การออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของเราให้แข็งแรง กระฉับกระเฉง และห่างไกลโรค เรียนรู้เทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การออกกำลังกาย

เบิร์นไขมัน ลดความอ้วน ทำได้อย่างไร

ไขมันที่สะสมในร่างกายที่ทำให้น้ำหนักและรอบเอวเกินเกณฑ์ จนนำไปสู่ความอ้วน อาจเกิดจากการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง รวมถึงขาดการออกกำลังกายหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่เพียงพอช่วยในการเผาผลาญไขมัน ดังนั้น ควรศึกษาวิธี เบิร์นไขมัน ในร่างกาย เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและลดความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อน  [embed-health-tool-bmi] เบิร์นไขมัน คืออะไร การเบิร์นไขมัน คือ กระบวนการเผาผลาญไขมันเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ช่วยลดไขมันที่สะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ที่สามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพิ่มการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกายเฉพาะส่วนที่ต้องการลดไขมัน  ทำไมจึงควรเบิร์นไขมัน  การเบิร์นไขมัน อาจช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกายที่เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมันมากเกินไป เพราะหลังจากร่างกายย่อยอาหารจะถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคสซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลัก หากมีกลูโคสส่วนเกินร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไกลโคเจน (Glycogen) เก็บอยู่ในกล้ามเนื้อและตับ ส่งผลให้น้ำหนักเกินเกณฑ์ ดังนั้น การเบิร์นไขมันจึงช่วยเผาผลาญไขมัน ควบคุมน้ำหนัก และลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โรคข้อเข่าเสื่อม การสะสมของไขมันในร่างกายอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ข้อต่อบริเวณเข่าต้องรองรับน้ำหนักตัวมากเกินไป เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะข้อต่ออักเสบ ข้อเข่าเสื่อมเร็วและรู้สึกปวดเมื่อเคลื่อนไหว โรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากไขมันสะสมในหลอดเลือดมากเกินไป จนอาจทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ไม่เต็มที่ จึงนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไขมันที่สะสมในร่างกายอาจทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินในการจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2  โรคมะเร็ง ไขมันที่สะสมในร่างกายอาจส่งผลให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินและเพิ่มระดับอินซูลินสูง ที่กระตุ้นให้เซลล์ร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติ เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ […]

หมวดหมู่ การออกกำลังกาย เพิ่มเติม

สำรวจ การออกกำลังกาย

กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

วิธีสร้าง กล้ามเนื้อหน้าท้องผู้หญิง ให้สวยเฟิร์มน่ามอง

สาวๆ แต่ละคนก็มีจุดประสงค์ในการออกกำลังกายแตกต่างกันออกไป บางคนออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงของร่างกาย บางคนออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก บางคนออกกำลังกายเพื่อปั้นหุ่นสวยๆ การสร้างกล้ามเนื้อท้อง ก็เป็นหนึ่งในเทรนด์ฮิตสำหรับผู้หญิงสมัยนี้ นอกจากจะได้ความแข็งแรงแล้ว ยังได้หุ่นเฟิร์มน่ามองอีกด้วย เทรนด์การสร้าง กล้ามเนื้อหน้าท้องผู้หญิง กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพไม่น้อยเลยทีเดียว Hello คุณหมอ มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับ การสร้างกล้ามเนื้อหน้าท้องผู้หญิงอย่างไรให้ได้ผล กล้ามเนื้อท้องส่วนต่างๆ Transversus Abdominis – กล้ามเนื้อชั้นลึกที่สุด บทบาทหลักคือรักษาเสถียรภาพของลำตัวและรักษาความดันภายในช่องท้อง Rectus Abdominis – เป็นกล้ามเนื้อที่เรียงตัวอยู่ด้านหน้าท้องหรือที่เรียกว่า ‘ซิกแพค’ นั่นเองหน้าที่หลักคือการสร้างความเสถียรในการเคลื่อนไหว External Oblique muscles – กล้ามเนื้อเหล่านี้อยู่เหล่านี้อยู่ในแต่ละด้านของ Rectus Abdominis เป็นกล้ามเนื้อด้านนอกสุด อยู่ข้างๆ ลำตัว ใช้ในการหมุนไปมา เมื่อร่างกายมีการหันไปทางซ้าย Internal Oblique muscles – เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่รองจาก External Abdominal oblique ทำหน้าที่เหมือนๆ กันกับ External Abdominal oblique วิธีการสร้าง กล้ามเนื้อหน้าท้องผู้หญิง กินโปรตีนให้เพียงพอ โปรตีนจะช่วยให้ให้คุณสร้างกล้ามเนื้อ ในขณะเดียวกันก็ช่วยเผาผลาญไขมันด้วย จากสารอาหารทั้งหมด (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน) […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ผู้ป่วยมะเร็งตับ กับออกกำลังกายที่เหมาะสม

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) มะเร็งตับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญประการหนึ่งของโลก สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่า คุณไม่สามารถมีชีวิตรอดจากมะเร็งตับได้ มีหลายวิธีสำหรับคุณที่จะจัดการผลจากมะเร็งตับโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้ชีวิต การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวประการหนึ่งก็คือ การออกกำลังกายเป็นประจำ ก่อนเริ่มต้นออกกำลังกายประเภทใดๆ ต่อไปนี้เป็นบางสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับ ผู้ป่วยมะเร็งตับ กับการออกกำลังกาย ประโยชน์ของการออกกำลังกายต่อสุขภาพตับ การออกกำลังกายเป็นประจำ สามารถช่วยป้องกันไม่ให้โรคตับมีอาการแย่ลงได้ ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำมีการรายงานว่า มีสุขภาพดีขึ้น ร่างกายแข็งแรงขึ้น และสุขภาพจิตดีขึ้น นอกจากนี้ งานวิจัยยังเผยว่าผู้ที่ออกกำลังกายยังมักตอบสนองต่อการรักษาได้ดีขึ้น และใช้เวลาในการรักษาตัวน้อยลง เมื่อคุณเป็นมะเร็งตับ ข้อดีของการออกกำลังกายมีดังนี้ การออกกำลังกายทำให้คุณรู้สึกถึงสุขภาพที่ดี และภาพลักษณ์ของตัวเองที่ดีขึ้น ซึ่งสามารถทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นในทางจิตใจ สุขภาพจิตที่ดีสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีผลดีในการต้านมะเร็งตับ การออกกำลังกายเป็นการกระตุ้นพลังงาน ผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนใหญ่มีอาการอ่อนเพลีย ซึ่งพบได้มากที่สุด และส่งผลมากต่อผู้ป่วยมากที่สุด นอกเหนือจากอาการปวด อาการอ่อนเพลียอาจเป็นผลจากกระแสเลือดที่ไหวเวียนไม่ดี การออกกำลังกายจะทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และมีพลังงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังสามารถลดปริมาณไขมันในร่างกายได้อีกด้วย ดังนั้น จึงช่วยลดไขมันในตับ และสามารถลดแรงกดทับที่ตับลงได้ การออกกำลังกายที่เน้นการเกร็งและคลายกล้ามเนื้อในส่วนกลางลำตัว สามารถช่วยให้ร่างกายของคุณได้ออกกำลังกาย ซึ่งรวมถึงตับด้วย การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มกระแสเลือดที่ไหลไปยังตับ ซึ่งสามารถป้องกันตับจากการสูญเสียเนื้อเยื่อได้ (atrophy) การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ การออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ มีความแตกต่างจากการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี โดยปัจจัยสี่ประการเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่จำเป็นต้องมี เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งตับ ได้แก่ การออกกำลังกายที่ทำได้ง่าย การออกกำลังกายที่เรียนรู้ได้ง่าย ไม่ต้องใช้ความพยายามมากจนเกินไป สามารถออกกำลังกายได้โดยการนอนและนั่ง โดยมีความเป็นส่วนตัวที่บ้าน นักวิจัยส่วนใหญ่แนะนำว่า การผสมผสานการออกกำลังกายแบบแอโรบิกและการออกกำลังกายโดยการใช้น้ำหนัก ไม่ว่าจะเป็นการยกน้ำหนัก หรือการใช้ท่าออกกำลังกายที่ใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงต้าน เป็นสิ่งจำเป็นเมื่อเป็นมะเร็งตับ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่เน้นระบบหัวใจและหลอดเลือด สามารถเพิ่มระดับออกซิเจนในกระแสเลือด การออกกำลังกายแบบแอโรบิกยังสามารถทำได้ง่ายสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ เนื่องจากเป็นการเคลื่อนไหวกลุ่มกล้ามเนื้อขนาดใหญ่แบบซ้ำๆ ที่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ […]


คาร์ดิโอและความทนทาน

อยากวิ่งแต่สู้ไม่ไหว ลองหันมา เดินเร็ว ลดทั้งเอว ลดทั้งโรค

ปัจจุบันหลายคนหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพ ทั้งเรื่องอาหารการกิน และการออกกำลังกาย โดยการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่คนนิยมนั่นก็คือ การวิ่ง ทั้งระยะสั้น รวมถึงระยะยาว หรือเรียกง่ายๆ ว่า วิ่งมาราธอน แต่สำหรับคนบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก อาจต้องเปลี่ยนจากการวิ่งมาเป็นการ เดินเร็ว ที่สามารถช่วยให้สุขภาพแข็งแรง ลดความเสี่ยงการเกิดโรค และช่วยเผาผลาญแคลอรีได้แทบไม่ต่างกับการวิ่ง แถมการเดินเร็วอย่างถูกวิธียังมีแรงกระแทกน้อยกว่าการวิ่งอีกด้วย ทำความรู้จักกับการ เดินเร็ว การเดินเร็ว (Brisk walking) จัดเป็นการออกกำลังกายแบบความเข้มข้นปานกลาง (moderate-intensity exercise) โดยปกติแล้ว การ “เดินเร็ว” หมายถึงการเดินอย่างน้อย 3 ไมล์ (ประมาณ 5 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 100 ก้าวต่อนาที หากเป็นการเดินบนลู่จะเท่ากับอัตราการเดิน 3.5 ไมล์ต่อชั่วโมง ร่างกายต้องรู้สึกร้อนขึ้น และมีเหงื่อออก อัตราการเต้นของหัวใจค่อยๆ สูงขึ้น จนเริ่มหายใจแรงขึ้น สามารถพูดคุยระหว่างเดินได้ แต่ไม่สามารถร้องเพลงได้ แต่หากคุณเป็นคนที่ออกกำลังกายแบบเข้มข้นสูงอยู่เป็นประจำ คุณอาจต้องเดินด้วยอัตราการเดิน 4 ไมล์ต่อชั่วโมง อัตราการเต้นของหัวใจจึงจะเพิ่มขึ้น […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ปั่นจักรยาน ปั่นอย่างไร ให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพสูงสุด

นอกจากการวิ่ง เดิน และว่ายน้ำ จะเป็นการออกกำลังกายยอดฮิต ปั่นจักรยาน ก็ถือเป็นการออกกำลังกายที่น่าสนใจ เพราะคุณสามารถปั่นจักรยานไปในสถานที่ต่างๆ หรือจะปั่นจักรยานอยู่กับที่อยู่กับบ้านหรือในยิมก็ได้ มาดูกันว่าการปั่นจักรยานมีข้อดียังไง และจะปั่นจักรยานยังไงให้ได้ประโยชน์สูงสุด ออกกำลังกายด้วยการ ปั่นจักรยาน การปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ โดยสามารถเผาผลาญพลังงานประมาณ 400 แคลอรี่ต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายช่วงล่างอย่างขาและสะโพกแข็งแรงขึ้น มากไปกว่านั้นคุณสามารถปั่นจักรยานบนถนน หรือเส้นทางบนภูเขา รวมถึงปั่นจักรยานในร่มด้วยเครื่องปั่นจักรยาน ถ้าเพิ่งเริ่มต้นออกกำลังกายด้วยวิธีนี้ ควรเลือกปั่นจักรยานบนทางราบ และจากนั้นค่อยพัฒนาเป็นการปั่นจักรยานบนทางลาดชัน เช่น เส้นทางบนภูเขา ซึ่งการปั่นจักรยานบนเส้นทางบนภูเขานั้น จะส่งผลต่อร่างกายส่วนบนและกลางลำตัว ทำให้ได้ออกกำลังกายโดยรวมทั้งร่างกาย มากกว่าการปั่นจักรยานบนทางราบ ปั่นจักรยาน มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร ดีต่อสุขภาพข้อต่อ เมื่อคุณนั่งบนจักรยาน คุณจะทิ้งน้ำหนักลงบนกระดูกเชิงกราน ที่เรียกว่า ปุ่มกระดูกอิสเคี่ยม (ischial tuberosities) ซึ่งแตกต่างจากการเดินที่จะลงน้ำหนักไปที่ขา ดังนั้น การปั่นจักรยานจึงดีต่อผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อ เช่น เจ็บข้อต่อ หรือข้อต่อแข็งเนื่องจากอายุที่มากขึ้น ปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำ ปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำ (Low-impact exercise) ดังนั้น จึงดีต่อข้อต่อมากกว่าการออกกำลังกายประเภทที่มีแรงกระแทกสูง เช่น การวิ่ง ปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิค การปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic exercise) ซึ่งดีต่อหัวใจ สมอง และหลอดเลือด นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้น สามารถช่วยสร้างกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายประเภทนี้ ทำให้ได้ใช้กล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ ดังนี้ กล้ามเนื้อกลูเตียล หรือกล้ามเนื้อสะโพก […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ออกกำลังกายให้เป็นนิสัย ทำได้...ง่ายนิดเดียว

การออกกำลังกายเป็นประจำ อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยากสำหรับบางคน ด้วยสารพันเหตุผลที่อาจผุดขึ้นมาในใจเรา อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณอยากมีสุขภาพดีและมีรูปร่างที่ดี คุณควร ออกกำลังกายให้เป็นนิสัย ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่จะทำยังไงถึงจะอยากออกกำลังกายบ่อย ๆ มาดูเคล็ดลับดี ๆ จาก Hello คุณหมอ กันค่ะ เหตุผลที่ควร ออกกำลังกายให้เป็นนิสัย สำหรับบางคนการออกกำลังกาย ถือเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย เนื่องจากมีงานวิจัยที่ได้สำรวจว่าอะไรคือแรงกระตุ้น ที่ทำให้ออกกำลังกายในระยะยาว ซึ่งคำตอบที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มีสุขภาพดี รู้สึกดี มีพลัง สนุกกับการออกกำลังกาย ถือว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดอันดับหนึ่ง ทำให้นอนหลับสบาย รู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกตื่นตัว ควบคุมน้ำหนัก รูปร่างดี เริ่ม ออกกำลังกายให้เป็นนิสัย ด้วยการ… ออกกำลังกายแบบที่คุณชอบ คุณสามารถออกกำลังกายแบบที่ตัวเองชอบได้ เช่น การเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค เล่นเทนนิส เล่นแบดมินตัน ว่ายน้ำ หรือยกน้ำหนัก เนื่องจากการออกกำลังกายที่ชอบจะทำให้คุณอยากทำ มากกว่าการออกกำลังกายที่คนอื่นแนะนำว่าดี แต่คุณไม่ได้รู้สึกสนุกกับการออกกำลังกายประเภทนั้น ทำให้การออกกำลังกายเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ควรมีข้อต่อรองสำหรับการออกกำลังกาย ซึ่งข้อต่อรองและข้ออ้างส่วนใหญ่คือคำว่า ไม่มีเวลา แต่ถ้าคุณยกให้การออกกำลังกายเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ คุณจะสามารถหาเวลาออกกำลังกายได้ในที่สุด เช่น ออกกำลังกายก่อนไปทำงาน หรือหลังเลิกงาน ออกกำลังกายเป็นสิ่งแรกในตอนเช้า การตื่นนอนตอนเช้าอาจเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าคุณทำได้จะส่งผลดีต่อสุขภาพ และยิ่งเริ่มต้นเช้าวันใหม่ด้วยการออกกำลังกาย ยิ่งจะทำให้คุณมีสุขภาพดีขึ้น โดยคุณอาจเริ่มออกกำลังกาย 10 นาทีตอนตื่นนอน และค่อยๆ เพิ่มเป็น 30 นาที ให้ทำทุกวันจนเป็นนิสัย รับรองว่าสุขภาพของคุณจะเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน ออกกำลังกายหลังเลิกงาน สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกที่จะออกกำลังกายในตอนเช้า […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

การเผาผลาญพลังงาน เรื่องพื้นฐานที่คนลดน้ำหนักควรรู้

หลายคนคงเคยได้ยินมาว่าการเผาผลาญช้า จะทำให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่ได้น้อย ถือเป็นอุปสรรคต่อการลดความอ้วน แต่แท้จริงแล้ว การเผาผลาญพลังงาน คืออะไรกันแน่ และเกี่ยวข้องกับการลดน้ำหนักอย่างไร นอกจากนี้เรายังสามารถทำให้การเผาผลาญดีขึ้นได้หรือเปล่า เรามีข้อมูลในเรื่องนี้มาให้แล้ว การเผาผลาญพลังงาน…คืออะไร การเผาผลาญพลังงาน (Metabolism) คือกระบวนการที่ร่างกายเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงาน และในระหว่างกระบวนการทางชีวเคมีที่ซับซ้อนนี้ แคลอรี่ในอาหารและเครื่องดื่มจะรวมกับออกซิเจน เพื่อปล่อยพลังงานที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ เพื่อการทำงานของร่างกาย และแม้ในเวลาที่คุณไม่ได้เคลื่อนไหว เช่น ตอนนอนหลับ ร่างกายก็ต้องการพลังงานเพื่อการทำงานของระบบต่างๆ เช่น การหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด การปรับระดับฮอร์โมน และการเพิ่มและซ่อมแซมเซลล์ ซึ่งจำนวนแคลอรี่ที่ร่างกายต้องใช้ในการทำหน้าที่พื้นฐานเหล่านี้เรียกว่า อัตราการเผาผลาญ (ฺBasal Metabolic Rate: BMR) โดยอัตราการเผาผลาญจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ขนาดและสัดส่วนของร่างกาย ผู้ที่มีร่างกายขนาดใหญ่กว่า หรือมีกล้ามเนื้อมากกว่า ก็จะเผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่าแม้ในเวลาที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เพศ ผู้ชายมักจะมีมวลไขมันน้อยกว่าผู้หญิง และมีกล้ามเนื้อมากกว่าผู้หญิงที่มีอายุและน้ำหนักเท่ากัน ผู้ชายจึงสามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่า อายุ เมื่ออายุมากขึ้น ปริมาณกล้ามเนื้อมีแนวโน้มว่าจะลดลง และมีไขมันมากขึ้น ดังนั้นจึงอาจส่งผลให้เผาผลาญแคลอรี่ช้าลง พลังงานที่ร่างกายต้องการเพื่อทำหน้าที่พื้นฐาน หรืออัตราการเผาผลาญ (BMR) จะคงอยู่และไม่เปลี่ยนแปลงง่ายๆ และนอกจากอัตราการเผาผลาญแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่กำหนดจำนวนแคลอรี่ที่ร่างกายคุณเผาผลาญในแต่ละวัน ได้แก่ การออกกำลังกาย การออกกำลังกาย เช่น การเล่นเทนนิส เดินเล่น และการเคลื่อนไหวร่างกายต่างๆ นับเป็นแคลอรี่ที่ร่างกายเผาผลาญในแต่ละวัน นอกจากนี้การออกกำลังกายยังถือเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุด ที่กำหนดว่าคุณจะเผาผลาญแคลอรี่ต่อวันได้เท่าไหร่ เทอร์โมจีนีซิส […]


การฝึกความแข็งแรง

ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ก็สำคัญสำหรับเด็ก ๆ เหมือนกันนะ!

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรปลูกฝังให้เด็กสนใจตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะการออกกำลังกายช่วยให้สุขภาพสุขภาพกายใจแข็งแรง โดยเฉพาะการ ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strength training) ที่ช่วยให้อวัยวะ ภายในร่างกายของเด็ก เช่น กล้ามเนื้อ ข้อต่อ กระดูก แข็งแรงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การจะ ฝึกกล้ามเนื้อของเด็ก  ก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก เพื่อป้องกันอันตราย หรืออาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจนส่งผลเสียต่ออวัยวะอย่างถาวรได้ ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการ ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics) ระบุว่า การฝึกความแข็งแรงหรือความอดทนของกล้ามเนื้อ เช่น การยกน้ำหนักทั้งแบบฟรีเวท (ใช้ดัมเบล หรือบาร์เบล) การยกน้ำหนักแบบแมชชีน การออกกำลังกายด้วยยางยืด เป็นสิ่งที่เด็กสามารถทำได้ หากยึดหลักเหล่านี้ รอให้เด็กโตพอ พาเด็กไปตรวจร่างกายก่อน อย่าให้เด็กโหมออกกำลังกาย เด็กต้องออกกำลังกายภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ หรือเทรนเนอร์ที่ผ่านการรับรอง เพื่อให้เด็กสามารถฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้อย่างปลอดภัยและถูกวิธี ฝึกกล้ามเนื้อของเด็ก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง และความอดทนของกล้ามเนื้อ อย่างถูกวิธีนั้น สามารถส่งผลดีต่อร่างกายเด็กๆ ดังนี้ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความอดทนให้กับกล้ามเนื้อ ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ช่วยรักษาความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ ทำให้ค่าดัชนีมวลกายให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยให้สุขภาพจิตดี เสริมสร้างความมั่นใจและความภูมิใจในตัวเอง ช่วยลดความเสี่ยงข้อต่อและกล้ามเนื้อบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ช่วยเพิ่มสมรรถภาพในการเล่นกีฬา และการออกกำลังกายอื่นๆ ฝึกกล้ามเนื้อของเด็ก เริ่มฝึกได้ตั้งแต่วัยไหน เด็กสามารถออกกำลังกายเพื่อ ฝึกกล้ามเนื้อของเด็ก ได้ตั้งแต่อายุ 7 ปีขึ้นไป หากเด็กสามารถควบคุมการทรงตัวและร่างกายของตัวเองได้ พร้อมกับออกกำลังกายภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ เด็กอายุ 7-13 ปี สามารถออกกำลังกายแบบบอดี้เวท (Bodyweight exercises) […]


คาร์ดิโอและความทนทาน

เด็กออกกำลังกาย ได้ประโยชน์สุขภาพอย่างไรบ้าง

ถ้าพูดถึงการออกกำลังกาย เราคงนึกภาพเป็นการออกกำลังกายในสวนสาธารณะ การวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า ไม่ก็การเล่นกีฬา แต่การออกกำลังกายสำหรับเด็กอาจแตกต่างจากผู้ใหญ่เล็กน้อย เพราะเวลาที่ เด็กออกกำลังกาย จะหมายถึงการทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย รวมถึงการเล่นของเด็กด้วย เช่น เวลาที่เด็กๆ เรียนวิชาพละ และวิ่งเล่นหรือปั่นจักรยานกับเพื่อน ๆ ซึ่งประโยชน์ของการออกกำลังกายต่อสุขภาพของเด็ก มีดังต่อไปนี้ เด็กออกกำลังกาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร ช่วยให้หัวใจแข็งแรง กล้ามเนื้อหัวใจก็เหมือนกับกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย ที่การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นได้ เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงก็จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โดยกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์แห่งสหรัฐอเมริกา (United States Department of Health and Human Services) ให้ข้อมูลว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ แม้แต่ในวัยเด็กก็ตาม ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น การออกกำลังกายช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือด และเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด รวมถึงช่วยลดความดันโลหิตด้วย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมองที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด การออกกำลังกายช่วยป้องกันไม่ให้น้ำตาลสะสมในเลือด โดยการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อรับกลูโคสจากกระแสเลือดมากขึ้น และนำกลูโคสมาใช้เป็นพลังงาน ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้ ช่วยควบคุมน้ำหนัก หากเด็กไม่ได้ขยับร่างกายและกินอาหารในปริมาณมาก จะทำให้ร่างกายสะสมแคลอรี่ส่วนเกินไว้ในเซลล์ไขมัน แต่เมื่อเด็ก ๆ ออกกำลังกายเป็นประจำ ก็จะทำให้ร่างกายได้ใช้แคลอรี่มากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพิ่มความทนทาน ความแข็งแรง และความยืดหยุ่น การออกกำลังกายมักจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ความทนทาน ความแข็งแรง และความยืดหยุ่น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กออกกำลังกายหลาย […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ผู้ป่วยเบาหวาน ออกกำลังกาย ด้วยการวิ่งได้หรือเปล่า

แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นสิ่งที่ดีต่อ ผู้ป่วยเบาหวาน แต่ก็มีบางอย่างที่ควรทราบเกี่ยวกับ “การวิ่ง” กับโรคเบาหวาน เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ที่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหลายสิ่งอาจเกิดขึ้นได้ ในขณะที่คุณกำลังวิ่ง หลายท่านจึงมักมีข้อสงสับว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถออกกำลังกาย ด้วยการวิ่งได้หรือเปล่า มีสิ่งใดที่ควรระวังเป็นพิเศษหรือไม่ วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ ผู้ป่วยเบาหวาน ออกกำลังกาย ด้วยการวิ่งได้หรือเปล่า? เป็นที่ทราบกันดีว่าร่างกายต้องการกลูโคสเพื่อสร้างพลังงาน และการออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานมาก ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะระดับฮอร์โมนอินซูลิน (ฮอร์โมนที่ช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือด) ผิดปกติ ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายผิดปกติไปด้วย เมื่อผู้ป่วยเบาหวานออกกำลังกายจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด โดยถ้าออกกำลังกายแบบแอโรบิค มักเกิดอาการขาดน้ำตาล (Hypoglycemia) ในการสร้างพลังงาน หรือหากออกกำลังกายเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ (เวทเทรนนิ่ง) หรือการออกกำลังกายที่ออกแรงเป็นช่วง ๆ เช่น บาสเกตบอล แบดมินตัน ก็สามารถทาให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ได้ การออกกำลังกายโดยการวิ่งเป็นการออกกำลังกายชนิดแอโรบิค จึงทำให้มีความเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงในระหว่างออกกำลังกาย นอกจากนี้ หลังจากหยุดออกกำลังกาย ก็จะมีภาวะน้ำตาลต่ำต่อเนื่องอีกหลายชั่วโมงด้วย ดังนั้น การเตรียมตัวเพื่อป้องกัน และจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดที่ผิดปกติ จึงมีความสาคัญและต้องทำอย่างทันท่วงที การวิ่งกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งมีจำนวนประมาณ 5-10 คนจากผู้ป่วยเบาหวาน 100 คน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ประสบปัญหาที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลิน หรือมีอินซูลินไม่เพียงพอในการจัดการกับน้ำตาลในเลือด เพื่อนำไปสร้างพลังงาน […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ระหว่างมีประจำเดือน ใครว่าออกกำลังกายไม่ได้ คิดผิดคิดใหม่ได้แล้ว!

ประจำเดือน มีชื่อที่สาว ๆ ใช้เรียกกันอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เมนส์ รอบเดือน ระดู วันนั้นของเดือน วันแดงเดือด เป็นต้น การมีประจำเดือนถือเป็นสิ่งปกติที่ผู้หญิงต้องพบเจอ แต่ก็สร้างความลำบากให้กับผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่น้อย ประจำเดือนมักมาพร้อมกับอาการปวดท้อง ฮอร์โมนแปรปรวน เหนื่อยง่าย เป็นต้น ส่งผลให้ในช่วง ระหว่างมีประจำเดือน ผู้หญิงส่วนใหญ่เลือกงดกิจกรรมหลายอย่าง รวมถึงการออกกำลังกาย Hello คุณหมอ จะพาไปค้นหาความจริง ว่า การออกกำลังกายช่วงมีประจำเดือนนั้น มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด [embed-health-tool-heart-rate] ประโยชน์ของออกกำลังกาย ระหว่างมีประจำเดือน ในช่วงวันนั้นของเดือน ผู้หญิงมักเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่มีพลังและเรี่ยวแรง ส่วนใหญ่จึงงดออกกำลังกายในช่วงเวลานี้ เพราะคิดว่าการออกกำลังกายจะทำให้เหนื่อยมากขึ้น และสูญเสียพลังงานมากเกินไป ทั้งที่ความจริงแล้ว การออกกำลังกายในช่วงมีประจำเดือนนั้น ส่งผลดีต่อร่างกายและจิตใจหลายประการ ดังนี้ ช่วยลดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน การออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิก สามารถช่วยลดอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome / PMS) เช่น ท้องอืด เป็นตะคริว ปวดศีรษะ ปวดหลัง คัดหน้าอก อารมณ์แปรปรวน ที่ผู้หญิงต้องพบเจอในช่วง 2-3 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
expert badge medical

ฟิล เคลลี

วิทยาศาสตร์การกีฬา • KiwiFitness: Body Expert Systems

สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน