ขวบปีแรกของลูกน้อย

ช่วงขวบปีแรกของลูกน้อย คือช่วงเวลาที่สำคัญมากสำหรับเด็กทารก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อการดูแลและสนับสนุนลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เรียนรู้ข้อมูลทางด้านสุขภาพที่น่าสนใจในช่วง ขวบปีแรกของลูกน้อย ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ขวบปีแรกของลูกน้อย

เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการสำคัญอะไรบ้างที่ควรรู้

เด็ก1ขวบ มีการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการในหลายส่วนทั้งทางร่างกาย สติปัญญา การเรียนรู้ การสื่อสาร ภาษา สังคมและอารมณ์ ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เนื่องจากเด็ก1ขวบเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ทำความเข้าใจและลอกเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้น การเป็นตัวอย่างที่ดีและการให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงอาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการและทักษะของเด็กให้เหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการอะไรเกิดขึ้นบ้าง เด็ก1ขวบมีพัฒนาการที่เกิดขึ้นในหลายด้านที่บ่งบอกถึงพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยและมีสุขภาพดี ดังนี้ การเจริญเติบโตทางร่างกาย น้ำตัวของเด็กทารกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3 เท่าตั้งแต่แรกเกิด และเมื่ออายุครบ 1 ขวบ เด็กจะตัวโตขึ้นประมาณ 9-11 นิ้ว หลังจากนั้น น้ำหนักตัวของเด็กจะเพิ่มขึ้นช้าลงหรืออาจคงที่ เนื่องจากระดับกิจกรรมที่มากขึ้น ดังนั้น การให้เด็กกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เช่น ผลไม้ ผัก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและใช้เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะการเคลื่อนไหวและการประสานงานของกล้ามเนื้อ เด็ก1ขวบจะมีพัฒนาการในการเคลื่อนไหวและการประสานงานของร่างกายทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยเด็กจะเรียนรู้ทักษะในการหยิบจับสิ่งของด้วยการใช้มือและนิ้วมือ เช่น การส่งของจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่ง การหยิบของเข้าปาก การเปิดหน้าหนังสือ รวมทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายในส่วนอื่น ๆ เช่น การพลิกตัว การคลาน การยืนด้วยการจับวัตถุรอบข้าง การยืนด้วยตัวเอง การเดินพร้อมกับการจับวัตถุรอบข้าง การสื่อสารและภาษา เด็ก1ขวบจะเริ่มเรียนรู้คำศัพท์สั้น ๆ ง่าย ๆ […]

สำรวจ ขวบปีแรกของลูกน้อย

ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการตั้งแต่แรกเกิดถึง เด็ก1ขวบ มีอะไรบ้างที่ควรรู้

เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง เด็ก1ขวบ จะมีพัฒนาการด้านร่างกาย สมอง การเจริญเติบโต รวมถึงพัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงอายุ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของลูก เพื่อจะได้ดูแลลูกและส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการอย่างไรบ้าง เด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ อาจแบ่งพัฒนาการออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ ทารกอายุ 0-3 เดือน ทารกอายุ 4-6 เดือน ทารกอายุ 7-9 เดือน และทารกอายุ 10-12 เดือน โดยแต่ละช่วงอายุอาจมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งพัฒนาการแต่ละช่วงอายุอาจมีดังนี้ พัฒนาการของทารกช่วงอายุ 0-3 เดือน ในช่วงแรกทารกอาจมีการพัฒนาด้านร่างกายและสมองที่กำลังเริ่มเรียนรู้จากสิ่งที่พบเห็น มีการตอบสนองต่อการสัมผัส และอาจแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ส่งยิ้ม กวาดมองตามวัตถุที่เคลื่อนไหว เริ่มขยับเพื่อจับวัตถุต่าง ๆ ที่หยิบยื่นใส่มือ คอจะเริ่มแข็งแรงขึ้นตามลำดับ แต่ยังต้องอุ้มประคองคอและศีรษะเสมอ พัฒนาการของทารกช่วงอายุ 4-6 เดือน เมื่อทารกมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนเข้าสู่ช่วงวัย 4-6 เดือน ลูกจะเริ่มคว้าสิ่งของต่าง ๆ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เป็นเรื่องน่ากังวลหรือไม่

ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว และถี่กว่าผู้ใหญ่ ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะบางครั้งทารกต้องการเพิ่มออกซิเจนเข้าปอด เนื่องจากร่างกายต้องใช้แรงมากขึ้น จึงมักหายใจเร็ว สลับกับการหายใจในจังหวะที่ปกติ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลักษณะการหายใจของทารก และศึกษาข้อมูลว่าการหายใจของทารกในลักษณะใดที่ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการหายใจที่เป็นอันตราย [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เกิดจากอะไรได้บ้าง ทารกแรกเกิดหายใจเร็วถือเรื่องปกติ เนื่องจากร่างกายของทารกต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อออกแรงมากกว่าปกติ เช่น คลาน ร้องไห้  โดยปกติแล้ว ทารกแรกเกิดหายใจเร็วไม่ใช่เรื่องอันตราย แต่ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เช่น ภาวะหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด (Transient tachypnea of the newborn หรือ TTNB) ภาวะหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด มักเกิดในทารกที่มีอายุไม่เกิน 9-10 เดือน โดยปกติแล้วทารกแรกเกิดจะขับของเสียออกจากปอดหลังคลอด แต่สำหรับทารกที่มีภาวะหายใจลำบากชั่วขณะจะขับของเสียของจากปอดได้ไม่ดี ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่เพียงพอ จนส่งผลให้หายใจเร็ว เพื่อให้ได้รับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น อารมณ์เสีย ทารกแรกเกิดหายใจเร็ว เมื่อรู้สึกอารมณ์ไม่ดี ไม่ว่าจะเกิดจากโมโห โกรธ หรือฉุนเฉียว โดยทารกแรกเกิดที่หายใจเร็วเนื่องจากอารมณ์เสียจะหายใจมากกว่า 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งไม่มีอันตราย ตราบใดที่การหายใจนั้นกลับเข้าสู่ภาวะปกติตามสภาพอารมณ์ที่ดีขึ้น อุณหภูมิร้อนเกินไป เมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงเกินไป อาจทำให้ทารกแรกเกิดหายใจเร็วขึ้นได้ ทั้งนี้ อุณหภูมิในร่างกายที่สูงเกินไปถือเป็นเรื่องอันตรายและอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรตรวจสภาพอุณหภูมิของห้องหรือสภาพที่อยู่รอบ ๆ ตัวทารกเป็นประจำ ไม่ควรให้อุณหภูมิร้อนหรือหนาวเกินไป ปัญหาระบบทางเดินหายใจ หากทารกแรกเกิดหายใจเร็วอย่างต่อเนื่อง […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเด็กแรกเกิด ที่คุณพ่อคุณแม่รู้แล้วจะอึ้ง

เมื่อรู้ว่าครอบครัวจะมีสมาชิกตัวน้อย ๆ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน คุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้างน่าจะตื่นเต้นกันมาก และคงเตรียมตัวศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับทารกหรือเด็กแรกเกิดอย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถเลี้ยงดูลูกได้อย่างดีที่สุด นี่คือ 7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเด็กแรกเกิด ที่อาจช่วยให้คุณเข้าใจทารกน้อยได้ดีขึ้น [embed-health-tool-baby-poop-tool] 7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเด็กแรกเกิด 1. เด็กแรกเกิดมีกระดูกมากกว่าผู้ใหญ่ หลายคนอาจไม่เชื่อว่าเด็กทารกตัวเล็ก ๆ ที่เนื้อตัวดูนุ่มนิ่ม ทรงตัวแทบไม่ได้ จะมีกระดูกมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเด็กแรกเกิดมีกระดูกทั้งหมด 300 ชิ้น ส่วนผู้ใหญ่มีกระดูก 206 ชิ้น จะเห็นได้ว่าเด็กแรกเกิดมีกระดูกมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 94 ชิ้น ทุกคนคงอาจจะตกใจว่า กระดูกกว่าร้อยชิ้นในร่างกายหายไปไหน ความจริงกระดูกจำนวนดังกล่าวไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ไปรวมกับกระดูกชิ้นที่อยู่ใกล้ ๆ เพื่อทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และสามารถรอบรับร่างกายที่เจริญเติบโตขึ้น รวมถึงน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นได้นั่นเอง 2. อุจจาระครั้งแรกของเด็กแรกเกิดไม่เหม็นอย่างที่คิด อุจจาระครั้งแรกของทารก เรียกว่า ขี้เทา (Meconium) ซึ่งเด็กสามารถสร้างได้ตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ ขี้เทาประกอบด้วยสสารที่ถูกย่อยระหว่างที่ทารกอยู่ในมดลูก ซึ่งมีทั้งน้ำคร่ำ น้ำดี เมือก ขนอ่อน เป็นต้น โดยขี้เทานี้แทบจะไม่มีแบคทีเรียในลำไส้ที่ทำให้อุจจาระมีกลิ่นปนอยู่เลย นั่นจึงทำให้การอุจจาระครั้งแรกของเด็กแนกเกิดปราศจากกลิ่น ไม่เหมือนกับอุจจาระของผู้ใหญ่ แต่ทันทีที่ทารกแรกเกิดได้รับอาหารมื้อแรก ซึ่งก็คือน้ำนม แบคทีเรียก็จะเริ่มก่อตัวขึ้นในลำไส้ และทำให้อุจจาระที่ขับถ่ายออกมามีสีเขียว เหลือง หรือน้ำตาล […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

ลูกตัวใหญ่ สุขภาพดี จริงหรือไม่

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทุกคนย่อมต้องการให้ลูกคลอดออกมาสมบูรณ์ แข็งแรง บางคนยังมีความเชื่อที่ว่าเมื่อคลอดออกมาแล้ว ลูกตัวใหญ่ มากเท่าไหร่ยิ่งดีมากเท่านั้น เพราะนั่นหมายถึงความสมบูรณ์ของร่างกาย แต่คลอดลูกออกมาตัวใหญ่นั้นดีจริงหรือไม่ มีอะไรที่ควรกังวลหรือเปล่า ตัวขนาดไหนจึงจะถือว่าสุขภาพดี [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกตัวใหญ่ สุขภาพดีจริงหรือไม่ เด็กที่ตัวใหญ่ จ้ำม่ำนั้นถือเป็นเด็กที่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของเด็ก ๆ นั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ในช่วงแรกเกิดจนถึง 6 เดือนแรกนั้นจะเป็นช่วงที่ร่างกายของทารกจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว น้ำหนักก็เพิ่มขึ้นมากเป็น 2 เท่า และน้ำหนักมักจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าในช่วงอายุ 1 ขวบ ดังนั้น การที่ ลูกตัวใหญ่ นั้นไม่ได้บ่งบอกว่าเขานั้นไม่แข็งแรง แต่เป็นช่วงที่เขากำลังพัฒนาและเติบโต ในช่วงนี้ร่างกายของเขาก็มีความต้องการอาหารอยู่แทบจะตลอดเวลา โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง อย่างน้ำนม วัยนี้เป็นวัยที่อยู่ในการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมองนั้นมีความต้องการพลังงานอยู่ตลอดเวลา ทำให้เขาต้องกักเก็บไขมันไว้ที่ใต้ผิวหนัง เพื่อที่จะนำไขมันมาใช้งาน จึงทำให้เด็กในวัยนี้ดูตัวใหญ่ อ้วนเป็นชั้น แต่พ่อแม่ก็ไม่ต้องกังวลไปเพราะว่าไขมันเหล่านั้นเป็นเรื่องปกติของเด็กทุก ๆ คน ที่สำคัญยังแสดงให้เห็นว่าลูกน้อยนั้นสุขภาพดี น้ำหนักของเด็กที่ควรจะเป็น เด็กทุก ๆ คนมีอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันออกไป แต่น้ำหนักเหล่านี้เป็นการประมาณการ คร่าว ๆ ของช่วง 1 ปีแรก ว่าพวกเขาควรมีน้ำหนักเท่าไร ช่วงอายุ ความสูงที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น แรกเกิด- 6 เดือน สูงขึ้น 0.5-1 นิ้ว/เดือน หนักขึ้น 150-200 […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 7 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 7 ที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ ทารกอาจเริ่มมีรอยยิ้ม เริ่มกำและแบมือได้เอง โดยหากนำสิ่งของใส่มือจะสามารถกำไว้ได้นาน และเริ่มซึมซับเสียงและคำพูดของผู้ที่อยู่รอบตัว ช่วงสามเดือนแรกเป็นช่วงที่สมองของทารกกำลังพัฒนามากที่สุด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพูดกับลูกบ่อย ๆ สัมผัสลูกด้วยความรัก แม้ว่าทารกจะไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ก็ตาม [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 7 ลูกน้อยจะเติบโตและมี พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 7 อย่างไร ใกล้ครบสองเดือนแล้ว ลูกน้อยสามารถจดจำเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว ซึ่งการได้ยินเสียงที่คุ้นเคยจะช่วยทำให้ลูกน้อยปรับตัวเข้ากับโลกใหม่นอกครรภ์มารดาได้ง่ายขึ้น และทำให้รู้สึกว่าไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว ฉะนั้น ยิ่งพูดคุยกับทารกมากเท่าไหรยิ่งดี แม้ลูกน้อยอาจไม่เข้าใจคำพูดแต่ทารกสามารถรับรู้ได้ถึงความรักและความรู้สึกต่าง ๆ ผ่านคำพูด โทนเสียง น้ำเสียง แววตา ท่าทาง ในสัปดาห์นี้ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้ เมื่อจับอยู่ในท่านอนคว่ำ ลูกน้อยจะสามารถชันคอขึ้นมาได้ประมาณ 45 องศา สามารถส่งเสียงอื่น ๆ ได้มากกว่าการร้องไห้ เช่น ส่งเสียงอ้อแอ้ในลำคอ สามารถยิ้มตอบได้ เมื่อมีใครยิ้มให้ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ในช่วงสัปดาห์นี้ ทารกจะตื่นบ่อยขึ้นในช่วงระหว่างวัน ควรใช้ช่วงเวลานี้เพื่อช่วยพัฒนาประสาทสัมผัสโดยการเล่นดนตรีหรือร้องเพลงกล่อมเด็ก ถึงแม้ว่าลูกน้อยจะไม่เข้าใจ แต่อาจแสดงปฎิกิริยาตอบสนองต่อเพลงที่คุณร้องได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องร้องแต่เพลงเด็ก ๆ อาจใช้เพลงได้ตามใจชอบ ตั้งแต่เพลงป๊อปไปจนถึงเพลงคลาสสิค และสังเกตดูว่าลูกน้อยชอบเพลงแบบไหน หากชอบลูกน้อยจะแสดงออกด้วยการขยับปาก […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 10 ของลูกน้อย

ถ้าคุณเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน แล้วอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงเวลาล่ะก็ นี่คือข้อมูลของ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 10 ที่คุณแม่ควรรู้เอาไว้ มาดูกันว่าตัวเล็กในสัปดาห์ที่ 10 นี้ เขาจะมีพัฒนาการไปขนาดไหน [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 10 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไรและมี พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 10 อย่างไร ถ้าลูกน้อยของคุณนอนในเวลากลางคืนเป็นเวลา 5-6 ชั่วโมง ก็นับเป็นความโชคดีของคุณมาก เนื่องจากเด็กอายุ 10 สัปดาห์ ส่วนใหญ่จะตื่นขึ้นกลางดึก แต่ถ้าลูกน้อยไม่ได้นอนข้ามคืนในระยะนี้ เขาก็จะมีช่วงการนอนหลับและตื่นที่ยาวนานกว่า ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถแอบไปงีบหลับเพื่อเอาแรงได้ ลูกน้อยอาจมีช่วงเวลานอนประมาณ 2-4 ครั้ง และตื่นมากกว่า 10 ชั่วโมงในหนึ่งวัน สิ่งที่ต้องจำเอาไว้คือ ไม่ว่าลูกของคุณจะเป็นนกฮูกกลางคืน หรือเป็นนกน้อยในยามเช้า นิสัยการนอนก็จะเป็นแบบนี้ไปตลอดช่วงวัยเยาว์ ในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนที่ 2 นี้ ลูกน้อยของคุณอาจจะ ใช้เสียงในรูปแบบต่างๆ แทนที่จะร้องไห้อย่างเดียว สามารถยกหัวขึ้นได้ถึง 45 องศาในขณะที่นอนอยู่ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไรในช่วง พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 10 วิธีการสื่อสารกับลูกน้อยนั้นมีมากมายนับไม่ถ้วน และเพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย คุณก็ควรลองทำสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ ไม่ว่าจะทำในเดือนนี้หรือในเดือนถัดไป […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 9 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 9 หรือประมาณ 3 เดือนแรก เป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยเพิ่มมีพัฒนาการทางด้านการได้ยินมากขึ้น สามารถแยกแยะและจดจำเสียงต่าง ๆ ได้มากขึ้น อีกทั้งยังอาจเปร่งเสียงเพื่อสื่อสารได้เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการดูลูกที่เหมาะสมสำหรับเด็กอายุ 9 สัปดาห์ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 9 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไรและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 9 ตอนนี้ลูกมีอายุได้ 9 สัปดาห์แล้ว เขาสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียงที่คุ้นเคยกับเสียงอื่นๆ ได้ และกำลังจะกลายเป็นผู้ฟังที่ดี นอกจากนี้ลูกน้อยยังแสดงให้เห็นด้วยว่า เขาปรับตัวให้เขากับสภาพแวดล้อมได้แล้ว และเวลาที่มีเสียงอะไรเกิดขึ้น เขาก็จะหันไปมองตามเสียงนั้น การพูดคุยอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ลูกน้อยมีการพัฒนาในการรับรู้เรื่องสถานที่ ลูกน้อยอาจมองปากคุณเวลาที่คุณกำลังพูด หรืออาจจะรู้สึกพิศวงถึงการทำงานของมัน คุณจะต้องทึ่งเมื่อเขาสามารถสื่อสารออกมาเป็นเสียงสูงเสียงต่ำได้แล้ว รวมทั้งยิ้มและร้องไห้เพื่อแสดงความต้องการต่างๆด้วย ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนที่สองนี้ ลูกน้อยอาจจะ… ยิ้มตอบ เวลาที่คุณยิ้มให้ แยกแยะได้ระหว่างเสียงที่คุ้นเคยและเสียงอื่นๆ เริ่มหันไปมองตามเสียง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น ตอบสนองกับเสียงกระดิ่งในหลายๆ รูปแบบ อย่างเช่น การจ้องมอง ร้องไห้ หรือนิ่งไป ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร คุณอาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อย ด้วยการพูดคุยกับเขาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถึงแม้จะทำให้ดูเหมือนคุณกำลังคุยกับตัวเอง แต่นั่นจะช่วยพัฒนาด้านสติปัญหาให้ลูกน้อยได้ เขาสามารถเรียนรู้จากการเคลื่อนไหวของปาก การแสดงออก และน้ำเสียงที่ชวนให้รู้สึกตื่นเต้น […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 11 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 11 ทารกจะเริ่มเคลื่อนไหวมากขึ้นแล้ว โดยเฉพาะแขนและขาที่อาจมีการขยับมากขึ้นกว่าหลังแรกคลอด คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ขยับร่างกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและพัฒนาการของกล้ามเนื้อ  [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 11 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร การเคลื่อนไหวของทารกจะเริ่มต้นอย่างราบรื่น คุณแม่จะสังเกตเห็นว่าลูกเคลื่อนไหวของแขนและขาในรูปแบบที่ซับซ้อนได้มากขึ้น การเคลื่อนไหวเหล่านี้จะช่วยให้ลูกน้อยสามารถเสริมสร้างความแข็งแรงและพัฒนาการของกล้ามเนื้อได้ เมื่อลูกนอนหงายจะเริ่มยกขามากขึ้น นี่คือ ขั้นตอนแรกในการเตรียมความพร้อมสำหรับการคลานของลูกน้อย พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยในสัปดาห์ที่ 11 ควบคุมศีรษะให้อยู่นิ่ง ๆ ได้ เมื่อจับให้นั่งตัวตรง เมื่อนอนลง ลูกน้อยจะสามารถใช้มือดันหน้าอกขึ้นมาได้ หมุนตัวได้ (ไปยังทิศทางเดียว) จับของเล่นเขย่าให้มีเสียง ให้ความสนใจกับสิ่งของขนาดเล็ก เช่น ลูกกวาด (ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสิ่งของเล็ก ๆ จะไม่ทำให้ลูกน้อยสำลัก) เอื้อมมือไปหยิบจับข้าวของต่าง ๆ เปล่งเสียงเป็นคำ ๆ ได้แล้ว ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ควรมีพื้นที่เพียงพอให้ลูกน้อยสามารถยืดตัว และเคลื่อนไหวแขนขาได้อย่างปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่ควรปูผ้าห่มลงบนพื้น และปล่อยให้ลูกน้อยเคลื่อนไหวได้ตามใจชอบ วิธีนี้จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและพัฒนากล้ามเนื้อได้ สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร คุณหมออาจอาจทำการประเมิน หรือใช้วิธีตรวจสอบที่แตกต่างกันไปตามสภาวะของลูกน้อย ความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง หากลูกน้อยมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง อาหารไม่ย่อย มีไข้สูง อุจจาระผิดปกติ มีปัสสาวะหยด มีผื่นคันบริเวณตาและหูเป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยป่วย ถ้าลูกน้อยมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหรือชัก ก็ควรพาไปพบคุณหมอทันที อุณหภูมิ หากลูกน้อยมีไข้ ควรใช้วิธีเช็ดตัว เพราะไข้คือวิธีที่ร่างกายตอบสนองต่อแบคทีเรียที่ร่างกายได้รับ และถือเป็นสัญญาณที่ดี เมื่อโทรศัพท์ไปปรึกษาคุณหมอ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 12 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 12 หรือประมาณ 3 เดือน เป็นช่วงที่ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้ทารกอาจหัวเราะอย่างต่อเนื่องและยาวนาน สามารถยกศีรษะขณะนอนคว่ำได้ และอาจเริ่มมองของที่อยู่ใกล้ตัว คุณพ่อคุณแม่ควรระวังปัญหาศีรษะทารกลีบแบน รวมไปถึงปัญหาเส้นประสาทกดทับที่อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ หากสังเกตพบความผิดปกติ หรือลูกมีอาการร้องไห้เป็นเวลานานติดต่อกัน ควรปรึกษาคุณหมอ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 12 ลูกน้อยจะเติบโตและมี พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 12 อย่างไร ในช่วงวัยนี้ ลูกน้อยอาจมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนที่ 2 ลูกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้ หัวเราะอย่างต่อเนื่องยาวนาน จีบนิ้วมือเข้าหากัน เมื่อนอนคว่ำ ลูกสามารกยกศีรษะได้ 90 องศา หัวเราะเสียงดัง ร้องไห้เมื่อต้องการบางสิ่งบางอย่าง มองตามสิ่งของที่ห่างจากตัวประมาณ 15 เซนติเมตร และหันหน้าได้ประมาณ 180 องศา ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร การอ่านออกเสียง เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อย เสียงของคุณพ่อคุณแม่จะช่วยให้การได้ยินของลูกสอดคล้องไปกับทำนองของภาษาพูด การเปลี่ยนน้ำเสียงในขณะเล่านิทาน การลงเสียงหนักเบา หรือการร้องเพลง จะช่วยให้ลูกมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับพ่อแม่ อีกทั้งยังช่วยดึงดูดความสนใจจากลูกมากขึ้น แต่หากลูกหันหน้าหนีหรือไม่แสดงความสนใจกับการเล่านิทาน ควรให้เขาได้พักผ่อน มีหนังสือดี ๆ มากมายที่เหมาะสำหรับลูกน้อย ควรเลือกหนังสือที่มีภาพประกอบขนาดใหญ่ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6 หรือประมาณ 2 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยอาจเริ่มมีการตอบสนองต่อเสียงรอบตัว เช่น เสียงกริ่ง เสียงพูดคุย และอาจจ้องมองด้วยความสงสัยใคร่รู้ ในช่วงนี้ลูกน้อยอาจใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนหลับ คุณพ่อคุณแม่ควรทำกิจวัตรก่อนเข้านอนด้วยการอาบน้ำอุ่นหรือเล่านิทานให้ลูก เพื่อสร้างนิสัยในการนอนที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร การยิ้ม คือ ภาษาสากล ฉะนั้นคุณแม่เตรียมตัวรอรับรอยยิ้มที่มองไม่เห็นฟันจากลูกเป็นรางวัลได้เลย รอยยิ้มนี้อาจทำให้หัวใจละลายได้ ในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนแรก ลูกน้อยอาจอาจแสดงอาการตอบสนองบางอย่างต่อเสียงกดกริ่งได้แล้ว อย่างเช่น การจ้องมอง ร้องไห้ หรือนิ่งเงียบ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับส่วนใหญ่ แนะนำให้พาลูกเข้านอนในขณะที่ยังตื่นอยู่แต่มีอาการงัวเงีย วิธีนี้จะช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้ที่จะกล่อมตัวเองให้นอนหลับได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากเวลาที่ลูกตื่นขึ้นมากลางดึก ทั้งนี้ การสร้างนิสัยการนอนที่ดีให้ลูกตั้งแต่ยังเด็กสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การทำกิจวัตรก่อนเข้านอนด้วยการอาบน้ำอุ่นให้สบาย นวดเนื้อนวดตัวหรือเล่านิทานให้ลูกน้อยฟัง สุขภาพและความปลอดภัยของพัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6 ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร หมออาจอาจทำการตรวจสอบร่างกายในด้านต่าง ๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประวัติสุขภาพของลูกว่าเป็นอย่างไร ถ้ามีนัดไปพบหมอในช่วงสัปดาห์นี้ ก็ควรปรึกษากับหมอในเรื่องต่อไปนี้ ถ้าลูกน้อยมีน้ำหนักตัวขึ้นช้า พัฒนาการช้า การตอบสนองต่าง ๆ ถ้ารู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ พฤติกรรม การนอนหลับ และการป้อนนมให้แก่ลูกน้อย ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา  สิ่งที่ควรรู้ อาหารสำหรับเด็ก ไม่ต้องเป็นกังวลถ้าไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน เด็กที่กินนมจากขวดก็สามารถมีสุขภาพดี มีความสุข และทำน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม ถ้าได้รับน้ำนมอย่างพอเพียง ถ้าให้นมมากไปอาจกลายเป็นเด็กอ้วน […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม