โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ยาเบาหวาน คานากลิโฟซิน ยาตัวใหม่ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ยาเบาหวาน คือยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน มีทั้งยาฉีดอินซูลิน และยารับประทาน โดยยาคานากลิโฟลซิน จัดเป็นยารับประทานเพื่อรักษาโรคเบาหวานตัวใหม่ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีคุณสมบัติต่างจากยารักษาโรคเบาหวานทั่วไป โดยยาตัวนี้มีคุณสมบัติลดระดับน้ำตาลในเลือดบริเวณท่อไต จึงทำให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น แต่มีรายละเอียดอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยเบาหวานควรทำความรู้จักไว้   ยาเบาหวาน คานากลิโฟลซิน ยารักษาโรคเบาหวานตัวใหม่ ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ร่วมกับการรับประทานยาเบาหวานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งโดยปกติมียาเบาหวานหลายชนิดที่แพทย์สั่งขึ้นอยู่กับสภาวะของผู้ป่วยแต่ละคนที่แตกต่างกันไป ยาเบาหวาน ตัวใหม่มีชื่อว่า คานากลิโฟลซิน Canagliflozin หรือยาอินโวคานา (Invokana) เป็นยาชนิดรับประทานสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จัดอยู่ในกลุ่ม ยารักษาโรคเบาหวานตัวใหม่ ซึ่งออกฤทธิ์ควบคุมการดูดซึมกลับของน้ำตาลกลูโคสบริเวณท่อไต โดยการกระตุ้นให้ร่างกายกรองน้ำตาลกลูโคสออกจากเลือดมากขึ้น และขับออกทางปัสสาวะ ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยน้ำหนักไม่เพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยจะต้องควบคุมการรับประทานอาหารให้สมดุลกับน้ำหนัก และออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานตามแพทย์สั่งเท่านั้น ยาเบาหวาน คานากลิโฟลซิน ช่วยรักษาโรคเบาหวานได้อย่างไร  ยาคานากลิโฟลซิน จัดอยู่ในกลุ่ม Sodium glucose co-transporter type 2 (SGLT2) เป็นโปรตีนขนส่งกลูโคส ซึ่งทำหน้าที่ในการเพิ่มปริมาณกลูโคสที่ส่งออกทางปัสสาวะ  โดยปกติเมื่อเลือดไหลผ่านไต ไตจะกรองกลูโคสออกจากเลือด แต่ยาในกลุ่มโปรตีนขนส่งกลูโคส  (SGLT2) […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

5 วิธีดูแลผิวผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวาน มักจะมีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ จึงทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะการติดเชื้อทางผิวหนัง การเรียนรู้เกี่ยวกับ วิธีดูแลผิวผู้ป่วยเบาหวาน จึงอาจช่วยดูแลสุขภาพผิวของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้มีสุขภาพดี และช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ [embed-health-tool-bmi] ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กับสุขภาพทางผิวหนัง โรคเบาหวานมักส่งผลกระทบต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงปัญหาทางด้านผิวหนัง เนื่องจากระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ ทำให้เลือดไหลเวียนไปยังผิวหนังลดลง และเกิดการติดเชื้อทางผิวหนังได้ง่าย  อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีอาการทางผิวหนังที่ส่งผลกระทบบุคคลรอบข้างได้อีกด้วย เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อรา และอาการคัน เป็นต้น  ปัญหาทางผิวหนังที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อาการทางผิวหนังที่พบได้บ่อยใน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีดังต่อไปนี้ อาการคัน ที่อาจเกิดจากการติดเชื้อราบนผิวหนัง หรือจากการไหลเวียนของระบบเลือดที่ไม่ดี ผิวเปลี่ยนสี เช่น ผิวหนังมีสีคล้ำน้ำตาล ซึ่งพบได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง การติดเชื้อรา คือเชื้อรา Candida albicans มักพบในบริเวณที่มีความอับชื้น รอบพับตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ผิวหนังแข็งและหนา โดยส่วนใหญ่ผิวหนังบริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า จะมีลักษณะแข็งและหนาขึ้น  โรคด่างขาว เกิดจากความผิดปกติของสีผิว เมื่อเซลล์เม็ดสีถูกทำลาย จึงทำให้สีผิวมีลักษณะเป็นดวงขาว ๆ ขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย 5 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

คาร์โบไฮเดรตกับโรคเบาหวาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

คาร์โบไฮเดรตกับโรคเบาหวาน เกี่ยวข้องกันอย่างมาก เพราะหากไม่ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ เนื่องจากร่างกายจะย่อยอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส เมื่อปริมาณน้ำตาลกลูโคสเพิ่มสูงขึ้น โอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงก็ยิ่งสูงตามไปด้วยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน ความเชื่อมโยงระหว่าง คาร์โบไฮเดรตกับโรคเบาหวาน หากรับประทานอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) มากจนเกินไป อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเพราะร่างกายจะย่อยอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส เมื่อปริมาณน้ำตาลกลูโคสเพิ่มสูงขึ้น ร่างกายจึงเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานได้ง่าย ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยการลดปริมาณคาร์โบไฮเดรต (คาร์โบไฮเดรตคืออาหารประเภทน้ำตาล ข้าว แป้ง นมวัว ผักที่มีแป้งมาก) และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง  อาหารที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรรับประทานและหลีกเลี่ยง สำหรับ  ถึงแม้ว่าคาร์โบไฮเดรตจะมีส่วนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม ระดับน้ำตาลในเลือดสามารถควบคุมได้ดชด้วยการกำหนดปริมาณคาร์โบไฮเดรตหรือรับประทานอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำ โดยปกติในแต่ละวัน ร่างกายไม่ควรได้รับคาร์โบไฮเดรตเกินวันละ 30 กรัม   คาร์โบไฮเดรตที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรรับประทาน ได้แก่ ผักที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำ เช่น กะหล่ำปลี คะน้า บร็อคโคลี่ อาหารที่มีแคลอรี่ต่ำและมีไขมันดี อะโวคาโด น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว ปลา อาหารทะเล อื่น ๆ ไข่ ชีส ขนมปัง คาร์โบไฮเดรตที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผักสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

พืชผักสมุนไพรบางชนิดอาจลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และผักบางชนิดก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้เช่นกัน ดังนั้น การเลือกรับประทานผักจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกับการเลือกรับประทานอาหารต่าง ๆ โดย ผักสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ บร็อคโคลี่ บวบ ผักขม ซึ่งเป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และไฟเบอร์ที่อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ [embed-health-tool-bmi] ผักสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีความจำเป็นอย่างไร การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่อาจช่วยควบคุมเบาหวานได้โดยไม่ต้องรับประทานยา ซึ่งผักถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานผักอย่างน้อย 2.5 ถ้วย/วัน เนื่องจากผักอุดมด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และไฟเบอร์ ซึ่งมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผักสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ถึงแม้ว่าผักจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย แต่ไม่ได้หมายความว่าผักทุกชนิดจะเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยผักที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรเป็นผักที่มีดัชนีน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งเมื่อรับประทานแล้วไม่ทำให้ค่าระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นทันที ซึ่งอาจมีดังนี้ แครอท แครอทอุดมด้วยไฟเบอร์และวิตามินเอ ซึ่งมีความสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากนี้ อาจช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและบำรุงสุขภาพดวงตาให้แข็งแรงอีกด้วย จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Preventive Nutrition and Food Science เมื่อ พ.ศ. 2561 ศึกษาเกี่ยวกับแครอทผงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด พบว่า การเสริมแครอทเข้าไปในมื้ออาหารช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อความผิดปกติของหัวใจและการต่อต้านอนุมูลอิสระ อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของแครอทต่อผู้ป่วยเบาหวานต่อไป บร็อคโคลี่ บร็อคโคลี่อุดมด้วยสารอาหารพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ซึ่งมีส่วนช่วยปรับสมดุลภายในลำไส้  และยังช่วยเผาผลาญกลูโคสและคอเลสเตอรอลภายในร่างกาย จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Preventive Nutrition and Food […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผลข้างเคียงของยาเบาหวาน ที่ควรรู้

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes mellitus) นอกจากการปรับพฤติกรรมสุขภาพแล้ว ยังจำเป็นต้องรับประทานยาลดระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอด้วย เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม แต่ในผู้ป่วยบางราย อาจเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น  อาการไม่สบายท้อง คลื่นไส้ เบื่ออาหาร หรือ อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ จึงควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนการใช้ยา และใช้รับประทานยาตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลข้างเคียงดังกล่าว [embed-health-tool-bmi] ยารักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเบื้องต้นคุณหมอจะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวัน เช่น การเลิกสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาล ควบคุมน้ำหนัก รวมทังออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย ร่วมกับการใช้ยาลดระดับน้ำตาล โดยยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีดังต่อไปนี้ ยาที่ช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ได้แก่ ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) และ ยากลุ่มเมกลิทิไนด์ (Meglitinides) ยาเมดฟอร์มิน (Metformin) ซึ่งช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน และ ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ ยากลุ่มที่ช่วยในเซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น ได้แก่  ยากลุ่มไทอะโซลิดิไดโอน (Thiazolidinediones) ยากลุ่มที่ยับยั้งเอนไซม์ดีพีพี-4 (Dipeptidyl peptidase-4 inhibitors)  ยาลดระดับน้ำตาลกลุ่มที่ออกฤทธิ์ผ่านฮอร์โมนที่สร้างจากลำไส้ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

5 ผลไม้สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องให้ความใส่ใจ เพราะหากไม่ระมัดระวังอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับผลไม้สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อให้รู้ว่าผลไม้แบบไหนที่ควรเลือกรับประทาน ผลไม้แบบไหนที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้สามารถควบคุมอาการของโรคเบาหวานได้ดียิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] 5 ผลไม้สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ผลไม้ ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีดังต่อไปนี้ 1. ลูกพีช ลูกพีช เป็นอีกหนึ่ง ผลไม้ ที่มีกลิ่นหอม รสชาติหวานฉ่ำ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับรับประทานเป็นอาหารว่าง โดยลูกพีช 1 ผลขนาดกลาง ให้พลังงาน 59 แคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 14 กรัม วิตามินซี 10 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 285 มิลลิกรัม 2. แอปริคอต  แอปริคอต เป็น ผลไม้ ประจำฤดูร้อน ที่มีรสชาติหวาน อุดมด้วยไฟเบอร์ ซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร โดยแอปริคอต 1 ลูก ให้พลังงาน 17 แคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 4 กรัม 3. ส้ม  ส้ม จัดเป็น ผลไม้ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้หญิงเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าผู้ชาย เพราะอะไร

เนื่องจากร่างกายของเพศหญิงจะมีการผลิตฮอร์โมนเพศ ชื่อว่า เอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลช่วยเสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินในการกระตุ้นให้เซลล์นำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเปลี่ยนใช้เป็นพลังงานของร่างกาย ทั้งนี้ หากร่างกายมีอินซูลินมีไม่เพียงพอ หรือ มีฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงหรือผิดปกติไป จะส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดก็ผิดปกติตามไปด้วย ทำให้เพศหญิงจึงอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ง่ายกว่าเพศชาย  [embed-health-tool-bmi] ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้ ผู้หญิงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าผู้ชาย ผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากอาจมีพฤติกรรมหรือภาวะสุขภาพที่เอื้อต่อการเกิดโรคเบาหวาน ดังต่อไปนี้ เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง ทำให้สมดุลร่างกายแปรปรวน อาจส่งผลต่อสุขภาพด้านต่าง ๆ รวมทั้งภาวะเบาหวาน ผู้หญิงอาจทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายหรือออกแรงน้อยกว่า ทำให้เสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน เป็นภาวะอ้วน หรือมีคอเลสเตอรอลสูง จึงเพิ่มความเสี่ยงของเบาหวาน เคยมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความชอบรับประทานขนมหวาน น้ำหวาน เครื่องดื่มที่ให้น้ำตาลสูง เช่น ชานมไข่มุก มีความเครียดหรือความวิตกกังวลสูง เพศหญิงอาจเป็นเพศที่คิดมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง อีกทั้งฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดหลั่งมากขึ้น นับเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีภาวะสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะดื้อต่ออินซูลินในร่างกาย เช่น โรคถุงน้ำรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome หรือ PCOS) วิธีลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2  สามารถลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานได้ โดยปฏิบัติตัวตามคำแนะนำเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ เลิกสูบบุหรี่ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

5 ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน อาจเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มักเลือกรับประทาน ซึ่งมีทั้งรูปแบบของสมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยควรรับประทานควบคู่กับยารักษาโรคเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มักเลือกรับประทานอาหารเสริม ทั้งในรูปแบบของสมุนไพร และในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควบคู่ไปกับยารักษาโรคเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกชนิด รวมถึงอ่านรายละเอียดและข้อบ่งใช้ให้ชัดเจนก่อนใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนั้น ๆ  5 ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อบเชย  อบเชยอุดมไปด้วยโพลีฟีนอล ซึ่งเป็นสารพฤกษศาสตร์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Journal of Medicinal Food เมื่อ พ.ศ. 2554 ศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคอบเชยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดจากการอดอาหาร พบว่า อบเชยทั้งในรูปแบบสมุนไพรและแบบสารสกัด มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และสร้างการตอบสนองต่ออินซูลิน เพียงรับประทานสารสกัดจากอบเชย 120 หรือ 360 มิลลิกรัม ก่อนอาหารเช้า ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารลดลง 11% หรือ 14% โสม จินซิโนไซด์ (Ginsenoside) ซึ่งเป็นสารสกัดในโสม อาจปรับสมดุลของร่างกายให้เป็นปกติ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Molecules เมื่อ พ.ศ. 2562 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

อินทผลัม ส่งผลอย่างไรต่อ โรคเบาหวาน

อินทผลัม เป็นผลไม้ที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย และยังมีส่วนช่วยบำรุงตับอ่อน เพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่จำเป็นต้องควบคุมการบริโภคคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล อย่างไรก็ตาม การรับประทานอินทผลัมในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ดังนั้น จึงควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม และรับประทานอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย [embed-health-tool-bmr] อินทผลัมช่วยรักษาโรคเบาหวาน ได้จริงหรือไม่ ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ การรับประทาน อินทผาลัม ไม่สามารถรักษาโรคเบาหวานได้ แต่สามารถควบคุมอาการ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ เนื่องจาก อินทผาลัม อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะปริมาณน้ำตาลใน อินทผาลัม เป็นสารน้ำตาลจากธรรมชาติ จึงไม่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นแต่อย่างใด อินทผลัมมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างไร จากผลการศึกษาการวิจัยในปี พ.ศ. 2558 ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 15 คน พบว่า หลังจากรับประทาน อินทผาลัม ปริมาณ 15 กรัม 120 นาทีผ่านไป น้ำตาลในเลือดยังคงอยู่ในระดับคงที่ไม่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากรับประทาน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอินทผลัมจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากเพียงใด เพื่อสุขภาพที่ดีเราก็ควรเลือกรับประทานอินทผลัมในปริมาณที่เหมาะสม เพราะถ้าหากรับประทานมากจนเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมสูง และปริมาณน้ำตาลอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้  5 คุณประโยชน์จากอินทผลัม สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อินทผาลัม อุดมด้วยคุณค่าทางสารอาหาร ที่มีคุณประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังต่อไปนี้ สารต้านอนุมูลอิสระ อินทผลัมอุดมด้วยสารพอลิฟีนอล (Polyphenols) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบของร่างกาย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

การตรวจสุขภาพเท้า ผู้ป่วยเบาหวาน สำคัญอย่างไร

การตรวจสุขภาพเท้า เป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเท้า จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเท้าเป็นประจำ รวมถึงควบคุมอาการของโรคเบาหวานให้ดี วัดระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] การตรวจสุขภาพเท้า สำคัญกับผู้ป่วยเบาหวานอย่างไร ปัญหาแผลที่เท้า เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสม ปัญหาแผลที่เท้าอาจร้ายแรงถึงขั้นถูกตัดเท้าหรือตัดขาได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานอาจลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าได้ด้วย การตรวจสุขภาพเท้า อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงดูแลเท้าอย่างเหมาะสม เช่น การตัดเล็บอย่างถูกวิธี ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น งดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่อาจทำให้เลือดที่บริเวณขาและเท้าไหลเวียนได้ลำบาก จนส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวานได้ ปัญหาสุขภาพเท้า ที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ปัญหาสุขภาพเท้า ที่พบบ่อยได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังต่อไปนี้ ขาหรือเท้าบวม อาการชาบริเวณนิ้วเท้า แผลที่เท้าหายช้า เล็บขบหรือมีเชื้อราบริเวณเล็บ  ผิวบริเวณส้นเท้าแห้งแตกหรือลอก สีผิวคล้ำขึ้นกว่าปกติ รู้สึกปวดหรือเสียวซ่าบริเวณเท้าหรือข้อเท้า ตาปลา หากผู้ป่วยเบาหวานพบว่ามีอาการข้างต้น ควรไปพบคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพเท้าและวินิจฉัยอาการโดยเร็ว คุณหมอจะได้รักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสม เพราะหากปล่อยไว้ อาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นต้องตัดขาหรือตัดเท้าได้ การป้องกันปัญหาสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ร่วมกับการดูแลดังต่อไปนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น ปัญหาสุขภาพเท้า ได้  ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น ออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นปานกลางด้วยการเดินเร็ว วันละ 30 นาที อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์  หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน