โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

สำรวจ โรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุและวิธีป้องกัน

ภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากการที่ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม จนกระทั่งน้ำตาลในเลือดเข้าไปทำลายโครงสร้างของกระดูก กระดูกเริ่มเปราะบาง แตกหรือหักง่าย ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนซึ่งนับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่อสุขภาพ ภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน โรคเบาหวานชนิดที่ 2  เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาโรคเบาหวานชนิดต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากภาวะภายในร่างกายไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม น้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นอาจทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเกิดการอักเสบเรื้อรัง รวมทั้งเข้าไปทำลายโครงสร้างคอลลาเจนของกระดูก ทำให้มวลกระดูกเปราะบาง แตกหักได้ง่ายและนำไปสู่ภาวะกระดูกพรุน ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือภาวะอ้วน เป็นต้น  ยารักษาโรคเบาหวานที่มีผลต่อกระดูก นอกจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอาจก่อให้เกิดภาวะกระดูกพรุนแล้ว ยารักษาโรคเบาหวานบางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้เช่นกัน ดังกลุ่มยาต่อไปนี้ ยากลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones : TZDs) มีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมการสร้างอินซูลิน  แต่หากใช้ยาในระยะยาว อาจมีผลข้างเคียงทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน กระดูกเสื่อมได้ ยาคานากลิโฟลซิน (Canagliflozin) เป็นยารักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีคุณสมบัติช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่หากใช้ยาในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน 5 เคล็ดลับ ป้องกันภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน เคล็ดลับง่าย ๆ ในการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังต่อไปนี้ รับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก เน้นอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ผักใบสีเขียวเข้ม ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ อาหารและเครื่องดื่มเสริมแคลเซียม ออกกำลังกาย การออกกำลังเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เวย์โปรตีนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวาน

เวย์โปรตีนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้หรือไม่ อาจเป็นคำถามที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานหลายคนสงสัย เวย์โปรตีนเป็นอาหารเสริมโปรตีนที่มีคุณภาพสูง ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย มีคุณสมบัติแตกต่างจากโปรตีนชนิดอื่น เนื่องจากมีไขมันต่ำ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การรับประทานเวย์โปรตีนก่อนมื้ออาหาร ช่วยกระตุ้นอินซูลิน ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้น  เวย์โปรตีนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้จริงหรือไม่ เวย์โปรตีนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยผลการวิจัยที่บรรยายในที่ประชุมวิชาชีพเบาหวานแห่งสหราชอาณาจักร พบว่า การรับประทานเวย์โปรตีนก่อนมื้ออาหาร จะช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน และช่วยควบคุมให้ระดับน้ำตาลลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้น  นอกจากนี้ผลการวิจัยในที่ประชุมทางการแพทย์ โดย ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ Daniela Jakubowicz มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ (Tel Aviv) ในประเทศอิสราเอล เมื่อวันที่ 1 เมษายน ปี พ.ศ. 2559 พบว่า จากผลการวิจัยในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและอยู่ในภาวะอ้วน จำนวน 48 คน ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเฉลี่ยมีอายุ 59 ปี พบว่า หลังจากรับประทานเวย์โปรตีนติดต่อกัน 3 เดือน จะรู้สึกอิ่มนานขึ้นและหิวน้อยลงตลอดทั้งวัน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงหลังรับประทานอาหารและยังส่งผลให้น้ำหนักลดลงอีกด้วย  คุณประโยชน์จากเวย์โปรตีนต่อผู้ป่วยเบาหวาน  เวย์โปรตีน เป็นโปรตีนที่อุดมด้วยคุณค่าทางสารอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนี้ กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เวย์โปรตีน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในผู้ป่วยเบาหวาน มีข้อควรระวังอย่างไร

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในผู้ป่วยเบาหวาน มีเป้าหมายเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานเชื้อไวรัสชนิดนี้ เป็นการป้องกันและลดความความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 รวมทั้งลดความรุนเเรงหรืออาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหากติดเชื้อโควิด-19 ทั้งนี้ผู้ที่เป็นเบาหวานนับเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เปราะบางที่จำเป็นต้องสังเกตอาการทั้งก่อนและหลังฉีดวัคซีนอย่างใกล้ชิด [embed-health-tool-heart-rate] ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในผู้ป่วยเบาหวาน มีข้อควรรู้อะไรบ้าง สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย (Diabetes Assocition of Thailand) ได้ให้คำแนะนำสำหรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยเบาหวาน ดังต่อไปนี้ หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรเฝ้าระวังด้วยการหมั่นเจาะตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเองในช่วง 48 ชั่วโมงหลังฉีดวัคซีน เเละควรดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ สำหรับคุณเเม่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หากติดเชื้อโควิด-19 ควรปรึกษารีบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทันที เพราะนับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการของโควิด-19 ได้รุนเเรงกว่าคนทั่วไป อีกทั้งในปัจจุบันยังไม่ข้อมูลในเเง่ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนในกลุ่มคุณเเม่ที่ตั้งครรภ์ ถึงแม้ผู้ป่วยเบาหวานจะได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไม่ควรละเลยการป้องกันและดูแลตนเอง เพราะเเม้จะฉีดวัคซีนเเล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานควรรักษาสุขอนามัยอยู่เสมอ เช่น สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม เมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีอาการเจ็บป่วย หรือกำลังอยู่ในช่วงรักษาอาการป่วย หรือเคยมีประวัติการแพ้วัคซีน หรือ ควรปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ก่อนฉีดวัคซีน ไม่จำเป็นต้องงดอาหารหรือยาโรคประจำตัวก่อนมาฉีดวัคซีน วัคซีนป้องกันโควิด-19 ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือไม่? วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ได้รับการอนุญาตจากองค์การอาหารเเละยาทั้งของประเทศไทยเเละต่างประเทศ ในปัจจุบัน ได้เเก่ วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer BioNTech) วัคซีนโมเดอร์นา […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน

ความดันโลหิตสูง คือ ผลข้างเคียงของโรคเบาหวาน เนื่องจาก โรคเบาหวานสร้างความเสียหายต่อหลอดเลือด และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งนำไปสู่การเกิดความดันโลหิตสูง โดยการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์อาจทำได้ด้วยการเลือกรับผระทานอาหาร ออกกำลังกาย นอกจากนี้ ศาสตร์แพทย์แผนจีนอย่าง นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่อช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ [embed-health-tool-heart-rate] นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ลดความดันโลหิตได้จริงหรือ นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง เป็นวิธีการรักษาตามศาสตร์แพทย์แผนจีน โดยการใช้นิ้วมือกดตามจุดสำคัญต่าง ๆ บนร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ระบบหมุนเวียนเลือดทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจช่วยป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวานได้ จากการวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Evidence-based Complementary and Alternative Medicine เมื่อ พ.ศ. 2559 พบว่า หลังจากการนวดกดจุดตำแหน่ง ไท่จง (Taichong Acupoint) จะช่วยให้ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure หรือ SBP) ลดลงทันที 15-30 นาที  3 ตำแหน่งนวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ตำแหน่งสำคัญในการนวดกดจุดที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอาจมีดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่ 1 จุดไท่จง Taichong (LV3) หรือ จุดตับ ตำแหน่งนี้อยู่ระหว่างจุดกำเนิดของนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้าง คือ ตำแหน่งระหว่างหัวแม่เท้าและนิ้วเท้า […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานในวัยเด็ก ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกัน

เบาหวานในวัยเด็ก เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มักเกิดขึ้นในเด็กที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน ส่งผลให้ร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน จึงทำให้ร่างกายมีการจัดการกับน้ำตาลบกพร่อง และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงตามมา ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว ดังนั้น การได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและวิธีการดูเเลเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน จะช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเเทรกซ้อนต่อสุขภาพในระยะยาวได้ [embed-health-tool-bmi] ทำความรู้จัก โรคเบาหวานในวัยเด็ก ในปัจจุบันได้มีเด็กและวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะความอ้วน ซึ่งส่งผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม หรือ ปล่อยให้มีระดับนำ้ตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงจากโรคเบาหวานได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต เบาหวานขึ้นตา เเละ เส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน ทั้งนี้หากลูก/หลานของท่านเป็นเบาหวาน ควรรีบไปพบเเพทย์เพื่อรับกรรักษาเเละควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีในระยะยาว  ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เด็กเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เบาหวานในวัยเด็ก มีดังต่อไปนี้ น้ำหนักเกิน เด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือ เป็นโรคอ้วน นับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง จนนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในที่สุด ปัจจัยทางพันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นโรคเบาหวาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ น้ำหนักแรกคลอด เด็กที่มีนำ้หนักเเรกคลอดมากกว่า 4 […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ผลข้างเคียงจากการใช้อินซูลินเกินขนาด และวิธีการรับมือ

อินซูลิน (Insulin) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน นับเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีที่สุด โดยอินซูลินแต่ละชนิดจะออกฤทธิ์แตกต่างกันไป ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงจำเป็นต้องศึกษาถึงวิธีการใช้อินซูลินอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด ผลข้างเคียงจากการใช้อินซูลินเกินขนาด ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการใจสั่น มือสั่น ที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้หากรับมืออย่างไม่เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] เหตุใดผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จึงต้องฉีดอินซูลิน? แม้ว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีสาเหตุหลัก ๆ จากร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน มิได้ขาดฮอร์โมนอินซูลินดังเช่น ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 แต่อย่างไรก็ตามก็มีผูู้้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวนไม่น้อยที่จำเป็นต้องใช้ยาฉีดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ร่วมด้วย เช่น ผู้ที่รับประทานยาเม็ดแล้วไม่ได้ผล หรือ ยังไม่สามารถลดระดับน้ำตาลลงได้ตามเป้าหมาย หรือ อาจมีภาวะสุขภาพอื่น/โรคร่วม ที่เป็นข้อจำกัดของยาชนิดรับประทาน รวมทั้งผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก ๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลินควบคุมให้ดีช่วงแรกก่อน   ผลข้างเคียงจากการใช้อินซูลินเกินขนาด มีอะไรบ้าง ผลของการใช้อินซูลินเกินขนาด อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจมีอาการดังต่อไปนี้ อาการสับสน มึนงง อาการหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่ายวิตกกังวล วิงเวียน/ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก ตัวเย็น ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น มือสั่น  รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง วิธีรับมือผลข้างเคียงจากการใช้อินซูลินเกินขนาด การใช้ยาอินซูลินเกินขนาด […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจพบได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วอาจได้รับยาหรือมีพฤติกรรมที่ทำให้ยาลดระดับน้ำตาลหรืออินซูลินที่ใช้ ปริมาณอาหารที่รับประทาน รวมถึงกิจกรรมที่ใช้พลังงานในแต่ละวันไม่สมดุลกัน จนเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำตามมา ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที อาจทำให้อาการรุนเเรงขึ้นจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ สิ่งสำคัญคือจะต้องได้รับการประเมินอาการอย่างถูกต้องและรวดเร็ว รวมถึงทราบวิธีการรักษาเบื้องต้นที่เหมาะสม เพื่อมิให้อาการทรุดลงจนถึงขั้นอันตราย ดังนั้น หากทราบถึงวิธี การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ก็อาจช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ดูแลทำความเข้าใจและมีความรู้ในการดูแลตนเอง ป้องกัน รวมถึงแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้อย่างมั่นใจ [embed-health-tool-heart-rate] ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คืออะไร ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ในผู้ที่เป็นเบาหวาน คือ ภาวะที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โดยสาเหตุมักเกิดจากได้รับยาเบาหวาน หรืออินซูลินมากจนเกินไป นอกจากนี้อาจมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ม รวมถึงการออกกำลังกายมากกว่าปกติด้วย หากผู้ป่วยเบาหวานมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น และหากไม่รีบแก้ไขอย่างทันท่วงที อาการอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มไหนบ้าง ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อปริมาณยาลดระดับน้ำตาลหรืออินซูลินที่ได้รับ ปริมาณอาหารที่รับประทาน รวมถึงกิจกรรมที่ใช้พลังงานในแต่ละวันไม่สมดุลกันจะก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้   ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจมีดังนี้ ใช้อินซูลินหรือยาลดระดับน้ำตาลกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ในปริมาณที่สูง รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรืออดอาหารบางมื้อ ออกกำลังกายมากหักโหม หรือ มีกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากกว่าปกติ ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ๆ  เด็กเล็กและผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมาเป็นระยะเวลานาน ๆ (มากกว่า 5-10 ปี) มีโรคร่วม […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ยาเบาหวาน คานากลิโฟซิน ยาตัวใหม่ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ยาเบาหวาน คือยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน มีทั้งยาฉีดอินซูลิน และยารับประทาน โดยยาคานากลิโฟลซิน จัดเป็นยารับประทานเพื่อรักษาโรคเบาหวานตัวใหม่ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีคุณสมบัติต่างจากยารักษาโรคเบาหวานทั่วไป โดยยาตัวนี้มีคุณสมบัติลดระดับน้ำตาลในเลือดบริเวณท่อไต จึงทำให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น แต่มีรายละเอียดอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยเบาหวานควรทำความรู้จักไว้   ยาเบาหวาน คานากลิโฟลซิน ยารักษาโรคเบาหวานตัวใหม่ ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ร่วมกับการรับประทานยาเบาหวานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งโดยปกติมียาเบาหวานหลายชนิดที่แพทย์สั่งขึ้นอยู่กับสภาวะของผู้ป่วยแต่ละคนที่แตกต่างกันไป ยาเบาหวาน ตัวใหม่มีชื่อว่า คานากลิโฟลซิน Canagliflozin หรือยาอินโวคานา (Invokana) เป็นยาชนิดรับประทานสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จัดอยู่ในกลุ่ม ยารักษาโรคเบาหวานตัวใหม่ ซึ่งออกฤทธิ์ควบคุมการดูดซึมกลับของน้ำตาลกลูโคสบริเวณท่อไต โดยการกระตุ้นให้ร่างกายกรองน้ำตาลกลูโคสออกจากเลือดมากขึ้น และขับออกทางปัสสาวะ ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยน้ำหนักไม่เพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยจะต้องควบคุมการรับประทานอาหารให้สมดุลกับน้ำหนัก และออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานตามแพทย์สั่งเท่านั้น ยาเบาหวาน คานากลิโฟลซิน ช่วยรักษาโรคเบาหวานได้อย่างไร  ยาคานากลิโฟลซิน จัดอยู่ในกลุ่ม Sodium glucose co-transporter type 2 (SGLT2) เป็นโปรตีนขนส่งกลูโคส ซึ่งทำหน้าที่ในการเพิ่มปริมาณกลูโคสที่ส่งออกทางปัสสาวะ  โดยปกติเมื่อเลือดไหลผ่านไต ไตจะกรองกลูโคสออกจากเลือด แต่ยาในกลุ่มโปรตีนขนส่งกลูโคส  (SGLT2) […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

5 วิธีดูแลผิวผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวาน มักจะมีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ จึงทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะการติดเชื้อทางผิวหนัง การเรียนรู้เกี่ยวกับ วิธีดูแลผิวผู้ป่วยเบาหวาน จึงอาจช่วยดูแลสุขภาพผิวของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้มีสุขภาพดี และช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ [embed-health-tool-bmi] ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กับสุขภาพทางผิวหนัง โรคเบาหวานมักส่งผลกระทบต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงปัญหาทางด้านผิวหนัง เนื่องจากระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ ทำให้เลือดไหลเวียนไปยังผิวหนังลดลง และเกิดการติดเชื้อทางผิวหนังได้ง่าย  อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีอาการทางผิวหนังที่ส่งผลกระทบบุคคลรอบข้างได้อีกด้วย เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อรา และอาการคัน เป็นต้น  ปัญหาทางผิวหนังที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อาการทางผิวหนังที่พบได้บ่อยใน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีดังต่อไปนี้ อาการคัน ที่อาจเกิดจากการติดเชื้อราบนผิวหนัง หรือจากการไหลเวียนของระบบเลือดที่ไม่ดี ผิวเปลี่ยนสี เช่น ผิวหนังมีสีคล้ำน้ำตาล ซึ่งพบได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง การติดเชื้อรา คือเชื้อรา Candida albicans มักพบในบริเวณที่มีความอับชื้น รอบพับตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ผิวหนังแข็งและหนา โดยส่วนใหญ่ผิวหนังบริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า จะมีลักษณะแข็งและหนาขึ้น  โรคด่างขาว เกิดจากความผิดปกติของสีผิว เมื่อเซลล์เม็ดสีถูกทำลาย จึงทำให้สีผิวมีลักษณะเป็นดวงขาว ๆ ขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย 5 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

คาร์โบไฮเดรตกับโรคเบาหวาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

คาร์โบไฮเดรตกับโรคเบาหวาน เกี่ยวข้องกันอย่างมาก เพราะหากไม่ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ เนื่องจากร่างกายจะย่อยอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส เมื่อปริมาณน้ำตาลกลูโคสเพิ่มสูงขึ้น โอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงก็ยิ่งสูงตามไปด้วยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน ความเชื่อมโยงระหว่าง คาร์โบไฮเดรตกับโรคเบาหวาน หากรับประทานอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) มากจนเกินไป อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเพราะร่างกายจะย่อยอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส เมื่อปริมาณน้ำตาลกลูโคสเพิ่มสูงขึ้น ร่างกายจึงเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานได้ง่าย ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยการลดปริมาณคาร์โบไฮเดรต (คาร์โบไฮเดรตคืออาหารประเภทน้ำตาล ข้าว แป้ง นมวัว ผักที่มีแป้งมาก) และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง  อาหารที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรรับประทานและหลีกเลี่ยง สำหรับ  ถึงแม้ว่าคาร์โบไฮเดรตจะมีส่วนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม ระดับน้ำตาลในเลือดสามารถควบคุมได้ดชด้วยการกำหนดปริมาณคาร์โบไฮเดรตหรือรับประทานอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำ โดยปกติในแต่ละวัน ร่างกายไม่ควรได้รับคาร์โบไฮเดรตเกินวันละ 30 กรัม   คาร์โบไฮเดรตที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรรับประทาน ได้แก่ ผักที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำ เช่น กะหล่ำปลี คะน้า บร็อคโคลี่ อาหารที่มีแคลอรี่ต่ำและมีไขมันดี อะโวคาโด น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว ปลา อาหารทะเล อื่น ๆ ไข่ ชีส ขนมปัง คาร์โบไฮเดรตที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน