เตรียมตัวก่อนคลอด

ยิ่งใกล้กำหนดคลอดมากเท่าไหร่ คุณแม่หลายคนก็อาจจะยิ่งมีความกังวลใจมากขึ้นเท่านั้น แต่การเตรียมตัวที่ดี ก็อาจช่วยลดความวิตกกังวล และลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้มากขึ้นเท่านั้น เรียนรู้เทคนิคการ เตรียมตัวก่อนคลอด กับ Hello คุณหมอ ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เตรียมตัวก่อนคลอด

ของใช้เตรียมคลอด ไปโรงพยาบาล ต้องเตรียมอะไรบ้าง

ในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่ควรค่อย ๆ จัดกระเป๋าของใช้เตรียมคลอดไปโรงพยาบาลเสียแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตัดสินใจคลอดธรรมชาติ เพื่อเตรียมความพร้อม เช็คลิสต์ ของใช้เตรียมคลอด ได้อย่างครบถ้วน ทั้งอุปกรณ์ ของใช้ ของแม่และทารก รวมถึงเอกสารสำคัญที่ควรรวบรวมเก็บไว้ในที่เดียวกัน ให้ง่ายต่อการขนย้ายในวันที่เจ็บท้องคลอด [embed-health-tool-due-date] ของใช้เตรียมคลอด ไปโรงพยาบาล มีอะไรบ้าง สำหรับข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นในการเก็บกระเป๋าเตรียมคลอดไปโรงพยาบาล คุณแม่อาจมีเช็คลิสต์ของใช้เตรียมคลอด โดยแยกเป็นหมวดหมู่ 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ของใช้สำหรับคุณแม่ ของใช้สำหรับทารก และเอกสารสำคัญ ตัวอย่างเช่น ของใช้ส่วนตัวของคุณแม่ ได้แก่ สบู่  ยาสระผม  ยาสีฟัน  แปรงสีฟัน  โฟมล้างหน้า  ครีมบำรุงผิว ผ้าเช็ดตัว แผ่นอนามัยหรือผ้าอนามัย หลังคลอดคุณแม่จะมีน้ำคาวปลา จึงควรเตรียมเผื่อเอาไว้ เสื้อผ้าสำหรับคุณแม่ใส่ในวันกลับบ้าน 1 ชุด ควรเลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบาย สวมง่าย เป็นชุดที่ให้นมลูกได้ โดยเฉพาะกางเกงชั้นในควรเลือกที่ใส่สบาย  ผ้ารัดหน้าท้อง ควรมีไว้เพื่อกระชับเอวให้เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น เตรียมของสำหรับการให้นม เช่น ชุดชั้นในให้นม และแผ่นซับน้ำนมเพื่อป้องกันน้ำนมซึมเปื้อน รองเท้า ควรเลือกส้นเตี้ยสวมใส่ได้สบาย แว่นตา กรณีที่สายตามีปัญหา โทรศัพท์มือถือ […]

สำรวจ เตรียมตัวก่อนคลอด

เตรียมตัวก่อนคลอด

ของเตรียมคลอด ที่ควรเตรียมพร้อมก่อนคลอด

ของเตรียมคลอด ควรเตรียมให้พร้อมทั้งของคุณแม่ คุณพ่อ และของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นของใช้ส่วนตัว เอกสารสำคัญ รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อความสะดวกสบายในระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาลทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด นอกจากนี้ คุณแม่ควรดูแลสุขภาพก่อนคลอดอยู่เสมอ เพื่อให้คลอดง่าย ฟื้นตัวหลังคลอดง่าย และส่งเสริมให้คุณแม่และทารกมีสุขภาพที่ดี [embed-health-tool-due-date] การวางแผนและการดูแลสุขภาพก่อนคลอด ก่อนคลอดว่าที่คุณแม่ควรวางแผนในการดูแลสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตและอื่น ๆ ดังนี้ พบคุณหมออยู่เสมอ ทั้งก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ และก่อนคลอด ควรเข้าพบคุณหมอตามนัดอยู่เสมอเพื่อปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพของคุณแม่และสุขภาพของทารกในครรภ์ เพื่อคุณหมอจะได้ตรวจสอบสุขภาพร่างกาย เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิต โรคเรื้อรังอื่น ๆ คุณหมออาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมหรือการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มกาแฟ หรือการใช้ยาบางชนิดที่อาจไม่เหมาะในระหว่างการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ คุณหมออาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนทั้งก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เชื้อเอชพีวี ไวรัสตับอักเสบบีและเอ หัดเยอรมัน และวัคซีนคอตีบไอกรนบาดทะยัก เนื่องจากการฉีดวัคซีนที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม อาจช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ทั้งยังช่วยให้ทารกไม่ป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพ การรับประทานกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัม เป็นประจำทุกวัน สำหรับคุณแม่ก่อนคลอด หากได้รับกรดโฟลิกอย่างเพียงพออย่างน้อย 1 […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

วินาทีคลอดลูก ขั้นตอนและการเตรียมตัว มีอะไรบ้าง

วินาทีคลอดลูก เป็นช่วงเวลาที่สำคัญต่อชีวิตของคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยเริ่มขึ้นตั้งแต่การที่มดลูกเริ่มหดตัว ปากมดลูกขยายตัวเต็มที่พร้อมคลอด และการจัดการหลังคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคลอดธรรมชาติ คุณแม่อาจต้องผ่านช่วงเวลาที่เจ็บปวดระหว่างคลอดอย่างยาวนานหลายชั่วโมง ดังนั้น การเตรียมตัวก่อนคลอด เพื่อทราบถึงวิธีการจัดการกับความเจ็บปวดระหว่างคลอด จึงอาจช่วยลดความเครียดในวินาทีคลอดลูกได้ [embed-health-tool-due-date] วินาทีคลอดลูกหมายถึงช่วงเวลาใดบ้าง วินาทีคลอดลูก เป็นวินาทีสำคัญที่ทารกกำลังจะออกมาลืมตาดูโลก โดยผ่านกระบวนการคลอดในขั้นตอนเหล่านี้ ระยะที่ 1 การหดตัวของมดลูก ปากมดลูกค่อย ๆ เปิดออกและนิ่มลง ซึ่งการหดตัวนี้อาจจะเกิดขึ้นก่อนคลอดเป็นเวลาหลายวันหรือหลายชั่วโมง ในระยะนี้คุณแม่ควรผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ตั้งตัวตรงเมื่อนั่งหรือยืนและเคลื่อนไหวอย่างระมัดระวัง การฝึกหายใจ การนวด หรืออาบน้ำอุ่นอาจช่วยบรรเทาอาการปวดในระยะแรกของการคลอดได้ ปากมดลูกจะขยายตัวเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 8-12 ชั่วโมง และอาจเร็วกว่านั้น 5 ชั่วโมง สำหรับการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 หรือ 3 ในทุก ๆ 15 นาที พยาบาลอาจใช้หูฟังตรวจการเต้นหัวใจทารก เพื่อเช็คอัตราและจังหวะหัวใจทารกว่าเป็นปกติหรือไม่ ระยะที่ 2 ปากมดลูกขยายตัวเต็มที่เตรียมพร้อมคลอด เมื่อปากมดลูกขยายเต็มที่ทารกจะเคลื่อนตัวลงไปทางช่องคลอดเพื่อไปยังปากช่องคลอด คุณแม่อาจรู้สึกปวดท้องและอาจต้องการเบ่งคลอด ซึ่งระยะเบ่งคลอดของลูกคนแรกไม่ควรนานเกิน 3 ชั่วโมง และสำหรับลูกคนที่ 2 ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง ช่วงเวลาเบ่งคลอดอาจทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดเป็นเวลานานกว่าระยะเวลาจริง ในระหว่างการคลอดคุณหมอจะฉีดยาชา เพื่อลดอาการเจ็บปวดก่อนการผ่าตัดช่องคลอด เพื่อง่ายต่อการคลอดทารกทางช่องคลอด เมื่อศีรษะของทารกเกือบจะโผล่ออกมา คุณหมออาจบอกให้คุณแม่หยุดเบ่ง […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

ป้องกันภาวะคลอดยาก ทำได้อย่างไรบ้าง

ภาวะหนึ่งในการคลอดบุตรที่อาจพบได้ก็คือ ภาวะคลอดยาก ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ทารกมีขนาดตัวใหญ่ ทารกคลอดก่อนกำหนด คุณแม่มีน้ำหนักตัวมาก ภาวะนี้อาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกได้ อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้สาเหตุและวิธีการ ป้องกันภาวะคลอดยาก อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะคลอดยากและปัญหาสุขภาพที่อาจตามมาได้ [embed-health-tool-due-date] ภาวะคลอดยาก โดยปกติ เมื่อถึงเวลาของการคลอดทารกในครรภ์จะหันหัวเข้าอุ้งเชิงกราน เพื่อเตรียมพร้อมคลอด แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิด ภาวะคลอดยาก เกิดขึ้น คือ ทารกมีขนาดตัวใหญ่ คลอดก่อนกำหนด มดลูกมีความผิดปกติ หรือมีเนื้องอก คุณแม่เป็นโรคอ้วน คุณแม่มีโรคเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด ภาวะคลอดยาก ดังนั้น หากมีวิธี ป้องกันภาวะคลอดยาก ไม่ให้เกิดขึ้น ก็จะทำให้คุณแม่และลูกน้อยรู้สึกสบาย ลดปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาในขณะคลอดได้ ป้องกันภาวะคลอดยาก สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่กลัวจะเกิด ภาวะคลอดยาก ควรดูแลตัวเองดังนี้ การฝากครรภ์ การฝากครรภ์เป็นการดูแลครรภ์ของคุณโดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ คุณหมอจะทำการนัดหมายคุณเพื่อมาตรวจครรภ์เป็นระยะ เพื่อดูสุขภาพโดยรวมของคุณแม่และทารกในครรภ์ ดังนี้ ตรวจสุขภาพของคุณแม่และทารก คุณหมอจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่คุณเพื่อการดูแลครรภ์ให้แข็งแรง รวมถึงคำแนะนำในการกินอาหารและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขณะตั้งครรภ์ คุณหมอแนะนำทางเลือกในการดูแลระหว่างตั้งครรภ์ รวมทั้งการคลอด ได้รับอัลตราซาวด์เพื่อดูทารกในครรภ์ ตรวจคัดกรองอาการบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นในทารกอย่าง ดาวน์ซินโดรม (Down’s Syndrome) ตรวจเลือดเพื่อหาโรคซิฟิลิส เอชไอวี และไวรัสตับอักเสบบี ตรวจคัดกรองเซลล์เคียวและธาลัสซีเมีย เมื่อฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล คุณจะได้รับการดูแลครรภ์ รวมถึงดูแลลูกน้อยในครรภ์อย่างใกล้ชิดจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ ควบคุมการรับประทานอาหาร คุณแม่ตั้งครรภ์ควรควบคุมการรับประทานอาหาร […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

กินอะไรคลอดง่าย อาหารชนิดไหนเหมาะกับคุณแม่ใกล้คลอด

กินอะไรคลอดง่าย อาจเป็นอีกหนึ่งคำถามที่คนท้องหลายคนสงสัย โดยเฉพาะคนที่อยู่ในช่วงใกล้คลอด จริง ๆ แล้วอาหารทุกชนิดล้วนแต่มีประโยชน์ และมีอาหารบางชนิดที่อาจช่วยให้คลอดง่ายได้จริง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรกินอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไปเพราะอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ ทั้งนี้ คุณแม่ใกล้คลอดสามารถปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมได้ เพื่อสุขภาพที่ดีและปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] กินอะไรคลอดง่าย คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อบำรุงครรภ์ ไม่ควรกินอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป และอาจเลือกอาหารที่อาจช่วยให้คลอดง่าย ดังต่อไปนี้ สับปะรด สับปะรดเป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์ เพราะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี ช่วยลดการอักเสบขณะตั้งครรภ์ อีกทั้งสับปะรดยังเป็นแหล่งของโฟเลต (Folate) ที่ดีต่อการตั้งครรภ์ด้วย แม้สารสกัดจากสับปะรดจะทำให้เกิดการหดของมดลูกส่งผลทำให้คลอดง่ายขึ้น แต่ก็ไม่ควรรับประทานสับปะรดทั้งลูก เพราะหากร่างกายมีสารโบรมีเลน (Bromelain) จากสับปะรดมากเกินไป อาจนำไปสู่อาการท้องร่วงหรือเป็นตะคริวได้ การรับประทานสับปะรดในช่วงตั้งครรภ์ นับว่าปลอดภัย เพียงแต่อาจต้องจำกัดปริมาณให้เหมาะสมด้วย น้ำมันละหุ่ง น้ำมันละหุ่งสามารถทำให้เกิดการหดตัวของมดลูกได้ แต่น้ำมันละหุ่งถือเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่คุณหมอปัจจุบันมักไม่ค่อยแนะนำให้ใช้ในการช่วยให้คลอดง่าย เพราะอาจมีฤทธิ์เป็นยาระบายรุนแรง ส่งผลให้รู้สึกไม่สบาย ปวดท้อง เสียน้ำมาก จนนำไปสู่อันตรายต่อครรภ์และทารกในครรภ์ได้ ชาใบราสเบอร์รี่สีแดง ชาใบราสเบอร์รี่สีแดง เป็นสมุนไพรที่อาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังมดลูกและทำให้มดลูกหดตัว ทั้งนี้ ชาใบราสเบอร์รี่สีแดงไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยที่ยืนยันว่าจะช่วยให้คลอดง่ายได้จริงหรือไม่ อินทผาลัม อินทผาลัมเป็นผลไม้ตามธรรมชาติที่มีเส้นใยอาหารสู ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่รับประทานอินทผาลัมมักมีปากมดลูกขยายใหญ่มากขึ้น ส่งผลให้คลอดได้ง่ายขึ้นและใช้เวลาในการคลอดสั้นลง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสารต่าง ๆ ในอินทผาลัม เช่น โพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุที่ช่วยรักษาสมดุลระหว่างน้ำและเกลือในร่างกาย วิตามินเค ทารกแรกคลอดมักขาดวิตามินเค การกินอินทผาลัมจึงอาจช่วยให้ทารกได้รับวิตามินเค กรดไขมัน เป็นกรดไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ทำให้คุณรู้สึกมีพลังงานตลอดทั้งวัน […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

อยากคลอดลูกง่าย ออกกำลังกายด้วยโยคะอาจช่วยได้

โยคะสำหรับคนท้อง อาจเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ อยากคลอดลูกง่าย เนื่องจากการฝึกโยคะ เป็นการฝึกร่างกายควบคู่ไปกับจิตใจ หากทำเป็นประจำ อาจช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์หายใจได้ดีขึ้น และมีสมาธิมากขึ้น ซึ่งอาจดีต่อการคลอดบุตร อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฝึกโยคะในท่าที่เหมาะสม ภายใต้การดูแลของคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัย [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] โยคะ คืออะไร โยคะ (Yoga) หรือการฝึกโยคะ คือ กระบวนการฝึกฝนร่างกายควบคู่ไปกับการฝึกหายใจ และฝึกจิตให้มีสมาธิจดจดกับลมหายใจเข้าออก หากทำเป็นประจำอย่างถูกต้อง อาจช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้ทั้งกายและใจ โยคะเป็นการออกกำลังกายแบบง่าย ๆ ช้า ๆ ไม่เน้นความรวดเร็ว จึงถือว่าเหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะหากฝึกโยคะคนท้องเป็นประจำอาจช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยคลายความเครียดและความวิตกกังวล ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่น ช่วยลดอาการปวดหลัง เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากโยคะเหล่านี้ อาจช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถคลอดลูกได้ง่ายขึ้นทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม การเล่นโยคะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องดูท่าที่เหมาะสม และควรอยู่ภายใต้การดูแลจากคุณหมอและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ อยากคลอดลูกง่าย โยคะท่าไหนช่วยได้ การฝึกท่าโยคะดังต่อไปนี้ อาจส่งผลดีต่อการคลอดลูก 1. โยคะท่าเด็กหมอบ (Child’s pose) เป็นท่าที่ช่วยใหระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น รวมไปถึงสามารถบรรเทาอาการปวดหลัง และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แถมยังช่วยบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน วิธีปฏิบัติ เริ่มต้นด้วยคุกเข่าลงนั่งบนส้นเท้า เหยียดแขนสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ หายใจออกแล้วโน้มตัวไปข้างหน้าช้า ๆ กดฝ่ามือลงแนบกับพื้น สำหรับคุณแม่ที่ท้องโต อาจต้องกางหัวเข่าออกให้กว้างขึ้น จะได้ไม่รู้สึกอึดอัด 2. สคอวท (Squat) ช่วยผ่อนคลาย […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

10 สัญญาณการคลอด ที่ควรสังเกต

เมื่อเข้าสู่ช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 ก็อาจหมายความว่าทารกใกล้จะคลอดออกมาแล้ว โดยคุณแม่อาจสังเกตได้จากสัญญาณการคลอดต่าง ๆ เช่น น้ำคร่ำแตก ปวดท้องอย่างรุนแรง ปวดท้องเป็นพักๆ มีเลือดออกทางช่องคลอด หากสังเกตพบอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาลในทันที [embed-health-tool-due-date] สัญญาณการคลอด มีอะไรบ้าง 1. ท้องเริ่มเคลื่อนที่ต่ำ หรือลดลง สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า เนื่องจากเมื่อใกล้คลอดลูกน้อยจะเริ่มเคลื่อนตัวลงไปบริเวณเชิงกราน หากลดระดับลงมากเท่าใด ก็หมายถึงสัญญาณการคลอดที่ดีมากเท่านั้น และทำให้คุณแม่อุ้มท้องหายใจสะดวกขึ้น หากท้องเริ่มเคลื่อนต่ำลง คุณอาจจะรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น เพราะหัวลูกน้อยดันลงไปที่กระเพาะปัสสาวะ 2. ปากมดลูกขยาย ปากมดลูกเปิดนั้นเป็นยังไง คือวิธีการที่คุณหมอจะตรวจดูปากมดลูกสัญญาณการคลอด ว่าเริ่มมีสัญญาณการคลอดหรือไม่ หากพบว่าปากมดลูกเปิดแล้วก็แนะนำให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลเพื่อรอคลอด คุณแม่มักจะมีอาการมีมูกเลือดสีน้ำตาลคล้ำๆออกทางช่องคลอด ซึ่ง เป็นสัญญาณว่าอาจจะมีการเปิดของปากมดลูก 3. มีอาการปวดมากขึ้น มีความรู้สึกเป็นตะคริว และปวดหลังส่วนล่าง รวมไปถึงขาหนีบเมื่อใกล้คลอด เนื่องจากส่วนนำของทารกลดต่ำมาอยู่ในอุ้งเชิงกราน กล้ามเนื้อ และส่วนต่างๆ ของร่างกายคุณแม่มหัศจรรย์ สำหรับเตรียมความพร้อมให้กับสถานการณ์ตอนใกล้คลอด 4. ข้อต่อมีความหลวมขึ้น ซึ่งระยะเวลาการตั้งครรภ์ฮอร์โมนรีแล็กซินได้ทำให้เอ็นมีการคลายตัวเล็กน้อย คุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้ว่ารู้สึกตึงน้อยลงรวมถึงผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิธีธรรมชาติในการเปิดกระดูกเชิงกราน สำหรับการเตรียมพร้อม 5. อาจมีอาการท้องเสียหรือท้องร่วง เนื่องจากลำไส้ส่วนล่างถูกรบกวน ถึงแม้คุณแม่อาจจะรู้สึกว่าน่ารำคาญ แต่อาการเหล่านี้คือ สัญญาณการคลอดที่ดี 6. น้ำหนักเริ่มคงที่ ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 น้ำหนักตัวคุณแม่จะเริ่มไม่ค่อยขึ้นแล้ว เนื่องจากทารกอาจพัฒนาจนเต็มที่แล้ว 7. เหนื่อยง่ายกว่า คุณแม่ช่วงใกล้คลดออาจมีอาการเหนื่อยง่ายมากกว่าเดิมเป็นพิเศษ รู้สึกอยากอยู่เฉย ๆ และง่วงนอนบ่อยขึ้น 8. สารคัดหลั่งเปลี่ยนสี สารคัดหลั่งต่าง ๆ […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

ตรวจครรภ์ก่อนคลอด ขั้นตอนสำคัญ ที่ไม่ควรละเลย

ตรวจครรภ์ก่อนคลอด เป็นการตรวจสุขภาพมารดา สุขภาพครรภ์และสุขภาพทารกระหว่างที่ตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้ทราบถึงภาวะและความปลอดภัยของผู้ที่เป็นแม่และลูกน้อยในครรภ์ โดยคุณหมอจะช่วยตรวจดูพัฒนาการของทารก การเจริญเติบโตของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ก่อนคลอด รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ หากพบความผิดปกติจะได้แก้ไขหรือหาทางดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ  [embed-health-tool-due-date] ตรวจครรภ์ก่อนคลอดสำคัญอย่างไร การตรวจครรภ์ก่อนคลอด เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญของการตั้งครรภ์ที่จะช่วยให้คุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพดี และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์หรืออาจเกิดขึ้นขณะคลอด ในทุก ๆ การ ตรวจครรภ์ก่อนคลอด แพทย์จะสามารถรับรู้ถึงความผิดปกติ พัฒนาการ ตลอดจนความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ และเมื่อพบความผิดปกติแพทย์ก็สามารถที่จะหาวิธีรับมือหรือลดความเสี่ยงนั้นได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ การตรวจครรภ์ก่อนคลอดจึงช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของแม่และเด็ก รวมถึงลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อแม่และเด็กได้ด้วย ตรวจครรภ์ก่อนคลอด ต้องตรวจอะไรบ้าง การ ตรวจครรภ์ก่อนคลอด มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ แต่หลัก ๆ แล้ว มักมีการตรวจคัดกรอง ดังนี้ การตรวจเลือด การตรวจเลือดเพื่อหาความเสี่ยงของโรคติดเชื้อและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อีกทั้งโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่นโรคโลหิตจางธาลาสซีเมีย การอัลตร้าซาวด์ การ ตรวจครรภ์ก่อนคลอด ด้วยการอัลตร้าซาวด์ เป็นรูปแบบการตรวจครรภ์ที่น่าจะเป็นที่คุ้นหูมากที่สุดสำหรับคนท้อง กระบวนการอัลตร้าซาวด์นี้มักเกิดขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18-20 ของการตั้งครรภ์ และแม่ท้องมักจะได้รับการอัลตร้าซาวด์อย่างน้อยไตรมาสละหนึ่งครั้ง เพื่อตรวจดูพัฒนาการของทารก เพศของทารก หรือตรวจดูความผิดปกติของทารกในครรภ์ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์  การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นการ ตรวจครรภ์ ที่มักเริ่มตรวจในช่วงสัปดาห์ที่ 24-28 ของการตั้งครรภ์ โดยคุณหมอจะตรวจด้วยวิธีวัดระดับน้ำตาลในเลือด […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

อาการใกล้คลอด มีอะไรบ้าง และวิธีรับมือเมื่อมีอาการใกล้คลอด

อาการใกล้คลอด อาจเริ่มปรากฏขึ้นในช่วง 2-4 สัปดาห์ก่อนถึงกำหนดคลอด หรือประมาณสัปดาห์ที่ 36 ของการตั้งครรภ์ อาการใกล้คลอดที่พบบ่อย เช่น เจ็บท้องหลอก มดลูกบีบตัว ท้องเสีย ปากมดลูกขยายเริ่มขยาย มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด การรู้จักสังเกตของอาการใกล้คลอด และเรียนรู้วิธีรับมือเมื่อมีอาการใกล้คลอด อาจช่วยให้คุณแม่สามารถเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดได้อย่างเหมาะสมเมื่อถึงกำหนดคลอดจริง [embed-health-tool-due-date] อาการใกล้คลอด มีอะไรบ้าง สัญญาณของอาการใกล้คลอด ที่สามารถสังเกตได้โดยทั่วไป มีดังนี้ ทารกเคลื่อนตัวลงต่ำ ประมาณ 2-4 สัปดาห์ก่อนถึงกำหนดคลอด ท้องของคุณแม่จะคล้อยต่ำลง เนื่องจากทารกเคลื่อนตัวลงมาอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับกระดูกเชิงกราน และเริ่มกลับศีรษะเข้าไปที่บริเวณอุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ในระยะนี้คุณแม่จะเริ่มหายใจได้สะดวกขึ้น เนื่องจากทารกเคลื่อนตัวออกห่างจากบริเวณปอด ปากมดลูกขยาย เมื่อใกล้วันคลอด ปากมดลูกของคุณแม่จะเริ่มเปิดและขยายกว้างขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดทารก อย่างไรก็ตาม คุณแม่ใกล้คลอดบางคนอาจมีอาการปากมดลูกเปิดก่อนกำหนดโดยอาจจมีมีอาการมูกเลือดออกทางช่องคลอดให้สังเกตเห็นได้ ขณะที่บางคนปากมดลูกเปิดช้ากว่ากำหนด ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ควรได้รับการดูแลจากคุณหมออย่างใกล้ชิด อาการปวดหลัง ยิ่งใกล้คลอดเท่าไหร่ อาการปวดหลังก็จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเท่านั้น คุณแม่ใกล้คลอดจะรู้สึกปวดหลังมากกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณหลังส่วนล่าง หรือบางครั้งอาจปวดแบบเป็นตะคริวลามไปจนถึงต้นขา ซึ่งอาการปวดเช่นนี้เป็นผลมาจากร่างกายยืดและขยายตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด รวมถึงอาจจะเกิดจากการที่เริ่มมีมดลูกหดรัดตัวบ้างแล้ว ทำให้มีการปวดร้าวไปถึงหลังได้ อาการท้องเสีย คุณแม่หลายคนมักมีอาการท้องเสียเมื่อใกล้คลอด เนื่องจากร่างกายผ่อนคลายเพื่อเตรียมกล้ามเนื้อให้พร้อมสำหรับการคลอด โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณทวารหนักที่จะคลายตัวอย่างมาก รวมทั้งมีการหลังสารที่ทำให้มดลูกเริ่มมีการหดรัดตัว ซึ่งสารดังกล่าวมีผลทำให้ลำไส้บีบตัวร่วมด้วยได้บ้าง จึงทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น  มีเมือกไหลออกจากช่องคลอด การขับเมือกเหนียวและตกขาวออกมาทางช่องคลอดเป็นอาการใกล้คลอดที่พบบ่อย ยิ่งใกล้กำหนดคลอดมากเท่าไหร่ คุณแม่ก็จะยิ่งมีตกขาวและเยื่อเมือกเหนียวไหลออกมามากขึ้นหรือหนาขึ้นเท่านั้น เมือกเหนียวและตกขาวที่พบมักมีเลือดปนออกมาด้วย จากการที่ปากมดลูกเริ่มมีการขยายตัวเปิดออกซึ่งถือเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าใกล้ถึงกำหนดคลอดเต็มทีแล้ว มดลูกบีบตัว ในช่วงใกล้คลอด มดลูกจะเริ่มหดหรือบีบตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ทำให้คุณแม่ใกล้คลอดรู้สึกเกร็งช่องคลอด ท้องแข็งปั้นเป็น ๆ หาย […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

ท้องแก่ใกล้คลอด ควรเตรียมตัวคลอดอย่างไร

เมื่อ ท้องแก่ใกล้คลอด หรือเมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 3 คุณแม่ควรเริ่มศึกษาวิธีการเตรียมตัวคลอด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมาฉุกละหุกในวันกำหนดคลอด และยังอาจช่วยลดความกังวลก่อนที่วันคลอดจะมาถึง รวมทั้งช่วยให้สามารถรับมือได้ดีหากมีเหตุฉุกเฉิน เช่น คลอดก่อนกำหนด [embed-health-tool-due-date] การเตรียมตัวคลอด สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด วิธีเตรียมตัวคลอดเหล่านี้ จะช่วยให้คุณแม่ใกล้คลอดพร้อมรับมือกับการคลอดลูกมาขึ้น ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด คุณแม่ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด อย่างพัฒนาการของทารกในครรภ์ อาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ สัญญาณและอาการใกล้คลอด รูปแบบในการคลอดลูก ขั้นตอนในการคลอด หรืออื่น ๆ ไว้ด้วย การทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ล่วงหน้าจะช่วยให้คุณแม่รู้ข้อมูลพื้นฐาน และสามารถรับมือได้ดีขึ้น หากเกิดภาวะต่าง ๆ แต่แนะนำว่า คุณแม่ควรขอข้อมูลจากคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญแทนการค้นหาข้อมูลด้วยตัวเองจากในอินเตอร์เน็ต จะได้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ หรือหากอยากศึกษาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตจริง ๆ ก็ควรเลือกเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ เตรียมใจให้พร้อม การเจริญสติ (Mindfulness Meditation) คือ ฝึกควบคุมสติของตัวเองให้อยู่กับปัจจุบัน ช่วยให้คุณแม่ท้องแรกรับมือกับความหวาดกลัวที่มาพร้อมการตั้งครรภ์ได้ ทั้งยังช่วยลดอาการของโรคซึมเศร้าทั้งก่อนคลอดและหลังคลอดด้วย คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเจริญสติได้ง่ายมาก เพียงแค่หลับตา ทำสมาธิ เพ่งความสนใจไปที่ลมหายใจของตัวเอง เริ่มจากวันละสัก 5 นาทีก่อนก็ได้ จากนั้นจึงค่อย ๆ ใช้เวลาเจริญสติให้นานถึงหากต้องการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า การออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นปานกลางเป็นประจำทุกวัน เช่น เดินวันละ 30 นาที จะช่วยคลายเครียด ทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น และช่วยให้คุณแม่มีน้ำหนักตัวและรูปร่างที่เหมาะสม ซึ่งล้วนส่งผลดีต่อการตั้งครรภ์และการคลอดลูกทั้งสิ้น และไม่ใช่แค่นั้น เพราะงานวิจัยล่าสุดยังชี้ว่า การเดินในช่วงที่ตั้งครรภ์สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

น้ำคร่ำแตก หรือ น้ำเดิน สัญญาณและวิธีรับมือที่ควรรู้

น้ำคร่ำแตก หรือน้ำเดิน คือ ภาวะที่ถุงน้ำคร่ำมีรอยแตกหรือรั่ว น้ำคร่ำจะไหลออกมาผ่านทางปากมดลูกและช่องคลอด ภาวะนี้ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าทารกพร้อมคลอดแล้ว แม้จะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ใกล้คลอด แต่หากเกิดภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์ยังไม่ครบ 37 สัปดาห์ อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ [embed-health-tool-due-date] น้ำคร่ำแตก หรือน้ำเดิน คืออะไร ทารกได้รับการปกป้องอยู่ในเยื่อหุ้มรก หรือถุงน้ำคร่ำ ซึ่งเต็มไปด้วยของเหลวที่เรียกว่า น้ำคร่ำ (Amniotic fluid) เมื่อถุงน้ำคร่ำมีรอยแตกหรือรั่ว น้ำคร่ำจะไหลออกมาผ่านทางปากมดลูกและช่องคลอด หรือที่เรียกว่า ภาวะน้ำเดิน นั่นเอง ส่วนใหญ่ภาวะนี้มักเกิดขึ้นเมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะการคลอด แต่ก็อาจเกิดขึ้นก่อนครบกำหนดคลอดได้เช่นกัน น้ำคร่ำแตกมีอาการอย่างไร ความรู้สึกของอาการน้ำคร่ำแตก แตกต่างกันไปในคุณแม่แต่ละคน อาจเป็นได้ทั้งความรู้สึกเหมือนถุงแตก น้ำคร่ำจะไหลทะลักออกมา และอาการน้ำคร่ำรั่วเล็กๆ จริงๆ คุณแม่ตั้งครรภ์บางรายอาจมีน้ำคร่ำไหลหยดช้าๆเหมือนกำลังปัสสาวะ ในขณะที่บางรายอาจรุนแรงกว่านั้นมาก แต่โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ตั้งครรภ์จะรู้สึกถึงแรงกด จากนั้นจะรู้สึกเหมือนมีอะไรเล็ก ๆ แตกอยู่ข้างใน แล้วตามด้วยความรู้สึกโล่งทันทีที่ถุงน้ำคร่ำแตก สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่หรือท้องแรก อาจไม่มั่นใจว่าของเหลวที่ไหลออกมานั้นเป็นน้ำคร่ำหรือปัสสาวะกันแน่ จุดสังเกตก็คือ น้ำคร่ำจะมีลักษณะเป็นน้ำใสๆไม่เหนียว และไม่มีกลิ่น แต่ในบางครั้งน้ำคร่ำอาจมีกลิ่นเหมือนคลอรีนหรือน้ำอสุจิ หรืออาจมีเลือดปนอยู่เล็กน้อยได้เช่นกัน น้ำคร่ำแตกเมื่อไร โดยปกติแล้ว ถุงน้ำคร่ำจะแตกก่อนเกิดอาการเจ็บท้องคลอดเล็กน้อย แต่ก็ไม่ใช่ว่าผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะน้ำคร่ำแตกช่วงในเวลาเดียวกัน ผู้หญิงตั้งครรภ์ประมาณร้อยละสิบ มีภาวะน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอด ที่เรียกว่า “ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด” หรือ “ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์คลอด”(Premature rupture of membranes […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน