โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จริงหรือไม่?

แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่มีหลากหลายสายพันธุ์ตามการเพาะปลูก สภาพแวดล้อมและการดูแล แอปเปิ้ล 1 ผล มีใยอาหาร คาร์โบไฮเดรตต่ำ สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยให้ปรับปรุงระบบย่อยอาหาร ลดคอเลสเตอรอล แต่สำหรับข้อสงสัยว่า แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหรือไม่ อาจจำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หรือไม่ แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลในรูปแบบฟรุกโตส  (Fructose) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ และแตกต่างจากน้ำตาลทั่วไปที่นำมาใช้ปรุงแต่งรสชาติอาหาร หรือขนมต่าง ๆ จากข้อมูลของ American Journal of Clinical Nutrition ในปี พ.ศ. 2560 พบว่า การรับประทานฟรุกโตสแทนการได้รับกลูโคสเข้าสู่ร่างกาย อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ดี ที่สำคัญแอปเปิ้ลยังมีเส้นใยอาหารถึง 4 กรัม ที่ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลป้องกันการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และอินซูลินได้ การรับประทานแอปเปิ้ล ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถรับประทานได้แต่ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม 182 กรัม หรือแอปเปิ้ล 1 ลูกขนาดกลาง อีกทั้งควรรับประทานควบคู่กับผลไม้ และผักชนิดอื่น ๆ ตามความชอบ จากดัชนีการวัดระดับของน้ำตาล ตั้งแต่ 0-100 คะแนน ซึ่งแอปเปิ้ลถูกจัดอยู่ใน 36 คะแนน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวานลงไต ปัจจัยเสี่ยง และวิธีดูแลตัวเอง

เบาหวานลงไต หรือ โรคไตจากเบาหวาน อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ในอนาคต หากผู้ป่วยไม่ดูแลตนเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และหากพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนนี้ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม และขอรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวานลงไต  เบาหวานลงไต คืออะไร เบาหวานลงไต หรือโรคไตจากเบาหวาน (Diabetic Nephropathy) ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่เชื่อมโยงกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารพบได้บ่อยถึง 25% ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยมีสาเหตุมาจากความดันโลหิตสูง รวมถึงหลอดเลือด และเซลล์ต่าง ๆ ในไตถูกทำลาย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง ไตไม่สามารถกรองของเสียออกจากเลือดได้ หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจนำไปสู่ภาวะไตวายได้ในที่สุด ปัจจัยเสี่ยงเบาหวานลงไต เบาหวานลงไต นอกจากจะทำลายสุขภาพไตแล้ว ยังอาจนำไปสู่โรคอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โดยเฉพาะหากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีปัจจัยเหล่านี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานลงไตได้ สูบบุหรี่เป็นประจำระยะยาว คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง นอกจากปัจจัยเสี่ยงข้างต้น ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ นั่นคือ ปัจจัยทางพันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวานลงไต อาจทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ วิธีดูแลตัวเองเมื่อเบาหวานลงไต วิธีดูแลตัวเองเหล่านี้อาจช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานลงไตสามารถรับมือกับโรคได้ดีขึ้น ออกกำลังกายเป็นประจำและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพราะช่วยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงานหรือแคลอรี่ ส่งผลดีต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รู้ก่อน รับมือทัน

การได้เข้าใจถึงการดำเนินโรคเเละ ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถดูเเลตนเองได้ดีขึ้น หากยังอยู่ในระยะแรกควรรีบประบพฤติกรรมสุขภาพและรับคำแนะนำในการรักษาจากคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อควบคุมเเละลดความเสี่ยงในการพัฒนาไปสู่ระยะถัด ๆ ไป [embed-health-tool-bmi] ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นภาวะเรื้องรัง เกิดจากความบกพร่องของร่างกายที่เกิดภาวะดื้ออินซูลินทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จนอาจนำไปสู่ภาวะเเทรกซ้อนที่ร้ายเเรงตามมา เช่น โรคหัวใจเเละหลอดเลือด โรคไต เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม เบาหวานขึ้นตา โดยระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ภาวะดื้ออินซูลิน ภาวะดื้ออินซูลิน คือ ภาวะที่เซลล์ของร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ตามปกติ ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดมาเปลี่ยนชใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักขึ่นเพื่อผลิตอินซูลินเพิ่มเพื่อมาพยามรักษาสมดุลระดับน้ำตาลให้ยังคงอยู่ในเกณฑ์ ดังนั้นหากทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก็จะยังคงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ระยะที่ 2 ภาวะก่อนเบาหวาน ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) คือ ภาวะที่ร่างกายเริ่มมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่ถึงระดับที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อตรวจขณะงดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่งโมง) หากไม่มีการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้ดี เพื่อควบคุมน้ำตาลให้ลดลงสู่เกณฑ์ปกติ ก็อาจพัฒนาสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้  ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของเเป้งเเละน้ำตาลสูง หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และเเนะนำไปพบคุณหมอเพื่อตรวจติดตามระดับน้ำตาลเป็นระยะ  ระยะที่ 3 เข้าสู่โรคเบาหวานชนิดที่ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการเบาหวานระยะสุดท้าย มีอะไรบ้าง

โรคเบาหวาน หากไม่ควบคุมให้ดี อาการของโรคก็อาจเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเข้าสู่ระยะสุดท้าย ซึ่งมักเป็นระยะที่ผู้ป่วยมี ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานแล้ว รวมทั้งหากยังไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะส่งผลให้มีอาการหกระหายน้ำ หิวง่าย เหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับอาการและการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอื่น ๆ รวมทั้งดูแลสุขภาพของตนได้ดียิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] อาการเบาหวานระยะสุดท้าย อาการของโรคเบาหวานระยะสุดท้าย คือ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ที่เป็นเบาหวานปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างเรื้อรังเป็นเวลานาน ส่งผลให้กระทบต่ออวัยะวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยอาจมีอาการแสดงดังต่อไปนี้  ปัสสาวะบ่อย และตื่นมาปัสสาวะในเวลากลางคืน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ จึงส่งผลให้มีอกาารปัสสาวะบ่อยมากขึ้นผิดปกติและบางรายต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืน (แม้จะไม่ได้ดื่มน้ำช่วงที่นอนหลับไปแล้ว)  กระหายน้ำมาก เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้นจากการที่ปัสสาวะบ่อย จึงกระตุ้นให้รู้สึกกระหายน้ำและดื่มน้ำทดแทนชดเชยที่เสียไป เป็นกลไลของร่างกายเพื่อป้องกันมิให้ร่างกายขาดน้ำ  หิวง่าย ผู้ป่วยอาจมีอาการหิวง่าย หรือ บ่อยขึ้น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักมาใช้เปลี่ยนเป็นพลังงานได้ตามปกติ ส่งผลให้ร่างกายขาดพลังงาน จึงทำให้รู้สึกหิวง่าย/บ่อยขึ้นกว่าปกติ เหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากร่างกายขาดพลังงานดังที่กล่าวในข้างต้น จึงทำให้เกิดอาการอ่อน เพลียเหนื่อยล้ามากขึ้นได้  มีปัญหาเรื่องการมองเห็น ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น สามารถส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติไปจากเดิมได้ เนื่องจากเมื่อน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลต่อความเข้มข้นของของเหลวทั่วร่างกาย รวมถึงของเหลวที่อยู่ใน เลนส์ตา วุ้นลูกตา อีกทั้งหากควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีอย่างเรื้อรัง ยังเสี่ยงต่อการเกิอจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน หรือ เบาหวานขึ้นตา ได้อีกด้วย  เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี จะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง ประสิทธิภาพของเม็ดเลือดขาวในการต่อต้านกับเชื้โรคและสิ่งแปลกปลอมลดลง จึงทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้แล้วโรคเบาหวานเองอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ปัญหาการได้ยินในผู้ป่วยเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ควรมองข้าม

ปัญหาการได้ยิน เป็นอีกภาวะแทรกซ้อนที่พบได้หากผู้ป่วยเบาหวานไม่ดูแลระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเข้าสังคม จนอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมา อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลตัวเองเพื่อควบคุมและรับมือกับปัญหาการได้ยิน รวมไปถึงป้องกันมีให้เกิดปัญหานี้ได้ [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวานส่งผลต่อการได้ยินอย่างไร หูเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการรับรู้เสียง โดยหน้าที่ในการรับรู้เสียงและส่งสัญญาต่อเนื่องไปยังสมองเพื่อแปลความหมาย จะเป็นหน้าที่ขอหูชั้นใน ซึ่งเป็นส่วนที่บอบบางเนื่องจากประกอบด้วยเส้นประสาทและหลอดเลือดเป็นจำนวนมาก ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานหากปล่อยไว้เรื้อรัง มักส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อเส้นเลือดต่าง ๆ ในร่างกาย หูจึงเป็นอีกอวัยวะหนึ่งที่อาจได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย ซึ่งส่งผลทำให้เส้นประสาทและหลอดเลือดของหูชั้นในเสียหาย จนอาจทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสูญเสียความสามารถในการการได้ยินหรือรับรู้เสียงได้  ปัญหาการได้ยินในผู้ป่วยเบาหวาน มีอาการแสดงอย่างไรบ้าง อาการที่อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าผู้ป่วยเบาหวานอาจเริ่มสูญเสียการได้ยินมีดังนี้ มีความลำบากในการสื่อสารกับผู้อื่นมากขึ้นกว่าปกติ เกิดความผิดพลาดในการสื่อสารบ่อยครั้ง (กับผู้อื่นที่คุย/สื่อสารด้วยมากกว่า 1 คน) หรือเกิดความเข้าใจผิดอันเนื่องมาจากปัญหาการฟังข้อมูลที่ผิดพลาดไป มีปัญหาในการทรงตัว เช่น มีอาการเวียนศีรษะ/บ้านหมุน บ่อย ๆ หรือ มีอาการขณะที่เปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องเพิ่มระดับเสียงโทรทัศน์หรือโทรศัพท์มือถือให้ดังมากกว่าปกติ เนื่องจากไม่ได้ยินเสียง ปัญหาการได้ยินในผู้ป่วยเบาหวาน ส่งผลอย่างไร ปัญหาการได้ยินในผู้ป่วยเบาหวานหากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ด้วย ดังนี้ เพิ่มความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการรับสิ่งเร้าไม่ว่าจะเป็น ภาพ แสง/สี กลิ่น และ เสียง ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัว จะส่งผลกระตุ้นให้สมองตื่นตัวอยู่เสมอ เป็นการบริหารสมองให้แข็งแรง ดังนั้นปัญหาการได้ยินที่ลดลง จึงทำให้ร่างกายรับรู้เร้ารอบตัวน้อยลงด้วย […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 1

วิธีรับมือกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ควรทำอย่างไร

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาเพียงในการรักษามดุลระดับน้ำตาลในเลือด จึงส่งผลกระทบต่อกระบวนการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกาย รวมถึงอวัยะต่าง ๆ ในรางกาย สำหรับการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นี้ จำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลินทดแทน ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในอนาคตได้ [embed-health-tool-bmi] วิธีรับมือกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หลาย ๆ ท่านอาจมีความรู้สึกว่าการรับมือกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นเรื่องยากและวุ่นวายจนอาจทำให้มีความเครียดและวิตกกังวล ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตใจอื่น ๆ ตามมา แต่ 6 วิธีเบื้องต้นในการรับมือกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นี้อาจจะช่วยทำให้ท่านได้ทำความเข้าใจและช่วยให้สามารถรับมือกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ดีขึ้น ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ใกล้ชิด การได้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะจะช่วยให้สามารถดูแลสุขภาพของตนได้ดี รวมถึงยืดหยุ่นและเหมาะสม ทั้งในเรื่องของโภชนาการอาหาร การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และการไปพบคุณหมอตามนัด หากมีความเข้าใจก็จะช่วยให้ปรับตัวและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโรคเบาหวานได้อย่างมีความสุขมากขึ้น ให้ความร่วมมือในการรักษา เมื่อเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ควรเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไปตลอดชีวิต ความร่วมมือในการรักษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ อาจส่งผลให้อาการของเบาหวานรุนแรงขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายตามมาได้ การจัดการกับความเครียด ความเครียดเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเมือมีความวิตกกังวล การปรับพฤติกรรมสุขภาพรวมทั้งชีวิตประจำวันให้เข้ากับโรคโดยเฉพาะในระยะแรกอาจเป็นเรื่องที่ยากและขัดกับความคุ้นเคยเดิม  ไม่ว่าจะเป็นการเลือกโภชนาการอาหารที่เหมาะสม การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเองเป็นประจำ และการใช้ยาฉีดอินซูลินในการรักษาโรค หลาย ๆ ปัจจัยเหล่านี้ต่างเป็นสาเหตุที่อาจทำให้เกิดความเครียดได้  ดังนั้นการจัดการกับความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญโดยอาจหาเวลาทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น ออกกำลังกาย […]


โรคเบาหวาน

กลุ่มยารักษาเบาหวาน แต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง

ในปัจจุบันมี กลุ่มยารักษาเบาหวาน และกลไกการออกฤทธิ์ ที่ส่งผลต่อการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่หลายชนิด ทำให้ง่ายต่อการรักษาและทำให้รักษาตรงจุดมากขึ้น ซึ่งกลุ่มยารักษาเบาหวานและกลไกการออกฤทธิ์ของยาแต่ละชนิดก็อาจแตกต่างกันออกไป ดังนั้น จึงควรศึกษารายละเอียดข้อดีและข้อเสียเกี่ยวกับยารักษาเบาหวานแต่ละชนิด เพื่อเลือกยาที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด [embed-health-tool-bmi] กลุ่มยารักษาเบาหวาน และกลไกการออกฤทธิ์ กลุ่มยารักษาเบาหวาน และข้อดีข้อเสียของยาแต่ละชนิด อาจมีดังนี้ ยาในกลุ่มเมกลิทิไนด์ (Meglitinides) ยาในกลุ่มเมกลิทิไนด์ เช่น นาทิไกลไนด์ (Nateglinide) รีพาไกลไนด์ (Repaglinide) เป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการปล่อยอินซูลิน ข้อดี ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว ผลข้างเคียง อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีน้ำหนักตัวมากขึ้น อาการคลื่นไส้อาเจียน ยาในกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) เช่น ไกลพิไซด์ (Glipizide) ไกลเมพิไรด์ (Glimepiride) เป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการปล่อยอินซูลิน ข้อดี มีราคาถูก ส่งผลในการลดน้ำตาลในเลือด ผลข้างเคียง อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำหนักตัวลดลง หรือเกิดผื่นบนผิวหนัง สารยับยั้งเอนไซม์ ไตเปพทิดิล เปพทิเดส-4 (Dipeptidyl-peptidase 4 inhibitors) สารยับยั้งเอนไซม์ ไตเปพทิดิล เปพทิเดส-4 เช่น แซกซากลิปติน (Saxagliptin) ซิตากลิปติน (Sitagliptin) เป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการปล่อยอินซูลินเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 1

การปลูกถ่ายเซลล์ตับอ่อน หนึ่งทางเลือกรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1

การปลูกถ่ายเซลล์ตับอ่อน เป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 เนื่องจากตับอ่อนมีหน้าที่ผลิตอินซูลินที่สำคัญต่อระบบเผาผลาญของร่างกาย ดังนั้น การปลูกถ่ายเซลล์ตับอ่อนอาจทำให้ระบบเผาผลาญกลับมาทำงานได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจเพื่อเข้ารับการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ทำไมจึงต้องปลูกถ่ายเซลล์ตับอ่อน ตับอ่อน (Pancreas) มีความสำคัญต่อร่างกายในการย่อยสลายอาหารเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน โดยเบต้าเซลล์ในตับอ่อนมีหน้าที่ผลิตอินซูลินที่สำคัญช่วยควบคุมและไม่ให้สูงจนเกินไป แต่ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ การปลูกถ่ายเซลล์ตับอ่อนจึงเป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะเมื่อร่างกายมีตับอ่อนที่สามารถผลิตอินซูลินใช้เองได้ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อินซูลินเพื่อรักษาอีกต่อไป ความเสี่ยงของ การปลูกถ่ายเซลล์ตับอ่อน ภาวะแทรกซ้อน การผ่าตัดปลูกถ่ายเซลล์ตับอ่อนอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น เลือดอุดตันในเส้นเลือด เลือดออกผิดปกติ ติดเชื้อ มีปัญหาการเผาผลาญน้ำตาล ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ร่างกายอาจปฏิเสธตับอ่อนใหม่ ผลข้างเคียงของยาต่อต้านการปฏิเสธตับอ่อน หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องกินยาไปตลอดชีวิตเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายปฏิเสธตับอ่อนใหม่ โดยยาอาจมีผลข้างเคียง ดังนี้ อาจทำให้กระดูกบางลง สาเหตุของโรคกระดูกพรุน คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน ความไวต่อแสงแดด อาการบวม น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เหงือกบวม เป็นสิว ผมร่วงมาก การเตรียมตัวก่อนปลูกถ่ายเซลล์ตับอ่อน หากต้องการปลูกถ่ายเซลล์ตับอ่อนคุณควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำเบื้องต้น และความเสี่ยงที่อาจจะเกิด จากนั้นแพทย์จะตรวจสอบร่างกายเพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายพร้อมที่จะได้รับการผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายเซลล์ตับอ่อนหรือไม่ การดูแลตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ควรดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้พร้อมก่อนเข้ารับการรักษา ตามวิธีดังนี้ ทานยาตามที่แพทย์กำหนด ควบคุมโภชนาการอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เข้าพบหมอตามตารางนัดอยู่เสมอ สร้างสุขภาพจิตและอารมณ์ให้แจ่มใส ผลหลังการปลูกถ่ายเซลล์ตับอ่อน หลังการปลูกถ่ายตับอ่อนสำเร็จตับอ่อนใหม่จะสามารถสร้างอินซูลินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้ โดยไม่ต้องใช้ยาอินซูลินเพื่อรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 อีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังต้องกินยาเพื่อป้องกันการปฏิเสธตับอ่อนใหม่ร่วมด้วย […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 1

อาหารผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 กินอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

ร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ จึงทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ยาก อย่างไรก็ตาม การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ อาหาร ผู้ ป่วย เบาหวาน ชนิดที่ 1 อาจช่วยให้สามารถเลือกอาหารที่ควรกินและอาหารที่ไม่ควรกินได้อย่างเหมาะสม และเมื่อดูแลตัวเองด้วยวิธีอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น ออกกำลังกายเป็นประจำ ใช้ยาตามที่คุณหมอสั่ง อาจช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและรับมือกับโรคเบาหวานได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] อาหารผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ควรได้รับสารอาหารครบถ้วน หลากหลาย ในปริมาณที่เหมาะสม ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตถือเป็นแหล่งพลังงานหลักสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยควรได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตประมาณ 50% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน หรือเท่ากับคาร์โบไฮเดรตประมาณ 200-225 กรัม และควรแบ่งรับประทานคาร์โบไฮเดรตแต่ละมื้อให้เท่า ๆ กัน เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดแปรปรวน เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและเข้าสู่กระแสเลือด จึงอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาหารที่เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด พืชตระกูลถั่ว ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ไฟเบอร์ ไฟเบอร์ หรือใยอาหาร เป็นสารอาหารที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่สามารถย่อยสลายได้ จึงไม่ถูกดูดซึมไปใช้เป็นพลังงาน และถูกขับออกจากร่างกายพร้อมอุจจาระ ไฟเบอร์มีส่วนช่วยชะลอการย่อยอาหาร […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 1

เบาหวานชนิดที่ 1 รักษาให้หายขาดได้หรือไม่

เบาหวานชนิดที่ 1 หายขาดได้ไหม อาจเป็นคำถามที่หลายท่านสงสัย เนื่องจาก โรคเบาหวานเป็นนับเป็นภาวะเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เเละอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงกับอวัยวะอื่น ๆได้ เช่น หัวใจ ดวงตา ตับ ระบบประสาท เหงือก ฟัน หากผู้ที่เป็นไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes Mellitus) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับกลูโคสหรือน้ำตาลในเลือดสูงมากเกินไป เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินทดเเทนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นั้น พบได้น้อยกว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมักจะเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยอาจพบในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มากกว่าคนทั่วไป อีกทั้งโรคนี้มักวินิจฉัยพบในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น ช่วงอายุ 4-7 ปี และ 10-14 ปี สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานชนิดที่ 1 มีสาเหตุมาจากเบต้าเซลล์ (Beta Cells) ของตับอ่อนซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ถูกระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลาย ตับอ่อนจึงผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ เมื่อขาดฮอร์โมนอินซูลิน ร่างกายจึงไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นไปตามปกติได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน