถึงภาวะเลือดเป็นกรด เนื่องจากการทำงานของไตที่บกพร่องทำให้การกรองของเสียผิดปกติ [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวานกับระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานมักผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกายหรือไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เลย โดยอินซูลินมีหน้าที่ในการลำเลียงน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน  เมื่อมีอินซูลินน้อย และน้ำตาลไม่ถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ก็จะทำให้เกิดการตกค้างของน้ำตาลในกระแสเลือด เกิดเป็นภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทั้งนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเป็นเบาหวาน จะมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในขณะที่คนปกติจะมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ส่วนระดับน้ำตาลระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจหมายถึงบุคคลนั้นมีความเสี่ยงโรคเบาหวานหรือมีภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) เกณฑ์ของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเป็นเบาหวาน ควรอยู่ระหว่าง 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก่อนมื้ออาหาร และน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังมื้ออาหาร ลักษณะฉี่ของคนเป็นเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานนอกจากจะฉี่บ่อยแล้ว ฉี่ยังมีลักษณะที่สะท้อนถึงอาการของโรคเบาหวานซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ มีกลิ่นคล้ายผลไม้รสหวานหรือรสเปรี้ยวเนื่องจากมีน้ำตาลปนอยู่ มีสีขุ่นไม่ใส และในบางครั้งอาจจะมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีฉี่ขุ่นด้วย นอกจากนี้ ฉี่ของคนเป็นเบาหวานมักมีการเจือปนของสารอื่น ๆ ดังนี้ กลูโคส ในฉี่ของคนเป็นเบาหวาน มักพบระดับน้ำตาลกลูโคสปนอยู่มากกว่าปกติ หรือเกินกว่า […]


โรคเบาหวาน

ค่าน้ำตาลปกติในผู้ป่วยเบาหวาน คือเท่าไร เช็คอย่างไร

ค่าน้ำตาลปกติในผู้ป่วยเบาหวาน หมายถึง ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งโดยปกติมักอยู่ที่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือสูงกว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นพลังงานเพื่อใช้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมค่าน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไป เพราะเมื่อระดับน้ำตาลยิ่งสูงก็จะยิ่งเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อันส่งผลร้ายต่อร่างกายมากยิ่งขึ้นไปอีก [embed-health-tool-bmi] ผู้ป่วยเบาหวานกับค่าน้ำตาลในเลือด โดยปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นหลังรับประทานอาหาร และอินซูลินจะถูกหลั่งออกมาเพื่อลำเลียงน้ำตาลไปยังเซลล์ต่าง ๆ สำหรับใช้เป็นพลังงาน และทำให้ค่าน้ำตาลลดลงสู่ระดับปกติ ในกรณีของผู้ป่วยเบาหวาน ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ ทำให้น้ำตาลถูกลำเลียงออกไปน้อยกว่าที่ควรจะเป็น และมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมากขึ้น การสะสมของน้ำตาลในเลือด ทำให้ค่าน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานสูงกว่าคนทั่วไป และยังเพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆ หากไม่ดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ควบคุมน้ำหนักหากเป็นโรคอ้วน รับประทานยาหรือฉีดอินซูลินตามแผนการรักษาของคุณหมอ วิธีการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด ค่าน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน สามารถตรวจได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ ตรวจน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร การตรวจน้ำตาลหลังอดอาหาร (Fasting Blood Sugar Test) เป็นการตรวจค่าน้ำตาลในเลือดจากตัวอย่างเลือด ซึ่งจำเป็นต้องอดอาหารก่อนตรวจอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และผลตรวจที่ได้คือค่าน้ำตาลขณะเจาะเลือด ซึ่งในแต่ละช่วงมีความหมายดังนี้ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป หมายถึง เป็นโรคเบาหวาน ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายถึง มีความเสี่ยงโรคเบาหวาน หรือมีภาวะก่อนเบาหวาน […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน