โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

สำรวจ โรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการคันในผู้ป่วยโรคเบาหวาน กับวิธีดูแลผิวให้ชุ่มชื้นและปลอดภัย

อาการคันในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นอาการที่ยากจะหลีกเลี่ยง เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มักจะมีสภาพผิวหนังที่ค่อนข้างแห้ง เนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทำให้การหมุนเวียนของเลือดทำงานได้ไม่ดีนัก ส่งผลต่อสภาพผิวหนัง รวมทั้งอาจทำให้ติดเชื้อง่าย และหายจากแผลยาก ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจหาวิธีบรรเทาอาการในเบื้องต้นรวมทั้งเคล็ดลับดูแลผิวให้ชุ่มชื้นขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงอาการแทรกซ้อนจากโรคผิวหนัง [embed-health-tool-bmi] อาการคันในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบรุนแรงต่ออวัยวะต่าง ๆ เช่น กระจกตา ไต  ปลายประสาท ผิวหนัง 1 ใน 3 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มักมีอาการทางผิวหนัง เช่น คัน แห้ง แต่อาการที่ร้ายแรงที่สุด ได้แก่ แผลเรื้อรังที่หายยาก เนื่องจากเป็นผลมาจากกระบวนการสมานแผลของร่างกายที่ไม่มีประสิทธิภาพ แผลเหล่านี้มักทำให้เกิดการติดเชื้อและอาจถึงขั้นต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นทิ้งเพื่อไม่ให้อาการติดเชื้อลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย วิธีป้องกันอาการคัน วิธีป้องกันอาการคัน และรักษาความชุ่มชื้น ไม่ให้ผิวแห้งกร้านมากนัก อาจลองปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้ 1. ควบคุมภาวะโรคเบาหวาน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริการทางการแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหาร การออกกำลังกาย  และการใช้ยา เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม เพราะหากระดับน้ำตาลอยู่ในภาวะปกติ อาการคันหรือปัญหาผิวหนังอาจลดลงหรืออย่างน้อยไม่รุนแรงมากขึ้น 2. ทำความสะอาดผิวอย่างระมัดระวัง เริ่มต้นจากการอาบน้ำอุ่นและใช้สบู่ รวมทั้งยาสระผมซึ่งมีส่วนผสมของสารให้ความชุ่มชื้น และอ่อนโยนต่อสภาพผิวหนังและสภาพเส้นผม เพราะผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ไม่เหมาะสม จะยิ่งทำให้ผิวแห้งขึ้น และไม่ลืมที่จะล้างทำความสะอาดบริเวณซอกมุมต่าง ๆ เช่น ข้อพับที่แขน นิ้วเท้า ใต้ราวนม รักแร้ ให้สะอาด และซับให้แห้ง […]


โรคเบาหวาน

อินซูลิน (Insulin)

อินซูลิน (Insulin) จะช่วยกักเก็บน้ำตาลไว้ในตับแล้วปล่อยออกมาเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือเมื่อร่างกายต้องการน้ำตาลมากขึ้น ข้อบ่งใช้อินซูลิน ใช้สำหรับ หากระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงกว่าปกติ อินซูลิน (Insulin) จะช่วยกักเก็บน้ำตาลไว้ในตับแล้วปล่อยออกมาเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดของคุณต่ำหรือเมื่อร่างกายต้องการน้ำตาลมากขึ้น เช่น ระหว่างมื้ออาหารหรือขณะกำลังออกกำลังกาย ดังนั้นยาอินซูลินจะช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดและทำให้อยู่ในช่วงปกติ ยาอินซูลินที่ใช้สำหรับรักษาโรคเบาหวานมีหลายประเภท ดังนี้ ยาอินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว ยาจะเริ่มออกฤทธิ์ประมาณ 15 นาทีหลังจากฉีดเข้าไปและออกฤทธิ์สูงสุดที่ประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ยังคงออกฤทธิ์ต่อไปอีกเป็นเวลา 2-4 ชั่วโมง ยานี้มักจะรับประทานก่อนมื้ออาหารและใช้เสริมกับยาอินซูลินออกฤทธิ์นาน ประเภท ยาอินซูลิน กลูไลซีน (Insulin glulisine) อย่าง อะปิดา (Apidra) ยาอินซูลิน ลิสโปร (Insulin lispro) อย่าง ฮูมาล็อก (Humalog) และยาอินซูลิน แอสพาร์ท (Insulin aspart) อย่าง โนโวล็อก (NovoLog) ยาอินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปกติ ยาจะเริ่มออกฤทธิ์ประมาณ 30 นาทีหลังจากฉีดยาและออกฤทธิ์สูงสุดที่ประมาณ 2 ถึง 3 ชั่วโมง แต่ยังคงออกฤทธิ์ต่อไปอีกเป็นเวลา 3-6 ชั่วโมง ยานี้มักจะรับประทานก่อนมื้ออาหารและใช้เสริมกับยาอินซูลินออกฤทธิ์นาน ประเภท ฮูมูลิน อาร์ (Humulin R) โนโวลิน อาร์ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล กับข้อควรรู้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือน้ำตาลเทียม คือ สารที่ใช้เติมในอาหารและเครื่องดื่ม สามารถให้รสชาติหวานได้เหมือนน้ำตาล แต่อาจไม่มีแคลอรี่หรือคาร์โบไฮเดรตเหมือนน้ำตาล จึงอาจเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือด เช่น โรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสารให้ความหวานแทนน้ำตาล อาจช่วยให้บริโภคสารชนิดนี้ได้เหมาะสมและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพได้ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล คืออะไร สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือน้ำตาลเทียม คือ สารที่ใช้เติมในอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเพิ่มรสหวานได้เหมือนน้ำตาล แต่อาจไม่มีแคลอรี่หรือคาร์โบไฮเดรตเหมือนน้ำตาล นิยมใช้ในอาหารและเครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการ เช่น น้ำอัดลม ขนมอบ ขนมหวานแช่แข็ง ลูกอม โยเกิร์ตแคลอรี่ต่ำ หมากฝรั่ง หรือบางคนอาจเติมสารให้ความหวานแทนน้ำตาลในกาแฟ ชา และซีเรียลได้ด้วย ในปัจจุบัน มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA) และกระทรวงสาธารณสุขไทยรับรองให้ใช้ได้อย่างปลอดภัย ดังนี้ แอสปาร์แตม (Aspartame) ให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200 เท่า อย่างไรก็ตาม ระดับความหวานที่ได้อาจลดลงหากเติมในอาหารหรือเครื่องดื่มร้อนจัด ผู้ที่เป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria หรือ PKU) ซึ่งเป็นภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยสลายกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน ควรหลีกเลี่ยงสารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดนี้ เอซีซัลเฟม โพแทสเซียม (Acesulfame Potassium) หรือที่เรียกว่า […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน อาการขาและเท้าบวม

หนึ่งใน ภาวะ แทรกซ้อนของโรค เบาหวาน ที่พบได้บ่อยคือ อาการขาและเท้าบวม ซึ่งเกิดเนื่องมาจากการที่ร่างกายมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้ ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้อย่างไม่เป็นปกติ เลือดจึงไหลเวียนได้ไม่สะดวก เกิดการคั่งของของเหลวในเนื้อเยื่อที่ขาเเละเท้า หรือที่รู้จักกันว่า อาการบวมน้ำ ตามมา ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงเกิดอาการขาบวม เเละ ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมกันได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของ อาการขาและเท้าบวมจากโรคเบาหวาน อาการขาและเท้าบวมเกิดจากการสะสมของเหลวในเนื้อเยื่อ ที่เรียกว่า อาการบวมน้ำ (Edema) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็มในปริมาณมาก ๆ  หรือการอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ผู้ป่วยเบาหวาน อาจพบภาวะขาและเท้าบวมได้ เนื่องจากมีการไหลเวียนเลือดที่ไม่ดี มีภาวะหลอดเลือดดำบกพร่อง ปัญหาสุขภาพหัวใจ ปัญหาตับ ผลข้างเคียงจากยาบางกลุ่ม หรือในผู้ที่ต้องใช้ยาฉีดอินซูลินในขนาดสูง ๆ วิธีลด ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน อย่างอาการขาและเท้าบวม วิธีง่าย ๆ ในการรับมือกับ อาการบวมที่ขาและเท้าจากโรคเบาหวาน มีดังนี้ 1. ใช้ถุงเท้าสำหรับรัดกล้ามเนื้อขา (Graduated compression socks) การสวมใส่ถุงเท้าสำหรับรัดกล้ามเนื้อขาโดยเฉพาะ ช่วยเพิ่มความดันที่ขาและเท้าให้เหมาะสมขึ้น จึงช่วยให้เลือดมีการไหลเวียนได้ดีขึ้น ไม่คั่งค้าง จนทำให้ก็เกิดอาการขาเเละเท้าบวมตามมา อย่างไรก็ตาม ถุงเท้าชนิดนี้ เป็นถุงเท้าทางการเเพทย์ที่ออกกเเบบสำหรับช่วยเพิ่มความดันโดยเฉพาะ จึงอาจต้องจัดหาจากโรงพยาบาล […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

การรักษาโรคเบาหวาน โดยการใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน

การรักษาโรคเบาหวาน คือการรักษาภาวะที่ระดับน้ำตาลกลูโคสในร่างกายสูงกว่าให้อยู่ในภาวะปกติ โดยอาจมีการใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า แต่ทั้งนี้ จำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและรักษาอาการ ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด ประเภทของโรคเบาหวาน โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากการที่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้​ระดับน้ำตาลในเลือดสูง โรคเบาหวานมี 2 ประเภท ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำลายเซลล์ที่ทำหน้าที่หลั่งอินซูลิน (Insulin) ทำให้การผลิตอินซูลินในร่างกายลดลง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้ดีเท่าที่ควร ทำให้ร่างกายเกิดภาวะที่เรียกว่า การต่อต้านอินซูลิน ยาที่ใช้สำหรับ การรักษาโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานทั้งสองชนิด จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยใช้ยา เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยแต่ละคนนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคเบาหวานที่เป็น ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มจากการใช้ ยาเมดฟอร์มิน (Metformin) ซึ่งเป็นยาที่ใช้รับประทาน เพื่อลดปริมาณกลูโคสที่ตับผลิตออกมามากเกินไป การใช้ยาหลายชนิดร่วมกันในการรักษาโรคเบาหวาน เมื่อการผลิตอินซูลินตามธรรมชาติลดลงเรื่อย ๆ แพทย์มักเพิ่มยารับประทาน หรืออินซูลินสำหรับฉีด หากยาเมดฟอร์มิน ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ แพทย์อาจเพิ่ม ยาซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ซึ่งกระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น หรือแพทย์อาจเพิ่ม ยาไธอะโซลิดินีไดโอน (Thiazolidinedione) ที่ช่วยเพิ่มความสามารถของเซลล์ในการดูดซึมอินซูลิน ปัจจุบัน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ความไวต่ออินซูลิน หรือ insulin sensitivity คือ อะไร

ความไวต่ออินซูลิน หรือ insulin sensitivity คือ การตอบสนองของเซลล์ต่ออินซูลิน ซึ่งหากจะให้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้นนั่นก็คือ ถ้าร่างกายมีความไวต่ออินซูลินต่ำ ก็อาจสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้นั่นเอง ดังนั้นการปรับปรุงความไวต่ออินซูลินให้ดีขึ้นด้วยวิธีธรรมชาติ ที่ Hello คุณหมอ นำมาฝากทุกคนวันนี้ จึงอาจช่วยลดภาวะดื้ออินซูลินลงได้ รวมถึงลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน ได้อีกด้วย ความไวต่ออินซูลิน หรือ Insulin sensitivity คือ อะไร อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่ง ความไวต่ออินซูลิน (Insulin sensitivity) หมายถึง การตอบสนองของเซลล์ต่ออินซูลิน ถ้าร่างกายมีความไวต่ออินซูลินต่ำ ก็อาจหมายความได้ว่าคุณกำลังประสบกับภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistant) อยู่ก็เป็นได้ เพราะเซลล์ที่เกิดภาวะดื้ออินซูลิน จะทำให้ไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเมื่อตับอ่อนรับรู้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก็จะผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้นเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งนับว่าการเกิดภาวะดื้ออินซูลินที่ปล่อยไว้เป็นเวลานานจึงอาจนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในที่สุด วิธี เพิ่มความไวต่ออินซูลิน ด้วยวิธีธรรมชาติ เป็นที่ทราบกันดีว่าการมีความไวต่ออินซูลินต่ำ สามารถส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง แต่ก็ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ อีกมากมายไม่แพ้กัน เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ซึ่งเบื้องต้นนั้นคุณควรหมั่นดูแลตนเองเพื่อ เพิ่มความไวต่ออินซูลิน ในร่างกายได้ด้วยวิธีธรรมชาติ ดังต่อไปนี้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากคุณนอนน้อย หรือนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ดื้ออินซูลิน ควรเลือกรับประทานอาหารอย่างไร

ดื้ออินซูลิน เป็นภาวะที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน เนื่องจากเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินที่มีส่วนช่วยในการนำกลูโคสจากอาหารมาใช้เป็นพลังงาน หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็ง และปัญหาทางสายตา ดื้ออินซูลิน คืออะไร ดื้ออินซูลิน คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในกล้ามเนื้อไม่ตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินที่เป็นฮอร์โมนสร้างจากตับอ่อน ซึ่งมีส่วนช่วยในการนำน้ำตาลในเลือดจากอาหารมาใช้เป็นพลังงาน เพื่อให้ร่างกายสามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้สึกอ่อนแรง ฮอร์โมนอินซูลินจะหลั่งออกมาเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เพื่อควบคุมให้น้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง พัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือโรคหัวใจ ส่วนใหญ่ภาวะดื้ออินซูลินพบได้บ่อยในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ รวมถึงการได้รับพันธุกรรมมาจากครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน สัญญาณเตือนของภาวะดื้ออินซูลิน สัญญาณเตือนของภาวะดื้ออินซูลิน อาจสังเกตได้ ดังนี้ ระดับความดันโลหิตสูงเกิน 130/80 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ชายมีระดับคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และผู้หญิงมีระดับคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้หญิงมีรอบเอวเกิน 35 นิ้ว ส่วนผู้ชายมีรอบเอวเกิน 40 นิ้ว ระดับไตรกลีเซอรไรด์มากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ติ่งเนื้อบนผิวหนัง อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน อาหารสำหรับผู้ป่วยที่เป็นภาวะดื้ออินซูลิน อาจมีดังนี้ ผัก ควรเลือกรับประทานผักสดที่อุดมไปด้วยสารอาหาร และแคลอรี่ต่ำ เช่น […]


โรคเบาหวาน

วิธี ลดน้ำตาลในเลือด ทำได้ด้วยตนเองเพื่อลดเสี่ยงเบาหวาน

วิธี ลดน้ำตาลในเลือด สามารถทำได้ด้วยตนเองเพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน หรือช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมอาการเบาหวาน และช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวานได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอก่อนเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ โดยเฉพาะผู้ที่กำลังรับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-bmi] ทำไมต้องลดน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดสูงส่งผลกระทบต่อการผลิตอินซูลินของเซลล์ในตับอ่อน หากปล่อยไว้จนตับได้รับความเสียหายถาวร จะยิ่งทำให้ระดับอินซูลินเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงยังอาจทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) ส่งผลกระทบต่ออวัยวะแทบทุกส่วน และทำให้หลอดเลือดเสียหายได้ด้วย ปัญหาสุขภาพจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไต หรือภาวะไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย สูญเสียการมองเห็น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ทำให้เสี่ยงติดเชื้อมากขึ้น ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เส้นประสาทเสียหาย เลือดในบริเวณขาและเท้าไหลเวียนได้ไม่ดี แผลหายช้า และอาจต้องตัดแขนขาในบางกรณี เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเหล่านี้ ควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ โดยสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า ผู้ป่วยเบาหวานหา วิธี ลดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ที่ 70-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก่อนรับประทานอาหาร และน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังกิรับประทานอาหาร 10 วิธี ลดน้ำตาลในเลือด วิธี ลดน้ำตาลในเลือด สามารถทำได้ด้วยตนเอง ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้ 1. ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายจะเพิ่มความไวต่ออินซูลิน และช่วยให้กล้ามเนื้อนำน้ำตาลจากเลือดมาใช้เป็นพลังงาน จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 2. ควบคุมคาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตจะสลายเป็นกลูโคส ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานกับการนอนหลับ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

โรคเบาหวานกับการนอนหลับ อาจมีความเกี่ยวของกัน เนื่องจาก โรคเบาหวานอาจส่งผลกระทบต่อการนอน ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคเบาหวานมีปัญหานอนไม่หลับ นอนไม่เพียงพอ หรือนอนหลับมากเกินไป รวมทั้งยังอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนอนหลับผิดปกติชนิดต่าง ๆ ได้อีกด้วย โรคเบาหวานกับการนอนหลับ เกี่ยวข้องกันอย่างไร หากระดับน้ำตาลกูลโคสมากขึ้น อาจรู้สึกกระหายน้ำและต้องตื่นมาดื่มน้ำกลางดึก นอกจานี้ก เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาจส่งผลให้ไตทำงานหนักจนทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นในตอนกลางคืน ซึ่งการไปเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ อาจทำให้นอนหลับไม่สนิท ปวดศีรษะ และอ่อนเพลีย ในทางตรงกันข้าม การไม่รับประทานอาหารเป็นเวลาหลายชั่วโมงหรือการใช้ยารักษาโรคเบาหวานที่ผิดวิธี อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำในเวลากลางคืน ซึ่งอาจทำให้ฝันร้าย เหงื่อออก รู้สึกหงุดหงิดหรือสับสนเมื่อตื่นนอน จากการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Sleep Research พ.ศ. 2564 ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างการรบกวนการนอนหลับกับโรคเบาหวาน เพื่อตรวจสอบว่าเบาหวานสามารถการรบกวนการนอนหลับ ทำให้นอนหลับยาก นอนไม่หลับ หรือนอนหลับมากเกินไปได้หรือไม่ พบว่า โรคเบาหวานกับการนอนหลับนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างชัดเจน และการนอนหลับไม่เพียงพออาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน และอาจเป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ ภาวะนอนหลับผิดปกติกับโรคเบาหวาน ภาวะนอนหลับผิดปกติเหล่านี้ อาจส่งผลกระทบกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าคนปกติ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นหนึ่งในอาการนอนหลับผิดปกติที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ร่างกายจะหยุดหายใจและเริ่มหายใจใหม่ซ้ำ ๆ ตลอดคืน ซึ่งภาวะหยุดหายใจขณะหลับพบมากในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพราะมักมีน้ำหนักเกิน จึงส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ หากพบว่าตัวเองรู้สึกเหนื่อยล้าระหว่างวัน และนอนกรนตอนกลางคืน อาจเป็นสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ดังนั้นจึงควรรักษาสุขภาพ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

prediabetes คือ อะไร มีวิธีสังเกต และรับมืออย่างไรบ้าง

prediabetes คือ ภาวะก่อนเบาหวาน หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน แต่มีแนวโน้มและเพิ่มความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การหมั่นดูแลสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เช่น การวบคุมอาหาร รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี อาจลดความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานได้ คำจำกัดความprediabetes คือ อะไร ภาวะก่อนเบาหวาน คือ ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยปกติค่าน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 70-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่ามีความเสี่ยงภาวะก่อนเบาหวาน โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ    อาการอาการของภาวะก่อนเบาหวาน อาการของภาวะก่อนเบาหวาน ที่พบได้บ่อย คือ สีผิวเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณคอ รักแร้ ข้อศอก เข่า ข้อนิ้วมือ รวมถึงอาการอื่น ๆ  มีดังนี้ กระหายน้ำมากขึ้น ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยล้า มองเห็นไม่ชัด สาเหตุสาเหตุของ ภาวะก่อนเบาหวาน ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะก่อนเบาหวาน แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่าพันธุกรรมอาจมีส่วนสำคัญในการเพิ่มปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากความผิดปกติในยีนที่ควบคุมกระบวนการผลิตอินซูลิน อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเหมาะสม และเมื่อระดับอินซูลินลดลง อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน รวมถึงการขาดออกกำลังหาย ไขมันสะสม ภาวะน้ำหนักเกิน […]

advertisement iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม