การดูแลทารก

การดูแลทารก คือการดูแลลูกน้อยตั้งแต่เริ่มอาบน้ำไปจนถึงการพาเจ้าตัวน้อยเข้านอนอย่างสบายตลอดทั้งคืน ลองมาดูเคล็ดลับการดูแลทารกที่ได้รับรองจากผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การดูแลทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

สำรวจ การดูแลทารก

การดูแลทารก

ที่ดูดน้ำมูกทารก วิธีใช้และการทำความสะอาด

ที่ดูดน้ำมูกทารก มักใช้เมื่อทารกมีน้ำมูกหรือเสมหะมากในช่วงเช้าหลังตื่นนอนและช่วงก่อนนอน นอกจากนี้ ยังใช้เมื่อทารกมีอาการเจ็บป่วย เช่น คัดจมูก ไข้หวัด โรคปอดบวม ไวรัสทางเดินหายใจ เพื่อช่วยดูดเอาเมือกส่วนเกินทั้งในจมูก ปากและลำคอออกมา ทำให้ทารกหายใจสะดวกและสบายตัวมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ที่ดูดน้ำมูกทารก ใช้เพื่ออะไร ที่ดูดน้ำมูกทารก ใช้เพื่อดูดน้ำมูกในจมูกหรือเสมหะในลำคอของทารก เนื่องจากทารกยังไม่สามารถสั่งน้ำมูกหรือบ้วนเสมหะออกมาได้เอง ทั้งยังช่วยให้ทารกหายใจสะดวกขึ้น ลดอาการร้องไห้งอแงเนื่องจากความไม่สบายตัวและช่วยลดการผลิตสารคัดหลั่งในร่างกายมากจนเกินไปในขณะที่ทารกมีอาการป่วยจากโรคเหล่านี้ ไข้หวัด คัดจมูก หรือไข้หวัดใหญ่ ไวรัสระบบทางเดินหายใจ (RSV) โรคปอดบวม หลอดลมฝอยอักเสบ นอกจากนี้ การดูดน้ำมูกทารกอาจจำเป็น หากทารกมีภาวะความเจ็บป่วยอื่น ๆ เช่น การไอของทารกเนื่องจากมีเสมหะมาก จำเป็นต้องใช้ที่ดูดเสมหะเพื่อบรรเทาอาการไอ ความเจ็บป่วยหรืออาการบาดเจ็บบางอย่างที่อาจส่งผลต่อเส้นประสาทและสมอง อาจทำให้ความสามารถในการไอลดลง ทำให้น้ำมูกหรือเสมหะสะสมที่ด้านหลังลำคอ จมูกและปาก จึงจำเป็นต้องใช้ที่ดูดน้ำมูกช่วยดูดออกมา วิธีใช้ที่ดูดน้ำมูกทารก การดูดน้ำมูกทารก จะใช้น้ำเกลือหยดเข้าไปในจมูกเพื่อให้เสมหะหรือขี้มูกนิ่ม ก่อนเริ่มการดูดน้ำมูกทารก คุณแม่จึงควรอุ่นน้ำเกลือก่อนเสมอ โดยนำขวดน้ำเกลือไปแช่ลงในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที และก่อนนำน้ำเกลือมาใช้ล้างจมูกทารก ควรทดสอบอุณหภูมิโดยการหยดน้ำเกลือที่หลังมือก่อนเสมอให้แน่ใจว่าไม่ร้อนจนเกินไป วิธีใช้ที่ดูดน้ำมูกทารกสามารถทำได้ ดังนี้ ควรใช้ผ้าห่อตัวทารกหากทารกดิ้น เพื่อช่วยให้การล้างจมูกง่ายขึ้นและไม่เกิดการบาดเจ็บ จับทารกให้นอนในท่าศีรษะสูงเพื่อป้องกันการสำลัก ใช้ที่ดูดน้ำมูกดูดน้ำเกลือจนเต็ม ค่อย ๆ หยดน้ำเกลือครั้งละ 2 –3 หยด เข้าไปในรูจมูกของทารก […]


การดูแลทารก

สบู่อาบน้ำเด็ก เลือกใช้อย่างไรให้ดีกับลูกน้อย

ทารกหรือเด็กอายุน้อย ๆ อาจไม่จำเป็นต้องอาบน้ำทุกวัน เนื่องจากยังมีผิวที่บอบบาง อาจจะใช้วิธีการเช็ดตัวลูกให้สะอาด เน้นบริเวณผิวหน้า ลำคอ มือและส่วนใต้ผ้าอ้อมของเด็ก ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังในการเลือกสบู่อาบน้ำเด็กเหมาะสมและอ่อนโยนต่อผิวที่บอบบางของเด็กมากที่สุด ช่วงเวลาอาบน้ำเด็กอาจจะเลือกช่วงที่เด็กกำลังตื่นและอารมณ์ดี อุณหภูมิอุ่นพอเหมาะ ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป เตรียมอุปกรณ์อาบน้ำไว้ให้พร้อม เช่น อ่างอาบน้ำ ผ้าขนหนู ผ้าอ้อม สำลีเช็ดตัวหรือผ้าเช็ดตัวเปียกหรือฟองน้ำ และเสื้อผ้าใหม่ สำหรับหยิบใช้งานได้ทันที และไม่ควรให้เด็กอยู่ในอ่างอาบน้ำเพียงลำพังแม้แต่เพียงวินาทีเดียว เพราะอาจจมน้ำได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเลือกสบู่อาบน้ำเด็ก สบู่อาบน้ำเด็กที่เหมาะกับผิวเด็กควรเลือกใช้ดังนี้ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว สบู่อาบน้ำเด็กควรมีส่วนผสมที่อ่อนโยนและเหมาะสมกับสภาพผิวที่บอบบางของเด็กมากที่สุด มีสารสกัดธรรมชาติ และอาจใช้สบู่อาบน้ำเด็กสูตรไม่มีสารเคมี เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการแพ้หรือระคายเคืองผิว และไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลากหลายเกินไป เพราะอาจจะไม่ช่วยในเรื่องของความสะอาด และยังทำให้ผิวเด็กสัมผัสกับสารเคมีที่ไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงน้ำหอม น้ำหอมในสบู่อาบน้ำเด็กอาจจะทำให้เกิดปัญหาผิว เช่น ทำให้ผิวแห้งกร้าน ระคายเคือง ควรใช้สบู่ที่ไม่แต่งกลิ่นเพิ่มเติม ไม่จำเป็นต้องใช้สบู่อาบน้ำเด็กที่ต้านเชื้อแบคทีเรีย ใช้เพียงสบู่อาบน้ำเด็กธรรมดา ก็สามารถอาบน้ำให้กับลูกน้อยได้อย่างสะอาดหมดจดได้เหมือนกับสบู่ต้านเชื้อแบคทีเรียแล้ว ทั้งยังปลอดจากสารเคมีที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ เลือกใช้สบู่อาบน้ำเด็กที่มีส่วนผสมธรรมชาติ เช่น เลือกสบู่ที่มีส่วนผสมของน้ำมันธรรมชาติอย่างน้ำมันมะกอก น้ำมันอัลมอนด์ ว่านหางจระเข้ ซึ่งดีต่อผิวที่บอบบาง และไม่ระคายเคืองผิวและตาของเด็ก ควรหลีกเลี่ยงสบู่อาบน้ำเด็กที่มีสารที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น พาราเบน (Paraben)  สารกลุ่มพาทาเลต (Phthalate) […]


การดูแลทารก

ลูกไม่เรอ ควรทำอย่างไร

การเรออาจช่วยขับแก๊สในกระเพาะอาหารที่ลูกกลืนเข้าไประหว่างกินนม หาก ลูกไม่เรอ อาจทำให้เกิดอาการจุดเสียด ท้องอืด ไม่สบายตัว และร้องไห้งอแง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีทำให้ลูกเรอ เช่น การอุ้ม การลูบหลัง เพื่อช่วยขับแก๊สในกระเพาะอาหารของลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกไม่เรอ ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ แก๊สในกระเพาะอาหารเกิดจากอากาศที่ลูกกลืนเข้าไปในระหว่างกินนม หรืออาจเกิดจากการแพ้นมวัว และสารอาหารบางชนิดที่คุณแม่รับประทานซึ่งส่งผ่านน้ำนมแม่ไปยังลูก เช่น ไข่ ถั่ว กะหล่ำดอก น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ทำให้ร่างกายของลูกตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ และสร้างแก๊สในกระเพาะอาหาร ซึ่งหากลูกไม่เรอเพื่อระบายแก๊สออก อาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกจุดเสียด ท้องอืด และไม่สบายตัว โดยลูกอาจร้องไห้ เกร็งร่างกาย และกำมือแน่นเพื่อส่งสัญญาณบอกคุณพ่อคุณแม่ อย่างไรก็ตาม บางครั้งลูกน้อยอาจไม่เรอ แม้ว่าจะพยายามอุ้มหรือตบหลังเบา ๆ เพื่อทำให้เรอแล้วก็ตาม อาจเป็นเพราะในกระเพาะอาหารของลูกมีแก๊สในปริมาณน้อยหรืออาจไม่มีเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่ปกติ และไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพแต่อย่างใด วิธีทำให้ลูกเรอ วิธีช่วยให้ลูกเรอขับแก๊สออกจากกระเพาะอาหาร อาจทำได้โดยการอุ้มในท่าทางต่าง ๆ ดังนี้ ท่าอุ้มลูกพาดไหล่ ควรอุ้มลูกพาดไหล่ให้แนบชิดกับหน้าอก ใช้แขนข้างหนึ่งประคองก้น และจับศีรษะลูกพิงกับไหล่เอาไว้ เพื่อประคองกระดูกและศีรษะของลูกที่ยังไม่แข็งแรง จากนั้นใช้มืออีกข้างตบหลังลูกเบา ๆ หรือลูบหลังเป็นวงกลม ท่าอุ้มแบบนอนคว่ำหน้าบนแขน อุ้มลูกนอนคว่ำหน้าวางบนแขนข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งการอุ้มท่านี้อาจจำเป็นที่ต้องมีแขนที่แข็งแรงเพื่อให้สามารถประคองลำตัวและศีรษะของลูกได้อย่างมั่นคง โดยให้ศีรษะของลูกอยู่บริเวณข้อพับแขน ในลักษณะหันหน้าออกไปด้านข้างเพื่อให้หายใจได้สะดวก จากนั้นนำมืออีกข้างลูบหลังลูกเป็นวงกลมเบา […]


การดูแลทารก

อุ้มลูก มีประโยชน์อย่างไร และวิธีอุ้มลูกที่ถูกต้อง

การอุ้มลูกอาจช่วยกระชับความสัมพันธ์ ทำให้ลูกมีความสุข รู้สึกปลอดภัย และไม่ได้เป็นอย่างความเชื่อที่ว่า อุ้มลูก แล้วลูกจะติดมือ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีการอุ้มลูกที่ถูกต้อง เพราะศีรษะและกระดูกช่วงลำคอของลูกอาจยังไม่แข็งแรง การอุ้มลูกไม่ถูกวิธีอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อลูกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของการ อุ้มลูก ประโยชน์ของการอุ้มลูก มีดังนี้ กระชับความสัมพันธ์กับลูก เพราะการอุ้มอาจทำให้ได้ใกล้ชิดกับลูกมากขึ้น ทำให้ลูกมีความสุข ได้รับความรัก และช่วยทำให้ผูกพันกับคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น ลูกร้องไห้น้อยลง การอุ้มอาจช่วยทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย และสบายใจ จึงส่งผลให้ร้องไห้น้อยลง หรือหยุดร้องไห้เร็วขึ้น ช่วยบรรเทาอาการจุกเสียด การอุ้มลูกเดินไปมา หรือลูบหลังเบา ๆ อาจช่วยทำให้ลูกเรอและช่วยขับแก๊สในกระเพาะอาหารออกมาได้มาก จึงลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง ทำให้ลูกรู้สึกสบายตัว และนอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ การอุ้มอาจช่วยเพิ่มพัฒนาการทางระบบประสาท ช่วยให้ลูกจดจำใบหน้าพ่อแม่และมีการตอบสนองต่อสิ่งที่พบเห็น ทั้งยังอาจช่วยกระตุ้นพัฒนาการของร่างกาย ทำให้มวลกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากการที่ลูกเริ่มยกศีรษะตั้งขึ้นได้ 5 ท่าอุ้มลูกที่ถูกต้อง 5 ท่าอุ้มลูกที่ถูกต้องและปลอดภัย มีดังนี้ ท่าอุ้มประคองทั้งตัว เป็นท่าที่ทำให้ลูกรู้สึกเหมือนนอนอยู่ในเปล โดยอุ้มให้ลูกนอนหงาย ใช้แขนข้างใดข้างหนึ่งเป็นฐานรองบริเวณหลังและก้น ให้ศีรษะของลูกอยู่บริเวณข้อพับแขน จากนั้นใช้มืออีกข้างประคองศีรษะและโอบกอดลำตัวของลูกเอาไว้ ทำให้ลูกสามารถมองหน้าคุณพ่อคุณแม่ได้ถนัด และช่วยให้นอนหลับสบาย ท่าอุ้มพาดไหล่ เป็นท่าอุ้มที่ช่วยทำให้ลูกนอนหลับสบาย โดยเริ่มจากใช้มือข้างหนึ่งประคองศีรษะและต้นคอของลูก จากนั้นใช้มืออีกข้างประคองก้นของลูกเอาไว้ ท่าอุ้มวางบนตัก คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกขึ้นวางบนตัก […]


การดูแลทารก

วิธีทำให้ลูกเรอ และการดูแลลูก สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

วิธีทำให้ลูกเรอ อาจทำได้ด้วยการอุ้มลูกเรอในท่าต่าง ๆ พร้อมกับตบหลังเบา ๆ หรือลูบหลังลูกเบา ๆ เพื่อช่วยขับแก๊สในกระเพาะอาหารที่อาจเกิดจากการที่ลูกกลืนอากาศเข้าไประหว่างกินนม หรือเกิดจากอาการแพ้นมและสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ เช่น ไข่ ถั่ว น้ำผลไม้ ที่ปะปนมาในนมแม่ หรืออาหารที่คุณแม่รับประทาน อาจทำให้เกิดแก๊สได้มาก เพื่อช่วยให้ลูกได้ระบายแก๊สในกระเพาะอาหาร ที่อาจนำไปสู่อาการจุกเสียด ท้องอืด หรือปวดท้องได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ท่าอุ้มที่อาจทำให้ลูกเรอ ท่าอุ้มที่อาจทำให้ลูกเรอ มีดังนี้ ท่าอุ้มแบบนอนคว่ำหน้าบนหน้าท้อง คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มจากการอุ้มลูกมาไว้บนหน้าท้องเพื่อให้ลูกนอนสบายขึ้น โดยหันศีรษะของลูกออกด้านข้างให้หายใจได้สะดวก และนำมือประคองลำตัวลูก จากนั้นนำมืออีกข้างตบหลังของลูกเบา ๆ เพื่อขับแก๊สในกระเพาะอาหารออก ท่าอุ้มแบบนอนคว่ำหน้าบนแขน ผู้ที่ต้องการอุ้มลูกในท่านี้ควรมีแขนที่แข็งแรงพอที่จะประคองลูกได้อย่างมั่นคง โดยอุ้มลูกนอนคว่ำหน้าวางบนแขนข้างใดข้างหนึ่ง ให้ศีรษะของลูกอยู่บริเวณข้อพับแขน หันหน้าออกไปด้านข้าง จากนั้นนำมืออีกข้างลูบหลังของลูกเป็นวงกลมหรือตบหลังเบา ๆ ไม่แนะนำทำกับเด็กที่ตัวใหญ่เพราะเด็กอาจจะดิ้นและพลัดตกมือได้ ท่าอุ้มแบบนอนคว่ำหน้าบนหน้าตัก คุณพ่อคุณแม่อาจอุ้มลูกนั่งบนหน้าตัก ตั้งขาข้างหนึ่งขึ้นเล็กน้อย และใช้มือข้างหนึ่งประคองบริเวณใต้คาง ลำคอ และศีรษะของลูก จากนั้นจึงค่อย ๆโน้มตัวของลูกลงบนหน้าตัก แล้วใช้มืออีกข้างตบหลังลูกเบา ๆ หรือนวดที่หลังเบา ๆ ท่าอุ้มลูกพาดไหล่ ควรอุ้มลูกพาดไหล่ โดยใช้แขนข้างหนึ่งประคองไว้ใต้ก้น และจับศีรษะลูกให้พิงกับไหล่เอาไว้ เพื่อประคองกระดูกและศีรษะที่ยังไม่แข็งแรง จากนั้นใช้มืออีกข้างตบหลังเบา ๆ อุ้มลูกนั่งบนตัก คุณพ่อคุณแม่อาจอุ้มลูกนั่งหลังตรง หันด้านข้างพิงกับหน้าอก และใช้มือประคองบริเวณใต้คางและหน้าอก […]


การดูแลทารก

ท่าอุ้มเรอ สำหรับเด็กทารก มีอะไรบ้าง

สาเหตุที่ทำให้ทารกเรอ เกิดจากการกลืนอากาศมากเกินไปในขณะดูดนมจากขวดหรือจากเต้าของคุณแม่ หรืออาจเกิดจากแพ้โปรตีนในนม ทำให้มีแก๊สสะสมในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้มีอาการท้องอืด ปวดท้อง และอาจอาเจียน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาท่าอุ้มเรอ เพื่อช่วยไล่แก๊สออกหลังจากลูกกินนมเสร็จ เพื่อให้ลูกไม่อึดอัด และมีความสบายตัวมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกเรอ ดีต่อสุขภาพอย่างไร การทำให้ทารกเรออาจช่วยลดแก๊สที่สะสมอยู่ในช่องท้อง ซึ่งอาจเกิดจากอากาศที่กลืนเข้าไประหว่างดูดนม หรืออาจเกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อโปรตีนในนมวัว และสารก่อภูมิแพ้เช่น ไข่ ถั่ว น้ำอัดลม ผักบางชนิด ที่ปะปนในน้ำนมคุณแม่ ทำให้ร่างกายของทารกสร้างแก๊สในกระเพาะอาหาร และอาจส่งผลให้ทารกมีอาการปวดท้อง ท้องอืด หรืออาเจียน ดังนั้น จึงควรทำให้ทารกเรอหลังจากกินนมเสร็จด้วยการอุ้มและลูบหลังลูกน้อยเบา ๆ เพื่อช่วยขับแก๊สออกจากช่องท้อง และป้องกันการแหวะนม และปวดท้อง งานวิจัยหนึ่งของสถาบันการศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ ประเทศอินเดีย ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Child: care, health and development พ.ศ. 2557 ได้ทำการประเมินประสิทธิภาพของการเรอในการลดอาการแหวะนมของทารก โดยทดลองแบบสุ่มในแม่ลูก 71 คู่ เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าการเรออาจช่วยลดอาการแหวะนมได้ ท่าอุ้มเรอ ที่เหมาะสมสำหรับทารก ท่าอุ้มเรอ ที่แนะนำมีดังนี้ ท่าอุ้มนั่งบนตัก หลังจากทารกกินนมเสร็จ ให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกนั่งบนตัก และใช้มือข้างหนึ่งประคองตัวทารกโดยจับไว้ที่บริเวณหน้าอก จากนั้นเอนตัวทารกไปข้างหน้าเล็กน้อย และใช้มืออีกข้างหนึ่งลูบหลังทารกเป็นวงกลม […]


การดูแลทารก

ลูกร้องไม่หยุด เกิดจากอะไร และควรทำอย่างไร

ลูกร้องไห้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นบ่อยกับทารก เนื่องจากลูกน้อยยังไม่สามารถสื่อสารแสดงความต้องการหรือความรู้สึก เช่น หิว ไม่สบายตัว มีไข้ ออกมาเป็นคำพูดได้ จึงแสดงออกมาเป็นการร้องไห้แทนแต่หากสังเกตว่า ลูกร้องไม่หยุด และร้องเป็นเวลานาน หรือที่เรียกว่าอาการโคลิค แต่มักจะเกิดในเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาถึงวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการเบื้องต้น หรือขอคำแนะนำจากคุณหมอเพิ่มเติม [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกร้องไม่หยุด เกิดจากอะไร การที่ทารกร้องไห้ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นการส่งสัญญาณบอกคุณแม่เมื่อรู้สึกหิว ปวดท้อง เจ็บป่วย ไม่สบายตัวจากผ้าอ้อมเปียกชื้น ทารกมักร้องไห้ 2-3 ชั่วโมง/วัน สำหรับทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน อาจจะร้องไห้บ่อยช่วงบ่ายและหัวค่ำ และจะค่อย ๆ เลิกร้องไห้บ่อยได้เองเมื่อเติบโตขึ้น แต่หากทารกมีอาการร้องไห้ไม่หยุด ร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุ และร้องไห้อย่างหนักบ่อยครั้ง หรือที่เรียกว่าอาการโคลิค อาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ ดังต่อไปนี้ มีแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป ทารกอาจสูดหายใจรับอากาศลงช่องท้องมากเกินไประหว่างการกินนมหรือการร้องไห้ ทำให้มีแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป และอาจทำให้ทารกรู้สึกจุดเสียด ปวดท้อง จนร้องไห้ไม่หยุด แพ้โปรตีนในนม หรือแพ้สารอาหารบางอย่างที่อยู่ในนมแม่ เช่น ไข่ ถั่ว ข้าวสาลี อาจทำให้ทารกมีอาการไม่สบายท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เพื่อบรรเทาอาการแพ้นมควรให้ทารกเปลี่ยนมากินนมสูตรโมเลกุลเล็ก ย่อยง่ายเป็นเวลา 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ คุณแม่ที่ให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ […]


การดูแลทารก

วิธีจับลูกเรอ ป้องกันอาการจุดเสียด ท้องอืด ทำได้อย่างไร

ทารกแรกเกิดอาจมีระบบย่อยอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้การย่อยอาหารยังทำได้ไม่ดี ส่งผลให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อาการจุดเสียด กรดไหลย้อน และอาเจียนหลังกินนม การทำให้ลูกเรอ จึงอาจช่วยขับแก๊สออกจากกระเพาะ และลดอาการท้องอืด จุกเสียดได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษา วิธีจับลูกเรอ และวิธีป้องกันการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร เพื่อช่วยให้ลูกน้อยสบายตัว ลดอาการท้องอืด [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำไมควรทำให้ทารกเรอหลังจากกินนม ระหว่างที่ทารกกินนมอาจทำให้กลืนอากาศเข้าไปในช่องท้อง ส่งผลให้เกิดการสะสมของแก๊สในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ โปรตีนในนมวัว และสารอาหารบางชนิดที่คุณแม่รับประทาน เช่น ไข่ ถั่ว กะหล่ำ น้ำอัดลม โซดา ขนมที่มีน้ำตาลสูง อาจปะปนในน้ำนม เมื่อทารกกินนมจึงทำให้ร่างกายตอบสนองโดยการสร้างแก๊สในช่องท้องมากขึ้น ทำให้ทารกปวดท้อง ไม่สบายตัว และแสดงอาการออกมาเป็นการร้องไห้ ดังนั้น การทำให้ลูกน้อยเรอหลังจากดื่มนมจะช่วยระบายแก๊สส่วนเกินในกระเพาะอาหารเหล่านี้ออกไป วิธีจับลูกเรอ ทำอย่างไร วิธีจับลูกเรอ อาจทำได้ด้วยการอุ้มท่าต่าง ๆ ดังนี้ อุ้มลูกพาดไหล่ คุณพ่อคุณแม่ควรอุ้มทารกพาดไหล่แนบชิดกับหน้าอก โดยให้หลังทารกตั้งตรง ใช้แขนข้างหนึ่งประคองก้น และจับศีรษะทารกพิงกับไหล่เอาไว้ จากนั้นใช้มืออีกข้างตบหลังทารกเบา ๆ หรือลูบหลังเป็นวงกลม เพื่อไล่อากาศ อุ้มลูกนั่งบนตัก หลังจากทารกกินนมเสร็จ ให้คุณพ่อคุณแม่จับลูก นั่งหลังตรงหันด้านข้างพิงกับหน้าอก และใช้มือประคองลำคอและศีรษะไว้ ใช้มืออีกข้างหนึ่งลูบหลังทารกเป็นวงกลมอย่างช้า ๆ หากทารกยังไม่เรอ ให้ลองตบหลังเบา ๆ […]


การดูแลทารก

ท่าอุ้มทารก และวิธีอุ้มทารกอย่างปลอดภัย

ทารกแรกเกิดมีโครงสร้างร่างกาย กระดูก และอวัยวะต่าง ๆ ที่ยังไม่แข็งแรง การอุ้มทารกจึงจำเป็นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษา ท่าอุ้มทารก ที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของลูก และช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกได้รับความรัก ความอบอุ่นที่ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจ และช่วยให้มีอารมณ์ที่ดีมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของการอุ้มทารก การอุ้มทารกอาจช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกได้สะดวก ช่วยกระชับความสัมพันธ์ ส่งผลให้ทารกมีความสุข อารมณ์ดี นอนหลับสนิท อัตราการเต้นหัวใจคงที่ ปรับปรุงการหายใจ และร้องไห้น้อยลง เพราะการอุ้มลูกในอ้อมกอดอาจทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่น และรับรู้ได้ถึงความรักของคุณพ่อคุณแม่ งานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสารกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกาเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2529 ที่ทำการทดลองเกี่ยวกับการอุ้มทารกและความถี่ในการร้องไห้ ของทารกอายุ 6 สัปดาห์ ถึง 4 เดือน โดยให้คุณแม่เพิ่มความถี่ของการอุ้มทารกในช่วงเย็นที่ทารกมักจะร้องไห้บ่อย พบว่า การอุ้มอาจช่วยทำให้ลูกร้องไห้และงอแงน้อยลง 43% ในช่วงอายุ 3 เดือนแรก ท่าอุ้มทารก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ ท่าอุ้มทารก ที่ถูกต้องและปลอดภัย มีดังนี้ ท่าอุ้มประคองศีรษะ เนื่องจากกระโหลกศีรษะของทารกยังไม่แข็งแรง จึงควรอุ้มลูกอย่างระมัดระวัง โดยจับทารกนอนหงาย นำมือช้อนใต้ศีรษะและลำคอเพื่อประคองศีรษะของทารก และนำมืออีกข้างหนึ่งประคองใต้ก้นเมื่อถนัดมือแล้วจึงอุ้มทารกแนบเข้าหาลำตัวบริเวณหน้าอก ท่าอุ้มประคองทั้งตัว (The Cradle Hold) คือท่าอุ้มทารกที่ประคองให้ศีรษะทารกอยู่บริเวณข้อพับแขนของคุณพ่อคุณแม่ข้างใดข้างหนึ่ง และนำแขนอีกข้างข้างโอบกอดลำตัวทารกโดยให้ช่วงหลังและก้นของทารกอยู่บนแขน […]


การดูแลทารก

ผดร้อน ทารก สาเหตุและการดูแล

ผดร้อน ทารก พบบ่อยในทารกแรกเกิดช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด เนื่องจาก ท่อเหงื่อของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงอาจทำให้เหงื่ออุดตันในรูขุมขนง่ายขึ้นและเกิดเป็นผดร้อน ลักษณะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ สีแดง อาจมีอาการคันหรือแสบร้อน โดยปกติไม่ทำให้มีไข้ มักพบบริเวณลำตัวด้านหน้าอกและด้านหลัง คอ บริเวณข้อพับ และบริเวณใต้เสื้อผ้าที่เสียดสีหรือไม่ระบายอากาศ การดูแลทารกจึงอาจช่วยป้องกันผดร้อนที่ระคายเคืองผิวทารกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ผดร้อน ทารก เกิดขึ้นได้อย่างไร ผดร้อน ทารก เป็นอาการผดผื่นที่เกิดขึ้นบนผิวหนังของทารก อาจทำให้มีตุ่มเล็ก ๆ สีแดง มีอาการแสบร้อนและคัน เนื่องจาก ความร้อนที่สูงเกินไป มักเกิดขึ้นบริเวณหลัง หน้าท้อง คอ หน้าอก ขาหนีบ หรือรักแร้ โดยสาเหตุอาจเกิดจากการที่ทารกยังมีต่อมเหงื่อขนาดเล็ก และร่างกายของทารกยังไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ได้ และในบางครั้งยังไม่สามารถมีเหงื่อไหลออกมาได้ ทำให้เหงื่อสะสมอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง ทารกจึงมีแนวโน้มเป็นผดร้อนมากกว่าวัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้ การสวมใส่เสื้อผ้าของทารกที่คับแน่นเกินไป การห่อตัว หรือการห่มผ้าห่ม ก็อาจทำให้เกิดความร้อนและเกิดผดร้อน ทารกได้เช่นกัน ผดร้อนแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ผดผื่นชนิดตุ่มน้ำใส (Miliaria Crystallina) เกิดจากการอุดตันของท่อต่อมเหงื่อในชั้นผิวของหนังกำพร้า มักพบในทารกแรกเกิดที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมอบอุ่นและชื้น เช่น การห่อตัว การห่มผ้า […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม