วัยรุ่น

เมื่อลูกของคุณเริ่มเข้าสู่ "วัยรุ่น" (หญิงอายุ 12-17 ปี และชายอายุ 14-19 ปี) แน่นอนว่าการดูแลสุขภาพและเรื่องอื่น ๆ โดยรวมก็ต้องเปลี่ยนไปจากตอนที่ยังเป็นเด็ก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเรียนรู้วิธีการเลี้ยงลูกและสนับสนุนพวกเขาได้ ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

วัยรุ่น

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ วัยรุ่น เพิ่มเติม

สำรวจ วัยรุ่น

สุขภาพจิตวัยรุ่น

โรคกลัวสังคม คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร

โรคกลัวสังคม เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งที่อาจทำให้เกิดความกลัวอย่างรุนแรงในสภาพแวดล้อมทางสังคม ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจมีปัญหาในการพูดคุยกับผู้คน การพบปะผู้คนใหม่ ๆ อีกทั้งยังกลัวการถูกตัดสินจากผู้อื่น อาการดังกล่าวนั้นไม่ได้พบเฉพาะในผู้ใหญ่ แต่เด็ก ๆ ก็อาจเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน โรคกลัวสังคม คืออะไร โรคกลัวสังคม (Social phobia) คือ โรควิตกกังวลนิดหนึ่งที่อาจทำให้เกิดความหวาดกลัวอย่างรุนแรงเมื่อต้องพูดคุยกับผู้คน พบปะผู้คนใหม่ ๆ และการเข้าสังคม นอกจากนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจกลัวการถูกตัดสินหรือพิจารณาจากผู้อื่น โรคกลัวสังคมอาจเป็นความกลัวที่ไม่มีเหตุผล และอาจรุนแรงจนไม่สามรถก้าวข้ามผ่านไปได้  โรคกลัวสังคมอาจแตกต่างจากการเขินอาย เพราะการเขินอายอาจเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ และอาจไม่รบกวนชีวิตประจำวัน ส่วนโรคกลัวสังคมอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนแอ และอาจส่งผลต่อความสามารถต่าง ๆ ดังนี้ การทำงาน การเรียนหนังสือ การพัฒนาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนนอกครอบครัว โรคกลัวสังคมอาจเป็นปัญหาที่เริ่มในช่วงวัยรุ่น สำหรับบางคนอาจดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น แต่สำหรับหลาย ๆ คนอาจไม่หายไปเองถ้าไม่ได้รับการรักษา ดังนั้น อาจต้องไปพบคุณหมอ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี อาการของโรคกลัวสังคม อาการของโรคกลัวสังคม อาจมีอาการเกิดขึ้นทั้งด้านกายภาพ และทางจิตใจ โดยอาการที่อาจเกิดขึ้นมีดังนี้ ลักษณะอาการทางกายภาพ  หน้าแดง มีอาการพูดลำบาก เวียนหัวหรือมึนหัว เหงื่อออกมากเกินไป ตัวสั่นหรือมีอาการสั่น อัตราการเต้นของหัวใจอย่างรวดเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน ลักษณะอาการทางจิต  กังวลอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์ทางสังคม กังวลเกี่ยวกับความอับอายในที่สาธารณะ กังวลว่าคนอื่นจะสังเกตเห็นว่ากำลังเครียดหรือวิตกกังวล มีความกังวลกับวันหรือสัปดาห์ กังวลก่อนเหตุการณ์นั้น ๆ จะมาถึง ต้องการดื่มแอลกอฮอล์เวลาที่ต้องเข้าสังคม ปลีกตัวออกจากสังคม  ขาดเรียน หรือลางาน หากโรคกลัวสังคมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยอาจพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคมทั้งหมด เช่น การถามคำถาม การสัมภาษณ์งาน การใช้ห้องน้ำสาธารณะ การคุยโทรศัพท์ การรับประทานอาหารในที่สาธารณะ การไปช้อปปิ้ง วิธีรับมือของคุณพ่อคุณแม่ เมื่อเด็กเกิดโรคกลัวสังคม คุณพ่อคุณแม่อาจดูแลเด็กได้ดังนี้ สอนให้เด็กรู้จักการเอาใจใส่ คุณพ่อคุณแม่อาจสอบถามเด็กว่าเพื่อนคนอื่น ๆ รู้สึกอย่างไร เวลาเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้น และอาจตามติดสถานการณ์ของเด็กอยู่เสมอ สอนให้เด็กเข้าใจในเรื่องของการมีพื้นที่ส่วนบุคคล […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

วัยรุ่น LGBTQ เพศที่สาม ทำร้ายตัวเอง ความเสี่ยงที่ป้องกันได้

การ ทำร้ายตัวเอง หมายถึงการทำให้ตัวเองบาดเจ็บ หรือเป็นอันตรายด้วยความตั้งใจ ไม่ใช่เพราะอุบัติเหตุ โดยข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตพบว่า วัยรุ่นมีปัญหาโรคซึมเศร้า และในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมีเด็กคิดฆ่าตัวตาย  6% ซึ่งการทำร้ายตัวเองอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย และมีงานวิจัยที่พบว่าวัยรุ่น LGBTQ หรือวัยรุ่นที่เป็น เพศที่สาม มีอัตราเสี่ยงต่อการ ทำร้ายตัวเอง การศึกษาวิธีป้องกัน ว่าจะรับมืออย่างไรเมื่อวัยรุ่นทำร้ายตัวเอง แต่อย่างไรก็ตาม หากสังเกตเห็นการทำร้ายตัวเอง เช่น กรีดข้อมือ กินยาเกินขนาด ควรไปพบคุณหมอทันที งานวิจัยชี้ วัยรุ่น LGBTQ เสี่ยง ทำร้ายตัวเอง งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ JAMA Pediatrics ให้ข้อมูลว่า มีจำนวนที่น่าตกใจของวัยรุ่นที่ทำร้ายตัวเอง แต่วัยรุ่นที่เป็นไบเซ็กชวล (Bisexual) หรือวัยรุ่นเพศที่ 3 อาจมีแนวโน้มว่าจะทำร้ายตัวเองมากกว่าถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มสเตรท (Straight) หรือวัยรุ่นที่รักเพศตรงข้าม โดยงานวิจัยให้ข้อมูลว่า วัยรุ่นกลุ่มเฮเตอโรเซ็กชวล (Heterosexual) หรือกลุ่มที่รักเพศตรงข้ามระหว่าง 10%-20% มีพฤติกรรมที่เป็นอันตราย แต่วัยรุ่นกลุ่ม LGBTQ หรือกลุ่มที่รักเพศเดียวกัน  38%-53% มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง ผู้วิจัยกล่าวว่า อัตราการบาดเจ็บจากการพยายามฆ่าตัวตาย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหมู่วัยรุ่นเพศที่สาม […]


สุขภาพวัยรุ่น

คุยกับเด็กเรื่องเซ็กส์ เริ่มต้นอย่างไร ควรพูดอะไรบ้าง

คุยกับเด็กเรื่องเซ็กส์ อาจไม่ใช่หัวข้อที่ผู้ปกครองต้องการคุย ทั้งที่จริงแล้ว หากเด็กรู้สึกว่าพ่อกับแม่ไม่เปิดใจที่จะพูดคุยหรือรับฟังเวลาที่เขาต้องการใครสักคน อาจทำให้เด็กไม่กล้าที่จะคุยเรื่องนี้กับพ่อแม่ จนต้องหันหน้าไปพึ่งคนนอกครอบครัว หรือหาข้อมูลด้วยตนเองซึ่งอาจไม่น่าเชื่อถือหรือทำให้มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องเซ็กส์ หากพ่อแม่ช่วยให้คำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมในการดูแลสุขภาพทางเพศและการมีเซ็กส์อย่างปลอดภัย อาจช่วยลดปัญหาเรื่องเพศในสังคมได้ [embed-health-tool-bmi] ทำไมต้องคุยกับเด็กเรื่องเซ็กส์   พ่อกับแม่คือคนที่ใกล้ชิดกับลูกมากที่สุด คำแนะนำที่ดีสามารถกระตุ้นให้ลูกรู้จักดูแลร่างกายของตนเอง และกระตุ้นจิตสำนึกที่จะเกิดความนับถือตัวเอง หากไม่มั่นใจว่าจะสามารถให้คำแนะนำที่ดีเกี่ยวกับเซ็กส์แก่ลูกได้หรือไม่ อาจหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ หรือปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ การสอนลูกและพูดคุยกับลูกให้มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเพศ และแสดงถึงความเข้าใจในตัวของลูก จะช่วยให้ลูกเข้าใจเรื่องเซ็กส์ มีสุขภาพทางเพศที่ดี รู้จักดูแลและป้องกันตนเอง หรือหากมีปัญหา ลูกรู้สึกอุ่นใจว่ามีพ่อกับแม่พร้อมรับฟังและเป็นที่พึ่ง คุยกับเด็กเรื่องเซ็กส์เวลาไหนดีที่สุด ในช่วงอายุ 8 – 12 ปี เด็ก ๆ มักจะเริ่มสงสัยในการเปลี่ยนแปลงของร่างกายว่าปกติหรือเปล่า และอาจเริ่มถามคำถาม ที่อาจทำให้พ่อแม่รู้สึกอึดอัดที่จะพูดคุยเรื่องนี้กับลูก และพยายามหลีกเลี่ยง แต่จริง ๆ แล้ว การพูดคุยกับลูกอย่างเปิดใจ และตรงไปตรงมา จะช่วยให้ลูกจะเข้าใจเรื่องเพศ และสามารถตัดสินใจเรื่องเพศได้อย่างเหมาะสม โดยวิธีที่ดีทีสุดคือการรับฟังและตอบข้อสงสัยของลูก แทนการสั่งสอนหรืออบรมเพียงฝ่ายเดียว ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการคุยเรื่องเซ็กส์นั้นไม่มีขอบเขตหรือกำหนดเวลาที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น หากคุณแม่หรือคนในครอบครัวตั้งครรภ์ และเด็กสงสัยว่าทารกเข้าไปอยู่ในท้องของผู้หญิงได้อย่างไร หรือหากมีโฆษณาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ๋อนเร้นผู้หญิง หรือผ้าอนามัย อาจชวนคุยเรื่องการมีประจำเดือน และการดูแลความสะอาดช่องคลอด หรือโฆษณาถุงยางอนามัย อาจชวนคุยเรื่องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สถานการณ์เหล่านี้จะช่วยให้เด็กรู้สึกว่าการพูดคุยเรื่องเซ็กส์เป็นเรื่องปกติ ทำให้กล้าปรึกษากับพ่อแม่ได้โดยไม่เขินอาย  คุยกับเด็กเรื่องเซ็กส์ ควรคุยเรื่องอะไรบ้าง เมื่อลูกมาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องเซ็กส์ พ่อแม่ควรรับฟัง ให้คำปรึกษา […]


วัยรุ่น

ความรับผิดชอบ สำคัญอย่างไร ควรเริ่มสอนลูกเมื่อไรดี

ความรับผิดชอบ เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้และฝึกฝนโดยอาจจะเริ่มจากการรู้จักรับผิดชอบต่อตนเอง เช่น การเก็บที่นอน การอาบน้ำแต่งตัว การรับประทานอาหารด้วยตนเอง และค่อย ๆ ฝึกขยายเพิ่มขอบเขตความรับผิดชอบให้มากขึ้น เช่น การทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ การช่วยคุณพ่อคุณแม่ดูแลน้อง ทั้งนี้ การรู้จักมอบหมายหน้าที่ให้รับผิดชอบจะเป็นการช่วยฝึกฝนให้เขารู้จักรับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่นด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] ความรับผิดชอบ คืออะไร หากมีคนมาถามว่า คุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกโตขึ้นเป็นคนแบบไหน นอกจากคำตอบที่ว่า อยากให้ลูกประสบความเร็จในชีวิตแล้ว อีกหนึ่งคำตอบที่พ่อแม่หลายคนอยากให้เกิดขึ้นจริงคือ อยากให้ลูกเป็นคนมีความรับผิดชอบ เพราะความรับผิดชอบก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้เด็กสามารถประสบความสำเร็จได้ ความรับผิดชอบนั้นมีหลายแง่มุม เช่น ดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี เช่น การรักษาความสะอาดของร่างกาย รักษาคำพูดและข้อตกลงได้เป็นอย่างดี ทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง โดยไม่ต้องได้รับการเตือนซ้ำ ไม่ว่าจะได้รับมอบหมายให้ทำอะไร ก็จะปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้ออกมาดีที่สุด ยอมรับผลของการกระทำและคำพูด ทั้งต่อของตัวเองและเพื่อนร่วมงาน ยอมรับในความผิดพลาดของตนเองและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้ดีขึ้น การมีความรับผิดชอบนับเป็นอีกหนึ่งกุญแจสู่ความสำเร็จ คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองจึงควรฝึกให้ลูกมีความรับผิดชอบ ทั้งกับการเรียนในโรงเรียน และการทำกิจกรรมอื่น ๆ เมื่ออยู่ข้างนอก เพื่อที่ลูกน้อยจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ควรเริ่มสอนให้ลูกมีความรับผิดชอบเมื่อไหร่ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เริ่มรู้จักความรับผิดชอบที่อายุประมาณ 13-16 ปี เพราะเด็กวัยเรียนที่อยู่ในช่วงวัยนี้ สามารถวิเคราะห์และทำความเข้าใจเรื่องของความเหมาะสม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้ แต่จริง ๆ แล้ว […]


สุขภาพวัยรุ่น

อาหารที่เหมาะสมกับวัยรุ่น เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงทั้งร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ

อาหารที่เหมาะสมกับวัยรุ่น คือ อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีอายุประมาณ 12-20 ปี เพื่อช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรงทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ รวมทั้งได้รับพลังงานอย่างเพียงพอเพื่อนำไปใช้ในการทำกิจกรรมแต่ละวัน เนื่องจากในแต่ละช่วงวัยต้องการสารอาหารแต่ละชนิดในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป จำเป็นต้องเลือกรับประทานเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เหมาะสมแก่วัย อาหารที่เหมาะสมกับวัยรุ่น อาหารที่เหมาะสมกับวัยรุ่น คืออาหารที่ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในส่วนของการสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ และเลือด วัยรุ่นจำเป็นต้องรับประทานอาหารหลากหลายเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องเลือกสรรอาหารที่เหมาะสมกับวัยรุ่น ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีไขมัน โซเดียม หรือน้ำตาลสูง แต่ควรให้รับประทานอาหารที่ให้สารอาหารแก่ร่างกายทั้งไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็น โดยเฉพาะสารอาหารดังนี้ 1. ธาตุเหล็ก ร่างกายต้องการธาตุเหล็กเพื่อใช้ในการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์และอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ ธาตุเหล็กยังช่วยในการเผาผลาญโปรตีน เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้อวัยวะภายในและกล้ามเนื้อของวัยรุ่นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเจริญเติบโตได้เป็นปกติ ทั้งยังช่วยให้มีสมาธิ และนอนหลับได้ดีขึ้น หากร่างกายวัยรุ่นได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอจะทำให้เหนื่อยง่าย หายใจหอบ ติดเชื้อและเป็นหวัดบ่อย ปวดศีรษะเป็นประจำ และไม่มีสมาธิในเวลาเรียน ธาตุเหล็ก พบได้มากในเนื้อสัตว์ไร้มัน เนื้อไก่ ปลา อาหารทะเล ผักใบเขียว ถั่วเหลือง ธัญพืช ผลไม้แห้ง เป็นต้น วัยรุ่นชายควรได้รับธาตุเหล็กในปริมาณ 11 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนวัยรุ่นหญิงควรได้รับธาตุเหล็กในปริมาณ 15 มิลลิกรัมต่อวัน สาเหตุที่วัยรุ่นหญิงต้องการธาตุเหล็กมากกว่าวัยรุ่นชาย ก็เพราะอยู่ในช่วงเริ่มมีประจำเดือน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน