โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือด 140 หมายถึงอะไร อันตรายต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

น้ำตาลในเลือด 140 คือ ค่าระดับน้ำตาลในเลือด 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งถือว่าเป็นระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติ และยังเป็นสัญญาณหนึ่งของโรคเบาหวาน ปกติแล้ว น้ำตาลในเลือดนับเป็นแหล่งพลังงานอย่างหนึ่งของร่างกายซึ่งได้จากการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือจากการที่ร่างกายแปรรูปสารอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต ไปเป็นพลังงานในร่างกาย การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ทำได้ด้วยการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควบคุมอาหารโดยเลือกบริโภคแป้งและน้ำตาลในปริมาณจำกัด [embed-health-tool-bmi] ระดับน้ำตาลเท่าไรจึงเรียกว่าปกติ ระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งทางการแพทย์ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือระหว่าง 70-99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารแล้ว 8 ชั่วโมง ส่วนระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายถึง เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) ขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่านั้น หรือตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป หมายถึงกำลังเป็นโรคเบาหวาน ดังนั้น หากมีน้ำตาลในเลือด 140 จึงหมายความว่า มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งนับว่าเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือด 140 อันตรายไหม? ระดับน้ำตาลในเลือด 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แม้จะสูงกว่าระดับปกติพอสมควร โดยปกติภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพหรือความเสี่ยงต่าง ๆ ในการเกิดโรคอื่น ๆ จะเริ่มแสดงเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 180-200 […]


โรคเบาหวาน

เบาหวานขึ้น 300 อันตรายไหม ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายอย่างไรบ้าง

เบาหวานขึ้น 300 อันตรายไหม อาจเป็นคำถามที่ผู้ป่วยเบาหวานสงสัยและเป็นกังวล โดยปกติผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าคนปกติ โดยมักอยู่ที่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป หากค่าน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ระดับ 300 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าอยู่ในเกณฑ์อันตรายมาก โดยเฉพาะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน หรือเป็นเวลาหลายเดือนติดต่อกัน เพราะสามารถสร้างความเสียหายให้แก่ดวงตา ไต หรือหลอดเลือดได้ การออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่เหมาะสม และรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินตามคำแนะนำของคุณหมอ จะทำให้สามารถควบคุมค่าระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ได้ดี [embed-health-tool-bmr] เบาหวานและระดับน้ำตาลในเลือด มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่ที่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป ดังนั้นระดับน้ำตาลในเลือด 300 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จึงถือว่าสูงมาก ส่วนระดับน้ำตาลในเลือดของคนที่มีสุขภาพปกติจะมีค่าน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) จะมีระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งทำหน้าที่คอยลำเลียงน้ำตาลในเลือดไปยังเนื้อเยื่อและเซลล์ต่าง ๆ ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้มีน้ำตาลสะสมอยู่ในเลือดมาก อย่างไรก็ตาม ในกรณีของเบาหวานชนิดที่ 2 ตับอ่อนของผู้ป่วยบางรายอาจผลิตอินซูลินได้ในระดับปกติ แต่เซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินลดลงหรือดื้ออินซูลิน ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นถึงแม้จะมีอินซูลินเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เบาหวานขึ้น 300 อันตรายไหม ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร หากผู้ป่วยเบาหวานไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจนร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่ที่ 300 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งถือว่าอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง และหากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

DKA (ภาวะเลือดเป็นกรด) อาการ ความเสี่ยง การรักษา

DKA (Diabetic Ketoacidosis) หรือ ภาวะเลือดเป็นกรด เป็นภาวะแทรกซ้อนหนึ่งของโรคเบาหวาน เกิดขึ้นจากร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนแปลงน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานได้ อาจเกิดจากร่างกายขาดอินซูลิน หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน ทำให้มีน้ำตาลสะสมในเลือดมากเกินไปเป็นเวลานาน หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาทันเวลาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  ทั้งนี้ DKA มักเกิดกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มากกว่าชนิดที่ 2 และสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขภาพและรักษาระดับน้ำตาลในเลือด [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ DKA คืออะไร DKA คือ ภาวะเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากร่างกายผู้ป่วยผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ โดยอินซูลินมีหน้าที่ลำเลียงน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานให้ร่างกาย เมื่ออินซูลินผลิตได้น้อย พลังงานจากน้ำตาลที่ได้จึงลดลงตามไปด้วย ร่างกายผู้ป่วยจะสร้างพลังงานทดแทนด้วยการย่อยสลายไขมัน ซึ่งทำให้เกิดสารที่เรียกว่า คีโตน (Ketone) ในเลือด หากมีคีโตนสะสมอยู่ในเลือดมากจะส่งผลให้เลือดเป็นกรด อาการ อาการของ DKA หากผู้ป่วยเบาหวานเกิดภาวะ DKA มักแสดงอาการภายใน 24 ชั่วโมง ดังนี้ ปวดศีรษะ กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย หายใจติดขัด ลมหายใจเปรี้ยว ผิวแห้ง ปากแห้ง ระดับคีโตนในเลือดสูง ภาวะแทรกซ้อนของ DKA ภาวะแทรกซ้อนของการรักษาภาวะ DKA ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

Hypoglycemia คืออะไร อาการและความเสี่ยง

Hypoglycemia คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน มีสาเหตุจากการรักษาด้วยยาชนิดรับประทานหรือยาฉีดเบาหวาน อาการของ Hypoglycemia ที่อาจพบได้คือ ใจเต้นเร็ว เวียนหัว ตาพร่ามัว หิวบ่อย และในกรณีของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขั้นรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาทันเวลา อาจชัก หมดสติ หรือเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ Hypoglycemia คืออะไร Hypoglycemia หมายถึง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือดด้วยการฉีดอินซูลิน ทั้งนี้ อาจเกิดกับผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน แต่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคไต ผู้ป่วยน้ำตาลในเลือดต่ำ จะมีระดับน้ำตาลที่ 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือต่ำกว่า โดยอ้างอิงจาก แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 ส่วนในคนปกติ เมื่อตรวจเลือดหลังอดอาหารมาแล้ว 8 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลจะอยู่ระหว่าง 70-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบว่าระดับน้ำตาลสูงกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจหมายความว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หรือกำลังเป็นโรคเบาหวานอยู่ อาการ อาการของ Hypoglycemia ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมักมีอาการดังต่อไปนี้ ตัวสั่น […]


โรคเบาหวาน

HbA1c คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับเบาหวาน

HbA1c คือ การตรวจเลือดแบบหนึ่ง อ่านว่าฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1C) มีจุดประสงค์เพื่อให้ทราบระดับน้ำตาลสะสมในรอบ 2-3 เดือน โดยอาศัยโปรตีนบนเม็ดเลือดแดง ซึ่งการตรวจ HbA1C สามารถระบุได้ว่าใครมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวาน หรือกำลังเป็นโรคเบาหวาน และยังเป็นวิธีหนึ่งซึ่งคุณหมอใช้ตรวจเพื่อประเมินว่าแผนการรักษาโรคเบาหวานในคนไข้ของตนได้ผลหรือไม่ [embed-health-tool-bmi] ฮีโมโกลบินคืออะไร ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin หรือHb) คือโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยปกติเซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 3 เดือน ฮีโมลโกลบินทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อน้ำตาลกลูโคสถูกนำเข้ามาในกระแสเลือด จะจับตัวกับฮีโมโกลบิน ซึ่งการตรวจ HbA1c คือการวัดปริมาณกลูโคสที่อยู่ในฮีโมโกลบินและบอกระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ยในช่วง 2-3 เดือนได้ HbA1c ต่างจากการตรวจน้ำตาลทั่วไปอย่างไร การตรวจน้ำตาลแบบทั่วไป (Fasting Plasma Glucose หรือ FPG) คือ การตรวจระดับกลูโคสในเลือด ซึ่งต้องเตรียมการตรวจโดยการอดอาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนตรวจ ซึ่งถ้าหากมีค่าเกิน 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร มักจะเข้าข่ายการเป็นโรคเบาหวาน การตรวจ HbA1c มีหลายชื่อ บางครั้งเรียกว่า Glycated hemoglobin หรือ […]


โรคเบาหวาน

ผลไม้ ที่มีน้ำตาลน้อย เหมาะสำหรับคนเป็น เบาหวาน

คนเป็นเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่คงที่ คือ น้ำตาลหลังอาหารไม่เกิน 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และรับประทานยารักษาเบาหวานตามที่คุณหมอกำหนด นอกจากนี้ การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยเลือกอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ ไฟเบอร์สูง เช่น ผลไม้ ก็อาจช่วยปรับให้ระดับน้ำตาลในเลือดสมดุลยิ่งขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ผลไม้บางชนิดอาจไม่เหมาะสำหรับคนเป็นเบาหวาน จึงควรศึกษาวิธีการเลือกผลไม้ให้เหมาะสม เช่น ผลไม้ ที่มีน้ำตาลน้อย เพราะอาจช่วยไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลส่งผลต่อสุขภาพคนเป็นเบาหวานอย่างไร น้ำตาลที่รับประทานส่วนใหญ่ อาจเป็นน้ำตาลที่ผ่านการขัดสี เช่น น้ำตาลทรายขาว ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวที่ได้จากการย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น ของทอด น้ำอัดลม ของหวาน อาหารแปรรูป แม้น้ำตาลจะช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย ทำให้มีพลังงานในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่หากร่างกายดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะจะทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดยากขึ้น เสี่ยงเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งหากเป็นบ่อย ๆ หรือเรื้อรัง อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคไต ภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง เส้นประสาทเสียหาย จอประสาทตาเสื่อม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ผู้ป่วยเบาหวาน รวมถึงผู้ที่อยู่ในภาวะก่อนเบาหวาน หรือเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ […]


โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคเบาหวาน เป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยอาจมีสาเหตุหลายปัจจัยที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของเบาหวาน อย่างไรก็ตาม การควบคุมการรับประทานอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำ และหมั่นตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน และภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้   คำจำกัดความโรคเบาหวาน คืออะไร โรคเบาหวาน คือ โรคที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานแบบเรื้อรัง ปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดจะอยู่ที่ 99-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนอาหารสูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือหลังอาหารสูงกว่า 200 มิลลิกรัม / เดซิลิตร โรคเบาหวาน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด  ตามกลไกการเกิดโรค ได้แก่ 1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes) พบมากในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้เช่นกัน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากตับอ่อนไม่ผลิตอินซูลินหรือผลิตอินซูลินน้อยเกินไป จนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้ไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานได้ตามปกติ จนน้ำตาลสะสมในเลือดมากเกินไป สามารถเกิดได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก แต่อาจเริ่มมีอาการเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยผู้ใหญ่ 3. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational […]


โรคเบาหวาน

คนเป็นเบาหวานกินอะไรได้บ้าง

คนเป็นเบาหวานกินอะไรได้บ้าง เป็นคำถามที่หลายคนอาจสงสัย เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมการรับประทานอาหาร เพราะอาหารบางชนิดอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น หรือส่งผลให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยากขึ้น จนอาจทำให้อาการของโรคเบาหวานแย่ลง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ง่ายขึ้น ทำไมคนเป็นเบาหวานควรวางแผนการรับประทานอาหาร อาหารที่คนเป็นเบาหวานรับประทานเข้าไปอาจมีแคลอรี่หรือพลังงาน ไขมัน หรือน้ำตาลสูง จนอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยาก จนทำให้อาการของโรคเบาหวานแย่ลง และเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในระยะยาว เช่น โรคหัวใจ ภาวะเส้นประสาทเสียหาย ปัญหาเกี่ยวกับไต คนเป็นเบาหวานหรือมีภาวะก่อนเบาหวานจึงอาจจำเป็นต้องขอคำแนะนำในการวางแผนการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมจากคุณหมอ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารต่าง ๆ ในปริมาณที่เหมาะสม โดยที่ไม่กระทบต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันเลือดสูง ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานที่พบได้บ่อย คนเป็นเบาหวานกินอะไรได้บ้าง อาหารที่เหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้ อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่สามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาล และพลังงานได้อย่างรวดเร็ว เป็นอาหารที่เรารับประทานกันเป็นหลัก เช่นข้าว ขนมปัง แต่ผู่ป่วยเบาหวาน ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ต่ำและอุดมด้วยไฟเบอร์ เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี (เช่น ข้าวโอ๊ต คีนัว ข้าวฟ่าง ข้าวกล้อง) ผัก ผลไม้ (เช่น ผักโขม แอปเปิ้ล อะโวคาโด สตรอว์เบอร์รี่) ข้อมูลจากงานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Annual of Internal Medicine เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 […]


โรคเบาหวาน

การออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

การออกกำลังกาย ถือว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลากหลายด้าน เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ลดความเครียดและความวิตกกังวล สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การออกกำลังกายอาจส่งผลให้เซลล์ในร่างกายไวต่ออินซูลินมากขึ้น จึงทำให้อินซูลินทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังทำให้ผู้ป่วยเบาหวานรู้สึกดีขึ้น และอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดภาวะดื้ออินซูลินได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับชนิดและระยะเวลาการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับภาวะปัจจุบัน เพื่อความปลอดภัยและป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระหว่างออกกำลังกาย ประโยชน์ของการออกกำลังกาย ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที/วัน ซึ่งการออกกําลังกายนั้นมีประโยชน์ ดังนี้ ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือมีภาวะโรคอ้วน สามารถลดน้ำหนักได้ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งยังปรับปรุงค่าน้ำตาลกลูโคสที่จับอยู่กับฮีโมโกลบินเอซีวัน (HbA1c) สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ช่วยลดความดันโลหิต เพราะหากผู้ป่วยเบาหวานมีความดันโลหิตสูง อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ช่วยลดคอเลสเตอรอล เพื่อช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยให้น้ำตาลในเลือดถูกส่งไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้เยอะขึ้น  ช่วยปรับปรุงการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยให้ข้อต่อมีความยืดหยุ่นที่ดีขึ้น ช่วยรักษามวลกระดูก ช่วยในเรื่องของร่างกายและจิตใจ เพราะการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟิน หรือสารแห่งความสุข ซึ่งช่วยลดระดับความเครียดและทำให้อารมณ์ดีขึ้น การออกกำลังกายจะยิ่งมีประโยชน์ เมื่อเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อร่างกาย ไม่สูบบุหรี่ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ  สิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรู้ก่อนออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

หนังหุ้มปลายอักเสบจากเบาหวาน เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

หนังหุ้มปลายอักเสบ (Balanitis) เกิดจากการติดเชื้อหรือการอักเสบบริเวณส่วนปลายของอวัยวะเพศชาย ส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบต่อผู้ชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ไม่เคยขลิบอวัยวะเพศ หรือมีสุขอนามัยที่ไม่ดี จนเกิดการหมักหมมของเชื้อโรคจนอักเสบ นอกจากนี้ เบาหวาน ก็อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของภาวะหนังหุ้มปลายอักเสบได้เช่นกัน ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรระมัดระวังและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยเพื่อป้องกันเสี่ยงการเกิดหนังหุ้มปลายอักเสบ [embed-health-tool-bmr] หนังหุ้มปลายอักเสบในผู้ป่วยเบาหวาน ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลที่แฝงอยู่ในปัสสาวะเพิ่มสูงขึ้นด้วย เมื่อปัสสาวะที่เต็มไปด้วยน้ำตาลไหลผ่านไปยังอวัยวะเพศและใต้หุ้มหนังปลายอวัยวะเพศ ก็อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือยีสต์ที่ส่งผลให้หนังหุ้มปลายอักเสบ และอาจทำให้เนื้อบริเวณหนังหุ้มปลายเน่าตาย  นอกจากนี้ เบาหวานยังอาจส่งผลให้ระบบทางเดินปัสสาวะติดเชื้อจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การทำงานผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เข้าไปต่อสู้กับเชื้อโรค การไหลเวียนของเลือดบกพร่อง จนนำไปสู่การสะสมของแบคทีเรียในปัสสาวะ ทำให้อาจมีหนองปนในปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ และอาจเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด หากปล่อยไว้นาน หรือมีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี อาจทำให้ร่างกายต่อสู้กับภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ยากขึ้น ประเภทของหนังหุ้มปลายอักเสบ หนังหุ้มปลายอักเสบอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ เซอร์ซิเนส บาลานิติส (Circinate Balanitis) อาจเกิดขึ้นกับผู้ชายที่เป็นโรคข้ออักเสบรีแอคทีฟ (Reactive Arthritis) ซึ่งเป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ ส่งผลให้หัวองคชาตเกิดแผล อักเสบ บวม และมีรอยแดง ซูโดแอปพิเลียลิโอเมทัส เคราโทติก (Pseudoepitheliomatous Keratotic) และเมเคทรัส บาลานิติส ( Micaceous Balanitis) อาจทำให้บริเวณหัวองคชาตเกิดหูดที่เป็นสะเก็ด ภาวะหนังหุ้มปลายอักเสบประเภทนี้พบได้ยาก มักส่งผลกระทบต่อผู้ชายที่มีอายุ 60 […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน