การดูแลทารก

การดูแลทารก คือการดูแลลูกน้อยตั้งแต่เริ่มอาบน้ำไปจนถึงการพาเจ้าตัวน้อยเข้านอนอย่างสบายตลอดทั้งคืน ลองมาดูเคล็ดลับการดูแลทารกที่ได้รับรองจากผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การดูแลทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

สำรวจ การดูแลทารก

การดูแลทารก

ดูแลทารก บนเครื่องบินอย่างไร

เมื่อวันหยุดสุดสัปดาห์หรือวันหยุดยาวมาถึง หลายครอบครัวต่างก็อยากที่จะออกไปท่องเที่ยวกันแบบพร้อมหน้าพร้อมตา ทำให้ตัวเลือกสำหรับการเดินทางที่ประหยัดเวลา ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างแดน คงเป็น ‘เครื่องบิน’ ในบางครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ก็มีความจำเป็นที่จะต้องพาลูกน้อยขึ้นเครื่องไปด้วยอีก พ่อแม่มือใหม่อาจจะยังเตรียมตัวไม่พร้อมในการ ดูแลทารก มากนัก วันนี้ Hello คุณหมอได้นำความรู้ที่สามารถเป็นคู่มือของหลายๆ ครอบครัว ที่กำลังมีแพลนจะออกเดินทางด้วยเครื่องบินมาฝากกันค่ะ [embed-health-tool-vaccination-tool] คุณพ่อคุณแม่ ควรเตรียมตัวอย่างไร ก่อนพาลูกขึ้นเครื่อง การเดินทางที่ยาวไกลสำหรับครอบครัวที่พาลูกน้อยไปด้วยนั้น คุณพ่อคุณแม่จำเป็นอย่างมากที่ต้องเตรียมความพร้อม เพื่อป้องกันปัญหานำมาสู่การรบกวนผู้อื่นบนเครื่องบิน ซึ่งควรเริ่มวางแผนการเดินทางได้ดังนี้ ตรวจสุขภาพทารกโดยกุมารแพทย์อย่างละเอียด และอาจได้รับวัคซีนเป็นภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ ในระหว่างเดินทาง และในประเทศปลายทาง ทำการจองที่นั่งโดยระบุรายละเอียดให้แก่สายการบินทราบ และควรสอบถามถึงข้อจำกัด หรือข้อบังคับ สำหรับการพาเด็กทารกขึ้นเครื่อง เพราะสายการบินบางแห่งไม่อนุญาตให้เด็กแรกเกิดที่มีอายุต่ำกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นบิน เพื่อป้องกันอันตรายแก่เด็ก ในขณะเดียวกันบางสายการบินอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมของน้ำหนักสัมภาระ เลือกแถวนั่งที่มีพื้นเป็นบริเวณกว้างกว่าแถวอื่นๆ หรือเลือกที่นั่งใกล้ชิดกับหน้าตาเครื่องบินมากกว่าที่นั่งด้านนนอก เพราะอาจได้รับอุบัติเหตุจากการบริการอาหารเครื่องดื่ม เช่น น้ำร้อน ที่ส่งมาจากด้านนอกมายังด้านใน หรือรถเข็นบริการอาจเฉี่ยวชนได้ หลีกเลี่ยงการจองช่วงเวลาเดินทางที่ตรงกับเวลานอนของทารก เนื่องจากการเดินทางทางอากาศมีผลให้ทารกตื่นตัว เกิดเป็นอารมณ์หงุดหงิดจนส่งเสียงร้องไห้ออกมา เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกรักคุณทันทีก่อนขึ้นเครื่อง จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวในขณะเดินทาง ไม่ควรให้นมก่อนขึ้นเครื่องไม่เช่นนั้น ทารกอาจเผลอหลับและทำให้ตื่นอีกทีช่วงเดินทาง ซึ่งอาจเกิดอาการงอแงได้ อุปกรณ์สำหรับ ดูแลทารก ที่ควรมีติดกระเป๋า คุณพ่อคุณแม่ควรจัดกระเป๋าสัมภาระ และอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมสำหรับการดูแลลูกน้อยในระหว่างเที่ยวบิน ดังนี้ เบาะนั่งสำหรับเด็กทารกแบบพกพา หรือ […]


การดูแลทารก

ฟันซี่แรก ของลูก และข้อควรรู้สำหรับคุณพ่อคุณแม่

ฟันซี่แรก ถือเป็นพัฒนาการทางกายที่สำคัญอย่างหนึ่งของเด็กทุกคน อย่างไรก็ตาม ฟันซี่แรก อาจทำให้เด็กรู้สึกไม่สบาย มีปัญหาสุขภาพ หรือมีพฤติกรรมแปลกไปจนคุณพ่อคุณแม่สังเกตได้ เช่น เหงือกบวม ร้องไห้ งอแง ดังนั้น การทราบข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลฟันซี่แรก วิธีแปรงฟัน รวมถึงวิธีบรรเทาอาการที่อาจเกิดขึ้น อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลและรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นลูกน้อยได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ฟันซี่แรก ขึ้นเมื่อใด โดยทั่วไปแล้ว ฟันซี่แรกของเด็กจะขึ้นในช่วงอายุประมาณ 6 เดือน แต่เด็กอาจเริ่มมีฟันขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างอายุ 6-13 เดือนก็ได้ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรกังวลมากเกินไป หากลูกอายุครบ 6 เดือนแล้วแต่ฟันซี่แรกยังไม่ขึ้น ฟันซี่แรกที่ขึ้นมักจะเป็นฟันด้านหน้า โดยฟันล่างมักจะขึ้นก่อน แต่สำหรับเด็กบางคน ฟัน 2 ซี่บนอาจขึ้นมาก่อนพร้อม ๆ กัน จากนั้นฟันซี่อื่นจึงค่อย ๆ ขึ้นตามกันมาเป็นลำดับ เด็ก ๆ จะมีฟันน้ำนมครบทุกซี่ ภายในอายุ 3 ขวบ โดยทั่วไปแล้ว ลำดับการขึ้นของฟันในช่วงอายุต่าง ๆ ได้แก่ 6-12 เดือน ฟันหน้า 9-12 เดือน ฟันด้านข้าง (ที่ติดกับฟันหน้าตรงกลาง) […]


การดูแลทารก

วิธีการสอนให้ลูกกินแบบ BLW

BLW (Baby Led Weaning) หมายถึง การให้ลูกหยิบอาหารกินด้วยตัวเอง อาหารที่นำมาให้ลูกฝึกกินควรเป็นอาหารที่ ค่อนข้างแข็งเล็กน้อย และควรผ่านการปรุงสุกเพื่อช่วยให้กินได้ง่าย เหมาะสำหรับเด็กเล็ก โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นอาหารประเภทผักและผลไม้ เช่น เช่น มะละกอ แอปเปิ้ล มะเขือเทศ แครอท การฝึกให้ลูกกินแบบ BLW ควรเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่สามารถเริ่มรับประทานอาหารอื่นนอกจากนมได้ สามารถเริ่มหยิบจับสิ่งของได้ และเริ่มนั่งตัวตรงได้แล้ว การฝึกให้ลูกกินแบบ BLW เป็นการเสริมทักษะเพื่อให้ลูกสามารถเริ่มหัดช่วยเหลือตัวเองได้ และอาจช่วยประหยัดเวลาในการป้อนอาหารได้มากขึ้น [embed-health-tool-baby-poop-tool] เมื่อไหร่ลูกจะพร้อมฝึก BLW  ลูกควรมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยที่สามารถนั่งบนเก้าอี้แบบทรงตัวตรง ๆ ได้ด้วยตัวเอง เพราะต้องกินอาหารได้เองแบบที่ไม่ต้องมีคนคอยช่วย เพียงแค่คอยสังเกตพฤติกรรมเท่านั้น การนั่งเองได้เป็นสิ่งที่สำคัญมากกับการกินแบบBLW เมื่อเด็กสามารถนั่งเองได้ก็จะง่ายต่อการกิน หยิบจับของได้ การกินแบบนี้ส่วนใหญ่เน้นให้เด็ก ๆ กินด้วยตัวเอง คุณพ่อหรือคุณแม่ควรสังเกตจากขั้นพื้นฐานของลูกในเรื่องการเริ่มหยิบจับสิ่งของ เริ่มเคี้ยวอาหารได้ แม้ว่าฟันของเด็ก ๆ จะยังไม่ขึ้นเต็มที่ แต่เขาก็มีเหงือกที่แข็งแรงพอที่จะเคี้ยวบดอาหารได้แล้ว วิธีการฝึกให้ลูกหยิบอาหารกินด้วยตัวเอง ให้ลูกนั่งร่วมโต๊ะอาหารในทุก ๆ มื้ออาหาร แม้เขาอาจจะไม่ได้กินอาหารในทุก ๆ […]


การดูแลทารก

สายสะดือ มีหน้าที่อะไร และวิธีดูแลสายสะดือที่ถูกต้อง

สายสะดือ ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารและออกซิเจน เพื่อช่วยให้ลูกน้อยได้มีพัฒนาการในการเจริญเติบโตตอนที่ยังอยู่ในครรภ์ แต่หลังจากที่ทารกคลอดออกมา สายสะดือก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป สายสะดือจึงถูกตัดและรัดเอาไว้จนกลายเป็นตอสั้น ๆ ซึ่งถ้าดูแลไม่ดี ก็อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อจนทำให้เลือดไหลออกมา มีไข้ มีหนองไหลอกมาได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] สายสะดือ คืออะไร สายสะดือ เป็นสายที่ต่อมาจากช่องท้องของทารก แล้วเชื่อมต่อกับรก ทำหน้าที่ในการลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนผ่านทางรกที่ติดอยู่กับผนังมดลูกด้านในของคุณแม่ หลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว สายสะดือจะถูกรัดและตัดให้ชิดอยู่กลางลำตัวของร่างกายเด็ก ทำให้เกิดเป็นตอสะดือ ซึ่งขั้นตอนนี้ไม่ทำให้ทารกรู้สึกเจ็บปวด สายสะดือจะแห้งและหลุดออกภายใน 7-21 วัน เหลือไว้แต่แผลเล็ก ๆ ที่อาจหายได้เองภายใน 2-3 วัน วิธีดูแลสายสะดือ สายสะดือจะแห้งและหลุดออกไปในที่สุด ซึ่งโดยปกติจะหลุดออกภายใน 1-3 สัปดาห์หลังคลอด ซึ่งในระหว่างนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ควรดูแลสายสะดือให้เด็กทารก ด้วยวิธีการต่อไปนี้ รักษาความสะอาดและทำให้สายสะดือแห้งอยู่เสมอ พับผ้าอ้อมไม่ให้ไปกดทับในบริเวณสายสะดือ (หรือซื้อผ้าอ้อมสำหรับเด็กแรกเกิดที่ทำรอยเว้าเอาไว้สำหรับสายสะดือ) วิธีนี้อาจช่วยให้สายสะดือโดนลม และช่วยป้องกันไม่ได้โดนปัสสาวะของเด็กด้วย อาบน้ำให้ลูกน้อยด้วยการใช้ฟองน้ำ ชุบน้ำเช็ดตามเนื้อตัวให้ลูกน้อย แทนการจับลูกน้อยลงไปนอนแช่ในอ่างน้ำ เลือกเสื้อผ้าที่โปร่งสบายให้ลูกน้อย ถ้าสภาพอากาศอบอุ่นสบาย ก็ให้ลูกน้อยใส่แค่ผ้าอ้อมและเสื้อยืดหลวม ๆ เพื่อช่วยให้เกิดอากาศถ่ายเท ซึ่งจะทำให้แผลแห้งได้เร็วขึ้น อย่าสวมเสื้อผ้ารัดแน่นให้ลูกน้อย หลีกเลี่ยงการสวมกางเกงหรือบอดี้สูทให้ลูกน้อย อย่าพยายามแกะแผลสายสะดือ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การไม่ไปแตะต้องกับแผลบริเวณสะดือเลย จะช่วยให้แผลแห้งได้เร็วกว่า และไม่ต้องเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ  สัญญาณที่บ่งบอกว่าสายสะดือเกิดการติดเชื้อ ถึงแม้แผลสายสะดือจะเกิดอาการติดเชื้อได้ยาก แต่ถ้าลูกน้อยมีอาการต่อไปนี้ ก็ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที […]


การดูแลทารก

วิธีอาบน้ำทารก และการดูแลร่างกายส่วนต่าง ๆ

วิธีอาบน้ำทารก เป็นขั้นตอนที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความใส่ใจและให้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ นอกเหนือจากขั้นตอนต่าง ๆ ที่ควรอาบน้ำให้ถูกต้องแล้ว ควรคำนึงถึงผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใช้ครีมอาบน้ำ สบู่ ยาสระผม รวมถึงผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของผู้ใหญ่กับเด็กทารก เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีอาบน้ำทารก โดยปกติแล้ว ทารกแรกเกิดจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์สายสะดือจึงจะหลุดออก ซึ่งในระหว่างนั้นไม่ควรอาบน้ำให้ทารก แต่ควรใช้ฟองน้ำนุ่ม ๆ ชุบน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดแทน ส่วนเด็กผู้ชายที่ทำการขลิบไม่ควรอาบน้ำจนกว่าแผลที่บริเวณอวัยวะเพศจะหายดีแล้ว โดยคุณพ่อคุณแม่อาจอาบน้ำทารกได้ ดังนี้ ถอดเสื้อผ้าและผ้าอ้อมออกจากตัวทารก แล้ววางทารกไว้บนผ้าเช็ดตัวแห้งสะอาด หากอากาศหนาว ให้ถอดเสื้อผ้าออกทีละชิ้น เพื่อป้องกันทารกหนาวเกินไปจนอาจทำให้เป็นไข้ได้ ใช้ผ้าขนหนูนุ่ม ๆ ชุบน้ำอุ่น บิดให้หมาด แล้วเช็ดหน้าให้ทารกโดยไม่ต้องใช้สบู่ ผสมน้ำอุ่นกับสบู่ นำผ้าขนหนูที่ใช้เช็ดหน้าเมื่อสักครู่ชุบน้ำสบู่ที่ผสมไว้ บิดให้หมาด แล้วเช็ดตัวให้ทารก โดยเช็ดทำความสะอาดส่วนที่อยู่ใต้ผ้าอ้อมเป็นที่สุดท้าย ล้างตัวด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้าขนหนูแห้งสนิทซับตัวให้แห้ง ควักน้ำอุ่นใส่ศีรษะทารกช้า ๆ ให้น้ำเปียกทั่วศีรษะ บีบยาสระผมปริมาณเล็กน้อยลงบนศีรษะ จากนั้นถูวนเป็นวงกลมให้ทั่ว เสร็จแล้วค่อย ๆ ล้างยาสระผมออกให้เกลี้ยง โดยต้องระวังอย่าให้ยาสระผมเข้าตา สำหรับวิธีอาบน้ำทารก นอกจากต้องใส่ใจในทุกขั้นตอนและควรทำด้วยความระมัดระวังแล้ว ยังควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวและเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับทารกโดยเฉพาะ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใช้ครีมอาบน้ำ สบู่ ยาสระผม รวมถึงผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของผู้ใหญ่กับทารก เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคือง การดูแลร่างกายส่วนต่าง ๆ ของทารก นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะต้องเรียนรู้วิธีอาบน้ำทารกที่ถูกต้องแล้ว ก็ควรดูแลร่างกายส่วนอื่น […]


การดูแลทารก

ขวดนม กับข้อมูลสำคัญที่พ่อแม่ควรรู้

ขวดนม นับเป็นตัวช่วยสำหรับคุณแม่ในการให้นมทารก โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูกดื่ม โดยสามารถนำน้ำนมที่แช่เก็บไว้ใส่ขวดแล้วให้คุณพ่อหรือคนในบ้านช่วยป้อนนมให้ลูกน้อยได้แทนการดูดจากเต้า เป็นการประหยัดเวลาให้คุณแม่ได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม คุณแม่และทุกคนในครอบครัวควรตระหนักถึงข้อมูลสำคัญและข้อควรระวังเกี่ยวกับขวดนมเพื่อที่จะได้มีขวดนมที่ปลอดภัยไว้ใช้กับลูกน้อยนั่นเอง [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของการใช้ขวดนม แม้การดื่มนมแม่จากเต้าโดยตรงเป็นเรื่องที่ดี แต่การใช้ขวดนมมาเป็นตัวช่วยในการให้นมลูก็มีข้อดีเช่นกัน สามารถรับรู้ปริมาณอาหารที่ลูกได้รับอย่างแน่นอนในแต่ละครั้งหรือแต่ละวัน โดยกำหนดให้แน่ชัดได้ว่าต้องการให้นมในปริมาณเท่าไหร่ หรือให้นมกี่ขวดจึงจะเพียงพอให้ลูกอิ่ม หากลูกต้องดื่มแต่นมแม่จากเต้าอย่างเดียว ในแต่ละครั้งที่เด็กหิว ผู้เป็นแม่จะต้องสละเวลาในการทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อมาให้นมลูก แต่การสลับมาให้ลูกดื่มนมจากขวดนม (โดยภายในอาจเป็นนมผงสำหรับเด็ก หรืออาจเป็นนมแม่ที่มีการปั๊มนมเก็บไว้สำหรับใส่ขวดนม) ก็จะเป็นการประหยัดเวลาให้ผู้เป็นแม่ได้มีเวลาพักผ่อนหรือทำกิจกรรมอื่นๆ โดยให้สมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ คอยดูแลเรื่องการให้นมจากขวดนมแทนได้ เด็กที่ดื่มนมจากขวดนมจะหิวน้อยกว่าเด็กที่ดื่มนมจากเต้านมแม่ เพราะการดื่มนมจากขวดนมจะใช้เวลาในการย่อยนานกว่าดื่มนมจากเต้านมแม่ ข้อเสียของการใช้ขวดนม การให้ลูกดื่มนมจากขวดมีประโยชน์มากมาย แต่ก็มีข้อเสียที่คุณไม่ต้องพิจารณาเช่นเดียวกัน คุณแม่ที่ให้ลูกดื่มนมจากเต้านมของตนเอง จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ โรคกระดูกพรุน น้อยกว่าคุณแม่ที่ให้ลูกดื่มนมจากขวดนม การให้ลูกดื่มนมจากขวดนม (และในขวดนมเป็นนมผงสำหรับเด็ก) จะมีการย่อยที่ช้ากว่าการดื่มนมจากเต้านมของแม่ ค่าใช้จ่ายในการซื้อขวดนมและนมผงนั้นแพงกว่าการให้ลูกดื่มนมจากเต้านมของแม่ วิธีทำความสะอาดขวดนม สิ่งสำคัญที่สุดในการให้ลูกดื่มนมจากขวดนมนั่นคือการทำความสะอาดอย่างหมดจดเพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยของลูกน้อย หลังจากที่เด็กดื่มนมจากขวดนมเสร็จ ให้ล้างขวดนมและจุกนมทันทีด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอุปกรณ์สำหรับเด็ก แล้วล้างด้วยน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น ใช้แปรงสำหรับทำความสะอาดขวดนม และควรแน่ใจว่าทำความสะอาดคราบนมที่ติดอยู่ในขวดนมออกจนหมด เมื่อล้างเสร็จแล้วให้ล้างขวดนมอีกครั้งด้วยน้ำสะอาด แล้วนำไปตากให้แห้ง ข้อห้ามสำหรับขวดนม หลายคนใช้ขวดนมโดยไม่ทันระวังเพราะคิดว่าการใช้ขวดนมนั้นสะดวกและประหยัดเวลา แต่รู้หรือไม่ว่ามีข้อห้ามอยู่หลายประการเกี่ยวกับการใช้ขวดนม ซึ่งต้องให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องความสะอาด ไมโครเวฟของต้องห้าม คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนมักจะนำขวดนมไปอุ่นในไมโครเวฟ จริงๆ แล้วนับเป็นข้อห้ามเด็ดขาด ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่สะดวกสบาย เพราะการนำขวดนมไปอุ่นในไมโครเวฟ จะทำให้ระดับความร้อนนั้นไม่พอดี ถ้าหากว่าเด็กได้รับนมที่ร้อนมากจนเกินไปก็อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทางที่ดีลองเอานมขวดแช่ในน้ำอุ่นแล้วลองหยดน้ำลงบนมือเพื่อตรวจสอบในเบื้องต้นดูว่าอุณภูมิอยู่ในระดับที่พอดีหรือไม่ ไม่ควรให้ดื่มนมในขณะนอนหลับ ข้อควรระวังอีกข้อหนึ่งก็คือ ระวังไม่ให้เด็กดื่มนมจากขวดนมไปพร้อมๆ กับการนอนหลับ หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องปกติที่ควรทำเพราะจะช่วยให้เด็กนั้นหลับสบายมากยิ่งขึ้น แต่ในความเป็นจริงนั้นถือเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เด็กเกิดการสำลักนมในขณะนอนหลับ และยังเพิ่มความเสี่ยงในเรื่องของฟันผุอีกด้วย อย่าใส่ธัญพืชลงในน้ำนม คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่กลัวว่าลูกจะได้รับสารอาหารจากนมไม่เพียงพอ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เด็กจะได้รับใยอาหารจากนมอย่างเพียงพออยู่แล้ว […]


การดูแลทารก

ขลิบ ที่ลับ แต่ไม่ใช่เรื่องลับ สำหรับพ่อแม่มือใหม่

ขลิบ เป็นการผ่าตัดเอาหนังหุ้มปลายลึงค์ออกจากองชาตของทารกเพศชาย เนื่องจากมีความเชื่อว่าอาจช่วยให้ผู้ชายทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศได้มากขึ้น รวมถึงยังอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ส่วนใหญ่แล้วจะทำหลังจากคลอด 2-3 อาทิตย์ แต่สำหรับเด็กทารกบางคนก็อยู่ในระยะเวลา 10 วัน หลังจากขลิบปลายแล้วแผลจะหายเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์ [embed-health-tool-vaccination-tool] ขลิบ เรื่องพื้นฐานที่ควรรู้ การขลิบมีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ โดยเชื่อกันว่าจะทำให้ผู้ชายรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศได้มากขึ้น สำหรับการขลิบทางพิธีกรรมศาสนาจะเรียกว่า การเข้าพิธีสุนัต (Khitan) ซึ่งการเข้าพิธีสุนัตในทุกวันนี้ ส่วนใหญ่จะทำเพื่อเหตุผลทางศาสนา หรือวัฒนธรรม ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณ 55% ของทารกแรกเกิด จะถูกพาเข้าสุนัตไม่นานหลังคลอด ส่วนเด็กผู้ชายคนอื่น ๆ อาจจะมีการผ่าตัดในภายหลัง สำหรับการขลิบเป็นเรื่องพื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ในปัจจุบันจำเป็นจะต้องรู้ อย่างน้อยต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การที่จะทำการขลิบปลายนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะทำหลังจากคลอด 2-3 อาทิตย์ แต่สำหรับเด็กทารกบางคนก็อยู่ในระยะเวลา 10 วัน ซึ่งวิธีการนั้นก็จะเป็นการตัดเอาหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของเด็กผู้ชายออกนั่นเอง วิธีการดูแลรักษาหลังการขลิบ หลังจากพาลูกน้อยไปขลิบมาเรียบร้อยแล้ว อาการจะสามารถหายไปได้ภายใน 7-10 วัน ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามดูแลรักษาและทำความสะอาดให้ได้มากที่สุด และอาจจะต้องมีการคอยระมัดระวังบริเวณที่ไปขลิบมา เนื่องจากอาจจะมีอาการบวม หรือเลือดออกในบางครั้ง แต่ไม่ใช่ตลอดเวลา สาเหตุของการขลิบ เพื่อความสะอาด คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ เนื่องจากว่า หากดูแลได้ไม่ดีพอหรือไม่คอยดูแลรักษาความสะอาดในส่วนนั้นสักเท่าไหร่ อาจจะทำให้เกิดการสะสมเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคต่าง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน