โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

เบาหวานชนิดที่ 1 และ เบาหวานชนิดที่ 2 แตกต่างกันอย่างไร

เบาหวาน (Diabetes) เป็นโรคยอดฮิตที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย ซึ่งพบอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นทุกปี สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation : IDF) และองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทั่วโลกตระหนักในการป้องกันโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังอาจจะเข้าใจผิดว่า สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน คือการกินหวาน หรือกินน้ำตาลเพียงอย่างเดียว แต่อันที่จริงแล้ว สาเหตุของโรคเบาหวานนั้นมีมากมาย ขึ้นอยู่กับชนิดของเบาหวาน ซึ่งแน่นอนว่ามีมากกว่า เบาหวานชนิดที่ 1 และ เบาหวานชนิดที่ 2 โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถจำแนก โรคเบาหวาน ตามสาเหตุการเกิดได้ 4 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 2 เบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน ชนิดที่คนส่วนใหญ่มักสับสนคือ เบาหวานชนิดที่ 1 […]


โรคเบาหวาน

ค่าดัชนีน้ำตาล ตัวแปรสำคัญในการช่วยควบคุมเบาหวาน

การดูแลอาหารการกินของตัวเองให้ดี เป็นอีกหนึ่งวิธีในการรับมือกับโรคเบาหวานสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน เพราะอาหารที่กินเข้าไปอาจส่งผลกระทบต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และหากอยากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจก็ควรทำความเข้าใจเรื่อง ค่าดัชนีน้ำตาล ด้วย [embed-health-tool-bmi] ค่าดัชนีน้ำตาล คืออะไร ค่าดัชนีน้ำตาล หรือ ดัชนีไกลซีมิก (Glycemic Index หรือ GI) คือ ตัวเลขชี้วัดว่าอาหารแต่ละชนิดจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างไร เป็นค่าที่บอกว่ากินอาหารเข้าไปแล้ว อาหารชนิดนั้น ๆ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นช้าหรือเร็วแค่ไหน โดยการจัดลำดับค่าดัชนีน้ำตาลมีตัวเลขตั้งแต่ 0-100 และแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ สูง กลาง ต่ำ ดังนี้ ค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 55 ค่าดัชนีน้ำตาลปานกลาง 56-69 ค่าดัชนีน้ำตาลสูง 70 ขึ้นไป อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำจะถูกย่อยและปล่อยกลูโคส (Glucose) เข้าสู่กระแสเลือดอย่างช้า ๆ และคงที่ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นช้าและขึ้นอย่างคงที่ตามไปด้วย ในขณะที่อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงจะถูกย่อยและปล่อยกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นได้ในเวลาอันสั้น โดยปกติแล้ว คุณหมออาจแนะนำให้ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักกินอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ส่วนผู้ที่ต้องการฟื้นฟูพลังงานอย่างรวดเร็ว เช่น คนที่เพิ่งออกกำลังกายเสร็จ นักวิ่งมาราธอน ควรกินอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ค่าดัชนีน้ำตาลในอาหาร ส่งผลต่อเบาหวานอย่างไร ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวานลงไต อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

หากสังเกตตนเองแล้วพบว่าอวัยวะบางส่วน เช่น เท้า มือ มีอาการบวมขึ้น พร้อมทั้งมีความดันโลหิตสูงมากขึ้นกว่าปกติ เเนะนำให้รีบไปพบคุณหมอ เพื่อทำการตรวจ วินิจฉัยเพิ่มเติมโดยเร็ว เพราะอาการดังกล่าวนี้ เป็นสัญญาณของ ภาวะเบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) ได้ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ เบาหวานลงไต คืออะไร โรคเบาหวานลงไต หรือ ภาวะเบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ทั้งในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่1 (Type 1 diabetes) และ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes) โดยไตจะมีประสิทธิภาพในการทำงานลงเรื่อย โดยที่ไตเป็นอวัยวะหลักที่ทำหน้าที่ในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ดังนั้น เมื่อไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ จึงส่งผลให้ของเสียในร่างกายคั่งเเละเกิดอาการ รวมถึงควาผิดปกติของระบบอื่น ๆ ตามมา หรืออาจกล่าวง่ายๆ ว่าอาการนี้ก็คือ โรคไตจากเบาหวาน นั่นเอง เบาหวานลงไต พบบ่อยเพียงใด ภาวะเบาหวานลงไต (Diabetic Kidney Disease) พบได้ประมาณมากถึง 25 เปอร์เซ็นต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน สาเหตุ วิธีป้องกัน

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อกลไกการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกาย หากปล่อยไว้ไม่รักษาหรือควบคุมอาการให้ดี หรือหากมีพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ก็จะยิ่งทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดมีปัญหา จนนำไปสู่ ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน ยิ่งเป็นเบาหวานเป็นเวลานาน ความสามารถในการควบคุมน้ำตาลในเลือดของร่างกายก็จะยิ่งลดลง และความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น และหากปล่อยไว้ไม่รักษา ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานก็จะรุนแรงขึ้น จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่พบได้บ่อย มีดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ภาวะคีโตซิส ภาวะคีโตซิส (Diabetic Ketoacidosis : DKA) คือ ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งบางครั้งแค่การกินยาหรือฉีดยาอินซูลิน (Insulin) ก็ไม่สามารถช่วยให้หายเป็นปกติได้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และหากเป็นภาวะฉุกเฉิน อาจต้องเข้ารักษาในแผนกผู้ป่วยหนัก หรือไอซียู เพื่อให้น้ำเกลือและอินซูลินอย่างระมัดระวัง อย่างน้อย 12-24 ชั่วโมง  และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งจะซ้ำเติมให้อาการแย่ลงได้ ภาวะเลือดมีความเข้มข้นสูงจากภาวะน้ำตาลในเลือดเกิน ภาวะเลือดมีความเข้มข้นสูงจากภาวะน้ำตาลในเลือดเกิน (Hyperosmolar Hyperglycaemic State : HHS) พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มักมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การติดเชื้อ ภาวะขาดน้ำ หรือหากหยุดยาเบาหวานก็สามารถทำให้เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนนี้จะมีอาการปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้ ผิวแห้ง สับสนงุนงง เป็นต้น […]


โรคเบาหวาน

กลิ่นปากคล้ายน้ำยาล้างเล็บ สัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน

กลิ่นปากคล้ายน้ำยาล้างเล็บ หรืออะซิโตน (Acetone) อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคเบาหวานและมีน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากอะซิโตน คือ คีโตนประเภทหนึ่ง มีกลิ่นคล้ายผลไม้ จัดเป็นสารประกอบหลักของน้ำยาล้างเล็บ ซึ่งอาจทำให้มีกลิ่นปากคล้ายน้ำยาล้างเล็บ หรือกลิ่นคล้ายผลไม้หวาน ๆ เมื่อคีโตก่อตัวเพิ่มขึ้นจะเพิ่มความเป็นกรดในเลือด ซึ่งอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้ กลิ่นปากคล้ายน้ำยาล้างเล็บ เกี่ยวข้องกับเบาหวานยังไง โดยปกติแล้ว ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) มีหน้าที่ย่อยน้ำตาลกลูโคสในเลือด เพื่อให้เซลล์สามารถดูดซึมไปใช้เป็นพลังงานได้ แต่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ร่างกายจะไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ หรือไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายไม่ได้รับพลังงานจากกลูโคส และเริ่มดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงานแทน กระบวนการเผาผลาญไขมันเป็นพลังงานนี้ เรียกว่า คีโตซิส (Ketosis) ผลพลอยได้จากการสลายไขมันเป็นพลังงานนี้ คือ ตับจะปล่อยสารคีโตน (Ketone) เช่น อะซิโตน ออกมา อะซิโตน (Acetone) คือ คีโตนประเภทหนึ่ง มีกลิ่นคล้ายผลไม้ จัดเป็นสารประกอบหลักของน้ำยาล้างเล็บ หากใคร มีกลิ่นปาก คล้ายน้ำยาล้างเล็บ หรือกลิ่นคล้ายผลไม้หวาน ๆ ก็อาจเป็นสัญญาณของการป่วยเป็นโรคเบาหวาน และมีน้ำตาลในเลือดสูง เมื่อคีโตก่อตัวเพิ่มขึ้นจะเพิ่มความเป็นกรดในเลือด และหากสูงถึงขั้นเป็นอันตรายหรือเป็นพิษต่อร่างกาย จะเรียกว่า ภาวะคีโตซิส (Diabetic Ketoacidosis หรือ DKA) […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผอม เสี่ยงเบาหวาน ได้อย่างไร และควรดูแลตัวเองอย่างไร

ผอม เสี่ยงเบาหวาน ได้อย่างไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย เนื่องจากน้ำหนักตัวที่ลดลงอาจทำให้ร่างกายขาดพลังงาน ขาดน้ำ อ่อนเพลีย รวมถึงอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น พันธุกรรม การรับประทานอาหาร พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ก็อาจเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อาจทำให้คนผอมเสี่ยงเป็นเบาหวานได้ ดังนั้น การดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] น้ำหนักเท่าไหร่ที่หมายถึงคนผอม การคำนวณหาค่าเฉลี่ยในเรื่องของน้ำหนักที่ถูกต้องควรจะเป็นไปตามหลักการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI โดยใช้น้ำหนักและส่วนสูงในการคำนวณเพื่อหาค่าดัชนีมวลกาย ตามสูตรดังนี้ BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง เช่น น้ำหนัก 56 กิโลกรัม ส่วนสูง 175 เซนติเมตร แปลงหน่วยเป็นเมตรจะได้ 1.75 เมตร และจะได้สูตรออกมาดังนี้ 56 ÷ (1.75 x 1.75) = 18.30 ค่า BMI จึงเท่ากับ 18.30  ผลของค่า BMI  ค่า BMI 18.5 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

อาหารเสริม เบาหวาน ที่อาจช่วยให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น

การดูแลรักษาร่างกายของตัวเองขณะเป็นเบาหวาน อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครหลายคน โดยเฉพาะการที่จะต้องควบคุมการรับประทานอาหารอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาระดับของน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในการควบคุม หลายคนที่เป็นเบาหวาน อาจจะรู้สึกกังวลว่าตัวเองจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีพอ อย่างไรก็ตาม การรับประทาน วิตามิน อาหารเสริม เบาหวาน อาจช่วยให้ควบคุม เบาหวาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาหารเสริม คืออะไร อาหารเสริม (Food Supplements) หมายถึงสารประกอบที่มีวิตามิน แร่ธาตุ หรือสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เช่น สมุนไพร หรือวิตามินและอาหารเสริมในรูปแบบเม็ด เรามักจะรับประทานอาหารเสริมเพื่อช่วยเพิ่มสารอาหารบางชนิด ที่ร่างกายของเราอาจจะต้องการเป็นพิเศษ รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการรับประทานอาหารเสริมแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานก็ควรที่จะใช้ยารักษาโรคเบาหวานตามปกติเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติอยู่เสมอ วิตามินและ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน วิตามินและอาหารเสริม ที่อาจช่วยให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น อาจมีดังนี้ โครเมียม (Chromium) โครเมียมเป็นแร่ธาตุที่พบได้น้อย แต่จำเป็นสำหรับร่างกาย โครเมียมจะใช้ในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและมีส่วนช่วยให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลกลูโคสมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้วิตามิน สำหรับการรักษาโรคเบาหวานนั้นยังไม่มีผลที่ชัดเจนนัก การรับประทานอาหารเสริมนี้ในขนาดต่ำอาจจะปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ยังต้องการงานวิจัยเพิ่มขึ้นที่จะชี้ชัดว่า การรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้จะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีภาวะขาดโครเมียมอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ การเสริมโครเมียมโดยไม่จำเป็นอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปได้ แมกนีเซียม (Magnesium) ผู้ที่มีปัญหากับเกี่ยวกับการหลั่งอินซูลิน และผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานประเภทที่ 2 นั้น มักจะมีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดนักว่า การบริโภคอาหารเสริมแมกนีเซียมนั้นจะช่วยบรรเทาหรือลดปัญหาเหล่านี้ได้หรือไม่ วิตามินบี 1 หรือไทอะมีน (Thiamine) คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานนั้นมักจะมีภาวะขาดไทอะมีนด้วยเช่นกัน สารไทอะมีนนั้นเป็นวิตามินที่สามารถละลายน้ำได้ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ความเสี่ยงเบาหวาน วิธีการตรวจเพื่อประเมินเบื้องต้น

ในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานปีละประมาณ 20,000 คน ทั้งยังมีแนวโน้มจะมีผู้ป่วยสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีอีกด้วย พบว่า กว่า 50% ของผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานไม่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคนี้ จึงไม่ได้เข้ารับรักษา หรือควบคุมโรคอย่างถูกวิธี ดังนั้น การประเมิน ความเสี่ยงเบาหวาน เบื้องต้นให้ทราบว่าตัวเองเป็นเบาหวาน หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานหรือไม่นั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจาก หากรู้ตัวเร็วก็อาจเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ทั้งยังลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] การตรวจเพื่อประเมิน ความเสี่ยงเบาหวาน การตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี การตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c หรือ Hemoglobin A1c) เรียกสั้น ๆ ว่า การตรวจเอวันซี (A1c) เป็นการตรวจค่าน้ำตาลสะสม ซึ่งบ่งบอกถึงการควบคุมน้ำตาลในเลือดโดยเฉลี่ยนในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา สามารถใช้ในการประเมินความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ทั้งโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และยังเป็นการตรวจที่คุณหมอใช้เพื่อประเมินการรักษาและการควบคุมโรคเบาหวานของผู้ป่วยอีกด้วย การตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี เป็นการตรวจน้ำตาลที่มาจับกับ ฮีโมโกลบิน ของเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งฮีโมโกลบินนี้ เป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่นำออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย หากมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จากการที่รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินกว่าที่ร่างกายจะนำไปใช้ น้ำตาลในเลือดก็จะไปจับกับฮีโมโกลบินสะสมเพิ่มมากขึ้นจนทำให้ฮีโมโกลบินเอวันซีเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามมา การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ ควรดูแลตัวเองอย่างไร

โรคเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) เป็นโรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้กับหญิงตั้งครรภ์แทบทุกคน และอาจเกิดขึ้นได้ในทุกระยะของการตั้งครรภ์ แต่โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 24-28 อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หรือเป็นโรคเบาหวาน สามารถรักษาตามคำแนะนำและวิธีการของคุณหมอเพื่อให้ตนเองและลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพดีได้ [embed-health-tool-due-date] โรคเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร โดยทั่วไปคุณแม่ตั้งครรภ์ย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มากกว่าผู้หญิงปกติที่ไม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากเมื่อเริ่มมีการตั้งครรภ์ ร่างกายของเพศหญิงจะมีความสามารถในการตอบสนองต่ออินซูลินลดลง เพื่อให้ร่างกายมีน้ำตาลเพียงพอที่จะให้พลังงานในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรปรึกษากับคุณหมอที่รับฝากครรภ์ หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพตามใบนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังและคอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อายุ หากมีอายุ 35 ปีขึ้นไป อาจจะมีความเสี่ยงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ น้ำหนัก หากมีน้ำหนักเกิน หรือมีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) มากกว่า 35 ขึ้นไป ก่อนตั้งครรภ์ ชาติพันธุ์ หากมีเชื้อสายแอฟริกา เชื้อสายเอเชีย เชื้อสายสเปน หรือเชื้อสายชนพื้นเมืองอเมริกัน กรรมพันธุ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีกรรมพันธ์ุ ประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน ย่อมมีความเสี่ยงโรคเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ มีภาวะก่อนเบาหวานอยู่ก่อนแล้ว หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงก่อนตั้งครรภ์ เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เคยผ่านการเป็นเบาหวานมาก่อนในการตั้งครรภ์ครั้งแรก ย่อมมีความเสี่ยงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

พฤติกรรมเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ที่ควรระวัง

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes) เป็นโรคเบาหวานที่พบมากที่สุด โดยจากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ป่วย โรคเบาหวานกว่า 90-95% เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เพียง ประมาณ 5% ซึ่งสาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม และ มีพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้แล้ว หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคเบาหวาน ก็มีแนวโน้มว่าที่จะพบมีโรคร่วมอื่น ๆ หรือ อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนร่วมพร้อมกันอีกด้วยเช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต [embed-health-tool-bmi] พฤติกรรมเสี่ยงเบาหวาน มีอะไรบ้าง รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การรับระทานอาหารขยะ (Junk food) บ่อย ๆ เช่น น้ำอัดลม ของทอด เฟรนช์ฟรายส์ มันฝรั่งทอดกรอบ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากถึง 70% ดังนั้น พฤติกรรมการบริโภคและชนิดของอาหารที่รับประทาน เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน ดังนั้น หากไม่อยากเป็นโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ อาหารที่มีน้ำตาลสูง […]

advertisement iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม