backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 35 ของลูกน้อย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 35 ของลูกน้อย

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 35 หรือประมาณ 9 เดือน เป็นช่วงที่การมองเห็นของลูกน้อยมีพัฒนาการเทียบเท่ากับวัยผู้ใหญ่ อาจสามารถมองเห็นระยะไกลได้ดีขึ้น อีกทั้งยังเริ่มจดจำสิ่งของและผู้คนรอบตัวได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจลองอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้ให้ลูกน้อย

    การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 35

    ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

    ตอนนี้สายตาของลูกน้อยมีความทัดเทียมกับของผู้ใหญ่แล้ว ถึงแม้ว่าจะมองเห็นได้ในระยะใกล้ ๆ ได้ดีกว่า แต่การมองเห็นในระยะไกลก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นด้วย ฉะนั้นลูกน้อยในวัยนี้ลูกจะเริ่มจำผู้คนและสิ่งของที่อยู่อีกฝากหนึ่งของห้องได้ ลูกอาจจะเห็นของเล่นที่อยู่อีกฟาก จึงพยายามคลานไปหามัน ตอนนี้ลูกน้อยอาจมีสีของดวงตาที่จะอยู่กับลูกไปตลอดชีวิตแล้ว ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในภายหลังก็ตาม

    พัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยในช่วงสัปดาห์ที่ 35

    • มองเห็นได้เกือบเหมือนผู้ใหญ่
    • ไถตัวหรือคลาน
    • ยันตัวขึ้นยืนจากท่านั่งได้
    • หยิบของชิ้นเล็กด้วยนิ้วหัวคุณแม่มือและนิ้วมือได้ จึงควรเก็บของที่เป็นอันตรายให้พ้นมือเด็ก
    • เริ่มหัดพูดคำง่าย ๆ อย่าง “มาม๊า” หรือ “ปะป๊า” ซ้ำไปมา

    ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

    บางครั้งลูกน้อยก็มีอาการกลัวอะไรที่ลูกไม่เข้าใจ รวมทั้งอะไรที่ไม่เคยรบกวนลูกมาก่อน อย่างเช่น เสียงกริ่งประตู หรือเสียงกาน้ำเดือด ถ้ามีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น สิ่งที่ทำได้ในฐานะพ่อคุณแม่คือปลอบโยน และทำให้ลูกรับรู้มีอยู่ข้าง ๆ เสมอ แล้วลูกก็จะหายกลัว สิ่งที่ลูกอาจต้องการมากที่สุดก็คือการสวมกอดจาก

    สุขภาพและความปลอดภัย

    ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

    คุณหมอส่วนใหญ่จะไม่นัดตรวจสุขภาพในช่วงเดือนนี้ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่จะไม่ชอบไปโรงพยาบาล ถ้ามีเรื่องกังวลใจที่ไม่สามารถรอให้ถึงการนัดครั้งต่อไปได้ ก็ควรโทรปรึกษาคุณหมอก่อน หรือจะไปปรึกษาหมอเลยก็ได้

    สิ่งที่ควรรู้

    การไอ

    แม้แต่เด็กที่มีสุขภาพดีก็สามารถไอได้ทุกวัน เนื่องจากการไอช่วยให้เด็กหายใจได้ดีขึ้น ด้วยการกำจัดสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจออกไป อาการไอมักจะไม่ยอมหายไปง่าย ๆ ถ้าเกิดจากเชื้อไวรัส และอาการไอก็บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ อย่างเช่น

    • ถ้าลูกน้อยหายใจลำบากหรือหายใจหอบ ลูกอาจเป็นโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
    • ถ้าลูกไอหนักและมีเสียงเหมือนสุนัขเห่า ลูกอาจเป็นโรคกล่องเสียงและหลอดลมใหญ่อักเสบ
    • ถ้าลูกน้อยเป็นหวัดเป็นเวลานาน และไอเรื้อรังในตอนกลางคืน ลูกอาจจะเป็นภูมิแพ้หรือไซนัสอักเสบ
    • ถ้าไออย่างเฉียบพลันและเรื้อรังโดยไม่มีอาการไข้หวัด ลูกน้อยก็อาจเป็นโรคหืดหอบหรือสูดเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าไป
    • ถ้าการไอเรื้อรังเกิดขึ้นพร้อมกับการหายใจติดขัด เป็นไข้ และหนาวสั่น ลูกก็อาจเป็นโรคปอดบวม
    • ถ้าลูกน้อยไอต่อเนื่องนาน 20 ถึง 30 วินาที และระหว่างไอก็มีเสียงผิดปกติ ลูกก็อาจเป็นโรคไอกรน
    • ถ้าลูกน้อยไอเรื้อรังพร้อมกับมีน้ำมูกที่ข้นเหนียว ซึ่งทำให้หายใจลำบาก ก็ควรให้ลูกไปตรวจดูว่าเป็นโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) หรือเปล่า

    อย่าป้อนยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก หรือยาแก้แพ้ ที่ซื้อกินเองโดยไม่ได้ปรึกษาคุณหมอก่อน อาจช่วยเยียวยาลูกน้อยด้วยการ

    • พยายามลดสารคัดหลั่ง ด้วยการให้ดื่มน้ำมาก ๆ และใช้เครื่องพ่นคอให้ลูกตอนกลางคืน
    • อุ้มลูกน้อยไว้ในห้องน้ำที่มีไอร้อน จะช่วยให้ลูกหายใจได้ดีขึ้น
    • ถ้าสงสัยว่าสารก่อภูมิแพ้ในห้องลูก อาจเป็นสาเหตุของการไอเรื้อรัง ก็ให้นำตุ๊กตาสัตว์และเครื่องนอนนุ่ม ๆ ออก พยายามทำให้ห้องปลอดฝุ่นมากที่สุด และไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงไว้ในห้อง
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกน้อยไม่ได้สูดควันบุหรี่ภายในบ้านหรือรถ

    ถ้าการไอทำให้ลูกน้อยกินอาหารได้น้อยล และนอนหลับได้ไม่ดี ก็ควรพาไปปรึกษาคุณหมอ ควรโทรปรึกษาคุณหมอทันทีที่ลูกน้อยมีอาการต่อไปนี้

    • ไอเป็นเลือด มีปัญหาในการหายใจ หรือแสดงอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง เช่น ไข้ขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูงขึ้น เซื่องซึมหรืออาเจียน
    • ปรึกษาคุณหมอหากลูกน้อยกลืนหรือสูดสิ่งแปลกปลอมเข้าไป ถึงแม้จะดูไม่เป็นอะไรมากก็ตาม
    • ถ้าลูกน้อยหายใจไม่ออกหรือหมดสติ ก็ควรปฐมพยาบาล ทำการช่วยหายใจ และโทรเรียกหน่วยฉุกเฉิน หรือพาไปหาหมอทันที
    • ภูมิแพ้ สิ่งแปลกปลอม หรือโรคหอบหืด อาจทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังได้ จึงควรปรึกษาคุณหมอ ถ้ามีอาการไอเกินหนึ่งสัปดาห์

    การคลาน

    ตราบใดที่ลูกน้อยยังกระตือรือล้นที่จะเคลื่อนที่ไปไหนด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหน ก็ควรเป็นห่วงแค่ในเรื่องที่ลูกใช้ร่างกายทั้งสองด้านไม่สอดประสานกัน พูดง่าย ๆ ก็คือลูกน้อยไม่สามารถเคลื่อนไหวแขนและขาพร้อม ๆ กันได้ นี่อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ซึ่งถ้าได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยให้ลูกมีอาการดีขึ้นได้

    สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

    วิธีการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง

    การอ่าน นับเป็นเรื่องสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกตั้งแต่อายุน้อย ๆ แม้ว่าลูกอาจจะยังไม่เข้าใจเนื้อหาในหนังสือ แต่ช่วยหลอกล่อให้ลูกรู้สึกสนใจและอยากรู้อยากเห็นขึ้นมาได้ และนี่คือเคล็ดลับที่ช่วยให้ลูกน้อยสนใจมากขึ้น

    • อ่านออกเสียงดัง ๆ ให้ลูกน้อยฟัง
    • ซื้อหนังสือสำหรับเด็กแบบที่ขายเป็นเซ็ต
    • เรียนรู้วิธีการอ่านที่มีการแสดงอารมณ์ และในท่วงทำนองช้าๆ
    • อ่านหนังสือให้เป็นกิจวัตร และช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือตอนก่อนนอน
    • ให้ลูกน้อยมีส่วนร่วมในการเลือกหนังสือ

    เคล็ดลับเหล่านี้จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกตื่นเต้นและมีความสุขทุกครั้งที่ถึงช่วงเวลาอ่านหนังสือ จนจะต้องประหลาดใจ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา