โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

ค่าน้ำตาลในเลือด เกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างไร

ค่าน้ำตาลในเลือด คือ ค่าความเข้มข้นของน้ำตาล หรือระดับกลูโคสในเลือด ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น อาหารที่รับประทาน กิจกรรมที่ทำ ความไวของร่างกายต่ออินซูลิน โดยหากค่าน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำกว่าค่าปกติสามารถบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ [embed-health-tool-bmi] ค่าน้ำตาลเลือด คืออะไร ค่าน้ำตาลในเลือด คือ ค่าความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคสในเลือด โดยหลังจากรับประทานอาหาร ร่างกายจะย่อยอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาล เเละน้ำตาลนี้ถูกส่งไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายผ่านกระแสเลือด เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน ทำให้มีแรงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน หากร่างกายขาดหรือมีน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป อาจส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยล้า หรืออ่อนเพลียได้ ค่าน้ำตาลในเลือดเกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างไร โดยทั่วไปเเล้วจะเเนะนำให้ตรวจค่าน้ำตาลในเลือด หลังจากงดอาหารมาเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ซึ่งจะสามารถบ่งบอกถึงภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงของการเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง และช่วยในการติดตามผู้ที่เป็นโรคเบาหวานว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีเพียงใด ค่าน้ำตาลในเลือดแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ค่าน้ำตาลในเลือดต่ำ ในบุคคลทั่วไป หากมีค่าน้ำตาลในเลือดน้อยต่ำกว่า 55 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะถือว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การอดอาหารเป็นเวลานาน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ภาวะพร่องฮอร์โมน ต่อมหมวกไต […]


โรคเบาหวาน

FBS (การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร) คืออะไร มีวิธีตรวจอย่างไร

FBS ย่อมาจาก Fasting Blood Sugar คือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบว่ามีระดับน้ำตาลสูงกว่ามาตรฐานหรือไม่ เป็นวิธีการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเบื้องต้น มักรวมอยู่ในเพคเก็จตรวจสุขภาพ หรือหรือสามารถพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจ [embed-health-tool-bmi] FBS คืออะไร FBS คือ การเจาะเลือดจากเส้นเลือด (มิใช่การตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้ว) เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เป็นวิธีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่แม่นยำ โดยหากมีระดับน้ำตาล FBS สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน อาจหมายความว่า อินซูลินในร่างกายไม่สามารถจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้ดีพอ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงโรคเบาหวาน ได้ ทำไมจึงควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบ FBS เนื่องจาก การตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือด FBS เป็นหนึ่งในเกณฑ์การวินิจจัยโรคเบาหวาน ดังนั้น การตรวจระดับน้ำตาล FBS สามารถช่วยตรวจคัดกรองได้ทั้ง โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 2 รวมไปถึงเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วย ทั้งนี้หากตรวจพบเเละเริ่มการรักษาตั้งเเต่ระยะเเรกเริ่ม  อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมาในอนาคต เช่น ภาวะจอประสาทตาเสือมจากเบาหวาน  เช่น ภาวะจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน ต้อกระจก ต้อหิน เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม การไหลเวียนเลือดไม่ดี โรคไต  อีกทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ใครควรเข้ารับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบ FBS บ้าง การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด […]


โรคเบาหวาน

เบาหวาน ขึ้นตา มีอาการ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร

เบาหวาน ขึ้นตา คือ อาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ที่มีสาเหตุมาจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จนนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดเสื่อมและอุดตัน ซึ่งเมื่อเส้นเลือดที่เลี้ยงจอประสาทตาเสื่อมหรืออุดตันลง จึงทำให้จอประสาทตาขาดเลือด อีกทั้งมีการสร้างหลอดเลือดใหม่มาทดเเทน เเต่ผนังของหลอดเลือดที่สร้างใหม่ดังกล่าวมักเปราะฉีกขาดง่าย ทำให้เกิดเลือดออกในจอประสาทตาและวุ้นลูกตา ซึ่งผู้ที่มีเบาหวานขึ้นตาอาจมีอาการตาพร่ามัว มองเห็นภาพไม่ชัด หากปล่อยไว้เป็นเวลานานไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดปัญหาสุขภาพตาอื่น ๆ เช่น ต้อกระจก ต้อหิน และเป็นสาเหตุให้ตาบอดได้ [embed-health-tool-bmi] อาการเบาหวานขึ้นตา อาการเบาหวานขึ้นตา อาจสังเกตได้ดังนี้ ปวดตา ตาเเดง ตาพร่ามัว มองเห็นภาพไม่ชัดเจน มองเห็นภาพสีซีด/จางลง ตาบอดสี เห็นจุดหรือเส้นสีดำอยู่ในลานสายตา การมองเห็นภาพตอนกลางคืนเเย่ลง อย่างไรก็ตามในบางรายเเม้มีภาวะเบาหวานขึ้นตาแล้ว อาจไม่มีอาการเเสดงใด ๆ เลย เเละควรเข้าพบคุณหมอทันทีหากสังเกตว่าการมองเห็นเริ่มเปลี่ยนแปลงไป หรือมีอาการพร่ามัว แบบเป็น ๆ หาย ๆ เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนเเรงที่อาจตามมาได้ เบาหวานขึ้นตาส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร เบาหวานขึ้นตาอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้ ต้อกระจก เนื่องจากเมือระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นระยะเวลานาน น้ำตาลกลูโคสในกระเเสเลือด อาจเปลี่ยนแปลงเป็นน้ำตาลชนิดซอร์บิทอล (Sorbitol) และ ฟรุคโตส (Fructose) สะสมอยู่ในเลนส์ตา ทำให้เลนส์ตามีความขุ่นมัว มองสิ่งรอบตัวไม่ชัดเกิดเป็นภาวะต้อกระจก ต้อหิน เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดภายในดวงตาจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้ความดันตาสูงยเส้นประสาทตาถูกทำลาย […]


โรคเบาหวาน

อาการ เบาหวาน ขึ้น และวิธีการป้องกัน

อาการ เบาหวาน ขึ้น หมายถึงอาการที่ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่ทำการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น เส้นประสาทเสียหาย มีปัญหาด้านการมองเห็น กระดูกและข้อเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ด้วยการใช้ยารักษาเบาหวานตามคำแนะนำของคุณหมอ เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ออกกำลังกายเป็นประจำ และควรวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของอาการเบาหวานขึ้น สาเหตุของอาการเบาหวานขึ้น เกิดจากร่างกายได้รับน้ำตาลกลูโคสจากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก เช่น ขนมปังขาว ข้าวขาว พาสต้า ขนมหวาน น้ำอัดลม แต่อินซูลินภายในร่างกายไม่สามารถจัดการกับน้ำตาลเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม ทั้งจากการที่มีปริมาณของอินซูลินไม่พอ หรือจากการที่มีภาวะดื้ออินซูลิน จนส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ สัญญาณเตือนของอาการเบาหวานขึ้น สัญญาณเตือนของอาการเบาหวานขึ้น มีดังนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ปวดศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว อาการชาที่มือและเท้า เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย รู้สึกร่างกายขาดน้ำ กระหายน้ำมาก คันผิวหนังเนื่องจากผิวแห้ง ปัสสาวะบ่อย หากปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงส่งผลให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด และอาจก่อให้เกิดอาการดังต่อไปนี้ คลื่นไส้ อาเจียน หายใจถี่เร็ว ริมฝีปากแห้ง และอาจมีกลิ่นปาก หรือกลิ่นลมหายใจ ปวดท้อง ควรพบคุณหมอทันทีหากระดับน้ำตาลในเลือดไม่ยอมลดลงแม้ว่าจะใช้ยารักษาเบาหวานแล้ว มีไข้สูงนานกว่า 1 วัน […]


โรคเบาหวาน

Diabetes Mellitus คือ โรคอะไร อันตรายหรือไม่

Diabetes Mellitus บางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียง Diabetes หมายถึง โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง โดยผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายมีความผิดปกติเกี่ยวกับการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ร่างกายมักผลิตอินซูลินได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ทั้งนี้ หากเป็นเบาหวานและไม่พยายามควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ อาทิ โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวานขึ้นตา ปัญหาการได้ยิน ซึ่งอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว [embed-health-tool-bmr] Diabetes Mellitus คือ โรคอะไร Diabetes Mellitus คือ โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือเกินกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งมีหน้าที่ลำเลียงน้ำตาลสู่เซลล์อวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้น้ำตาลสะสมอยู่ในกระแสเลือดจนสูงขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ เบาหวานยังเกิดได้จากภาวะดื้ออินซูลิน หรือการที่ร่างกายผลิตอินซูลินได้ตามปกติ แต่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ ตับอ่อนต้องผลิตอินซูลินมากขึ้น เพื่อช่วยให้เซลล์ในร่างกายได้รับน้ำตาลอย่างเพียงพอ เมื่อตับอ่อนทำงานหนักมากขึ้นก็ส่งผลให้ตับอ่อนเสียหายจนกระทั่งผลิตอินซูลินได้น้อยลง ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และกลายเป็นโรคเบาหวานในที่สุด โดยทั่วไป อาการที่พบได้เมื่อเป็นเบาหวาน ประกอบด้วย กระหายน้ำ มือหรือเท้าชา รู้สึกหมดแรง […]


โรคเบาหวาน

diabetes (โรคเบาหวาน) คืออะไร อาการ สาเหตุ และการรักษา

diabetes คือ โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นกลุ่มโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากเซลล์ไม่ตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลิน ร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถผลิตอินซูลินเพื่อเผาผลาญน้ำตาลเป็นพลังงานได้เท่าที่ควร ส่งผลให้น้ำตาลสะสมในกระแสเลือดมากเกินไป [embed-health-tool-bmi] อาการของ diabetes คือ อาการของโรคเบาหวานอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น ดังนี้ กระหายน้ำมากขึ้น ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในตอนกลางคืน หิวบ่อย น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน เบลอ มองเห็นภาพซ้อน แผลหายช้า ติดเชื้อบ่อย เช่น ติดเชื้อที่เหงือก ติดเชื้อที่ผิวหนัง ติดเชื้อในช่องคลอด สาเหตุของ diabetes คืออะไร โรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจมีสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้ สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเข้าทำลายเซลล์ที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อนเหมือนกับการทำลายเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่เป็นอันตราย ส่งผลให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยลงหรือไม่ผลิตเลย ส่งผลทำให้น้ำตาลไม่ได้รับการเผาผลาญและสะสมอยู่ในกระแสเลือดมากขึ้น สาเหตุของภาวะก่อนเบาหวานและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานอาจนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นพลังงานได้ ส่งผลให้เกิดน้ำตาลสะสมในกระแสเลือดสูงขึ้น นอกจากนี้ อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางพันธุกรรมและพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง การไม่ออกกำลังกาย สาเหตุของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในระหว่างตั้งครรภ์รกจะผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ไปจนกว่าจะคลอด ฮอร์โมนเหล่านี้ทำให้เซลล์ดื้อต่ออินซูลินมากขึ้น ส่งผลให้อินซูลินไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เท่าที่ควร ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ปัจจัยเสี่ยงของ diabetes ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวาน ขึ้นตา อาการ สาเหตุ และวิธีป้องกัน

เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) เป็นภาวะแทรกซ้อนหนึ่งของโรคเบาหวานหากระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยอยู่ในระดับสูง เบาหวาน ขึ้นตา อาการ ที่พบได้ประกอบด้วย ดวงตาพร่ามัว เห็นจุดดำ มองเห็นตอนกลางคืนไม่ชัด หรือหากปล่อยให้เบาหวานขึ้นตาไปนาน ๆ โดยไม่เข้ารับการรักษาอาจถึงขั้นตาบอดได้ โรคเบาหวานและอาการเบาหวานขึ้นตา เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนทั่วไป มักเกิดจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งมีหน้าที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้การจัดการกับน้ำตาลในเลือดของร่างกายบกพร่อง จนน้ำตาลค้างอยู่ในกระแสเลือดและระดับน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้น ในทางการแพทย์ ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน วิธีรักษาและดูแลดูตัวเองเบื้องต้นนั้น คุณหมอจะแนะนำให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อย่างอาการเบาหวานขึ้นตา เบาหวาน ขึ้นตา เกิดจากอะไร ผู้ป่วยเบาหวาน หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเป็นเวลานาน หรือระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเป็นระยะ ๆ บ่อยครั้งจะทำให้หลอดเลือดของจอตาถูกทำลายและส่งผลเสียหายต่อดวงตาจนมองเห็นไม่ชัดเจน โดยภาวะนี้เรียกว่าเบาหวานขึ้นตา ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ระยะ ดังต่อไปนี้ เบาหวานขึ้นตาระยะเริ่มแรก (Nonproliferative Diabetic Retinopathy หรือ NPDR) ในระยะนี้ ผนังหลอดเลือดของจอตามักอ่อนแอและเสียหาย เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้หลอดเลือดรั่วหรืออุดตันได้ เมื่องเลือดรั่วเข้าสู่ดวงตา สามารถทำให้จุดภาพชัด (Macular) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดวงตา […]


โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน การป้องกัน และการดูแลตัวเอง

โรคเบาหวาน การป้องกัน อาจสามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันบางอย่าง โดยการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด จำกัดปริมาณอาหารให้เหมาะสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้อาจเป็น การป้องกัน โรคเบาหวาน พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย โรคเบาหวาน คืออะไร โรคเบาหวาน คือ ภาวะสุขภาพเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนน้ำตาลในกระแสเลือดให้เป็นพลังงาน หากเป็นเบาหวาน ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลให้เป็นพลังงานได้เท่าที่ควร อาจเกิดจากร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เท่าที่ร่างกายต้องการ เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่เพียงพออาจส่งผลให้น้ำตาลสะสมอยู่ในกระแสเลือดมากเกินไป และหากปล่อยไว้เป็นเวลานานจนลุกลามอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต สูญเสียการมองเห็น เป็นแผลที่เท้า โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิดหลัก ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากปฏิกิริยาภูมิต้านตนเองซึ่งทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากการที่ร่างกายมีความบกพร่องในการควบคุมและใช้น้ำตาล โดยร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสไปเป็นพลังงานได้ ส่งผลให้เกิดน้ำตาลสะสมในกระแสเลือดสูงขึ้น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยเป็นเบาหวาน โรคเบาหวานจะหายไปเองเมื่อคลอดลูก แต่อาจเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตได้ ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติแต่ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเป็นโรคเบาหวาน โดยเกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินตามปกติ แม้ว่าตับอ่อนจะสร้างอินซูลินมากขึ้นเพื่อให้เซลล์ตอบสนอง จนกระทั่งระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นและกลายเป็นโรคเบาหวานในที่สุด โรคเบาหวาน มีการป้องกันอย่างไร การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานอาจทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ การควบคุมน้ำหนักและการลดน้ำหนักส่วนเกิน การควบคุมน้ำหนักและลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานโดยมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 18.5-22.90 อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Diabetes Care เมื่อเดือนกันยายน […]


โรคเบาหวาน

อาหารโรคเบาหวาน ที่ผู้ป่วยควรรับประทานและควรหลีกเลี่ยง

อาหารโรคเบาหวาน หมายถึง อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งเป็นผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนปกติ หากระดับน้ำสูงเกินไปโดยไม่ระวังหรือควบคุมอาหาร ก็อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ อาหารโรคเบาหวาน ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตซึ่งดีต่อสุขภาพ อาหารที่มีเส้นใยสูง ไขมันไม่อิ่มตัวหรือไขมันดี รวมถึงผักและผลไม้ต่าง ๆ อาหารโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง เมื่อเป็นโรคเบาหวาน หรือมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน คุณหมอมักแนะนำให้คุมอาหาร เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป จนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต โรคหัวใจ  รวมถึงป้องกันโรคอ้วน อันเป็นปัจจัยหนึ่งของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาหารโรคเบาหวานประกอบด้วยอาหารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อาหารโรคเบาหวาน: คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรต มักพบในอาหารจำพวกแป้ง เป็นสารอาหารซึ่งส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากที่สุด เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลหรือกลูโคส เพื่อใช้เป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดที่มีเส้นใยอาหารสูง เนื่องจากเส้นใยอาหารจะช่วยควบคุมการย่อยคาร์โบไฮเดรตของร่างกาย และควบคุมการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเวลาเดียวกัน อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดีต่อสุขภาพ ประกอบด้วย ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ควินัว ผักต่าง ๆ เช่น มันฝรั่ง ข้าวโพด ถั่วลันเตา นมหรือโยเกิร์ต ชนิดน้ำตาลน้อยและไขมันต่ำ ทั้งนี้ คาร์โบไฮเดรตซึ่งผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงประกอบด้วย ข้าวขาว ขนมปัง ซีเรียล และขนมหวานที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมเค้ก […]


โรคเบาหวาน

กาแฟมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวานอย่างไร

กาแฟ กลายเป็นเครื่องดื่มที่ทุกคนคุ้นเคยและบริโภคกันเป็นประจำ ในกาแฟมีส่วนประกอบหลายอย่าง ที่มีประโยชน์ และมีโทษกับผู้ป่วย เบาหวาน ในกาแฟจะมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่าง โพลีฟีนอล (Polyphenols) และแร่ธาตุที่มีประโยชน์ เช่น แมกนีเซียม โครเมียม (Chromium) ซึ่งช่วยเพิ่มการทำงานของอินซูลินทำให้ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ในกาแฟก็มีคาเฟอีน ซึ่งเป็นสารกระตุ้นประสาท อาจทำให้มีความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับได้ นอกจากนี้ ในเครื่องดื่มกาแฟอาจมีการผสมครีมเทียม รวมถึงอาจมีการเพิ่มน้ำตาลทำให้มีระดับไขมันในเลือดสูงและการควบคุมระดับน้ำตาลทำได้ยากขึ้นด้วย [embed-health-tool-heart-rate] ประโยชน์ของ กาแฟ ต่อโรค เบาหวาน กาแฟอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่อาจมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวานและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของกาแฟในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ กาแฟอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างโพลีฟีนอลที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคหลายชนิด เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร  Medical Journal of The Islamic Republic of Iran เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ศึกษาเกี่ยวกับโพลีฟีนอลและผลกระทบต่อการจัดการโรคเบาหวาน พบว่า โพลีฟีนอลในอาหารหลายชนิดอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับปรุงการหลั่งและความไวของอินซูลินในการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงาน อาจช่วยควบคุมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ อุดมไปด้วยแร่ธาตุ กาแฟอุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิดอย่างแมกนีเซียมและโครเมียมที่มีคุณสมบัติอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Diabetes Care […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน