โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานแฝง (Prediabetes) อาการ สาเหตุและการป้องกัน

เบาหวานแฝง หรือภาวะก่อนเบาหวาน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นต่อเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่อาจไม่สูงพอจะที่จะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ถึงอย่างไรหากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่มีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ก็อาจส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ เบาหวานแฝง (Prediabetes) คืออะไร เบาหวานแฝง คือ สัญญาณเตือนของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งหมายความว่าหากผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงแต่ยังไม่ถึงเกณฑ์คือระดับน้ำตาล100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร คุณหมออาจวินิจฉัยให้เบื้องต้นว่าระยะนี้คือเบาหวานแฝง หรือภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน และอาจพัฒนานำไปสู่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 อย่างเลี่ยงไม่ได้หากไม่รักษาค่าระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคหลอดเลือด อาการเบาหวานแฝง อาการเบาหวานแฝง มีดังต่อไปนี้ ร่างกายขาดน้ำ รู้สึกกระหายน้ำ รู้สึกอยากอาหาร หรือหิวบ่อย เหนื่อยล้า มองเห็นสิ่งรอบตัวเป็นภาพซ้อน พร่ามัว น้ำหนักเพิ่มหรือลดโดยไม่มีสาเหตุ ปัสสาวะบ่อย สาเหตุของเบาหวานแฝง ในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของภาวะเบาหวานแฝง แต่คาดการณ์ว่าอาจเกี่ยวข้องกับอินซูลิน เนื่องจากอินซูลินเป็นฮอร์โมนตับอ่อนผลิตขึ้น เพื่อนำกลูโคสจากอาหารที่อยู่ในกระแสเลือดมาแปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน หากร่างกายผลิตอินซูลินน้อยลง หรือร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินก็อาจเป็นไปได้ว่ากลูโคสนั้นจะสะสมอยู่ในกระแสเลือดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงเป็นภาวะก่อนเบาหวานที่จะพัฒนาสู่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานแฝง ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดเบาหวานแฝง ได้แก่ อายุ ส่วนใหญ่โรคเบาหวานอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเบาหวาน หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นภาวะก่อนเบาหวานหรือโรคเบาหวานมาก่อนก็อาจเป็นไปได้ว่าจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นภาวะนี้ได้เช่นกัน เชื้อชาติพันธุ์ ผู้ที่มีเชื้อสายเอเชีย อเมริกันมักมีแนวโน้มเสี่ยงเป็นภาวะก่อนเบาหวาน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โฮลเกรน ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้หรือไม่

โฮลเกรน หมายถึง ธัญพืชต่าง ๆ เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้างกล้องงอก ข้าวฟ่าง ซึ่งผ่านกระบวนการขัดสีน้อยมากหรือไม่ผ่านการขัดสีเลย ทำให้ยังคงคุณค่าสารอาหารต่าง ๆ ไว้ค่อนข้างครบถ้วน ทั้งโปรตีน ใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ นิยมรับประทานกันในหมู่คนรักสุขภาพและผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน เพราะรับประทานง่าย นำมาทำอาหารได้หลากหลาย และที่สำคัญ คุณประโยชน์จากสารอาหารต่าง ๆ ของ โฮลเกรน อาจมีส่วนช่วย ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ [embed-health-tool-bmi] โฮลเกรน ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างไร โฮลเกรน ได้แก่ ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ซึ่งไม่ผ่านการขัดสีหรือฟอกขาว ทำให้ยังคงคุณค่าสารอาหารต่าง ๆ ค่อนข้างครบถ้วน การรับประทานโฮลเกรนจึงเป็นการเพิ่มวิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ และไฟโตเคมิคอล (Phytochemicals) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง เพิ่มภูมิต้านทานโรค อีกทั้งยังมีใยอาหารมีส่วนในการช่วยควบคุมหรือลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ดังนั้นโฮลเกรนจึงอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานได้ การรับประทานโฮลเกรนเพื่อลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โฮลเกรนสามารถนำไปประกอบอาหารควบคู่กับเมนูอื่น ๆ […]


โรคเบาหวาน

เบาหวานกับสุขภาพช่องปาก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เบาหวานกับสุขภาพช่องปาก นับว่ามีความสัมพันธ์กันมากกว่าที่คนทั่วไปนึกถึง เนื่องมาจากหากผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อหลอดเลือดและกระดูก/ฟัน รวมทั้งค่าความเป็นกรดในเลือดรวมไปถึงในน้ำลายที่อาจสูงขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาฟันผุ กลิ่นปาก เหงือกอักเสบ ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงไม่ควรละเลยการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนทางช่องปากที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวานกับสุขภาพช่องปาก เกี่ยวข้องกันอย่างไร ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเเล้วควบคุมไม่ดี ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลเเทรกซ้อนให้เกิดปัญหากับอวัยวะระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ ซึ่งปัญหาสุขภาพช่องปากนับเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่อาจพบร่วมด้วยได้บ่อยครั้ง เช่น เจ็บเหงือก ฟันหลุดร่วง ฟันโยก มีกลิ่นปากไม่พึงประสงค์ ปัญหาเหงือกอักเสฐมีเลือดออกไรฟัน และช่องฟัน โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ปัญหา สุขภาพช่องปาก ที่เกิดจากเบาหวาน หากผู้ป่วยเบาหวานทั้งเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม อาจส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ดังต่อไปนี้ ฟันผุ เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดจะส่งผลให้น้ำลายมีค่าความเป็นกรดสูงขึ้น มีส่วนกระตุ้นให้แบคทีเรียและจุลินทรีย์ในช่องปากกัดกร่อนทำลายเคลือบฟันได้ง่ายจนนำไปสู่อาการฟันผุ เหงือกอักเสบ ผูที่เป็นโรคเบาหวานเเล้วควบคุมไม่ดีอาจมีระบบภูมิคุมกันของร่างกายอ่อนแอลง ซึ่งรวมไปถึงระบบภูมิคุ้มกันในช่องปาก ส่งผลให้แบคทีเรียเกิดการสะสมจนกลายเป็นคราบพลัคที่หนาและทำความสะอาดได้ยากขึ้น และเพิ่มการสะสมเป็นคราบหินปูน ทำให้เหงือกบวมอักเสบ และมีเลือดออกตามไรฟันได้ง่าย ปากแห้ง โรคเบาหวานอาจส่งผลให้ต่อมน้ำลายทำงานผิดปกติไป ทำให้ช่องปากขาดความชุ่มชื้น จนเกิดอาการปากแห้งได้ รวมทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นโรคเหงือก ฟันผุ และเชื้อราในช่องปากอีกด้วย โรคปริทันต์ ภาวะน้ำตาลสูงในผู้ป่วยเบาหวานเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคเหงือกอักเสบที่อาจนำไปสู่อาการติดเชื้อรุนแรง หรือ โรคปริทันต์ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 1

วิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดขึ้นจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินขึ้นมาได้มากเพียงพอที่จะจัดการกับน้ำตาลในเลือด พบได้มากในผู้ที่มีอายุน้อย ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 เพื่อให้สามารถรับมือกับอาการและช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-bmi] วิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 วิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 อาจทำได้ดังนี้ เตือนความจำ จดโน้ตถึงการนัดหมายตรวจสุขภาพประจำปี หรือตามที่แพทย์กำหนดเอาไว้ เพื่อช่วยให้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1  ได้เข้ารับการตรวจสุขภาพตรงตามเวลา รับการฉีดวัคซีนให้ครบ หลีกเลี่ยงสูบบุหรี่อย่างถาวร ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากเป็นไปได้ให้หยุดดื่มเลยจะดีเสียกว่า ลดระดับความเครียด หรือหากิจกรรมที่ช่วยให้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 รู้สึกผ่อนคลาย เพราะความเครียดจะทำให้อินซูลินมีการทำงานที่ผิดปกติ ควบคุมความดันโลหิต และระดับคอเลสเตอรอล หรือมีการตรวจเป็นประจำด้วยอุปกรณ์ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลือกอาหารที่เหมาะสม ตามการวางแผนรับประทานอาหารจากคุณหมอ สังเกตบาดแผลพุพองบนผิวหนังทั่วทั้งร่างกายของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอยู่บ่อยครั้ง คุณหมออาจให้สวมใส่อุปกรณ์ที่ข้อมือ หรือติดอุปกรณ์อย่างเข็มกลัด ที่บ่งชี้ว่าเป็น ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1  ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างฉุกเฉินในทันที เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ดังนั้น จึงไม่ควรปล่อยให้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ถอดออกตามอำเภอใจ ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 สำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 บางกรณีอาจมีภาวะแทรกซ้อนเข้ามาร่วมด้วยอย่างแน่นอน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 1

ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานชนิดที่ 1 มีอะไรบ้าง

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 คือ ภาวะที่ระดับกลูโคสหรือน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป เนื่องจาก ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ ผู้ป่วยโรคนี้จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ยังอาจเกิดจากความผิดปกติที่ตับอ่อน รวมถึงปัจจัยบางอย่าง เช่น การรับพันธุกรรมในครอบครัว จนอาจก่อให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานชนิดที่ 1 ได้อีกด้วย โดยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในเด็กและวัยรุ่น โดยเฉพาะเด็กอายุ 4-7 ปี และ 10-14 ปี และอาจพบได้น้อยกว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2  ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานชนิดที่ 1 มีอะไรบ้าง หากผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ยอมดูแลตัวเอง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รยมถึงไม่ยอมออกกำลังกาย ก็อาจทำให้อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แย่ลง รวมทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ดังนี้ โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด เนื่องจาก โรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เชื่อมโยงกับสุขภาพหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเล็กน้อยตั้งแต่เจ็บหน้าอกไปจนถึงหัวใจวายได้ เส้นประสาทได้รับความเสียหาย น้ำตาลส่วนเกินที่อยู่ในหลอดเลือด อาจเข้าไปทำลายเส้นเลือดฝอยบริเวณเส้นประสาท โดยเฉพาะบริเวณขา นิ้วเท้า นิ้วมือ ส่งผลให้เกิดอาการแขนชา ขาชา มือชา และเจ็บปวดขณะเคลื่อนไหวได้ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และปัจจัยเสี่ยง

สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 คาดว่าอาจเกิดขึ้นจากการปฏิกิริยาภูมิต้านทานตนเอง ที่ระบบภูมิต้านทานเข้าไปโจมตีเซลล์ของตับอ่อนที่ทำหน้าที่สร้างอินซูลิน ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และส่งผลให้เกิดโรคเบาหวาน โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม ใช้ยาสำหรับโรคเบาหวาน เช่น ยาอินซูลิน และออกกำลังกายเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มีอะไรบ้าง ถึงแม้จะไม่ทราบ สาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เนื่องจาก เป็นโรคที่ค่อนข้างเชื่อมโยงกับภาวะทางสุขภาพหลากหลายปัจจัยจนไม่อาจคาดเดาได้ นอกเสียจากจะได้รับการวินิจฉัยจากคุณหมอโดยตรง แต่ส่วนใหญ่ สาเหตุโดยส่วนใหญ่คือเกิดจากปฏิกิริยาภูมิต้านทานตัวเอง ที่เข้าไปทำลายเซลล์ในตับอ่อนที่มีบทบาทในการสร้างอินซูลิน รวมถึงอาจได้รับการสืบทอดทางพันธุกรรมของบุคคลในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 อยู่แต่เดิม ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ ดังนี้ ภาวะซึมเศร้า ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ประวัติโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ เชื้อชาติพันธุ์ โดยเฉพาะเชื้อสายเอเชีย ชาวเกาะแปซิฟิก ชนพื้นเมืองอเมริกัน  การวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 สำหรับการวินิจฉัยหาสาเหตุการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1  คุณหมออาจเริ่มต้นด้วยการสอบถามประวัติ อาการ และยาบางชนิดเบื้องต้น ที่กำลังใช้อยู่ จากนั้น จึงค่อยเริ่มการตรวจสุขภาพ ดังต่อไปนี้ การทดสอบระดับน้ำตาลในเลือด (A1C) เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูงหรือไม่ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 1

โรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก (Monogenic Diabetes) เป็นภาวะกลุ่มหนึ่งของโรคเบาหวาน ซึ่งอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของพ่อแม่หรือความผิดปกติของยีนส์ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ ภาวะขาดน้ำ สำหรับวิธีการรักษาผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาโดยการฉีดฮอร์โมนอินซูลินเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม คำจำกัดความโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก คืออะไร? โรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก เป็นประเภทของโรคเบาหวานที่พบได้ยาก เกิดจากความผิดปกติของยีนส์หรือกลายพันธุ์มาจากพ่อแม่ ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท หลัก ๆ คือ  เบาหวานในทารกแรกเกิด (Neonatal Diabetes Mellitus: NDM) เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วง 6 เดือนแรกเกิด มีสาเหตุจากความผิดปกติของการพัฒนาตับอ่อน อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานตลอดชีวิต แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเป็นภาวะนี้เพียงชั่วคราว และกลับมาเป็นอีกครั้งในช่วงวัยรุ่น  เบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติของยีนส์ (Maturity-Onset Diabetes of the Young: MODY) เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงอายุ 25-35 ปี โดยการกลายพันธุ์นี้เกิดจากยีนที่ควบคุมการทำงานของตับอ่อนผิดปกติ อาการอาการของโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก ผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิกส่วนใหญ่มีอาการ ดังต่อไปนี้ ภาวะร่างกายขาดน้ำ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ ปากแห้ง สายตาผิดปกติ เช่น เห็นภาพไม่ชัด สายตาพร่าวมัว  สาเหตุสาเหตุของโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก สาเหตุของโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิกส่วนใหญ่อาจเกิดจากการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมจากพ่อหรือแม่ของทารก  ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก มีดังต่อไปนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง สมาชิกในครอบครัวมีประวัติทางสุขภาพเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานมาหลายช่วงอายุคน ผู้ที่มีประวัติสุขภาพเกี่ยวกับโรคอ้วน ภาวะอื่น ๆ ที่เกิดจากกลายพันธุ์ของยีน เช่น ซีสต์ในไต   การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ได้โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยเบาหวานแบบโมโนเจนิก คุณหมออาจวินิจฉัยโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิกเบื้องต้นด้วยการเก็บตัวอย่างเลือดมาตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงการตรวจทางพันธุกรรม หากเกิดการกลายพันธ์บนยีนด้อย แสดงว่ายีนนั้นได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ผิดปกติจากพ่อและแม่ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จริงหรือไม่?

แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่มีหลากหลายสายพันธุ์ตามการเพาะปลูก สภาพแวดล้อมและการดูแล แอปเปิ้ล 1 ผล มีใยอาหาร คาร์โบไฮเดรตต่ำ สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยให้ปรับปรุงระบบย่อยอาหาร ลดคอเลสเตอรอล แต่สำหรับข้อสงสัยว่า แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหรือไม่ อาจจำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หรือไม่ แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลในรูปแบบฟรุกโตส  (Fructose) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ และแตกต่างจากน้ำตาลทั่วไปที่นำมาใช้ปรุงแต่งรสชาติอาหาร หรือขนมต่าง ๆ จากข้อมูลของ American Journal of Clinical Nutrition ในปี พ.ศ. 2560 พบว่า การรับประทานฟรุกโตสแทนการได้รับกลูโคสเข้าสู่ร่างกาย อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ดี ที่สำคัญแอปเปิ้ลยังมีเส้นใยอาหารถึง 4 กรัม ที่ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลป้องกันการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และอินซูลินได้ การรับประทานแอปเปิ้ล ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถรับประทานได้แต่ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม 182 กรัม หรือแอปเปิ้ล 1 ลูกขนาดกลาง อีกทั้งควรรับประทานควบคู่กับผลไม้ และผักชนิดอื่น ๆ ตามความชอบ จากดัชนีการวัดระดับของน้ำตาล ตั้งแต่ 0-100 คะแนน ซึ่งแอปเปิ้ลถูกจัดอยู่ใน 36 คะแนน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวานลงไต ปัจจัยเสี่ยง และวิธีดูแลตัวเอง

เบาหวานลงไต หรือ โรคไตจากเบาหวาน อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ในอนาคต หากผู้ป่วยไม่ดูแลตนเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และหากพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนนี้ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม และขอรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวานลงไต  เบาหวานลงไต คืออะไร เบาหวานลงไต หรือโรคไตจากเบาหวาน (Diabetic Nephropathy) ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่เชื่อมโยงกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารพบได้บ่อยถึง 25% ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยมีสาเหตุมาจากความดันโลหิตสูง รวมถึงหลอดเลือด และเซลล์ต่าง ๆ ในไตถูกทำลาย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง ไตไม่สามารถกรองของเสียออกจากเลือดได้ หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจนำไปสู่ภาวะไตวายได้ในที่สุด ปัจจัยเสี่ยงเบาหวานลงไต เบาหวานลงไต นอกจากจะทำลายสุขภาพไตแล้ว ยังอาจนำไปสู่โรคอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โดยเฉพาะหากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีปัจจัยเหล่านี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานลงไตได้ สูบบุหรี่เป็นประจำระยะยาว คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง นอกจากปัจจัยเสี่ยงข้างต้น ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ นั่นคือ ปัจจัยทางพันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวานลงไต อาจทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ วิธีดูแลตัวเองเมื่อเบาหวานลงไต วิธีดูแลตัวเองเหล่านี้อาจช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานลงไตสามารถรับมือกับโรคได้ดีขึ้น ออกกำลังกายเป็นประจำและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพราะช่วยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงานหรือแคลอรี่ ส่งผลดีต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รู้ก่อน รับมือทัน

การได้เข้าใจถึงการดำเนินโรคเเละ ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถดูเเลตนเองได้ดีขึ้น หากยังอยู่ในระยะแรกควรรีบประบพฤติกรรมสุขภาพและรับคำแนะนำในการรักษาจากคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อควบคุมเเละลดความเสี่ยงในการพัฒนาไปสู่ระยะถัด ๆ ไป [embed-health-tool-bmi] ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นภาวะเรื้องรัง เกิดจากความบกพร่องของร่างกายที่เกิดภาวะดื้ออินซูลินทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จนอาจนำไปสู่ภาวะเเทรกซ้อนที่ร้ายเเรงตามมา เช่น โรคหัวใจเเละหลอดเลือด โรคไต เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม เบาหวานขึ้นตา โดยระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ภาวะดื้ออินซูลิน ภาวะดื้ออินซูลิน คือ ภาวะที่เซลล์ของร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ตามปกติ ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดมาเปลี่ยนชใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักขึ่นเพื่อผลิตอินซูลินเพิ่มเพื่อมาพยามรักษาสมดุลระดับน้ำตาลให้ยังคงอยู่ในเกณฑ์ ดังนั้นหากทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก็จะยังคงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ระยะที่ 2 ภาวะก่อนเบาหวาน ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) คือ ภาวะที่ร่างกายเริ่มมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่ถึงระดับที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อตรวจขณะงดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่งโมง) หากไม่มีการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้ดี เพื่อควบคุมน้ำตาลให้ลดลงสู่เกณฑ์ปกติ ก็อาจพัฒนาสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้  ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของเเป้งเเละน้ำตาลสูง หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และเเนะนำไปพบคุณหมอเพื่อตรวจติดตามระดับน้ำตาลเป็นระยะ  ระยะที่ 3 เข้าสู่โรคเบาหวานชนิดที่ […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน